++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การกินอาหารเจ

การกินอาหารเจ



อาหารเจ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ที่งดรับประทานเนื้อสัตว์ ผู้คนบางวัฒนธรรมและบางท้องถิ่นที่มีเหตุผลต่างๆนาๆ ไม่ว่าจะเป็นเหตุผลทางศาสนา ลัทธิความเชื่อหรือแม้งกระทั้งงดรับประทานเนื้อสัตว์เพื่อสุขภาพ ซึ้งเป็นกระแสการบริโภคที่กำลังมาแรง ทั้งในรูปแบบของอาหารมังสวิรัติ แมโครไบโอติกส์ หรือชีวจิต
เราสามารถแบ่งกลุ่มของผู้ที่ไม่บริโภคเนื้อสัตว์ออกเป็น 3 กลุ่มได้ดังนี้
กลุ่มที่1 (Vegan) เป็นกลุ่มที่รับประทาน ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ และธัญพืช แต่ไม่รับประทาน ไข่ นม เนย ชีส และผลิตภัณฑ์จากนมและสัตว์ทุกชนิด
กลุ่มที่ 2 คือกลุ่มที่รับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืช นมและผลิตภัณฑ์จากนมแต่ไม่รับประทานไข่
กลุ่มที่ 3 (Lacto & Ovo) กลุ่มที่รับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืช นม ไข่ และผลิตภัณฑ์จากนมและไข่
ทั้งสามกลุ่มนี้งดรับประทานเนื้อสัตว์โดยสิ้นเชิง นอกจากสามกลุ่มนี้แล้วก็ยังแบ่งย่อยออกไปอีกหลายประเภท เช่น กลุ่ม ที่รับประทานเฉพาะพืชผลไม้สดๆที่ไม่ผ่านความร้อน (Raw food) หรือบางกลุ่มก็เป็นพวกที่รับประทานเฉพาะผลไม้สดและแห้งและธัญพืชต่างๆ (Fruitarian) และยังมีกลุ่มที่รับประทานเนื้อสัตว์จำพวกอาหารทะเลบ้างเป็นครั้งคราว แต่ก็เรียกตัวเองว่า Seafood Vegetarian
ปัจจุบันมีผู้หันมารับประทานอาหารมังสวิรัติและอาหารเจมากขึ้นชาวตะวันตกเองก็มีผู้รับประทานอาหารประเภทนี้เพิ่มมาก เนื่องจากชาวตะวันตกหันมาให้ความสนใจเรื่องอาหาร สุขภาพ และเรื่องปรัชญาต่างๆ บ้างก็เรียกกลุ่มของตัวเองว่า นักธรรมชาตินิมยม (Naturalism)


ข้อสันนิษฐานการกินเจ


ข้อสันนิษฐานการกินเจ ในตำนานของจีน
เทศกาลกินเจเป็นความเชื่อของชาวจีน ที่ถือ วันที่ 1 เดือน 9 ของทุกปี งดป็นการเริ่มต้นของการไม่กินเนื้อสัตว์ภายในช่วงเวลา 9-10 วัน ซึ่งในระหว่างนี้ก็ควรจะถือศีล ทำบุญทำทาน เพื่อเป็นการชำระทั้งร่างกายและจิตใจให้บริสุทธ์
คำว่า “เจ” หรือ “แจ” ในภาษาจีนมีความหมายทางพุทธศาสนาฝ่ายมหานิยานว่า “อุโบสถ” ส่วน “กินเจ” หมายถึง การรับประทานอาหารก่อนเที่ยง ถ้ารับประทานอาหารหลังเที่ยงจะเรียกกินเจไม่ได้เนื้อจากถืออุโบสถของชาวจีน ซึ่งไม่กินเนื้อสัตว์ จึงเพี้ยนไปว่าการไม่กินเนื้อสัตว์เป็นการกินเจทั้งที่การไม่กินเนื้อสัตว์เป็นการ “กินสู่”
เรื่องการกินเจนี้คนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นพิธีที่เกี่ยวข้องด้วยพุทธศาสนา แต่ความเป็นจริงการบูชาเป๊ง “กษัตริย์เป๊ง” เป็นกษัตริย์องสุดท้ายของรางวงศ์ข้อง ซึ้งสิ้นพระชนม์โดยทรงทำอัตวินิบาตกรรมในขณะเสด็จไต้หวันโดยทางเรือ เมื่อมีพระชนมายุ 9 พรรษา พิธีบูชาเพื่อระลึกถึงราชวงศ์ซ้องนี้ มีแต่ในเฉพาะในมณฑณฮกเกี้ยนเท่านั้น ซึ่งเป็นดินแดนชิ้นสุดท้ายของราชวงศ์ซ้องโดยชาวฮกเกี้ยนได้จัดทำพิธีดังกล่าวนี้ขึ้นด้วยอาศัยศาสนาบังหน้าการเมือง ด้วยเหตุผลเกรงกลัวรางวงศ์หงวน ประเพณีกินเจมีการเผยแพร่สู่เมืองไทยโดยชาวจีนแต้จิ๋วที่อพยพจากฮกเกี้ยน นำมาเผยแพร่อีกทอดหนึ่ง การทำพิธีดังกล่าวใช้สีเหลืองทุกสิ่งทุกอย่าง ซึ่งถือเป็นสีของพระเจ้าแผ่นดินฉะนั้นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องจากการกินเจจึงมักใช้สีเหลือง แม้กระทั้งธงที่ปักตามร้านขายอาหารเจ เป็นต้น

ตัวอย่างพระเจ้าจักรพรรดิที่อายุยืนยาวมาก

พระยาจักรพรรดิราช



ตัวอย่างพระเจ้าจักรพรรดิที่อายุยืนยาวมาก คือ พระเจ้ามันธาตุราช พระองค์มีบุญฤทธิ์ขนาดไปครองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ครึ่งหนึ่งร่วมกับท้าวสักกเท วราช แล้วก็ครองทิพย์สมบัตินั้นจนท้าวสักกะจุติไปถึง ๓๖ พระองค์ (องค์หนึ่งอายุ ๓๖ ล้านปี) สุดท้ายพระองค์เกิดโลภอยากได้สมบัติท้าวสักกะทั้งหมด ความโลภทำให้พระเจ้ามันธาตุราชตกลงมาจากสวรรค์แล้วสิ้นพระชนม์ในราชอุทยาน

พระเจ้าจักรพรรดิทุกองค์มีรัตนะ ๗ ประการคู่บุญบารมี คือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว คหบดีแก้ว และขุนพลแก้ว

จักรแก้ว
เป็น ยานพิเศษสำหรับพระเจ้าจักรพรรดิ สามารถนำพาพระเจ้าจักรพรรดิเสด็จดำเนินไปได้ในนภากาศ และสามารถเสด็จไปยังทวีปใหญ่ทั้งสี่และทวีปน้อยสองพันได้โดยง่ายดาย เมื่อมีพระเจ้าจักรพรรดิอุบัติขึ้น จักรแก้วจะล่องลอยมาจากมหานทีสีทันดร ส่งเสียงดังไปไกล ๑๒ โยชน์ และส่องแสงสว่างไปไกล ๓ โยชน์ เหมือนดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ดวงที่สอง

ช้างแก้ว
เป็นช้างมงคล สกุลอุโบสถหรือฉัททันต์ มีลักษณะงดงาม สีขาว เท้าแดง ถ้าหากเป็นช้างสกุลอุโบสถจะเป็นช้างหัวหน้าโขลง แต่ถ้าเป็นช้างสกุลฉัททันต์จะเป็นช้างตัวสุดท้อง มีอิทธิฤทธิ์พาพระเจ้าจักรพรรดิเหาะไปได้

ม้าแก้ว
เป็นม้ามงคลสกุลวลาหก มีลักษณะงดงาม สีขาว เท้าแดง ศีรษะดำ ขนเหมือนหญ้าปล้อง มีอิทธิฤทธิ์พาพระเจ้าจักรพรรดิเหาะไปได้

แก้วมณี
เป็น ดวงแก้วไพฑูรย์เจียระไน ๘ เหลี่ยม มาจากภูเขาเวปุละ มีขนาดโต ๔ ศอก แวดล้อมด้วยดวงแก้วเล็กๆ ๘๔,๐๐๐ ดวง มีรัศมีส่องสว่างดุจกลางวันรัศมี ๑ โยชน์ มีอิทธิฤทธิ์ช่วยบันดาลให้มหาชนสำเร็จสมความปรารถนา

นางแก้ว
เป็น สตรีคู่บารมีของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นสตรีจากอุตรกุรุทวีปหรือมาจากสกุลมัททราช เป็นสตรีผู้มีคุณสมบัติ ๖ ประการ คือ ไม่สูงเกินไป ไม่ต่ำเกินไป ไม่อ้วนเกินไป ไม่ผอมเกินไป ไม่ดำเกินไป ไม่ขาวเกินไป มีผิวพรรณเปล่งปลั่งเกินผิวพรรณมนุษย์งามจนเกือบจะถึงขั้นผิวพรรณทิพย์ของ เทพนารี ในเวลาที่พระเจ้าจักรพรรดิหนาว กายของนางแก้วจะอุ่น และในเวลาที่พระเจ้าจักรพรรดิร้อน กายของนางแก้วจะกลับเย็น สัมผัสของนางแก้วนิ่มนวลดุจปุยนุ่น กายหอมเหมือนกลิ่นจันทน์ ปากหอมเหมือนกลิ่นอุบล เป็นสตรีผู้มีสิริโฉมงดงาม น่ารัก น่าชม ใครเห็นต้องถูกตาติดใจ ใครเห็นต้องเลื่อมใส

คหบดีแก้ว
หรือขุน คลังแก้ว เป็นเศรษฐีคู่บุญพระเจ้าจักรพรรดิ หลังจากจักรแก้วปรากฏแล้ว คหบดีแก้วก็จะมีตาทิพย์ สามารถมองเห็นขุมทรัพย์ทั้งในดินและในน้ำในรัศมี ๑ โยชน์ เป็นผู้ชี้ขุมทรัพย์ให้พระเจ้าจักรพรรดินำมาใช้ประโยชน์ได้

ขุนพลแก้ว
หรือ ปรินายกแก้ว เป็นราชโอรสองค์ใหญ่ของพระเจ้าจักรพรรดิเป็นผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาดหลักแหลม เกินคนทั้งหลาย เป็นผู้มีเจโตปริยญาณรู้ใจของมหาชนในขอบเขต ๑๒ โยชน์ เป็นผู้ทำราชกิจทั้งปวงแทนพระเจ้าจักรพรรดิ

ที่มา : http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=4c1d23c5b498e5ae&pli=1

วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554

กินแอปเปิ้ล ลดไข้

กินแอปเปิ้ล ลดไข้

บางคนพอร่างกายอ่อนแอ ก็เป็นไข้ ปวดหัว ตัวร้อน ทว่าป่วยอย่างนี้บ่อยๆ แล้วจะต้องกินยาเรื่อยๆ คงไม่ดีนัก อีกทั้งคนกินยายากก็ยิ่งลำบากใจ วันนี้ 'มุมสุขภาพ' ภูมิใจแนะนำผลไม้ชนิดหนึ่งที่มีสรรพคุณลดไข้ได้ นั่นคือ 'แอปเปิ้ล'

ในแอปเปิ้ล อุดมด้วยสารอาหารมากมาย ทั้งวิตามินบี1 บี2 บี6 โพแทสเซียม กำมะถัน เหล็ก และแมกนีเซียม ช่วยคลายเครียด ล้างพิษในไตและตับ วิตามินซี เบต้าแคโรทีน ไฟโตเคมิคอลเควอเซติน กรดมาลิก และเส้นใยแพ็กติน ให้สรรพคุณช่วยย่อย ล้างกระเพาะและลำไส้ ที่สำคัญน้ำซึ่งสกัดจากแอปเปิ้ล ดื่มแล้วช่วยลดไข้ได้

เพื่อความอร่อย และเพิ่มคุณค่า ยังสามารถผสมน้ำแอปเปิ้ลรวมกับน้ำที่สกัดจากแครอต เป็นการเติมสรรพคุณกระตุ้นภูมิคุ้มกันอีกด้วย

หากต้องการทำเป็นดื่มน้ำแอปเปิ้ลและแครอต มีส่วนผสมที่ต้องเตรียม ประกอบด้วย...

แอปเปิ้ลเขียว 1 ถ้วย
แครอต 1 ถ้วย
น้ำแข็งป่น 1 ถ้วย

ขั้นตอนในการทำ ให้ล้างทำความสะอาดแอปเปิ้ลเขียวและแครอต จากนั้นขูดแครอตเป็นเส้นๆ ส่วนแอปเปิ้ลเขียวหั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมลูกเต๋าขนาดเล็ก ได้แล้วนำส่วนผสมไปสกัดพร้อมกันด้วยเครื่องสกัดน้ำผักและผลไม้ เสร็จแล้วเติมน้ำแข็งป่นช่วยเพิ่มรสชาติ และควรดื่มทันที.

จิตตภาวนา แหล่งสังหารกิเลส (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)

จิตตภาวนา แหล่งสังหารกิเลส

จิตตภาวนา แหล่งสังหารกิเลส (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)


ไม่ ว่า เศรษฐี กุฎุมพี คนทุกข์ คนจน ตายไปด้วยความหมุนกับงาน หมุนไปด้วยความทะเยอทะยานความดีดความดิ้นเหมือนกันหมด นี้งานของวัฏจักร งานของกิเลส พาสัตว์โลกให้ได้รับความทุกข์ความทรมานเพราะการดีดการดิ้นของจิตที่วิ่งไป ตามกิเลส นี่เรียกว่างานวัฏจักร

ทีนี้ งานวิวัฏจักร หมุนตัวเข้ามาสู่.. เริ่มต้นก็มีแต่สร้างคุณงามความดี เริ่มเข้ามาแล้วนะ จะประมวลวัฏจักรเข้ามาสู่หัวใจ การให้ทานก็ดี การรักษาศีล เจริญเมตตาภาวนา นี้ ล้วนแล้วตั้งแต่งานประมวลเข้ามาจะเข้ามาสู่หัวใจ นี่จะเป็นงานที่สิ้นสุดยุติจะมายุติที่ตรงนี้ ไอ้งานวัฏวนที่กิเลสพาทำบานปลายตลอด ตลอดตั้งกัปตั้งกัลป์ไม่มีคำว่าอ่อน อ่อนข้อไม่มี บานปลาย

ทีนี้งานภาวนานี้ประมวลเข้ามาสู่จิตใจ ประมวลเข้ามา การทำบุญให้ทานจิตใจมีความเอิบอิ่มในการทำบุญให้ทานด้วย ผลปรากฏขึ้นด้วย การรักษาศีล การภาวนา มีแต่ความดีหนุนเข้ามาจิตใจ แล้วทำวัฏวนวัฏจิตวัฏจักรที่เกิดตายไม่มีขอบเขตนั้นหดย่นเข้ามา สั้นเข้ามาๆ รวมลงมาหา จิตตภาวนา

เมื่อรวมลงเต็มที่แล้วก็มา จิตตภาวนานี้เป็นแหล่งสังหารกิเลส สังหารวัฏจักรให้ขาดสะบั้นไปจากจิตใจ กลายเป็นนิพพานสดๆ ร้อนๆ ขึ้นมา หมดแล้วงาน

นี่ละการบำเพ็ญธรรมะ งานสิ้นสุดลงได้เลย ดังพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ฆ่ากิเลสเสร็จลงไปแล้วพระพุทธเจ้าหมดงาน วุสิตํ พฺรหฺมจริยํ ไม่มีงานทำอีกแล้ว งานฆ่ากิเลสก็ฆ่าเรียบร้อยแล้ว งานอื่นยิ่งกว่าการฆ่ากิเลสไม่มี นั่นท่านหมดงาน

ท่านผู้สิ้นกิเลส แล้วเป็นผู้หมดงาน วัฏจิตวัฏจักรหมดโดยสิ้นเชิง นี่ละงานเข้ามาสู่ใจเป็นงานยุติภพชาติการเกิด แก่ เจ็บ ตายไม่มีสิ้นสุด จะมายุติที่งานจิตตภาวนา ลงที่จุดนี้แล้วยุติขาดสะบั้นไปหมด ให้พากันจำเอานะ งานนี้เป็นงานรวมยอดของการสังหารภพชาติของตัวเอง จะเกิดมากี่กัปกี่กัลป์จะมาสังหารกันที่จิตใจด้วย จิตตภาวนานี้แหละ เอาละให้พร

: หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

จิตซ่อมได้ กรรมแก้ไม่ได้

จิตซ่อมได้ กรรมแก้ไม่ได้


ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรรมและจิตนั้น
เป็นเรื่องยากจะหยั่งรู้ให้ทั่วถึง
แต่ง่ายที่จะทำความเข้าใจและสังเกตหลักฐานในตนได้


บาปกรรมที่ทำไว้แล้ว หวนกลับไปเปลี่ยนไม่ได้
เพราะฉะนั้นก็ต้องมีผลอย่างใดอย่างหนึ่งรออยู่
เปรียบเหมือนเราส่งแรงถีบจักรยาน
อย่างไรจักรยานก็ต้องมีแรงขับให้พุ่งไป
เราไม่มีทางย้อนเวลาหวนกลับไประงับแรงถีบ


แต่เรามีสิทธิ์ใส่แรงใหม่เข้าไป
เช่นบีบเบรกมือเพื่อให้เกิดการห้ามล้อ
หรือเอาเท้าลงลากพื้นเพื่อให้เกิดการชะลออยู่หยุดตัวได้
เทคนิคการเบรกมีหลายแบบ
และบางวิธีก็อาจพิสดารจนคนทั่วไปไม่ค่อยคิดทำ
เช่นส่ายหน้าจักรยานไปมาให้เกิดแรงเสียดทาน
หรือไม่ก็ยกล้อชี้ฟ้าดื้อๆเพื่อใช้เท้าทั้งสองเป็นตัวปักหลักหยุด


ถามว่าเราแก้ตรงที่ส่งแรงถีบหรือเปล่า
ไม่ใช่ครับ เราแก้ด้วยการใส่แรงต้านเข้าไปต่างหาก
กรรมก็เหมือนกัน เราแก้แบบให้มันเจ๊าๆกันไปไม่ได้
แต่เราเพิ่มกรรมใหม่ในทางตรงข้ามเข้าไปให้ของเก่าเจือจางได้
ดังเช่นที่พระพุทธเจ้าเปรียบว่าละลายเกลือด้วยน้ำจำนวนมากๆ
รสเค็มย่อมเจือจาง หรือไม่ก็หายไปเลย ทั้งที่เกลือก็ยังอยู่ตรงนั้น


ส่วนเรื่องของจิตนั้น
เรามักได้ยินกันว่าจิตตก จิตเสีย
อันนี้เห็นชัดหน่อยว่าตรงข้ามกับตกคือขึ้น
ตรงข้ามกับเสียคือคืนสภาพ
เป็นเรื่องที่ทำกันไม่ยาก ซ่อมแก้วยังยากกว่า
เพราะจิตไม่มีตัวตนเปราะบางเหมือนแก้ว
แต่จิตเป็นธรรมชาติภาวะที่เปลี่ยนง่าย
เป็นดวงกุศลบ้าง เป็นดวงอกุศลบ้าง
ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยเป็นขณะๆ


กรรมในอดีตอาจตกแต่งให้บางคนมีจิตเศร้าหมองเป็นประจำ
และเมื่อภาวะใดเกิดขึ้นบ่อยๆ
เจ้าตัวย่อมอุปาทานว่ามันจะเป็นของติดตัวตลอดไป แก้ไม่ได้
ความจริงก็คือเมื่อฝึกเจริญสติ สังเกตรู้ตามจริง
จะพบว่าเมื่อใดเราพบจิต
รู้วิธีที่จะเห็นภาวะของจิตที่ปรากฏต่อหน้าต่อตา
เมื่อนั้นสติก็ช่วย "ซ่อม" จิตให้เดี๋ยวนั้น
เพราะสติเป็นเหตุใกล้ให้เกิดกุศล เกิดความสว่าง
เกิดภาวะทางธรรมชาติดีๆขึ้นภายใน
แม้ความเศร้าหมองเพิ่งเล่นงานอยู่หยกๆ
พอเกิดสติเห็นว่าจิตเศร้าหมองสักแต่เป็นภาวะมืดๆมัวๆ
หาตัวตนบุคคลเราเขา มนุษย์หรือสัตว์ใดไม่เจอ
สติที่เกิดขึ้นแทนที่นั้นก็ยังจิตให้เปลี่ยนแปลงทันที
สมกับที่คัมภีร์บอกไว้ว่าเมื่อเกิดสติเท่าทันอกุศลจิต
อกุศลจิตจะเปลี่ยนเป็นมหากุศลในทันที


แต่ก็เหมือนกับรถนะครับ
เสียแล้วซ่อมผิด แทนที่จะกลับคืนดี กลายเป็นเสียหนักเข้าไปใหญ่
คนส่วนใหญ่ที่ไม่ศึกษาจิตตานุปัสสนาของพระพุทธเจ้า
จะซ่อมจิตด้วยความเครียด ด้วยความอยากเร่งให้ฟื้นคืนดี
แท้จริงเป็นการเพิ่มเหตุให้จิตหม่นหมองเป็นอกุศลเข้าไปใหญ่


ทิ้งเหตุให้จิตเศร้าหมอง เช่นสะใจกับการย้ำคิด ย้ำตรึกนึก
สร้างเหตุให้จิตสดใส เช่นคิดอภัย คิดเลิกรา
และใส่เหตุให้จิตเบิกบานบริสุทธิ์ คือคิดยอมรับตามจริง
จิตแย่ก็ยอมรับว่าแย่ จิตสว่างขึ้นนิดหนึ่งก็ยอมรับว่าสว่างขึ้นนิดหนึ่ง
จิตคลายก็ยอมรับว่าจิตคลาย จิตกลับมาแย่อีกก็ยอมรับว่าแย่อีก
เท่านี้แหละ สติก็เกิดขึ้นและค่อยๆผูกกันเป็นแพกุศล
พาลอยข้ามฝั่งจากความยึดมั่นว่าจิตคือเรา
ไปสู่ฝั่งแห่งความทิ้งว่าเราคือจิตเสียได้


ดังตฤณ
เมษายน ๕๔

วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ปวดท้องตรงไหนเป็นอะไรกันแน่

ปวดท้องตรงไหนเป็นอะไรกันแน่








อาการปวดท้องมักจะเกิดขึ้นอยู่เสมอ

แต่ส่วนมากเราจะไม่ค่อยรู้สาเหตุว่าปวดเพราะอะไร ทนได้ก็ทน แค่ถ้าทนไม่ได้ถึงจะกินยาแก้ปวด มูลนิธิหมอชาวบ้านจึงให้คำแนะนำว่า หน้าท้องแข็งเป็นดาน กดแล้วเจ็บ หรือกดแล้วท้องยุบลงไป แต่เจ็บทันทีที่ปล่อยมือ มีไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระมีสีดำ ปัสสาวะไม่ออกหรือถ่ายเป็นเลือด หน้าซีด เป็นลม ตัวเย็น เหงื่อออก ไม่รู้สึกตัว เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ตัวเหลือง อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หรือข้อใดข้อหนึ่ง ต้องรีบไปหาหมอทันที




เราสามารถแบ่งบริเวณที่ปวดท้องได้เป็น 9 ส่วน คือ


1. ชายโครงขวา คือตับและถุงน้ำดี อาการที่พบมักจะกดแล้วเจอก้อนแข็งร่วมกับอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ซึ่งสันนิษฐานเบื้องต้นได้ว่า อาจเป็นโรคเกี่ยวกับตับหรือถุงน้ำดี เช่น ตับอักเสบ ฝีในตับ ถุงน้ำดีอักเสบ

2. ใต้ลิ้นปี่ คือ กระเพาะอาหาร ตับอ่อน ตับ และกระดูกลิ้นปี่
- ปวดเป็นประจำเวลาหิวหรืออิ่ม อาจเป็นโรคเกี่ยวกับกระเพาะ
- ปวดรุนแรงร่วมกับคลื่นไส้อาเจียน อาจเป็นโรคตับอ่อนอักเสบ
- คลำเจอก้อนเนื้อค่อนข้างแข็งและมีขนาดใหญ่ อาจหมายถึงตับโต
- คลำได้ก้อนสามเหลี่ยมแบนเล็กๆ มักเป็นกระดูกลิ้นปี่

3. ชายโครงขวา คือ ้าม ซึ่งมักจะคลำเจอก้อนเนื้อบริเวณนี้

4. บั้นเอวขวา คือท่อไต ไต ลำไส้ใหญ่
- ปวดร่วมกับถ่ายอุจจาระผิดปกติหรือถ่ายเป็นเลือด อาจเป็นเพราะลำไส้ใหญ่อักเสบ
- ปวดร้าวถึงต้นขา อาจเป็นนิ่วในท่อไต
- ปวดร่วมกับปวดหลัง มีไข้ หนาวสั่น ปัสสาวะขุ่น อาจเป็นกรวยไตอักเสบ
- คลำเจอก้อนเนื้อ อาจเป็นไตโตผิดปกติหรือเนื้องอกในลำไส้ใหญ่

5. รอบสะดือ คือ ลำไส้เล็ก มักพบในโรคท้องเดินหรือไส้ติ่งอักเสบ ( ก่อนจะย้ายมาปวดท้องน้อยขวา) แต่ถ้าปวดแบบมีลมในท้อง ก็อาจเป็นเพราะกระเพาะลำไส้ทำงานผิดปกติ

6. บั้นเอวซ้าย คือ ท่อไต ไต ลำไส้ใหญ่ ( เหมือนข้อ 4)

7. ท้องน้อยขวา คือ ไส้ติ่ง ท่อไต และปีกมดลูก
- ปวดเกร็งเป็นระยะ ร้าวมาที่ต้นขา อาจเป็นเพราะมีก้อนนิ่วในกรวยไต
- ปวดเสียดตลอดเวลา กดแล้วเจ็บมาก มักเป็นไส้ติ่งอักเสบ
- ปวดร่วมกับมีไข้สูง หนาวสั่น มีตกขาว มักเป็นเพราะปีกมดลูกอักเสบ
- คลำแล้วเจอก้อนเนื้อ อาจเป็นก้อนไส้ติ่งหรือรังไข่ผิดปกติ

8. ท้องน้อย คือ กระเพาะปัสสาวะและมดลูก
- ปวดเวลาถ่ายปัสสาวะหรือถ่ายกระปริบกระปรอย มักเป็นเพราะกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
- ปวดเกร็งเวลามีประจำเดือน เป็นอาการปวดประจำเดือน แต่ในรายที่ปวดเรื้อรังในหญิงแต่งงานแล้วไม่มีบุตร อาจเป็นเนื้องอกในมดลูก

9. ท้องน้อยซ้าย คือ ปีกมดลูกและท่อไต
- ปวดเกร็งเป็นระยะและร้าวมาที่ต้นขา มักเป็นนิ่วในท่อไต
- ปวดร่วมกับมีไข้ หนาวสั่น ตกขาว เป็นเพราะมดลูกอักเสบ
- ปวดร่วมกับถ่ายอุจจาระผิดปกติ อาจเป็นเพราะลำไส้ใหญ่อักเสบ
- คลำพบก้อนร่วมกับอาการท้องผูกเป็นประจำ อาจเป็นเนื้องอกในลำไส้.

























