++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2552

(เขา) วานให้หนูเป็น "สายลับ..(ตรวจจับโฆษณา)

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 1 กันยายน 2552 12:02 น.
ปัจจุบันโฆษณา สินค้าทั่วไปทำได้อย่างอิสระ มีรูปแบบหลากหลาย
ผู้ประกอบการอาจไม่ทราบกฎเกณฑ์และรายละเอียดที่ถูกต้องของการโฆษณา
หรือในบางรายขาดความรับผิดชอบต่อสังคมและผู้บริโภคโดยเน้นแต่ผลประโยชน์ส่วน
ตัว และทำโฆษณาโดยไม่ขออนุญาตก่อนเผยแพร่
จนทำให้เกิดการใช้ภาพและข้อความโฆษณาที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค
ขณะที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบมีบุคลากรไม่เพียงพอที่จะออกไปตรวจสอบได้ทั่วถึง
ทุกพื้นที่ จึงจำเป็นต้องเร่งสร้างเครือข่ายให้เกิดขึ้นโดยเร็ว

ดังนั้น จึงเป็นที่มาของโครงการเฝ้าระวังการโฆษณาทางสื่อ
ที่มีชื่อว่า "สายลับ..ตรวจสอบโฆษณา" จากความร่วมมือของ
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย
พร้อมด้วยสถาบันการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสนิสิต
นักศึกษาในสาขาโฆษณาและการตลาด เข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคม
ด้วยการส่งผลงานโฆษณาที่คิดว่าผิดพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค
ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 หมวดด้วยกัน ได้แก่ สื่อวิทยุโทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์
และสื่อกลางแจ้ง
อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ภาคเอกชนและภาคธุรกิจมีความตื่นตัวที่จะสนใจ
กฏระเบียบในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคมากขึ้น

ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นแรงบันดาลใจให้ "ฝน" อินทรา บุญศักดา และ
"บุ๋ม" ศิรินภา แก่นแก้ว นักศึกษาชั้นปี 4 คณะนิเทศศาสตร์
จากรั้วมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
เข้าร่วมกิจกรรมจนกระทั่งคว้ารางวัลชนะเลิศการตรวจสอบโฆษณา
ประเภทสื่อกลางแจ้ง ด้วยการสวมบทบาท "สายลับ(จำเป็น)..ตรวจสอบโฆษณา"

ฝน และ บุ๋ม บอกว่า ความสุขของการเรียนโฆษณา
คือการได้เรียนรู้ภาพลักษณ์ของสินค้าและการบริการ
ซึ่งจะสร้างยอดขายและผลกำไรให้ธุรกิจ
ทำให้เกิดการขยายตัวด้านการลงทุนและการสร้างงานอันเป็นผลให้ระบบเศรษฐกิจโดย
รวมของประเทศดีขึ้น

" การโฆษณา ถือว่าเป็นอีกหนึ่งกระบวนการของการสื่อสาร
ที่เริ่มต้นตั้งแต่เราลืมตาขึ้นมา จนกระทั่งหลับตานอน มีทั้งการพูดคุย
เขียน และสิ่งที่พบเห็น ซึ่งล้วนแต่อยู่รอบๆ ตัวเราทั้งนั้น
เพียงแต่เราจะเลือกรับสารและส่งสารอย่างไร"


ในขณะที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีสุดท้าย
พวกเธอกลับพบโจทย์การแข่งขันที่ท้าทายความสามารถ บวกกับทฤษฏีในตำรา
และทฤษฏีภาคปฏิบัติที่เก็บเกี่ยวมาตลอดเวลา 4 ปีในชั้นเรียน
เข้าร่วมกิจกรรม
"สายลับ..ตรวจจับโฆษณา"เพื่อตรวจสอบการโฆษณาทางสื่อทุกประเภทอย่างเป็น
รูปธรรมตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค

"ช่วง เวลา 4 ปีของการเรียนในภาควิชาการโฆษณา ทำให้เราโตขึ้น
ได้เรียนรู้ ทั้งสิ่งดีและสิ่งไม่ดีที่เกิดขึ้นในวงการโฆษณา
เพราะบางอย่างที่เราเห็น มันอาจจะไม่ใช่อย่างที่เราคิด
ปัจจุบันตลาดการค้าเพิ่มมากขึ้น การแข่งขันก็ยิ่งสูง ต่างคนต่างนำสินค้า
ใครดี ใครได้ นำเสนอให้โดนใจมากที่สุด
พอทราบถึงกิจกรรมดังกล่าวจึงอยากจะลองวัดความสามารถที่มีอยู่ก่อนที่จะเรียนจบ"

