เมื่อวานนี้ผมได้หนังสือหลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก ระผมจึงอยากมานำเผยแพร่เพื่อควรยึดเป็นแบบอย่างในการเจริญรอยตามเบื้องพระยุ คลบาท นำมาปฏิบัติเพื่อให้บังเกิดผลต่อตนเอง สังคมและประเทศชาติตลอดไป
หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีดังต่อไปนี้
1. ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบการที่จะพระราชทานโครงการใดโครงการหนึ่งนั้น จะทรงศึกษาข้อมูลรายละเอียดอย่างเป็นระบบ ทั้งจากข้อมูลเบื้องต้น จากเอกสาร แผนที่ สอบถามเจ้าหน้าที่ นักวิชาการและราษฎรในพื้นที่เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อที่จะพระราชทานความช่วยเหลือได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วตรงตามความต้องการของประชาชน
2. ระเบิดจากข้างในพระองค์ทรงมุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาคน ต้องสร้างความเข้มแข็งให้คนในชุมชนที่เราเข้าไปพัฒนาให้มีสภาพพร้อมที่จะรับเสียก่อน แล้วจึงค่อยออกมาสู่สังคมภายนอก มิใช่การนำเอาความเจริญหรือบุคคลจากสังคมภายนอกเข้าไปหาชุมชน หมู่บ้าน ที่ยังไม่ทันได้มีโอกาสเตรียมตัวหรือตั้งตัว
3. แก้ปัญหาที่จุดเล็กพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเปี่ยมไปด้วยพระอัจฉริยภาพในการแก้ปัญหา ทรงมองปัญหาในภาพรวม (Macro) ก่อนเสมอ แต่การแก้ปัญหาของพระองค์จะเริ่มจากจุดเล็ก ๆ คือ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่คนมักจะมองข้าม ดังพระราชดำรัสที่ว่า "…..ถ้าปวดหัวก็คิดอะไรไม่ออก…….. เป็นอย่างนั้นต้องแก้ไขการปวดหัวนี้ก่อน……..มันไม่ได้เป็นการแก้อาการจริง แต่ต้องแก้ปวดหัวก่อน เพื่อที่จะให้อยู่ในสภาพที่คิดได้…….แบบ Macro นี้เขาจะทำแบบรื้อทั้งหมด ฉันไม่เห็นด้วย……… อย่างบ้านคนอยู่ เราบอกบ้านนี้มันผุตรงนั้น ผุตรงนี้ไม่คุ้มที่จะไปซ่อม…… เอาตกลงรื้อบ้านนี้ระเบิดเลย เราจะไปอยู่ที่ไหน ไม่มีที่อยู่………. วิธีทำต้องค่อย ๆทำ จะไประเบิดหมดไม่ได้
4. ทรงทำตามลำดับขั้น"…การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมีพอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน ใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานที่มั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้วจึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป หากมุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับภาวะของประเทศและของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่าง ๆขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด ดังเห็นได้ที่อารยประเทศกำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงในเวลานี้…"
5. ภูมิสังคม"…การพัฒนาจะต้องเป็นไปตามภูมิประเทศ ภูมิศาสตร์และภูมิประเทศทางสังคมศาสตร์ในสังคมวิทยา คือนิสัยใจคอของคนเราจะไปบังคับให้คนอื่นคิดอย่างอื่นไม่ได้ เราต้องแนะนำ เราเข้าไป ไปช่วยโดยที่จะคิดให้เขาเข้ากับเราไม่ได้ แต่ถ้าเราเข้าไปแล้ว เราเข้าไปดูว่าเขาต้องการอะไรจริง ๆ แล้วก็อธิบายให้เขาเข้าใจหลักการของการพัฒนานี้ก็จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง…"