ด้วยความปราถนาดีจาก เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ

"ธรรมวันหยุด...แต่ไม่หยุดทำ..."

"ธรรมวันหยุด...แต่ไม่หยุดทำ..."
(ธรรม...ในที่นี้คือ ความรู้ตัวทั่วพร้อมทุกกิริยาบท)



ธรรมชาติของจิตเดิม..”ของเรา”..นั้นล้วนสะอาด ล้วนเป็นคนดี ล้วนเป็นกลาง ไม่มีสุข
ไม่มีทุกข์ ล้วนไม่ได้ต้องการที่จะกระหายความโลภ ความโกรธ..แต่อย่างใด ๆ เลย

เมื่อกาลเวลา...หมุนเวียนเปลี่ยนไป..ทำให้ธรรมชาติของจิตเดิม...”ของเรา”...
เปลี่ยนแปลงจิตของเราได้มีการสะสมบางสิ่ง...บางอย่าง ซึ่งมีทั้งสีขาว...สีดำ...
มีทั้งสุข...มีทั้งทุกข์

บางสิ่ง...บางอย่าง....ได้ยินที่หูแต่...รับรู้ที่ใจ แล้วค่อย ๆ สะสมสุข สะสมทุกข์
ทำให้เกิดสีขาวบ้างถ้าพอใจ ชอบใจ ทำให้เกิดสีดำบ้าง ถ้าไม่สมดั่งใจ...
สีขาว ในที่นี้คือ อยากปฏิบัติธรรม ความพอใจ มันก็เกิด “สุข”
สีดำ ในที่นี้คือ ความอยากได้ ความอยากมี ความไม่สมดั่งใจ มันก็เกิด “ทุกข์”

หยุด...นิ่ง นิ่ง แล้วค่อย...ค่อยพิจารณาว่าเมื่อมี สีขาว จึงมี สีดำ เมื่อมีสุข ทุกข์ก็เกิด
นี่มันปกตินะ มันเป็นเรื่องธรรมดาที่มันเกิดขึ้น...เปลี่ยนแปลงไป..แล้วก็ดับลง..
เมื่อเราพิจาณาอย่างเข้าใจ และยอมรับความจริง...เรากำลังจะเห็น “ธรรม”

พระพุทธเจ้าสอนเรื่อง อิทัปปัจยตา คือ ”เมื่อสิ่งนี้เป็นปัจจัย...สิ่งนี้จึงเกิดตาม”

ฉะนั้น วันพระนี้...
ขอให้เธอทั้งหลาย “โอปะนะยิโก” คือ การน้อมเข้ามาปฏิบัติ ให้รู้ตัวทั่วพร้อม
ทุกอริยาบท (สติ) ตื่นเช้าก็รู้ (รู้ว่านอนท่าไหน) การเดิน การนั่ง การกิน การทำ การคิด
ทุก ๆ ทุกอริยาบท ช้าลงนิดนึง ช้าลง...เพื่อมีสติมากขึ้น บางครั้ง หลุดบ้าง ก็ให้เริ่ม
อีกครั้ง (ไม่เป็นไร) เมื่อเราน้อมกาย น้อมใจปฏิบัติอย่างจริงจัง เราจะค่อย ๆ เห็น...
ตัวของเราเองมากขึ้น ว่ามันมีสีขาวมาก หรือสีดำมากกว่ากัน เมื่อรู้แล้วก็ค่อย ๆ
ปรับให้พอดี...พอดี แล้วค่อย ๆ “วางเฉย...อย่าวางทิ้ง...”

นี่แหล่ะ >"...ธรรมวันหยุด...แต่ไม่หยุดทำ...”

อรรถกถา อลัมพุสาชาดก ว่าด้วย อิสิสิงคดาบสถูกทำลายตบะ

อรรถกถา อลัมพุสาชาดก
ว่าด้วย อิสิสิงคดาบสถูกทำลายตบะ
พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภการประเล้าประโลมของนางปุราณทุติยิกา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อถาพฺรวิ ดังนี้.
เรื่องในปัจจุบัน ข้าพเจ้ากล่าวไว้อย่างพิสดารใน อินทริยชาดก แล้วแล.
ก็พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ข่าวว่าเธอเป็นผู้กระสัน อยากสึกจริงหรือ? เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลรับเป็นคำสัตย์แล้ว ตรัสถามว่า ใครทำให้เธอกระสัน เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า นางปุราณทุติยิกา จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ หญิงนี้ก่อความฉิบหายแก่เธอ เธออาศัยหญิงนี้ ยังฌานให้พินาศ เป็นผู้หลงใหล สลบนอนอยู่สิ้น ๓ ปี ต่อเมื่อเกิดสำนึกได้ จึงปริเวทนาอย่างใหญ่หลวง
แล้วทรงนำอดีตนิทานมาแสดงดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ณ กาสิกรัฐ เจริญวัยแล้ว ถึงความสำเร็จในสรรพศิลปศาสตร์ แล้วบวชเป็นฤาษี มีมูลผลาผลในป่าเป็นอาหาร ยังอัตภาพให้เป็นไปในป่ากว้าง.
ครั้งนั้น แม่เนื้อตัวหนึ่งเคี้ยวกินหญ้าอันเจือด้วยน้ำเชื้อ ในสถานที่ปัสสาวะของพระดาบสนั้นแล้วดื่มน้ำ. และด้วยเหตุเพียงเท่านี้เอง มันมีจิตปฏิพัทธ์รักใคร่ในพระดาบส จนตั้งครรภ์ นับแต่นั้นมาก็ไม่ยอมไปไหน เที่ยวอยู่ใกล้ๆ อาศรมนั่นเอง. พระมหาสัตว์กำหนดดู ก็รู้เหตุนั้นทั่วถึง.
ต่อมา แม่เนื้อคลอดบุตรเป็นมนุษย์. พระมหาสัตว์จึงเลี้ยงทารกนั้นไว้ ด้วยความรักใคร่ว่าเป็นบุตร ตั้งชื่อให้ว่า อิสิสิงคกุมาร. ในเวลาต่อมา พระมหาสัตว์จึงให้อิสิสิงคกุมารผู้รู้เดียงสาแล้วบวช ในเวลาตนชราลง ได้พาดาบสกุมารนั้นไปสู่นารีวัน กล่าวสอนว่า ลูกรัก ขึ้นชื่อว่าสตรีเช่นกับดอกไม้เหล่านี้ มีอยู่ในป่าหิมพานต์นี้ สตรีเหล่านั้นย่อมยังชนผู้ตกอยู่ในอำนาจตน ให้ถึงความพินาศอย่างใหญ่หลวงได้ ไม่ควรที่เจ้าจะไปสู่อำนาจของสตรีเหล่านั้น ดังนี้แล้ว
ครั้นในเวลาต่อมา ก็ทำกาลกิริยา เป็นผู้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า. ฝ่ายอิสิสิงคดาบส เมื่อประลองฌานกีฬาก็พักอยู่ในหิมวันตประเทศ ได้เป็นผู้มีตบะกล้า เป็นผู้มีอินทรีย์อันชำนะแล้วอย่างยวดยิ่ง.
ครั้งนั้น พิภพของท้าวสักกเทวราชหวั่นไหว ด้วยเดชแห่งศีลของพระดาบส ท้าวสักกเทวราชทรงใคร่ครวญดู ก็ทราบเหตุนั้น ทรงพระดำริว่า พระดาบสนี้จะพึงยังเราให้เคลื่อนจากความเป็นท้าวสักกะ เราจักต้องส่งนางอัปสรคนหนึ่งให้ไปทำลายศีลของเธอ ดังนี้แล้ว ทรงพิจารณาเทวโลกทั้งสิ้นในท่ามกลางเหล่าเทพบริจาริกาจำนวนสองโกฏิครึ่งของพระองค์ มิได้ทรงเห็นใครอื่น ซึ่งสามารถที่จะทำลายศีลของพระอิสิสิงคดาบสได้ นอกจาก นางเทพอัปสร ชื่อ อลัมพุสา ผู้เดียว จึงรับสั่งให้นางมาเฝ้า แล้วทรงบัญชาให้ทำลายศีลของพระอิสิสิงคดาบสนั้น.
เมื่อพระบรมศาสดาจะทรงทำเนื้อความนั้นให้แจ้ง จึงตรัสพระคาถาที่ ๑ ความว่า
ครั้งนั้น พระอินทร์ผู้เป็นใหญ่ผู้ทรงครอบงำวัตรอสูร เป็นพระบิดาแห่งเทพบุตรผู้ชนะ ประทับนั่งอยู่ ณ สุธรรมเทวสภา รับสั่งให้เรียกนางอลัมพุสาเทพกัญญามาเฝ้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺรหา แปลว่า ผู้เป็นใหญ่.
บทว่า วตฺรภู ความว่า ผู้ทรงครอบงำอสูรชื่อ วัตระ.
บทว่า ชยตํ ปิตา ความว่า เป็นพระบิดาแห่งเทพบุตรที่เหลือสามสิบสามองค์ ผู้ชนะคือถึงความชำนะด้วยยังกิจแห่งบิดาให้สำเร็จ.
บทว่า ปราเภตฺวา ความว่า เป็นประดุจสำรวจตรวจสอบกายใจ จึงรู้ว่า นางอลัมพุสานี้เป็นกำลังต่อต้านได้.
บทว่า สุธมฺมายํ ความว่า ประทับนั่งบนบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ในสุธรรมาเทวสภา รับสั่งให้เรียกนางอลัมพุสานั้นมาเฝ้า แล้วตรัสคาถานี้ ความว่า

ดูก่อนนางอลัมพุสาผู้เจือปนด้วยกิเลส สามารถจะเล้าโลมฤาษีได้ เทวดาชั้นดาวดึงส์พร้อมด้วยพระอินทร์ขอร้องเจ้า เจ้าจงไปหาอิสิสิงคดาบสเถิด.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถานั้นดังต่อไปนี้
ท้าวสักกเทวราชตรัสทักนางอลัมพุสาเทพกัญญานั้นว่า มิสฺเส และคำนี้เป็นชื่อของนางเทพกัญญานั้น. ก็หญิงทุกจำพวกท่านเรียกว่า มิสฺสา เพราะคลุกเคล้าระคนด้วยกิเลสในบุรุษ.
เมื่อท้าวสักกเทวราชจะทรงทักทายด้วยคุณนามอันสาธารณ์นั้น จึงตรัสอย่างนี้.
บทว่า อิสิปโลภิเก ความว่า ดูก่อนเจ้าผู้สามารถจะเล้าโลมพระฤาษี.
บทว่า อิสิสิงฺคํ ความว่า ได้ยินว่า จุกสองจุกอันเกิดบนศีรษะของท่านอิสิสิงคดาบสนั้น โดยอาการอย่างเนื้อเขา เพราะเหตุนั้น เขาจึงเรียกกันอย่างนี้.
ด้วยประการฉะนี้ ท้าวสักกเทวราชจึงตรัสบัญชานางอลัมพุสาว่า เจ้าจงไป จงเข้าไปหาท่านอิสิสิงคดาบส นำมาสู่อำนาจของตน แล้วทำลายศีลของเธอเสีย ดังนี้แล้ว ตรัสคำเป็นคาถานี้ว่า
ดาบสองค์นี้มีวัตร ประพฤติพรหมจรรย์ ยินดียิ่งในนิพพาน เป็นผู้เจริญ อย่าเพิ่งล่วงเลยพวกเราไปก่อนเลย เจ้าจงห้ามมรรคของเธอเสีย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุรายํ ความว่า พระดาบสนี้เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวัตร และประพฤติพรหมจรรย์ อนึ่ง พระดาบสนั้นแลยินดียิ่งแล้วใน มรรคคือพระนิพพาน และเจริญแล้วด้วยคุณวุฒิ เพราะความเป็นผู้มีอายุยืน เพราะฉะนั้น ดาบสนี้จะครอบงำพวกเราไม่ได้ คือไม่ครอบงำ ทำให้พวกเราเคลื่อนจากที่ได้เพียงใด เจ้าจงไปห้ามมรรคที่จะไปสู่เทวโลกของเธอเสียเพียงนั้นทีเดียว อธิบายว่า เธอจงทำโดยประการที่ดาบสนั้นจะมาในที่นี้ไม่ได้.
นางอลัมพุสาเทพกัญญาได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถา ๒ คาถาความว่า
ข้าแต่พระเทวราช พระองค์ทรงทำอะไร ทรงมุ่งหมายแต่หม่อมฉันเท่านั้น รับสั่งว่า แนะเจ้าผู้อาจจะเล้าโลมฤาษีได้ เจ้าจงไปเถิด ดังนี้ นางเทพอัปสรแม้อื่นๆ มีอยู่.
นางเทพอัปสรผู้ทัดเทียมหม่อมฉัน หรือประเสริฐกว่าหม่อมฉัน ก็มีอยู่ในนันทนวัน อันหาความเศร้าโศกมิได้ วาระ คือ การไปจงมีแก่นางเทพอัปสรเหล่านั้น แม้นางเทพอัปสรเหล่านั้น จงไปประเล้าประโลมเถิด.
ในบรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า กิเมว ตฺวํ นี้ นางอลัมพุสาเทพอัปสรแสดงความว่า พระองค์ทรงกระทำสิ่งนี้ชื่ออะไรกัน. ด้วยบทว่า มเมว ตุวํ สิกฺขสิ นางอลัมพุสาเทพอัปสรกล่าวโดยมุ่งประสงค์ว่า ในเทวโลกนี้ทั้งสิ้น ใยพระองค์ทรงสำเหนียกเฉพาะหม่อมฉันผู้เดียว ไม่ทรงแลดูผู้อื่นบ้าง. ก็ ส อักษรในคาถานี้ ทำการเชื่อมพยัญชนะ. อธิบายว่า เพราะเหตุไร จึงตรัสอย่างนี้ว่า แน่ะเจ้าผู้สามารถเล้าโลมพระฤาษี เจ้าจงไปเถิดดังนี้.
บทว่า ปวรา เจว ความว่า นางเทพธิดาผู้ยิ่งกว่าหม่อมฉัน ยังมีอยู่.
บทว่า อโสเก แปลว่า ผู้ปราศจากความเศร้าโศก.
บทว่า นนฺทเน ได้แก่ ในสวนอันเป็นที่เกิดความยินดี.
บทว่า ปริยาโย ได้แก่ วาระคือการไป.
ลำดับนั้น ท้าวสักกเทวราชได้กล่าวคาถา ๓ คาถาความว่า
เจ้าพูดจริงโดยแท้แล นางเทพอัปสรอื่นๆ ที่ทัดเทียมกับเจ้า แลยิ่งกว่าเจ้า มีอยู่ในนันทนวันอันหาความโศกมิได้.
ดูก่อนนางผู้มีอวัยวะงามทุกส่วน ก็แต่ว่า นางเทพอัปสรเหล่านั้นไปถึงชายเข้าแล้ว ย่อมไม่รู้จักการบำเรออย่างที่เจ้ารู้.
ดูก่อนโฉมงาม เจ้านั่นแหละจงไป เพราะว่า เจ้าเป็นผู้ประเสริฐกว่าหญิงทั้งหลาย เจ้าจักนำดาบสนั้นมาสู่อำนาจได้ ด้วยผิวพรรณและรูปร่างของเจ้าเอง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุมํ คตา ความว่า หญิงเหล่านั้น เมื่อเข้าไปหาชาย ก็ไม่รู้จักการบำเรอ คือการเล้าโลมชาย. บทว่า วณฺณรูเปน ความว่า ด้วยวรรณะแห่งสรีระ และด้วยรูปสมบัติ. บทว่า วสมานาปยิสฺสสิ ความว่า เจ้าจักนำดาบสนั้นมาสู่อำนาจของตน.
นางอลัมพุสาเทพกัญญาได้สดับดังนั้น ได้กล่าวคาถา ๒ คาถาความว่า
หม่อมฉันอันท้าวเทวราชทรงใช้ จักไม่ไปหาได้ไม่ แต่หม่อมฉันกลัวที่จะเบียดเบียนพระดาบสนั้น เพราะท่านเป็นพราหมณ์ มีเดชฟุ้งเฟื่อง.
ชนทั้งหลายมิใช่น้อย เบียดเบียนพระฤาษีแล้ว ต้องตกนรก ถึงสังสารวัฏเพราะความหลง เพราะเหตุนั้น หม่อมฉันจึงต้องขนลุกขนพอง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นวาหํ ตัดบทเป็น นเว อหํ. บทว่า วิเภมิ ความว่า หม่อมฉันหวั่นเกรง. บทว่า อาสาทุ ํ แปลว่า ทำให้ขุ่นเคือง. ท่านกล่าวอธิบายความไว้ว่า ข้าแต่เทวะ พระองค์ทรงใช้หม่อมฉันแล้วจักไม่ไปก็ไม่ได้ ก็แต่ว่า หม่อมฉันกลัวที่จะต้องยึดพระอิสิสิงคดาบส เพื่อทำลายศีล เพราะท่านเป็นผู้มีเดชสูงส่ง. บทว่า อาสาทิยา ความว่า เบียดเบียนพระฤาษี.
บทว่า โมหสํสารํ ความว่า สัตว์ทั้งหลายมิใช่น้อย เบียดเบียนพระฤาษีถึงสังสารวัฏ เพราะความหลง เล้าโลมพระฤาษีเพราะความหลงแล้วถึงสังสารวัฏ ตั้งอยู่ในวัฏทุกข์ นับไม่ถ้วน. บทว่า ตสฺมา ความว่า ด้วยเหตุนั้นหม่อมฉัน... บทว่า โลมานิ หํสเย ความว่า หม่อมฉันจึงขนลุกขนพอง.
นางอลัมพุสาเทพกัญญาทูลว่า เมื่อหม่อมฉันคิดว่า เราจักต้องทำลายศีลของพระดาบสดังนี้ โลมชาติก็ชูชัน.