ทั้งนี้ พวกเธอจึงแบ่งหน้าที่กัน โดยต่างคนต่างศึกษาข้อมูล
และคัดเลือกของสินค้าประเภทสื่อกลางแจ้ง ด้วยเหตุที่ว่า
เป็นสื่อพบเห็นและมีจุดบกพร่องมากที่สุด

" ถ้าเป็นสื่อประเภทอื่น อย่างสื่อวิทยุ
โทรทัศน์จะมีหน่วยงานตรวจสอบก่อนที่จะนำเสนอสินค้าอยู่แล้ว
แต่สำหรับสื่อกลางแจ้งนั้น อาจจะมีบางหน่วยงานที่ดูแลไม่ทั่วถึง
และข้อเท็จจริงที่ถูกต้องเพียงแค่ 2 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
จึงเป็นสิ่งที่ท้าทาย อยากลองค้นหาข้อมูล
ข้อเท็จจริงว่าสิ่งที่นำเสนอสินค้า เป็นจริงและไม่จริงมากน้อยแค่ไหน"

บุ่ม เอ่ยต่อว่า ด้วยความที่เป็นมือสมัครเล่น ทำให้กล้าๆ กลัวๆ
ที่จะสืบหาข้อมูลกับบริษัทใหญ่ และเกรงว่าจะได้รับอันตราย
ถ้าพวกเขาทราบว่า พวกตนมาสืบหาข้อมูลสินค้าที่ไม่สามารถเปิดเผยได้ "
พวกเราใช้วิธีสืบข้อมูลด้วยการทำทีเป็นลูกค้า
เพื่อซื้อสินค้าของบริษัทนั้น พยายามเก็บข้อมูล คุณสมบัติของสินค้านั้นๆ
คอยโทรเช็คข้อมูลสม่ำเสมอ แต่สิ่งหนึ่งที่เราต้องระวังมากที่สุด คือ
การถามข้อมูลเชิงลึก ถามแบบที่ลูกค้าไม่เคยถาม
จึงต้องยกตัวอย่างสินค้าอื่นมาเปรียบเทียบ
เพื่อให้เขาไม่สามารถจบผิดเราได้"



หลังจากที่ได้ข้อมูลมาเป็นที่เรียบร้อย
หน้าที่สำคัญของการตรวจสอบสินค้าตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคนั้น
ตกเป็นของฝน " หลังจากได้ข้อมูลสินค้านั้น ๆ
จึงกลับมาเขียนบทสนทนาที่เกิดขึ้น ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย
บวกกับข้อมูลที่ได้
เพื่อตรวจข้อมูลพร้อมทั้งอ้างอิงกับพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค
หรือโฆษณาที่ขาดความรับผิดชอบในเชิงจรรยาบรรณให้มากที่สุด
เพราะถ้าบริษัทนั้น ผิดสัญญาการขายสินค้า
หรือนำเสนอสินค้าที่ผิดจากที่โฆษณาไว้ เราสามารถใช้หลักกฏหมายนั้น
เอาผิดและลงโทษกับบริษัทนั้นได้จริง"

ท้ายนี้ พวกเธอ สรุปถึงประสบการณ์ที่ได้ว่า ยิ่งทำงาน
ก็ยิ่งต้องทำความเข้าใจมากขึ้น เพราะพวกตนเรียนการโฆษณา ย่อมรู้ดีว่า
การขายสินค้าบางอย่างนั้น ไม่แปลก ถ้าบริษัทจะนำเสนอข้อมูล
ข้อเท็จจริงเพียงครึ่งเดียว หรือ
ไม่ได้ตอบความจริงแก่ผู้บริโภคหมดทุกอย่าง
แต่สิ่งที่นักโฆษณาควรคำนึงอยู่เสมอ คือจรรยาบรรณของการเป็นนักโฆษณาที่ดี

" เราถือว่า สิ่งนี้เป็นหน้าที่ของเรา
เป็นประสบการณ์ที่หาไม่ได้ในห้องเรียน โดยเฉพาะจรรยาบรรณของนักโฆษณาที่ดี
ต้องไม่เอาเปรียบผู้บริโภค แม้ว่า คุณต้องการขายสินค้า
ใช้คำโฆษณาชวนเชื่อมากแค่ไหน แต่ถ้าคุณไม่คำนึงถึงความถูกต้อง
เน้นประโยชน์ส่วนตัวหรือผิดสัญญาตามที่ตกลงไว้
คงต้องมีบทลงโทษกับการกระทำนั้นๆ ตามที่กฏหมายระบุไว้"


http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000099559

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น