++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2549

เผยความลับกระซิบขอความรักสาวต้องอ้อนออดเข้าหูให้ถูกข้างถึงเจ๋ง

เผยความลับกระซิบขอความรักสาวต้องอ้อนออดเข้าหูให้ถูกข้างถึงเจ๋ง
จาก การศึกษาวิจัยทำให้ทราบว่า ผลการศึกษาทำให้รู้ถึงบทบาทของสมองซีกขวา ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการรับรู้ บรรดาสิ่งกระตุ้นที่จับใจต่างๆ และสมองซีกขวา ก็มีหน้าที่ควบคุมหูข้างซ้าย

นักวิจัยของ มหาวิทยาลัยรัฐแซม ฮิวส์ตัน สเตทของสหรัฐฯ ได้ศึกษาด้วยการทดลอง กับอาสาสมัคร 62 คน โดยกระซิบคำหวานต่างๆ เข้าหูทั้งสองข้างให้แต่ละคน แล้วให้บอกว่าจำได้มากน้อยแค่ไหน ปรากฏว่าส่วนใหญ่สามารถ จำคำที่กระซิบเข้าหูข้างซ้ายได้ดี มากถึง 64 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่กระซิบ บอกเข้าหูข้างขวา จำได้เพียง 58 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

"รัก" อย่างไร ให้หวานมิรู้ลืม

"ความรักเริ่มขึ้นเมื่อคนคนหนึ่งรู้สึกว่า ความต้องการของอีกคนหนึ่ง มีความสำคัญเท่ากันกับของตัวเอง” วาทะของแฮร์รี สแต็ก ซัลลิแวน ใช่หรือเปล่าขอให้ลองไปตรึกตรองดู

อย่าง ไรก็ตาม ขอยืนยันว่า ความรักต้องอาศัยการเพาะบ่ม, ดูแลและเอาใจใส่ ถ้าทิ้งๆขว้างๆ หรือรักง่ายหน่ายเร็ว ความรู้สึกนี้ก็จะสูญหายไปกับสายลม

ว่า กันว่า ผู้ชายส่วนมากมักเกิดอาการตายด้านหรือไม่ค่อยติดตามเอาใจใส่ในความสัมพันธ์ กับคนรัก หลังจากตกลง โอเคแล้วว่า เป็นแฟนกัน หลังจากนั้น ผู้ชายหลายคนจะรู้สึกเฉยๆ แล้วไม่ค่อยมีความพยายามที่จะรักษาสัมพันธภาพระหว่างเราทั้งสองเอาไว้สัก เท่าไหร่ ต่างกับฝ่ายหญิงที่จะกระตือรือร้นในเรื่องนี้มากเป็นพิเศษ

ถาม ว่า แล้วผิดหรือที่หนุ่มๆ จะซึมกะทือหลังมีแฟนเป็นตัวเป็นตนแล้ว? เกจิไหนๆ ก็บอกได้ว่า ไม่เห็นผิดอะไร แต่คู่ควงของเขาน่ะสิ จะคิดว่า ถ้าไม่แคร์กันก็อาจหมายถึง “ไม่รักจริง” ก็ได้ รู้ๆ กันอยู่ว่า ผู้หญิงมีหัวใจอ่อนไหวแค่ไหน พวกซิก เซนส์ (ผู้มีสัมผัสที่หกหรือไวต่อการแปรเปลี่ยนพฤติกรรมของคนรัก) นี่ต้องยกให้คุณเธอทั้งนั้นแหละจ้า

เหตุนี้จึงขอเป็นไกด์ผีเขียน ถึง สิ่งเล็กๆน้อยๆที่คู่รัก (ไม่ว่าฝ่ายไหนก็ตาม) ไม่ควรละเลยต่อกัน (Little Things Count In Relationship) ให้ฟังสักหน่อย ความรักจะได้ฝังราก หยั่งลึก ไม่ใช่เปราะบางและแตกง่าย ดังเช่นวัยรุ่น วัยจี๊ดจ๊าดชอบรักๆ เลิกๆ อย่างเช่นทุกวันนี้

โดยทั่วไป คนที่มีแฟน รายไหน รายนั้นหวังเหลือเกินว่า อยากให้คนที่ตัวเองรักมีความสม่ำเสมอ ทั้งด้านการกระทำและคำพูด แต่เผอิญบางคนไม่เป็นแบบนั้นสิท่าน ตอนจีบกันล่ะก็กระตือรือร้นเหลือแสน แต่หลังจากจีบสำเร็จ อะไรๆ ก็ดูจะจืดๆ ไปหมด

จึงขออนุญาตสั่นกระดิ่งเตือนว่า “การอยู่ในห้วงแห่งความรัก” ไม่ว่าจะตอนไหน หมายถึง คุณควรจะให้ความเอาใจใส่ต่อความรู้สึกของอีกฝ่ายเสมอ

ไม่ใช่ตอนจีบกันก็อยากเจอกันเหลือเกิน แต่นานวันเข้า สักเจ็ดวันค่อยเจอก็ได้ เป็นซะอย่างงี้แล้วจะไม่ให้อีกฝ่ายอกกลัดหนองได้ไง

เมื่อ เป็นเช่นนี้ เกจิด้านความรักจึงขอแนะนำเคล็ดวิชาเล็กๆ น้อยๆ ที่แสดงให้เห็นว่า คุณนั้นแสนเอาใจใส่, ห่วงใย และสนใจคนรักเสียเต็มประดา ดังนี้

@ ยามอยู่ใกล้ชิดกัน

1. หัดจูงไม้จูงมือ หรือจับมือถือแขน ตอนสมัยจีบกันใหม่ๆ เคยแสดงออกว่า สองเราคู่กันอย่างไรก็ควรทำแบบเดียวกับวันวานยังหวานอยู่

2. เอ่ยปากชมหวานใจเมื่อเขาหรือเธอมีอะไรใหม่ๆ ในชีวิต เช่น รองเท้าของคุณดูเก๋จังเลย หรือชุดนี้ทำไมเท่ระเบิดอย่างนี้นะ เว่อไปตามเรื่อง

3. มีจิตใจเอื้ออารีและเป็นสุภาพชน ไม่ใช่เอะอะโมโหโทโสกันทีก็หมดความอดทน หันมาใช้วิธีตบตีแทนสันติวิธี ถ้าเจอเนื้อคู่กระดูกคู่ แบบนี้ก็ตัวใครตัวมันแล้วกันนะโยม

4. เรียนรู้ที่จะทำอะไรบางอย่างให้คนรัก

เช่น ชาตินี้ไม่เคยนึกมาก่อนเลยว่า จะเข้าครัวเป็นกุ๊กกะเขาได้ แต่แด่เธอด้วยดวงใจแล้ว พี่ยอมผูกผ้ากันเปื้อน หยิบตะหลิวทำกับข้าวให้คนสวยทานบ้างก็ได้ บางทีเธออาจคิดไปโน่นเลยว่า พี่เค้ามีความตั้งใจสูง ถ้าไม่รักจริง ก็คงไม่พยายามถึงปานนี้ ส่วนจะใช่หรือไม่ แต่รับรองคุณพี่ได้ คะแนนนิยมไปตุนไว้แล้ว

5. ชวนเธอไปเที่ยวกับเพื่อนๆ ของคุณบ้าง

ไม่ใช่มัวแต่คิดว่า เรื่องของแฟนกับก๊วนของเพื่อนไม่เกี่ยวกัน ไม่เห็นเป็นไรนี่ ถ้าสองฝ่ายนี้จะไม่เคยเจอกันเสียเลย

อัน ที่จริงมันก็ไม่เป็นไรหรอก ที่จะแบ่งพวกเขาออกจากกัน แต่แน่ใจนะว่า ที่ทำเช่นนี้ ไม่ใช่ เพราะคุณกับเพื่อนๆ มีลับลมคมในระหว่างกัน จึงไม่อยากแนะนำให้เพื่อนของคุณรู้จักกับ “ว่าที่คนรัก” น่ะ อีกประการ ขนาดมีคนรักแล้วยังไม่ยอมแนะนำให้เพื่อนรู้จัก แบบนี้จะเรียกว่า ปกปิดอย่างสุจริตหรือเปล่าจ๊ะ

ทีนี้มาถึง ยามที่ทั้งคุณและคนรักต้องพรากจากกันบ้าง มีข้อเสนอให้ทำดังนี้...

1. ก่อนลาจาก อย่าลืมเขียนโน้ตถ้อยคำหวานซึ้ง สะกิดใจให้เธอฟุ้งซ่านไปไกลว่า เธอเป็นคนสำคัญกับคุณซะเหลือเกิน

2. โทรศัพท์หรืออีเมล์มาหาหวานใจ โดยไม่ต้องไปคำนึงว่า จะด้วยเหตุผลกลใด นอกจากความคิดถึง

3. สัญญาว่า จะให้เวลากับเธอหลังเสร็จภารกิจที่ต้องร้างลาจากกันเป็นที่เรียบร้อย

4. มีของฝากติดไม้ติดมือมาให้ ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงราคา แม้อมยิ้มอันเดียว ก็ชื่นใจ

อยากสานสัมพันธ์รักให้แน่นแฟ้น เรือรักไม่ล่มตั้งแต่เริ่มตั้งไข่ ถ้าบอกให้อีกฝ่ายรู้เสียหน่อยว่า ห่วงใยแค่ไหน มันจะเป็นอะไรเหรอ.

ความบริสุทธิ์

ชายหนุ่มท่าทางแข็งแรงคนหนึ่งนั่งจิบยเครื่องดื่มอยู่ที่บาร์ขณะเมื่อสาวไวไฟปราดเข้าเคียงข้างและแบะท่าชักชวน

"ไม่หรอก น้องสาว" เขาปฏิเสธอย่างละมุนละม่อม "อาจจะเป็นการแปลกประหลาดสำหรับเธออยู่หรอก แต่ฉันตั้งใจจะรักษาความบริสุทธิ์ไว้สำหรับผู้หญิงที่ฉันรัก"

"เป็นเรื่องยากมาก" ฝ่ายหญิงออกความเห็น

"ไอ้ฉันน่ะไม่เป็นไรหรอก น้องสาว" เขาว่า "แต่เมียฉันน่ะซีแทบจะบ้าตายอยู่แล้ว!"


จาก พล.ต. เลิศ กำแหงฤทธิ์รงค์
ธันวาคม พ.ศ. 2540

เธอสวยไหมครับ

ชายหนุ่มเดินทางไปทำธุรกิจต่างเมืองกับนายของเขาซึ่งเป็นคนที่ตระหนี่ถี่ เหนียวที่สุด คืนหนึ่งนายกลับเข้าโรงแรมที่พักดึกมาก เขาบอกว่าเขาไปพบเข้ากับหญิงสาวคนหนึ่งซึ่งถูกล้วงกระเป๋า และเดินตุหรัดตุเหร่อยู่บนท้องถนน เขาจึงพาหล่อนขึ้นแท็กซี่ไปส่งยังโรงแรมที่หล่อนพัก

"เธอสวยไหมครับ?" ชายหนุ่มถาม

"สวยไหมน่ะเรอะ? ผมจะไปรู้ได้ไง" นายของเขาตอบ "ก็ตลอดเวลาที่นั่งอยู่บนรถแท็กซี่ ผมได้แต่จ้องดูมีเตอร์บอกราคา"


จาก พล.ต. เลิศ กำแหงฤทธิ์รงค์
ธันวาคม พ.ศ. 2540

วันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2549

วิธีวิทยาการวิจัยขั้นสูงด้านการวิจัยและสถิติ

นงลักษณ์ วิรัชชัย

เอกสารประกอบการสัมมนาดุษฎีบัณฑิตสาขาการวัดและประเมินผลการศึกษา
ภาควิชาวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เรื่อง "วิธีวิทยาการขั้นสูงด้านการวิจัย สถิติ การวัดผลและประเมินผลการศึกษา"
21 สิงหาคม 2538 ณ อาคารศศปฐศาลา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตีพิมพ์ครั้งแรกในวารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 7(2), 2538, 1-36.

ช่วงสองสามทศวรรษที่ผ่านมาเป็นช่วงเวลาซึ่งศาสตร์ทุกสาขามีความเจริญก้าว หน้าอย่างรวดเร็ว ทั้งในส่วนที่เป็นองค์ความรู้ด้านเนื้อหาสาระ และด้านวิธีวิทยาของศาสตร์ วิธีวิทยาและเนื้อหาสาระของศาสตร์ต่างก็เป็นปัจจัยสำคัญที่เอื้อให้เกิดการ พัฒนาซึ่งกันและกัน ยิ่งมีการพัฒนา การสร้างสั่งสมความรู้เนื้อหาสาระมากเพียงใด ยิ่งมีการพัฒนาวิธีวิทยามากเพียงนั้นและในทางกลับกัน ยิ่งมีการพัฒนาวิธีวิทยาให้มีประสิทธิภาพมากเพียงใด ยิ่งมีผลให้เกิดความเจริญก้าวหน้าขององค์ความรู้ในศาสตร์มากขึ้นเพียงนั้น กล่าวได้ว่า เครื่องมือสำคัญในการพัฒนาศาสตร์ทุกสาขาก็คือ วิธีวิทยา โดยเฉพาะวิธีวิทยาการวิจัยอันเป็นกระบวนการแสวงหา การสร้าง การสะสม และการพัฒนาองค์ความรู้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ด้วยเหตุนี้การเรียนรู้ศาสตร์ต่างๆ ในระดับสูงจึงให้ความสำคัญกับการเรียนรู้วิธีวิทยาการวิจัยของศาสตร์ นักวิชาการที่มีคุณภาพในศาสตร์แต่ละสาขานอกจากจะมีความรอบรู้ในหลักการ ทฤษฎี และเนื้อหาสาระของศาสตร์แล้ว ยังต้องมีความสามารถเชี่ยวชาญในวิธีวิทยาการวิจัย รวมทั้งมีความสนใจติดตามความก้าวหน้าของวิธีวิทยาการวิจัย และมีศักยภาพในการพัฒนาวิธีวิทยาการวิจัยในศาสตร์ของตน สามารถนำวิธีวิทยามาใช้ในการวิจัยบริสุทธิ์เพื่อพัฒนาศาสตร์ และใช้ในการวิจัยประยุกต์เพื่อพัฒนาบุคคลและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ด้วยตระหนักในความสำคัญของวิธีวิทยาการวิจัย ผู้เขียนในฐานะผู้สอนวิชาวิจัยและสถิติผู้หนึ่ง จึงได้ติดตามความก้าวหน้าและพยายามมีส่วนร่วมในการพัฒนาวิธีวิทยาการวิจัย รวมทั้งกระตุ้นให้นิสิตบัณฑิตศึกษาได้สนใจศึกษาวิธีวิทยาการขั้นสูง บทความนี้เป็นผลจากการประมวลความรู้เกี่ยวกับวิธีวิทยาการวิจัยใหม่ๆ ที่ได้จากการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาในระบบ จากประสบการณ์ในการวิจัยและจากการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้สอนในสาขา เดียวกันและนิสิตบัณฑิตศึกษาที่มีจิตวิญญาณของการใฝ่รู้ร่วมกัน สาระในบทความอาจไม่ครอบคลุมวิธีวิทยาการวิจัยขั้นสูงที่ได้รับการพัฒนาใหม่ๆ ทั้งหมด แต่ผู้เขียนหวังว่าจะมีสาระครอบคลุมวิธีวิทยาการขั้นสูงมากพอที่จะทำให้เกิด การปรับปรุงการเรียนการสอนสถิติและวิจัยในระดับบัณฑิตศึกษา การนำเสนอบทความแบ่งเป็น 3 ตอน ตอนแรกกล่าวถึงความหมายและที่มาของวิธีวิทยาขึ้นสูงในการวิจัยการศึกษา ตอนที่สองให้รายละเอียดเกี่ยวกับเนื้อหาสาระของวิธีวิทยาขั้นสูงในด้านการ วิจัยและสถิติ และในตอนสุดท้ายเป็นการสรุปรวมลักษณะภาพอนาคตของวิธีวิทยาการวิจัยและสถิติ

ความหมายและที่มาของวิธีวิทยาการวิจัยขั้นสูง
คำว่าวิธีวิทยาตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า methodology (meta + hodos = way) + logie (Webster's Ninth New Collegiate Dictionary , 1991) ตามรากศัพท์วิธีวิทยาหมายถึง วิทยาการหรือการศึกษาที่มีระบบเกี่ยวกับวิธีการหรือเทคนิควิธี คำว่า "วิธีวิทยาการวิจัย" จึงมีความหมายครอบคลุมระเบียบวิธีดำเนินการทุกขั้นตอนในการวิจัย ได้แก่ การกำหนดปัญหาวิจัยการศึกษาและรายงานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย การกำหนดสมมติฐานการวิจัย การกำหนดกลุ่มประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง การสร้างเครื่องมือวิจัย การรวบรวม การนำเสนอ การวิเคราะห์และการแปลความหมายผลการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งรวมอยู่ในวิธีวิทยา ทางสถิติ ตลอดจนเทคนิควิธีการวัดและการประเมินผล

วิธีวิทยาการวิจัยและสถิติที่ใช้ในการวิจัยการศึกษามีทั้งวิธีวิทยาขั้นพื้น ฐานและวิธีวิทยาการขั้นสูง ดังนั้น เมื่อกล่าวถึงวิธีวิทยาขั้นสูงจึงหมายถึง วิธีวิทยาเฉพาะส่วนที่ไม่ใช่วิธีวิทยาขั้นพื้นฐาน เมื่อศึกษารายวิชาวิธีวิทยาการวิจัย หลักการวัดและประเมินผล และสถิติขั้นพื้นฐานในหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิตสาขาครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์ จะเห็นได้ว่าวิธีวิทยาการวิจัยขั้นพื้นฐานมีเนื้อหาสาระครอบคลุมเฉพาะด้าน การวิจัยที่เป็นการวิจัยแบบบรรยาย (descriptive research) และการวิจัยทดลอง/การวิจัยกึ่งทดลอง (Experimental/quasi-experimental research) ที่มีแบบแผน (design) การวิจัยง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ด้านการวัดที่ใช้ทฤษฎีการวัดแบบดั้งเดิม (classical test theory) ด้านการประเมินผลเฉพาะหลักการและโมเดลการประเมินเบื้องต้นและในด้านสถิติ เฉพาะมีสถิติบรรยาย สถิติว่าด้วยการสุ่มตัวอย่าง และสถิติวิเคราะห์เฉพาะส่วนที่เป็นสถิตินันพาราเมตริกบางตัวและสถิติอนุมาน เบื้องต้นในการเปรียบเทียบและการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2-3 ตัวแปร ดังนั้นวิธีวิทยาการวิจัยนอกเหนือจากสาระที่กล่าวมาแล้วจึงถือกันว่า เป็นวิธีวิทยาการวิจัยขั้นสูง ในรายวิชาสัมมนาหรือวิธีวิทยาขั้นสูงด้านการวิจัยการวัดและประเมินผลและ สถิติ จึงมีขอบข่ายของรายวิชาครอบคลุมแผนแบบการวิจัยที่ซับซ้อนมากขึ้น มีเทคนิควิธีการที่จะช่วยให้ได้ผลการวิจัยที่เที่ยงตรงมากขึ้น ด้านการวัดมีสาระเกี่ยวกับทฤษฎีการตอบสนองรายข้อ (item response theory) และการประยุกต์ใช้ ด้านการประเมินผลมีเทคนิควิธีการและโมเดลการประเมินใหม่ๆ และในด้านสถิติมีเทคนิคการวิเคราะห์ที่ช่วยให้นักวิจัยตอบคำถามวิจัยเกี่ยว กับความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (causal relationship) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติวิเคราะห์ตัวแปรพหุนาม (multivariate statistics)

การวิจัยไม่ว่าจะเป็นการวิจัยประเภทใดมีวัตถุประสงค์หลักในการวิจัยอยู่ 4 ประการ เรียงตามความเข้มข้นของวิธีวิทยาการวิจัยจากน้อยไปมาก ดังนี้ คือ วัตถุประสงค์เพื่อการสำรวจและบรรยาย (exploration and description) เพื่อการเปรียบเทียบ (comparison) และ/หรืออธิบาย (explanation) ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ เพื่อการทำนาย (prediction) และประเมิน (evaluation) และเพื่อการควบคุม (control) ปรากฏการณ์ให้เกิดการพัฒนา (development) ในทางที่พึงประสงค์ ลักษณะการวิจัยที่ใช้วิธีวิทยาการวิจัยขั้นสูงในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 นี้จึงเป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความสัมพันธ์เชิงสาเหตุเป็น อย่างต่ำ และมีการใช้วิธีวิทยาขั้นสูงที่เป็นผลจากบูรณาการวิธีวิทยาในสังคมศาสตร์ พฤติกรรมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ รวมทั้งต้องอาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินการ วิจัย เพราะการวิจัยการศึกษาเป็นเรื่องของการศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่าง ตัวแปรและสารสนเทศที่มีความหลากหลาย มีตัวแปรจำนวนมาก มีระดับการวัดตัวแปรแต่ละตัวต่างกัน มีหน่วยการวิเคราะห์หลายระดับ และมีความเกี่ยวข้องกับศาสตร์สาขาต่างๆ กล่าวได้ว่า วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษาขั้นสูงในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 นี้เป็นผลมาจากการขยายพรมแดนการวิจัยการศึกษาให้สามารถนำวิธีวิทยาการวิจัย ศาสตร์สาขาต่างๆ รวมทั้งเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ มาใช้ประโยชน์เพื่อให้ได้ผลงานวิจัยที่เป็นการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ทั้งในด้านเนื้อหาสาระ และวิธีวิทยาการวิจัยนั่นเอง

สาระเกี่ยวกับวิธีวิทยาขั้นสูงด้านการวิจัยและสถิติ
วัตถุประสงค์สำคัญของการวิจัย คือ การตอบคำถามวิจัยได้อย่างถูกต้องแม่นตรง และการอนุมานผลการวิจัยไปใช้ได้อย่างกว้างขวาง ดังนั้น ไม่ว่าวิธีวิทยาการวิจัยขั้นสูงจะได้รับการพัฒนาให้ดีมากขึ้นเพียงใด ลักษณะสำคัญที่เป็นหัวใจของวิธีวิทยาการวิจัยยังคงมีลักษณะคงเดิม แต่จะมีบางส่วนที่ได้รับการพัฒนาเพื่อให้การดำเนินการวิจัยสามารถตอบคำถาม การวิจัยได้อย่างถูกต้องและแม่นตรงมากขึ้น ดังนั้น วิธีวิทยาขั้นสูงด้านการวิจัยและสถิติในปัจจุบันจึงเป็นเทคนิควิธีที่มีราก ฐานจากวิทยาการขั้นสูงในอดีต แต่มีวิธีการที่ละเอียดซับซ้อนมากขึ้น เพื่อให้ผลการวิจัยมีความตรง 4 ประเภท ตามแนวความคิดของ Kirk (1995: 16-17) ได้แก่ ความตรงในการสรุปทางสถิติ (statistical conclusion validity) ความตรงภายใน (internal validity) ความตรงเชิงโครงสร้างของสาเหตุและผล (construct validity of causes and effects) และความตรงภายนอก (external validity) เพิ่มมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