พระบรมศาสดาตรัสอภิสัมพุทธคาถาเหล่านี้ ความว่า
นางอลัมพุสาเทพอัปสร ผู้มีวรรณะน่ารักใคร่ ผู้เจือปนด้วยกิเลส ปรารถนาจะยังอิสิสิงคดาบสให้ผสม ครั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว ก็หลีกไป.
ก็นางอลัมพุสาเทพอัปสรนั้น เข้าไปยังป่าที่อิสิสิงคดาบสรักษา อันดาดาษไปด้วยเถาตำลึงโดยรอบประมาณกึ่งโยชน์.
นางได้เข้าไปหาอิสิสิงคดาบส ผู้กำลังปัดกวาดโรงไฟ ใกล้เวลาอาทิตย์อุทัย ก่อนเวลาอาหารเช้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปกฺกามิ ความว่า นางอลัมพุสาเทพกัญญานั้นทูลว่า ข้าแต่พระเทวราชเจ้า ถ้าเช่นนั้น พระองค์โปรดคำนึงถึงหม่อมฉัน แล้วเข้าสู่ห้องนอนของตน ประดับตกแต่ง ปรารถนาจะยังพระอิสิสิงคดาบสให้ผสมด้วยกิเลส จึงหลีกไป.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นางอัปสรนั้นไปสู่อาศรมของอิสิสิงคดาบสแล้ว.
บทว่า พิมฺพชาลรตฺตสญฺฉนฺนํ ความว่า อันดาดาษไปด้วยป่าตำลึง.
บทว่า ปาโตว ปาตราสมฺหิ ความว่า แต่เช้าตรู่ คือก่อนเวลาอาหารเช้าทีเดียว.
ก่อนเวลาเพียงไร แค่ไหน?
บทว่า อุทยสมยํ ปฏิ ความว่า ในเวลาเช้า ใกล้เวลาพระอาทิตย์ขึ้นนั่นเอง.
บทว่า อคฺคิสาลํ ได้แก่ โรงไฟ.
อธิบายความว่า นางอลัมพุสาเทพอัปสรนั้นเข้าไปหาอิสิสิงคดาบสนั้น ซึ่งประกอบความเพียรในกลางคืนแล้ว สรงน้ำแต่เช้าตรู่ ทำอุทกกิจเสร็จแล้ว ยับยั้งอยู่ด้วยฌานสุขในบรรณศาลาหน่อยหนึ่ง จึงออกมากวาดโรงไฟอยู่ นางยืนแสดงความงามของหญิงอยู่ข้างหน้าของพระอิสิสิงคดาบสนั้น.
ลำดับนั้น พระดาบส เมื่อจะถามนาง จึงกล่าวว่า
เธอเป็นใครหนอ มีรัศมีเหมือนสายฟ้า หรืองามดังดาวประกายพรึก มีเครื่องประดับแขนงามวิจิตร ล้วนแก้วมุกดา แก้วมณี และกุณฑล.
ประหนึ่งแสงอาทิตย์ มีกลิ่นจุรณจันทน์ ผิวพรรณดุจทองคำ ลำขางามดี มีมารยาทมากมาย กำลังแรกรุ่นสะคราญโฉม น่าดูน่าชม.
เท้าของเธอไม่เว้ากลาง อ่อนละมุน แสนสะอาด ตั้งลงด้วยดี การเยื้องกายของเธอน่ารักใคร่ ทำใจของเราให้วาบหวามได้ทีเดียว.
อนึ่ง ลำขาของเธอเรียวงาม เปรียบเสมอด้วยงวงช้าง โดยลำดับ ตะโพกของเธอผึ่งผาย เกลี้ยงเกลา ดังแผ่นทองคำ.
นาภีของเธอตั้งลงเป็นอย่างดี เหมือนฝักดอกอุบล ย่อมปรากฏแต่ที่ไกล คล้ายเกสรดอกอัญชันเขียว.
ถันทั้งคู่เกิดที่ทรวงอก หาขั้วมิได้ ทรงไว้ซึ่งขีรรส ไม่หดเหี่ยว เต่งตึงทั้งสองข้าง เสมอด้วยน้ำเต้าครึ่งซีก.
คอของเธอประดุจเนื้อทราย บางคล้ายหน้าสุวรรณเภรี มีริมฝีปากเรียบงดงาม เป็นที่ตั้งแห่งมนะที่ ๔ คือ ชิวหา.
ฟันของเธอทั้งข้างบน ข้างล่าง ขัดสีแล้วด้วยไม้ชำระฟัน เกิดสองคราวเป็นของหาโทษมิได้ ดูงามดี.
นัยน์ตาทั้งสองข้างของเธอดำขลับ มีสีแดงเป็นที่สุด สีดังเม็ดมะกล่ำ ทั้งยาวทั้งกว้าง ดูงามนัก.
ผมที่งอกบนศีรษะ ของเธอไม่ยาวนักเกลี้ยงเกลาดี หวีด้วยหวีทองคำ มีกลิ่นหอมฟุ้งด้วยกลิ่นจันทน์.
กสิกรรม โครักขกรรม การค้าของพ่อค้า และความบากบั่นของฤาษีทั้งหลาย ผู้สำรวมดีด้วยตบะ มีประมาณเท่าใด เราไม่เห็นบุคคลมีประมาณเท่านั้น ในปฐพีมณฑลนี้ จะเสมอเหมือนกับเธอ เธอเป็นใคร หรือเป็นบุตรของใคร เราจะรู้จักเธอได้อย่างไร?

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิจิตฺตหตฺถาภรณา ความว่า ถึงพร้อมด้วยหัตถาภรณ์อันวิจิตร. บทว่า เหมจนฺทนคนฺธินี ความว่า ลูบไล้ด้วยกลิ่นจันทน์ มีสีตัวดังทอง.
บทว่า สญฺญตูรุ ความว่า ขาเป็นลำกลมกลึงดี คือมีลักษณะขาที่สมบูรณ์.
บทว่า วิลากา แปลว่า (เท้าของเธอ) ไม่เว้ากลาง. บทว่า มุทุกา ความว่า อ่อนนุ่ม สุขุมาลชาติ. บทว่า สุทฺธา ได้แก่ ปราศจากมลทิน. บทว่า สุปติฏฺฐิตา ความว่า เมื่อเหยียบต้องแผ่นดิน ก็เรียบเสมอ ประดิษฐานอยู่ด้วยดี.
บทว่า กมนา แปลว่า ผู้ก้าวเดินไป. บทว่า กามนียา ความว่า เมื่อก้าวเดิน ก็ชดช้อยน่ารัก. บทว่า หรนฺติเยว เม มโน ความว่า เท้าทั้งสองของเจ้าผู้ก้าวเดินไป ด้วยลีลาอันงามสง่าของหญิงชั้นสูงเห็นปานนี้ เหล่านี้ ย่อมเร้าจิตของเราทีเดียว.
บทว่า วิมฏฺฐา แปลว่า งดงาม. บทว่า สุสฺโสณิ ได้แก่ มีตะโพกผึ่งผาย งดงาม. บทว่า อกฺขสฺส ความว่า ตะโพกของเจ้าผึ่งผายงดงาม คล้ายแผ่นกระดานทอง.
บทว่า อุปฺปลสฺเสว กิญฺชกฺขา ความว่า เหมือนกับช่อแห่งนีลอุบล.
บทว่า กญฺหญฺชนสฺเสว ความว่า พระดาบสกล่าวอย่างนี้ เพราะนางเทพอัปสรนั้นเป็นผู้มีโลมชาติดำละเอียดวิจิตร.
พระดาบส เมื่อจะชมถันทั้งสอง จึงกล่าวคาถาว่า ทุวิธา เป็นต้น. แท้จริง ถันอันเกิดที่อกทั้งคู่นั้น ชื่อว่าหาขั้วมิได้ เพราะไม่มีขั้ว เป็นของติดอยู่ที่อกอย่างเดียว ชื่อว่าปรากฏด้วยดี เพราะยื่นออกมาด้วยดี ชื่อว่าทรงไว้ซึ่งน้ำนม เพราะทรงกษีรรสไว้.
บทว่า อปฺปตีตา ความว่า ไม่ย่นหย่อน คือชื่อว่าไม่ตก เพราะไม่เหี่ยว ไม่ลด หรือเพราะไม่หดเข้าข้างใน. ถันทั้งคู่ล้วนแล้วด้วยทองที่ตั้งไว้บนแผ่นทอง ชื่อว่าเสมอด้วยน้ำเต้าครึ่งซีก เพราะทัดเทียมกับน้ำเต้ากลมๆ ครึ่งซีก.
บทว่า เอเณยฺยกา ยถา ความว่า คอแห่งเนื้อทรายทั้งยาว ทั้งกลม ย่อมงดงามฉันใด คอของเธอยาวนิดหน่อย ก็งามฉันนั้น. บทว่า กมฺพุตลาภาสา ความว่า คอของเธอเรียบงามดุจพื้นสุวรรณเภรี. บทว่า ปณฺฑราวรณา ได้แก่ มีซี่ฟันสละสลวย.
บทว่า จตุตฺถมนสนฺนิภา ความว่า ชิวหาอันเป็นที่ตั้งแห่งมนะที่ ๔ ท่านเรียกว่า จตุตถมนะ พระดาบสกล่าวว่า ริมฝีปากของเจ้า ก็เช่นเดียวกับชิวหา เพราะแดงระเรื่อน่ารัก.
บทว่า อุทฺธคคา ได้แก่ ฟันบน. บทว่า อธคฺคา ได้แก่ ฟันล่าง.
บทว่า ทุมคฺคปริมชฺชิตา ความว่า (ฟันทั้งข้างบนข้างล่าง) ชำระแล้วด้วยไม้สีฟัน จนสะอาดบริสุทธิ์.
บทว่า ทุวิชา แปลว่า เกิดสองครั้ง.
บทว่า เนลสมฺภูตา ความว่า ฟันเกิดเองสองครั้งในที่สุดแห่งเนื้อคาง อันหาโทษมิได้.
บทว่า อปณฺฑรา หมายความว่า ดำ. บทว่า โลหิตนฺตา แปลว่า มีขอบแดง.
บทว่า ชิญฺชุกผลสนฺนิภา ความว่า ในที่ที่ควรแดงเช่นเดียวกับผลมะกล่ำ.
บทว่า สุทสฺสนา ความว่า ประกอบด้วยประสาททั้ง ๕ ชวนดู ชวนชม ไม่รู้อิ่ม.
บทว่า นาติทีฆา ความว่า ขนาดพอเหมาะพอดี.
บทว่า สุสมฏฺฐา ความว่า เกลี้ยงเกลาด้วยดี.
บทว่า กนกพฺยา สโมจิตา ความว่า หวีทอง ท่านเรียกว่า กนกัพยา เอาน้ำมันหอมมาชโลมหวีทองนั้น ตบแต่งให้งดงาม
พระดาบสแสดงถึงสัตว์ผู้มีชีวิตอยู่ได้ ก็เพราะอาศัยกสิกรรม และโครักขกรรม ด้วยบทนี้ว่า อสิโครกฺขา.
บทว่า ยา คติ ความว่า ความสำเร็จมีประมาณเท่าใด.
บทว่า ปรกฺกนฺตํ ความว่า ความบากบั่นของฤาษีมีประมาณเท่าใด. อธิบายว่า ฤาษีทั้งหลายแพร่หลายอยู่ในหิมวันตประเทศนี้ มีประมาณเท่าใด.
บทว่า น เต สมสมํ ความว่า ในชนทั้งหมดเหล่านั้น เราไม่เห็นแม้คนเดียว ที่จะทัดเทียมเจ้าได้ ด้วยรูปร่างและงดงามด้วยท่วงทีลีลาเป็นต้น เมื่อดาบสรู้ว่า นางนั้นเป็นสตรี จึงถามด้วยสามารถโวหารแห่งบุรุษนี้ว่า โก วา ตฺวํ เป็นต้น.
เมื่อพระดาบสกล่าวชมตน ตั้งแต่เท้าจนถึงผมอย่างนี้ นางอลัมพุสาเทพกัญญานั้นก็นิ่งเสีย
เมื่อสืบอนุสนธิตามลำดับของคำนั้นแล้ว นางอลัมพุสาเทพกัญญาก็รู้ว่า พระดาบสนั้นเป็นผู้หลงใหล จึงกล่าวคาถาความว่า
ดูก่อนท่านกัสสปะผู้เจริญ เมื่อจิตของท่านเป็นอย่างนี้แล้ว ก็ไม่ใช่กาลที่จะเป็นปัญหา มาเถิดท่านที่รัก เราทั้งสองจักรื่นรมย์กันในอาสนะของเรา มาเถิดท่าน ฉันจักเคล้าคลึงท่าน ท่านจงเป็นผู้ฉลาดในกระบวนความยินดีด้วยกามคุณ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กสฺสเปวํ คเต สติ ความว่า ดูก่อนท่านผู้กัสสปโคตร เมื่อจิตของท่านเป็นไปอย่างนี้แล้ว ก็ไม่น่าจะเป็นปัญหา.
บทว่า สมฺมา นี้ เป็นคำเรียนเชิญด้วยถ้อยคำที่น่ารัก.
บทว่า รตีนํ ความว่า ท่านจงเป็นผู้ฉลาดกระบวนความยินดีในเบญจกามคุณ.
นางอลัมพุสาเทพกัญญากล่าวอย่างนี้แล้ว คิดว่า เมื่อเรายืนเฉยอยู่ พระดาบสนี้ก็จักไม่ยอมเข้าอ้อมแขนเรา เราจักเดิน ทำท่าทีเหมือนจะไปเสีย นางจึงเข้าไปหาพระดาบส เพราะตนเป็นผู้ฉลาดในมารยาหญิง จึงเดินบ่ายหน้าไปตามทางที่มาแล้ว.
เมื่อจะประกาศเนื้อความนั้น พระบรมศาสดาจึงตรัสว่า
นางอลัมพุสาเทพอัปสร ผู้มีผิวพรรณน่ารักใคร่ ผู้เจือปนด้วยกิเลส ปรารถนาจะให้อิสิสิงคดาบสผสม ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็หลีกไป.
ลำดับนั้น พระดาบสเห็นนางกำลังเดินไป คิดว่า นางจะไปเสีย จึงสลัดความเฉื่อยชา ล่าช้าของตนเสียแล้ว วิ่งไปโดยเร็ว เอามือลูบคลำที่เรือนผม.
เมื่อพระบรมศาสดาจะประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระคาถาความว่า
ส่วนอิสิสิงคดาบสนั้น รีบเดินออกไปโดยเร็ว สลัดตัดความเฉื่อยชาล่าช้าเสีย ไปทันเข้า ก็จับที่มวยผมอันอุดมของนางไว้.
นางเทพอัปสรผู้สะคราญโฉม ก็หมุนตัวกลับมาสวมกอดพระดาบสไว้ อิสิสิงคดาบสก็เคลื่อนจากพรหมจรรย์ ตามที่ท้าวสักกเทวราชทรงปรารถนา ภายหลังนางเทพอัปสร ก็มีใจยินดี.
รำลึกถึงพระอินทร์ ผู้ประทับอยู่ในนันทนวัน ท้าวมฆวานเทพกุญชรทรงทราบความดำริของนางแล้ว จึงทรงส่งบัลลังก์ทอง พร้อมทั้งเครื่องบริวารมาโดยพลัน.
ทั้งผ้าปิดทรวง ๕๐ ผืน เครื่องลาด ๑,๐๐๐ ผืน นางอลัมพุสาเทพอัปสร กอดพระดาบสแนบทรวงอก บนบัลลังก์นั้น.
นางโอบกอดไว้ถึง ๓ ปี ดูเหมือนครู่เดียวเท่านั้น พราหมณ์ดาบสสร่างเมาแล้วรู้สึกตัวได้ โดยล่วงไป ๓ ปี.
ได้เห็นหมู่ไม้เขียวชอุ่มโดยรอบเรือนไฟ ผลัดใบใหม่ดอกบาน อึงคะนึงด้วยเสียงแห่งนกดุเหว่า.
เธอตรวจตราดูโดยรอบแล้ว ร้องไห้น้ำตาไหลริน ปริเทวนาการว่า เรามิได้บูชาไฟ มิได้ร่ายมนต์ อะไรบันดาลให้การบูชาไฟต้องเสื่อมลง.
ผู้ใดใครหนอ มาประเล้าประโลมจิตของเราด้วยการบำเรอในก่อน ยังฌานอันเกิดพร้อมกับเดชของเรา ผู้อยู่ในป่าให้พินาศ ดุจบุคคลยึดเรืออันเต็มด้วยรัตนะต่างๆ ในห้วงอรรณพ ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อชฺฌปฺปตฺโต ความว่า พระดาบสนั้นมาทันเข้า.
บทว่า ตมุทาวตฺต กลฺยาณี ความว่า นางอลัมพุสาเทพกัญญาผู้งามชดช้อย พราวเสน่ห์ เอี้ยวตัวกลับมากอดพระฤาษีนั้น ซึ่งยืนลูบคลำผมอยู่.
บทว่า ปลสฺสชิ แปลว่า สวมกอด.
บทว่า จวิ ตมฺหิ พฺรหฺมจริยา ยถา ตํ อถ โตสิตา ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทันใดนั้นเอง ฌานของพระฤาษีนั้นก็อันตรธานไป เมื่อเธอเคลื่อนจากฌานพรหมจรรย์นั้นแล้ว ได้เป็นไปอย่างข้อที่ท้าวสักกเทวราชทรงปรารถนานั่นเอง.
ลำดับนั้น นางเทพกัญญาผู้อันท้าวสักกเทวราชทรงส่งมานั้น รู้ว่าความปรารถนาของท้าวสักกเทวราชสำเร็จแล้ว ก็เกิดปีติปราโมทย์ ด้วยการยังพรหมจรรย์ของพระดาบสนั้นให้พินาศ.
บทว่า มนสา อคมา ความว่า นางยืนกอดพระดาบสนั้นอยู่ ใจได้ประวัติถึงพระอินทร์อย่างนี้ว่า โอ! ท้าวสักกะควรส่งบัลลังก์มา.
บทว่า นนฺทเน ความว่า ท้าวสักกเทวราชผู้ประทับอยู่ในดาวดึงส์พิภพ กล่าวคือ ที่ชื่อว่านันทนวัน เพราะสามารถให้เกิดความยินดี.
บทว่า เทวกุญฺชโร ได้แก่ เทวราชผู้ประเสริฐ.
บทว่า ปาหิณิ แปลว่า จงส่งไป. ปาฐะว่า ปหิณิ ดังนี้ก็มี. บทว่า โสปวาทนํ ได้แก่ สุวรรณบัลลังก์พร้อมทั้งบริวาร.
บทว่า สอุรจฺฉทปญฺญาสํ ได้แก่ เครื่องนุ่งห่ม พร้อมด้วยผ้าสำหรับปกปิดอก ๕๐ ผืน. บทว่า สหสฺสปฏิยตฺถตํ ได้แก่ เครื่องลาด คือ ผ้าโกเชาว์อันเป็นทิพย์พันหนึ่ง. บทว่า ตเมนํ ตตฺถ ความว่า นางนั่งบนทิพบัลลังก์นั้น กอดพระอิสิสิงคดาบสแนบไว้ที่อก.
บทว่า ตีณิ วสฺสานิ ความว่า นางกอดพระอิสิสิงคดาบสให้นอนแนบอก นั่งอุ้มอยู่บนบัลลังก์นั้น สิ้นเวลา ๓ ปี โดยการนับเวลาแห่งมนุษย์ ประดุจครู่เดียว.
บทว่า วิมโท ความว่า พระดาบสนั้นสร่างเมา คือความเป็นผู้ปราศจากการสลบ. เพราะพระดาบสนอนสลบไสลอยู่ตลอดสามปี ภายหลังกลับได้สมปฤดีตื่นขึ้น เมื่อพระดาบสกำลังตื่นขึ้น นางอลัมพุสาเห็นอาการกระดิกมือเป็นต้นแล้ว ทราบว่า พระดาบสกำลังจะตื่นขึ้น จึงบันดาลให้บัลลังก์อันตรธานไป แม้ตนเองก็ได้อันตรธานไปยืนซ่อนอยู่.
บทว่า อทฺทสาสิ ความว่า พระดาบสนั้นตรวจตราดูอาศรมแล้ว คิดว่า ใครกันหนอ ทำให้เราถึงสีลวิบัติ แล้วปริเทวนาการด้วยเสียงอันดัง ได้มองเห็นแล้ว.
บทว่า หริตรุกฺเข ความว่า ได้เห็นต้นไม้มีใบเขียวสดขึ้นล้อมโรงไฟ กล่าวคือกองกูณฑ์อยู่โดยรอบ.
บทว่า นวปตฺตวนํ ความว่า หมู่ไม้ดาดาษไปด้วยใบไม้อ่อนๆ.
บทว่า รุทํ แปลว่า ปริเทวนาการอยู่.
คาถาปริเทวนาการของพระดาบสนั้นอย่างนี้ว่า เรามิได้บูชาไฟ มิได้บริกรรมมนต์.
บทว่า ปหาปิตํ ความว่า อะไรบันดาลให้การบูชาไฟต้องเสื่อมลง. ป อักษร เป็นเพียงอุปสรรค.
บทว่า ปาริจริยาย ความว่า พระดาบสปริเทวนาการว่า ก่อนแต่นี้ ใครหนอเล้าโลมจิตของเราด้วยการบำเรอด้วยกิเลส. ห อักษร ในบทว่า โย เม เตชาหสํภูตํ นี้ เป็นเพียงนิบาต ความก็ว่า อิสิสิงคดาบสปริเทวนาการว่า ผู้ใดยึด คือยังฌานคุณอันเป็นเองโดยเดชแห่งสมณะของเราให้พินาศ ดุจยังเรือในห้วงมหรรณพ อันเต็มไปด้วยรัตนะต่างๆ ให้พินาศฉะนั้น ผู้นั้นคือใครกันเล่า?
อลัมพุสาเทพกัญญาได้ยินดังนั้น ก็คิดว่า ถ้าเราไม่บอก ดาบสนี้จักสาบแช่งเรา เอาเถอะเราจักบอกให้ท่านทราบ จึงยืนปรากฏกายกล่าวคาถาความว่า
ดิฉันอันท้าวเทวราช ทรงใช้มาเพื่อบำเรอท่าน จึงได้ครอบงำจิตของท่านด้วยจิตของดิฉัน ท่านไม่รู้สึกตัว เพราะประมาท.
พระอิสิสิงคดาบสได้ฟังถ้อยคำของนางแล้ว ระลึกถึงโอวาทที่บิดาให้ไว้ ก็ปริเทวนาการว่า เพราะเรามิได้ทำตามคำบิดา จึงถึงความพินาศอย่างใหญ่หลวง ดังนี้แล้ว ได้กล่าวคาถา ๔ คาถาความว่า
เดิมที ท่านกัสสปะผู้บิดาได้พร่ำสอนเรา ถึงสิ่งเหล่านี้ว่า ดูก่อนมาณพ สตรีอันเสมอด้วยนารีผลมีอยู่ เจ้าจงรู้จักสตรีเหล่านั้น.
บิดาเราเหมือนเอื้อเอ็นดูเรา พร่ำสอนคำนี้ว่า มาณพเอ๋ย เจ้าจงรู้จักนารีผลผู้มีเขาที่อก เจ้าจงรู้จักสตรีเหล่านี้.
เรามิได้ทำตามคำสอนของบิดาผู้รู้นั้น วันนี้เราซบเซาอยู่แต่ผู้เดียว ในป่าอันหามนุษย์มิได้.
เราจักทำอย่างที่เราเป็นผู้เช่นเดิมอีก หรือจักตายเสีย ประโยชน์อะไรด้วยชีวิตของเราที่น่าติเตียน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิมานิ ได้แก่ ถ้อยคำเหล่านี้.
บทว่า กมลาสริสิตฺถิโย ความว่า นารีผลทั้งหลายท่านเรียกว่า กมลา หญิงทั้งหลายก็เช่นเดียวกับดอกแห่งนารีผลเหล่านั้น.
บทว่า ตาโย พุชฺฌสิ ความว่า คราวนั้น บิดาพร่ำสอนถ้อยคำเห็นปานนี้ กะเราว่า มาณพเอ๋ย เจ้าควรรู้จักหญิงเหล่านั้น ครั้นรู้แล้วอย่าไปสู่แนวทางที่จะดู ควรหนีไปเสีย นัยว่า นารีผลเหล่านั้น คือหญิงเหล่านี้.
บทว่า อุเร คณฺฑาโย ความว่า เจ้าจงรู้จักนารีผล ที่ประกอบไปแล้ว ด้วยเขาสองข้างที่น่าอก. บทว่า ตาโย พุชฺฌเส ความว่า ดูก่อนมาณพ เจ้าควรรู้ว่า หญิงเหล่านั้นย่อมยังผู้ตกอยู่ในอำนาจตนให้พินาศ.
บทว่า นากํ ความว่า เรามิได้กระทำตามถ้อยคำของท่าน. บทว่า ฌายามิ ความว่า เราจึงต้องซบเซา คือ ปริเทวนาการอยู่.
บทว่า ชิรตฺถุ ชีวิเตน เม ความว่า ชีวิตของเราน่าตำหนิ คือน่าติเตียน ประโยชน์อะไรด้วยการที่เราจะมีชีวิตอยู่.
บทว่า ปุน วา ความว่า เราจักเป็นเช่นเดิมอีก คือจักยังฌานที่เสื่อมแล้วให้เกิดขึ้น เป็นผู้ปราศจากราคะด้วยประการใด จักกระทำด้วยประการนั้นหรือ หรือว่าเราจักตายเสีย.

ท่านอิสิสิงคดาบสนั้นละกามราคะแล้ว ยังฌานให้เกิดได้อีก.
ลำดับนั้น นางอลัมพุสาเทพกัญญาเห็นเดชแห่งสมณะของพระดาบสนั้นด้วย และรู้ว่าท่านบำเพ็ญฌานให้เกิดได้แล้วด้วย ก็ตกใจกลัว จึงขอให้ท่านอดโทษตน.
พระบรมศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น ได้ตรัสพระคาถา ๒ คาถาความว่า
นางอลัมพุสาเทพกัญญา รู้จักเดช ความเพียรและปัญญาอันมั่นคงของพระอิสิงคดาบสนั้นแล้ว ก็ซบศีรษะลงที่เท้าของพระอิสิสิงคดาบส กล่าวว่า
ข้าแต่ท่านมหาวีระ ขอท่านอย่าได้โกรธดิฉันเลย ข้าแต่ท่านผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ขอท่านอย่าได้โกรธดิฉันเลย ดิฉันได้บำเพ็ญประโยชน์อันใหญ่แล้ว เพื่อเทวดาชั้นไตรทศผู้มียศ เพราะว่า เทพบุรีทั้งหมดอันท่านได้ทำให้หวั่นไหวแล้ว ในคราวนั้น.

