++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

“แผ่นปิดแผลจากโปรตีนกาวไหม” งานวิจัยชิ้นเยี่ยมจากจุฬา

การ สร้างเนื้อเยื่อของผิวหนังในผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุจากสารเคมี ไฟไหม้ หรือความร้อน จนทำให้เกิดการหลุดลอกของผิวหนัง ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ แผลเป็น และอาจส่งผลให้อวัยวะส่วนนั้นทำงานผิดปกติ โดยปกติแพทย์จะนำผิวหนังส่วนดีของผู้ป่วยมาปิดบาดแผลดังกล่าวเพื่อช่วยให้ การซ่อมแซมผิวหนังเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ แต่กระบวนการดังกล่าวจะทำให้ผู้ป่วยต้องสูญเสียเนื้อเยื่อจากอวัยวะดีบาง ส่วน ก่อให้เกิดการเจ็บปวด และเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ปัจจุบันหลายประเทศมีความพยายามที่จะพัฒนาวัสดุปิดแผลเพื่อใช้แทนผิวหนัง จริง แต่วัสดุที่ใช้มักเป็นการสังเคราะห์ทางเคมี จึงขาดคุณสมบัติที่เหมาะสมทางชีวภาพ และมีสารที่ก่อให้เกิดการแพ้

รศ.ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์
รศ.ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ ภาค วิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ได้คิดค้นงานวิจัยและพัฒนา “แผ่นเนื้อเยื่อปิดแผลจากโปรตีนกาวไหม” โดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวว่า โปรตีนกาวไหม เป็นกลุ่มโปรตีนที่มีลักษณะเหนียวคล้ายกาวและเคลือบอยู่รอบๆ เส้นไหม โดยก่อนที่จะสาวไหมให้เป็นเส้นใย ชาวบ้านจะนำรังไหมไปต้มในสารละลายด่าง เช่น สบู่ เกลือ ฯลฯ เพื่อลอกกาวไหมนี้ออก หลังจากนั้นโปรตีนกาวไหมที่อยู่ในน้ำที่ต้มจะถูกเททิ้งไปในธรรมชาติ ไม่มีการนำไปใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์หรือเชิงพาณิชย์ และอาจก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเมื่อโปรตีนเสื่อมสลายจะเกิดการเน่าและกลิ่นเหม็น

“ประเทศ ไทยมีโปรตีนกาวไหมอยู่จำนวนค่อนข้างมาก เนื่องจากเป็นผู้ผลิตไหมอันดับต้นๆ ของโลก หากนำมาแปรรูปใช้ประโยชน์ได้ก็จะเป็นการเพิ่มมูลค่าของวัตถุดิบและสามารถลด มลภาวะได้อีกด้วย สำหรับงานวิจัยดังกล่าวเริ่มต้นจากการวิจัยในหนูทดลอง ด้วยการทาโปรตีนกาวไหมในรูปแบบครีมที่บริเวณบาดแผลของหนู เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพกับการทาด้วยเบตาดีน สารฆ่าเชื้อและสารรักษาแผลอื่นๆ ผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่าบาดแผลของหนูที่ทาด้วยโปรตีนกาวไหมหายเร็วมาก และมีปริมาณคอลลาเจลในเนื้อเยื่อส่วนที่ได้รับกาวไหมสูงกว่าส่วนอื่นๆ มาก นอกจากนี้ยังพบว่ามีคุณสมบัติในการอุ้มน้ำได้ดี และสามารถต้านอนุมูลอิสระได้ จึงมีแนวคิดนำโปรตีนกาวไหมมาแปรรูปพัฒนา เนื่องจากรูปแบบครีมอาจไม่สะดวกในการใช้งาน”

SEM
รศ.ดร.พรอนงค์ กล่าวถึงงานวิจัยดังกล่าวว่า จากการศึกษาพบ 2 ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพของโปรตีนกาวไหมคือ สายพันธุ์ของไหม ในช่วงแรกของการวิจัยต้องใช้เวลานานมากในการศึกษาคุณสมบัติของสายพันธุ์ไหม ต่างๆ ที่มีอยู่ในประเทศไทย ซึ่งมีปัญหาหลักคือความคงตัวของสายพันธุ์ ฤดูกาลที่ต่างกันคุณสมบัติของโปรตีนกาวไหมที่ได้ก็จะต่างกันไป หากเป็นสายพันธุ์แท้จะเลี้ยงยาก เพราะตายง่ายไม่แข็งแรง ส่วนสายพันธุ์ผสมจะแข็งแรงกว่า แต่คุณสมบัติของโปรตีนกาวไหม เช่น น้ำหนักโมเลกุล ค่าการละลาย การกระตุ้นคอลลาเจน ฯลฯ จะมีความแตกต่างกันค่อนข้างมากตามสายพันธุ์ที่นำมาผสม ต้องใช้เวลานานกว่า 2 ปีในการค้นหาสายพันธุ์ที่มีความเสถียร แต่ละรุ่นของการผลิตไม่มีความแตกต่างกันมากนัก และมีคุณสมบัติการกระตุ้นคอลลาเจนใกล้เคียงกัน จนกระทั่งได้สายพันธุ์ที่ดีที่สุดคือ สายพันธุ์จุล1/1 ซึ่งสามารถกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนได้มากที่สุด มีสารก่อให้เกิดการแพ้ต่ำที่สุด โดยเลือกใช้วัตถุดิบจากโรงงานผลิตไหมขนาดใหญ่ เนื่องจากมีรังไหมจำนวนมากและมีการควบคุมคุณภาพที่ดี