วิธีวิทยาขั้นสูงด้านการวิจัยและสถิติที่ใช้ในปัจจุบัน มีลักษณะที่สำคัญ 5 ประการ ประการแรก คือลักษณะของวิธีวิทยาที่มีการคำนวณอย่างเข้มข้นและต้องมีการใช้คอมพิวเตอร์ ช่วยในการปฏิบัติงาน ประการที่สอง คือ ลักษณะที่เป็นบูรณาการจากวิธีวิทยาการวิจัยหลายสาขา ประการที่สามถึงห้า เป็นลักษณะเฉพาะของวิธีวิทยาด้านสถิติ และการวัด ได้แก่ ประการที่สาม คือ ลักษณะวิธีวิทยาการวิเคราะห์ที่มีการผ่อนคลายข้อตกลงเบื้องต้น (relax assumptions) ของวิธีวิทยาการวิเคราะห์แบบเดิม ประการที่สี่ คือ ลักษณะวิธีวิทยาการวิเคราะห์ที่ใช้งานได้กว้างขวางมีความทั่วไป (generality) มากขึ้น และประการสุดท้าย คือ ลักษณะวิธีวิทยาการวิเคราะห์ที่มีความถูกต้อง และมีความไว (accuracy and sensitivity) มีความแกร่ง (robust) มากขึ้นกว่าเดิม

วิธีวิทยาขั้นสูงด้านการวิจัยการศึกษาเฉพาะส่วนที่เป็นวิธีวิทยาการวิจัย ใหม่ๆ ซึ่งนำเสนอต่อไปนี้ ครอบคลุมวิธีวิทยา 4 ด้าน คือ ด้านการกำหนดแบบแผนการวิจัย ด้านการสุ่มตัวอย่าง ด้านการวัดและการประเมินผล และด้านสถิติ การนำเสนอแต่ละด้านแยกตามหัวข้อเรื่องของเทคนิควิธี สาระที่นำเสนอในแต่ละหัวข้อเป็นเพียงการให้สังกัปโดยย่อของแต่ละเรื่องให้ ทราบถึงความหมาย หลักการ และประโยชน์จากการใช้เทคนิควิธีนั้นๆ ผู้ที่สนใจอาจศึกษาเพิ่มเติมได้จากเอกสารอ้างอิงที่ระบุไว้ในบทความนี้ต่อไป

1.วิทยาการด้านการกำหนดแผนแบบการวิจัย
การพัฒนาวิธีวิทยาด้านแผนแบบการวิจัยเป็นผลจากความพยายามของนักวิจัยที่จะ ปรับปรุงวิธีวิทยาการวิจัยที่มีอยู่ให้มีมาตรฐาน และมีคุณภาพดีมากขึ้นเพื่อสนองความต้องการของนักวิจัย ผลจากการพัฒนาทำให้เกิดการวิจัยที่มีแผนแบบการวิจัยเปลี่ยไปจากเดิม การวิจัยหลายแบบพัฒนามาจากวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล โดยที่วิธีการวิเคราะห์นั้นมีลักษณะปัญหาวิจัยและวิธีดำเนินการวิจัยเฉพาะ ตัวแตกต่างจากการวิจัยทั่วๆไป รูปแบบการวิจัยที่มีการพัฒนาใหม่ที่น่าสนใจมีดังต่อไปนี้

1.1 การวิจัยนโยบาย (Policy Research) และการวิจัยเพื่อวางแผนการศึกษา

วิธีวิทยาการวิจัยนโยบาย และการวิจัยเพื่อวางแผนการศึกษา นับเป็นวิธีวิทยาการวิจัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาหลายแห่งได้ตั้งศูนย์วิจัยรองรับและเปิดสอน หลักสูตรบัณฑิตศึกษาสาขาการวางแผนและการวิจัยนโยบายการศึกษา เหตุผลสำคัญที่ทำให้มีการพัฒนาวิธีวิทยาการวิจัยประเภทนี้อย่างรวดเร็วก็คือ ความต้องการของผู้บริหารที่จะนำผลการวิจัยไปใช้ในการตัดสินใจ และความต้องการนำผลการวิจัยไปใช้ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารจัดการ ของบุคลากรซึ่งมีทักษะในการวิจัยของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน

ในระยะแรกของการพัฒนา การวิจัยนโยบายหมายถึงการวิจัยที่ศึกษานโยบาย และผลที่เกิดจากการดำเนินการตามนโยบาย ในระยะหลัง การวิจัยนโยบายมีลักษณะเป็นการวิจัยประเภทสหวิทยาการมีความหมายรวมถึงการ วิเคราะห์นโยบาย (policy analysis) ซึ่งเป็นการศึกษาประเมินผลและทำนายผลที่เกิดจากการกำหนดนโยบายแบบต่างๆ เปรียบเทียบกัน วิธีดำเนินการวิจัยนโยบายมีขั้นตอนการดำเนินงานแตกต่างจากการวิจัยโดยทั่วไป เล็กน้อย งานขั้นตอนแรกเริ่มจากการกำหนดปัญหาวิจัยจากสภาพที่เป็นปัญหาความเดือดร้อน ในสังคม การศึกษารายงานเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดสมมติฐานที่แสดงถึงความ สัมพันธ์ระหว่างตัวแปร สาเหตุที่ได้จากนโยบาย และตัวแปรผลที่เป็นปัญหาสังคม และกำหนดสมมติฐานที่แสดงถึงผลที่เกิดขึ้นจากการใช้นโยบายที่เป็นทางเลือก ใหม่ จากนั้นเป็นขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและแปลความหมาย ตัวอย่างวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้กันมากได้แก่ การวิเคราะห์ผลประโยชน์- ต้นทุน และการวิเคราะห์ประสิทธิผล-ต้นทุน โปรแกรมเชิงเส้น การพยากรณ์และการวิเคราะห์อนุกรมเวลา การวิเคราะห์เส้นโค้งลอเรนซ์ และการวิเคราะห์ระบบขั้นตอนสุดท้ายเป็นการสรุป เสนอทางเลือกในการดำเนินงานต่อผู้บริหารหรือผู้บริโภคงานวิจัยนโยบาย ในการดำเนินการวิจัยดังกล่าวนี้ นักวิจัยนโยบายต้องมีความรอบรู้และมีความชำนาญในการใช้เทคนิควิธีทาง เศรษฐศาสตร์ การเงินสาธารณะ พฤติกรรมองค์กร การสื่อสารและการนิเทศ การวิเคราะห์ระบบ (System analysis) และสถิติ (Stecklein, J.E., 2532:8; Weimer, D.L. and Vining, A.R., 1992:2-13)

1.2 การวิจัยเชิงจำลอง (Simulation Research)

Creno, W.D. และ Brewer, M.B. (1973: 114-120) กล่าวว่าการวิจัยเชิงจำลองแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ตามระยะเวลาการพัฒนา กลุ่มแรก เป็นการวิจัยที่มีการจำลองเลียนแบบสภาพการณ์จริง ตามแนวจิตวิทยาในรูปของการเล่นเกมบทบาทสมมติ (manned simulated role playing game research) ในระยะต่อมาจึงมีการพัฒนาการวิจัยเชิงจำลองในแนวรัฐศาสตร์เพื่อตรวจสอบทฤษฎี เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และระบบต่างๆ ในสังคม เรียกว่า simulation research of international relations ซึ่งเป็นงานวิจัยในกลุ่มที่สอง กลุ่มที่สามเป็นการวิจัยเชิงจำลองที่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาระบบงาน หรือระบบข้อมูลที่มีลักษณะแตกต่างกันตามข้อตกลงเบื้องต้นในการวิเคราะห์ ข้อมูล งานวิจัยในกลุ่มนี้เป็นงานวิจัยด้านคณิตศาสตร์ สถิติ และการวิจัยปฏิบัติการ ในเรื่องการรอคอย (queing) เท่าที่ผ่านมาการวิจัยการศึกษาในประเทศไทยมีการใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิง จำลองในการศึกษาเปรียบเทียบเทคนิควิธีการวิเคราะห์แบบต่างๆ เพื่อให้ได้วิธีการที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เทคนิคที่ใช้คือ มอนติคาร์โล และนักวิจัยต้องเขียนโปรแกรมเพื่อสร้างข้อมูลจำลองเองแต่ในปัจจุบันมี โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้นักวิจัยสร้างหรือจำลองข้อมูลได้สะดวก เช่น โปรแกรม PRELIS พัฒนาโดย Joreskog, K.G และ Sorbom, D. (1988) เป็นต้น McLean, J.M. (1978 : 329-352) Duke, R.D. (1978 : 353-368) คาดว่าในอนาคตจะมีการวิจัยเชิงจำลองมากขึ้น และเสนอแนะให้ใช้เทคนิคการวิจัยเชิงจำลองในการวิจัยอนาคตด้วย

1.3 การวิจัยอนาคต (Future Research)

วิธีวิทยาการวิจัยอนาคตมีจุดมุ่งหมายเพื่อบรรยายทางเลือกอนาคตที่เป็นไปได้ แบบต่างๆ เพื่อประเมินสภานภาพในปัจจุบันและบ่งชี้ผลกระทบที่เป็นไปได้ในแต่ละทางเลือก เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และเพื่อวางแผนอนาคตไปในแนวทางที่พึงประสงค์ การวิจัยอนาคตที่ใช้กันในปัจจุบันมีแผนแบบการวิจัยที่แตกต่างไปจากเดิมมาก เนื่องจากมีการประยุกต์เทคนิควิธีการวิจัยแบบอื่นๆมาใช้ร่วมกันกับการวิจัย อนาคต ดังจะเห็นได้จากแผนแบบการวิจัยต่างๆ ดังนี้

1.3.1 การวิจัยอนาคตแบบ Ethnoggraphic Delphi Futures Research (EDFR)
การวิจัยแบบ EDFR เป็นวิธีวิทยาที่ไม่ต้องลงทุนมากเหมาะสำหรับประเทศกำลังพัฒนา และเป็นเทคนิคที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวางทั้งในการกำหนด นโยบายการตัดสินใจหาวิธีการแก้ปัญหา การใช้ข้อเท็จจริงในอดีตมาแก้ปัญหาในอนาคต เป็นต้น เทคนิคการวิจัยเพื่อการสร้างภาพอนาคตจากฉันทามติของคณะผู้เชี่ยวชาญโดยใช้ เทคนิคเดลไฟ ซึ่งอาจใช้วิธีการสัมภาษณ์ หรือการใช้แบบสอบถามก็ได้ การเลือกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากสำหรับการวิจัยนี้ (จุมพล พูนภัทรชีวิน, 2530) การวิจัยอนาคตแบบ EDFR เป็นผล จากการประยุกต์ใช้วิธีวิทยาการวิจัยชาติพันธุ์วรรณา กับการวิจัยอนาคต ประกอบกับวิธีการรวบรวมข้อมูลด้วยเทคนิคเดลไฟ

1.3.2 การวิจัยโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ผลกระทบไขว้ (Cross-Impact Analysis)
การวิจัยอนาคตที่น่าสนใจอีกแบบหนึ่งได้แก่ การวิจัยโดยใช้เทคนิคผลกระทบไขว้ Stover, J.G. และ Gordon, T.J. (1978 : 301-328) สรุปว่าการวิจัยนี้เป็นประโยชน์ในการพยากรณ์และการสร้างภาพอนาคตให้เห็นเป็น ภาพของปฏิสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ เห็นความเชื่อมโยงระหว่างเหตุการณ์อย่างต่อเนื่องเป็นสายโซ่ ผลการวิจัยให้ภาพอนาคตที่เป็นความเคลื่อนไหวของปรากฏการณ์ เทคนิคการวิจัยแบบนี้ใช้การประมาณค่าความน่าจะเป็นของการเกิดเหตุการณ์แต่ละ เหตุการณ์ และความน่าจะเป็นของการเกิดเหตุการณ์หนึ่งๆ เมื่อเกิดเหตุการณ์หนึ่งแล้ว จากนั้นนำมาวิเคราะห์หาค่า odds ratio สำหรับการเกิดเหตุการณ์ในแต่ละคู่ในเมทริกซ์ผลกระทบไขว้ ผลจากการวิเคราะห์ให้ภาพอนาคตของผลกระทบจากแต่ละเหตุการณ์พร้อมด้วยค่าความ น่าจะเป็น เทคนิคนี้ยังสามารถนำไปใช้ตรวจสอบความไวของการดำเนินงานตามนโยบายได้อีกด้วย

1.3.3 การวิจัยโดยใช้เทคนิคการสร้างภาพอนาคต (Scenarios)
Wilson, I. H. (1978 : 225-248) สรุปว่าภาพอนาคตมีลักษณะเป็นภาพรวมของสถานการณ์ที่เป็นไปได้ในอนาคต หรือแนวโน้มของปรากฏการณ์ตามเงื่อนไขทางเลือกอนาคตแบบต่างๆ ขั้นตอนการสร้างภาพอนาคตประกอบด้วย การพยากรณ์การเกิดเหตุการณ์แต่ละส่วน การวิเคราะห์ผลกระทบไขว้หรือปฏิสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ และการเขียนภาพอนาคต ภาพอนาคตที่ได้อาจแสดงในรูปของการบรรยายภาพ หรือแผนภาพอนาคตก็ได้

1.3.4 การวิจัยโดยใช้กระบวนการอนาคตปริทัศน์ (Future Scanning Process)
พรชุลี อาชวอำรุง (2537) ได้สรุปแนวคิดของ Morrison, J.L. Renfro, W.L และ Boucher, W.I ว่า กระบวนการอนาคตปริทัศน์ คือ การจัดการกับความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม โดยใช้เรดาห์ชนิดหนึ่งกวาดดูโลกอย่างมีระบบระเบียบให้ทราบถึงปฏิสัมพันธ์ ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ และเตือนว่าจะเกิดอะไรใหม่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เพื่อให้องค์กรสามารถจัดการกับแนวโน้มคัดสรรที่คาดว่าจะเกิดขึ้น และดำเนินการให้องค์กรพัฒนาไปสู่เป้าหมายที่พึงประสงค์ ขั้นตอนการใช้กระบวนการอนาคตปริทัศน์ ได้แก่ การกำหนด เป้าหมายการกวาดตรวจหรือปริทัศน์อย่างเป็นทางการจากเอกสาร และการสัมภาษณ์ การหาความตรงของข้อมูล การประชุมทีมนักวิจัยเพื่อร่างแนวโน้มที่บ่งบอกความเปลี่ยนแปลง การคัดสรรผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาแนวโน้มตามที่รวบรวมได้ การจัดประเภทของสาระให้เห็นแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงแต่ละด้าน และการพัฒนาว่าจากแนวโน้มดังกล่าวทำให้เกิดผลกระทบอย่างไรรวมทั้งการทำนาย กับการกำหนดกิจกรรมที่น่าจะเกิดจากแนวโน้มนั้น

1.4 การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)

การวิจัยเชิงคุณภาพมีจุดมุ่งหมายในการศึกษาปัญหาในแนวลึกมากกว่าแนวกว้าง เป็นการวิจัยเพื่อตอบคำถามว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ปรากฏการณ์นั้นๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร มีกระบวนการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ผลการวิจัยนำไปสู่การสรุปเป็นทฤษฎีที่เรียกว่า grounded theory วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพที่ได้รับการพัฒนาในระยะหลังมีแบบแผนการวิจัย แตกต่างกันตามแนวปรัชญาที่นักวิจัยใช้ Tierney, W.G. และ Lincoln, Y.S. (1994) สรุปว่า แผนแบบการวิจัยเชิงคุณภาพในปัจจุบันแตกต่างกันเป็นสามแบบตามแนวปรัชญา หน้าที่นิยม (functionalism) โครงสร้างนิยม (structuralism) และวิพากษ์นิยม (criticalism) นอกจากนี้การวิจัยเชิงคุณภาพยังมุ่งผสมผสานเทคนิควิธีการวิจัยเชิงปริมาณมาก ขึ้นเพื่อแก้จุดอ่อนของการวิจัยเชิงคุณภาพ เทคนิควิธีการวิจัยที่ได้รับการพัฒนาที่น่าสนใจมีดังต่อไปนี้

1.4.1 การศึกษาหลายกรณี และการศึกษาหลายพื้นที่ (Multicase and Multisite Studies)
เนื่องจากการศึกษากรณีเดียว หรือพื้นที่เดียว มีข้อจำกัดในด้านความตรงภายนอก (external validity) นักวิจัยคุณภาพจึงได้พัฒนาวิธีวิทยาให้ดีขึ้นโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างหลาย กรณี หรือหลายแหล่งเพื่อให้มีความเป็นตัวแทนของกลุ่มประชากร และเพื่อควบคุมสิ่งที่อาจปนเปื้อนปรากฏการณ์ที่นักวิจัยต้องการศึกษา หลักการเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นหลักการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (stratified random sampling) โดยใช้ลักษณะที่ต้องการควบคุมเป็นเกณฑ์ในการแบ่งชั้น การวิจัยที่เป็นการศึกษาหลายกรณี ให้ความสำคัญกับการเปรียบเทียบเพื่อการสรุปอ้างอิง ส่วนการวิจัยที่เป็นการศึกษาหลายพื้นที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทฤษฎีที่ เป็นจริงในทุกพื้นที่ และต้องใช้กระบวนการอุปมานเชิงวิเคราะห์ (analytic induction) ในการวิจัย ในบางกรณีนักวิจัยอาจกำหนดแผนแบบการวิจัยในรูปของการวิจัยหลายกรณีและหลาย พื้นที่ (multisite case studies) ก็ได้ซึ่งทำให้ผลการวิจัยชัดเจนยิ่งขึ้น (Bogdan, R.C. and Biklen, S.K., 1992)

1.4.2 เทคนิคการวิจัยโดยการจัดกลุ่มสนทนา (Focus Group Research)
การวิจัยนี้พัฒนามาจากเทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบการสัมภาษณ์เป็นกลุ่ม และแบบมีจุดเน้น (group and ่focus interview) ประกอบการเลือกกลุ่มตัวอย่างทีมีลักษณะเฉพาะร่วมกัน วิธีการวิจัยจัดว่าเป็นการวิจัยที่ใช้พลวัตรของกลุ่ม 8-12 กลุ่มกระตุ้นให้สมาชิกของกลุ่มแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกของตน การจัดกลุ่มสนทนาใช้หลักการให้สมาชิกภายในกลุ่มแต่ละกลุ่มมีลักษณะร่วมกัน และกลุ่มสนทนาทุกกลุ่มต้องมีลักษณะต่างกันตามเงื่อนไขที่นักวิจัยต้องการ เปรียบเทียบสาระที่ได้จากการสนทนา กิจกรรมการดำเนินการจัดกลุ่มสนทนามีหลักการและวิธีการเฉพาะที่ต้องมีการฝึก ฝนก่อนการลงมือทำการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลต้องมีการถอดเทปบันทึกการสนทนาและวิเคราะห์เนื้อหา (Morgan, D., 1988, นภาภรณ์ หะวานนท์, 2535)

1.4.3 การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (Participatory Action Research)
การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมเป็นการวิจัยที่มุ่งศึกษาชุมชนโดย เน้นการวิเคราะห์ปัญหา การแก้ปัญหา และการติดตามผลการแก้ปัญหาของชุมชน โดยที่สมาชิกของชุมชนนั้นต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ และการวิจัยด้วย (อลิศรา ชูชาติ, 2538) การวิจัยรูปแบบนี้เป็นการผสมผสานวิธีวิทยาการวิจัยแบบปฏิบัติการกับการ สังเกตแบบมีส่วนร่วม ทัมนักวิจัยประกอบด้วยนักวิจัยซึ่งมิใช่สมาชิกของชุมชน กับสมาชิกในชุมชนซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชุมชนดีที่สุด และเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์จากผลการวิจัยโดยตรง

1.4.4. การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
Weber, R. P. (1985) กล่าวว่า การวิเคราะห์เนื้อหาเป็นวิธีวิทยาการวิจัยที่ใช้กระบวนการหลายแบบมาสรุปอ้าง อิงผลที่ได้จากข้อความ หลักการสำคัญของการวิเคราะห์เนื้อหาคือการจำแนกคำ กลุ่มคำประโยคจากข้อความเข้ากลุ่ม จากนั้นจึงจัดกลุ่มนำเสนอข้อค้นพบพร้อมทั้งแปลความหมาย ปัจจุบันนี้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาในประเทศไทยทำได้สะดวกมากขึ้นโดยใช้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ Ethnograph ในต่างประเทศ Weber กล่าวว่า เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหามีการพัฒนาโดยการเปลี่ยนข้อมูลเชิงคุณภาพในแต่ละ กลุ่มให้เป็นข้อมูลเชิงปริมาณ และนำมาวิเคราะห์ด้วยเทคนิคเชิงปริมาณ เช่น การสร้างแผนภาพ การวิเคราะห์องค์ประกอบ การวิเคราะห์จำแนก และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น (lisrel) ด้วย

วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพนับวันแต่จะมีการผสมผสานกันมากขึ้นในการวิจัยแต่ละ เรื่อง อาจใช้วิธีวิทยาการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพประกอบกันได้ เทคนิควิธีการวิจัยเชิงคุณภาพอีกแบบหนึ่งที่เป็นที่นิยมใช้ คือการจัดสัมมนาผู้เชี่ยวชาญ (connoisseurship) หลังจากเสร็จสิ้นการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อนำผลการวิจัยมาตรวจสอบความถูกต้อง หรือแสวงหาแนวทางปฏิบัติต่อไปโดยคณะผู้เชี่ยวชาญที่เลือกสรรแล้ว

1.5 การสังเคราะห์งานวิจัยด้วยการวิเคราะห์อภิมาน (Meta-analysis)

การวิเคราะห์อภิมานเป็นวิธีวิทยาการวิจัยที่พัฒนาใหม่ล่าสุดในการสังเคราะห์ งานวิจัยเชิงปริมาณ หัวใจสำคัญของการวิเคราะห์อภิมานคือการประมาณค่าผลงานวิจัยให้อยู่ในรูป ดัชนีมาตรฐาน และใช้วิธีการทางสถิติตรวจสอบว่าความแปรปรวนในดัชนีมาตรฐานเหล่านั้นมีค่า เหมาะสมที่จะสรุปได้หรือไม่ หากยังไม่สามารถสรุปได้ต้องแยกศึกษาตามตัวแปรปรับ (moderator variables) หรือวิเคราะห์ว่าลักษณะงานวิจัยสามารถอธิบายความแตกต่างในดัชนีมาตรฐานได้ อย่างไร (นงลักษณ์ วิรัชชัย, 2530) เทคนิคการวิเคราะห์อภิมานนี้สามารถนำไปใช้วิเคราะห์เพื่อสรุปนัยโดยทั่วไป ของความตรง (validity generalization) ได้ ทั้งนี้เพราะค่าความตรงอยู่ในรูปของสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อันเป็นดัชนี มาตรฐานแบบหนึ่ง เทคนิคการสรุปนัยทั่วไปของความตรงได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว Law, K.S., Schmidt, F.L. และ Hunter, J.E. (1994) รายงานว่าทำได้ถึง 5 แบบ คือ Interactive procedure, noninteractive procedure, multiplicative procedure, taylor series approximation 1 and 2 , Raju, Burke, Normand and Langlois procedure ทุกแบบใช้หลักการวิเคราะห์อภิมานตามแบบของ Hunter เป็นพื้นฐานทั้งสิ้น

