++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

มหาสารคามแนะวิธีการสร้างภูมิคุ้มกันโรคคอมพิวเตอร์ซินโดรม

by สำนักสารนิเทศ
วิธีการสร้างภูมิคุ้มกันโรคคอมพิวเตอร์ซินโดรม โรคคอมพิวเตอร์ซินโดรม (Computer Syndrome)เป็นโรคฮิตโรคหนึ่งในกลุ่มโรคออฟิศซินโดรม (Office Syndrome) ที่พบมากในหมู่คนทำงานที่มีการใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน นอกจากนั้น ยังพบในกลุ่มเยาวชนที่เล่นเกมคอมพิวเตอร์แบบชนิดติดหนึบ หรือมีท่าทางการคอมพิวเตอร์ที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมเป็นระยะเวลานานต่อเนื่องเช่น การใช้คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คที่วางในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมต่อสรีระร่างกาย กลุ่มคนทำงานอายุระหว่าง 16-24 ปี มีความเสี่ยงของการเกิดภาวะดังกล่าวสูงถึงร้อยละ 55 อาการสำคัญที่พบจากการเป็นโรคคอมพิวเตอร์ซินโดรม คือ ปวดหลัง ไหล่ คอ เอว ปวดตาตาแห้ง น้ำตาไหลระคายเคืองตา ตามัว และอาจทำให้เกิดโรคอ้วนตามมา มาดูกันว่าเราจะสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับโรคคอมพิวเตอร์ซินโดรม ได้อย่างไรบ้าง 1. จัดสภาพโต๊ะทำงานให้เป็นระเบียบ โดยให้ด้านขวาของโต๊ะปล่อยโล่งไม่มีสิ่งของมากีดขวาง เพื่อความสะดวกต่อการเคลื่อนไหวในการหยิบสิ่งของต่างๆส่วนสิ่งของต่างๆ บนโต๊ะทำงานควรวางด้านซ้ายแทนเพื่อให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและหยิบจับได้สะดวกและควรเลือกโต๊ะทำงานที่มีระดับพอดีกับข้อศอก เพื่อให้สามารถกดคียบอร์ดได้อย่างถนัด 2. ตัวแป้นคีย์บอร์ดควรมีที่รองรับข้อมือไม่ให้เกิดการกระดกข้อมือซ้ำๆด้วย ป้องกันกล้ามเนื้อข้อมืออักเสบ 3. ควรเลือกจอคอมพิวเตอร์แบบ LCD หรือจอแบน เนื่องจากการสำรวจพบว่าจอแบบ CRT ซึ่งเป็นจอลักษณะโค้งมนจะทำให้เกิดการเพ่งสายตาและปวดศีรษะมากกว่าการใช้จอแบบ LCD 4. เก้าอี้ควรเป็นแบบปรับขึ้นลงได้เพื่อให้เหมาะกับสรีระของแต่ละบุคคล และควรมีพนักพิงที่สามารถรองรับศีรษะได้ด้วย 5. จัดโต๊ะคอมพิวเตอร์ในตำแหน่งที่เหมาะสม มีการสะท้อนของแสงฟ้าในอาคาร และแสงจากธรรมชาติให้น้อยที่สุด เพื่อถนอมสายตา 6. พักสายตาจากจอคอมพิวเตอร์บ่อยๆ หรือประมาณ 20 นาทีโดยการหลับตา กรอกลูกตา มองไกลไปบริเวณอื่นๆ 7. เปลี่ยนอิริยาบถ ลุกออกไปเดินยืดเส้นยืดสายทุกๆ ครึ่งชั่วโมงรวมทั้งควรหัดออกกำลังกายคลายเส้นบ้าง จะช่วยให้กล้ามเนื้อไม่ตึงจนเกินไป 8. การใช้คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค แม้จะสะดวกในการจัดวาง ซึ่งมักทำให้ผู้ใช้ไม่ระวังในด้านความเหมาะสมของสรีระ เช่น การวางบนตัก บนโต๊ะญี่ปุ่น หากใช้เป็นระยะเวลานานจะมีผลต่อกล้ามเนื้อ ดังนั้นในการวางโน๊ตบุ๊คต้องคำนึงถึงความห่างของระยะสายตากับหน้าจอ ตำแหน่งวางมือ และความโค้งงอของหลัง 9. หากไม่ได้ใช้งานคอมพิวเตอร์หรือ โน้ตบุ๊ค ควรปิดเครื่อง ทุกครั้ง เพื่อลดระยะเวลาในการรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เป็นโรคความดันโลหิตสูง และความเครียด 10. หาต้นไม้ประเภทแคคตัส เศรษฐีเรือนนอกเรือนใน เฟิร์นบอสตัน กล้วยไม้ฟาแลนนอปซิส เพื่อช่วยดูดซับสารพิษ และเป็นที่พักสายตาอันอ่อนล้าจากการต้องจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ 11. หมั่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น