ลำดับนั้น พระอิสิสิงคดาบสตอบว่า ดูก่อนนางผู้เจริญ เราอดโทษให้เธอ เธอจงไปตามสบายเถิด. เมื่อจะปล่อยนางไป จึงกล่าวคาถา ความว่า
ดูก่อนนางผู้เจริญ ขอทวยเทพชั้นดาวดึงส์ ท้าววาสวะจอมไตรทศและเธอ จงมีความสุขเถิด ดูก่อนนางเทพกัญญา เชิญเธอไปตามสบายเถิด.
นางอลัมพุสาเทพกัญญาไหว้พระดาบสแล้ว กลับไปสู่เทพบุรีพร้อมด้วยบัลลังก์ทองนั้นแหละ

พระบรมศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น ได้ตรัสพระคาถา ๓ คาถา ความว่า
นางอลัมพุสาเทพกัญญาซบศีรษะลงแทบเท้าแห่งอิสิสิงคดาบส และทำประทักษิณแล้ว ประคองอัญชลีหลีกออกไปจากที่นั้น.
นางขึ้นสู่บัลลังก์ทอง พร้อมด้วยเครื่องบริวาร เครื่องปิดทรวง ๕๐ ผืน และเครื่องลาด ๑,๐๐๐ ผืน แล้วกลับไปในสำนักแห่งเทวดาทั้งหลาย.
ท้าวสักกะจอมเทพทรงปีติโสมนัส ปลาบปลื้มพระทัย ได้พระราชทานพรกะนางเทพกัญญานั้น ซึ่งกำลังมาอยู่ ราวกะว่าดวงประทีปอันรุ่งเรือง ราวกะสายฟ้าแลบ ฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอกฺกมิว ความว่า ดุจประทีป. ด้วยบทมีอาทิว่า ปติโต ดังนี้ ท่านแสดงถึงอาการที่ท้าวสักกเทวราชทรงยินดี. บทว่า อททา วรํ ความว่า ท้าวสักกเทวราชทรงยินดี ได้ประทานพรให้แก่นางอลัมพุสาเทพกัญญาผู้มาถวายบังคม แล้วยืนอยู่.
นางอลัมพุสาเทพกัญญา เมื่อจะรับพรในสำนักของท้าวสักกเทวราช จึงกล่าวคาถาสุดท้าย ความว่า
ข้าแต่ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าภูตทั้งปวง ถ้าพระองค์จะทรงประทานพรแก่หม่อมฉันไซร้ ขออย่าให้หม่อมฉันต้องไปเล้าโลมพระฤาษีอีกเลย ข้าแต่ท้าวสักกะ หม่อมฉันขอพรข้อนี้.
คาถานั้นมีอรรถาธิบายดังนี้ ข้าแต่ท้าวสักกเทวราช ถ้าพระองค์จะทรงประทานพรแก่หม่อมฉันแล้ว หม่อมฉันขอพรข้อนี้ คืออย่าให้หม่อมฉันต้องไปเล้าโลมพระฤาษีอีก คือพระองค์อย่าทรงใช้หม่อมฉัน เพื่อประโยชน์ข้อนี้.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแก่ภิกษุนั้นแล้ว ทรงประกาศอริยสัจจธรรม แล้วทรงประชุมชาดก ในที่สุดแห่งอริยสัจจกถา ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล.
(แล้วทรงประชุมชาดกว่า)
นางอลัมพุสาในครั้งนั้น ได้มาเป็น นางปุราณทุติยิกา
อิสิสิงคดาบสได้มาเป็น ภิกษุผู้กระสัน
ส่วนมหาฤาษีผู้บิดาได้มาเป็น เราผู้ตถาคต ฉะนี้แล.

อรรถกถาอลัมพุสาชาดกที่ ๓

วิธีเตรียมความพร้อมก่อนเดินทางสู่ความตาย

วิธีเตรียมความพร้อมก่อนเดินทางสู่ความตาย


เมื่อเราตายแล้วเราก็หมดสิทธิ์ทำบุญ

ชีวิตเรานั้นเมื่อละจากโลกนี้หรือตายแล้วนั้น เราก็หมดสิทธิ์ที่จะสั่งสมบุญได้อีก มีแต่เพียงการเสวยผลบุญหรือผลบาปที่ตนกระทำไว้ครั้งเป็นมนุษย์เท่านั้น หากเกิดในอบาย ก็ต้องเสวยทุกข์ทรมานยาวนาน หากเกิดในสุคติภูมิ ย่อมเสวยความสุขยาวนานเช่นกัน ดังนั้นก่อนหลับตาลาโลกไป เราควรจะเตรียมตัวอย่างไร เมื่อละโลกแล้วจะได้เสวยผลแห่งบุญที่เราสั่งสมไว้ครั้งเป็นมนุษย์ได้อย่างมี ความสุข จึงขึ้นอยู่กับตัวเรา เพราะฉะนั้นชีวิตเราสามารถลิขิตได้ด้วยตัวเอง ด้วยการสั่งสมบุญเท่านั้น เพราะบุญเป็นที่พึ่งของเราทั้งหลายทั้งในปัจจุบันและเมื่อละโลกไปแล้ว เราจักได้ไม่ต้องพลัดตกลงไปสู่ปรโลกฝ่ายทุคติอันแสนทรมานและยาวนาน

ชีวิตในสังสารวัฏเป็นชีวิตที่เสี่ยงภัยมาก เพราะเมื่อเราเกิดมาแล้ว หากอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการสร้างความดี เราอาจจะพลาดพลั้งไปทำบาปอกุศล เพราะขาดกัลยาณมิตรคอยชี้แนะ หนทางแห่งการสร้างความดี เมื่อละโลกไป แรงกรรมที่เรากระทำไว้ย่อมจะส่งผลให้เรามีโอกาสไปเกิดในอบายได้มาก


สัตว์นรกต้องทนทุกข์ทรมานแสนสาหัสจากการลงโทษตามผลกรรมของตน

อบายภูมิ เป็นสถานที่สิงสถิตของชีวิตหลังความตายของปรโลกฝ่ายทุคติ เป็นดินแดนที่ปราศจาก ความสุข และเต็มไปด้วยความทุกข์ทรมาน ทั้งจากความร้อนของไฟนรก และจากการทรมานของ นายนิรยบาล ที่มีวิธีการลงโทษหลากหลายไม่ซ้ำรูปแบบ ทำให้สัตว์นรกได้รับความเจ็บปวดทุกข์ทรมานสุดจะบรรยาย

ชาวโลกทั้งหลายเมื่อมีชีวิตอยู่ ไม่ประกอบกุศลกรรม ทำแต่อกุศลกรรมเป็นประจำ ครั้นเมื่อใกล้จะละโลก ภาพไม่ดีที่ตนได้กระทำไว้มาปรากฏให้เห็น ทำให้จิตของเขาเศร้าหมอง เมื่อละจากอัตภาพมนุษย์ ย่อมไปเกิดในอบาย ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน พาลบัณฑิตสูตร*

“ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลนั่นแล ประพฤติทุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจแล้ว เมื่อแตกกาย ทำลายขันธ์ ตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก”

จากพุทธภาษิตนี้ แสดงให้เห็นถึงการกระทำความชั่วของมนุษย์ ทั้งทางกาย วาจา ใจ มีผลต่อการไปสู่อบาย ในที่นี่จึงขออธิบายอัธยาศัยในการประกอบกุศลและอกุศลของชาวโลก 4 ประการดังนี้ คือ


มนุษย์ผู้ใคร่ในการทำบุญ

1. ชอบใจในการบำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุ หมั่นทำทาน รักษาศีล และเจริญสมาธิ(Meditation)ภาวนาอยู่ไม่ขาด เมื่อใกล้จะละโลกสามารถนึกถึงบุญที่ตนกระทำไว้ได้ง่าย เพราะมีใจชุ่มอยู่ในบุญเป็นปกติ ภาพกรรมนิมิตก็จะมาปรากฏให้เห็นชัดเจน ละโลกไปแล้วก็ไปสู่สุคติ


มนุษย์ที่ชอบทำทั้งบุญ ทั้งบาป

2. ชอบทำทั้งกุศลและอกุศลปะปนกันไป วัดก็เข้า สัตว์ก็ฆ่า สุราก็ดื่ม เมื่อใกล้จะละโลก มีสติดี มีคนใกล้ชิดให้กำลังใจ พูดให้ตามระลึกนึกถึงความดีที่ทำไว้ได้ การช่วงชิงภพก็มีโอกาสที่จะเดินทางไปสู่สุคติได้ แต่คนป่วยส่วนใหญ่มักจะมีเวทนากล้า จะนึกอะไรไม่ค่อยออก หากไม่มีญาติพี่น้องให้สติ โอกาสที่จะไปทุคติก็เป็นไปได้ แต่โดยส่วนมากที่ทำทั้งบุญและบาปก้ำกึ่งกัน มักจะต้องไปยมโลกเพื่อรอตัดสินบุญบาป


มนุษย์ผู้ประมาทในการดำรงชีวิต

3. ชอบทำอกุศลมากกว่าทำกุศล เป็นคนประเภทใช้บุญเก่า ไม่เห็นความสำคัญของการทำบุญ มีความเชื่อมั่นตนเองว่า ประสบความสำเร็จมาได้ทุกวันนี้ เพราะหนึ่งสมองสองมือ ด้วยความสามารถของตนเอง การมีชีวิตอยู่ก็สุขสบาย ไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน และยังช่วยเหลือทำประโยชน์ให้สังคมด้วย ชีวิตอย่างนี้ก็มีสุขแล้ว ไม่เห็นต้องทำบุญอะไรเลย ก็ทำไปตามประเพณี ทำสงเคราะห์สังคมบ้าง แต่เรื่องศีลก็ไม่ได้สนใจ ยังดื่มเหล้าประจำ สังสรรค์กับเพื่อน ก็มีโอกาสทำอกุศลอย่างอื่นง่าย เพราะไม่ได้สนใจ คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พอใกล้จะละโลกจึงนึกถึงบุญไม่ออก คนเราถ้าไม่ทำบุญบ่อยๆ จนคุ้นชินโอกาสให้นึกถึงบุญออกนั้นยาก บาปจะได้ช่องแทรกแต่ภาพกรรมนิมิตที่ทำเป็นประจำ แม้หมู่ญาติจะให้สติตอกย้ำระลึกถึงบุญ โอกาสจะนึกได้ก็ไม่ใช่ง่าย เพราะตัวเองไม่เคยมีความเชื่อ โอกาสไปอบายก็มาก


อดีตมนุษย์ที่ไม่เชื่อเรื่องบุญ บาป จึงมักประกอบแต่กรรมชั่ว

4. ชอบทำอกุศลอย่างเดียว เป็นพวกมิจฉาทิฏฐิ ไม่เชื่อเรื่องบุญ บาป นรก สวรรค์ กฎแห่งกรรม จึงไม่ขวนขวายในการทำความดี ประกอบแต่กรรมชั่วเป็นประจำ ก่อนตายนึกถึงบุญไม่ออก ภาพบาปที่ตนกระทำปรากฏชัดเจน ครั้นละโลกไป จิตก่อนตายย่อมเศร้าหมอง โอกาสจะไปอบายก็มีมาก

อัธยาศัยโดยทั่วไปของบุคคลมี 4 ลักษณะดังที่กล่าวมา เราก็กลับมาพิจารณาตัวเองว่า เราอยู่ในประเภทใด และควรจะทำตนเองให้จัดอยู่ในประเภทใด เพราะชีวิตนี้เราเลือกที่จะไปปรโลกได้ เลือกที่จะเป็นชาวสวรรค์หรือสัตว์นรกก็ได้

คำถาม อบายภูมิ
ชีวิตในสังสารวัฏ เป็นชีวิตที่เสี่ยงภัยมาก เพราะเมื่อเราเกิดมาแล้ว หากอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการสร้างความดี เราอาจจะพลาดพลั้งไปทำบาปอกุศล เพราะขาดกัลยาณมิตรคอยชี้แนะ หนทางแห่งการสร้างความดี เมื่อละโลกไป แรงกรรมที่เรากระทำไว้ย่อมจะส่งผลให้เรามีโอกาสไปเกิดในอบายได้มาก

อบายภูมิ มี 4 ภูมิ ได้แก่ภูมิ

ธรรมที่ช่วยให้อานาปานสติสำเร็จง่าย

ธรรมที่ช่วยให้อานาปานสติสำเร็จง่าย

[๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เสพ-
*อานาปานสติกัมมัฏฐานอยู่ ย่อมแทงตลอดธรรมที่ไม่กำเริบต่อกาลไม่นานนัก
ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีธุระน้อย มีกิจ
น้อย เลี้ยงง่าย ยินดียิ่งในบริขารแห่งชีวิต ๑ ย่อมเป็นผู้มีอาหารน้อย ประกอบ
ความเป็นผู้ไม่เห็นแก่ปากแก่ท้อง ๑ ย่อมเป็นผู้มีความง่วงนอนน้อย ประกอบ
ความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ ๑ ย่อมเป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้
สดับมาก ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรม
ทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์
พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ๑ ย่อมพิจารณาจิต
ตามที่หลุดพ้นแล้ว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้
แล เสพอานาปานสติกัมมัฏฐานอยู่ย่อมแทงตลอดธรรมที่ไม่กำเริบ ต่อกาลไม่
นานนัก ฯ

ตามความเห็นแล้ว พระสูตรที่ยกมาข้างต้น จะเป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนหลักการเพิ่มเติมที่นำมาปฏิบัติแล้วจะช่วยให้กรรมฐานที่กำลังบำเพ็ญอยู่นั้น ก้าวหน้าหรือสำเร็จได้โดยง่าย ในที่นี่พระองค์เน้นเฉพาะอานาปานสติกัมมัฏฐาน ซึ่งหากพิจารณาดูให้ถ้วนถี่แล้วหลักเหล่านั้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับกรรมฐานอื่นๆ นอกเหนือจากอานาปานสติได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น พุทธานุสสติ อาจด้วยบริกรรมพุท-โธ, พอง-ยุบ, ดูจิต, กสิณ ๑๐, สติปัฏฐาน ฯลฯ ก็สามารถใช้ได้ หลักการปฏิบัติเพิ่มเติมที่พระองค์ทรงตรัสไว้มี ๕ ประการ มีดังต่อไปนี้

๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีธุระน้อย มีกิจน้อย เลี้ยงง่าย ยินดียิ่งในบริขารแห่งชีวิต

หมายถึง ให้ผู้ปฏิบัติรู้จักหาเวลาฝึกกรรมฐานให้มากๆ และพยายามหลีกเลี่ยงสิ่ง หรือกิจธุระอะไรที่ไม่จำเป็น เพราะว่ายิ่งหากเรามีเวลาฝึกกรรมฐานน้อย มีกิจธุระมาก ก็จะฝึกได้ไม่เต็มที่ เมื่อมีเวลาน้อย ก็จะทำให้จิตพัฒนาไปได้ช้า แต่ถ้าหากเรามีเวลาฝึกกรรมฐานมาก มีกิจธุระน้อย มีเวลามาก ก็จะฝึกได้เต็มที่ ซึ่งจะทำให้จิตพัฒนาไปได้เร็ว ตัวอย่างก็เหมือนกับ คนที่ต้องการเล่นฟุตบอลให้เก่ง หากมีเวลาฝึกฝนมาก ก็จะยิ่งเก่งได้เร็ว แต่หากมีเวลาฝึกฝนน้อยก็จะทำให้เก่งฟุตบอลได้ช้า แต่ทั้งนี้จะต้องมีการฝึกฝนที่ถูกต้อง ตั้งใจสม่ำเสมอ ประคองความเพียร แต่ไม่เคร่งเครียด

๒. ย่อมเป็นผู้มีอาหารน้อย ประกอบความเป็นผู้ไม่เห็นแก่ปากแก่ท้อง

หมายถึง ให้ผู้ปฏิบัติรู้จักควบคุมอาหาร ไม่เห็นแก่กิน ไม่กินมาก กิน หรือรับประทานอาหารเฉพาะที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตเท่านั้น ซึ่งหากเป็นในทางพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าจะทรงตรัสให้รับประทานอาหารมื้อเดียว หรือมือกลางวันด้วย หลังจากกลางวันไปแล้วก็จะไม่กินอะไรอีก ยกเว้นว่าหิวจริงๆ ตอนเย็นก็จะกินน้ำปานะได้ แต่หากสำหรับฆราวาสก็ควรจะรับประทานให้เหมาะกับอาชีพ สภานภาพของตนเอง หากเราเป็นผู้ที่ใช้กำลังกายมาก อาจจะรับประทาน ๓ มื้อ โดยมื้อเช้าจะรับประทานมากที่สุด มื้อกลางวันก็ปานกลาง มื้อเย็นก็น้อย แต่ถ้าหากเป็นคนที่ไม่ได้ใช้แรงกายมากอะไร ส่วนใหญ่จะใช้สมองก็สามารถรับประทานเพียง ๑ มื้อ หรือ ๒ มื้อได้ ส่วนมื้อเย็นก็รับประทานผลไม้ หรือน้ำปานะ หรือไม่ทานอะไรเลย ตามแต่เหมาะสมกับสถานภาพและร่างกายว่าปกติหรือเป็นโรคครับ และที่สำคัญไม่ควรทานจุกจิกควรทานเฉพาะอาหารหลักเท่านั้นจะดีที่สุดครับ

การที่ต้องมีการควบคุมอาหาร ก็เพราะว่า หากผู้ปฏิบัติไม่ควบคุมแล้ว จะทำให้การปฏิบัติเป็นไปอย่างมีอุปสรรค์ ซึ่งอุปสรรคก็คือความง่วง และความอยากกิน เพราะพอกินอิ่ม จะทำให้หนังท้องตึง หนังตาก็จะหย่อน ยิ่งกินมากยิ่งจะขี้เกียจและง่วงได้ง่าย หากเป็นคนกินเก่งก็จะอยากกินนู้นกินนี่ทั้งๆ ที่ไม่จำเป็น ทีนี้นั่งปฏิบัติสมาธิ หรือเดินจงกรมก็จะทำได้ไม่ทน และจิตจะถูกรบกวนให้สงบได้ยาก อีกทั้งยังอาจเกิดความทรมานขึ้นได้ครับ แต่ตรงกันข้ามหากมีการรับประทานอาหารน้อย หรือเท่าที่จำเป็น ก็จะทำให้ไม่ง่วงง่าย และจิตจะโปร่งโล่ง กายเบา สบาย ทำให้ปฏิบัติได้โดยทนทานกว่ากินมากครับ

๓. ย่อมเป็นผู้มีความง่วงนอนน้อย ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่

หมายถึง ให้ผู้ปฏิบัติไม่ห่วงแต่นอน ควรเพียรพยายามปฏิบัติกรรมฐานให้มาก คือ เมื่อถึงเวลาตอนเช้ามืดก็รีบตื่นขึ้นมาปฏิบัติ ไม่เอาแต่นอนขี้เซาอยู่ ตอนเช้ามืดเป็นเวลาที่ดี เงียบ เพราะคนยังไม่ค่อยตื่นกัน จิตจะสงบได้ง่าย เพราะหากปฏิบัติตอนสาย ตื่นสาย อาจมีเสียงรบกวนเยอะ ทำให้รบกวนสมาธิ เวลาปฏิบัติได้ก็มีน้อยลงไป ส่วนระหว่างวันเอง เมื่อถึงเวลาที่แบ่งเอาไว้สำหรับฝึกกรรมฐานก็ให้มาปฏิบัติ ไม่ขี้เกียจ ไม่ไปนอนกลางวัน ส่วนตอนหัวค่ำ ก็ไม่รีบนอน ปฏิบัติกรรมฐานเสียก่อนครับ แล้วเมื่อถึงเวลานอนค่อยไปนอนครับ ซึ่งหากเป็นฆราวาสก็อาจจะดูว่าเราควรจะนอนกี่ชั่วโมงถึงเพียงพอ สำหรับผู้ใหญ่ ๕ ชั่วโมงก็ถือว่าเพียงพอ หากเป็นเด็กก็อาจจะมากกว่านี้ หลังจากนั้นก็จัดเวลาตื่นกับเวลานอนให้ชัดเจน และจัดเวลาฝึกตอนเช้า กับตอนก่อนนอนให้ชัดเจนครับ

๔. ย่อมเป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ สดับมาก ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรม ทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง

ข้อนี้มีความหมายได้หลายนัย จะขออธิบายเท่าที่คิดว่าเกี่ยวข้องกับการฝึกกรรมฐานโดยตรง คือ ขณะที่ฝึกกรรมฐานอยู่ เมื่อมีเวลาว่างจากการฝึกกรรมฐานหรือกิจธุระ ก็ให้หมั่นศึกษาหาความรู้ ฟังธรรมของพระพุทธเจ้า หรือจากครูอาจารย์ที่เราเคารพ ศรัทธา เชื่อถือได้อยู่เนื่องๆ ควบคู่ไปด้วย อาจจะแบ่งเวลาว่าวันใดวันหนึ่งในสัปดาห์ หรือในแต่ละวันเอาไว้ฟังธรรมก็ได้ ซึ่งการทำอย่างนี้จะมีประโยชน์ เป็นการสนับสนุนกรรมฐานที่ฝึกอยู่ให้ก้าวหน้าไปได้อีกทาง เพราะหากเรามีอะไรที่สงสัย บางทีข้อสงสัยเหล่านั้นพอไดัฟังธรรมก็จะทำให้รู้คำตอบ หรือหากเกิดสภาวะใดที่ไม่เข้าใจ ไม่รู้ว่าคืออะไร เมื่อได้ฟังธรรมก็จะเข้าใจเทียบเคียงกับสภาวะที่ปรากฏขึ้นมาได้ หรือมีคนมาเสนอแนะความคิดหลักธรรมใดๆ เราก็จะรู้ได้ว่าจริงหรือไม่จริงโดยเทียบเคียงกับคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ถูกหลอกหรือชักจูงไปให้เนิ่นช้าหรือหลงทาง หรือในคราวใดที่เกิดความเบื่อ หรือศรัทธาเริ่มคลอนแคลน แต่เมื่อได้ฟังธรรม ก็จะช่วยให้กลับมาฮึดได้ มั่นคงได้ และยังมีประโยชน์อีกมากมาย ที่ยังไม่ได้กล่าวถึง

๕. ย่อมพิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว

ข้อนี้มีความหมายลึกซึ้ง เป็นการกล่าวถึงผลของการปฏิบัติหลายระดับ ขยายความได้ว่า เมื่อปฏิบัติอานาปานสติ หรือกรรมฐานอื่นใดไป ย่อมมีความก้าวหน้าของจิตและปัญญาเกิดขึ้นมามากน้อยแตกต่างกันแล้วแต่ว่าปฏิบัติกรรมฐานชนิดใด เช่น จิตสงบมากขึ้น, จิตสงบลงเป็นฌานต่างๆ, เกิดอภิญญา, จิตสามารถดับ หรือละกิเลสต่างๆ ได้ เป็นต้น สภาวจิตที่ก้าวหน้าต่างๆ เหล่านี้ พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนให้ผู้ปฏิบัติทำการพิจารณาเสียด้วย ว่ายังตกอยู่ในกฏของไตรลักษณ์ ซึ่งหากไม่พิจารณา ผู้ปฏิบัติก็จะหลงติดกับสภาวะจิตที่หลุดพ้นเอาได้ ทำให้ไม่ก้าวหน้าไปเรื่อยๆ จนถึงที่สุด แต่หากมีการพิจารณาว่าอย่างไรเสียก็ยังต้องอยู่ในกฏของไตรลักษณ์ คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา (ยกเว้นนิพพานจะอยู่ในกฏของไตรลักษณ์เป็นอนัตตาเท่านั้น ไม่อยู่ในกฏของไม่เที่ยง และเป็นทุกข์) ก็จะทำให้ไม่เกิดความยึดติดถือมั่นในสภาวที่จิตหลุดพ้นเหล่านั้น แม้แต่ไม่ยึดติดถือมันในนิพพาน ที่นี้ก็จะทำให้บรรลุจุดสูงสุดได้อย่างแท้จริงได้ในที่สุด คือ "ไม่ยึดมั่นถือมั่นใดๆ"