วิธีวิทยาการวิเคราะห์อภิมานยังจะได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นอีกมากในอนาคต โดยเฉพาะในเรื่องการประมาณค่าดัชนีมาตรฐานสำหรับผลการวิจัยที่นำมา สังเคราะห์แต่ละเรื่องและแต่ละวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นเนื่องจากโมเดลในการวิเคราะห์ อภิมานเป็นโมเดลสอดแทรกเป็นลำดับลดหลั่น (hierarchical nested model) ซึ่งเป็นโมเดลพหุระดับ ดังนั้น Draper, D. (1995) จึงกล่าวว่าวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ดีวิธีหนึ่งสำหรับการสังเคราะห์งาน วิจัยด้วยการวิเคราะห์อภิมาน คือ วิธีการวิเคราะห์พหุระดับ (multi-level analysis) ผลงานวิจัยที่เป็นการวิเคราะห์อภิมานของ Draper จึงจัดว่า เป็นการวิเคราะห์อภิมานเรื่องแรกที่วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์พหุ ระดับ

วิธีวิทยาการสังเคราะห์งานวิจัยด้วยการวิเคราะห์อภิมานได้รับการพัฒนาใหม่ อีกแนวทางหนึ่ง คือ การวิเคราะห์อภิมานของการวิจัยที่เป็นการวิเคราะห์อภิมาน หรือการวิจัยที่ Levin, H.M. เรียกว่า mega-meta analysis และงานวิจัยที่เขายกย่องว่า เป็น "mother of all educational research synthesis" คืองานวิจัยเรื่อง "Toward a Knowledge Base for School learning" โดย Wang, M.C., Haertel, G.D. Walberg, H.J. (1993) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อของ "WHW article" งานวิจัยนี้สังเคราะห์งานวิจัยอภิมานรวม 91 เรื่อง ประกอบกับการวิเคราะห์เนื้อหาโดยมีการประมาณค่าขนาดอิทธิพลของตัวแปรกว่า 10,000 ค่า (นงลักษณ์ วิรัชชัย, 2537)

1.6 การศึกษาหน่วยตัวอย่างเดียว (Single Subject Study)

การวิจัยที่เป็นการศึกษาหน่วยตัวอย่างเดียวมัลักษณะแตกต่างจากการศึกษาราย กรณีเพราะการศึกษารายกรณีเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ส่วนการศึกษาหน่วยตัวอย่างเดียวเป็นการวิจัยเชิงปริมาณที่มีกรเก็บรวบรวม ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง หรือมีการวัดซ้ำ (repeated measures) เป้าหมายสำคัญของการวิจัย คือ การศึกษาความเจริญเติบโต ความเปลี่ยนแปลง หรือพัฒนาการของหน่วยตัวอย่างในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง วิธีการดำเนินการวิจัยเป็นผลการผสมผสานวิธีการศึกษาระยะยาว (longitudinal study) กับการวิเคราะห์ข้อมูลแบบวัดซ้ำ โดยที่ข้อมูลจากการวัดซ้ำของหน่วยตัวอย่างแต่ละคนมีลักษณะโมเดลลำดัยลดหลั่น การวิเคราะห์ข้อมูลที่เหมาะสมสำหรับการศึกษาหน่วยตัวอย่างเดียวคือ การวิเคราะห์พหุระดับกรณีโมเดลเชิงเส้นลำดับลดหลั่น (hierachical linear model) หรือโมเดลสัมประสิทธิ์สุ่ม (random coefficient Model) (Rogosa, D. and Saner, H., 1995)

2. วิธีวิทยาด้านการสุ่มตัวอย่าง
ด้านการสุ่มตัวอย่างมีการพั?นาเทคนิควิธีน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับด้าน อื่นๆ เหตุที่เป็นเช่นนี้อาจเนื่องมาจากวิธีการที่ใช้อยู่มีความสมบูรณ์แล้ว สิ่งที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องคือ การประมาณค่าของขนาดกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย สูตรที่ได้รับการยอมรับว่า มีความถูกต้อง และใช้กันมากคือสูตรของ Cohen, J. (1988) ซึ่งมีการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สารสนเทศจากค่าขนาดอิทธิพล ค่าความคลาดเคลื่อนประเภทที่ I และประเภทที่ II (อัลฟาและเบต้า) และสถิติที่ต้องการใช้ในการทดสอบสมมติฐาน สำหรับวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างนั้น มีการพัฒนาเทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบเมทริกซ์ (matrix sampling) ให้ดีขึ้น เรียกว่า เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบ balanced incomplete block (BIB) spiraling การสุ่มตัวอย่างแบบเมทริกซ์เดิมมีจุดอ่อนตรงที่สามารถประมาณค่า สหสัมพันธ์ระหว่างแบบวัดย่อยในแต่ละชุดได้ แต่ไม่สามารถประมาณค่าสหสัมพันธ์ระหว่างแบบวัดย่อยต่างชุดได้ แต่เทคนิค BIB จัดแบบวัดแต่ละชุดให้ประกอบด้วยแบบวัดย่อยที่มีอย่างน้อยหนึ่งแบบวัดย่อยตรง กับแบบวัดย่อยในชุดอื่น หลักการจัดมีลักษณะคล้ายกับ Latin square design (Kaplan, D., 1995; Messick, S., 1984)

3. วิธีวิทยาด้านการวัดและประเมิน
ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา วิธีวิทยาด้านการวัดและประเมินมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการพัฒนามโนทัศน์เกี่ยวกับการวัดและการประเมิน และการพัฒนาด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ จากความเปลี่ยนแปลงของสภาพบริบทในการวัดและการประเมิน และจากความต้องการ ความคาดหวังของผู้ต้องการใช้ผลการวัดและการประเมิน วิธีวิทยาใหม่ๆที่น่าสนใจซึ่งจะนำเสนอต่อไปนี้แยกกล่าวเป็นสองด้านคือ ด้านการวัด และการประเมิน ในแต่ละด้านจะให้ความสำคัญเฉพาะวิธีวิทยาที่เกี่ยวข้องกับมโนทัศน์ของการวัด และการประเมิน ในส่วนที่เป็นวิธีการวิเคราะห์จะนำเสนอในหัวข้อวิธีวิทยาด้านการวิเคราะห์ใน หัวข้อที่ 4 ต่อไป

3.1 วิทยาการด้านการวัด

องค์กร American Council on Education (ACE) ได้เริ่มจัดพิมพ์หนังสือ ชื่อ Educational Measurement เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ และวิธีวิทยาด้านการวัด โดยเฉพาะการวัดทางการศึกษา ฉบับแรกพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1951 ฉบับที่สอง พิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1971 และได้ร่วมมือกับ National Council on Measurement in Education ในการพิมพ์ฉบับที่สามเมื่อ ค.ศ. 1989 Linn, R.L. (1989) ได้เปรียบเทียบหนังสือฉบับที่สองและฉบับที่สามให้เห็นว่า นับจาก ค.ศ. 1971 อันเป็นปีที่พิมพ์หนังสือฉบับที่สองนั้น วิทยาการด้านการวัดมีการพัฒนาไปมาก วิธีวิทยาการขั้นสูงที่น่าสนใจมีดังนี้

3.1.1 ทฤษฎีการตอบสนองรายข้อ (Item-Response Theory = IRT)

แม้ว่า Lawley จะได้เสนอโมเดลทฤษฎีการตอบสนองรายข้อไว้ตั้งแต่ ค.ศ. 1943 แล้วก็ตาม แต่ในระยะนั้นไม่มีการนำโมเดลไปใช้ในทางปฏิบัติ มีเพียงการเสนอแนวคิดและหลักการ คริสต์ศตวรรษที่ 1970 นับว่าเป็นช่วงที่เริ่มมีการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองรายข้อ และทำให้วิธีวิทยาการด้านการวัดมีการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในเรื่องการปรับเทียบข้อสอบ (test equating) การทำหน้าที่ต่างกัน (differential item functioning) หรือความลำเอียงของข้อสอบ (test bias) การบริหารการสอบด้วยคอมพิวเตอร์ (computerized test administration) การสร้างมาตรวัด และการหาปกติวิสัย (scaling and norming) เรื่องต่างๆที่กล่าวมานี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่วิธีวิทยาที่ใช้ในเรื่องเหล่านี้ได้รับการพัฒนาใหม่ ให้มีประสิทธิภาพดีมากขึ้นเรื่อยๆ (Linn, R. L., 1989)

Hambleton, R.K. (1989) สรุปลักษณะของโมเดลการตอบสนองรายข้อที่ได้รับการพัฒนาใหม่ๆในช่วงสองทศวรรษ ที่ผ่านมาว่า โมเดลการตอบสนองรายข้อนอกจากจะมีโมเดลโลจิสติกแบบเอกมิติหนึ่ง สอง สาม และสี่พารามิเตอร์ และโมเดลโอไจว์ปกติซึ่งใช้กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความถนัดที่เป็นข้อมูลทวิภาคแล้ว ยังมีโมเดลอีกหลายแบบที่นักวัดผลการศึกษาได้พัฒนาจากโมเดลการตอบสนองรายข้อ ซึ่งผู้เขียนได้สรุปจากบทความของ R.K. Hambleton และบทความวิชาการใหม่ๆ ไว้ดังนี้

ก. Nominal Response Model = NRM ของ Bock เป็นโมเดลใช้กับข้อมูลแบบพหุวิภาค มีจุดมุ่งหมายเพื่อประมาณค่าความสามารถของผู้สอบให้มีความถูกต้องสูงสุดโดย ใช้สารสนเทศจากโค้งลักษณะการสอบแต่ละตัวเลือก ภายใต้เงื่อนไขว่าผลรวมความน่าจะเป็นในการตอบทุกตัวเลือกของผู้สอบที่ระดับ ความสามารถที่กำหนดให้มีค่าเท่ากับหนึ่ง ต่อมา Thissen ได้นำแนวคิดนี้ไปพัฒนาต่อโดยกำหนดน้ำหนักสำหรับตัวเลือกแต่ละตัวทำให้การ ประมาณค่าความสามารถผู้สอบที่ระดับความสามารถต่ำมีความถูกต้องมากขึ้น

ข. Graded- Response Model = GRM หรือ Difference Model ของ Samejima โมเดลนี้ใช้กับมาตรวัดแบบประมาณค่า เช่น มาตรวัดแบบ Likert หรือมาตรวัดแบบนัยจำแนกและมีการใช้สารสนเทศจากโค้งลักษณะการตอบแต่ละตัว เลือกด้วย การที่โมเดลได้ชื่อว่า difference models เพราะการคำนวณความน่าจะเป็นของผู้สอบที่ตอบตัวเลือกที่ K ได้ถูกต้องนั้นต้องคำนวณจากผลต่างระหว่างความน่าจะเป็นจากตัวเลือกที่ I และตัวเลือกที่ k-1 นั่นเอง การพัฒนาล่าสุดของ GRM คือ multiplicative Poisson Model = MPM ซึ่งพัฒนาโดย Andrich, D. (1995) การพัฒนานี้ทำขึ้นเพื่อแก้ปัญหาจากกรณีที่ไม่สามารถใช้ unidimensional Rasch Model = URM ได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดเมื่อมีการรวมตัวเลือกการตอบสนองของแบบสอบ

ค. Binomial Trials Model และ Rating Scale Model = RSM เป็นโมเดลที่พัฒนาโดย Andrich เพื่อใช้ในการวัดตัวแปรพหุวิภาค (polychotomous variable) โมเดลที่กล่าวมาข้างต้นยังมีการพัฒนา และการนำไปประยุกต์ใช้เรือยมา Fischer, G.H, และ Parzer, P. (1991) ได้ประยุกต์ RSM ใช้ในการสัดคะแนนความเปลี่ยนแปลง (change) ซึ่งทฤษฎีการวัดแบบดั้งเดิมใช้ไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร เพราะมีปัญหาเนื่องจากอิทธิพลของเพดานและพื้น (ceiling and floor effects) และลักษณะการแจกแจงเบ้ โมเดลที่พัฒนาใหม่เรียกว่า linear rating scale model (LRSM) เพราะพารามิเตอร์ข้อคำถามจะอยู่ในรูปของฟังก์ชั่นเชิงเส้นของพารามิเตอร์ อื่นๆ วิธีการสร้างมาตร (scaling methods) ที่สามารถใช้กับมาตรวัดแบบ Likert เช่นเดียวกับ RSM ได้แก่ dual scaling ซึ่งพัฒนาโดย Nishisato และ Cheung, K.C. กับ Mooi, L.C. ได้เปรียบเทียบให้เห็นว่าทั้งสองวิธีได้ผลคล้ายคลึงกัน แต่ dual scaling ผ่อนคลายข้อตกลงเบื้องต้นได้มากกว่า RSM

ง. Partial Credit Model = PCM พัฒนาโดย Masters ให้สามารถใช้กับแบบสอบที่มีหลายตัวเลือก และการให้คะแนนตัวเลือกแต่ละตัวแตกต่างกัน โมเดลนี้ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นโดย Wright และ Masters (1984) นักวัดผลการศึกษาทั้งสองยังได้ประมวลโมเดลโลจิสติกหนึ่งพารามิเตอร์ หรือ Rasch model แบบต่างๆที่มีการพัฒนาขึ้นรวมเรียกว่า โมเดลการวัดขั้นพื้นฐาน (fundamental measurement model) ซึ่งมีคุณสมบัติสำคัญคือ การแยกพารามิเตอร์ผู้สอบ และพารามิเตอร์ข้อคำถามและมีการใช้สถิติที่เพียงพอในการประมาณค่าพารา มิเตอร์ของโมเดล การพัฒนาล่าสุด คือ Muraki, E. (1993) ได้พัฒนาโมเดลรวมค่าพารามิเตอร์ความชัน (slope) ของโค้งลักษณะข้อคำถามแต่ละข้อไว้ในโมเดล เรียกว่า generalized partial credit model = GPCM

จ. Linear Logistic Latent Trait Model พัฒนาโดย Fischer และ Formann กับ Multicomponent Latent Trait Model พัฒนาโดย Embreston จัดว่าเป็นโมเดลที่รวมองค์ประกอบด้านปัญญา (cognitive component) เข้าเป็นพารามิเตอร์ในโมเดลด้วย นอกจากนี้มี linear logistic model ซึ่ง Fischer พัฒนาโดยกำหนดให้มีพารามิเตอร์ความยากของข้อสอบในรูปของผลรวมเชิงเส้นของ องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อค่าความยากอยู่ในโมเดลด้วย ผลงานของ Embreston และ Fischer นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการผสมผสานแนวความคิดทาง cognitive psychology กับ psychometric เข้าด้วยกัน โมเดลของ Fischer ใช้ในการวัดตัวแปรเอกมิติแต่โมเดลของ Embreston สามารถใช้กับปัญญาทักษะ (cognitive skill) หลายองค์ประกอบได้โดยที่แต่ละองค์ประกอบมีความสำคัญต่อการที่ผู้สอบจะตอบข้อ คำถามแต่ละข้อได้ถูกต้อง

ฉ. Unfolding Models พัฒนาโดย Andrich และ Hyperbolic Cosine Unfolding Model พัฒนาโดย Andrich, D. และ Luo, G/ (1993) เป็นโมเดลที่มีการพัฒนาควบคู่กับ probabilistic models for the cumulative models in pair comparison design ที่ Thurstone ได้วางแนวคิดไว้ โมเดลในกลุ่มเหล่านี้ได้แก่ Squared Simple Logistic Model = SSLM พัฒนาโดย Andrich ซึ่งให้ผลการวิเคราะห์เท่าเทียมกับ Simple Hyperbolic Cosine Model = SHCM ของ Andrich และ Lou นอกจากนี้ มี two-parameter hyperbolic cosine model = 2PHCM

ช. โมเดลที่พัฒนาจากทฤษฎีการตอบสนองรายข้อเพื่อใช้ในสภาพการณ์ที่ต่างจากการสอบปกติ ได้แก่ โมเดลที่ Bock, R.D., Mislevy, R. Woodson, C. (1982) พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการสอบที่มีหน่วยการวิเคราะห์เป็นกลุ่ม เช่น ชั้นเรียน โรงเรียน จังหวัด เขตการศึกษา random coeficients multinomial logit model = RCMLM พัฒนาจาก Rasch model โดย Wilson, M. (1995) เพื่อใช้ในการวัดแบบสอบมีข้อสอบรวมเป็นชุดข้อสอบหลายชุด (item bundles) และแต่ละชุดเกี่ยวข้องกบคุณลักษณะของผู้สอบ และเชื่อมโยงกันด้วยโครงสร้างข้อสอบร่วมกัน ตัวคำถามร่วมกัน หรือเนื้อหาข้อสอบร่วมกัน

การใช้โมเดลตอบสนองรายข้อเป้นประโยชน์ต่อการวัดผลการศึกษามาก เมื่อข้อมูลสอดคล้องกับข้อตกลงเบื้องต้นของโมเดลที่ใช้ นักวัดผลจะสามารถประมาณค่าความสามารถของผู้สอบได้โดยที่พารามิเตอร์นี้เป็น อิสระไม่ขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงของข้อสอบ ได้ค่าพารามิเตอร์ของข้อสอบที่ไม่ขึ้นกับกลุ่มตัวอย่างผู้สอบ ได้ค่าสถิติที่บ่งชี้ถึงความถูกต้องในการประมาณค่าความสามารถผู้สอบที่ขึ้น อยู่กับค่าความสามารถผู้สอบ จำนวนและคุณสมบัติทางสถิติของข้อคำถาม และได้มาตรร่วม (common scale) ซึ่งใช้บรรยายคุณสมบัติผู้สอบและข้อสอบได้

การวิจัยด้านการวัดผลการศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีการตอบสนองรายข้อนอกจากจะเป็น การพัฒนาโมเดลและตรวจสอบโมเดลแล้ว ยังมีการวิจัยเกี่ยวกับการสร้างมาตรวัดคะแนนความสามารถ (ability scores) ของผู้สอบ มีการพัฒนาคะแนนความสามารถในรูปฟังก์ชันของพารามิเตอร์ความสามารถของผู้สอบ รูปต่างๆ โดยมีการกำหนดน้ำหนักคะแนนแบบต่างๆและมีการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาวิธี ประมาณค่าพารามิเตอร์ความสามารถแบบต่างๆด้วย

3.1.2 วิธีวิทยาการวัดด้วยคอมพิวเตอร์ (Computerized Educational Measurement)

Bunderson, V.V., Inouye, D.K. และ Olsen, J.B. (1989) ได้สรุปว่าวิธีวิทยาการวัดด้วยคอมพิวเตอร์เป็นผลจากบูรณาการมโนทัศน์ด้านการ วัดกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยให้กระบวนการวัดทำได้สะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และประหยัด รวมทั้งมีการสื่อสารโต้ตอบมีระบบการเก็บหลักฐานการสอบและการรายงานคะแนนสอบ และการบริหารการสอบที่มีประสิทธิภาพ วิธีวิทยาการวัดด้วยคอมพิวเตอร์แยกตามขั้นตอนของการพัฒนาได้เป็น 4 ประเภท ประเภทแรก คือ การสอบโดยใช้คอมพิวเตอร์ (computerized testing) การบริหารการสอบทุกขั้นตอน การตรวจให้คะแนน การรายงานผล การสร้างธนาคารข้อสอบและการจัดทำข้อสอบใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงานทุกขั้น ตอน แต่การวิเคราะห์ข้อสอบยังใช้ทฤษฎีแบบดั้งเดิม ประเภทที่สอง คือ การสอบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ (computer-adaptive testing) เป็นการสอบที่มีการวิเคราะห์ตามทฤษฎีการตอบสนองรายข้อ มีการจัดข้อสอบให้เหมาะสมกับผู้สอบแต่ละคน และการบริหารการสอบทุกขั้นตอนทำโดยใช้คอมพิวเตอร์ ประเภทที่สาม คือ การวัดต่อเนื่อง (continuous measurement) เพื่อวัดความเจริญหรือความเปลี่ยนแปลงและสร้างโปรไฟล์ของผู้สอบแต่ละคน คอมพิวเตอร์มีหน้าที่สร้างคะแนนพหุมิติ และแปลความหมายโปรไฟล์ของผู้สอบแต่ละคนเพิ่มขึ้น จากประเภทที่สอง ประเภทที่สี่ คือการวัดอย่างเชี่ยวชาญ (intelligent measurement) การวัดประเภทนี้ใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์สูงสุด กล่าวคือ องค์ความรู้ที่มีอยู่ในสมองของผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดถูกถ่ายทอดลงใน คอมพิวเตอร์ และคอมพิวเตอร์ช่วยในการบริหารการสอบทุกขั้นตอนเสมือนหนึ่งมีผู้เชี่ยวชาญ คอยให้คำปรึกษา

4. วิธีวิทยาด้านสถิติ
ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ประกอบกับการพัฒนาโมเดลทางสถิติและวิธีการประมาณค่าพารามิเตอร์แบบต่างๆ รวมทั้งการบูรณาการวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลทางเศรษฐมิติ และจิตมิติทำให้วิธีวิทยาด้านสถิติพัฒนาไปอย่างรวดเร็วในช่วงปลายคริสต์ ศตวรรษที่ 19 วิธีวิทยาขั้นสูงด้านสถิติวิเคราะห์ใหม่ๆ ที่มีใช้ในปัจจุบัน ล้วนแต่พัฒนามาจากเทคนิคการวิเคราะห์ที่มีอยู่เดิม แต่มีวิธีการที่ดีขึ้น ผ่อนคลายข้อตกลงเบื้องต้นได้มากขึ้น ให้ผลการวิเคราะห์ที่ถูกต้องมากขึ้น และเป็นวิธีการทีต้องใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการวิเคราะห์ทั้งสิ้น วิธีวิทยาที่น่าสนใจมีดังนี้

4.1 ลิสเรล (Linear Structural Relationship) = LISREL

ลิสเรล มีความหมายเป็น 3 นัย นงลักษณ์ วิรัชชัย (2537) สรุปว่านัยแรกหมายถึงโมเดลแสดงความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นระหว่างตัวแปร ซึ่งเป็นได้ทั้งตัวแปรสังเกตได้และตัวแปรแฝง โมเดลลิสเรลประกอบด้วยโมเดลการวัด (measurement model) ของชุดตัวแปรที่เป็นสาเหตุ และชุดตัวแปรที่เป็นผล และโมเดลสมการโครงสร้าง (structural equation model) โมเดลลิสเรลเป็นชื่อที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย นอกจากชื่อโมเดลลิสเรลแล้วยังเป็นที่รู้จักกันในชื่อของโมเดลโครงสร้างความ แปรปรวน (co-variance structure model) หรือโมเดลโครงสร้างแสดงสาเหตุ (causal structural model)

