สถานการณ์น้ำท่วม เกิดขึ้นเป็น ประจำทุกปี... จนต้องมีคำถาม ... ภาครัฐมีมาตรการ แก้ปัญหาได้ขนาดไหน
กลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา...นายสุวิทย์ คุณกิตติ เจ้ากระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ร่วมกับนายเกษม จันทจรูญพงษ์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ จัดตั้งศูนย์ป้องกันวิกฤติน้ำขึ้นมา เพื่อเก็บข้อมูลและหาแนวทางแก้ปัญหาน้ำท่วมทั่วประเทศ
สุพจน์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันวิกฤติน้ำ บอกว่า หน้าที่หลักของศูนย์คือเตรียมข้อมูล ติดตามความเคลื่อนไหวของปริมาณน้ำทั้งประเทศ
พื้นที่ไหนเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน ก็จะช่วยประสานแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ชาวบ้านเตรียมตัวเก็บข้าวของ ย้ายไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย หรือกั้นกระสอบทรายป้องกันน้ำท่วม
สถานการณ์น้ำใน ภาคเหนือ น้ำจากเชียงรายจะไหลลงมาที่แม่น้ำกก โซนเชียงใหม่ก็ไหลลงแม่น้ำปิง ส่วนลำปางก็ไหลลงแม่น้ำวัง
น้ำภาคเหนือจากแม่น้ำ ปิง วัง ยม น่าน สาละวิน รวมกับน้ำจากจังหวัดแพร่และสุโขทัย จะไหลมารวมกัน ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา
นี่คือเส้นทางการเคลื่อนที่ของน้ำทางภาคเหนือ โดยมี เขื่อนขนาดใหญ่ คือเขื่อนภูมิพลกับเขื่อนสิริกิติ์ คอยกักเก็บน้ำหลักในพื้นที่ภาคเหนือ... ภาคกลาง
ปัญหาน้ำท่วมภาคเหนือ จึงเกิดจากสาเหตุเดียวคือ...ฝนตกหนัก แต่เขื่อนขนาดใหญ่จุน้ำได้เยอะกว่า... บริหารจัดการน้ำในเขื่อนได้ดีกว่า
“ ภาคเหนือ...สภาพพื้นที่ลาดชัน ถึงน้ำจะท่วมก็ท่วมไม่นาน ฝนตกลงมาจะไม่ขัง น้ำจะไหลผ่านไปได้... เว้นแต่พื้นที่เป็นแก้มลิง มีสิ่งกีดขวางทางน้ำ...บล็อกน้ำเอาไว้ ก็ต้องแก้ปัญหาด้วยการสูบออก”
สุพจน์ บอกว่า พิจารณาพื้นที่น้ำท่วมจากภาพถ่ายดาวเทียม จะโทษถนนว่าเป็นปัญหาหลัก ทำให้น้ำท่วมก็คงไม่ได้ ถนนเป็นของกรมทางหลวง กรมทางหลวงก็บอกว่าไม่ผิด ก่อนจะสร้างคำนวณหลายครั้งแล้ว ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม...แต่น้ำท่วม...เพราะ...น้ำมาเยอะ
ถ ้าเกิดจากปัญหานี้ แก้ไขได้ง่ายๆ ทำสะพานให้กว้างขึ้น รองรับการระบายน้ำในปริมาณมากๆได้ ปัญหาถนนกลายเป็นเขื่อนเก็บน้ำก็จะหมดไป แต่ต้นทุนต้องเพิ่มขึ้น
