++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

รพ.เวียงเชียงรุ้งรับสมัครเจ้าพนักงานวิทยา ศาสตร์การแพทย์

วันที่: 2010-05-27 00:00:00 ถึง: 2010-06-27 00:00:00

แหล่งที่มา: thanacome
โทรศัพท์: 053-953137-106
E-Mail: thanacome@hotmail.com
Url: http://www.mtcouncil.org/download_file.php?src=YXR0YWNobWVudC9mb3J1bXMyLzM2NzM=&name=LMT.pdf

รับสมัครพนักงานวิเคราะห์สุขภาพทางโทรศัพท์

วันที่: 2010-05-28 00:00:00 ถึง: 2010-06-10 00:00:00

ศูนย์โภชนาการบำบัด รับเจ้าหน้าที่วิเคราะห์สุขภาพทางโทรศัพท์ ทั้ง Part
time / Full time
ติดต่อ 0846527771

แหล่งที่มา: ธัชพล
โทรศัพท์: 0846527771
E-Mail: iperfecthealth@gmail.com

การประชุมวิชาการสาธารณสุขเขต 7 ปี 2553

วันที่: 2010-05-31 00:00:00 ถึง: 2010-06-07 00:00:00

ประชุมวิชาการสาธารณสุขระดับเขต 7 ปี 2553

หัวข้อ: "Harmonization of Quality Through Diversity"

วันที่ 25-27 สิงหาคม 2553 ณ มาริไทม์ ปาร์ค แอนด์ สปา รีสอร์ท
อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่

สำนัก งานสาธารณสุขเขต 7
ได้มอบหมายให้โรงพยาบาลกระบี่รับผิดชอบดำเนินการจัดการประชุมวิชาการประจำปี
2553 เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขทุกสาขาวิชาชีพของเขต 7
ได้มีโอกาสเผยแพร่องค์ความรู้จากการศึกษาวิจัย/ผลงานทางวิชาการที่เกี่ยว
ข้องด้านคุณภาพ รวมทั้งได้พัฒนาความรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์
สร้างเครือข่ายความช่วยเหลือกันทางวิชาการ
และส่งเสริมการนำองค์ความรู้จากการศึกษาวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทางการ
แพทย์และสาธารณสุข ตลอดจนมุ่งหวังให้ทุกองค์กรมีการพัฒนาไปสู่ความยั่งยืน

โรง พยาบาลกระบี่ ขอเชิญชวนบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขของเขต 7
ที่สนใจ ส่งผลงานวิชาการเข้าร่วมประกวดได้ตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน 2553
เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 2 กรกฎาคม 2553

เอกสารประกอบ

1.กำหนด การ (Important Dates)

2.ใบแสดงความจำนงสำหรับผู้นำเสนอผลงาน (Application form )

3.ไฟล์ต้นฉบับ (template) บทคัดย่อภาษาอังกฤษ (English Abstract Template)

4.ไฟล์ต้นฉบับ (template) บทคัดย่อภาษาไทย (Thai Abstract Template)

5.ไฟล์ต้นฉบับ (template) บทความฉบับเต็ม (Full Paper Template )

6.คำแนะนำการ เขียนบทความฉบับเต็ม (Full Paper Template Guideline)

7.คำชี้แจงการ นำเสนอผลงานวิชาการเขต 7 ปี 2553 (Presentation Guideline)

หมายเหตุ เอกสารประกอบข้างต้น กรุณาส่งอีเมลมายัง
vichakarn53@hotmail.com เพื่อส่งรายละเอียดไฟล์ถึงท่าน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

กลุ่ม งานพัฒนาระบบบริการสุขภาพ โรงพยาบาลกระบี่
โทร. 0-7561-1212 ต่อ 1040
โทร สาร. 0-7561-1202

กลุ่มงานประกันสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกระบี่
โทร. 0-7561-1012-3 ต่อ 24, 152

E-mail: vichakarn53@hotmail.com

แหล่งที่มา: คณะกรรมการวิชาการเขต 7
โทรศัพท์: 0-7561-1212 ต่อ 1040, 0-7561-1012-3 ต่อ 24, 152
E-Mail: vichakarn53@hotmail.com

รับสมัครคัดเลือกพยาบาลวิชาชีพ

รับสมัครคัดเลือกพยาบาลวิชาชีพ
วันที่: 2010-05-31 00:00:00 ถึง: 2010-06-11 00:00:00

รับสมัครคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งพยาบาล
วิชาชีพ ระดับปฏิบัติการ อัตราเงินเดือน 7,940 บาทตำแหน่งเลขที่ 15373
งานห้องคลอด กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลอินทร์บุรี สสจ.สิงห์บุรี จำนวน 1
ตำแหน่ง

แหล่งที่มา: โรงพยาบาลอินทร์บุรี
โทรศัพท์: 08 7769 5728
E-Mail: p_jaka@hotmail.com

พิชัยสงครามฉบับแม้ว

อันสามเหลี่ยม ทองคำ นำสวัสดิ์
เป็นที่จัด กำลัง ตั้งพหล
ชัยภูมิ ล้ำลึก ฝึกไพร่พล
อีกผู้คน พร้อมพรั่ง ระวังภัย

ข้าทักสิน บินมา บัญชาทัพ
อาจขยับ รบล่อ ตีต่อได้
คุมทั้งเหนือ อีสาน ชาญชัย
เป็น ทัพใหญ่ รบรุก บุกประจัญ

แบ่งกองทัพ เปนสอง เข้าลองศึก
เหนือ อีสาน คักคึก เร่งประขัน
ทัพทางเหนือ ชวลิต คิดโรมรัน
กำลังขวัญ เพิ่มพูน หนุนนำชัย

ทัพอีสาน ท่านแม้ว ผู้แกล้วกล้า
นำโยธา บุกเบิก เป็นฤกษ์ใหญ่
เข้ารุกราน หาญกล้า อย่ากลัวใคร
ทั้งนายไพร่ พร้อมพรั่ง หวังรำบาญ

โปรดการุณ คุณหมอ รออีกนิด
อย่าพึ่งฉีด ตัวยา ก่อนอาหาร
ข้าทักสิน ยังพ่ายศึก ขอตรึกการ
อยู่สถาน บ้านสมเด็จฯ วิเศษเอยฯ
พิชัยสงครามฉบับแม้ว

คนอีสานที่จงรักภักดีต่อในหลวง และคนอีสานที่ เป็นอีสานน้ำดีทั้งหาย ต้อง รวมใจต่อสู้ อย่ายอมให้ใครมาทำบ้านให้แตก

คนอีสานที่จงรักภักดีต่อในหลวง
และคนอีสานที่ เป็นอีสานน้ำดีทั้งหาย
ต้อง รวมใจต่อสู้ อย่ายอมให้ใครมาทำบ้านให้แตก

คนที่เลือกข้างไอ้แม้ว สิ้นคิดสิ้นดี
แล้วจะรู้ว่านรกเป็นยังไง
โดนมีบถีบหัวส่งเมื่อมันได้ สิ่งที่มันต้องการแล้ว เจ็บปวดแค่ไหน
อย่ายอมให้พวกไอ้แม้วว่าคนอีสานโง่ อีกต่อไป

แกนนำหลายคนมันด่าคนอีสานว่าโง่ บ้องตื้น
เอาเงินฟาดก็จบแล้วให้ทำอะไรทำหมด คิดไม่เป็น

กล่อมนิดเดียวชมๆมัน หน่อยก็ยอมถวายหัวให้แล้ว

คนที่ดูถูกว่าคนอีสานโง่ตัวจริง คือไอ้พวกแกนนำนั่นแหละ!

พี่น้องครับพวกเราอย่าไปให้มันด่าเราว่าโง่ อีกเลย

แผ่นดินนี้เรารักและเราอยู่กันสงบมานาน

เราไม่อยากให้ แผ่นดินนี้กลายเป็นดินแดน ลับแล มีแต่คนเลวๆเข้ามาอยู่

เรารักในหลวง เราจะไม่มีวันนับถือหมาตัวไหนเป็นอันขาด
ลูกอีสานที่รักชาติ

คนอีสานไม่ใช่แดงทั้งหมดคนรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตรย์มีอยู่มากมาย