เท่าที่ตอบมาขยายความให้ทราบแต่โดยย่อ คิดว่าคงจะช่วยให้เกิดความเข้าใจธรรม ๕ ประการมากยิ่งขึ้น ว่าทำไมเมื่อได้ทำตามแล้วย่อมจะทำให้กรรมฐานที่ปฏิบัติอยู่สำเร็จได้โดยง่าย ใช้เวลาไม่นาน

ขอให้เจริญในธรรม

วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554

10 อันดับ สิ่งสกปรก ที่ถูกใช้บ่อยที่สุด ในชีวิตประจำวัน

10 อันดับ สิ่งสกปรก ที่ถูกใช้บ่อยที่สุด ในชีวิตประจำวัน

หากนึกถึงสิ่งสกปรกรอบๆตัว หลายคนคงชี้ไปยังห้องน้ำ หรือไม่ก็ลูกบิดที่แสนจะไกลตัวซะเหลือเกิน แต่ที่แท้จริงแล้วมันใกล้มากกว่านั้น หรืออาจเป็นเพราะมันแนบชิดสนิทติดตัวซะจนเรามองข้ามมันไป มาดูกันว่า "รายงาน 10 อันดับสิ่งสกปรกที่ถูกใช้บ่อยมากที่สุด" นั้นมีอะไรบ้าง

10. ฟองน้ำล้างจาน

ด้วยวัสดุและรูป ลักษณ์ของมันที่เต็มไปด้วยรูพรุนที่สามารถใหน้ำ อากาศ ออกซิเจน เศษอาหารเข้าไปอาศัยอยู่ จึงเป็นแหล่งชุมชนแออัดของเหล่าเชื้อโรคได้เป็นอย่างดี วิธีทำความสะอาดง่ายๆก็คือ เอาไปต้มหรือให้ความร้อนผ่านไมโครเวฟซัก 60 วินาที

9. ซิ้งค์อ่างล้างจาน

เห็นสะอาดอย่างนี้ก็ใช่ว่าจะสะอาด ถึงจะไม่ได้ใช้บ่อยเท่าอย่างอื่น แต่มันเป็นบริเวณที่สกปรกที่สุดในบ้าน ซึ่งแต่ละตารางนิ้วนั้นมีเชื้อโรคอาศัยอยู่ถึง 500,000 ตัว วิธีทำความสะอาดขจัดคราบที่คู่ควรกับตัวเลขห้าแสนนี้ ก็คือ ใช้โซดาไฟหรือน้ำส้มสายชูราดทำความสะอาดมันซะ แล้วตามด้วยน้ำเปล่าตามไปอีกที

8. อ่างอาบน้ำ

อ่างอาบน้ำเป็นรังเพาะเชื้อโรคชั้นดีที่หลายคนมองข้ามไป รู้อย่างนั้นแล้วเราจึงควรทำความสะอาดมันสัปดาห์ละครั้งเป็นอย่างน้อย

7. รีโมททีวี

อุปกรณ์บันเทิงประจำ ครัวเรือนที่เรามักจะลืมทำความสะอาดมัน ทั้งๆ ที่เราออกจะหยิบสอยใช้มันออกจะบ่อย ทำความสะอาดบ้านครั้งหน้าก็อย่าลืมหยิบรีโมทไปเช็ดถูกันบ้างนะ

6. ตะกร้าช้อปปิ้ง

ห้างสรรพสินค้ามีทุกสิ่งให้คุณเลือกสรร ฉันใดก็ฉันนั้น ตะกร้าช้อปปิ้งในห้างก็มีทุกสิ่งให้เชื้อโรคเลือกที่จะอยู่เช่นกัน ไม่ว่าจะมาจากสินค้าที่อยู่ในห้างเอง เช่น ของสด ของแห้ง สารเคมี หรือมาจากมือของท่านผู้มีอุปการะคุณทุกท่าน ที่พึ่งจับราวบันไดเลื่อน หรือพึ่งออกมาจากห้องน้ำห้างมา

5. ฝาที่นั่งชักโครก

ความจริงมันน่าจะสกปรกได้มากกว่านี้รึเปล่า แต่รู้หรือไม่ว่าฝาที่นั่งชักโครกนั้นมีการออกแบบวัสดุและพื้นผิว ให้ง่ายต่อการทำความสะอาดและยากที่เชื้อโรคจะอาศัยอยู่ แถมเป็นสิ่งที่ทุกคนให้ความสำคัญ ในการทำความสะอาดอยู่เสมอ (ไม่เอื้ออำนวยขนาดนั้นก็ยังติด 1 ใน 10) โดยรายงานระบุว่า ทุกตารางนิ้วบนฝานั่งชักโครกมีเชื้อโรคอาศัยอยู่ถึง 295 ตัว

4. โทรศัพท์มือถือ

โทรศัพท์มือถือ เรียกได้ว่าเป็นพื้นที่ราคาแพงสำหรับเชื้อโรคเลยก็ว่าได้ ด้วยความเป็นพื้นที่สมบูรณ์ เพียบพร้อมไปด้วยปัจจัยความเจริญของเชื้อโรค ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิอุ่นๆ เหมือนร่างกายมนุษย์ที่เชื้อโรคชอบ พร้อมซอกซอยร่องหลืบง่ายต่อการกบดานหลบหนี พร้อมพรั่งด้วยโภชนาการและอาหารจากน้ำลายและขี้ไคลมนุษย์ ถ้าโทรศัพท์มีชีวิตเราอาจต้องพามันไปโรงพยาบาลเพื่อฉีดยาแทนที่จะไปมาบุญ ครองเพื่อไปซ่อมมันก็เป็นได้

3. คีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์

คนติดคอม ติดเนทหลายๆคน คงคุ้นชินกับพฤติกรรมการกินขนมขบเคี้ยว หรือแม้กระทั่งกินอาหารมื้อหลักหน้าจอคอมพ์ หรือแม้กระทั่งสาวๆเองที่ชอบหวีผมแต่งหน้าบนโต๊ะทำงาน เวลาว่างก็เม้าท์พ่นไฟแชทหน้าเวบแคม รู้หรือไม่ ว่าคีย์บอร์ดนั้นเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคชั้นดี โดยเฉพาะเศษอาหาร ผิวหนัง เหงื่อไคลต่างๆ ที่ผู้ใช้คอมทำตกลงไปในคีย์บอร์ดแล้วไม่ค่อยให้ความสนใจ เนื่องจากเพราะมันตกลงไปในร่อง ทำให้ยากต่อการมองเห็นว่าสกปรกและยากต่อการทำความสะอาด เป็นที่มาว่าทำไมจึงไม่มีใครสนใจ จะทำความสะอาดกันเท่าไหร่นัก จึงทำให้คีย์บอร์ดกลายเป็นแหล่งหมักหมมเพาะพันธุ์เชื้อโรคชั้นดี รายงานระบุว่าคีย์บอร์ดที่ได้รับการสำรวจนั้นสกปรกกว่าฝานั่งชักโครกถึง 40 เท่า แต่ถึงขนาดต้องใช้วิกซอลเข้มข้น 40 เท่าราดคีย์บอร์ดเพื่อทำความสะอาดด้วยรึเปล่ารายงานไม่ได้ระบุไว้

2. สวิตช์เปิด/ปิดไฟ

"สุขภาพวันนี้...ต้องเล่นกับไฟ" วัตถุที่มนุษย์สัมผัสบ่อยมากเท่าไหร่ เชื้อโรคก็ชอบตามไปอยู่มากเท่านั้น โดยเฉพาะปุ่มสวิทปิดเปิดไฟที่ต้องกดกันอยู่ทุกวัน ผู้เชี่ยวชาญเผยทุกๆ ตารางนิ้วบนสวิตช์ไฟที่เราเอานิ้วไปโดน เชื้อโรคสามารถย้ายสำมโนครัวตามติดมือไปได้ถึง 217 ตัว

1. เงิน ได้แก่ ธนบัตร เหรียญ

แบงค์ที่เราหยิบจ่ายซื้อของกันอยู่ทุกวันนี้ มีเชื้อโรคอยู่ประมาณ 135,000 ตัว ถึงจะเชื่อว่าใครๆก็อยากมีเงินเยอะๆ จะได้รวยๆ แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องสะสมเชื้อโรคไปตามความรวยด้วยนะ


ที่มา : Top Ten Thailand

การเป็นผู้ให้และการเป็นผู้รับ พระถวิล ฐานุตฺตโม

การเป็นผู้ให้และการเป็นผู้รับ พระถวิล ฐานุตฺตโม



ชีวิตประจำวันของคนเรานั้น เราเป็นทั้งผู้ให้สิ่งต่างๆแก่ผู้อื่น และเป็นผู้รับสิ่งต่างๆจากผู้อื่น เราลองนึกทบทวนดูว่า

ทุกๆวันที่ผ่านมานั้น เราได้ให้อะไรแก่ผู้อื่นบ้าง เป็นการให้สิ่งที่ดีและเป็นกุศล หรือให้สิ่งที่ไม่ดี และเป็นอกุศลแก่ผู้อื่น

ชีวิตแต่ละวันนั้น เราควรมอบความยิ้มแย้มแจ่มใส การพูดจาที่ไพเราะ ให้กับ คนในครอบครัวของเรา ไม่ว่าจะเป็นลูกๆ สามี หรือภรรยา เพื่อนร่วมงาน ลูกน้องของเรา ตลอดจน ลูกค้าของเรา หรือว่าเราได้ให้ใบหน้า ที่หน้าหงิกหน้างอ แล้วก็แว้ดๆ ใส่ลูกของเรา หรือว่าพูดจาไม่ไพเราะ ไม่น่าฟัง กับเพื่อนร่วมงานหรือกับลูกน้องของเรา

ชีวิตแต่ละวันนั้น เราได้ให้อภัยผู้อื่น เมื่อผู้อื่นทำผิดพลาด หรือว่าเราคิดเครียดแค้น เพราะทำให้เรารู้สึกเจ็บแค้นใจ วันนี้เราต้องเอาคืนให้ได้ เราให้สิ่งใดมากกว่ากัน

ชีวิตแต่ละวันนั้นเราได้ให้ความรักแก่ผู้อื่น หรือว่าเราให้ความเกลียดชังแก่ผู้อื่นมากกว่ากัน

ชีวิตแต่ละวันนั้นเราให้ความยินดี หรือมุทิตาจิตชื่นชมยินดีผู้อื่นที่ประสบความสำเร็จ หรือว่าเรารู้สึกอิจฉาริษยาในความสำเร็จ ไม่อยากให้ผู้อื่นเติบโตในหน้าที่การงานมากกว่าเรา

ชีวิตแต่ละวัน เราได้ให้โอกาสแก่ผู้อื่น หรือว่าเราตัดโอกาสหรือปิดโอกาสกับผู้อื่นมากกว่ากัน

ชีวิตแต่ละวันนั้น เราได้ให้ความรู้ ให้ปัญญา ให้ธรรมะกับผู้อื่น หรือให้ในสิ่งที่ไร้สาระแก่ผู้อื่น ที่อยู่รอบตัวเรา



ถ้าเราหาโอกาสทบทวนการใช้ชีวิตแต่ละวันที่ผ่านมานั้นว่า เราได้ให้ในสิ่งที่ดีและเป็นกุศลแก่ผู้อื่น หรือว่าเราได้ให้สิ่งที่ไม่ดี และเป็นอกุศลแก่ผู้อื่นมากกว่ากัน หากเราเป็นผู้ให้สิ่งที่ดีและเป็นกุศลมากกว่าสิ่งที่ไม่ดี และเป็นอกุศลแก่ผู้อื่น ก็ขอให้เรารักษาสิ่งที่ดีนี้ไว้ ความดีนี้ไว้ และพยายามทำความดีและเป็นกุศลให้มากขึ้น ทุกวัน และส่วนความไม่ดีและเป็นอกุศลต้องพยายาม ลด ละ เลิกไป จนเหลือแต่สิ่งที่ดีๆ และเป็นกุศลที่จะให้แก่ผู้อื่น

ในอีกด้านหนึ่งของการเป็นผู้รับจากผู้อื่นนั้น ควรเลือกที่จะรับสิ่งที่ดี และเป็นกุศล และปฏิเสธที่จะรับสิ่งไม่ดี และเป็นอกุศล เช่นกัน

ชีวิตแต่ละวันนั้น เราฟังสิ่งที่ดีๆ ได้ฟังธรรมะดีๆ เราอ่านสิ่งที่เป็นสาระ สิ่งที่เป็นประโยชน์ เป็นข้อธรรม เพื่อก่อให้เกิดปัญญาให้แก่เรา เราดู เราเห็นสิ่งต่างๆ เลือกที่จะชมรายการที่เป็นประโยชน์ให้แก่ชีวิตของเรา

หรือ ชีวิตแต่ละวันนั้น เราฟังสิ่งที่ไร้สาระ ไม่ได้ก่อให้เกิดปัญญา เราอ่านสิ่งที่ไม่ค่อยเกิดประโยชน์ในชีวิต เราดูรายการที่ไม่ค่อยได้สาระในชีวิต



ท่านพระเดชพระคุณ พระพรหมคุณาภรณ์เป็นแบบอย่างที่ดี ที่ประเสริฐยิ่ง ทั้งในด้านที่เป็นผู้ให้และในด้านที่เป็นผู้รับ กล่าวคือ ในด้านที่เป็นผู้ให้นั้น ท่านพระพรหมคุณาภรณ์ได้เป็นผู้ที่มีเมตตา ได้ให้ธรรมปัญญาแก่ผู้คนทั้งหลาย ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ท่านได้ให้ธรรมปัญญาทั้งในรูปแบบหนังสือธรรมนิพนธ์ ทั้งที่เป็นแก่นธรรม และธรรมประยุกต์ อาทิเช่น หลักธรรมการดำเนินชีวิต เรื่องชีวิตคู่ สุขภาพ ธรรมะที่เกี่ยวกับหลักนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ ไว้มากมายถึง 400-500 เล่ม ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าในชีวิตของบุคคลท่านหนึ่งสามารถสร้างสรรค์ธรรมนิพนธ์ได้มากมายถึงขนาดนี้ นอกจากหนังสือธรรมนิพนธ์แต่ละเล่มที่เป็นประโยชน์แล้ว ท่านก็ยังได้บรรยายธรรม เทศนาธรรม ในโอกาสต่างๆ มากกว่า 400 ครั้ง ซึ่งเป็นคุณูปการทางปัญญาแก่ชาวพุทธเป็นอย่างสูง โดยเฉพาะหนังสือพุทธธรรม ซึ่งท่านพระพรหมคุณาภรณ์ได้เรียบเรียง รวบรวม หลักธรรมของพระพุทธเจ้าที่บันทึกในพระไตรปิฎก 45 เล่ม รวมทั้งอรรถกถาและฎีกา ในทุกแง่ทุกมุมที่เป็นสาระสำคัญให้มารวมอยู่ในพุทธธรรมเพียงเล่มเดียว และ ท่านพระเดชพระคุณได้เขียนบันทึกไว้ในหนังสือพุทธธรรม ซึ่งคิดว่าน่าจะสะท้อนถึงความเมตตาของท่าน ไว้ว่า



“...อาตมา ผู้เขียนหนังสือนี้ อย่างเป็นนักศึกษาผู้หนึ่ง ทำหน้าที่เป็น ผู้ไปสืบค้น รวบรวมเอา

เนื้อหาทั้งหลายของหลักธรรมมาส่งวางให้แก่ผู้อ่าน ถ้าสิ่งที่นำมาส่งวางให้นั้น เป็นของแท้

หยิบมาถูกต้องผู้นำส่งก็หมดความรับผิดชอบ จะหายตัวไปไหนก็ได้ ผู้ได้รับไม่ต้องนึกถึง

ไม่ต้องมองที่ผู้นำส่งอีกต่อไป และถ้าผู้เขียนได้นำเอาตัวหลักพุทธธรรมมาแสดงแก่ผู้อ่าน

ได้สำเร็จ ก็เหมือนกับได้พาผู้อ่านเข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดาเองแล้ว ผู้อ่านก็ไม่ต้องเกี่ยวข้อง

กับผู้เขียนอีกต่อไปผู้อ่านพึงตั้งใจสดับและพิจารณาพุทธธรรมที่แสดงโดยตรงออกมาจาก

พระโอษฐ์ของพระบรมศาสดานั้นอย่างเดียว…”



สิ่งที่ท่านพระเดชพระคุณได้เขียนไว้นั้นแสดงว่าท่านเป็นผู้ที่มีเมตตาจริงๆ ท่านได้ให้ปัญญาแก่ผู้อื่นแล้วท่านก็วาง ไม่ได้ยึดติดว่าจะต้องให้ใครมาชื่นชม มาให้เกียรติ ยศและลาภสักการะใดๆ ท่านทำด้วยจิตที่อยากจะให้แก่พวกเราชาวพุทธจริงๆ แม้ว่าสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยหลายๆ แห่งทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ได้มอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แก่ท่านหลากหลายสาขา ท่านก็รับไว้ด้วยอนุโมทนาแล้วท่านก็วาง ท่านไม่ได้ยึดติดแต่อย่างใด เมื่อได้รับแล้ว ก็เอาปริญญาทั้งหลายเก็บใส่ตู้ปิดกุญแจ มิได้เอามาตั้งแสดงโอ้อวดแต่อย่างใด เมื่อให้แล้วท่านก็วางจริงๆ ไม่ต้องการให้ใครมายึดติดในตัวท่าน แต่ให้ยึดติดในหลักธรรม ยึดติดในสิ่งที่ท่านได้นำมาสื่อ ซึ่งเป็นหลักธรรมของพระพุทธองค์นั่นเอง



ในอีกด้านหนึ่ง ท่านได้เป็นแบบอย่างที่ดีของการเป็นผู้รับ โดยท่านได้เขียนไว้ในหนังสือพุทธธรรมเช่นเดียวกันว่า

“…เพราะเหตุที่ได้เขียนพุทธธรรมในฐานะของผู้ศึกษา การเขียนนี้จึงเป็นการเขียน

เพื่อการศึกษาของอาตมาเองด้วย และจึงยินดีที่จะรับฟังคำทักท้วง แนะนำ ตลอดจน

แก้ไขปรับปรุงในเมื่อพบสิ่งพลาดพลั้งบกพร่อง ตามคำบอกกล่าวด้วยท่าทีแห่งความ

มีเมตตากรุณาหวังดีต่อกัน..... ”



นี่ก็สะท้อนให้เห็นว่า ท่านเจ้าคุณ พร้อมที่จะรับฟัง พร้อมที่จะแก้ไข และพร้อมที่จะเรียนรู้จากผู้อื่นอยู่ตลอดเวลาเช่นเดียวกัน แม้ว่าท่านจะเป็นผู้มีปัญญาเลิศ และเป็นผู้ที่มีความรู้อย่างมากมาย ท่านก็ไม่มีมานะ ทิฏฐิ หรือหลงตนเอง ท่านพร้อมที่จะเรียนรู้จากผู้อื่นอยู่เสมอ



อาตมาได้มีโอกาสอ่านประวัติและปฏิปทาของท่านเจ้าคุณ ซึ่งได้มีการจัดพิมพ์ขึ้นมา โดยบางตอนในหนังสือนี้ ท่านพระครูปลัดสุวัฒนพรหมคุณ ( รองเจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน ) ได้เคยเล่าว่า ท่านเจ้าคุณนั้นได้เปิดโอกาสให้ญาติโยมมาสนทนาธรรม แลกเปลี่ยนข้อธรรมะ และบางครั้งญาติโยมก็ได้แนะนำ ได้ให้ข้อคิด ข้อวิจารณ์หลายๆอย่างที่เป็นประโยชน์ ท่านเจ้าคุณก็รับฟัง ด้วยความยิ้มแย้ม ด้วยความยินดี ท่านไม่เคยโกรธ ท่านไม่เคยหลงตนเองว่า ท่านมีความรู้มากกว่า แต่ท่านรับฟังด้วยความเคารพในความคิดความเห็นของญาติโยม ที่ได้มาร่วมสนทนากัน และเมื่อท่านได้รับฟังแล้ว ท่านก็ใช้สติในการพิจารณา ใช้หลักโยนิโสมนสิการ ในการที่จะแยกแยะว่า สิ่งที่ได้รับฟังนั้น สิ่งใดเป็นข้อเท็จจริง หรือ เป็นข้อคิดความเห็น เป็นคุณค่าแท้ หรือ เป็นคุณค่าเทียม เป็นคุณเป็นประโยชน์ หรือ เป็นโทษ เป็นเหตุ หรือเป็นปัจจัย แล้วท่านก็เลือกที่จะรับสิ่งที่ดีๆ เก็บเอาไว้

ถ้าเปรียบความรู้หรือปัญญาเหมือนน้ำที่อยู่ในแก้ว เมื่อท่านเจ้าคุณได้รับความรู้ปัญญา ซึ่งเป็นน้ำที่ดีแล้ว ท่านก็จะนำไปใส่ไว้อีกแก้วหนึ่ง อีกแก้วหนึ่ง อีกแก้วหนึ่ง ท่านก็จะมีน้ำแห่งความรู้ แห่งปัญญา ที่เต็มแก้วอยู่เป็นร้อยๆใบ เป็นพันๆใบ เป็นหมื่นๆ ใบ แล้วท่านก็จะให้แก้วน้ำที่เป็นใบหลักนั้นว่างไว้อยู่ตลอดเวลาเพื่อพร้อมที่จะรับความรู้ใหม่ๆ ปัญญาใหม่ๆ หากเราไม่หลงตน ไม่ทำตัวเป็นน้ำที่เต็มแก้ว เราก็พร้อมที่จะรับสิ่งใหม่ๆได้ตลอดเวลาเช่นกัน แต่ถ้าเราทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้ว เมื่อมีความรู้ใหม่ๆเข้ามา ก็ไม่สามารถเติมเข้าไปในแก้วนั้นได้ เพราะว่าน้ำมันเต็มอยู่ เราก็จะมีปัญญาเพียงแค่น้ำในแก้วหนึ่งใบเท่านั้นเอง



ดังนั้น ไม่ว่าเราจะประกอบอาชีพอะไร เช่น ถ้าเราเป็นคุณหมอ คุณหมอกำลังรักษาคนไข้อยู่ ในขณะที่คุณหมอรักษาคนไข้อยู่นั้น หมอก็ได้เรียนรู้จากคนไข้นั่นเอง คนไข้นั้นเป็นครูของคุณหมอ ยิ่งทำการรักษาคนไข้ ก็ยิ่งมีประสบการณ์ที่จะรักษาคนไข้มากขึ้น คุณหมอก็จะได้เรียนรู้ถึงการเจ็บไข้ได้ป่วยของคนไข้ที่มีเหตุและปัจจัยแตกต่างกัน ยิ่งคุณหมอมีประสบการณ์รักษาคนไข้มากเท่าไหร่ ก็จะมีประสบการณ์ในการวินิจฉัยโรคได้ดียิ่งขึ้น และ ถ้าเราเป็นคุณครู ขณะที่กำลังสอนศิษย์อยู่นั้น คุณครูก็กำลังจะได้เรียนรู้จากลูกศิษย์เช่นเดียวกัน ลูกศิษย์ก็จะสะท้อน หรือว่าแสดงถึงศักยภาพที่หลากหลาย ที่แตกต่างกัน ลูกศิษย์ก็อาจจะมีคำถามที่ดีๆ หรือคำตอบที่ดีๆ ก็จะทำให้คุณครูได้พัฒนาในการที่จะสอน ในการที่จะให้ความรู้แก่ลูกศิษย์ได้อย่างตรงตามศักยภาพของผู้เรียน เป็นต้น ไม่ว่าเราจะประกอบอาชีพอะไรก็ตาม ถ้าเราใช้หลักคิดในการที่จะเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับไปพร้อมๆกัน โดยทำตัวเป็นทั้งนักเรียนน้อย และครูใหญ่ เป็นนักเรียนน้อยเพื่อพร้อมที่จะเรียนรู้จากผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา และเมื่อท่านมีความรู้ ความเชี่ยวชาญในเรื่องใดแล้ว เราก็ต้องทำตัวเป็นครูใหญ่ที่พร้อมจะให้ความรู้กับผู้อื่นเช่นเดียวกัน