การวางแผน

โดย ธงชัย สันติวงษ์

เรื่องทั่วไปเกี่ยวกับการวางแผน
ในเบื้องต้นสุดนี้ ก่อนที่จะเข้าไปถึงเทคนิคของการวางแผน ควรจะได้ทำความเข้าใจกับเรื่องทั่วๆไปที่เป็นพื้นฐานของการวางแผนก่อน ทั้งในแง่ประโยชน์และคุณค่าของการวางแผน เหตุผลที่ทำให้การวางแผนกลายเป็นงานสำคัญที่ขาดไม่ได้สำหรับทุกองค์การและใน ทุกประเทศ รวมทั้งการเข้าใจถึงข้อจำกัดของการวางแผน และความเกี่ยวพันของการวางแผนกับกระบวนการบริหาร โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่งานบริหารประการต่างๆด้วย

อาจกล่าวได้ว่า ในระยะสิบกว่าปีที่ผ่านมานี้ การวางแผน (Planning) ได้กลายเป็นหัวข้อการบริหารที่ได้รับความสนใจกันมากที่สุดในวงการนักบริหาร มืออาชีพทั้งหลาย ตลอดเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้ การวางแผนได้กลายเป็นงานที่นักบริหารทั้งหลายได้มีความคุ้นเคย และมีการนำเอามาใช้อย่างกว้างขวางและมีการประยุกต์ใช้เทคนิคต่างๆมากขึ้น ด้วย

ในทางปฏิบัติ การวางแผนนับว่าเป็นที่รู้จักและนำมาใช้ปฏิบัติงานมาช้านานแล้ว โดยจัดทำกันในขอบเขตที่ค่อนข้างแคบในความหมายของการจัดทำงบประมาณนั่นเอง นอกจากในวงการธุรกิจที่ต้องมีการจัดทำงบประมาณโดยประมาณการทั้งรายได้ รายจ่าย และกำไรแล้ว ในระบบราชการก็ได้มีการจัดทำงบประมาณแผ่นดินที่มีการใช้เทคนิคทันสมัยต่างๆ ด้วยเช่นกัน ในถึงในระยะหลังนี้ในวงการรัฐวิสาหกิจในประเทศไทยก็ได้เริ่มให้ความสนใจต่อ การวางแผนที่กว้างขวางขึ้นกว่าเดิม ดังที่เรียกกันว่า การทำแผนวิสาหกิจ หรือ corporate planning นั้น หลายหน่วยงานพยายามที่จะให้เป็นเครื่องมือสำหรับการบริหารที่ดีที่จะช่วยให้ การบริหารงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ความหมายของการวางแผน
โดยความหมายอย่างง่ายอาจกล่าวได้ว่า การวางแผนเป็นกระบวนการซึ่งบุคคลหรือองค์การทำการตัดสินใจไว้ล่วงหน้าเกี่ยว กับงานบางอย่างที่จะกระทำในอนาคต กระบวนการดังกล่าวจะประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆที่เป็นชุดกิจกรรมที่ต่อเนื่อง กัน ซึ่งบางขั้นตอนอาจเป็นเรื่องที่ต้องทำทันทีเพื่อที่จะให้บรรลุถึงเป้าหมาย ที่ต้องการได้ การวางแผนถ้าหากสนใจทำและทำได้ถูกต้อง จะเป็นสิ่งที่มีคุณค่ายิ่งสำหรับองค์การในอันที่จะช่วยให้องค์การสามารถ บรรลุวัตถุประสงค์ได้ และถ้าเป็นการนำเอาการวางแผนมาใช้กับชีวิตส่วนตัวแล้ว การวางแผนก็จะมีคุณค่าสำหรับแต่ละบุคคลในอันที่จะช่วยให้บรรลุจุดมุ่งหมาย ส่วนตัวได้ หลักการต่างๆที่เกี่ยวกับการวางแผนก็จะสามารถนำมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพได้ เสมอ ทั้งนี้ โดยไม่จำกัดว่าองค์การนั้นๆจะเป็นองค์การธุรกิจ สโมสร หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์การทางศาสนา หรือองค์การสาธารณกุศลก็ตาม

คุณประโยชน์ของการวางแผน
  1. ช่วยค้นหาหรือชี้ให้ทราบถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้น หรือช่วยชี้ให้เห็นถึงโฮกาสต่างๆที่อาจมีขึ้น
  2. ช่วยปรับปรุงและยกระดับคุณภาพกระบวนการตัดสินใจภายในองค์การให้ดีขึ้น
  3. ช่วยในการปรับทิศทางอนาคตขององค์การ ตลอดจนค่านิยม และวัตถุประสงค์ขององค์การให้ชัดเจนเสมอ
  4. ช่วยให้แต่ละบุคคลหรือองค์การสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อม
  5. ช่วยเหลือให้ผู้บริหารให้สามารถมั่นใจที่จะนำองค์การให้อยู่รอดได้
ประโยชน์ของการวางแผน จาก W.W. Simmons, So you Want to Have A Long-Range Plan, Planning Executives Institute, September 1980, pp. 2-3.

  1. เพื่อให้ผู้บริหารตระหนักความรับผิดชอบได้ดีขึ้น
  2. ช่วยให้การควบคุมสามารถกระทำได้โดยอาศัยการวัดผลสำเร็จตามแผนงานที่ทำไป
  3. แผนงานใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการสื่อความให้ทุกฝ่ายทราบถึงทิศทางของ องค์การ และให้ฝ่ายต่างๆประสานการทำงานเป็นทีมโดยอาศัยแผนเป็นเครื่องมือ
  4. แผนงานที่ใช้ดำเนินงานอยู่สามารถใช้ตรวจสอบความถูกต้องของนโยบายปัจจุบัน โดยจะสามารถเช็คสอบดูได้จากผลของการปฏิบัติตามแผน เพื่อจะได้มีการปรับแก้นโยบาย และเป้าหมายระยะยาวให้ถูกต้อง
  5. การวางแผนช่วยขยายขอบเขตการคิดของผู้บริหาร และช่วยให้ผู้บริหารคล่องตัวในการแก้ไขปัญหาหรือยกระดับผลงานได้ดีขึ้น เพราะสามารถเพิ่มทัศนวิสัยของการคิดให้กว้างและไกล และสามารถคิดคล่องแคล่ว ปรับตัวได้ดีขึ้น
ความจำเป็นที่ต้องมีการวางแผน
คนส่วนมากที่ไม่นิยมชมชอบต่อการวางแผนนั้น ต่างวิจารณ์และโจมตีว่า การวางแผนนั้น ความจริงแล้วก็ไม่มีอะไรมากนัก แต่เป็นเพียงวิธีการเดาอย่างเป็นทางการเท่านั้น ซึ่งเหตุผลที่ถูกต่อว่าเช่นนี้นั้น สาเหตุอาจเป็นเพราะความจริงประการหนึ่งที่ว่า การวางแผนที่จะทำให้ได้ดีและมีคุณภาพนั้น นับว่าเป็นสิ่งยากลำบากยิ่งและไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ง่าย นอกจากนี้ ยังมีข้อเท็จจริงปรากฏให้เห็นไม่น้อยเหมือนกันว่า ระบบการวางแผนและแผนงานต่างๆที่ได้มีการทำกันมากมายนั้นหลายกรณีก็มิได้มี ส่วนสร้างความสำเร็จให้กับองค์การและบุคคลเท่าที่ควรจะเป็น หรือเท่าที่คาดคิดไว้ แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าหากจะมองกันอย่างเป็นกลางแล้ว ก็มีหลักฐานที่เป็นตัวอย่างจริงอย่างมากมายที่เป็นประจักษ์พยานชี้ให้เห็น ว่า องค์การต่างๆที่สามารถอยู่รอดและเจริญเติบโตก้าวกน้าไปด้วยดีนั้น ต่างก็อาศัยการวางแผนเป็นเครื่องมือสร้างความสำเร็จดังกล่าว โดยการวางแผนนี้เองจะช่วยให้ผู้บริหารสามารถวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆทั้งใน ปัจจุบันและอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ และด้วยการวิเคราะห์ดังกล่าวนี้เอง ก็จะสามารถนำมาใช้วางแผนกำหนดวิธีดำเนินการที่จะช่วยให้ประสบผลสำเร็จต่างๆ ได้

ปัจจัยภายนอกหลายๆอย่างที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลานั้น มีผลทำให้กระบวนการวางแผนต้องกลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้สำหรับการอยู่ รอดขององค์การ ซึ่งในที่นี้จะได้กล่าวถึงเฉพาะปัจจัยที่สำคัญๆ 3 ประการ ซึ่งมักจะมีอิทธิพลผลกระทบทำให้การวางแผนมีบทบาทความสำคัญมากยิ่งขึ้น เรื่อยๆ คือ

  1. ความก้าวหน้าของเทคนิควิทยาการสมัยใหม่ และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา เทคนิควิทยาการสมัยใหม่ต่างได้พัฒนาขึ้นมามากมาย ธุรกิจใดที่ไม่สามารถปรับตัวทันกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีก็ย่อมจะทำให้ ต้องล้าสมัยหรือล้มเหลวไปในที่สุด ตัวอย่างของอุตสาหกรรมพลาสติกที่ก้าวหน้าหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ได้ทำให้อุปกรณ์เครื่องใช้ในบ้างบางอย่าง เช่น ถังน้ำ หรือขันน้ำ ตลอดจนถ้วยชาม ต่างก็ถูกทดแทนด้วยการใช้พลาสติกแทบทั้งสิ้น ของใช้ที่ทำด้วยพลาสติกจะมีคุณสมบัติเบา ใช้สะดวกและสวยงาม ซึ่งทำให้อุตสาหกรรมดั้งเดิมของถังน้ำที่ทำด้วยเหล็ก สังกะสี หรือขันน้ำอะลูมิเนียม หรือถ้วยชามที่ทำด้วยดินเผาต่างต้องถูกกระทบอย่างมาก
    ทำนองเดียวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทันสมัยราคาถูก ทำให้ธุรกิจด้านบริการ คือ ธนาคารทุกแห่งต้องหันเข้าไปใช้เครื่อง เพราะสามารถประหยัดกำลังคน รวมทั้งประหยัดค่าใช้จ่ายการทำงานล่วงเวลาต่างๆได้ด้วย (เพราะเครื่องจักรกลสามารถคิดดอกเบี้ยแทนคนได้) ทำนองเดียวกันกับในด้านอุตสาหกรรมการผลิตก็เช่นเดียวกัน ซึ่งความก้าวหน้าได้ไปไกลมากจนถึงกับได้มีการนำเอาหุ่นยนต์มาทำการผลิตแทน แรงงานคนด้วย

  2. ความเกี่ยวพันขององค์การในสมัยปัจจุบัน สังคมในอดีต ทุกคนต่างก็จะสามารถอยู่อาศัยเป็นเอกเทศและเกี่ยวข้องถึงกันไม่มาก แต่ในทุกวันนี้อาจกล่าวได้ว่า สภาพชีวิตความเป็นอยู่และการทำงานของคนในสังคมต่างต้องมีการพึ่งพาอาศัยและ เกี่ยวข้องถึงกันมากขึ้น แม้แต่เกษตรกรที่ทำนาทำไร่ ต่างต้องพึ่งพาหาวัตถุดิบจากจังหวัดหรือเมืองใกล้เคียง และต่างต้องส่งผลผลิตไปจำหน่ายในเมืองใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางของประเทศ ในขณะที่ความเจริญของถนนหนทางทำให้คนในชนบทติดต่อถึงกันได้ดีขึ้นนั้น คนในเมืองหลวงคือ กรุงเทพฯ สภาพความเป็นอยู่กลับเปลี่ยนไปโดยมีการกระจายออกไปชานเมือง และอยู่อาศัยเป็นกลุ่มก้อนด้วยแผนการจัดที่อยู่อาศัยสมัยใหม่ทั้งของรัฐบาล และเอกชน การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีผลทำให้องค์การต่างๆต้องเกี่ยวพันกันมากขึ้น เกษตรกรและคนในต่างจังหวัดจะมีการเดินทางเข้าเมืองใหญ่และเมืองหลวงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเพราะเพื่อค้าขาย การศึกษา หรือการหางานทำ รวมไปถึงการเข้ามาขอรับบริการด้านสาธารณสุขและการรักษาพยาบาลต่างๆด้วย
    การเพิ่มขึ้นของขนาดการต้องพึ่งพาอาศัยกันและกันนี้ ทำให้เกิดความจำเป็นสำหรับทุกคนที่จะต้องเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างองค์การ ทั้งนี้ ก็เพื่อคาดคะเนถึงการกระทำของคนอื่นที่จะเกิดขึ้นเรื่อยไปในอนาคต และก็เพื่อประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการกระทำดังกล่าวนั้นที่จะมีผลมา ถึงเราด้วย

  3. การเปลี่ยนแปลงของหน้าที่การงานในสังคมที่ซับซ้อนและยุ่งยาก ปัญหาการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วทางเทคโนโลยี บวกกับความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกันระหว่างองค์การที่มีมากขึ้นนั้น ได้มีผลทำให้งานต่างๆขยายตัวซับซ้อนและยากกว่าเดิมเป็นอันมาก สำหรับในประเทศที่พัฒนาแล้วเช่น สหรัฐอเมริกา โครงการขนาดใหญ่ เช่น โครงการสำรวจอวกาศ หรือการค้นคว้าพลังงานใหม่ซึ่งแต่ละโครงการต่างต้องใช้เวลานานหลายปีหรือ หลายสิบปี หรือกรณีของการลงทุนในโครงการใหญ่ เช่น ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ในกรุงเทพมหานคร เหล่านี้ต่างก็ส่งผลกระทบทำให้หน้าที่งานและสภาพของงานเปลี่ยนแปลงไปอย่าง มาก กล่าวคือ จะทำให้เกิดมีองค์การขนาดใหญ่ขึ้นมาเป็นจำนวนมาก เพื่อเข้ามาช่วยในการผลิตงานตามโครงการดังกล่าว
    ปัญหาซ้ำหนักกว่านี้ยังมีอีก คือ โครงการใหม่ๆหลายโครงการมีช่วงอายุสั้นมาก โดยเปรียบเทียบกับที่ผ่านมา ทั้งนี้ เพราะถูกทดแทนจากเทคโนโลยีที่ใหม่และทันสมัยกว่าเก่า ซึ่งดูได้จากสาขาคอมพิวเตอร์ ซึ่งการพัฒนาใหม่ๆทำให้รุ่นปัจจุบันล้าสมัยไปในทุกๆ 5-6 ปี ภายใต้สภาวะการเช่นนี้ องค์การซึ่งไม่ได้คาดการณ์และวางแผนอนาคต อาจจะพบว่าสินค้าและบริการใหม่ๆที่เตรียมไว้อาจล้าสมัยไปก่อนที่จะมีโอกาสไป สู่ตลาด ธุรกิจบางแห่งที่ได้เคยลงทุนเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้และเคยคาดหมายว่า จะมีอายุการใช้งานสักสิบยี่สิบปีนั้น ต้องเปลี่ยนไปลงทุนซื้อเครื่องใหม่ในเวลาเพียงไม่กี่ปี เพราะประสิทธิภาพรุ่นใหม่ที่ดีขึ้นอย่างรวดเร็วจากผู้ผลิตที่พัฒนาขึ้นมา ทำให้เครื่องเก่าที่ควรมีอายุการใช้งานสักยี่สิบปีต้องมีอายุเหลือไม่ถึงสิบ ปี เพราะผลจากเครื่องใหม่ไที่ออกมานั่นเอง

ประโยชน์ของการวางแผนที่จะมีต่อการบริหารภายในองค์การ
ขณะที่แรงผลักดันจากภายนอกมีอิทธิพลทำให้ความจำเป็นที่จะต้องวางแผนมีเพิ่ม มากยิ่งขึ้นนั้น แรงผลักดันจากภายในองค์การก็มีอิทธิพลทำให้การวางแผนมีความสำคัญเช่นกัน แรงกดดันภายในหลายประการเป็นผลมาจากการที่บุคคลต่างๆจำต้องพยายามให้ผลงาน ที่ทำวันต่อวันของตนมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถส่งผลไปถึงองค์การโดยส่วนรวมให้ได้นี้เอง จึงทำให้การวางแผนมีความจำเป็นและสำคัญที่ขาดไม่ได้ ทั้งนี้ เพราะเหตุผลความจำเป็นประการต่างๆ ต่อไปนี้ คือ

  1. เป็นเครื่องกำหนดทิศทางขององค์การ
  2. เพื่อใช้วัดความสำเร็จ
  3. ใช้สำหรับประสานกำลังความพยายามภายในองค์การ
ข้อจำกัดของการวางแผน
การวางแผนแม้จะมีข้อดีหลายๆประการก็ตาม แต่ในที่สุดการวางแผนจะไม่ใช่เป็นคำตอบสำหรับปัญหาทุกประการที่เกิดขึ้น และจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้กับทุกคนหรือทุกองค์การได้ทั้งหมด เช่นเดียวกันกับกระบวนการผลิตของเรื่องใดๆก็ตาม ซึ่งคุณภาพของผลผลิตที่จะได้ผลดีหรือได้มากที่สุด ก็เพียงเท่ากับคุณภาพของวัตถุดิบที่ใส่เข้าไปเท่านั้น (ทำนองเดียวกับนักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เคยมีคำพูดสำหรับตัวอย่างที่ดี นี้ว่า "ถ้าใส่ขยะเข้าไป ก็แน่นอนสิ่งที่ออกมาก็ต้องเป็นขยะด้วย") อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสิ่งที่ใส่เข้าไปจะเป็นของดี การวางแผนก็อาจไม่มีประสิทธิภาพได้เช่นกัน เพราะว่า ถึงอย่างไรก็ตาม การวางแผนก็ยังเป็นเพียงสิ่งที่เขียนขึ้นที่ยังมิได้มีการปฏิบัติจริง ผลประโยชน์หรือข้อดีที่จะได้มานั้นจะขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนที่รับผิดชอบใน การกระทำจะต้องมีความเชื่อถือและมีศรัทธาในกระบวนการวางแผนนี้เสมอ เพราะถ้าไม่เช่นนั้นแล้วผู้บริหารนั้นๆ ก็จะมีทัศนะเกี่ยวกับการวางแผนว่า "เป็นเพียงแบบฝึกหัดทางวิชาการ" เท่านั้น และจะยังคงกระทำตามวิธีที่เคยกระทำมาแล้วโดยมิได้มีสิ่งใหม่เกิดขึ้น สำหรับความเชื่อในกระบวนการวางแผนนั้นหากจะมีได้ โดยมากมักจะต้องมาจากกรณีที่ผู้บริหารผู้นั้นได้เคยมีประสบการณ์ที่ดี โดยสามารถประสบความสำเร็จอันเนื่องมาจากการทำแผนโดยตรง ดังนั้น เพื่อที่ผู้บริหารจะได้มีโอกาสประสบความสำเร็จได้ ก็ควรที่ผู้บริหารจะต้องยอมหันมาทดลองทำการวางแผน โดยอาจนำมาทดลองทำกับบางส่วนหรือบางหน่วยงานขององค์การของตนก่อนก็ได้

แม้จะเป็นการแน่นอนที่ว่า การวางแผนจะสามารถชี้จุดอ่อนในองค์การได้ก็ตาม แต่การวางแผนก็ไม่อาจเป็นตัวทดแทนที่จะนำมาชดเชยการเสียหายที่เกิดจากการ บริหารด้านอื่นๆได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าหากการติดต่อสื่อสารไม่ดีอยู่แล้ว ดังนั้น แผนงานที่ดีอาจไม่เป็นที่เข้าใจของฝ่ายอื่นๆในองค์การได้เสมอ ทำนองเดียวกัน ถ้าพนักงานมีแรงจูงใจต่ำอยู่แล้วเช่นนี้ ความตั้งอกตั้งใจกระตือรือร้นทำแผนให้ดีก็จะไม่มีเลยก็ได้

บทบาทของการวางแผนในกระบวนการบริหาร
การบริหารเป็นกระบวนการที่ผู้บริหารในองค์การต่างๆนำมาใช้เพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์ขององค์การ ทั้งนี้โดยวิธีการรวมกลุ่มคน และโดยการกระจายทรัพยากรไปให้กลุ่มเหล่านั้น ซึ่งเราจะสามารถมองเห็นได้เหมือนกันไปหมดว่า ทุกองค์การจะประกอบด้วยคนกลุ่มหนึ่งหรือหลายกลุ่มที่ประกอบเข้าด้วยกัน โดยแต่ละกลุ่มต่างพยายามทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ของตน และโดยการเข้าไปมีส่วนร่วมในองค์การด้วย ดังนั้น เพื่อให้สามารถบรรลุผลสำเร็จ ผู้บริหารทั้งหลายขององค์การจึงต้องเกี่ยวข้องกับการทำงานอีกหลายด้านพร้อม กันไปด้วย คือ การต้องเกี่ยวข้องกับกระบวนการต่างๆดังต่อไปนี้

  1. การจูงใจคน หรือการชักจูงบุคคลในองค์การ
  2. การสื่อสารภายในองค์การและการสื่อความกับภายนอกองค์การ
  3. การดำเนินการตัดสินใจ
  4. การควบคุมองค์การโดยอาศัยข้อมูลที่ได้รับจากทั้งภายในและภายนอกองค์การ
  5. การสร้างความสมดุลในองค์การที่จะให้เกิดความคล่องตัว สามารถปรับตัวให้เหมาะสมตามความจำเป็นและความต้องการต่างๆ
  6. การค้นหาโอกาสใหม่ๆ
กระบวนการวางแผนจะเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยให้ผู้บริหารทุ่มเทสนใจและจดจ่อ อยู่กับหน้าที่งานในแต่ละหน้าที่ของตนทั้ง 6 ประการได้ ข้อดีของกลไกการวางแผนในการช่วยเหลือผู้บริหารให้สามารถจดจ่อปฏิบัติหน้าที่ การบริหารต่างๆได้นี้ จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งหัวหน้างานในหน่วยเล็กที่สุดในองค์การ ไปจนถึงกลุ่มผู้บริหารระดับสูงสุด ทั้งนี้ เพราะกิจกรรมงานที่ต้องทำของหัวหน้างานนั้น แท้จริงก็ไม่แตกต่างกับของผู้บริหารระดับสูงสุด เพียงแต่แตกต่างกันในขอบเขตของกิจกรรม และระดับของงานที่สูงต่ำต่างกันเท่านั้นเอง ตารางที่ 1 แสดงให้เห็นความแตกต่างและความคล้ายคลึงกันในหน้าที่งานเหล่านี้ เริ่มตั้งแต่ที่เป็นของระดับรายบุคคล (ที่เป็นส่วนตัว) ไปจนถึงหัวหน้างานระดับต้น และไปจนถึงผู้บริหารระดับสูง

ตารางที่ 1 การวางแผนและความสัมพันธ์ที่มีต่อกระบวนการบริหารอื่นๆ

กระบวนการวางแผนมีส่วนช่วยกระบวนการจูงใจได้ดังนี้ คือ
การกำหนดวัตถุประสงค์ระยะยาว จะเอื้ออำนวยให้บุคคลสามารถอ้างอิงและนำไปสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ส่วนตัว ของเขาได้ การมีโอกาสเห็นถึงความก้าวหน้าและสามารถบรรลุถึงวัตถุประสงค์ในระยะยาวของตน เองนั้น จะกลายเป็นเครื่องมือที่มีอิทธิพลใช้จูงใจได้อย่างมาก