คนอีสานไม่ใช่แดงทั้งหมดคนรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตรย์มีอยู่มากมาย
คนเหล่านี้ไม่ได้โง่ ได้รับการศึกษาถึงแม้จะน้อยก็ตาม
(แต่เขาก็รักชาติเหมือนทุกคน)
คนไม่ได้อยากจนทุกคน บางคนขยัน จริงใจ ซื่อสัตย์
และมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
ซึ่งความเห็นหรือประโยคต่างๆ
ที่บางคนพยายามจะแบ่งแยกอีสานหรือความเป็นไทยด้วยกันจึงไม่ถูกต้อง
หาก คิดดู เห็นว่าทั่วไทย มีลักษณะเช่นเดียวกัน ยากจน
และไม่ได้เรียนหนังสือ เพราะต้องออกทำงานเลี้ยงครอบครัว
หากคุณไม่แบ่งแยก ก็ไม่แตกต่างอะไรกับคนที่ทำให้ชาติแตกแยกในปัจจุบัน
สุดท้าย ก็มีแต่คนไทยที่ดูถูก ดูแคลนกันเอง (ไม่ดูตัวเอง)
อยากให้คนที่ชอบมองคน อื่นด้อยกว่า หัดรู้จักเห็นใจคนที่จนกว่า ศึกษาต่ำกว่า
หากท่านรู้จัก แบ่ง รู้จักให้ รู้จักเห็นใจ และพยายามเข้าใจ
อย่าหลงลืมตนเอง (ยกตนข่มท่าน)
หากท่านมีการศึกษาจริง เป็นคนที่พัฒนาแล้วจริงๆ ก็ไม่ยากอะไร
เพราะเราต้องการมือและใจของท่าน
โปรดใช้ความรู้ความสามารถ ของท่านในทางที่ถูกที่ควร
แล้วเมืองไทยของเราคงจะมีความสุขมากกว่านี้
ปล. สำหรับคนที่ชอบว่า คนที่มีคู่ครองต่างชาติ(ฝรั่ง) ไม่ว่าจะคนไทย
ฝรั่งหรือชาติไหน ก็เป็นคน
ดิฉันรู้สึกเดือดร้อน เพราะเป็นคนอีสาน มีสามีฝรั่ง แต่ดิฉันจบปริญญาเอก
ไม่ยากจน มีพื้นฐานครอบครัวดี
ดิฉันแค่ คนหนึ่งที่โชคดี เกิดมาในครอบครัวรวย
และแต่ไม่เคยน้อยใจที่เกิดเป็นคนอีสาน
แต่ รู้สึกภูมิใจที่เกิดเป็นคนไทย และอยู่ภายใต้บารมีพ่อหลวง
อยากเห็นคนไทยรักกัน

5 คลิปวิดีโอ การแข่งขันจุดบั้งไฟ ที่บ้านดอนพระจันทร์ อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด 29 พ.ค.2553

เดินทางไปถึงพนมไพรตอนเกือบ 13.00 น. ที่สนามหน้าที่ว่าการอำเภอพนมไพร กลับคืนสู่ภาวะปกติ ร้านค้าเริ่มเก็บของ ได้ยินเสียงตามสายถ่ายทอดสดการจุดบั้งไฟ มองไปบนท้องฟ้า เห็นบั้งไฟพุ่งขึ้นเป็นระยะๆ คนที่อยู่ตรงคิวรถ, ตลาด ก็แหงนหน้ามองดูบั้งไฟ เลยรีบเดินผ่านตลาด ผ่านวัดกลางอุดมเวทย์ ไปยังบ้านดอนพระจันทร์ พร้อมกับผู้คนมากมายที่ต่างมุ่งหน้าไปฐานจุดบั้งไฟ


จากเขตเทศบาลตำบลพนมไพร เดินฝ่าเปลวแดดกับผู้คนมากมาย เดินกว่า 3 ก.ม. เข้าไปถึงหมู่บ้านแล้ว เดินไปยังฐานจุดบั้งไฟ มีร้านค้ามาตั้งแผงขายของมากมาย ผู้คนเยอะแยะ คึกคักจริงๆ ยิ่งเข้าไปใกล้ฐานจุด ยิ่งได้ยินเสียงดัง เห็นควันสีเทาหลังจากจุดบั้งไฟ กระจายคลุ้มคลุมทั่วบริเวณใกล้ๆฐาน แล้วสักพัก ควันก็ค่อยๆจางหายไป

มีการจุดบั้งไฟหมื่น บั้งไฟแสน บั้งไฟล้าน - สิบล้าน ที่น่าตื่นตาตื่นใจ จริงๆ



















คลิปวิดีโอ บรรยากาศขบวนแห่ งานบุญบั้งไฟ อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด ในวันวิสาขบูชา 28 พ.ค.2553