หากเปรียบว่า มือขวานั้นเสมือนเป็นผู้ให้ ในขณะที่เรากำลังให้อยู่นั้น มือซ้ายก็เปรียบเสมือนเป็นผู้รับ คือพร้อมที่จะรับฟังสิ่งใหม่ๆ พร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็นต่างๆ เพื่อที่เราจะได้เป็นผู้ให้และผู้รับไปพร้อมๆกัน



ท้ายนี้ขอให้เราเป็นผู้ให้ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความเมตตา และเป็นผู้ให้ด้วยปัญญา และขอให้เราเป็นผู้รับที่มีสติสัมปชัญญะ และเป็นผู้รับที่ใช้หลักโยนิโสมนสิการ ในการที่จะรับสิ่งต่างๆ ด้วยปัญญา

ขอให้เราพร้อมที่จะรับ น้ำแห่งพระธรรมทุกๆวัน เพื่อให้มีแก้วน้ำแห่งพระธรรมเป็นสิบใบ ร้อยใบ พันใบ เพื่อที่จะเป็นพลังให้เกิดมีสติ มีสมาธิ มีปัญญา ที่จะใช้ชีวิตที่ดี ประเสริฐ ตลอดกาลทุกเมื่อเทอญ


2011/9/19 thavil puapoomcharoen
เจริญพร คุณโยมกลุ่มธรรมสวัสดีทุกคนนะ

อาตมา พระถวิล ฐานุตฺตโม (พัวภูมิเจริญ) สมาชิกกลุ่มธรรมสวัสดีเช่นกัน ได้มีโอกาสบรรพชาอุปสมบท
ที่วัดญาณเวศกวัน ช่วงเข้าพรรษาที่ผ่านมา ท่านเจ้าคุณ พระพรหมคุณาภรณ์ เป็นเจ้าอาวาส อาตมา
ได้มีโอกาสแสดงธรรมที่หอฉัน ๕ วาระ จึงขอฝากข้อธรรมที่ได้มีโอกาสแสดงธรรม มาให้ได้อ่านกัน
เรื่องแรก " ความเป็นพระ อยู่ที่ใจ "



ความเป็นพระ อยู่ที่ใจ



เมื่อถึงวันพระ หรือวันหยุดเสาร์อาทิตย์ หรือวันในโอกาสพิเศษ เช่น วันเกิด เป็นต้น เราตั้งใจไปวัด เพื่อบำเพ็ญบุญกุศล โดยการถวายสังฆทาน ถวายภัตตาหาร หรือถวายจตุปัจจัยไทยธรรมต่างๆ ด้วยเพราะเรานั้นมีศรัทธาในความเป็นพระของภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นผู้ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ มีศีลมีธรรม หรือมีความเชื่อว่าเป็นเนื้อนาบุญที่ดี

ความจริงแล้ว ผู้ที่มีความเป็นพระนั้นมิใช่เพียงเฉพาะภิกษุสงฆ์ แต่ ความเป็นพระนั้น อยู่ที่ใจ ซึ่งความเป็นพระนั้น อยู่ที่ว่าคนนั้นปฏิบัติดีปฏิบัติชอบหรือไม่ ผู้ที่อยู่รอบๆ ตัวเรานั้น มีผู้ที่มีศีลมีธรรม เป็นผู้ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เป็นผู้ที่มีความหวังดี มีเมตตา กรุณา มีความเอาใจใส่ ที่จะให้เราเป็นคนที่ดี เป็นคนที่อยู่ในศีลในธรรม ลองมานึกกันดูนะ คุณพ่อคุณแม่ของเราใช่หรือไม่ คุณพ่อคุณแม่ของเรานั้นแท้ที่จริงนั้นก็คือ พระในบ้านของเรานั่นเอง



พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า คุณพ่อคุณแม่ของเรานั้นเทียบได้กับ เป็นพระอรหันต์ พระพรหม ประจำบ้าน เป็นผู้ที่มีพระคุณ เป็นผู้ที่เราจะต้องเอาใจใส่เลี้ยงดูท่านด้วยเช่นเดียวกัน เรามาที่วัดนั้นมาถวายสังฆทาน หรือมาถวายภัตตาหารให้พระที่วัด โดยการประเคนด้วยมือสองข้าง ด้วยความเคารพต่อพระสงฆ์ ดังนั้นเมื่อเราอยู่ที่บ้าน หากมีโอกาสที่จะดูแลคุณพ่อคุณแม่ที่บ้าน เช่น เราตื่นเช้ามา ก็ตักข้าว แล้วก็ยกจานข้าวให้กับคุณพ่อคุณแม่ด้วยความเคารพ คุณพ่อคุณแม่ก็จะรู้สึกปลื้มใจ นี่ก็เป็นบุญอันยิ่งใหญ่ การทำให้คุณพ่อคุณแม่อิ่มอกอิ่มใจในความกตัญญูของเราที่เราเป็นลูกเป็นหลาน นี่ก็เป็นบุญที่เราได้แสดงออกด้วยความกตัญญูกตเวทีกับพระในบ้าน ก็คือคุณพ่อคุณแม่ของเรา หรือเราสามารถที่จะทำกุศลโดยการมอบปัจจัยให้กับคุณพ่อคุณแม่ อย่างลูกน้องของเราบางคนที่เป็นผู้ที่เริ่มทำงานใหม่ๆ หากมีความตั้งใจดี แม้ว่าจะได้เงินเดือนเป็นเดือนแรก เงินเดือนก็ไม่ได้มากมายอะไร ก็แบ่งเงินเดือนส่วนหนึ่ง มอบให้คุณพ่อคุณแม่ที่บ้านต่างจังหวัด อาจจะเริ่มที่เดือนละ 300-400 บาท แม้ว่าจะเป็นเงินน้อยนิด แต่เป็นความตั้งใจที่ดี เป็นความกตัญญูของลูกที่มีต่อคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งอยากจะมอบให้กับคุณพ่อคุณแม่ด้วยความรัก ด้วยความกตัญญู เงินน้อยนิดนี้ปรากฏว่าเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่รู้สึกตื้นตันใจ เปรียบเสมือนยา ที่จะช่วยหล่อเลี้ยงหัวใจของแม่ เงินแม้เพียงน้อยนิด 300-400 บาท นี้ได้ช่วยหล่อเลี้ยงหัวใจคุณพ่อคุณแม่ให้อิ่มอกอิ่มใจ คุณพ่อคุณแม่ก็นำเงินนี้ เก็บไว้เพื่อไปทำบุญให้กับลูกๆ เมื่อถึงเวลาที่จะไปวัด ก็จะนำเงินนี้ไปทำบุญซึ่งเป็นบุญกุศลให้กับลูกๆ หลานๆของเรานั่นเอง



การแสดงความกตัญญู ต่อคุณพ่อคุณแม่ เทียบได้กับการถวายทานกับพระเช่นกัน เพราะว่าคุณพ่อคุณแม่ก็คือพระอรหันต์ของเรา อันนี้ก็ได้บุญเหมือนกัน ไม่จำเป็นที่จะต้องไปวัด ก็สามารถที่จะทำบุญให้กับพระที่อยู่รอบๆตัวเราได้

ถ้าเรามีลูกหลานซึ่งกำลังเล่าเรียนศึกษาอยู่ ก็บอกลูกหลานของเรา ให้ตั้งใจไปศึกษาเล่าเรียน เพื่อเป็นทานให้กับคุณพ่อคุณแม่ การที่ลูกหลาน ตั้งใจไปเรียนหนังสือ ก็เป็นการตอบแทนบุญคุณของคุณพ่อคุณแม่ซึ่งเป็นพระอรหันต์ในบ้าน ก็เป็นการสร้างความอบอุ่น มั่นใจ ชื่นใจให้กับคุณพ่อคุณแม่ ลูกหลาน ก็จะได้บุญ คุณพ่อคุณแม่ก็จะได้บุญไปด้วย ลูกหลาน ก็จะได้ประสบความสำเร็จในชีวิต ด้วยการที่ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนเป็นทาน บุญกุศลนี้จะได้ย้อนกลับมาที่ลูกหลานของเรา





ในกรณีที่เราเป็นผู้ที่มีอาชีพการงานอยู่ เราก็สามารถที่จะทำบุญกับนายจ้างของเราด้วยการตั้งใจทำงานเป็นทานนั่นเอง เพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณของนายจ้าง ที่เป็นผู้ที่มีพระคุณ เป็นผู้ที่ประพฤติดีประพฤติชอบ ทำกิจการงานที่เป็นประโยชน์ และก็ทำให้เราได้มีอาชีพการงานทำ การตั้งใจทำงานเป็นทาน เป็นการทำบุญที่ยิ่งใหญ่เช่นเดียวกัน บุญนี้เราก็สามารถทำได้ทุกวัน เราสามารถตั้งใจทำงานเป็นทานทุกวัน เราก็ได้บุญทุกวัน เพราะเราทำงานด้วยความขยันขันแข็งและความซื่อสัตย์สุจริต



ถ้าเราซึ่งเป็นนายจ้าง มีจิตใจที่ดี มีเมตตา ให้อภัยกับลูกน้อง ถือได้ว่าเป็นการให้อภัยทาน ซึ่งเป็นการทำทานที่ยิ่งใหญ่ ด้วยท่านมีจิตใจที่ดีให้อภัย ให้โอกาสที่จะให้เขาได้แก้ตัวใหม่ ปรับปรุงตัวใหม่ เพื่อเขาจะได้ไม่ทำผิดพลาดได้อีก แต่ถ้าหากท่านให้โอกาสเขาแล้ว เขาก็ยังอาจจะทำผิดทำพลาดอยู่ด้วยความไม่รู้ เราก็ให้ความรู้ให้ปัญญาเป็นทาน ก็ถือว่าเป็นการทำบุญที่ยิ่งใหญ่กับลูกน้องของเราเช่นเดียวกัน การให้ความรู้เป็นวิทยาทานนั้นเป็นสิ่งประเสริฐ เป็นการทำทานที่ได้บุญมาก หากเราให้ธรรมะกำกับไปด้วย ก็จะทำให้เกิดความรู้ที่เป็นปัญญาที่ดี ( สัมมาทิฏฐิ ) เพื่อที่จะได้ใช้ปัญญาในทางที่ถูกที่ควร เป็นการทำสัมมาอาชีพ เพื่อที่จะมีรายได้ โดยที่ว่างานนั้นต้องเป็นงานที่ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน

นั่นคือ เราสามารถที่จะทำบุญอันยิ่งใหญ่ให้กับผู้ที่เป็นพระที่อยู่รอบๆ ตัวเราได้ตลอดเวลา เราก็มาดูว่ามีคนอื่นอีกมั้ยที่อยู่รอบๆ ตัวเรา ครูบาอาจารย์ ผู้ใหญ่ที่นับถือ หรือกัลยาณมิตร ที่เป็นผู้ที่หวังดีต่อเรา เป็นผู้ที่มีศีลมีธรรม เราก็สามารถที่จะไปทำความดีกับท่านได้ โดยการไปกราบไหว้ท่าน ไปเยี่ยมเยียนท่าน นำหนังสือดีๆ ธรรมะดีๆ ไปมอบให้กับท่าน ก็ถือว่าเราได้ถวายสังฆทานกับพระที่อยู่รอบๆตัวเรา นี่ก็เป็นการที่เราสามารถที่จะทำบุญทำทานให้กับผู้ที่เป็นพระที่อยู่รอบๆตัวเรา ได้โดยไม่จำเป็นต้องมาวัดก็จะได้บุญได้กุศลเช่นเดียวกัน



ถ้าเราเป็นผู้มีศีลมีธรรม ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เราก็มีความเป็นพระในตัวเรา ที่เราจะต้องเพิ่มพูนคุณงามความดีให้กับตัวเราเองด้วย ด้วยการหมั่นดูแลสุขภาพ ทานอาหารที่เป็นประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และเราต้องทำบุญให้กับตัวเรา ด้วยการเก็บออมเงินให้กับตัวเราเองเพื่อสำหรับใช้จ่ายในอนาคต

การมีชีวิตอยู่กับปัจจุบัน คือการใช้จ่ายเงินที่หามาได้ในปัจจุบัน หาได้เท่าไหร่ ก็ใช้จ่ายอย่าให้เกินเงินที่หามาได้ และให้มีเงินเหลือเก็บไว้ในอนาคตด้วย อย่าใช้เงินล่วงหน้าจากบัตรเครดิต เพราะเท่ากับว่า เรากำลังนำเงิน

ที่จะหาได้ในอนาคตมาใช้ในปัจจุบัน และให้ปัญญากับตัวเราเป็นทาน โดยการหมั่นศึกษาหาความรู้ เพื่อความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และเข้าใจหลักธรรมในการดำเนินชีวิต



ด้วยความเป็นพระ นั้นอยู่ที่ใจ เราจึงสามารถสร้างบุญ สร้างกุศลด้วยการทำมหาทานกับผู้ที่มีความเป็นพระที่อยู่รอบๆ ตัวเราได้ตลอดกาล ด้วยการทำทานด้วยจตุปัจจัย ด้วยการให้อภัยเป็นทาน ด้วยการให้ความเคารพ แสดงออกด้วยความกตัญญุกตเวทิตาธรรม ด้วยการตั้งใจทำงานเป็นทาน ด้วยการให้ธรรมะเป็นทาน ด้วยการให้ปัญญาเป็นทาน เราก็จะเป็นผู้ที่มีความสุข ความเจริญ ประสบความสำเร็จ และความก้าวหน้าในการดำเนินชีวิตตลอดไป

เจริญพร

พระถวิล ฐานุตฺตโม

อยู่กับทุกข์ให้เป็น ก็ไม่เป็นทุกข์ (พระไพศาล วิสาโล)

อยู่กับทุกข์ให้เป็น ก็ไม่เป็นทุกข์ (พระไพศาล วิสาโล)
ทุกวันนี้ผู้คนมีชีวิตที่สะดวกสบายมากขึ้น ความรู้และเทคโนโลยีนานาชนิด ทำให้เราสามารถหลีกเลี่ยงความทุกข์ได้มากมาย ร้อนก็เปิดแอร์ อาบน้ำก็ไม่ต้องกลัวหนาวเพราะมีเครื่องทำน้ำอุ่น ไปไหนมาไหนก็ไม่เหนื่อยเพราะมีรถยนต์ และเครื่องบิน ฯลฯ

แต่ถึงแม้จะมีความสามารถในการพาตัวให้ไกลจากความทุกข์ได้มากมายเพียงใด ความจริงอย่างหนึ่งที่ต้องยอมรับก็คือ มีความทุกข์หลายอย่างที่เราไม่อาจหนีพ้นได้ ร่ำรวยเพียงใดก็ยังต้องเจอกับความพลัดพรากสูญเสีย ยิ่งใหญ่แค่ไหนก็ต้องพบกับความไม่สมหวัง เก่งเพียงใดก็ต้องประสบกับความล้มเหลว ที่แน่ ๆ ก็คือ ไม่มีใครหนีพ้นความแก่ชรา ความเจ็บป่วย และความตายไปได้

คนเป็นอันมาก เมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นกับตัวเอง ก็อดไม่ได้ที่จะคร่ำครวญ ตีโพยตีพาย หรือวิตกกังวล จนเครียดหนัก หรือถึงกับกินไม่ได้นอนไม่หลับ กลายเป็นการเอาความทุกข์มาซ้ำเติมตนเองให้หนักกว่าเดิม แทนที่จะเสียแต่เงิน ใจก็พลอยเสียไปด้วย แทนที่จะป่วยกายอย่างเดียว ใจก็ป่วยด้วย พูดอีกอย่าง แทนที่จะเจอธนูดอกเดียว กลับเจอถึงสองดอก ธนูดอกแรกนั้นอาจ มาจากคนอื่นหรือสิ่งนอกตัว แต่ธนูดอกที่สองนั้นเกิดจากน้ำมือของเราเอง ร้ายกว่านั้นก็คือธนูดอกที่สองนั้น มักก่อความทุกข์ที่รุนแรงหนักหนากว่าธนูดอกแรกเสียอีก

หญิงสูงวัยผู้หนึ่ง ไปหาหมอครั้งแล้วครั้งเล่าโดยไม่รู้ว่าตนเองเป็นโรคอะไร แล้ววันหนึ่งหมอก็เรียกเธอไปพบ แล้วบอกว่า “ ป้าเป็นมะเร็งตับนะ อยู่ได้ไม่เกินสามเดือน” เธอตกใจมาก นับแต่นั้นมาก็เศร้าซึม หมดอาลัยตายอยาก ไม่พูดไม่คุยกับใคร ผ่านไปได้แค่ ๑๒ วัน เธอก็เสียชีวิต

ก้อนมะเร็งนั้นแม้จะบั่นทอนร่างกายของเธอ แต่ก็ไม่ร้ายแรงเท่ากับใจที่ตื่นตระหนกและวิตกกังวล นั่นเป็นเพราะเธอไม่ยอมรับความจริงที่เกิดขึ้น แต่พยายามปฏิเสธต่อต้านตลอดเวลา ใจที่ดิ้นรนขัดขืนนั้นสามารถตัดรอนชีวิตของเธอได้เร็วยิ่งกว่าก้อนมะเร็งเสียอีก

จะว่าไปแล้วความทุกข์ของคนสมัยนี้ ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากใจที่ปฏิเสธต่อต้านความจริงที่เกิดขึ้นยิ่งกว่าอะไรอื่น ดังนั้นแม้แต่เหตุการณ์เล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น รถติด ก็ทำให้ผู้คนขึ้งเครียดหงุดหงิดอย่างหนัก ทั้ง ๆ ที่เครียดหรือกังวลเท่าใด ก็ไม่ช่วยให้รถเคลื่อนได้เร็วขึ้น มีแต่จะทำให้เป็นทุกข์มากขึ้น

อะไรเกิดขึ้นกับเรา ก็ไม่สำคัญเท่ากับว่าเรารู้สึกกับมันอย่างไร มีสิ่งร้ายเกิดขึ้นกับเราก็ไม่ทำให้เราทุกข์มากเท่ากับใจที่ปฏิเสธต่อต้านสิ่งนั้น พูดอีกอย่าง ยิ่งเราปฏิเสธต่อต้านสิ่งใด ความทุกข์ก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อเจอสิ่งนั้น การวิจัยพบว่า คนที่กลัวเข็มฉีดยานั้น เมื่อถูกเข็มแทงจะรู้สึกปวดมากกว่าคนที่วางเฉยต่อเข็มนั้นถึงสามเท่า คงไม่ผิดหากจะกล่าวว่าใจที่ปฏิเสธต่อต้านความทุกข์ย่อมทำให้ความทุกข์นั้นทบทวีหรือตรีคูณ

ในทางตรงข้าม ทันทีที่เราหยุดต่อต้านขัดขืน ยอมรับเหตุร้ายที่เกิดขึ้น ความทุกข์จะลดลงไปมาก คนที่ยอมรับความจริงได้ว่าตนเองเป็นมะเร็ง ไม่ต่อต้านขัดขืน หรือคร่ำครวญตีโพยตีพายอีกต่อไป จะพบว่ามีแต่กายเท่านั้นที่ทุกข์ แต่ใจไม่ทุกข์ด้วย

เป็นธรรมดาของคนเรา เมื่อเจอภัยคุกคามหรือสิ่งที่ไม่ชอบ ย่อมมีปฏิกิริยาในทางใดทางหนึ่งเสมอคือ ถ้าไม่หนี ก็ต่อสู้ แม้ตัวจะหนีไม่พ้น แต่ใจก็ยังดิ้นรนขัดขืน หรือต่อสู้ ซึ่งก็ยิ่งทำให้เป็นทุกข์มากขึ้น แต่หากเรามีสติรู้ทันใจที่ดิ้นรนขัดขืน มันก็จะค่อย ๆ สงบลง ไม่ว่าการดิ้นรนขัดขืนนั้นจะแสดงออกมาในรูปของความกลัว ความวิตกกังวล ความโกรธแค้น ความน้อยเนื้อต่ำใจ ก็สามารถสงบลงได้เมื่อมีสติหรือรู้ตัว

ในทางตรงข้ามการกดข่ม หรือพยายามกำจัดมัน กลับทำให้มันดำรงคงอยู่ต่อไป แม้ดูเหมือนจะหายไป แต่แท้จริงมันกลับหลบซ่อน และพร้อมจะปรากฏตัวอีกด้วยอาการที่รุนแรงกว่าเดิม หากมีอะไรมากระทบ หรือสะกิดใจเรา จะว่าไปก็คงไม่ต่างจากการเกาให้หายคันเวลาถูกยุงกัดหรือเป็นลมพิษ แทนที่ความคันจะหายไป มันกลับเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกาหนักขึ้น กลายเป็นว่ายิ่งเกาก็ยิ่งคัน การอยู่เฉย ๆ รับรู้ความคันที่เกิดขึ้นกับกาย และรู้ทันใจที่ดิ้นรนกระสับกระส่าย กลับช่วยให้ความทุกข์ทุเลาเบาบางลง

การยอมรับความจริง มิได้หมายถึงการยอมจำนนต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ที่จริงแล้วมันกลับช่วยให้เราสามารถรับมือกับเหตุร้ายได้ดีขึ้น คนที่ยอมรับความเจ็บป่วยได้ นอกจากใจจะทุกข์น้อยลงแล้ว ยังมีเวลาใคร่ครวญหาทางเยียวยารักษา สามารถใช้สติปัญญาอย่างเต็มที่ ไม่ถูกรบกวนด้วยอารมณ์ต่าง ๆ ผิดกับคนที่ไม่ยอมรับความจริง จะมัวแต่ตีโพยตีพาย คร่ำครวญวิตกกังวล จนไม่เป็นอันทำอะไร สิ่งที่ควรทำจึงไม่ได้ทำ ปัญหาที่ควรแก้จึงไม่ได้แก้

ลองถามตัวเองว่า แต่ละวันเราเสียเวลาและพลังงานไปกับการคร่ำครวญ หรือวิตกกังวลมากมายเพียงใด บางเรื่องเกิดขึ้นนานแล้ว แก้ไขอะไรไม่ได้ ป่วยการที่จะนึกถึง ขณะที่บางเรื่องก็ยังไม่เกิดขึ้นด้วยซ้ำ แต่เรากลับตีโพยตีพายไปล่วงหน้าแล้ว แม้แต่สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ตอนนี้ก็เถอะ ลองตั้งสติและมองให้รอบด้านอาจพบว่า มันไม่ใช่เรื่องเลวร้ายหนักหนาเลย เป็นแต่ไม่ตรงกับความคาดหวังของเราเท่านั้น ลองปล่อยวางความคาดหวังนั้น ก็จะพบว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องธรรมดา ไม่เหลือบ่ากว่าแรง อีกทั้งอาจมีแง่ดีบางอย่างที่ไม่เคยนึกมาก่อนก็ได้ ที่สำคัญก็คือ อย่ามัวจดจ่อปักใจอยู่กับสิ่งแย่ ๆ ที่เกิดขึ้น จนลืมว่าชีวิตนี้ยังมีสิ่งดี ๆ อีกมากมายที่รอการชื่นชมจากเรา