หน้าที่งาน
แต่ละบุคคล
ผู้บริหารระดับต้น (หัวหน้างาน หรือหัวหน้าแผนก)
ผู้บริหารระดับสูง (ประธาน หรือผู้ว่าการ หรือผู้จัดการ ฯลฯ)
ด้านการจูงใจ จะให้แต่ละคนรักษาระดับ แรงจูงใจของตนเองให้มีอยู่ เสมออย่างไร ทั้งนี้แม้จะเป็น การทำงานประจำก็ตาม ความพยายามในที่นี้ก็คือ การพยายามรักษากำลังความ พยายามให้มีอยู่ และการมุ่ง รักษาระดับความสนใจ และ วิธีการที่จะบรรลุถึงความสำเร็จ ในอาชีพ และความเติบโต ก้าวหน้าของตนเอง มุ่งเน้นสนใจเกี่ยวกับวิธีการ รักษาแรงจูงใจของพนักงาน เพื่อรักษาระดับการผลิตให้สูง และลดความสูญเปล่าและ การไม่มีประสิทธิภาพในการ ปฏิบัติงานในแต่ละวันให้หมด สิ้นไปให้ได้มากที่สุด เกี่ยวข้องสนใจต่อปัจจัยที่มีผล ต่อการจูงใจในระยะยาว โดย เฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้บริหาร ระดับกลางและสูงขึ้นมา การจูงใจเหล่านี้จะรวมถึงค่านิยม และศีลธรรมจรรยาขององค์การ ระดับการจ่ายผลตอบแทนทั้งปวง และความเป็นผู้นำของผู้ บริหารระดับสูงด้วย


กระบวนการวางแผนมีส่วนช่วยกระบวนการติดต่อสื่อสารได้ดังนี้ คือ
เอื้ออำนวยให้มีช่องทางการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสำหรับการกำหนดวัตถุประสงค์ของบริษัทเป้าหมาย และการตัดสินใจต่างๆภายในองค์การ

หน้าที่งาน
แต่ละบุคคล
ผู้บริหารระดับต้น (หัวหน้างาน หรือหัวหน้าแผนก)
ผู้บริหารระดับสูง (ประธาน หรือผู้ว่าการ หรือผู้จัดการ ฯลฯ)
ด้านการติดต่อสื่อสาร

เป็นการติดต่อสื่อสารกับคนงาน ผู้บริหาร ญาติมิตร และอื่นๆ สาระของการติดต่อสื่อสารนั้น ส่วนใหญ่มักเป็นเรื่องเกี่ยวกับงาน ไม่เช่นนั้นก็จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้อง กับความรู้สึกส่วนตัว การคาดหมายต่างๆ ความนึกคิดและอื่นๆ

การติดต่อสื่อสารจะทำกับผู้ ใต้บังคับบัญชาเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะการแนะนำสอน งานเฉพาะอย่าง การถ่าย ทอดนโยบาย การประเมินผล การปฏิบัติงาน และอื่นๆ การติดต่อสื่อสารจากข้างล่าง ขึ้นบนส่วนใหญ่จะเน้นหนักที่ รายงานเพื่อการควบคุม และ ปัญหาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติ งานโดยทั่วไป สำหรับการติด ต่อสื่อสารภายนอกนั้นจะมี จำกัดเฉพาะในกลุ่มลูกค้าบาง กลุ่มเท่านั้น และโดยมากมัก จะเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ ระยะสั้น ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการติดต่อ สื่อสารกับกลุ่มผลประโยชน์ ต่างๆ เช่น ลูกค้า รัฐบาล เจ้าหนี้ และอื่นๆ สาระสำคัญ จะเน้นถึงเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ ระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น นโยบายขององค์การ และ ความสัมพันธ์ส่วนตัวต่างๆ


กระบวนการวางแผนมีส่วนช่วยกระบวนการตัดสินใจดังนี้ คือ
ช่วยเสริมสร้างโครงร่างหรือกรอบการวิเคราะห์ ซึ่งสามารถกลายเป็นมาตรฐานหรือแนวทางที่จะใช้พิจารณาว่า การตัดสินใจที่พวกเขาได้ทำไปนั้นมีความสอดคล้องเข้ากันได้กับแผนขององค์การ หรือไม่ นอกจากนี้ กระบวนการวางแผนยังเอื้ออำนวยให้มีข้อสมมติเฉพาะเรื่องต่างๆที่เกี่ยวกับ เรื่องราวในอนาคต ที่ซึ่งจะสามารถช่วยเหลือให้การตัดสินใจที่ต้องกระทำอยู่ตลอดเวลานั้น ให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ

หน้าที่งาน
แต่ละบุคคล
ผู้บริหารระดับต้น (หัวหน้างาน หรือหัวหน้าแผนก)
ผู้บริหารระดับสูง (ประธาน หรือผู้ว่าการ หรือผู้จัดการ ฯลฯ)
ด้านการตัดสินใจ

การตัดสินใจส่วนใหญ่เป็นการ ตัดสินใจในระยะสั้น และแม้ ว่าการตัดสินใจที่สำคัญๆที่ เกี่ยวกับอาชีพ การแต่งงาน และชีวิตครอบครัว ซึ่งต่างก็ จะเป็นการตัดสินใจที่มีผล กระทบในระยะยาวก็ตาม กระบวนการตัดสินใจเหล่านี้ มักจะมิได้มีการเขียนวิเคราะห์ ขึ้นมาอย่างเป็นทางการ

การตัดสินใจส่วนมากมักจะมี ผลกระทบในระยะสั้น และมี ขอบเขตแคบ การตัดสินใจ ต่างๆที่เป็นไปนั้น มักจะขึ้น อยู่กับชนิดของข้อมูลทั้งขาขึ้น จากล่างขึ้นบน และขาล่อง จากบนลงล่าง ซึ่งต่างก็จะมี ผลอย่างสำคัญต่อการตัดสิน ใน การตัดสินใจต่างๆจะ คำนึงถึงทั้งวัตถุและคน การตัดสินใจเหล่านี้อาจมีการทำ การตัดสินใจโดยมีการเขียน เป็นแบบฟอร์มทางการด้วย เป็นการตัดสินใจที่มีผลกระทบ ต่อระยะยาวและครอบคลุม ขอบเขตที่กว้าง ส่วนมากจะมี การคำนึงถึงอิทธิพลกระทบ จากภายนอก (เช่น การแข่งขัน เศรษฐกิจ ลูกค้า ฯลฯ) การตัดสินใจต่างๆมักจะมุ่งถึงเรื่อง การเงินและคนเป็นส่วนใหญ่ และบ่อยครั้งที่กระบวนการนี้ มักจะมีการใช้ทีมงานวิชาการ ช่วยในการจัดทำรายงานการ ศึกษาต่างๆ แต่การตัดสินใจ ขั้นสุดท้ายจะขึ้นอยู่กับการใช้ ดุลยพินิจหรือวิจารณญาณ หรือเป็นการตัดสินใจที่เป็นนาม ธรรมเป็นหลักใหญ่


กระบวนการวางแผนมีส่วนช่วยต่อกระบวนการควบคุมได้โดยตรง คือ
การวางแผนทำให้เกิดวิธีที่เป็นระเบียบแบบแผนในการกำหนดมาตรฐานผลงานต่างๆที่ ซึ่งสามารถจะนำมาใช้เปรียบเทียบข้อมูลเกี่ยวกับผลการดำเนินงานที่ทำได้จริง

หน้าที่งาน
แต่ละบุคคล
ผู้บริหารระดับต้น (หัวหน้างาน หรือหัวหน้าแผนก)
ผู้บริหารระดับสูง (ประธาน หรือผู้ว่าการ หรือผู้จัดการ ฯลฯ)
ด้านการควบคุม โดยอาศัยระบบ ข้อมูล

โดยทั่วไปมักจะได้รับข้อมูล โดยตรงจากสื่อสารที่มาจาก มวลชน หรือโดยอาศัยการ สังเกตส่วนตัว การสนอง ตอบหรือการปฏิบัติตอบมัก จะเป็นในลักษณะโดยตรงและ ทันทีทันใด ด้วยข้อมูลย้อน กลับที่ได้รับมาจากกระบวนการ ควบคุม จะทำให้ทราบถึง ระดับของผลงานที่เป็นไปว่า ตรงตามเป้าได้ตามระดับที่ คาดหมายไว้หรือไม่ และถ้าหากไม่ ก็จะทราบถึงขนาด ของผลการปฏิบัติงานก็แตก ต่างไปจากแผนซึ่งได้วางไว้ แล้ว

ข้อมูลมักจะได้รับมาจากการ สังเกตเหตูการณ์ต่างๆ โดยตรง ข้อมูลภายในส่วนมาก มักจะมาจากระดับที่สูงกว่า ลงไปที่ผู้บริหารระดับต้น ถ้าเปรียบเทียบกันแล้ว ข้อมูล จากภายนอกองค์การจะมีการ นำมาใช้น้อยมาก จะมีก็แต่ เฉพาะจากกลุ่มซึ่งต้องทำงาน เกี่ยวข้องกับตัวแทนหรือลูกค้า ที่อยู่ในภายนอก การควบคุมถูกนำมาใช้อย่างรวดเร็ว และโดยตรงทันที เมื่อสามารถทราบผลจากการเปรียบเทียบระหว่างข้อมูล ผลงานกับมาตรฐานหรือสิ่งที่คาดหวังไว้ เมื่อผลการปฏิบัติงานของ บุคคลหรือกลุ่มแตกต่างจาก แผน ก็จะต้องดูว่าผลต่างนั้น เกิดจากปัญหาระยะสั้นหรือ การเปลี่ยนแปลงที่ไม่อาจควบคุม ได้หรือเปล่า ถ้าหากผลต่างนั้นจะกระทบกระเทือนถึง ผลการปฏิบัติงานของคนอื่น และแผนการต่างๆแล้วก็ จำเป็นต้องรีบบอกกล่าวให้ทราบ หรือปรึกษากันทันที การควบคุมจะได้จากข้อมูลที่ได้ วิเคราะห์กลั่นกรองแล้ว และ จะเป็นข้อมูลที่มาจากระดับข้าง ล่างที่ไหลขึ้นไปเบื้องบน และมักจะมีการใช้ข้อมูลจากภาย นอกองค์การอย่างกว้างขวาง ด้วย ข้อมูลส่วนใหญ่ไม่ได้มา จากการสังเกตโดยตรง แต่จะ มาจากฝ่ายอื่นในภายนอกที่ ได้จัดทำขึ้นมา การสนองตอบ การควบคุมมักจะเป็นไปโดยล่าช้า การเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงในการ ปฏิบัติงานของกลุ่มอาจ ทำให้ผลงานแปรผันไปจาก แผนได้เสมอ ในการควบคุม นี้นับว่าเป็นเรื่องสำคัญยิ่งที่จะ ต้องทราบว่า อะไรที่เปลี่ยน แปลงไปจากที่คาดคิดไว้ และ ผลการปฏิบัติงานทั้งหมดจะ สามารถเป็นไปตามแผนที่วาง ไว้หรือไม่ ซึ่งถ้าหากเป็นเรื่อง เป็นไปไม่ได้หรือผิดจากที่คาด คิดไว้มาก บางครั้งก็อาจจำเป็น ต้องพิจารณาหรือจัดทำแผนขึ้นมาใหม่


ลักษณะและขอบเขตของการวางแผน
กระบวนการวางแผน หมายถึง การตัดสินใจแบ่งสันทรัพยากรในปัจจุบันเพื่อที่จะให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ ต่างๆในอนาคต ขั้นตอนหรือกระบวนการวางแผนนี้มักจะมีการยึดถือปฏิบัติเป็นส่วนมากในองค์การ ขนาดใหญ่ทั้งหลาย แต่อย่างไรก็ตาม ส่วนมากแล้วมักจะไม่รู้ถึงคุณค่าข้อดีของกระบวนการวางแผนที่จะเป็นประโยชน์ อย่างมากมาย ทั้งนี้โดยไม่จำกัดว่าจะเป็นองค์การขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก และแม้แต่การนำเอาการวางแผนมาปรับใช้กับชีวิตส่วนตัวของแต่ละคนด้วย

โดยปกติการวางแผนมักจะต้องเกี่ยวข้องอยู่กับกระบวนการ หรือระบบของข้อมูลตลอดเวลา เช่น ข้อมูลที่เข้ามาในระบบ กิจกรรมต่างๆที่ดำเนินไป ข้อมูลเกี่ยวกับผลผลิต และข้อมูลย้อนกลับของระบบที่บอกให้ทราบถึงประสิทธิภาพและความเป็นไปของระบบ ทั้งหมด ส่วนประกอบที่สำคัญของกระบวนการวางแผนจะประกอบด้วย

  1. การพิจารณากำหนดข้อสมมติฐานเกี่ยวกับอนาคตโดยพิจารณาจากปัจจัยที่มีอิทธิพล ที่มาจากทั้งภายนอกและภายใน ประกอบกับการคาดการณ์แนวโน้มของเรื่องที่เกี่ยวข้องและที่จะกระทบต่อองค์การ
  2. การพิจารณากำหนดวัตถุประสงค์ระยะยาวซึ่งเป็นการระบุถึงจุดมุ่งหมายทัวไปขององค์การ
  3. พัฒนากลยุทธ์ที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้องค์การสามารถดำเนินไปสู่วัตถุประสงค์ ต่างๆได้ โดยการใช้ประโยชน์จากปัจจัยภายนอกและภายในอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
  4. จัดทำเป้าหมายระยะปานกลางที่ซึ่งได้มีการระบุถึงผลสำเร็จขององค์การ ที่ประสงค์จะทำให้เสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด
  5. กำหนดแผนดำเนินงานต่างๆ ที่จำเป็นต้องทำเพื่อจะสามารถแบ่งสันทรัพยากรที่พอเพียง เพื่อสำหรับการทำงานที่จะบรรลุเป้าหมายได้ในที่สุด
  6. การปฏิบัติตามแผนที่กำหนดไว้
  7. ดำเนินการให้มีการสรุปผลและรวบรวมข้อมูลย้อนกลับ ทั้งนี้เพื่อสามารถนำผลงานที่ได้ปฏิบัติไปแล้วมาเปรียบเทียบกับเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ต่างๆที่ได้ระบุไว้ตั้งแต่เริ่มแรก
ภาระกิจในการจัดทำแผนนี้จะมีอยู่ในระดับต่างๆกัน สำหรับการวางแผนในระดับกลยุทธและการวางแผนในระดับดำเนินงานต่างก็จะมีการ เน้นถึงส่วนประกอบของกระบวนการวางแผนแตกต่างกันออกไป แต่ลักษณะโดยทั่วไปนั้น ทั้งองค์การและตัวบุคคลส่วนมากมักจะทุ่มเทเวลาและสนใจทำการวางแผนดำเนินงาน ที่เป็นงานประจำ มากกว่าที่จะสนใจทำการวางแผนกลยุทธ แม้จะทราบความจริงอยู่เสมอว่า แผนกลยุทธปกติจะมีความหมายความสำคัญและมีผลต่อความสำเร็จขององค์การได้ มากกว่าก็ตาม

การวางแผนส่วนมากมักจะกระทำกันทั้งในสายงานปฏิบัติ (Line) และฝ่ายให้คำปรึกษา (Staff) ซึ่งการเข้ามีส่วนร่วมจากทั้งสองฝ่ายต่อการวางแผนก็จะเป็นประโยชน์ได้มาก และถ้าจะว่ากันถึงเรื่องวิธีการวางแผนแล้ว ก็อาจพูดได้ว่า มีหลายๆกรณีที่กระบวนการวางแผนสามารถดำเนินไปได้จนเสร็จสิ้นโดยที่อาศัยวิธี การวางแผนที่กระทำอย่างไม่เป็นทางการเท่านั้น แต่การจัดให้มีระบบการวางแผนขึ้นมาใช้ปฏิบัติอย่างเป็นทางการนั้น นับว่าเป็นวิธีที่ถูกต้องกว่าที่แพร่หลายอย่างมากในวงการต่างๆ ซึ่งคุณประโยชน์ของการมีระบบการวางแผนนี้จะช่วยให้แผนงานมีคุณภาพยิ่งขึ้น และจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งบุคคลต่างๆที่ทำแผน และองค์การโดยเฉพาะองค์การขนาดใหญ่ด้วยพร้อมกัน

เพื่อการเข้าใจถึงกระบวนการวางแผนที่ถูกต้องและลึกซึ้งที่จะนำไปใช้อย่างได้ ผล ในที่นี้จะได้พิจารณาถึงเรื่องราวของกระบวนการวางแผน 5 ประการ (เป็นลำดับเรื่อยไป) คือ

  1. การกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
  2. แนวคิดเกี่ยวกับกลยุทธ
  3. ระยะเวลาในการวางแผน
  4. การเสริมสร้างให้เกิดความร่วมมือในการวางแผน
  5. การใช้แผนงานเพื่อการปฏิบัติงานอย่างได้ผล
การกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
การกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายนั้น วิธีการต้องเข้าใจถึงสภาวะที่เกี่ยวข้อง นั่นคือ การต้องรู้ว่า องค์การทุกองค์การซึ่งเช่นเดียวกับแต่ละบุคคลต่างก็เกี่ยวข้องอยู่กับแรงกด ดันภายในและแรงกดดันภายนอกพร้อมกัน และยังอยู่ภายใต้อิทธิพลมหภาคของระบบสภาพแวดล้อมภายนอกของเศรษฐกิจ รัฐบาลและสังคม ที่เกี่ยวข้องกันและมีการเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา พร้อมกับความก้าวหน้าของเทคนิควิทยาการต่างๆ

ในทางปฏิบัติการกำหนดวัตถุประสงค์ จะต้องกระทำโดยมีการกำหนดข้อสมมติฐานเกี่ยวกับอนาคตของปัจจัยต่างๆที่ เปลียนแปลงไปว่า ลักษณะจะเป็นอย่างไร มีข้อจำกัดหรือโอกาสอะไรบ้าง หรือนั่นก็คือ กระบวนการกำหนดโครงรูปของการวางแผนนั่นเอง

วัตถุประสงค์และเป้าหมาย ลักษณะจะคล้ายกันหรือเหมือนกัน ถ้าจะแตกต่างกันบ้างก็ตรงที่ วัตถุประสงค์จะหมายถึงสิ่งที่มุ่งหวังและต้องการจะให้เป็นไปในระยะยาว ส่วนมากมักจะต้องมีการระบุหรือเขียนขึ้นเป็นข้อความที่ชัดเจนพอที่จะใช้อ้าง อิงหรือชักจูงใจสมาชิกผู้ปฏิบัติได้ แต่เป้าหมายจะเป็นการระบุถึงผลสำเร็จของงานที่ทำที่เกี่ยวข้องกับระยะเวลา อันสั้น โดยมากมักจะมีการระบุเฉพาะเจาะจงเป็นผลสำเร็จของงานแต่ละด้านไป ซึ่งในทางปฏิบัติขององค์การธุรกิจ เป้าหมายมักจะมุ่งพยายามระบุออกมาเป็นจำนวนตัวเลขที่สะดวก ง่าย และชัดเจนสำหรับการวัดผลความสำเร็จด้วย

การพัฒนาวัตถุประสงค์และเป้าหมาย มีแนวทางที่จะจัดทำได้ 3 วิธีด้วยกัน คือ โดยวิธีระบุจากบนลงล่าง โดยผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้กำหนด หรือวิธีที่สอง โดยวิธีปรึกษาหารือกันระหว่างเจ้าหน้าที่บริหาร หรือโดยการใช้เจ้าหน้าที่ช่วยวางแผนให้จัดทำให้ และการใช้วิธีรวบรวมความเห็นจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติข้างล่างขึ้นมาเป็น ลำดับๆ รวมเป็นวัตถุประสงค์ขององค์การในที่สุด

กลยุทธ์
กลยุทธ์จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการต้องออกแบบเรื่องที่มีขอบข่ายกว้าง และใหญ่โตมาก ซึ่งมักจะกระทำโดยบุคคลซึงหวังจะให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ของเขา การพัฒนากลยุทธสามารถทำได้สำเร็จได้ในทุกระดับขององค์การ ไม่เพียงเฉพาะผู้บริหารระดับสูงเท่านั้น และนับว่าเป็นเรื่องจำเป็นยิ่งในกระบวนการสร้างสรรค์ที่จะเลือกจากทางเลือก หลายๆ ทางที่มีอยู่มากมายเป็นชุด ซึ่งทางเลือกเหล่านี้จะเป็นแนวทางที่มีการใช้ประโยชน์สูงสุดจากแรงกดดัน มหภาคในภายนอก ซึ่งจะเอื้ออำนวยให้องค์การหรือบุคคลเคลื่อนไปสู่วัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ได้

คำถามที่สำคัญที่จะต้องถามในการพัฒนากลยุทธ์ ได้แก่

  1. ใครคือลูกค้าของฉัน
  2. ฉันควรจะผลิตสินค้าหรือบริการอะไร
  3. สินค้าควรจะจัดสรรหรือกระจายจัดจำหน่ายไปอย่างไร
  4. กลยุทธราคาควรเป็นอย่างไรจึงจะดีที่สุด
  5. ความสัมพันธ์กับกลุ่มผลประโยชน์ควรจะเป็นอย่างไร
  6. ทรัพยากรควรจะมาจากแหล่งใด
  7. ทรัพยากรจะจัดสรรไปอย่างไร
กลยุทธต่างๆต่างก็จะสามารถสร้างขึ้นมาได้โดยการทบทวนทางเลือกต่างๆทั้งหมด และมุ่งสู่ทิศทางใหม่ (ด้วยก้าวใหญ่ๆที่สำคัญ) หรืออาจจะโดยการปรับปรุงแก้ไขบ้างเล็กน้อยในกลยุทธที่มีอยู่แล้ว (ด้วยการก้าวขยับทีละน้อย) ซึ่งโดยปกติลักษณะขององค์การและโอกาสที่มองเห็นได้ มักจะมีอิทธิพลอย่างมากต่อการกำหนดแบบของวิธีการกำหนดกลยุทธที่แตกต่างกัน

ภายหลังจากที่กลยุทธได้มีการพัฒนาขึ้นแล้ว ก็อาจจะสามารถนำมาวิเคราะห์ศักยภาพ หรือโอกาสที่จะนำมาใช้ได้ผล ทั้งนี้โดยการตั้งคำถาม เช่น