ออกเดินทางจากกาฬสินธุ์ โดยรถโดยสารธรรมดา กาฬสินธุ์ - ร้อยเอ็ด 9.45 น. ถึง บขส.ร้อยเอ็ด 10.55 น. ค่ารถ 30 บาท รถโดยสารคันสีเขียว ไปพนมไพร ออกตอน 11.00 น. ขับออกมาจาก บขส.ร้อยเอ็ด ก็มาจอดที่คิวนอก ข้างโรงเรียนสตรีร้อยเอ็ด ตอน 11.08 น. รอคนมาขึ้นรถเพิ่ม รถออกตอน 11.40 น. ถึงอาจสามารถ 12.20 น. ถึง อ.พนมไพร 13.00 น. ค่ารถ 45 บาท รถจอดที่ทางเข้า รพ.พนมไพร วิ่งเข้าไปจอดที่คิวรถไม่ได้ เพราะปิดถนน มีขบวนแห่บั้งไฟต่อคิวกันอยู่ เลยเดินดูบรรยากาศ ดูรถแห่บั้งไฟ ดูหนุ่มสาวที่รอร่วมขบวนฟ้อนรำ เวทีดนตรี เดินมาเรื่อยๆ จนถึงสี่แยก โรงเรียนเมืองพนมไพร, ที่ว่าการอำเภอ, คิวรถ เดินลัดเลาะเข้าไปในสนามหน้าที่ว่าการอำเภอ มีแต่ร้านขายสินค้า รถบั๊ม เครื่องเล่นต่างๆ เลยเดินมาสำรวจที่ถนนหน้าป้ายที่ว่าการอำเภอ เป็นจุดให้คะแนนขบวนแห่บั้งไฟ มีเวที และมีโฆษกพูดบรรยาย สร้างบรรยากาศไป แต่ผู้คนมายืนมุงดูเต็ม 2 ฝั่งถนน เลยไม่เห็นขบวนแห่ ขบวนฟ้อนรำ มีคนยืนบังหมด ได้แต่ยกกล้องให้สูงๆถ่ายรูปไว้ หามุมถ่ายรูปยากมากๆ

SMS + โทรหาเจี๊ยบ เธอบอกว่าอยู่ที่วัดกลางอุดมเวทย์ เลยเดินไปที่วัด ผ่านตลาด ก็มีจุดให้คะแนนอีกจุด มีขบวนฟ้อนรำ สวยงามมาก แต่ผู้คนยืนมุงดูเต็ม เลยไม่ค่อยเห็นอีก ต้องเดินลัดเลาะไปอีกทาง แล้วอ้อมไปเข้าวัดกลางอุดมเวทย์ มองเข้าไปเห็นพระธาตุพนมไพร และพระพุทธรูปที่อยู่โดยรอบ ดูแล้วขลัง งดงามอีกแบบ และเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพนมไพรและพื้นที่ใกล้เคียงอีกด้วย ถัดจากองค์พระธาตุ เป็นลานกว้าง บริเวณจัดงาน มีขบวนฟ้อนรำ และเวทีอยู่อีกข้างหนึ่ง และเจี๊ยบนั่งอยู่กับทีมงานเทศบาลบนเวที นายบอนเลยเดินไปถ่ายรูปมุมต่างๆ ส่ง sms หา โทรก็ไม่ค่อยติด สัญญาณหลุด ล่มบ่อย ขึ้นไปบนอาคารศาลาวัดที่กำลังสร้าง 2 ชั้น ถ่ายรูปลงมาเห็นภาพมุมสูง บรรยากาศสวยงามมากๆ เห็นขบวนฟ้อนรำในชุดหลากสี ข้างๆเป็นพระธาตุ เจี๊ยบพยายามโทรหาเรื่อยๆ เลยต้องขึ้นไปข้างเวทีอีกด้าน โผล่หน้าให้เห็นว่า มางานนี้จริงๆนะ น้องฝ้ายหันมาเห็นก่อน เลยส่งสัญญาณทักทายไป จนถึง 14.30 น. ก็ต้องรีบเดินกลับ ให้ทันรถเที่ยว 15.00 น. เดินจากวัด มาที่อำเภอ และเดินไปที่ทางเข้า รพ.พนมไพร ซึ่งรถไปร้อยเอ็ดจะจอดอยู่ที่นั่น (เฉพาะวันงาน) ผ่านไปตามเส้นทาง เห็นทางเปียกๆ ฝนพึ่งจะตกไม่นาน ถึงร้อยเอ็ด 16.55 น. ต่อรถไปกาฬสินธุ์ เที่ยวสุดท้าย 17.20 น. ถึงบ้าน 18.30. น. เหนื่อยเหมือนกัน แต่คุ้มค่าที่ได้ไปสัมผัสบรรยากาศประเพณีบุญบั้งไฟที่พนมไพร ที่จัดได้ใหญ่กว่าที่คาดไว้ ว่าระดับอำเภอจะจัดได้น่าประทัชใจถึงเพียงนี้
















