ความทุกข์บางอย่างเราหนีไม่พ้นก็จริง แต่หากเรียนรู้ที่จะอยู่กับมันให้เป็น ใจก็ไม่เป็นทุกข์อีกต่อไป

อบายภูมิ

อบายภูมิ คือภูมิที่ต่ำสุด มี 4 ชั้น เป็นภูมิของความชั่วช้าต่างๆ นรกภูมิ คือภูมิชั้นที่ต่ำที่สุดในอบายภูมิ ที่ยังมีลึกซ้อนกันลงไปอีก 8 ชั้น มหาอเวจีนรก คือนรกชั้นที่ต่ำที่สุด ผู้ที่กระทำบาปอันเป็น อนันตริยกรรม 5 คือ ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อขึ้นไป ทำลายหรือยุยงพระสงฆ์ให้แตกแยกกัน จะไปเกิดในขุมนรกชั้นนี้ ถัดขึ้นมาคือ เดรัจฉานภูมิ เปรตภูมิ และ อสุรกายภูมิ ตามลำดับ

ทางสู่อบายภูมิ4 -ได้แก่ นรก-เปรต-อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉาน มีโลภะ-โทสะ-นำไป คือ

-โลภะ นำไปเกิดเป็นเปรต อสุรกาย

-โทสะ นำไปตกนรก เป็นสัตว์นรก

-โมหะ นำไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน

สัตว์นรกนี้ มีมากมายหลายประเภท เหตุที่เกิด เนื่องจากโทสะดังกล่าวแล้ว ซึ่งเป็นอกุศลกรรมที่ตนเองได้ทำไว้ ตายแล้วก็ต้องมาเกิดเป็นสัตว์นรก ตั้งแต่ขุมที่1-8 และยังนรกขุมย่อยอีกมากมาย ซึ่งเป็นผลของการทำอกุศลกรรม(บาป)ทั้งสิ้น ก็จะทำให้ได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัสอนู่นานแสนนาน เมื่อไปบังเกิดในนรกแล้ว พ้นจากมหานรกทั้ง 8แล้ว ยังต้องไปรับกรรมที่ขุมนรกย่อยต่อไปอีก จนกว่าจะหมดกรรม เมื่อพ้นจากนรกแล้ว ถ้าเศษกรรมยังไม่สิ้น ก็จะต้องไปบังเกิดในภพเปตวิสัย เป็นเปรต อสุรกายต่อไปอีก เมื่อพ้นจากเปรต อสุรกายแล้ว ถ้าเศษกรรมยังไม่สิ้น ก็จะต้องไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานต่อไปอีก จนกว่าเศษกรรมจะหมด

ผู้ที่ไปเกิดในอบายภูมิเหล่านี้ ไม่มีโอกาสที่จะได้สร้างความดีเหมือนกับมนุษย์ จะไปฟังเทศน์ ฟังธรรม รักษาศีล เจริญภาวนา วิปัสสนากรรมฐาน ก็ไม่ได้ เพราะกรรมหนัก กรรมแรงปิดบังไว้ จึงเป็นเหตุให้สรรพสัตว์วนเวียนอยู่ในห้วงกิเลส และกองทุกข์อย่างน่าสะพรึงกลัวเป็นที่สุด ดังนั้น จึงขอแนะนำให้ทุกท่าน จงพากันละชั่ว-ทำดี-ทำใจให้สะอาดบริสุทธิ์ รับแสงทิพย์+ถือศีล5ตลอดชีวิต+ทำสมาธิภาวนา+วิปัสสนาญาณ+แผ่เมตตาไปสามโลกทุกๆวัน ก็จะทำให้ชีวิตมีความสุขทั้งภพนี้และภพหน้าแน่นอนครับ.......

ทำไมถึงเป็นสิว? "คำถามนี้มีคำตอบ"

ทำไมถึงเป็นสิว? "คำถามนี้มีคำตอบ" เรื่องสิวเป็นเรื่องธรรมชาติแต่ทำไมถึงเป็นสิว? นะเหรอ อืม...แม้ว่าเรื่องสิวจะเป็นเรื่องที่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องปกติแต่ก็สร้างความกังวลใจให้ใคร ๆ หลายได้เยอะเลย จึงเป็นที่มาของคำถามที่ว่า ทำไมถึงเป็นสิว? จริง ๆ แล้วสิวสามารถเกิดได้หลายปัจจัยทั้งสภาพแวดล้อมและตัวของเราเองที่เวลาออกไปข้างนอกจับโน้นจับนี้แล้วก็ลืมมาจับหน้าของตัวเองก็ทำให้เกิดสิวอุดตันได้ค่ะ วันนี้จะมาตอบคำถามที่ว่า ทำไมถึงเป็นสิว แบบเบื้องกันก่อนนะ สิวเกิดขึ้นได้อย่างไร? เรามี "สาเหตุการเกิดสิว" มาบอก!!! วันนี้เรามีคำตอบที่หลาย ๆ คนสงสัยกันเหลือเกินว่าสิวเกิดขึ้นได้อย่างไร? และสาเหตุการเกิดสิวคืออะไรมาเฉลยกันค่ะ จะว่าไปแล้วสิวเม็ดเล็ก ๆ เพียงแค่เม็ดเดียวก็ทำให้คุณสาว ๆ ทั้งหลายถึงกับนอนไม่หลับกันเลยทีเดียวแต่พอจะหาต้นตอของปัญหาก็ทำเอาปวดหัวเลยแหละ แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า สาเหตุการเกิดสิว มักจะเกิดจากสาเหตุที่เรานึกไม่ถึง ถ้าสาว ๆ คนไหนที่รู้คำตอบของคำถามยอดฮิตที่ว่า สิวเกิดขึ้นได้อย่างไร? รับรองได้เลยว่าสิวที่เป็นเสมือนตัวปัญหาจะไม่มารังควานคุณอีกต่อไป วันนี้เราก็เลยนำเอา 10 สาเหตุการเกิดสิว มากฝากกันค่ะสาว ๆ คนไหนที่อยากรู้ว่า สิวเกิดขึ้นได้อย่างไร? ต้องไม่พลาด 10 สาเหตุที่น่ารู้ของเราในวันนี้นะคะ ว่าแล้วเราก็ไปดู 10สาเหตุการเกิดสิวและก็ไปหาคำตอบของคำถามยอดฮิตที่ว่า สิวเกิดขึ้นได้อย่างไร? ว่าแล้วเราก็ไปหาคำตอบพร้อม ๆ กันเลยดีกว่านะค่ะ
1. การทานอาหาร

2. บีบสิว
3. แบคทีเรีย

4. ใช้วิตามินมากเกินไป โดยเฉพาะวิตามิน B1, B6 และ B12

5. ปล่อยให้หน้ามันมากเกินไป

6. ขัดผิวแรงเกินไป

7. ใช้ผลิตภัณฑ์ไม่ถูกกับผิวหน้า
8. หมอนสกปรก

9. ล้างหน้าบ่อยเกินไป

10. ผมสุดสกปรก


คุณกำลังเจอปัญหาเหล่านี้อยู่หรือไม่??
สิวทุกชนิด ฝ้า กระ จุดด่างดำ รอยแผลเป็นจากหลุมสิว อีสุกอีใส ถุงใต้ตานูนใหญ่ น่าเกลียด

ผิวพรรณหยาบกร้าน ดำ สุขภาพทรุดโทรม หน้าแก่ก่อนวัย รอยเหี่ยวย่น รอยตีนกา

ปวดท้องประจำเดือน แขนขาอ่อนแรง อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ หรือ หลับไม่สนิท

โรคท๊อปฮิต อย่าง โรคอ้วน โรคหัวใจ มะเร็ง เบาหวาน ความดัน ไขมันในเส้นเลือดสูง ( Cholesterol)

โรคไขข้อ รูมาตอย โรคเก๊า และ/หรือ อื่นๆ อีกมากมาย



????? สุดท้ายก็ต้องรักษา หรือ ใช้ยา ตลอดชีวิต ???????

วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ธรรมะหลวงพ่อเทียน

ธรรมะหลวงพ่อเทียน

ทัศนคติเกี่ยวกับหลวงพ่อ
ประสบการณ์การปฏิบัติธรรม
และธรรมะของศิษยานุศิษย์
จากหนังสือ ปกติ หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ และสิ่งที่ฝากไว้





ความมหัศจรรย์ในพระธรรมดา
นายแพทย์วัฒนา สุพรหมจักร



ถ้าท่านทั้งหลาย ได้พบกับหลวงพ่อเทียน ก็คงจะมีความเห็นคล้ายกันว่า
ท่านเป็นหลวงตาที่มีความสงบและพูดน้อย เช่นเดียวกับหลวงตาที่พบเห็นทั่ว ๆไป



แต่ถ้าได้สังเกตตัวท่านบ้าง ก็จะรู้สึกว่า ท่ามกลางความสงบนั้น
ท่านมีความตื่นตัว รู้ตัวเองอยู่ตลอดเวลา



และเมื่อมีโอกาสซักถามปัญหาต่าง ๆ ก็ได้ประสบกับความมหัศจรรย์ของหลวงตา
ผู้ที่เกือบจะเรียกได้ว่า ไม่รู้หนังสือ ที่เน้นสอนเรื่องสติอย่างเดียวมาตลอด



ได้แสดงออกถึงปัญญาอันหลักแหลมโดดเด่นในการตอบปัญหา แทบจะเรียกได้ว่า"เหลือเชื่อ"
สำหรับผู้ที่ไม่เคยผ่านการศึกษาเล่าเรียน ในรูปแบบที่เรายอมรับและยกย่องกัน

จะสามารถตอบชี้แจงด้วยคำพูดที่ง่าย กระชับเต็มไปด้วยความหมายเข้าใจได้ชัดเจน หมดข้อสงสัยใด ๆ ทั้งสิ้น
ไม่ว่าจะเรียกขานท่านในชื่อใด สมญานามใดก็ตาม ไม่ใช่เรื่องสำคัญ

แต่สิ่งที่ท่านสอนหรือตอบนั้น แม้ในคำถามพื้น ๆ ธรรมดาที่เราสงสัย ก็เต็มไปด้วยคุณค่า
เปรียบได้ดังกับ การจุดไม้ขีดไฟให้ความสว่างในความมืด
ทำให้เห็นหนทาง หรือเกิดความสว่างในปัญญา
อันเป็นประโยชน์แก่ผู้ต้องการและแสวงหา ที่อยู่ท่ามกลางความมืด
ความไม่รู้ ความสงสัย ความไม่เข้าใจทั้งหลาย ไม่มากก็น้อย

คำตอบและข้อคิดเห็นต่อไปนี้ ได้จากคำถามที่ข้าพเจ้า
และคณะแพทย์ผู้รักษา มีความสงสัยได้ถามท่านในช่วงเวลา 5 ปีสุดท้าย

ขอบันทึกไว้เพื่อว่า จะเป็นประโยชน์บ้าง ทั้งนี้
ไม่ได้หวังเพื่อจะยกย่องเชิดชู หรือชักจูงให้เลื่อมใส โดยปราศจากวิจารณญาณไตร่ตรอง
ซึ่งเป็นเอกสิทธิของแต่ละบุคคลที่เราพึงควรเคารพ



1) ศาสนา
หลวงพ่อกล่าวถึงศาสนาว่า "ศาสนาคือ คน"
เมื่อฟังหรืออ่านแล้วก็ยังไม่เข้าใจ จึงได้ถามท่านว่าศาสนา คือ "คน"
จริงหรือไม่ ท่านตอบว่า

" ศาสนาเป็นเพียงคำที่เราเรียก คำสอน คน โดย คน ที่ถือว่าเป็นผู้รู้
มีหลายอย่าง เวลาจะให้พูดเรื่องศาสนา
จะมีแต่ทำให้เกิดข้อสงสัยและโต้เถียงกัน ขอไม่พูด
แต่ถ้าอยากรู้ว่า ความจริงของชีวิตเป็นอย่างไร จะเล่าให้ฟัง
เมื่อรู้แล้ว จะหมดสงสัยในคำว่า 'ศาสนา' "



2) หลวงพ่อเทียน สอนแบบฉีกตำรา ?
ข้าพเจ้าได้เรียนถามท่านว่า
คนทั่วไปย่อมยึดถือพระไตรปิฎกเป็นตำราในการศึกษาพุทธศาสนา
แต่เวลาหลวงพ่อสอนไม่ค่อยเห็นพูดถึงเลย ท่านให้ความเห็นว่า

"พระไตรปิฎกนั้นจารึกหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานหลายร้อยปีและคัดลอกต่อกันมานับพันปี
คนเขียนคงเขียนดีแล้ว แต่คนอ่านจะเข้าใจเหมือนคนเขียนหรือไม่ ยังสงสัย
ถ้าจะเอาแต่อ้างตำราก็เหมือนกับว่าเราต้องรับรองคำพูดของคนอื่นซึ่งหลวงพ่อไม่แน่ใจ
แต่สิ่งที่เล่าให้ฟังนั้นขอรับรองคำพูดของตัวเองเพราะจากประสบการณ์จริง ๆ"

"ตำราเปรียบเสมือนแผนที่ เหมาะสำหรับผู้ที่ยังไม่รู้ทางไป หรือยังไปไม่ถึงจุดหมาย
ผู้ที่ไปถึงแล้วแผนที่ก็หมดความหมาย"

"พระไตรปิฎก เขียนด้วยภาษาอินเดียเหมาะสำหรับคนอินเดีย หรือคนเรียนภาษาอินเดียอ่าน
แต่ธรรมะของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่เรื่องผูกขาดของคนใดคนหนึ่ง
เป็นเรื่องอยู่เหนือภาษา เชื้อชาติ เพศ และเวลา
ถ้าเรารู้ธรรมะที่แท้จริงแล้ว จะต้องรู้ และเข้าใจในภาษาของเราได้"

"การศึกษาพระไตรปิฎกนั้นดี แต่อย่าให้ติดและเมาในตัวหนังสือมะม่วง มีชื่อเรียกหลายอย่างหลายภาษา

อย่ามัวแต่ถกเถียง ตีความ หรือยึดถือว่า จะต้องเรียกอย่างไร แล้วปล่อยให้มันเน่า
ใครที่ได้กินมะม่วง ก็ย่อมรู้ว่า รสมะม่วงเป็นอย่างนั้นเอง
ไม่ว่าจะเรียกชื่ออะไร หรือไม่มีชื่อเลยก็ตาม"



3) เรื่องของพระอานนท์
ข้าพเจ้ามีความสงสัยตลอดมาว่า ทำไมพระอานนท์จึงไม่ได้เป็นพระอรหันต์

ทั้ง ๆ ที่ได้ยิน ได้ฟัง รู้คำสอนของพระพุทธเจ้า ยิ่งกว่าใคร ๆ หลวงพ่อตอบว่า

"พระอานนท์รู้เรื่องพระพุทธเจ้ามากก็จริง แต่ยังไม่รู้จักตนเอง
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว ได้เรียนรู้ตนเอง จึงสำเร็จเป็นพระอรหันต์"



4) ธรรมะไม่ใช่เสื้อผ้า
หลวงพ่อเคยกล่าวว่า ท่านเคยมีความเข้าใจผิด

คิดว่า ธรรมะเป็นสิ่งนอกกาย เหมือนกับเสื้อผ้าที่จะต้องเสาะแสวงหามาห่อหุ้มสวมใส่
แท้ที่จริงแล้ว ธรรมะนั้นมีอยู่ในตัวเรา นี่เอง



5) จริง สมมติ
ท่านกล่าวว่า คนมีอายุยืน มีความจำและความคิดมากกว่าสัตว์
ครั้นอยู่กันเป็นหมู่มาก จำเป็นต้องตั้งหรือสมมติกฎเกณฑ์ขึ้นมา
เพื่อให้มีความสงบสุขในสังคม เมื่อเวลาผ่านไป คนรุ่นหลังย่อมหลง
ยึดว่าสิ่งสมมตินั้นเป็นความจริง เมื่อมีคนบอกว่าสิ่งที่เขาว่าจริงนั้น
แท้จริงแล้วมันเป็นสิ่งสมมติ คนส่วนใหญ่จะไม่ยอมเชื่อ ซึ่งก็เป็นธรรมดา
"ที่เรียกว่าเงินนั้น ที่จริงแล้วเป็นกระดาษ
เมื่อใช้แล้วมีคนยอมรับจึงมีค่า เวลาไม่ยอมรับก็เป็นเพียงกระดาษ
ในสังคมปัจจุบัน เราใช้เงินเป็นตัวกลางเพื่อแลกเปลี่ยน ชีวิตใด
ครอบครัวใดไม่มีเงิน จะอยู่ได้ด้วยความเดือดร้อน
เงินซื้อความสะดวกและความพอใจได้ แต่ซื้อความหมดทุกข์ไม่ได้



6) คนรักษาศีล หรือ ศีลรักษาคน
ทำไมจึงต้องคอยรักษาศีล เหมือนรักษาแก้วไม่ให้มันแตก
ทำไมเราจึงไม่ประพฤติปฏิบัติตัวให้มีศีลเล่า
ศีลจะได้รักษาเราแล้วจะได้ไม่ห่วงคอยรักษาศีล



7) การปฏิบัติธรรม
เคยถามท่านว่าทำไมการสอนและการปฏิบัติธรรมจึงมีความแตกต่างกันไปตามสำนักต่าง
ๆ ทั้ง ๆ ที่มีพระพุทธเจ้าองค์เดียวกัน ท่านตอบว่าเรื่องนี้เป็นธรรมดา
แม้ในสมัยพุทธกาลก็มีคนกล่าวว่ามีตั้ง 108 สำนัก
แต่ละแห่งก็ต้องว่าของตัวถูกต้อง อีก 107 แห่งเป็นมิจฉาทิฐิ
ตัวเราเองจะต้องเป็นคนไตร่ตรองพิจารณาเอง การที่เป็นคนเชื่อง่าย
หรือเป็นคนเชื่อยากไม่ฟังคนอื่น ต่างก็ไม่ดีทั้งนั้น
ถ้าการปฏิบัติดังกล่าวทำให้ทุกข์หมดไป ถือว่าได้ สำหรับเรื่องธรรมะนั้น
คนที่รู้ธรรมะที่แท้จริงจะต้องรู้อย่างเดียวกัน"
เมื่อมีคนถามถึงการปฏิบัติธรรมะในรูปแบบอื่น ๆ ว่าดีหรือไม่ท่านกล่าวว่า
"ดีของเขา ไม่ใช่ดีของเรา"



8) ทำดี ทำชั่ว
เคยถามท่านว่า มีคนสงสัย ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว จริงหรือไม่ ท่านให้ความเห็นว่า
"ดีชั่วเป็นเรื่องของสังคมกำหนด ดีในที่หนึ่ง อาจจะเป็นชั่วอีกที่หนึ่ง
เราควรจะพูดให้เข้าใจใหม่ว่า ทำดีมันดี ทำชั่วมันชั่ว"



9) การศึกษาธรรมะ
ท่านเคยกล่าวถึงการศึกษาธรรมะว่า"การศึกษาธรรมะเพียงเพื่อเอาไว้พูดคุย
ถกเถียงกันนั้น ได้ประโยชน์น้อย เราต้องนำมาใช้และปฏิบัติให้ถึงที่สุด
จะได้ประโยชน์มากกว่า"



10) เรื่องของพระพุทธเจ้า
เคยมีการกล่าวถึงปัญหาพระบรมสารีริกธาตุ
ว่าเป็นแก้วผลึกหรือเป็นเพียงกระดูกที่ไฟเผา เมื่อได้ขอความเห็น
ท่านกลับตอบว่า
เรื่องของพระพุทธเจ้าไม่ใช่เรื่องของเรา
เรื่องของเราไม่ใช่เรื่องของพระพุทธเจ้า
แต่พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เรารู้จักเรื่องของเรา
เมื่อรู้เรื่องตัวเองดีแล้ว ถึงพระพุทธเจ้าจะเสด็จมาหรือไม่ก็ไม่เป็นปัญหา"



11) การเชื่อ
หลวงพ่อได้กล่าวอยู่เสมอว่า
เราไม่ควรด่วนเชื่อทันทีและไม่ควรปฏิเสธทันทีเช่นกัน
ควรพิจารณาไตร่ตรองให้ดีหรือทดลองเสียก่อน จึงจะเชื่อหรือไม่เชื่อ
ในพุทธประวัติก็มีตัวอย่าง เช่น องคุลีมาลเป็นคนที่เชื่อง่าย
อาจารย์สั่งให้ฆ่าคนตั้งมากมายก็ยังทำ หรือเมื่อปริพาชกพบพระพุทธเจ้า
ทั้ง ๆ ที่พระองค์มีลักษณะน่าเลื่อมใส
แต่ก็ไม่เชื่อว่าพระองค์ตรัสรู้ได้ด้วยตัวเองจึงหลีกไป
ไม่มีโอกาสได้ศึกษาจากพระพุทธเจ้า



12) การศึกษา ทำให้คนดี ชั่วจริงหรือไม่ ?
เคยถามว่า ทำไมผู้ที่เคยบวชเรียนมามาก
บางคนเมื่อสึกไปแล้วกลับประพฤติตัวเหลวไหลยิ่งกว่าชาวบ้านที่ไม่เคยบวชเรียนเลย
หลวงพ่อตอบว่า
"คนเหล่านั้นเรียนแต่ตัวหนังสือ ไม่เคยเรียนรู้ตัวเอง"



13) ปัญหาปลีกย่อย
หลวงพ่อเคยเล่าให้ฟังว่า
คนจำนวนไม่น้อยที่มาหาท่านแล้วถามแต่ปัญหาปลีกย่อย เช่น
ทำบุญเช่นนี้ได้บุญแค่ไหน ชาติหน้ามีจริงหรือไม่ ฯลฯ
มีน้อยครั้งที่จะมีคนถามว่า พุทธศาสนาสอนอย่างไร จะเอาไปใช้ได้อย่างไร
หรือ ที่จะทำให้ทุกข์น้อยลงควรทำอย่างไร
ครั้นจะให้หลวงพ่อถามเองตอบเองก็ดูกระไรอยู่



14) หนา
ข้าพเจ้าเคยนิมนต์ท่านให้ไปสอนผู้ที่เคารพนับถือคนหนึ่ง
ที่ติดและเลื่อมใสในการทำบุญตามประเพณีมาก
เมื่อได้ถามท่านหลังจากที่ท่านกลับมาแล้ว ท่านตอบว่า
"โยมคนนี้เป็นคนหนา เราเคยอ่านพุทธประวัติหรือไม่
เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ ๆ ก่อนที่จะไปโปรดปัญจวัคคีย์
พระองค์ได้ระลึกถึงอุทกดาบสและอาฬารดาบส
แต่แล้วก็ทราบว่าท่านทั้งสองได้ตายเสียแล้ว หลวงพ่อสงสัย
ว่าพึ่งจากกันไม่นานจะตายทางร่างกายหรือไม่นั้นยังสงสัย แต่ที่ตายแน่ ๆ
คือ ความคิด"



15) หลงในความคิด
หลวงพ่อเคยกล่าวว่า คนเรานั้นคิดอยู่เสมอเหมือนกระแสน้ำ
การหลงติดกับความคิดก็เหมือนการตักน้ำมาเก็บไว้ แต่ถ้ามีสติรู้เท่าทัน
ความคิดนั้น ๆ ก็เหมือนกับน้ำที่ไหลมา แล้วก็ผ่านไป
การหลงติดในความคิดทำให้เกิดทุกข์



16) ทำตามใจคนอื่น
เคยถามหลวงพ่อว่า คนเดี๋ยวนี้มีการศึกษาก็มาก
แต่ทำไมจึงยังแก้ทุกข์ไม่ได้ ท่านตอบว่า
"คนส่วนใหญ่ทำตามใจคนอื่น ไม่ทำตามใจตัวเองจึงเป็นเช่นนี้"