6. องค์รวมทรงมีชีวิตคิดอย่างองค์รวม (Holistic) หรือมองอย่างครบวงจร ในการที่จะพระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับโครงการหนึ่งนั้นจะทรงมองเหตุการณ์ท ี่จะเกิดขึ้นและแนวทางแก้ไขอย่างเชื่อมโยง ดังเช่น กรณีของ "ทฤษฎีใหม่" ท ี่พระราชทานให้แก่ปวงชนชาวไทย เป็นแนวทางในการประกอบอาชีพนับเป็นแนวทางหนึ่งที่พระองค์ทรงมองอย่างองค์รวม ตั้งแต่การถือครองที่ดิน โดยเฉลี่ยของประชาชนคนไทยประมาณ ๑๐ - ๑ ๕ ไร่ เพื่อการบริหารจัดการที่ดิน และแหล่งน้ำอันเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการประกอบอาชีพ เมื่อมีน้ำในการทำเกษตรแล้วจะส่งผลให้ผลผลิตดีขึ้น และหากมีผลผลิตเพิ่มมากขึ้น เกษตรกรจะต้องรู้จักวิธีการจัดการและการตลาด รวมถึงการรวมกลุ่ม รวมพลังชุมชนให้มีความเข้มแข็ง เพื่อพร้อมที่จะออกสู่การเปลี่ยนแปลงของสังคมภายนอกได้อย่างครบวงจร นั่นคือ ทฤษฎีใหม่ ขั้นที่ ๑, ๒ และ ๓
7. ไม่ติดตำราการพัฒนาตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีลักษณะของการพัฒนาที่อนุโลมและรอมชอมกับสภาพธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และสภาพของสังคมจิตวิทยาแห่งชุมชน คือ "ไม่ติดตำรา" ไม่ผูกมัดติดกับวิชาการและเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่แท้จริงของคนไทย
8. ประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุดใ นเรื่องของความประหยัดนี้ ประชาชนชาวไทยทราบกันดีว่าเรื่องส่วนพระองค์ทรงใช้อย่างคุ้มค่าอย่างไร หรือฉลองพระองค์แต่ละองค์ทรงใช้อยู่เป็นเวลานานดังที่นายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เคยเล่าว่า "... กองงานในพระองค์โดยท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ บอกว่าปีหนึ่งพระองค์เบิกดินสอ 12 แท่ง เดือนละแท่งใช้จนกระทั่งกุด ใครอย่าไปทิ้งของท่านนะจะกริ้วเลย ประหยัดทุกอย่างเป็นต้นแบบ ทุกอย่าง ทุกอย่างมีค่าสำหรับพระองค์หมด ทุกบาททุสตางค์จะใช้อย่างระมัดระวัง จะสั่งให้เราปฏิบัติงานด้วยความรอบคอบ..."
9. ทำให้ง่ายSimplicityด้วยพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำให้การคิดค้น ดัดแปลง ปรับปรุง และแก้ไขงานการพัฒนาเป็นไปได้โดยง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และที่สำคัญคือสอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่และระบบนิเวศน์โดยส่วนรวมใช้กฎแห่งธรรมชาติเป็นแนวทาง ฉะนั้น คำว่า "ทำให้ง่าย"จึงเป็นหลักคิดสำคัญที่สุดของการพัฒนาประเทศในรูปแบบของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
10. การมีส่วนร่วมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นนักประชาธิปไตย "ประชาพิจารณ์" มาใช้ในการบริหาร เพื่อเปิดโอกาสให้สาธารณชน ประชาชนหรือเจ้าหน้าที่ทุกระดับได้มาร่วมกัน แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่จะต้องคำนึงถึงความคิดของประชาชน ดังพระราชดำรัสความตอนหนึ่งว่า "…สำคัญที่สุดจะต้องหัดทำใจให้กว้างขวางหนักแน่น รู้จักรับฟังความคิดเห็น แม้กระทั่งความวิพากษ์วิจารณ์จากผู้อื่นอย่างฉลาด เพราะการรู้จักรับฟังอย่างฉลาดนั้น แท้จริงคือการระดมสติปัญญาและประสบการณ์อันหลากหลาย มาอำนวยประโยชน์ในการปฏิบัติบริหารงานให้ประสบความสำเร็จที่สมบูรณ์นั่นเอง…."