Clip video การฝึกซ้อม จนท.ดับเพลิง กาฬสินธุ์2553

Clip video การฝึกซ้อม จนท.ดับเพลิง กาฬสินธุ์2553
โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย จ.กาฬสินธุ์ 26-27 พ.ค.2553


http://www.youtube.com/watch?v=iSgebSRGYBU


clip video งานแห่บุญบั้งไฟ2553 ที่ ต.กลางหมื่น อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์

บุญบั้งไฟ53 ต.กลางหมื่น กาฬสินธุ์
http://www.youtube.com/watch?v=Kkv2_PVP_7g

กิเลศ คือสิ่งที่ทำให้เกิดความเศร้าหมอง

กิเลศ คือสิ่งที่ทำให้เกิดความเศร้าหมอง เป็นอุปสรรคต่อการเจริญกรรมฐาน

ซึ่งได้แก่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ท่านได้แบ่งประเภทของกิเลสออกเป็น

๑.โลภะ สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น

- ความโลภ อย่างแรง จนแสดงออกมา เช่นการลักขโมย ปล้น จี้ ข่มขืนกระทำชำเรา เป็นต้น (อภิชฌาวิสมโลภะ)

- ความเพ่ง เล็ง จะเอาของคนอื่นมาเป็นของตัว มีใจอยากได้ของคนอื่น แต่ยังไม่ถึงกับแสดงออก (อภิชฌา)

-ความอยากได้ ในทางไม่ชอบ เช่นการยอมรับสินบน การทุจริตเพื่อแลกกับการมีทรัพย์เป็นต้น (ปาปิจฉา)

- ความมักมาก เห็นแก่ได้ ด้วยการเอามาเป็นของตนจนเกินพอดี เอาประโยชน์ใส่ตัวโดยไม่คำนึงถึงคน อื่น (มหิจฉา)

- ความยินดี ในกาม ก็คือยังไม่สามารถละกิจกรรมทางเพศได้ ยังมีความรู้สึก มีแรงกระตุ้น

มีความพอใจใน เรื่องเพศ (กามระคะ)

- ความยินดี ในรูปธรรมอันปราณีต ก็คือติดอยู่ในอารมณ์ของรูปฌาณ ปรารถนาในรูปของภพ

เมื่อทำสมาธิ ขั้นสูงขึ้นไป (รูปราคะ)

- ความยินดี ในอรูปฌาณ ก็คือติดอยู่ในอารมณ์ของอรูปฌาณ เมื่อทำสมาธิถึงภพของอรูปพรหม (อรูปราคะ)

๒.โทสะ สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น

- พยาบาท คือการผูกใจอาฆาต มีใจที่ไม่หวังดี การจองเวร

- โทสะ คือการคิดประทุษร้าย เนื่องด้วยมีใจพยาบาท แล้วก็มีใจคิดหมายทำร้าย

- โกธะ คือความโกรธ ความเดือดร้อนใจ ซึ่งล้วนเป็นเหมือนไฟที่เผาตัวเอง

- ปฏิฆะ คือความขัดใจ ความไม่พอใจอันทำให้อารมณ์หงุดหงิด

๓.โมหะ สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น

- ความเห็น ผิดเป็นชอบ เช่นการไม่เชื่อในเรื่องบาป เรื่องบุญเป็นต้น (มิจฉาทิฐิ)

- ความหลงผิด ไม่รู้ตามความเป็นจริง (โมหะ)

- การเห็นว่า มีตัวตน เช่นการเชื่อในสิ่งที่มองเห็นด้วยตาเปล่าเท่านั้น (สังกายทิฏฐิ)

- ความสงสัย คือสงสัยในพระธรรม คำสั่งสอนในเรื่องการปฏิบัติ เพื่อความพ้นทุกข์ (วิจิกิจฉา)

- การยึดถือ อย่างงมงาย เช่นการไปกราบไหว้สัมพเวสี ที่อยู่ตามต้นไม้ ขอลาภเป็นต้น (สีลัพ พตปรามาส)

- ความถือตัว คือการสำคัญตัวเองผิด ว่าเป็นอย่างโน้นเป็นอย่างนี้ (มานะ)