  1. วัตถุประสงค์และกลยุทธกำลังดำเนินไปโดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกันหรือไม่ หรือไขว้ทางกัน
  2. กลยุทธได้มีการคาดการณ์แนวโน้มในอนาคตและเงื่อนไขต่างๆด้วยหรือไม่
  3. มีทรัพยากรพอเพียงที่จะสนับสนุนกลยุทธ์หรือไม่
  4. ขนาดความเสี่ยงที่มีอยู่ยอมรับได้หรือไม่
  5. กลยุทธ์เหมาะสมดีกับเวลาหรือไม่
  6. กลยุทธ์สามารถใช้งานหรือนำมาใช้ปฏิบัติได้จริงหรือไม่
เวลาในการวางแผน
ในเรื่องของระยะเวลาการวางแผนที่จะกระทำออกไปในอนาคตนานเท่าใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับว่า จะต้องมีการทำอะไรบางอย่างให้เสร็จเพื่อที่ผลงานตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย จะสำเร็จลงได้ นอกจากนี้ขนาดของเวลาในการวางแผนจะมียาวนานเพียงใด ย่อมขึ้นกับการตัดสินใจต่างๆที่กระทำในทุกวันนี้ที่จะมีผลกระทบไปในอนาคตได้ ยาวนานเท่าใดอีกด้วย โดยปกติแม้ว่าแผนกลยุทธ์ขององค์การมักจะมีการจัดทำสำหรับ 3-5 ปีก็ตาม แต่ในความเป็นจริงนั้น ขนาดของเวลาของแผนจะเป็นเท่าใดย่อมขึ้นอยู่กับความต้องการและความจำเป็นเป็น สำคัญ นอกจากนี้สำหรับภายในองค์การ ระยะเวลาของแผนของแผนกต่างๆยังแตกต่างกันออกไปได้ตามความจำเป็น และความยุ่งยากของกิจกรรมที่แตกต่างกันอีกด้วย

โดนปกติทั่วไปนั้น ผู้บริหารที่เติบโตไปในตำแหน่งที่สูงขึ้นในองค์การนั้น ต่างก็ต้องใช้เวลาทุ่มเทกับการวางแผนมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่ง ณ ระดับที่สูงขึ้นนี้ ผู้บริหารจะต้องมีวิสัยทัศน์ที่สามารถมองได้กว้างและไกลยิ่งขึ้นกว่าที่เคย มี และจากการได้ลงมือทำการวางแผนนี้เอง ผู้บริหารจะสามารถใช้นำทางการปฏิบัติงานของกลุ่มและผู้ใต้บังคับบัญชาใน สังกัดได้

ในทางปฏิบัติที่เป็นจริงของกระบวนการวางแผนนั้น มักจะมีการปฏิบัติที่เป็นไปตามปกติของการดำเนินงานขององค์การ กล่าวคือ การปฏิบัติที่ถูกต้องนั้น จะไม่ใช่หมายถึงการต้องมาทุ่มเทเวลาสำหรับการวางแผนอย่างมากมายในช่วงใดช่วง หนึ่ง เพียงแต่ว่าก่อนจะเริ่มมีการปฏิบัติงานในรอบใหม่ ขอให้การวางแผนตามขั้นตอนต่างๆเสร็จสิ้นลงเป็นที่เรียบร้อยก็เป็นอันใช้ได้

การเข้าร่วมทำการวางแผน
ในยุคต้นๆที่องค์การพัฒนาเติบโตขึ้นมานั้น แม้ว่าบางกิจการจะมีแผนธุรกิจที่พร้อมสมบูรณ์ครบตั้งแต่ตอนเริ่มแรกก็ตาม แต่ก็มีองค์การน้อยรายที่จะมีระบบการวางแผนอย่างเป็นทางการ การวางแผนอย่างเป็นทางการมักจะมีขึ้นเมื่อผู้ประกอบการได้มีการจัดองค์การ หรือหน่วยงานเข้ารูปอย่างดีแล้ว โดยได้มีการกำหนดความรับผิดชอบของแต่ละคนได้อย่างชัดแจ้งทุกหน้าที่ การพัฒนาและจัดทำการวางแผนจึงจะเป็นเรื่องจำเป็นที่เห็นชัด และจะเป็นที่ยอมรับกันได้ง่ายว่าการวางแผนเป็นงานที่จำเป็น ในสภาพที่องค์การกำลังเติบโตโดยปราศจากการวางแผนนั้น สมาชิกทุกคนส่วนมากต่างก็จะสาละวนยุ่งอยู่กับความอยู่รอดและความเติบโตที่ เป็นปัญหาท้าทายวันต่อวันเท่านั้น แต่จะไม่มีเวลาสนใจถึงเรื่องที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะไกลและความไม่แน่นอนของ อนาคต อย่างไรก็ตาม ขณะที่มีความเติบโตนั้น องค์การจะมีความสลับซับซ้อนเพิ่มมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ความเติบโตในขนาดและความสลับซับซ้อนของงานที่กำลังเกิดขึ้นในองค์การ มักจะกระตุ้นให้ผู้บริหารเห็นความจำเป็นและต้องมีการกำหนดทิศทางอนาคต เช่น ปัญหาว่าจะซื้อเครื่องจักรอุปกรณ์มากน้อยเท่าใด จะรักษางบประมาณที่เพิ่มอย่างไร และพนักงานประเภทใดที่สมควรจะจ้างไว้บ้าง เหล่านี้ทำให้ผู้บริหารจำต้องก้าวถอยจากงานประจำวันและไปมองดูภาพในอนาคตแทน ไม่ว่าจะเป็นทางการหรือไม่ก็ตาม การวางแผนจะเริ่มที่จุดนี้ และขณะที่องค์การเริ่มจะมีปัญหาเพิ่มมากขึ้น ผู้บริหารก็ควรตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องประสานการวางแผนต่างๆให้เป็น ระบบที่ดีและมีลำดับขั้นตอน หรือกระบวนการวางแผนที่ถูกต้อง

ขั้นตอนในการนำเอาการบริหารตามเป้าหมาย (MBO) มาใช้
การนำเอาวิธีการบริหารตามเป้าหมายมักจะประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ซึ่งต้องปฏิบัติไปตามลำดับขั้น โดยต้องทำเสร็จสิ้นขั้นหนึ่งก่อนจึงจะไปเริ่มขั้นตอนต่อไป

ขั้นที่ 1 การกำหนดความรับผิดชอบงาน


ความรับผิดชอบเหล่านี้ควรจะมีการระบุออกมาชัดเจนเป็นผลงานที่คาดว่าจะได้รับ ผลสำเร็จของงานควรจะจำกัดระบุให้กับพนักงานที่ซึ่งพนักงานนั้นจะสามารถควบ คุมงานของตนเองได้มาก ตัวอย่างเช่น พนักงานสารบรรณก็ย่อมจะสามารถระบุผลงานอย่างมีเหตุผลได้ว่าจะต้องรักษาแฟ้ม เรื่องให้เรียบร้อย เป็นระเบียบและทันเหตุการณ์ ซึ่งหากได้มีการระบุชัดเช่นนี้ พนักงานก็ย่อมจะมีความคิดอ่านหรือทำงานดีขึ้นอย่างแน่นอน เพราะเหตุที่ว่า ผลงานของเขาเหล่านั้นได้ผูกติดอยู่กับผลงานที่กลุ่มหรือแผนกได้กำกับหรือคาด หมายเอาไว้

ขั้นที่ 2 การพัฒนาเป้าหมายสำหรับแต่ละคน


วัตถุประสงค์หลักที่สำคัญอย่างหนึ่งของการบริหารงานตามเป้าหมายก็คือ พยายามที่จะนำเป้าหมายของบุคคลและองค์การมาให้ใกล้กันหรือเข้ากันได้ แม้ว่าเป้าหมายของบุคคลและองค์การจะไม่มีทางตรงกันได้หมดก็ตาม อย่างน้อยก็ขอให้เคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน ในสภาพเช่นว่านี้ ถ้าองค์การบรรลุถึงเป้าหมายส่วนใหญ่ บุคคลก็อาจจะบรรลุถึงเป้าหมายของเขาหลายๆเป้าหมายได้ด้วย หรือกลับกัน การกำหนดเป้าหมายให้กับแต่ละบุคคลในกระบวนการบริหารตามเป้าหมาย จะสามารถจัดรูปเป้าหมายขององค์การขึ้นมาได้ด้วยเช่นกัน ทำนองเดียวกันกับเป้าหมายองค์การก็สามรถช่วยจัดรูปเป้าหมายบุคคลได้ด้วยเช่น กัน

เป้าหมายอาจเป็นรูปปริมาณและ คุณภาพ ในเชิงปริมาณจะหมายถึงว่า สามารถวัดเป็นจำนวนได้ เช่น "สำรวจตึก 200 หลังเพื่อป้องกันอัคคีภัยภายในสิ้นปี" สำหรับเป้าหมายเชิงคุณภาพนั้นยากกว่าที่วัดในเชิงปริมาณ เป้าหมายเชิงคุณภาพอาจเป็น "กำหนดโปรแกรมอบรมสำหรับพยาบาลที่จ้างมาใหม่ " เป้าหมายนี้จะถูกวัดในแง่ที่ว่า ได้มีการจัดโปรแกรมอบรมขึ้นจริงหรือไม่ และการพิจารณาต่อไปถึงลักษณะคุณภาพของโปรแกรมที่จัด

ขั้นที่ 3 ตกลงเป้าหมายกันระหว่างหัวหน้างานกับพนักงาน


สองคนนี้ควรจะนั่งลงและทบทวนเป้าหมายของพนักงาน และความสัมพันธ์ที่มีต่อเป้าหมายองค์การ การตกลงดังกล่าวนี้มิใช่เพียงแต่พยายามคำนึงถึงเป้าหมายผลงานขององค์การเท่า นั้น หากแต่จะต้องพิจารณาคลุมไปถึงผลสำเร็จของผู้ทำงานแต่ละคนที่จะได้รับด้วย ในอีกแง่หนึ่งก็คือ ทั้งฝ่ายบริหารและพนักงานควรจะเห็นพ้องกันทั้งสองฝ่ายว่า เป้าหมายนั้นจะสามารถทำให้สำเร็จบรรลุผลได้จริง

ขั้นที่ 4 กำหนดมาตรฐานในการวัดผล


ความสำเร็จของทั้งเป้าหมายเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพนั้น คือ การต้องสามารถวัดผลได้นั่นเอง ดังนั้น เมื่อทำการวางแผนเสร็จควรจะต้องมีความเข้าใจที่ชัดเจนว่า จะวัดผลความสำเร็จของเป้าหมายทั้งสองแบบนี้ได้อย่างไร ในบางกรณี เป้าหมายอาจจะขยายไปเกินกว่าระยะเวลาการวางแผน ทั้งๆที่การบริหารตามเป้าหมายส่วนมากมักจะเป็นแผนงานเพียงปีเดียวเท่านั้น ดังนั้น จึงจำเป็นต้องกำหนดจุดที่วัดผลได้ ทั้งนี้ก็เพื่อให้สามารถวัดความก้าวหน้าของงานให้ปรากฏออกมาเป็นระยะๆ รายงานผลความก้าวหน้ามักจะเป็นประโยชน์ได้เสมอ แม้แต่กับเป้าหมายซึ่งสามารถบรรลุได้ในเวลาที่น้อยกว่าหนึ่งปีก็ตาม

ขั้นที่ 5 การวัดผลสำเร็จ


ในการวัดผลควรจะทำการวัดผลเทียบกับมาตรฐานที่ได้กำหนดไว้ก่อน และการประเมินผลนี้ควรจะกระทำร่วมกันระหว่างผู้บริหารกับพนักงานผู้ใต้ บังคับบัญชา โดยวิธีนี้ ปัญหาต่างๆจะถูกหยิบยกขึ้นมาพูดอย่างเปิดเผย และหากมีข้อแตกต่างกันในความเห็นเกี่ยวกับผลสำเร็จของเป้าหมาย ทั้งสองฝ่ายก็จะสามารถแลกเปลี่ยนทัศนะหรือความเข้าใจระหว่างกันได้ทันที

ขั้นที่ 6 ข้อมูลย้อนกลับสำหรับกระบวนการกำหนดเป้าหมาย


วิธีการบริหารตามเป้าหมายนี้ควรจะได้มีการปรับปรุงในทุกรอบวงจร โดยเฉพาะเมื่อได้พบสาเหตุแห่งความสำเร็จและอุปสรรคของรอบวงจรที่ผ่านมา ควรจะต้องนำมาพิจารณาประกอบเพื่อกำหนดเป้าหมายที่ดีขึ้นเพื่อสำหรับผลสำเร็จ ในระยะต่อไป ในเรื่องนี้นับว่าเป็นความรับผิดชอบของทั้งพนักงานและหัวหน้างานที่ต่างก็จะ ต้องช่วยกันสำรวจดูว่า ได้มีการนำเอาข้อมูลที่เป็นประสบการณ์มาแล้วมาใช้ประโยชน์ครบถ้วนหรือไม่

โดยสรุป การบริหารตามเป้าหมายสามารถเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการวางแผนรวมขององค์การ การกำหนดเป้าหมายระยะสั้นในระดับเบื้องต้นเช่นนี้ จะสามารถมีส่วนสนับสนุนทั้งในด้านการปรับปรุงแรงจูงใจพนักงาน และเพื่อความเข้าใจอย่างกว้างขวางในแผนงาน วัตถุประสงค์ กลยุทธ์ และเป้าหมายขององค์การ

การผูกพันการใช้ทรัพยากร
ปกติในกระบวนการวางแผนที่ดำเนินไปนั้น มักจะก่อให้เกิดความคิดใหม่ๆขึ้นได้ตลอดเวลา โครงการหรือแผนงานใหม่ๆ และกิจกรรมที่จำเป็นอีกหลายๆอย่างที่ซึ่งผู้วางแผนมักจะรู้สึกว่า ล้วนแต่เป็นสิ่งจำเป็นที่จะมีส่วนช่วยให้เกิดความสำเร็จต่องานหรือองค์การใน อนาคตได้ ตามสถานการณ์โดยทั่วไปนั้น ต่างก็จะเสนอแย่งแผนงานจำนวนมากๆ มากกว่าที่จะได้มีการคิดคำนึงความเป็นไปได้ในทางเศรษฐกิจของโครงการ และในระหว่างกระบวนการประสานบุคคลกับแผนงานเข้าด้วยกัน หรือซึ่งเท่ากับเป็นกระบวนการของการกลั่นกรองโครงการนั้น โครงการที่ประสงค์จะได้และอยากจะทำนั้น หลายโครงการกลับต้องยกเลิกไป หรือ เลื่อนช้าออกไปอีก อย่างไรก็ตาม สำหรับโครงการที่ซึ่งยังคงเหลืออยู่ในแผนงานนั้นควรจะต้องสัมพันธ์กับแผนการ เงินด้วย ทั้งนี้โดยมีการเรียงลำดับรายการให้เห็นทราบชัดว่า จะสามารถจัดหาทรัพยากรที่จำเป็นได้อย่างไร และจากแหล่งใดบ้าง เพื่อที่จะนำมาใช้ดำเนินกิจกรรมให้สามารถกระทำต่อเนื่องไปได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าแผนงานขององค์การของท่านเรียกร้องให้ต้องมีการเพิ่มผลผลิตเป็น 2 เท่าให้ได้ภายในเวลา 3 ปี และถ้าหากท่านเป็นผู้จัดการฝ่ายผลิตจะต้องทำสิ่งนี้ให้สำเร็จลงให้ได้ ดังนี้ แผนงานของท่านก็จะต้องสะท้อนให้เห็นถึงวิธีที่จะใช้และเครื่องมือที่จำเป็น ต้อ มี ตลอดจนสถานที่ และอื่นๆที่จำเป็นเพื่อที่จะให้บรรลุผลเหล่านั้นได้ และเพื่อให้สอดคล้องเป็นไปได้พร้อมกันกับแผนงานของท่าน ก็จะต้องมีการจัดทำแผนการเงินเอาไว้ด้วย เพื่อที่ท่านจะสามารถมีเงินทุนที่จำเป็นเพื่อใช้ทำงานตามที่ท่านรับผิดชอบ อยู่ให้เป็นผลลำเร็จได้

การวางแผนจะกลายเป็นสิ่งไร้ประโยชน์ในทันที ถ้าความคิดและโครงการสำคัญๆทั้งหลายที่ถูกพัฒนาขึ้นมาแล้วนั้น กลายเป็นเรื่องหมดหนทางที่จะหาเงินทุนมาสนับสนุนใช้จ่ายได้ ในเรื่องนี้ตามความเป็นจริงแล้ว การวางแผนอาจมีผลทำให้กลายเป็นปัญหากระทบต่อขวัญและกำลังใจของพนักงาน ถ้าความฝันอันสดสวยที่อยู่ในตัวแผนไม่มีทางจะเป็นจริงได้ หรือทำนองเดียวกันกับกรณีที่บุคคลได้ยอมรับหรือเห็นด้วยกับเป้าหมายขนาด หนึ่งแล้ว แต่ถูกระงับไม่อนุมัติงบประมาณหรือทรัพยากร ก็ย่อมต้องหมดอาลัยตายอยากเป็นธรรมดา

ความรับผิดชอบในการวางแผน
การบริหารงานเพื่อการจัดให้มีระบบการวางแผนจะเกี่ยวข้องกับเรื่องต่างๆ นับตั้งแต่การฝึกอบรมพนักงาน การประสานการใช้ทรัพยากรต่างๆเพื่อการผลิต การรวบรวมข้อมูล การประเมินข้อมูลเหล่านั้น และการเตรียมการขั้นสุดท้ายของแผนงาน แต่สำหรับกรณีองค์การที่มีขนาดเล็ก ผู้จัดการใหญ่และเลขานุการอาจจะเป็นผู้ทำหน้าที่เหล่านี้ด้วยตนเอง แต่สำหรับองค์การที่ค่อนข้างใหญ่นั้น ภารกิจที่เป็นความรับผิดชอบของผู้บริหารสูงสุดนั้น อาจต้องมีการแบ่งความรับผิดชอบออกไปให้หัวหน้างานต่างๆ เช้น หัวหน้างานด้านการตลาด หรือการเงิน งานวางแผนจึงมักถูกกระจายออกไปเช่นกัน แต่สำหรับกรณีขององค์การธุรกิจขนาดใหญ่ๆนั้น วิธีปฏิบัติมักจะกระทำโดยมีการเลือกเอานักบริหารระดับสูงคนใดคนหนึ่งมา บริหารและประสานการวางแผน แต่ละกรณีที่กล่าวมาจะมีข้อดีและข้อเสียต่างกัน เพราะแท้ที่จริงแล้วความรับผิดชอบในเรื่องการวางแผนนี้ จะอยู่ที่ผู้บริหารระดับสูงโดยตรง ซึ่งผู้บริหารสูงสุดนี้จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารระบบการวางแผนด้วย ตนเองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าหากผู้จัดการใหญ่มีกิจธุระมาก ซึ่งอาจไม่มีเวลาพอที่จะอุทิศให้กับหน้าที่นี้ได้ จึงมักจะมอบให้ผู้บริหารระดับรองคนใดคนหนึ่งดูแลแทน ซึ่งมักจะได้ผลไม่ดีเท่า กล่าวคือ การมอบให้ผู้บริหารที่ทำหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งอยู่แล้วมาช่วยประสานและ บริหารการวางแผน ผู้บริหารคนนั้นก็มักจะโน้มเอียงหรือเน้นหนักให้การวางแผนหนักไปในด้านที่ เป็นงานถนัดของตน ในที่สุดวิธีที่ดีที่สุดก็คือ การต้องจัดให้มีผู้บริหารการวางแผนที่ทำงานเต็มเวลา หรือที่มักเรียกว่า corporate planning director ซึ่งก็ทำให้ต้องเสียต้นทุนค่าใช้จ่ายให้กับองค์การ และมีผลทำให้ต้องมีการจัดกลุ่มตั้งเป็นแผนกวางแผนขึ้นมาต่างหาก

ไม่ว่าจะเลือกวิธีใดก็ตาม สาระสำคัญที่จะให้เกิดผลสำเร็จได้ก็คือ การวางแผนจะต้องอาศัยวิธีการกำกับอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้โดยต้องมีการประสานงานกันอย่างมากระหว่างบุคคลและหน่วยงานฝ่ายต่างๆ ที่ซึ่งมีส่วนต่อกระบวนการวางแผนทั้งหมด

การสื่อความให้ทราบถึงคุณค่าของการวางแผน
การผูกพันและการเข้าร่วมของผู้บริหารระดับสูง และการต้องมีแผนงานการวางแผน นับว่ามีความสำคัญต่อความสำเร็จของการวางแผน แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังคงถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของสูตรแห่งความสำเร็จของการวางแผน ผู้บริหารนับแต่ระดับสูงไปจนถึงหัวหน้างาน จะต้องสามารถสื่อความชี้แจงหลักการสำคัญๆให้ลูกน้องเข้าใจได้ ซึ่งผู้บริหารจะต้องลงมือทำด้วยตนเองให้ลูกน้องทราบชัดแจ้งและเห็นจริงด้วย ตนเอง หลักการสำคัญๆที่ควรจะต้องสื่อความให้เข้าใจนั้น คือ

  1. การวางแผนเป็นวิธีที่มีประโยชน์ที่จะช่วยให้คนเราบรรลุวัตถุประสงค์ส่วนตัว (ทั้งนี้โดยวิธีบริหารโดยเป้าหมายหรือ MBO นั่นเอง)
  2. ตัวผู้ประกอบการเองจะก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็วยิ่ง และ/หรือก้าวอย่างมั่นคงก็โดยวิธีการวางแผนมากกว่าการไม่มีการวางแผน
  3. ทุกคนต่างจะมีโอกาสก้าวหน้าได้มากยิ่งขึ้น และมีความพอใจส่วนตัวมากกว่า ก็แต่เฉพาะในองค์การที่มีแผนงานที่ดีมากกว่าในองค์การที่ปล่อยให้อนาคตของ ตัวให้เป็นไปแบบตามมีตามเกิด
  4. การวางแผนไม่ใช่อาวุธที่จะใช้กำกับหรือควบคุมพนักงาน หากแต่จะเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารงานได้
  5. การวางแผนนับว่าเป็นกิจกรรมที่ต้องทำควบคู่กันไปกับการทำงาน และเป็นงานที่ผู้บริหารจำต้องสละเวลา และทรัพยากรเพื่อสำหรับทำงานนี้ เพื่อให้เกิดผลดีแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
  6. แม้ว่าเราทุกคนต่างก็ไม่อาจรู้ถึงความเป้นไปในอนาคตก็ตาม แต่ถ้าหากได้มีการวางแผนดีขึ้นและดีขึ้นเรื่อยๆ โอกาสที่เราจะสามารถช่วยกำหนดความเป็นไปของอนาคตก็จะมีมากขึ้น
การพิจารณาเลือกเฟ้นแผนดำเนินการ
เนื่องจากปัญหาข้อจำกัดในด้านเวลาและกำลังทุ่มเทที่ต้องใช้ไปในการวางแผน ทำให้ผู้บริหารต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนถึงภาวะวิกฤติของสถานการณ์ว่า มีผลกระทบต่อองค์การและความอยู่รอดขององค์การมากหรือน้อยเพียงใด ในอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องพิจารณาก็คือ การพิจารณาว่าสถานการณ์นั้นจะมีอิทธิพลต่อความสามารถขององค์การหรือกลุ่ม บุคคลที่จะบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์หรือไม่ ตัวอย่างเช่น กรณีของโรงงานที่ไม่มีประสิทธิภาพในการผลิต ได้ส่งผลให้เห็นแนวโน้มชัดเจนว่า จะก่อให้เกิดการสูญเสียอัตราก้าวหน้าหรือส่วนแบ่งตลาดอย่างเห็นได้ชัด และอาจไปไกลถึงกับกระทบต่อความอยู่รอดด้วย แต่ในอีกแง่หนึ่ง เช่น การจัดเก็บสารบัญเรื่องเบ็ดเตล็ดภายในผิดหมวด หรือการลืมสั่งวัตถุใช้สอยบางอย่าง เช่น ดินสอดำ ที่อาจหาที่ไหนมาใช้ก่อนก็ได้ เช่นนี้นับว่าไม่ใช่ปัญหาวิกฤติแต่อย่างใดเลย