แม้ว่าการทำสะพานตรงจุดกั้นน้ำทุกจุด...จะมีค่าใช้จ่ายสูง แต่ถ้าจะแก้ปัญหาน้ำท่วมขัง... ก็จำเป็นต้องปรับปรุงในส่วนนี้
เหนือ...อีสาน เรื่องกักน้ำยังมีปัญหา ลุ่มน้ำยมกับลุ่มน้ำปิง
แนวแม่น้ำปิง จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน มีปัญหาน้ำท่วม น้อยกว่าปัญหาน้ำไม่พอใช้ จนต้องผันน้ำจากแม่น้ำกกและแม่น้ำโขงเข้ามาเสริมเพื่อใช้ในการเกษตร และกักเก็บไว้ที่เขื่อนภูมิพล เพื่อให้มีความสามารถในการจ่ายน้ำในหน้าแล้ง
ลุ่มน้ำยม...มีปัญหาหนักที่สุด เพราะยังไม่มีเขื่อนกักเก็บน้ำ
ลุ่มน้ำปิง ยังมีเขื่อนภูมิพล เขื่อนต่างๆเยอะไปหมด แต่ลุ่มน้ำยมไม่มีเขื่อนขนาดใหญ่เลย แต่ก็มีโครงการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น แต่ต้องคำนึงถึงผลกระทบอีกเยอะ ตอนนี้ยังไม่มีบทสรุป
แต่การแก้ปัญหา...แม่น้ำยมก็จำเป็นต้องมีแหล่งเก็บน้ำขนาดใหญ่ไว้ 1 แห่ง แนวทางที่วางแผนเอาไว้ จะใช้ประโยชน์จากเขื่อนสิริกิติ์ ให้เขื่อนเก็บน้ำในช่วงหน้าฝน พอถึงหน้าแล้งก็ระบายคืนให้กับลุ่มน้ำยม
“ถ้าแม่น้ำยมมีเขื่อนเก็บกักน้ำไว้ได้ รับรองว่า จะลดปริมาณน้ำท่วมจังหวัดแพร่...สุโขทัย ได้เกินครึ่ง”
เขื่อนขนาดใหญ่ แก้ปัญหาน้ำท่วมได้ในหน้าน้ำ เมื่อถึงหน้าแล้งถ้าบริหารจัดการ น้ำในเขื่อนไม่ดีก็อาจมีปัญหา
“ หน้าแล้งทุกปี...น้ำจากเขื่อนสิริกิติ์ไม่พอ แต่น้ำแม่น้ำยมกลับมีเหลือเฟือ มองอย่างเป็นระบบ จะทดแทนปัญหาขาดน้ำในพื้นที่นี้ได้ ต้องใช้การผันน้ำจากแม่น้ำยม...น่าน วิ่งออกมาเข้ามาเก็บไว้ที่เขื่อนสิริกิติ์”
น้ำที่เขื่อนเหลือจะรับได้ ก็จะไหลลงแม่น้ำยมเข้าแพร่ สุโขทัย
หากน้ำมาถึงแพร่ สุโขทัย สองจังหวัดนี้ก็ต้องทำโครงการแก้ปัญหา เริ่มจากสร้างกำแพงน้ำล้อมเมืองเอาไว้ในจุดที่เป็นพื้นที่ต่ำ
การแก้ปัญหาน้ำท่วม จึงจำเป็นต้องทำร่วมกันอย่างเป็นระบบ
การแก้ไข...ไม่จำเป็นต้องสร้างเขื่อนเพราะลงทุนสูง แต่ใช้การกักเก็บน้ำแบบแก้มลิง ถ้าแก้ปัญหาได้ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องสร้างเขื่อน
“ แทนที่จะสร้างเขื่อน เก็บน้ำ 1 พันล้านลูกบาศก์เมตร อาจสร้างเป็นฝายทดน้ำ เก็บน้ำได้ 500-400 ล้านลูกบาศก์เมตร น้ำที่เหลือเก็บไม่ได้ก็สร้างอุโมงค์น้ำผันไปเก็บที่เขื่อนสิริกิติ์ มีที่ เก็บเยอะอยู่แล้ว ระยะทางกว่า 100 กิโลฯ งบที่ใช้ย่อมน้อยกว่าการสร้างเขื่อนมาก”
วิธีการนี้เป็นการสร้างระบบเชื่อมโยงน้ำตามลุ่มน้ำต่างๆให้ใช้ประโยชน์ ได้อย่างเต็มที่
