เรื่องย่อ - เริ่มต้นอธิบายเหตุแห่งพระราชพิธีสำหรับพระนคร
พระราชพิธี ๑๒ เดือน ในกฎมณเทียรบาลครั้งกรุงเก่า
และที่คงทำในกรุงรัตนโกสินทร์ พระราชปรารภในการทรงพระราชนิพนธ์
ต่อจากนั้นอธิบายพระราชพิธีต่างๆ เป็นรายเดือน
เริ่มตั้งแต่เดือนสิบสองจนถึงเดือน ๑๐ พระราชพิธีสำคัญ เช่น
เดือนสิบสอง จองเปรียง, ลอยพระประทีป , ฉัตรมงคล
ข้อคิดเห็น - วรรณคดีสโมสรในรัชกาลที่ ๖ ยกย่อง
พระราชพิธีสิบสองเดือน พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๕
เป็นยอดของความเรียงอธิบาย สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ประทานพระวิจารณ์เกี่ยวกับพระราชนิพนธ์เรื่องนี้ไว้ ดังนี้
" ผู้ใดอ่านหนังสือเรื่องนี้ จะสังเกตเห็นได้ว่า
ลักษณะที่ทรงพระราชนิพนธ์นั้น
มีพระราชประสงค์จะทรงชี้แจงให้ผู้อ่านเข้าใจได้แจ่มแจ้งเป็นข้อสำคัญ
เมื่อจะว่าด้วยพระราชพิธีอย่างใด
ทรงเริ่มต้นชี้แจงตำราเดิมของการพระราชพิธีนั้นก่อน
แล้วทรงชี้แจงเหตุการณ์ที่ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงมาโดยลำดับ
จนถึงได้เลิกฤาคงทำพระราชพิธรนั้นอยู่อย่างไร
ทรงสอบสวนตำรับตำราบรรดามีแลรับสั่งถามผู้ทำการพิธี
มีพระมหาราชครูพราหมณ์เป็นต้น
ประกอบกับความที่ได้ทรงทราบจากพระบรมราชาธิบาย
ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และความคุ้นเคยในส่วนพระองค์เอง
เอาความรู้ในที่ทั้งปวงนี้ทรงวินิจฉัย
แล้วเรียบเรียงลงมาเป็นพระบรมราชาธิบาย
เพราะฉะนั้นถ้าว่าโดยทางความรู้ที่จะได้จากหนังสือเรื่องนี้ นับว่า
เป็นอย่างท่องแท้ ถึงที่สุด ที่จะพึงเป็นได้นั้น ประการหนึ่ง
ฤาถ้าว่าโดยทางภาษาส่วนวรรณคดี ผู้อ่านจะสังเกตเห็นได้ว่า
กระบวนโวหารซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระราชนิพนธ์ผิดกับโวหารของผู้อื่น
ที่แจ่มแจ้งอ่านจับใจเหมือนกับฟังรับสั่งเล่าเองไม่มีผิด
ด้วยเหตุนี้พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ไม่เฉพาะแต่เรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือนนี้เรื่องเดียว ถึงเรื่องใดๆ
บรรดาที่ทรงเป็นความเรียงในทางบรรยายแล้ว เป็นที่นับถือของนกัเรียนว่า
ล้ำเลิศ ควรเป็นตำราของการแต่งหนังสือได้ทุกเรื่อง"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น