สำหรับกรรมวิธีในการสกัดกาวไหม รศ.ดร.พรอนงค์ อธิบายว่า หากใช้วิธีการต่างกันก็จะได้คุณสมบัติทางกายภาพและชีวภาพที่ต่างกัน จึงจำเป็นต้องควบคุมให้เหมือนกันในแต่ละรุ่นการผลิต โดยกรรมวิธีในการผลิตจะค่อนข้างซับซ้อน เนื่องจากแผ่นเนื้อเยื่อไม่ใช่แผ่นปิดแผลปกติ ต้องมีขนาดและจำนวนของรูพรุนที่เหมาะสม และมีการเชื่อมต่อระหว่างรูพรุน เพื่อให้เซลล์ผิวหนังของคนสามารถเคลื่อนตัวเข้าไปได้และเจริญเป็นเนื้อเยื่อ ในที่สุด การขึ้นรูปจึงทำได้ยาก ต้องใช้เครื่องมือเฉพาะ แต่วัสดุที่ใช้ทั้งหมดก็มีอยู่ในประเทศ

Sponge
"แผ่น เนื้อเยื่อปิดแผลจากโปรตีนกาวไหมที่พัฒนาขึ้นนี้จะมีรูปแบบเหมือนแผ่นกระดาษ หรือแผ่นโฟมธรรมดา มองภายนอกจะไม่เห็นความแตกต่าง เพราะรูพรุนมีขนาดเล็กมาก และมีสีออกสีปูนตามสีของโปรตีนกาวไหม ส่วนขนาดของแผ่นปิดแผล สามารถผลิตได้เท่ากับขนาดของวัสดุปิดแผลที่มีอยู่ในท้องตลาดปัจจุบัน ขนาดใหญ่ที่สุดคือ 2 เท่าของกระดาษ A4 จากการนำไปทดลองใช้ในสัตว์พบว่าได้ผลดีมาก ขั้นตอนต่อไปจะเป็นทดลองในอาสาสมัคร ซึ่งเป็นคนปกติที่ไม่มีบาดแผลเพื่อศึกษาว่าก่อให้เกิดการระคายเคืองหรือไม่ จากนั้นจึงเป็นการทดสอบในผู้ป่วยจริงที่มีบาดแผล หากได้ผลดีจะมีทดลองทำการผลิตในระดับอุตสาหกรรมต่อไป"

รศ.ดร.พรอนงค์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันแผ่นเนื้อเยื่อปิดแผลที่ใช้ในประเทศไทยต้องนำเข้าจากต่างประเทศทั้ง หมด จึงมีราคาแพงมาก ผู้ป่วยแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกบางรายต้องใช้ค่ารักษาซึ่งส่วนใหญ่เป็นค่าวัสดุ ปิดแผลถึง1-2 ล้านบาท หากแผ่นเนื้อเยื่อปิดแผลจากโปรตีนกาวไหมนี้สามารถผลิตในเชิงพาณิชย์ได้ก็จะ มีต้นทุนต่ำกว่าเดิมไม่น้อยกว่า 10 เท่า อีกทั้งยังมีคุณสมบัติในการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ต่างจากแผ่นเนื่อเยื่อส่วนใหญ่ที่มีเพียงคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อหรือป้องกัน การเจริญเติบโตของเชื้อ และมีอัตราก่อให้เกิดการแพ้ต่ำกว่าแผ่นเนื้อเยื่อที่ผลิตจากคอลลาเจนวัว เนื่องจากเป็นโปรตีนจากสัตว์เล็ก
"จะ มีการต่อยอดงานวิจัยให้แผ่นเนื้อเยื่อสามารถป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อ โรคได้ และจะมีการศึกษากรรมวิธีในการฆ่าเชื้อโรคของแผ่นเนื้อเยื่อเพิ่มเติม เนื่องจากพบว่ารังสีแกมม่าที่ใช้ในการฆ่าเชื้อโรคในปัจจุบันอาจทำให้ คุณสมบัติเบื้องต้นของโปรตีนกาวไหมเปลี่ยนแปลงไปได้ ซึ่งจะทำให้คุณภาพของแต่ละแผ่นไม่เท่ากันหากมีการผลิตในระดับอุตสาหกรรม รวมทั้งยังมีความร่วมมือกับศิริราชพยาบาลในการพัฒนาแผ่นเนื้อเยื่อให้มีขนาด ใหญ่ขึ้นและอยู่ในรูปแบบม้วน เพื่อให้สามารถตัดใช้ได้ตามขนาดที่ต้องการ"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น