เขื่อนสิริกิติ์เก็บน้ำได้ 2,000 กว่าล้านลูกบาศก์เมตร ข้อมูลที่ผ่านมาแม้ว่าเขื่อนจะเก็บน้ำได้มากมาย แต่เขื่อนก็ไม่มีน้ำให้เก็บ
ถ้ามีระบบเก็บน้ำจากทุกจุดของลุ่มน้ำยมในช่วงหน้าฝน ก็ยังเก็บได้อยู่ นอกจากจะแก้ปัญหาน้ำท่วม ทางลุ่มน้ำยม ได้แล้ว ยังช่วยให้ สถานการณ์น้ำในเขื่อนสิริกิติ์ดีขึ้นด้วย
เขื่อนขนาดใหญ่อย่าง เขื่อนภูมิพล กับ เขื่อนสิริกิติ์ มีระบบการจัดการเขื่อนเหมือนกับเขื่อนทั่วไป
ในแง่การบริหารจัดการน้ำเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตจะควบคุม ปริมาณน้ำให้อยู่ใน ระดับล่างของเส้นมาตรฐานที่เป็นเส้นระดับน้ำที่ดีที่สุด
ห ลักการควบคุมระดับน้ำในเขื่อนให้อยู่ในระดับนี้ จะอาศัยช่วงจังหวะเวลาการใช้ประโยชน์จาก น้ำในเขื่อนและสภาพภูมิอากาศมาเป็นตัวแปรสำคัญ
เมื่อเขื่อนเก็บน้ำอยู่ในระดับเส้นมาตรฐาน จะค่อยๆปล่อยน้ำใช้เพื่อการเกษตร พอถึงเดือนกรกฎาคม ฝนเริ่มตก ระดับน้ำในเขื่อนก็ควรจะต้องอยู่จุดต่ำสุดของเขื่อน ให้เก็บน้ำในหน้าฝนได้มากที่สุด แต่เขื่อนก็ต้องมีระดับน้ำที่ผลิตกระแสไฟฟ้าได้
“เขื่อนรับฝนได้เต็มที่ ระดับน้ำก็จะถูกกักเก็บเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พอใกล้ปลายฤดูฝน น้ำก็เต็มเขื่อน”
ส ุพจน์ บอกว่า การบริหารจัดการน้ำในเขื่อน ที่ทำกันบางช่วงเวลาไม่ได้เป็นเช่นนี้ สมมุติปีนี้ระดับน้ำในเขื่อนมีน้อย...เขื่อนเก็บไว้ได้น้อย พอถึงหน้าแล้ง เขื่อนปล่อยน้ำออกมาไม่พอใช้ ช่วงมีน้ำมา เขื่อนก็ต้องพยายามกักน้ำให้มากๆ ให้มีระดับน้ำเพิ่มขึ้นมา
ถ้าช่วงนี้ เดือน ก.ย. ต.ค. พ.ย. ฝนแล้ง...ฝนไม่ตก การบริหารจัดการน้ำในเขื่อน ให้ถึงระดับมาตรฐานก็ยิ่งจะมีปัญหา
“น้ำในเขื่อนขึ้นมาเพียงเล็กน้อย หน้าแล้งปีหน้า ก็จะยิ่งแล้งหนักกว่าปีนี้”
ตัวแปรความไม่แน่นอนของปริมาณน้ำเกิดจากน้ำฝน ในทางปฏิบัติก็มักมีหลักการบริหาร จัดการเขื่อนแบบง่ายๆ...
ฝนตกก็ต้องรีบเก็บน้ำเอาไว้ให้มากที่สุด เดือนธันวาคมต้องให้ถึงระดับเส้นมาตรฐานของ แต่ละเขื่อน แต่การปฏิบัติที่ทำกันจริงๆ ยังใช้หลักบริหารแบบพาวเวอร์รูล บริหารน้ำในเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้า
หน้าแล้งปล่อยให้น้ำในเขื่อนลดระดับมากไม่ได้ หน้าฝนก็เลยมีปัญหากักเก็บน้ำได้ไม่เต็มที่ ต้องปล่อยน้ำออกจากเขื่อน ผ่านมายังพื้นที่หลังเขื่อน
การบริหารจัดการน้ำในเขื่อนไม่มีประสิทธิภาพเต็มที่ น้ำจากเขื่อนก็เลยทะลักล้น กลายเป็นปัจจัยหนึ่งของปัญหาน้ำท่วม.