++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

มหาชาติคำหลวง - วรรณคดีสมัยกรุงศรีอยุธยา


            ประวัติ - มหาชาติคำหลวงของเดิมหายไป ๖ กัณฑ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัย มีพระบรมราชโองการให้ พระราชาคณะ และนักปราชญ์ราชบัณฑิต แต่งซ่อมใหม่ เมื่อ จุลศักราช ๑๑๗๖ พุทธศักราช ๒๓๕๗ ได้แก่ กัณฑ์ หิมพานต์  ทาน จุลพน มัทรี สักกบรรพ และ ฉกษัตริย์
            ทำนองแต่ง - แต่งด้วยคำประพันธ์หลายอย่าง คือ โคลง ร่าย กาพย์ และฉันท์ มีคาถาบาลีแทรกตลอดเรื่อง มหาชาติเรื่องนี้เป็นหนังสือประเภทคำหลวง

            หนังสือคำหลวงมีลักษณะดังนี้
        1. พระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านายชั้นสูง ทรงนิพนธ์หรือทรงสนับสนุนให้ผู้อื่นแต่งขึ้น
        2. เป็นเรื่องเกี่ยวกับศีลธรรมจรรยา
        3. ใช้คำประพันธ์หลายประเภท คือ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน  และร่าย
        4. แต่งได้ดีถึงขนาด เป็นแบบอย่างได้
       
            ข้อคิดเห็น มหาชาติคำหลวงเป็นหนังสือมหาชาติฉบับภาษาไทยเล่มแรก ที่ปรากฏหลักฐานเหลืออยู่ มีใจความใกล้เคียงกับข้อความที่แต่งเป็นภาษาบาลี แสดงถึงความสามารถในการแปลและเรียบเรียงข้อความ การแทรกภาษาบาลีไว้มากมายเช่นนี้ ทำให้อ่านฟังยากและขัดเขิน จนต้องมีการแต่งกาพย์มหาชาติขึ้นใหม่ในสมัยพระเจ้าทรงธรรม มหาชาติคำหลวงทั้งของเดิมและที่แต่งซ่อมใหม่ในรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ นักปราชญ์ราชบัณฑิตที่เป็นกวีหลายท่านช่วยกันแต่ง จึงมีสำนวนโวหารและถ้อยคำไพเราะเพราะพริ้งอยู่มาก แทรกไว้ด้วยรสวรรณคดีหลายประการ เช่น ความโศก ความอาลัยรัก ความน้อยใจ และความงามธรรมชาติ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังให้ความรู้ในด้านภาษาทำให้ได้ทราบคำโบราณ คำแผลง และคำภาษาต่างประเทศ เช่นสันสกฤตและเขมร เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น