ในการวางแผนงานเพื่อสำหรับดำเนินการนั้น ปัญหาสำคัญอาจเป็นว่า เหตุการณ์นั้นจะมีผลกระทบสำคัญต่อองค์การหน่วยงาน หรือความสามารถของบุคคลที่จะบรรลุวัตถุประสงค์อย่างใดหรือไม่ ถ้าหากไม่ ก็อาจจะเป็นการดีกว่าที่จะทุ่มเทกำลังพยายามในการวางแผนไปใช้กับกรณีอื่น ซึ่งก่อให้เกิดผลดีในทันทีทันใดได้ หรือเพื่อผลสำหรับอนาคตก็ตาม

กฏของเปรโต (Pareto's Law)
คำถามสำคัญและมีความหมายอันหนึ่งก็คือ "อะไรคือตัวสาเหตุที่แท้จริงที่จะสามารถส่งผลกระทบต่อผลงานหรือผลผลิตได้ อย่างมาก " แนวความคิดสำคัญที่ใช้พิจารณาปัญหานี้มักจะเป็นที่รู้กันในนามของ "กฏเปรโต" กฏนี้กล่าวว่า โดยปกติจะมีปัจจัยจำนวนน้อยไม่กี่อย่างเท่านั้นที่มักจะมีผลกระทบต่อผลงาน ขนาดใหญ่หรือปริมาณจำนวนมากของงานได้ ตัวอย่าง เช่น

ก) 20% ของลูกค้าทั้งหมดเมื่อคิดคำนวณออกมาอาจกลายเป็น 80% ของยอดขายที่คิดเป็นตัวเงิน
ข) 10% ของคนขับรถมักจะเป้นผู้ก่ออุบัติเหตุถึง 95% ของอุบัติเหตุทั้งหมดที่เกิดขึ้น
ค) 5% ของรายการที่ซื้อมาทั้งหมดของบริษัท เมื่อคิดคำนวณแล้วมีมูลค่าเท่ากับ 50% ของรายจ่ายที่ใช้จ่ายไปในการซื้อทั้งหมด

กฏของเปรโต สามารถนำไปปรับใช้ได้ดังนี้ คือ การพิจารณาว่าแผนดำเนินงานอันใดที่ควรจะให้ความสนใจมากที่สุด หรือได้รับแบ่งทรัพยากรมากที่สุด กล่าวคือ ในบรรดาแผนงานที่เสนอมาทั้งหมดนั้น ผู้บริหารควรจะใช้วิธีถามว่า จะมีแผนงานอันใดบ้างที่มีจำนวนเพียง 10% หรือ 20% ของจำนวนแผนงานทั้งหมด ที่จะมีผลกระทบมากที่สุดต่อความสำเร็จขององค์การ ผู้จัดการซึ่งสามารถตอบคำถามนี้ได้ย่อมจะสามารถพุ่งความสนใจที่จะติดตามและ เน้นความสนใจให้แน่ใจได้ว่า แผนงานสำคัญๆเหล่านั้นจะต สามารถทำให้บรรลุผลสำเร็จได้ทันตามกำหนดเวลา กุญแจสำคัญของกฏเปรโต คือ ความเขจ้าใจที่ว่าทุกอย่างมีความสำคัญไม่เท่ากัน แผนงานบางอันหรือกิจกรรมบางอย่าง ตลอดจนแนวโน้มบางลักษณะ หรือพนักงานบางกลุ่มเท่านั้นที่จะมีผลกระทบต่อความสำเร็จของบุคคลหรือ องค์การมากกว่าอันอื่นๆ

จึงนับว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับผู้ศึกษาการบริหาร หรือผู้วางแผนในอนาคตที่จะจำไว้เป็นแนวทางปฏิบัติว่า การที่มีจำนวนเหตุการณ์รวมเข้าไปในแผนงานเป็นจำนวนมากเท่าไร ก็ยิ่งจะมีความยุ่งยากสับสนเกิดขึ้นตามกันมา ที่ซึ่งจะทำให้การติดตาม หรือการรักษาระดับควาสำเร็จ หรือการคืบหน้าไปสู่จุดสำเร็จต่างๆก็จะทำได้ยากยิ่งขึ้น

ผลที่ได้รับจากการวางแผน
ข้อมูลย้อนกลับของผู้บริหารที่ใช้กันมากนั้น ปกติมักจะเป็นรายงานความก้าวหน้าที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร หรือการรายงานโดยวาจา ทั้งนี้ไม่ว่าข้อมูลที่ได้จะพัมนาขึ้นมาภายในหน่วยงานของผู้บริหารเอง หรือการสรุปผลโดยบุคคลภายนอกก็ตาม หัวข้อสำคัญของคุณค่าในตัวรายงานควรจะประกอบด้วย

  1. ข้อมูลที่ได้รับจากการติดตามผลมีมากเพียงพอหรือไม่ โดยเฉพาะที่จะใช้เพื่อเปลี่ยนแปลงในบางสิ่งที่จำเป็น
  2. ข้อมูลที่ได้รับจากการวิเคราะห์เหตุการณ์ที่จะนำไปใช้แก้ไขปัญหานั้น ได้รับมากระชั้นชิดเกินไปจนใช้การได้ไม่ดีหรือเปล่า
  3. หัวข้อกว้างพอที่จะครอบคลุมส่วนสำคัญที่ได้มีการวางแผนหรือไม่ แต่ก็ต้องไม่มากเกินไปจนกลายเป็นรายละเอียดจำนวนมหึมา
  4. ลักษณะรูปแบบการรายงานเป็นแบบง่ายๆ พอที่จะเข้าใจและตีความรายงานได้ถูกต้องหรือเปล่า
  5. รูปแบบรายงานได้มีวิธีนำเสนอที่ชี้ให้เห็นข้อมูลต่างๆ แยกส่วนโยงกับงานด้านต่างๆขององค์การอย่างชัดเจนหรือเปล่า
  6. รายงานนั้นๆ ได้มีการเน้นย้ำให้เห็นถึงจุดที่ไม่สามารถทำสำเร็จได้หรือเปล่า เพราะการชี้ชัดเจนย่อมจะช่วยให้ผู้บริหารสามารถทราบถึงปัญหาที่กำลังเกิด ขึ้นได้ทันที
การบริหารโดยอาศัยข้อแตกต่าง
วิธีหนึ่งที่ใช้ในบางองค์การเพื่อให้มีการรายงานผลเป็นข้อมูลย้อนกลับก็คือ วิธีการบริหารโดยอาศัยข้อแตกต่าง (Management by Exception) ซึ่งลักษณะจะไม่เหมือนกับระบบการรายงานซึ่งให้ข้อมูลในทุกสาระสำคัญของ ธุรกิจอย่างครบถ้วน การบริหารโดนอาศัยข้อแตกต่างนี้ จะเน้นเพียงสาระซึ่งผันแปรผิดไปจากแผนงานเท่านั้น

การบริหารโดนอาศัยข้อแตกต่างนี้ ก็เหมือนเครื่อมือรายงานผลและควบคุมอื่นๆ คือ การบริหารงานโดยอาศัยข้อแตกต่างนี้จะมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อได้เปรียบที่สำคัญที่สุด คือ รายงานนั้นจะสามารถทำให้ดูเข้าใจง่าย โดยการเน้นเฉพาะกิจกรรมซึ่งไม่ได้เป็นไปตามแผน แต่ข้อเสีนเปรียบที่สำคัญ คือ จะเป็นเพียงภาพบางส่วนของการดำเนินงานที่ถูกหยิบยกขึ้นมา ัและดังนั้นปัจจัยที่มีส่วนหรือมีอิทธิพลบางตัวจึงอาจจะถูกมองข้ามไป การบริหารงานโดยอาศัยข้อแตกต่างจึงมีแนวโน้มที่จะสนใจเฉพาะผลงานที่ติดลบ หรือที่เป็นไปในทางไม่ดีแต่เพียงอย่างเดียว

การวางแผนนับว่าเป็นกระบวนการตัดสินใจซึ่งนำไปสู่การปฏิบัติงาน และจะเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับหน้าที่งานบริหารอื่นๆ คือ การจัดองค์การและการควบคุม

การวางแผนควรจะเน้นกิจกรรมขององค์การซึ่งสำคัญที่สุด และซึ่งมีผลกระทบอย่างมากในการบรรลุถึงวัตถุประสงค์

แผนงานควรจะยืดหยุ่นเพื่อว่าหากเกิดผลแตกต่างมากๆ ก็อาจต้องมีการเปลี่ยนแปลงหรือจัดสรรทรัพยากรใหม่ ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์สำคัญขององค์การ ดังนั้น การวางแผนจึงเป็นกระบวนการสำคัญและคล่องตัวตลอดเวลา และจะไม่หยุดนิ่งซึ่งมีความสำคัญที่สุดต่อความก้าวหน้าขององค์การ

วิธีการบริหารเพื่อผลสำเร็จ
การบริหารเพื่อผลสำเร็จ(Managing for Results) นั้น เป็นแนวความคิดที่กว้างกว่าเทคนิควิธีการบริหารโดยเป้าหมาย คือ MBO หรือ Management by Objectives กล่าวคือ เทคนิค MBO เน้นถึงวิธีการกำหนดเป้าหมายที่จะใช้มอบหมายงานและจูงใจผู้ปฏิบัติ แต่การบริหารเพื่อผลสำเร็จนั้น จะเป็นแนวความคิดในทางการบริหารที่กว้างกว่าที่กล่าว ปรัชญาและประสิทธิภาพของการบริหารที่จะให้มีการเพิ่มประสิทธิภาพได้อย่างมาก ถึง 3 ขั้นด้วยกัน คือ

  1. การเพิ่มประสิทธิภาพโดยใช้กระบวนการวางแผนก่อนการลงมือบริหารงานทุกครั้ง
  2. การเพิ่มประสิทธิภาพในระหว่างกระบวนการบริหารในขั้นการดำเนินการหรือปฏิบัติ
  3. การเพิ่มประสิทธิภาพโดยการติดตามผลทั้งในระหว่างทางและเมื่อสิ้นสุดการทำงาน
ทั้งนี้โดยการใช้ผลสำเร็จ หรือ เป้าหมายผลสำเร็จ เป็นเครื่องมือกำกับในการเพิ่มประสิทธิภาพดังกล่าว

ลักษณะสำคัญของการบริหารเพื่อผลสำเร็จ
  1. ต้องแปลงเป้าหมายตามแผนงาน ให้กลายเป็นงานที่มีเป้าหมายผลสำเร็จที่ซึ่งแต่ละคนจะสามารถรับผิดชอบได้
  2. เป้าหมายแผนงานและเป้าหมายผลสำเร็จทุกอัน ต่างต้องพุ่งสู่จุดศูนย์กลางของการปฏิบัติในทางธุรกิจ (practice of the business) หรือการมีกลยุทธ์ในทางปฏิบัติที่ดีนั้นเอง
  3. การเน้นถึงความสำคัญและการตระหนักถึงผลงานทางเศรษฐกิจ จะต้องฝังลึกเข้าไปอยู่ในงานที่แต่ละคนทำอยู่ นั่นคือ การเอาผลสำเร็จเข้าไปอยู่ในจิตใจขององค์การ (Spirit of the organization) นั่นเอง
  4. สร้างข้อผูกพันให้แต่ละคนมุ่งใช้ความรู้และทุ่มเทความพยายาม อุทิศให้กับผลงาน โดยคนงานจะเปลี่ยนความสนใจจากตัวงานที่ทำ ความชำนาญที่มีอยู่ของตน และเทคนิควิธีทำ กลับไปมุ่งสนใจที่คุณค่าหรือผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของผลงาน
  5. ผู้ปฏิบัติมีความมั่นใจว่าโอกาส ผลงาน และทรัพยากร ต่างอยู่ในความรับผิดชอบของเขาที่เขาสามารถควบคุม และกำกับได้ตลอดเวลา
ข้อดีของการวางแผนตามวิธีการบริหารเพื่อผลสำเร็จ
คุณค่าข้อดีของการวางแผนตามวิธีการบริหารเพื่อผลสำเร็จนั้น มีหลายประการด้วยกัน คือ

  1. เป็นวิธีที่พุ่งความสนใจเพื่อพิจารณาถึงอนาคต (future-focused) มากกว่าการบริหารงานประจำวันต่อวัน
  2. เป็นวิธีการบริหารที่มีกลไกสอดแทรกคลุมลึกลงไปในการบริหารงานมากที่สุด ที่ถือว่าเป็นนักบริหารทางการบริหารที่แท้จริง (full-fledged professional) มากกว่าการเป็นนักบริหารแบบสมัครเล่น
  3. เป็นวิธรการบริหารที่มองไกลออกไปในภายนอก (outward-looking) มากกว่าการสนใจแต่เฉพาะเรื่องภายใน
  4. เป็นวิธีซึ่งให้น้ำหนักความสำคัญต่อบุคคลผู้ปฏิบัติ (people-oriented) มากกว่าการจดจ่อสนใจแต่เฉพาะตัวผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่
  5. เป็นวิธีที่ให้ความสนใจต่อผู้บริโภค (consumer-oriented) มากกว่ามุ่งสนใจที่ตัวองค์การ
  6. เป็นวิธีซึ่งให้น้ำหนักความสำคัญต่อผลสำเร็จ (result-oriented) มากกว่าการสนใจต่อกิจกรรมที่เป็นรายละเอียด
  7. เป็นวิธีซึ่งส่งเสริมให้มีการคิดค้นหาแนวทางใหม่ที่ดีกว่าการบริหารงานประจำที่เป็นไปตามสภาพเดิม
  8. เป็นวิธีบริหารที่เน้นและย้ำถึงผลสำเร็จที่ต้องการว่า ต้องการสำเร็จผลในสิ่งใด อะไรบ้าง มากกว่าการย้ำถึงวิธีทำว่าทำอย่างไรเท่านั้น
  9. เป็นวิธีที่เน้นถึงตัวบุคคล ความคิดที่เกี่ยวข้อง และเวลา มากกว่าการสนใจเฉพาะปัจจัยที่คงที่ เช่น เงิน เครื่องจักร หรือวัตถุสิ่งของ
  10. เป็นวิธีที่กระจายให้ผู้ใต้บังคับบัญชาที่เป็นฝ่ายปฏิบัติให้ได้มีความคิดริ เริ่มในผลงานที่เขารับผิดชอบ มากกว่าการรวบรวมอำนาจ สนใจเฉพาะเรื่องทางเทคนิคหรือการควบคุมตามหน้าที่งาน
  11. เป็นวิธีการบริหารแบบให้มีส่วนร่วม (participative style) มากกว่าการบริหารแบบใช้อำนาจ
  12. เป็นวิธีการบริหารที่มีการมอบหมายงาน และการรายงานผล มากกว่าการใช้วิธีกำกับสั่งการและควบคุม
  13. เป็นวิธีส่งเสริมการทำงานเป็นทีม (teamwork) มากกว่าการใช้วิธีต่างคนต่างทำ
ตารางแสดงเปรียบเทียบวิธีการวางแผนแบบใหม่ตามแนวความคิดการบริหารเพื่อผลสำเร็จกับการวางแผนแบบเก่า
. Static Planning
(การวางแผนแบบเก่า)
Dynamic Planning
(การวางแผนแบบใหม่)
-จุดมุ่งหมาย เพื่อให้ได้ตัวแผน เพื่อให้ได้ผลสำเร็จสูงสุด
-โครงรูปพื้นฐาน เชื่อว่าการคาดการณ์สามารถทำได้ถูกต้อง เชื่อว่าอนาคตเป็นเรื่องที่คาดการณ์
จับต้องได้ยาก เพราะมีการเปลี่ยน แปลงตลอดเวลา
-เทคนิคที่ใช้ วิเคราะะห์เฉพาะครั้ง เป็นครั้งคราว วิเคราะห์ต่อเนื่อง ไม่ขาดตอน
-กระบวนการ แน่นอน เป็นทางการ ตามขั้นตอนที่ระบุ คล่องตัว และปรับเข้ากับสถานการณ์ ที่เลือกเฟ้นพิจารณาแล้ว
-แบบการบริหารงาน แบบสมัยเดิม มีการใช้อำนาจหน้าที่ กระจายอำนาจ ให้มีส่วนร่วมในการบริหาร
-ความรับผิดชอบ โดยผู้บริหารระดับสูง หัวหน้างาน ด้านวางแผน และเจ้าหน้าที่ช่วยวางแผนในส่วนกลาง ผู้บริหารทุกคน ผู้อำนวยการด้านช่วยการวางแผน กระจายให้มีเจ้าหน้าที่ประสานงาน การวางแผน
-ชนิดของการวางแผน กลยุทธ์ / ปฏิบัติการ / การเคลื่อนไหวของงาน เป็นแผนแต่ละชนิดแยกกัน เป็นการวางแผนรวม
-การวางแผนตามหน้าที่งาน
การตลาด / การเงิน / บุคคลและอื่นๆ
เป็นแผนแต่ละหน้าที่แยกกัน เป็นการวางแผนรวม
-ช่วงเวลาการวางแผน
ระยะสั้น / ระยะกลาง /ระยะยาว
เป็นแผนแต่ละชนิดแยกกัน เป็นการวางแผนรวม
- การสนับสนุน เบื่อหน่าย และไม่ชอบ สนใจอยากมีส่วนร่วม
- ความคงทนถาวร ไม่เป็นที่สนใจ และมักออกไปจากความทรงจำ เพิ่มคุณค่าในตัวเอง และเป็นเรื่องตื่นเต้นน่าสนใจตลอดเวลา
- ต้นทุน / ผลได้ ใช้เวลาและมีงานขีดเขียนมาก ต้นทุนสูง ผลได้จำกัด การตัดสินใจดีขึ้นและมีระเบียบ ใช้เวลาและความพยายามน้อยกว่า ผลได้ดีกว่า สูงกว่า


วิธีการบริหารเพื่อผลสำเร็จ นับว่าเป็นวิธีการบริหารที่มีประสิทธิภาพสูงที่สามารถนำมาใช้ในภาคปฏิบัติ อาจกล่าวได้ว่า วิธีการบริหารเพื่อผลสำเร็จนั้น ควรจะเป็นแนวการคิดเพื่อบริหารงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีวิธีการบริหารตามเป้าหมาย หรือ MBO เป็นเครื่องมือสำหรับปฏิบัติ

กลไกที่เป็นข้อดีของวิธีการบริหารเพื่อผลสำเร็จ คือ การคิดวางแผนโดยคำนึงถึงเป้าหมายผลสำเร็จก่อนที่จะมีการลงมือปฏิบัติ ซึ่งจะช่วยให้การบริหารทรัพยากรต่างๆเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ อุปสรรคหรือปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัติก็จะได้รับการวิเคราะห์ และจะได้มีการพยายามแก้ไขให้ลุล่วงไปก่อนที่การทำงานจะเริ่มต้น ทั้งนี้ ก็โดยจุดมุ่งหมายที่ต้องการให้เกิดผลสำเร็จที่ดีนั้นเอง

วิธีการบริหารเพื่อผลสำเร็จ จึงเท่ากับช่วยให้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า คือ จะมีทั้งประสิทธิภาพในการแบ่งสันทรัพยากรในขั้นวางแผน และการมีประสิทธิภาพในขั้นปฏิบัติ ที่ผู้ปฏิบัติจะมีความผูกพันต่อความสำเร็จที่เขาได้มีส่วนร่วมและรับมา ตั้งแต่ขั้นวางแผน ซึ่งจะทำให้มีความพูกพันโดยตรงกับผลสำเร็จ และเต็มใจควบคุมตนเองที่จะมุ่งทำงานให้สำเร็จได้เป็นผลงานที่ดี

วันพุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2549

นิ่วในถุงน้ำดี

นิ่วในถุงน้ำดี เป็นโรคหนึ่งที่เกิดแก่ผู้สูงอายุ มักเป็นเมื่ออายุ เกิน
40 ขึ้นไป หญิงเป็นมากกว่าชายประมาณ 4 เท่า โดยเฉพาะผู้สูงอายุ
หญิงที่อ้วน ตับผลิตน้ำดีขึ้น เพื่อช่วยย่อยไขมัน แล้วส่งไปเก็บไว้ในถุงน้ำดี
ใน น้ำดีมีสารหลายชนิด เช่น โปรตีน ไขมัน คลอเลสเตอรอล แคลเซียม
และเม็ดสีบิลลิรูบินซึ่งมาจากเม็ดโลหิตแดงที่สลายตัวแล้ว เป็นต้น ก้อน
นิ่วในถุงน้ำดีมี 2 ชนิด ชนิดหนึ่งเกิดจากคลอเลสเตอรอล ซึ่งปกติ
ละลายในน้ำดี กลับตกตะกอนรวมตัวเป็นก้อนเล็กๆ อีกชนิดหนึ่งเกิดจากเม็ด
สีบิลลิรูบินจับตัวกับแคลเซียม ชาวตะวันตกส่วนใหญ่มักเป็นนิ่วในถุงน้ำ
ดี ซึ่งเกิดจากคลอเลสเตอรอล ส่วนชาวตะวันออกมักเป็นนิ่วที่เกิดจากเม็ดสี
ผู้ที่มีนิ่วในถุงน้ำดีจำนวนไม่น้อยไม่รู้ตัว เพราะไม่มีอาการปรากฏ
ตรวจพบต่อเมื่อไปตรวจร่างกายเพราะโรคอื่นๆ จะมีอาการ แสดงก็ต่อ
เมื่อเป็นมากแล้ว เริ่มด้วยอาการปวดท้องหรือท้องอืดหลังอาหาร เนื่อง
จากเมื่อไขมันตกไปถึงลำไส้ จะมีฮอร์โมนไปกระตุ้นให้ถุงน้ำดีบีบตัวขับ
น้ำดีออกไปช่วยย่อยไขมัน มักจะมีอาการปวดท้องข้างขวา ซึ่งอาจแผ่
กระจายจนถึงไหล่ขวา ปวดมาก น้อยแล้วแต่อาการอักเสบของถุงน้ำดี
บางคนก้อนนิ่วไปอุดตันท่อส่งน้ำดีทำให้ตัวเหลือง และอาจมีอาการ
อาเจียน คลื่นไส้ ท้องเสีย และเป็นไข้แทรก ปัสสาวะจะมีสีแก่ขึ้นออกเป็นสี
น้ำตาล และเมื่อ ไขมันไม่ถูกย่อย จะถูกขับถ่ายออกมากับอุจจาระ
อุจจาระจะมีสีอ่อนกว่าปกติ เพราะน้ำดีไม่ลงมาในลำไส้และมีไขมันปน หาก
ปล่อย ไว้ไม่รักษา น้ำดีจะคั่งในตับแล้วทำลายเนื้อเยื่อในตับ กลายเป็น
โรคตับ ซึ่งเป็นโรคที่ร้ายแรงทำให้ถึงแก่เสียชีวิตได้

