++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

สสจ.พัทลุง แนะนำประชาชนพิชิตโรคไข้เลือดออกด้วย 3ร. 5ป.

from MOPH-ข่าวภูมิภาค by สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง
นาย แพทย์วิฑูรย์ เหลืองดิลก นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพัทลุง เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ถึงวันที่ 2 กันยายน 2553 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวนทั้งสิ้น 1,537 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 304.11 ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้เสียชีวิต 3 ราย อัตราผู้ป่วยตายเท่ากับร้อยละ 0.20 พบผู้ป่วยเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยพบเพศชาย 768 ราย เพศหญิง 671 ราย กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 15-24 ปี จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 499 ราย รองลงมาคือกลุ่มอายุ 10-14 ปี, 5-9 ปี, 25-34 ปี, 0-4 ปี, 35-44 ปี, 45-54 ปี, 65 ปีขึ้นไป และ 55-64 ปี จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 420, 235, 149, 88, 76, 38, 17 และ 15 ราย ตามลำดับ อาชีพที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุดคือนักเรียน จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 846 ราย รองลงมาคือในปกครอง, อาชีพเกษตร, อาชีพรับจ้าง, อาชีพงานบ้าน จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 193, 140, 114, 89 ราย ตามลำดับ สถานการณ์โรคไข้เลือดออก พบผู้ป่วยสูงสุดในเดือนสิงหาคม จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 517 ราย โดย มีรายงานผู้ป่วยเดือนมกราคม 67 ราย, กุมภาพันธ์ 91 ราย, มีนาคม 60 ราย, เมษายน 75 ราย, พฤษภาคม 144 ราย และ มิถุนายน 234 ราย, กรกฎาคม 349 ราย อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุดคืออำเภอเขาชัยสน อัตราป่วยเท่ากับ 495.02 รองลงมาคืออำเภอเมืองพัทลุง 370.06 ,อำเภอควนขนุน 328.92 , อำเภอป่าพะยอม 312.27 , อำเภอกงหรา 294.74 ,อำเภอตะโหมด 289.38 ,อำเภอบางแก้ว 270.47 ,อำเภอศรีบรรพต 255.68 , อำเภอศรีนครินทร์ 233.34, อำเภอปากพะยูน 164.24 และอำเภอป่าบอน 142.76 99.91 ต่อแสน ประชากร ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นได้ว่าการเกิดโรคไข้เลือดออกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น นายแพทย์วิฑูรย์ เหลืองดิลก นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพัทลุง กล่าวเพิ่มเติมว่า ฝากให้ทุกคน ได้ให้ความสำคัญกับการป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างจริงจัง เริ่มที่ตัวเองก่อน ระวังอย่าให้ยุงกัด ทาโลชั่นกันยุง ทุกครั้ง ซึ่งเป็นการป้องกันไม่ให้เป็นไข้เลือดออกที่ดีที่สุด หรืออาจจะใช้หลัก 3 ร. คือไม่ให้มียุงลายในพื้นที่เสี่ยง ได้แก่ 1.ร.โรงเรือน (บ้านพักอาศัย) 2.โรงเรียน 3.โรงพยาบาล และปฏิบัติด้วยหลัก 5 ป. ได้แก่ 1.ปิด ปิดภาชนะที่ใช้เก็บน้ำให้สนิท ไม่ให้ยุงเข้าไปวางไข่ 2.เปลี่ยน เปลี่ยนน้ำในแจกันและถ้วยรองขาตู้กับข้าวทุก 7 วัน 3.ปล่อย ปล่อยปลากินลูกน้ำในอ่างบัว เช่น ปลาหางนกยูง 4. ปรับปรุง ปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม กำจัดขยะที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย 5. ปฏิบัติจนเป็นนิสัย แต่หากมีอาการป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก หรือมีอาการไข้สูงมา 3 วัน อย่าได้นิ่งนอนใจให้รีบไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใกล้บ้านทันที เพื่อตรวจและรับการรักษา หากเป็นไข้ต้องนอนในมุ้ง หรือทาโลชั่นกันยุง เพื่อไม่ให้แพร่เชื้อ อีกทั้งทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ทุก 7 วัน และที่สำคัญคือทุกคนต้องร่วมมือกันป้องกันอย่างจริงจัง หากสงสัยสามารถติดต่อสอบถามได้ที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ณ สถานีอนามัย หรือโรงพยาบาลใกล้บ้านท่านหรือที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง โทรศัพท์หมายเลข 074 – 612 – 400 ต่อ 127

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น