11. ประโยชน์ส่วนรวมก ารปฏิบัติพระราชกรณียกิจ และการพระราชทานพระราชดำริ ในการพัฒนาและช่วยเหลือพสกนิกรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงระลึกถึงประ โยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ
12. บริการรวมที่จุดเดียว One-Stop Servicesท รงเน้นในเรื่องการสร้างความรู้ รัก สามัคคีและการร่วมมือร่วมแรงใจกันด้วยการปรับลดช่องว่างระหว่างหน่วยงานที่เ กี่ยวข้อง ที่มักจะต่างคนต่างทำและยึดติดกับการเป็นเจ้าของเป็นสำคัญ ให้แปรเปลี่ยนเป็นการรวมมือกันแนวพระราชดำริ ในการดำเนินบริหารของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่มีอยู่ทั้ง 6 ศูนย์ ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ นับเป็นรูปแบบใหม่ของการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทยอย่างแท้จริงการพึ่ งตนเอง
13. ทรงใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติท รงเข้าใจถึงธรรมชาติและต้องการให้ประชาชนใกล้ชิดกับธรรมชาติทรงมองอย่างละเอ ียดถึงปัญหาธรรมชาติ หากเราต้องการแก้ไขธรรมชาติ จะต้องใช้ธรรมชาติเข้าช่วยเหลือ อาทิ การแก้ไขปัญหาป่าเสื่อมโทรมได้พระราชทานพระราชดำริ การปลูกป่า โดยไม่ต้องปลูก ปล่อยให้ธรรมชาติช่วยในการฟื้นฟูธรรมชาติ
14. ใช้อธรรมปราบอธรรมแนวปฏิบัติที่สำคัญในการแก้ปัญหาและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสภาวะที่ไม่ปกติให้เข้าสู่ระบบที่เป็นปกติ เช่น การนำน้ำดีขับไล่น้ำเสีย หรือเจือจางน้ำเสียให้กลับเป็นน้ำดี ตามจังหวะการขึ้นลงตามธรรมชาติของน้ำ การบำบัดน้ำเสียโดยใช้ผักตบชวาซึ่งมีตามธรรมชาติ ให้ดูดซับสิ่งสกปรกปนเปื้อนในน้ำ ดังพระราชดำรัสว่า "ใช้อธรรมปราบอธรรม"
15. ปลูกป่าในใจคนพระราชดำรัสตอนหนึ่งความว่า "….เจ้าหน้าที่ป่าไม้ควรจะปลูกต้นไม้ลงในใจคนเสียก่อน แล้วคนเหล่านั้นก็จะพากันปลูกต้นไม้ลงบนแผ่นดินและรักษาต้นไม้ด้วยตนเอง"
16. ขาดทุนคือกำไรขาดทุน คือ กำไร (Our loss is our gain…) การเสีย คือ การได้ ประเทศก็จะก้าวหน้า และการที่คนอยู่ดีมีสุขนั้น เป็นการนับที่เป็นมูลค่าเงินไม่ได้...ต่อพสกนิกรชาวไทย "การให้" "การเสียสละ" เป็นการกระทำอันมีผลเป็นกำไร คือความอยู่ดีมีสุขของราษฎร....
17. การพึ่งตนเอง"…การช่วยเหลือสนับสนุนประชาชนในการประกอบอาชีพ และตั้งตัวให้มีความพอกินพอใช้ ก่อนอื่นเป็นสิ่งสำคัญยิ่งยวด เพราะผู้มีอาชีพ และฐานะเพียงพอที่จะพึ่งพาตนเองได้ ย่อมสามารถสร้างความเจริญในระดับสูงขั้นต่อไป…"
18. พออยู่พอกินการพัฒนาเพื่อให้พสกนิกรทั้งหลายประสบความสุขสมบูรณ์ในชีวิต ได้เริ่มจากการเสด็จฯไปเยี่ยมประชาชนทุกหมู่เหล่าในทุกภูมิภาคของประเทศ ได้ทอดพระเนตรความเป็นอยู่ของราษฎรด้วยพระองค์เอง จากนั้นได้พระราชทานความช่วยเหลือให้มีความอยู่ดีกินดี มีชีวิตอยู่ในขั้น "พออยู่พอกิน" ก่อน แล้วจึงขยับขยายให้มีขีดสมรรถนะที่ก้าวหน้าต่อไป ดังพระราชดำรัสความตอนหนึ่งว่า " ถ้าโครงการดี ในไม่ช้า ประชาชนก็ได้กำไร จะได้ผลราษฏรจะอยู่ดีกินดีขึ้น จะได้ประโยชน์ไป..."
19. เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด มานานกว่า25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง และยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆโดยยึดหลักทางสายกลางพอเพียง พอประมาณด้วยเหตุผล มีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีสำนึกในคุณธรรมมีความซื่อสัตย์ สุจริตดำเนินชีวิตด้วยความอดทนมีสติปัญญา รอบคอบ
20. ความซื่อสัตย์ สุจริต และกตัญญู"…คนที่ไม่มีความสุจริต คนที่ไม่มีความมั่นคง ชอบแต่มักง่าย ไม่มีวันจะสร้างสรรค์ประโยชน์ส่วนรวมที่สำคัญอันใดได้ ผู้ที่มีความสุจริตและความมุ่งมั่นเท่านั้นจึงจะทำงานสำคัญยิ่งใหญ่ที่เป็นคุณเป็นประโยชน์แท้จริงได้สำเร็จ…."พระราชดำรัสเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2522
ผู้ที่มีความสุจริตและบริสุทธิ์ใจ แม้จะมีความรู้น้อยก็ย่อมทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้ มากกว่าผู้มีความรู้มากแต่ไม่มีความสุจริต ไม่มีความบริสุทธิ์ใจ…." พระราชดำรัสเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2533
21. ทำงานอย่างมีความสุขพ ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระเกษมสำราญและทรงมีความสุขทุกคราที่จะช่วยเหลือ ประชาชน ซึ่งเคยรับสั่งครั้งหนึ่งว่า...ทำงานกับฉัน ฉันไม่มีอะไรจะให้ นอกจากการมีความสุขร่วมกัน ในการทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น...
22. ความเพียร:พระมหาชนกพ ระบาทสมเด็จอยู่หัว ทรงเริ่มทำโครงการต่างๆในระยะแรกที่ไม่มีความพร้อมในการทำงานมากนัก และทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ทั้งสิ้น แต่พระองค์ก็มิได้ท้อพระราชหฤทัย มุ่งมั่นพัฒนาบ้านเมืองให้บังเกิดความร่มเย็นเป็นสุข
23. รู้ รัก สามัคคีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสในเรื่อง รู้ รัก สามัคคี มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นคำสามคำ ที่มีค่าและมีความหมายลึกซึ้ง พร้อมทั้งสามารถปรับใช้ได้กับทุกยุด ทุกสมัย
รู้ การที่เราจะลงมือทำสิ่งใดนั้น จะต้องรู้เสียก่อน รู้ถึงปัจจัยทั้งหมด รู้ถึงปัญหาและรู้ถึงวิธีการแก้ปัญหา
รัก คือความรักที่เมื่อเรารู้ครบด้วยกระบวนความแล้วจะต้องมีความรัก ความพิจารณาที่จะเข้าไปลงมือปฏิบัติแก้ไขปัญหานั้น ๆ
สามัคคี สามัคคี แต่การที่จะลงมือปฏิบัตินั้น ควรคำนึงเสมอว่าเราจะทำงานคนเดียวไม่ได้ ต้องทำงานร่วมมือร่วมใจเป็นองค์กร เป็นหมู่คณะ จึงจะมีพลังเข้าไปแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปด้วยดี
การทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยึดการดำเนินงานในลักษระทางสายกลางที่สอดคล้องกับสิ่งที่อยู่รอบตัว และสามารถปฏิบัติได้จริง ทรงมีความละเอียดรอบคอบและทรงคิดค้นหาแนวทางพัฒนาเพื่อมุ่งสู่ประโยชน์ต่อปร ะชาชนสูงสุด
อ้างอิงจาก หนังสือ สำนักงานคณะกรรมการการพิเศษเพื่อประสานโครงกการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทองสง่า ผ่องแผ้ว 21/07/2550
ที่มา http://gotoknow.org/blog/eduresearch/113228