นิ่วในถุงน้ำดีรักษาด้วยการผ่าตัด ยา หรือรักษาด้วยคลื่นอัลตราซาวนด์
ส่วนใหญ่ใช้วิธีผ่าตัดถุงน้ำดีออก ซึ่งจะไม่ทำในขณะที่ถุงน้ำดี
อักเสบมาก ต้องรอให้อาการอักเสบหายเสียก่อน หากผู้ป่วยมีน
้ำหนักเกินขนาด อาจต้องรอให้ลดน้ำหนักลงก่อน ในขณะที่รอการผ่าตัด อาจ
บรรเทาอาการปวดท้องได้ด้วยการลดไขมันในอาหาร หลังผ่าตัดแล้ว อาจจำ
เป็นต้องกินอาหารลดไขมันต่อไปสักพัก จนกว่าระบบการย่อยไขมันจะมี
ประสิทธิภาพดีดังเดิม
อาหารลดไขมันสำหรับผู้ป่วยเป็นนิ่วในถุงน้ำดี ควรมีไขมันไม่เกิน
วันละ 50 กรัมหากอาการปวดท้องหลังอาหารยังไม่บรรเทา อาจต้องลด
ไขมันให้ต่ำลงเหลือเพียงวันละ 25 กรัม มีวิธีนับปริมาณไขมันในอาหาร
ง่ายๆ ดังนี้
น้ำมันหนึ่งช้อนชาให้ไขมัน 5 กรัม เนยแท้และมาร์การีนก็มีปริมาณ
ไขมันเท่าน้ำมัน ครีมแท้ ครีมเทียม และหัวกะทิหนึ่งช้อนโต๊ะให้ไขมัน 5
กรัม จึงหลีกเลี่ยงใช้น้ำมัน เนย และกะทิประกอบอาหาร งดอาหารผัด
และทอดทุกชนิด เปลี่ยนไปเป็นใช้วิธีต้ม นึ่ง ย่าง หรืออบแทน
อาหารประเภทเนื้อสัตว์มีไขมันแทรกปนในเนื้อ งดไส้กรอก เบคอน
แฮมและกุนเชียง เพราะมีไขมันสูงมาก เลือกกินปลาชนิดไม่มีมันหรือมี
มันน้อย หรือเนื้อไก่ที่ไม่ติดหนัง ลดเนื้อหมูและเนื้อวัว เพราะเนื้อวัวชิ้น
เท่าฝ่ามือจะให้ไขมันประมาณ 10-20 กรัม ในขณะที่เนื้อปลาและเนื้อ
ไก่ขนาดเดียวกันให้ไขมันเพียง 6-8 กรัม งดเนื้อสัตว์ที่มองเห็นว่ามีมัน
ปนมาก เช่น หมูติดมัน หมูสามชั้น
ไข่หนึ่งฟองให้ไขมันประมาณ 5 กรัม ไม่ควรกินไข่เกินสัปดาห์ละ 3
ฟอง เพราะมีคลอเลสเตอรอลสูง ควรงดไข่เจียวและไข่ดาว
ผู้ที่กินอาหารมังสวิรัติ ซึ่งกินถั่วแทนเนื้อสัตว์ ควรจำกัดปริมาณ
เพราะถั่วเหลืองและถั่วลิสงมีไขมันสูง ซึ่งพลอยทำให้ผลิต ภัณฑ์จากถั่ว
เหลือง เช่น เต้าหู้และนมถั่วเหลืองมีไขมันสูงไปด้วย
นม 1 แก้ว
มีไขมันประมาณ 10กรัม
ระหว่างกินอาหารลด ไขมัน
จึงควรดื่มนมที่ขาดมันเนยแทนนมสด ซึ่งปกติเป็นอาหารบำรุงสำหรับคน
ไข้ระหว่างพักฟื้น เนยแข็งส่วนใหญ่ทำจากนมที่มีไขมันสูง
จึงควรงดเนย แข็งด้วยอาหารหมู่ข้าว และแป้งจะเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญ ระหว่างที่
ต้องลดไขมันกินอาหารหมู่นี้ได้ไม่จำกัดปริมาณ หากว่าผู้ป่วยมิได้มี
น้ำหนักตัวเกินขนาด ผักและผลไม้ส่วนใหญ่มีไขมันต่ำ จึงกินได้ไม่จำกัดปริมาณ
เช่น เดียวกัน ยกเว้นผักบางอย่างที่ทำให้เกิดแก๊ส เช่น กะหล่ำปลี ถั่ว หรือ
ผักคะน้า อาจจะทำให้ผู้ป่วยบางคนปวดท้อง จึงจำเป็นต้องงดเฉพาะราย
ขนมหวานหลายอย่างมีไขมันมาก เช่น ขนมไทยที่ใส่กะทิ
ขนมฝรั่ง ที่ใช้นมเนย เช่น ขนมเค้ก พาย คุกกี้ ไอศกรีม ฯลฯ เหล่า นี้ควรงดทั้งสิ้น
อาหารที่มีไขมันต่ำมักไม่มีรสชาติ ต้องพลิกแพลงปรุงแต่งให้มีรสดี
จัดแต่งให้น่ากิน และควรใช้อาหารจำกัดไขมันในระยะที่จำเป็นจริงๆ
เท่า นั้น โดยเฉพาะหลังผ่าตัดถุงน้ำดีออกแล้ว ผู้ป่วยต้องการอาหารบำรุงร่าง
กายระหว่างพักฟื้น หากกินไม่เพียงพอเพราะกินไม่ลง อาจทำให้แผล
หายช้า เพราะขาดสารอาหาร โดย เฉพาะโปรตีน ทั้งยังขาดวิตามินชนิด
ที่ละลายในไขมัน ซึ่งได้แก่วิตามินเอและดี ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจขาดเหล็ก
เพราะกินเนื้อสัตว์น้อยเกินไป ในระหว่างที่กินอาหารลดไขมัน จึงควรกิน
วิตามิน และเหล็กเสริม
โดยคุณ : อรวินท์ โทรกี

ธรรมชาติของกระแสจิตวิญญาณในตัวมนุษย์

ธรรมชาติของกระแสจิตวิญญาณในตัวมนุษย์เรานั้น
เป็นเรื่องน่าพิศวงและยากต่อการอธิบาย
นับแต่อดีตกาลมา ทุกชาติทุกเผ่าพันธุ์ล้วนมีความเชื่อเรื่องจิตวิญญาณตาม
แนวความคิดเฉพาะตน โดยส่วนมากเชื่อว่ามีจริงตามธรรมชาติ แต่เป็นสิ่งที่
จับต้องไม่ได้ มองไม่เห็นด้วยตา ยากแก่การพิสูจน์และอธิบายให้ทุกคนเข้าใจได้

ปรัชญาจีนเป็นอีกชนิดหนึ่งที่มีความเจริญทางด้านอารยธรรมมานาน
ได้พัฒนาแนวความคิดเหตุผลแบบพลังหยิน-หยางที่เป็นแก่นขั้วพลังของสรรพสิ่งใน
จักรวาลที่ล้วนมีธรรมชาติเดียวกัน ต่างกันก็แต่ระดับขั้นของการแปรรูปของ
พลังก่อนหรือหลัง เรื่องจิตวิญญาณนั้นเป็นสิ่งท้าทายภูมิปัญญาคนจีนมาช้านาน
นับตั้งแต่พิธีกรรมทางบูชาฟ้า-ดิน พิธีทางการกราบไหว้บรรพบุรุษ พิธีการฝังศพ พิธี
การสวดมนต์ภาวนา ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ล้วนสะท้อนความเชื่อเรื่องพลังที่
ละเอียดสุดของคนเราคือ จิตวิญญาณที่ไร้รูปมองไม่เห็น
ชาวจีนยังคงใช้ปรัชญา หยิน-หยางในการอธิบายเรื่องลึกซึ้งละเอียดอ่อนของ
กระแสจิตวิญญาณว่า ทุกคนล้วนมีวิญญาณรวมอยู่ในตัวเรา 10 กระแสมา
จากฟ้า 3 กระแสเรียก ฮุ้ง (Hun) มีธรรมชาติเป็นหยาง
มาจากขั้วดิน 7 กระแสเรียก เผ็ก (Po) มีธรรมชาติเป็นหยิน ตามแนวความ
คิดของคนจีน บนฟ้ามี 10 ขั้วฟ้า ส่วนล่างเป็นโลกมนุษย์
มี 12 ขั้วดินที่แยกออกเป็นกิ่งก้านสาขาเหมือนต้นไม้หรือเหมือนขั้วแผงสวิตช์
ปลั๊กไฟจากฟ้าลงมา 3 จากดินขึ้นมา 7 บรรจบในมนุษย์อยู่ตรงกลาง 5
เป็น 3-5-7 คนเราจึงมี 5 ธาตุ มี 10 นิ้วบนมือข้างละ 5 นิ้ว รวมเป็น 10
10 คือผลิตภัณฑ์ขั้นสมบูรณ์ของฟ้า-ดินในตัวคน คนจึงมี 10 นิ้ว
และระบบสุริยะจึงมีดาวเคราะห์กับดาวฤกษ์รวมเปน 10

เมื่อเราพูดถึงวิญญาณในตัวคน คนจีนหมายถึง
วิญญาณทั้ง 10 ในร่างกายคน มิใช่วิญญาณเดียว
แต่ละวิญญาณนี้ เมื่อเรายังเป็นคนมีชีวิตอยู่มีลมหายใจ วิญญาณเหล่านี้ยังไม่
เป็นวิญญาณที่สมบูรณ์ ยังเป็นเพียงกระแสจิต เมื่อใดที่เราอายุครบ 120 ปี
หรือเมื่อเราสิ้นละสังขาร กระแสวิญญาณที่ออกจากร่างจึงจะเป็นวิญญาณเต็ม
ตัวหรือเปรียบกับนักเรียนหรือนิสิต ที่จะเป็นบัณฑิตก็ต่อเมื่อจบหลักสูตร
มหาวิทยาลัย คำว่า วิญญาณที่แท้จริงก็คือ
คลื่นจิตกระแสที่พัฒนาหรือบ่มจนถึงเวลาตามวงจรธรรมชาติ ครบกำหนด
บริบูรณ์ 120 ปีคือ วงจรฟ้า 10 วงจรดิน 12 = 10x12 = 120 ปี
คนที่มีอันต้องสิ้นชีวิตหรือละสังขารก่อนเวลาอันควรจึงมี
โอกาสที่จะต้องโคจรย้อนกลับมาสู่โลกอีก ทั้งนี้เพราะ
คลื่นความถี่ของวิญญาณยังไม่ละเอียดพอที่จะทะยานพ้นเพดาน แรงดึงดูด
ของโลก คำว่า ฮุ้งหรือวิญญาณ ส่วนหยางในตัวคนมีอักษรจีนคำว่า เมฆเป็น
ตัวสะกดนำหน้า หมายความว่า วิญญาณส่วนนี้มีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกับ
เมฆ หรืออยู่เหนือเมฆสูงหรือต่ำ ตามระดับความละเอียดและพลังขับเคลื่อน
ของกระแสวิญญาณสั้นๆ วิญญาณทั้ง 10 ส่วน ฮุ้งกับเผ็กนี้สัมพันธ์เกี่ยวโยงกับพลัง
ชีวิต 3 สิ่ง 3 ระดับในตัวเราคือ พลังเพศ พลังภายใน พลังปัญญา โดยมีปัจจัยของหยิน-หยาง
จากพลังฮุ้งและพลังเผ็ก ประกอบเข้าด้วย รวมเป็น 5 ทั้งสองอยู่ซ้าย-ขวา
ทั้ง 5 นี้มีตัวกลางร่วมเดียวกัน นั่นคือ เลือดในร่างกาย เลือดคือสภาวะ
หยาบ สภาวะหนัก และสภาวะสนามแม่เหล็กที่จะยึดเหนี่ยวปัจจัยทั้ง 5 นี้อยู่ใน
กายเรา เมื่อใดที่คนเราประสบอุบัติเหตุเสียเลือดมาก และสิ้นชีวิตร่างกาย
พร่องปริมาณเลือดสนามแม่เหล็กจากเม็ดเลือดน้อยลง
กระแสคลื่นวิญญาณฮุ้งหรือเผ็ก ก็จะหลุดออกจากร่างกายก่อนกำหนด ก่อน
เวลาอันควร องค์ประกอบไม่ครบ 10 ส่วน แต่ละส่วนอาจแยกออกไปทำให้
กลุ่มกระแสวิญญาณกระจาย หลุดออกวงโคจรสนามแม่เหล็กคนละทิศคนละ
ทาง ทำให้พลังขับเคลื่อนของกระแสวิญญาณอ่อนไปไม่ได้ไกล อาจลอยอยู่
แค่เหนือระดับเมฆต่ำบนท้องฟ้าเท่านั้น โอกาสที่คลื่น วิญญาณแยกส่วนจะถูกดึงดูดเหนี่ยวนำกลับสู่โลกสู่พื้นดิน
ย่อมเป็นไปได้สูง เมื่อใดที่มีสนามแม่เหล็กที่เกิดแรงดึงดูด จากขั้วพลังเพศชาย-หญิง ที่กำลังมี
เพศสัมพันธ์ คลื่นกระแสแยกส่วนเหล่านี้อาจโคจรกลับลงได้การปฏิสนธิใน
สิ่งมีชีวิตใหม่ได้ (ชาวทิเบตจึงมีการฝึกมรณสติเพื่อเตรียมการชี้แนะวิญญาณ
ผู้ตายให้พึงระวังหลีกเลี่ยงการถูกดึงดูดกลับลงสู่ครรภ์ของการเกิดของสิ่งมี
ชีวิต) ธรรมชาติคลื่นจิตวิญญาณเหมือนคลื่นกระแสแม่เหล็กไฟฟ้า ในวิชา
วิทยาศาสตร์คือ มีความถี่ ความละเอียดของคลื่นเป็นรูป
ความถี่หยาบมากเป็นความถี่ของกาย ความถี่กลางเป“นของจิต
ความถี่ละเอียด เป็นวิญญาณ คนจีนเปรียบกายคนเหมือนแท่งเทียนไข ความร้อนจากเปลวเทียนเป็นพลัง
วิญญาณ ส่วนเผ็กที่แสดงอารมณ์จิตใจ ส่วนความสว่างเป็นพลังละเอียด พลังวิญญาณ
ส่วนฮุ้งที่สะท้อนสติปัญญา ฮุ้งดวงวิญญาณของคนจึงอาจเปรียบได้กับจุด
ความสว่างของแสงเทียน และอาจกล่าวได้ว่า ฮุ้งเป็นสิ่งเดียวในร่างกายที่อยู่
เหนือกาลเวลา และเป็นอมตะ มีธรรมชาติเดิมเหมือนพลังฟ้า-ดิน และ
สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยตนเอง เมื่อแยกออกจากขั้วในร่างกาย และเริ่มจุติเข้าใน
ร่างกายมนุษย์ตอนเป็นทารกในครรภ์มารดา เมื่อหลังคลอดจะรวมกันอยู่ที่
บริเวณภายในกึ่งกลางหน้าผากระหว่างตาทั้งสอง ทำให้คนเรามองเห็นด้วย
สายตาในชีวิตประจำวันกลับคืน ส่วนคลื่นฮุ้งนี้จะไหลลงเก็บสู่ตับ ทำให้เราเกิดความฝันต่างๆ
ส่วนวิญญาณหยินเผ็กนั้น จะรวมกันอยู่บริเวณหัวใจ
ใกล้จุดศูนย ์กลางของระบบเลือด มีอิทธิพลต่อสภาวะอารมณ์จิตใจระดับ
ต่างๆ ในตัวบุคคล คนจีนเชื่อว่า เมื่อถึงเวลาที่คนเราต้องสิ้นอายุขัย วิญญาณฮุ้ง 3 กระแสจะ
ไหลหลุดออกจากร่างของจมูกและปาก ภายใน 7 ถึง 49 วันจึงจะหมดจาก
ร่าง ส่วนวิญญาณหยินเผ็ก 7 กระแสจะยังคงอยู่ในร่างฝังไปกับดิน
และจะค่อยๆ เคลื่อนออกจากร่างจนสิ้นใช้เวลาเป็นปี ดังนั้น คนจีนจึงนิยมใช้ไข่มุกหรือหยกอุดรูปาก
จมูกเพื่อป้องกันการเข้า-ออกของวิญญาณ และเพื่อป้องกัน
มิให้วิญญาณของส่วนถูกรบกวน พิธีการฝังศพคนจีนจึงเป็นการเคารพและให้

ความสำคัญต่อวิญญาณทั้ง 7 กระแสของเผ็กที่มีธรรมชาติกลับสู่พื้นดินดังเดิม
การจุติของคลื่นบริสุทธิ์แรกก่อนที่จะประกาศเข้าในร่างกาย
และรวมเป็นสิ่งมีชีวิตต้องเกิดการจุติของประจุคลื่นวิญญาณ
เป็น 5 ส่วน แต่ละส่วนแยกเป็น 2 ขั้ว หยินกับหยางเป็น 10 ส่วนในวงจร
การจุติครั้งที่ 1 เป็นขั้วปฏิสนธิวิญญาณอันเริ่มต้นวินาทีแรกทันทีที่บิดา มารดามีเพศสัมพันธ์
บริเวณหน้าท้องของมารดาบังเกิดกระแสเหนี่ยวนำของ
สนามแม่เหล็ก มีความร้อนสูงพอใจที่จะทำให้เกิดการรวมตัวอัดแน่นเข้าหา
จุดศูนย์กลาง (Fusion) ทำให้ตัวอสุจิสปาร์กและชาร์จประจุระหว่างไข่กับ
อสุจิ ก่อให้เกิดการจุติของประจุแรกของวงจรกระแสวิญญาณ อันมีธาตุน้ำ
ของอสุจิบิดาและพลังสายฟ้าแลบจากหลั่ง พลังช่วงสั้นขับเคลื่อนเพียงพอ
แค่ตัวอสุจิปฏิสนธิผสมกับไข่ ต่อมาไข่ได้รับพลังขับเคลื่อน
หมุนรอบตัวเองจากผนังมดลูกที่ได้รับแรงสั่นสะเทือนเป็นความถี่กำหนด
สะท้อนจากแรงเหวี่ยงหมุนรอบตัวเองของโลก ทำให้ไข่สุกนี้หมุนเคลื่อนที่ไปจนเริ่มหยุดและฝังตัวในผนังมดลูกของมารดา
จากนี้วงจรขั้ววิญญาณส่วนที่ 2 ก็เริ่มโดยการย้ายจุดศูนย์กลาง จากปีก
มดลูกเข้าสู่กลางมดลูกใต้ท้องน้อยอันเป็นฐานแรกของการเพาะพันธุ์
ขั้ววิญญาณส่วนที่ 2 (Soul) ซึ่งเกิดขึ้นหลังช่วงปฏิสนธิ 1 สัปดาห์
โดยมีธรรมชาติเป็นปัจจัย ธาตุไม้อัน
เป็นเช่นเมล็ดพันธุ์พืชเริ่มลงดินฝังรากลงลึก
และแยกส่วนลำต้นขึ้นบน ช่วงนี้อวัยวะส่วนตับจะเริ่มงอกออกเม็ดเลือดแรก
เริ่มก่อตัว ต่อมาวงจรที่ 3 ของวิญญาณเริ่มพัฒนาหลังจากตัวอ่อนเริ่ม
งอกระบบอวัยวะประกอบเป็นตัวทันที ส่วนหัวใจที่มีธาตุไฟ
เป็นพลังกำหนดส่งสัญญาณประจุจากฟ้ากระตุ้นเป็นจังหวะแรกของการสั่น
ของจุดศูนย์กลางที่กลายเป็นอวัยวะหัวใจต่อมา โดยย้ายฐานใหม่จากผนัง
มดลูกสู่ศูนย์กลางหัวใจและจุดชีพจรเริ่มเกิด (Spirt) วิญญาณอีกส่วน
ต่อมาวงจรที่ 4 ของวิญญาณเริ่มพัฒนาโดยรวมเอาปัจจัยส่วน
ของรกที่รวบรวมเอาธาตุภูมิสิ่งแวดล้อมในรูปของสภาวะเลือด
มารดาที่สกัดจากอาหารที่มารดารับประทานถ่ายทอดจากรกสู่สายสะดือ
กลายเป็นเบ้าหลอมอุปนิสัยใจคอของทารกที่จะเกิดเป็นปัจจัยกำหนดความ
นึกคิดจากพลังฤดูกาล ภูมิลำเนา บ้านเกิด พลังวิญญาณส่วนนี้
จะสะสม บริเวณม้ามอันเป็นธาตุดินในตัวทารกก่อให้เกิดสติสัมปชัญญะเข้าสู่การจะ
เป็นมนุษย์เต็มที่ ส่วนวงจรที่ 5 อันเป็นวงจรสุดท้ายในช่วงครรภ์และการคลอด
คือทันทีที่ทารกคลอดหลุดพ้นปากช่องคลอดมารดา
วินาทีแรกที่ทารกอ้าปากร้องเปล่งเสียงออกจากปอด
ปอด เริ่มทำงานรับลมหายใจของบรรยากาศโลกเข้าสู่
ปอดเป็นการเปิดวงจรขั้วที่ 5 เสร็จสมบูรณ์ จากฐานสะดือที่เคยมีสายรกเป็น
ศูนย์กลางย้ายขึ้นบน เป็นปอดและหัวใจทั้งระบบ
การหายใจและการหมุน เวียนของโลหิตในร่างกาย
เปรียบเสมือนการเริ่มทำการเปิดเครื่องโทรศัพท์ไร้
สายมือถือระบบสัญญาณผ่านดาวเทียม ด้วยเลขรหัส 5 ส่วน รวมกับรหัส
หมายเลขดีเอ็นเอ ทางพันธุกรรมที่เป็นหมายเลขเครื่องกับรหัสหมายเลข
สัญญาณ 10 หลักจากส่วนคลื่นวิญญาณ คนจึงเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีกาย ใจ
วิญญาณที่ได้รับสัมปทานและหมายเลขเครื่องรหัสเบอร์โทรครบพร้อม
อุปกรณ์ชาร์จแบตเตอรี่ครบทั้งระบบ การดูแลสุขภาพและหมั่นพัฒนาจิตกระแสให้ละเอียด
และบริสุทธิ์จนกว่าจะครบกำหนดวาระ 120 ปีโดยมีปัจจัยของอาหารประจำวัน
อันมีข้าวกล้องเป็นอาหารหลักเปรียบดั่งแบตเตอรี่ที่ธรรมชาติกำหนดมาให้คู่กับมนุษย์ที่มีจิต
วิญญาณ เมื่อใดเราเปลี่ยนอาหารที่ไม่ใช่ข้าวกล้อง เมื่อนั้น
เราเปลี่ยนคุณภาพแบตเตอรี่ที่ด้อยคุณภาพ ทำให้เราไม่สามารถพัฒนาคลื่น
ความถี่ของจิตวิญญาณเราให้ละเอียดพอตามมาตรฐานที่ธรรมชาติกำหนดเรา
จึงพลาดความประเสริฐที่เราควรจะเป็น
โดยคุณ : คารวะบรรพบุรุษ