17) สมณศักดิ์
เคยถามท่านว่าสมัยพระพุทธเจ้าไม่มีสมณศักดิ์
แต่ทำไมปัจจุบันในเมืองไทยจึงมีมากนัก ดีหรือไม่ ท่านตอบว่า
"สมณศักดิ์เป็นเรื่องของสังคม จะเรียกว่าดีก็ได้
หรือไม่ดีก็ได้แต่เราอยู่ในสังคมของเขา"



18) อดีต ปัจจุบัน อนาคต
ท่านกล่าวอยู่เสมอว่า อดีตผ่านไปแล้วแก้ไขไม่ได้ อนาคตก็ยังมาไม่ถึง
มีแต่ปัจจุบันนี้ที่เรายังทำอะไรได้ ถ้าทำดีวันนี้
วันนี้ก็จะเป็นอดีตที่ดีของวันพรุ่งนี้
และในวันพรุ่งนี้ก็จะเป็นอนาคตที่ดีของวันนี้ที่ทำดีแล้ว
จะไปห่วงอะไรกับสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ และสิ่งที่ยังมาไม่ถึง
ที่แก้ทุกข์ในปัจจุบันนี้ไม่ได้



19) พระเวสสันดร
เคยเรียนถามว่าเรื่องพระเวสสันดร ซึ่งเป็นตัวอย่างทานบารมี
แต่ดูคล้ายกับว่าเป็นคนไม่รับผิดชอบต่อ บุตร ภรรยา
การให้ทานเช่นนี้ทำให้ได้เป็นพระพุทธเจ้าจริงหรือ ท่านตอบว่า
เรื่องพระเวสสันดรเป็นเรื่องเล่าต่อกันมา ถ้าเราคิดว่าจริง
เราควรบริจาคทานภรรยาและลูกของเราเอง ให้แก่กรรมกรหรือชาวนา
ไปช่วยเขาทำงาน แล้วเราก็จะได้เป็นพระพุทธเจ้า
ถ้าจะเปรียบเทียบใหม่ว่าสิ่งที่ติดตัวเรา ผูกพันเหมือนบุตร ภรรยา ก็คือ
ความโลภ ความโกรธและความหลง เราบริจาคหรือท่านสิ่งนี้ไปเสีย
จะพอเข้าใจได้ไหม"



20) อริยบุคคล
หลวงพ่อกล่าวว่า
"ในทางร่างกาย อริยบุคคลกับคนธรรมดานั้นไม่ต่างกัน
มีแต่เรื่องจิตใจเท่านั้นที่อริยบุคคลดีกว่า เหนือกว่าบุคคลธรรมดา"



21) บุญ
เมื่อข้าพเจ้าถามท่านว่า "ทำบุญได้บุญจริงหรือ"
ท่านได้ถามว่า "เข้าใจว่าบุญเป็นอย่างไร"
เมื่อเรียนให้ท่านทราบว่า บุญนั้นเข้าใจว่าเป็นผลดี ตอบแทนเมื่อเราตายไปแล้ว
ท่านถามว่า" เคยฟังพระสวดอานิสงส์การทอดกฐินหรือไม่
ที่ว่าจะได้ฌานและนางฟ้าเป็นบริวารห้าร้อยองค์ หรือพันองค์
จงคิดดูว่าวัดในเมืองไทยมีกี่วัด ถ้ามีการทอดกฐินทุกวัด
ทุกปีจะไปหานางฟ้าที่ไหนมาให้จึงจะพอ
เราคิดว่าพระเป็นเสมือนพนักงานธนาคาร ที่คอยคิดดอกเบี้ยให้
เวลาเราตายอย่างนั้นหรือ"
ข้าพเจ้าได้ถามท่านต่อว่า"
ถ้าเช่นนั้นการทำบุญด้วยวัตถุอย่างที่เป็นอยู่ทั่วไปนั้น
ท่านเห็นเป็นอย่างไร"
ท่านตอบว่า
"การทำบุญด้วยวัตถุก็เป็นสิ่งที่ดี แต่เป็นเพียงข้าวเปลือก เอาไว้ทำพันธ์
เวลาเราจะกินให้ได้ประโยชน์ ต้องกินข้าวหุงหรือข้าวนึ่งสุก
ไม่ใช่ข้าวสารหรือข้าวเปลือก
การหลงติดอยู่กับการทำบุญด้วยวัตถุอย่างงมงาย
เป็นความหลงที่อยู่ในความมืด ที่เป็นสีขาว"บุญเหนือบุญก็คือ
การรู้จักตัวเอง ไม่มีทุกข์นี้แหละ



22) บังสุกุล
เคยถามท่านว่า" เวลาเราบังสุกุลให้ผู้ตาย เขาได้หรือไม่ ท่านตอบ ว่า
"การบังสุกุลเป็นเพียงประเพณีที่คนอยู่ทำขึ้น
เนื่องจากยังห่วงใยในคนที่ตายไปแล้ว ที่ว่าคนตายจะได้หรือไม่ ยังสงสัย
แต่ผู้ที่ได้แน่ ๆ คือพระ เราคิดว่าพระทำหน้าที่แทนบุรุษไปรษณีย์ได้หรือ ?"



23) นักศึกษา
หลวงพ่อเคยเปรียบเทียบว่า คนที่ได้รับการศึกษานั้นมี 2 จำพวก
พวกแรก เป็นผู้ที่รู้แจ้ง หรือรู้จริง เป็นบัณฑิต พูดแล้ว เข้าใจได้เลย
อีกพวกหนึ่ง เป็นเพียงผู้รู้จักและรู้จำ ซึ่งเวลาพูดจะพูดมาก
คำพูดอ้อมค้อมฟุ่มเฟือย หรือไม่ก็อ้างตำรามากมาย
เพื่อชักจูงให้คนเชื่อทั้งนี้ เพราะตัวเองไม่รู้จริง



24) แสงตะเกียง
ในระยะหลัง ๆ ที่หลวงพ่อสุขภาพไม่ค่อยดี
ภรรยาของข้าพเจ้าได้ปรารภกับท่านด้วยความเป็นห่วงเรื่องการสอนธรรมะ
หลังจากที่ท่านจากไปแล้ว ว่าจะเป็นอย่างไรนั้น ท่านตอบว่า
เรื่องนี้อย่าเป็นห่วงเลย
ตราบใดที่ยังมีคนอยู่ก็จะมีคนรู้ธรรมะเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว
เพราะธรรมะไม่ใช่เรื่องผูกขาดเป็นของส่วนตัว ธรรมะมีมาก่อนสมัยพุทธกาล
แต่พระพุทธเจ้าเป็นคนแรกที่ทรงนำมาสอนและเผยแพร่
คนที่รู้ธรรมะนั้นเปรียบได้เหมือนกับตะเกียงที่จุดสว่างขึ้นในความมืด
คนที่อยู่ใกล้จะเห็นชัด คนที่อยู่ไกลก็เห็นชัดน้อยลง
สักพักหนึ่งตะเกียงจะดับไปและจะมีการจุดตะเกียงให้สว่างขึ้นอีกเป็นครั้งคราว



25) ลูกศิษย์หลวงพ่อ
เมื่อได้เรียนถามท่านว่า มีลูกศิษย์ท่านใดบ้างที่คิดว่าเป็นอย่างหลวงพ่อ
ท่านตอบว่า
เรื่องนี้เป็นเรื่องของจิตใจ เราหยั่งถึงจิตใจคนอื่นได้ยาก
แต่คำพูดที่พูดออกมานั้น เราเข้าใจกัน



26) เรียนกับใคร
ในการเข้ารักษาตัวครั้งสุดท้ายที่โรงพยาบาลสมิติเวช ท่านปรารภว่า
การเจ็บป่วยคราวนี้เป็นเรื่องที่หนัก
ท่านเองก็ได้แต่เฝ้าดูลมหายใจของตนเองว่า จะหยุดเมื่อใด
ข้าพเจ้าจึงได้ถามตรง ๆ ว่า
เมื่อสิ้นหลวงพ่อแล้วจะแนะนำให้ศึกษาธรรมะกับใคร จึงจะได้ผลดีที่สุด
ท่านตอบว่าจงศึกษาธรรมะจากตัวเอง ดูจิตใจตัวเองดีที่สุด



27) เชือกขาดเป็นอย่างไร
เมื่อได้อ่านประสบการณ์ของท่านที่กล่าวว่า
ในช่วงสุดท้ายมีความรู้สึกเหมือนเชือกขาดจากกันนั้น เข้าใจได้ยาก
ท่านได้อธิบายเพิ่มเติมว่า
"คำพูดเป็นเพียงการสมมุติว่าเสียงนั้น ๆ หมายถึงอะไร
มันไม่มีคำพูดที่จะอธิบายภาวะดังกล่าว
ถ้าเราเอาสีขาวกับสีดำซึ่งห่างกันเพียง 1 เซนติเมตร ค่อย ๆ ผสมให้กลืนกัน
ตรงกลางเราเรียกสีเทาใช่ไหม แต่ถ้าหากสองสีนี้ห่างกัน 10 เมตร
แล้วให้สีทั้งสองค่อย ๆ กลืนกัน จะให้อธิบายว่า จุด ๆ
หนึ่งระหว่างนั้นเรียกว่าสีอะไร มันไม่มีคำพูดจะกล่าวให้เข้าใจ
ต้องรู้เห็นเอง
"เคยเห็นเมฆหน้าฝนไหม เนื่องดูคล้ายเป็นรูปเงาต่าง ๆ
แต่ถ้าเรานั่งเครื่องบินเข้าไปอยู่ในก้อนเมฆนั้น ๆ
เราไม่เห็นอย่างที่เห็นก่อนเข้ามาดอก ภาวะดังกล่าวไม่มีคำพูดที่จะอธิบาย
มันอยู่เหนือตัวหนังสือ
การประมาณคาดคะเนหรือความเข้าใจไปเองว่าจะเป็นอย่างโน้นอย่างนี้
ต้องรู้เองเห็นเอง"



28) ผู้ที่เข้าใจท่านพูด
เคยถามท่านถึงจำนวนผู้ที่เข้าใจหลังจากที่ได้แสดงธรรมะ
หรืออบรมว่ามีสักเท่าใด ท่านตอบว่า
"คงจะได้สัก 10-15% เรื่องนี้เป็นธรรมดา คนที่พร้อมจึงจะเข้าใจได้
คนส่วนใหญ่ยังติดทางทำบุญ"



29) พระกราบโยม
ท่านเคยเล่าให้ฟังว่า เมื่อท่านไปประเทศลาว
ได้รับนิมนต์ไปสวดต่ออายุให้แม่ของชาวบ้าน หลวงพ่อไม่สวด
เขาภาพเขาจึงไม่ถวายจตุปัจจัย
แต่หลวงพ่อได้ชี้แจงเรื่องการต่ออายุพ่อแม่ว่า ต้องพระทำดีต่อพ่อแม่
ไม่ใช่เพียงแต่มีการสวดมนต์แล้วหวังจะให้พ่อแม่มีอายุยืน และได้พาลูก ๆ
กราบพ่อแม่เป็นครั้งแรกตามท่าน
ชาวบ้านที่อยู่ในเหตุการณ์ก็ฮือฮากันว่าผิดประเพณี ไม่เคยเห็นพระกราบโยม
ซึ่งหลวงพ่อกล่าวว่า
"ที่อาตมาพาลูกกราบแม่ตามอาตมานั้น อาตมาไม่ได้กราบโยม
แต่อาตมากราบตัวเอง ที่สามารถสั่งสอนคนให้เข้าใจได้ว่า
การต่ออายุที่แท้จริงนั้นเป็นอย่างไร"



30) วิปัสสนาแล้วเป็นบ้า ?
ได้เรียนถามท่านว่า การนั่งวิปัสสนาทำให้คนเป็นบ้า
ตามที่มีจิตแพทย์บางคนกล่าว จริงหรือ ท่านตอบว่า
"คนที่ไม่รู้จักจิตใจตัวเองนั่นแหละคือคนบ้า
การนั่งวิปัสสนาเป็นการศึกษาให้รู้จักจิตใจตัวเอง
ถ้านั่งแล้วเป็นบ้าไม่ใช่วิปัสสนา"



31) นิพพาน
ท่านเคยเล่าให้ฟังว่า เคยถามโยมผู้ที่เคยอธิษฐานหลังการทำบุญว่า
ขอให้อานิสงส์ การทำบุญทำให้เขาเข้าถึงนิพพานในอนาคตกาลด้วยนั้น ว่า
"โยมเข้าใจว่าจะไปถึงนิพพานเมื่อใด"
ชาวบ้านตอบว่า" เมื่อตายไปแล้ว"
ท่านถามต่อว่า" อยากไปถึงนิพพานจริง ๆ หรือ"
ชาวบ้านก็ตอบว่า" อยากไปถึงจริง ๆ"
ท่านจึงพูดว่า "ถ้าเช่นนั้นโยมควรตายเร็ว ๆ จะได้ไปถึงนิพพานไว ๆ"
ชาวบ้านตอบด้วยความงงว่า" ยังไม่อยากตาย
ท่านจึงชี้แจงให้ฟังวา" นิพพานก็อยากไป แต่ทำไมไม่อยากตายเร็ว นี่โยมเข้าใจผิดแล้ว
พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนให้คนไปนิพพานเมื่อตายแล้ว แต่สอนคนเป็น ๆ
ให้ไปถึงนิพพานขณะที่มีชีวิตอยู่



32) อธิษฐาน
ข้าพเจ้าเคยถามท่านว่า ตอนพระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ ๆ
หลังจากได้ฉันอาหารของนางสุชาดา แล้วได้ลอยถาด ปรากฏว่าลอยทวนกระแสน้ำ
ซึ่งดูผิดธรรมชาติ ท่านมีความเห็นอย่างไร ท่านชี้แจงว่า
"ของทุกอย่างย่อมลอยตามกระแสน้ำ
เรื่องนี้เป็นการทวนกระแสความคิดที่มีอยู่เป็นอยู่
เวลาเราคิดย้อนกลับขึ้นไปบ้าง ก็จะรู้ความจริงว่าเป็นอย่างไร"



33) ทุกข์
เคยมีคนถามท่านว่า ทุกข์คืออะไร
ท่านได้เอาของใส่มือให้กำไว้แล้วคว่ำมือลงและแบมือ
ท่านได้ชี้ไปที่ของซึ่งหล่นจากมือไปสู่พื้นว่า
"นี่คือทุกข์"
ผู้ถามก็เข้าใจทันทีว่า ทุกข์เป็นสิ่งที่เราสร้างสมมติขึ้นและยึดถือไว้
ปล่อยวางได้ ท่านไว้กล่าวถึงผู้ที่เข้าใจโดยเร็วนี้ว่า
"เป็นผู้มีปัญญา"



34) บวช-สึก
เมื่อข้าพเจ้าได้ผ่าตัดกระเพาะอาหารท่านออกเกือบหมด
และได้แนะนำให้ท่านฉันอาหารจำนวนน้อย แต่บ่อย ๆ ท่านเคยปรารภว่า
ท่านปฏิบัติเช่นนี้ วินัยหย่อน จะมีคำครหาได้ อยากไปขอสึก
เพราะท่านจะเป็นพระหรือไม่ ก็ไม่ต่างกัน จิตใจของท่านไม่เปลี่ยนแปลงแล้ว



35) รู้จักหลวงพ่อเทียนไหม ?
ท่านเคยเล่าให้ฟังเมื่อตอนที่ท่านกำลังคอยรับการฉายรังสีที่โรงพยาบาลรามาธิบดี
มีคนถามท่านว่า "หลวงพ่อรู้จักหลวงพ่อเทียนไหม"
ท่านตอบว่า "พอรู้จักบ้าง"
หลังจากที่ได้พูดคุยเรื่องธรรมะกับท่านแล้ว คนนั้นก็สงสัยจึงถามอีกว่า
"ท่านคือหลวงพ่อเทียนใช่ไหม"
"หลวงพ่อจึงตอบว่า "ใช่"



36) คนตายทำประโยชน์ได้น้อย
ท่านได้พูดถึงการศึกษาปฏิบัติธรรมะว่า ควรทำตอนชาตินี้ ไม่ควรคอยตอนตายแล้ว
"คนตายแล้วทำประโยชน์ได้น้อย คนเป็นทำประโยชน์ได้มากกว่า"



37) หินกับหญ้า
ข้าพเจ้าเคยถามเรื่องการนั่งสมาธิหรือกรรมฐานว่าเป็นอย่างไร ท่านตอบว่า
"การนั่งสมาธิมีมาก่อนสมัยพุทธกาล ทำให้เกิดความสงบชั่วคราว
เมื่อออกมาจากสมาธิก็ยังมีความโลภ โกรธ หลงอยู่ จิตใจไม่เปลี่ยน
เปรียบเหมือนกับหินกับหญ้า แม้หญ้าจะฝ่อลง เมื่อหญ้าต้องแสงอาทิตย์
หญ้าก็งอกขึ้นมาอีก ต่างกับวิปัสสนาที่ทำให้เกิดปัญญา
จิตใจเปลี่ยนแปลงดีขึ้น"



38) พระเครื่อง
ก่อนที่จะทราบว่าท่านเป็นใคร
ข้าพเจ้าได้พบท่านในขณะที่ข้าพเจ้ากำลังสนใจพระเครื่องเป็นอย่างยิ่ง
ได้เอาพระนางพญาพิษณุโลกมาอวด
เพื่อที่จะได้ถือโอกาสขอพระเครื่องจากท่านโดยอวดว่า
พระนางพญาพิษณุโลกนี้เป็นพระเครื่องที่เก่าแก่สร้างมาตั้ง 700 ปีแล้ว
ท่านถามว่า
"พระองค์นี้ทำจากอะไร"
เมื่อข้าพเจ้าตอบว่า ทำจากเนื้อดินเผา แกร่งสีเนื้อมะขามเปียกมีแร่ต่าง ๆ
ปรากฏอยู่เต็ม ท่านตอบด้วยความสงบว่า
"ดินนั้นเกิดมาพร้อมกันตั้งแต่สร้างโลก
พระองค์นี้ไม่ได้เก่าแกไปกว่าดินที่เราเหยียบก่อนเข้ามาในบ้านนี้หรอก"
เพียงประโยคเดียวที่ทำให้ข้าพเจ้าถอดพระเครื่องออกจากคอได้อย่างมั่นใจที่สุด
มีคนถามท่านว่าแขวนพระดีหรือไม่ ท่านตอบว่า
ดี แต่มีสิ่งที่ดีกว่าแขวนพระจะเอาไหม"
ในโอกาสหนึ่งมีคนถามเรื่องเครื่องรางของขลังของเขาว่ามีอานุภาพตามที่เล่าลือหรือไม่
ท่านถามว่า "คนทำตายหรือยัง"
เมื่อตอบว่าคนที่ทำได้ตายแล้วเพราะเป็นของมรดกตกทอดกันมา ท่านจึงตอบว่า
"คนที่ทำยังตายเลย แล้วเราจะหวังสิ่งนี้ ช่วยไม่ให้เราตายได้อย่างไร"



39) มงคล
ท่านเคยเล่าให้ฟังว่า ท่านเคยถูกนิมนต์ไปเพื่อสวดมงคลในบ้านหลังหนึ่ง
ท่านขอร้องให้เอากาละมังขนาดใหญ่ใส่น้ำ เพื่อจะทำน้ำมนต์แทนบาตร
หลังจากท่านได้ทำให้แล้ว แทนที่จะพรมน้ำมนต์ให้
ท่านกลับเอาน้ำมนต์ในกาละมังสาดไปทั่วบ้านแล้วบอกว่า
"ช่วยกันเก็บช่วยกันถู อันนี้แหละเป็นมงคล
การที่เราใช้น้ำมนต์ประพรมตัวเรา อาจจะแพ้ลูกไม้ใบหญ้าที่ใส่ไว้ในน้ำมนต์
มีอาการผื่นคันขึ้นมา ต้องเปลืองเงินทองซื้อหยูกยารักษาอีก
แล้วมันจะเป็นมงคลได้อย่างไร"



40) ทำไมจึงแสวงหาธรรมะ
ข้าพเจ้าเคยเรียนถามท่านว่า ท่านมีความบันดาลใจอย่างไรจึงแสวงหาธรรมะ
ท่านตอบว่า ท่านเคยทำบุญทำทานมาตลอด ทอดกฐินอยู่เสมอ
ครั้งสุดท้ายในงานทอดกฐิน ท่านได้มีปัญหาในเรื่องที่จะทำบุญกับคนในบ้าน
ท่านจึงคิดว่า ทั้ง ๆ ที่ท่านทำบุญให้ทานก็มากแล้ว
ทำไมจึงยังมีความทุกข์เกิดขึ้นได้อีก
ท่านจึงตัดสินใจที่จะแสวงหาธรรมะที่จะพ้นทุกข์ได้ตั้งแต่บัดนั้น



41) ทำไมจึงบวช
ตามที่ทราบ ท่านได้รู้ธรรมะตั้งแต่เป็นฆราวาส ทำไมท่านจึงบวชท่านตอบว่า
"พระภิกษุ เป็นสมมุติสงฆ์ การบวชทำให้สอนคนได้ง่ายขึ้น



42) กราบผ้าเหลือง
ข้าพเจ้าเคยกล่าวกับท่านว่า เราเองไม่ทราบว่าพระองค์ไหนจะเป็นพระแท้ หรือ
เป็นเพียงกาฝากของศาสนา เพียงเห็นผู้ที่โกนศีรษะ ห่มผ้าเหลืองก็กราบแล้ว
ท่านให้ความเห็นว่า
"ถ้าหากจะกราบเพียงผ้าเหลือง เวลาผ่านไปแถวเสาชิงช้า
มิต้องกราบตามสถานที่ขายเครื่องพระ ตั้งแต่หัวถนนจดท้ายถนนหรือ"



43) การไม่กินเนื้อสัตว์
เคยเรียนถามท่านว่า
การไม่กินเนื้อสัตว์ทำให้การปฏิบัติธรรมะดีขึ้นหรือไม่ ท่านตอบว่า
"การที่จะรู้ หรือปฏิบัติธรรมะ ไม่ได้ขึ้นกับการกินอะไรหรือไม่กินอะไร
ดูอย่างเจ้าชายสิทธัตถะ ซึ่งอย่าว่าแค่เนื้อเลย
แม้กระทั่งอดข้าวอดน้ำจนเกือบตาย ก็ยังไม่รู้ธรรมะ
เรื่องนี้เป็นเรื่องของปัญญา"



44) ศาลพระภูมิ
เมื่อข้าพเจ้าได้ถามถึงเรื่องเจ้าที่ ศาลพระภูมิว่ามีอิทธิฤทธิ์
ให้คุณให้โทษแก่เจ้าของบ้าน จริงหรือไม่ ท่านตอบว่า
"จงคิดดู ถ้าเจ้าที่นั้นมีอิทธิฤทธิ์จริงแล้ว
ทำไมจึงไม่เนรมิตบ้านอยู่เอง เนรมิตอาหารกินเอง
ทำไมจึงต้องคอยให้คนสร้างให้ หรือคอยอาหารเซ่นไหว้ซึ่งน้อยนิดเดียว
จะกินอิ่มหรือ"



45) ทำงานอย่างมีสติ
หลวงพ่อกล่าวอยู่เสมอว่า
"คนเรามีหน้าที่ ที่จะต้องทำในสังคมที่ตนอยู่ เป็นธรรมดา
การปฏิบัติหน้าที่โดยมีสติ จะได้ผลงานที่สมบูรณ์"



46) ติดสมาธิ
ท่านเคยกล่าวเตือนว่า
"การที่ติดอยู่กับรูปแบบของสมาธิ จะเป็นวิธีใดก็ตาม
เหมือนกับการนั่งเรือข้ามฟาก แล้วไม่ยอมขึ้นจากเรือ ทั้ง ๆ
ที่เรือถึงฝั่งตรงกันข้ามแล้ว เพราะยังหลงสนใจในตัวเรือ เครื่องเรืออยู่"



http://youtu.be/MogkpLtfZvk