- ความ ฟุ้งซ่าน คือการที่จิตใจว่อกแวก คิดไม่เป็นสาระ ไม่อยู่กับร่องกับรอย ไม่มีสมาธิหรือการทำสมาธิไม่นิ่ง (อุทธัจจะ)

- ความไม่รู้ จริง คือการที่รู้แค่ผิวเผิน หรือการทึกทักเอาเอง ไม่ปฏิบัติตามหลักพระธรรม ยังไม่เกิดปัญญา (อวิชชา)

ในส่วนของกิ เลศที่เป็น โลภะ โทสะ โมหะ นั้น

ตัวที่มี กำลังมาก และเป็นอุปสรรค เป็นเครื่องกั้นใหญ่

ตัดได้ยาก มีผลต่อการบรรลุมรรคผล

คือตัวโมหะ นั่นเอง



วันนี้ขอนำ เสนออีกอย่างที่ควรกำจัดให้หมดครับ

อุปกิเลส 16 คือ โทษเครื่องเศร้าหมอง 16 อย่าง

๑. อภิชฌมวิสมโลภะ คือความละโมภ อยากได้ อยากมี อยากเป็นอย่างไม่รู้จักพอ เห็นแก่ได้จนลืมตัว

๒. พยาบาทคือ ความคิดร้าย มุ่งจะทำร้ายเขา ใครพูดไม่ถูกใจก็คิดตำหนิเขา คิดจะทำร้ายฆ่าเขาก็มี บางครั้งทำร้ายผู้อื่นไม่ได้ ก็หันมาตำหนิตัวเอง ทำร้ายตัวเอง จนฆ่าตัวตายก็มีซึ่งเป็นเพราะอำนาจ พยาบาท เป็นอาการอย่างหนึ่งของโทสะ

๓. โกธะคือ ความโกรธ มีอะไรมากระทบก็โกรธ เป็นลักษณะโกรธง่าย แต่เมื่อหายแล้วก็เหมือนกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น คือไม่ผูกใจเจ็บ ไม่พยาบาท เป็นอาการอย่างหนึ่งของโทสะ

๔. อุปนาหะ คือ การผูกโกรธ ใครพูดอะไร ทำอะไรให้เกิดความโกรธแล้วจะผูกใจเจ็บ เก็บไว้ ไม่ปล่อย ไม่ลืม เป็นทุกข์อยู่อย่างนั้น กระทบอารมณ์เมื่อไร ก็เอาเรื่องเก่ามาคิดรวมกันคิดทวนเรื่องในอดีตว่าเขาเคยทำไม่ดี กับเราขนาด ไหน เป็นอาการอย่างหนึ่งของโทสะ

๕. มักขะ คือการลบหลู่คุณท่าน ปิดบังความดีของผู้อื่น ลบหลู่ความดีของผู้อื่น เช่น เขาให้ของแก่เรา แทนที่จะขอบคุณกลับนึกตำหนิเขาว่า เอาของไม่ดีมาให้ หรือเมื่อมีใครพูดถึงความดีของเขา เราทนไม่ได้ เราไม่ชอบ จึงยกเรื่องที่ไม่ดีของเขามาพูด เพื่อปฏิเสธว่าเขาไม่ใช่คนดีถึงขนาดนั้น เป็นต้น

๖. ปลาสะ คือ การตีเสมอ ยกตัวเทียมท่าน ไม่ยอมยกให้ใครดีกว่าตน แต่ชอบยกตัวเองดีกว่าเขา มักแสดงให้เขาเห็นว่าเราคิดเก่งกว่า รู้ดีกว่า ถ้าให้เราทำ เราจะทำให้ดีกว่าเขาได้

๗. อิสสาคือ ความริษยา เห็นเขาได้ดี ทนไม่ได้ เมื่อเห็นเขาได้ดีมากกว่าเรา เขาได้รับความรักความเอาใจใส่มากกว่า เรา เรารู้สึกน้อยใจ อยากจะได้เหมือนอย่างเขา ความจริงเราอาจจะมีมากกว่าเขา อยู่แล้ว หรือเรากับเขาต่างก็ได้รับเท่ากัน แต่เราก็ยังเกิดความรู้สึกน้อยใจ ทนไม่ได้ก็มี

๘. มัจฉริยะ คือความตระหนี่ ขี้เหนียว เสียดายของ ยึดในสิ่งของที่เราครอบครองอยู่อย่างเหนียวแน่น อยากแต่จะเก็บเอาไว้ ไม่อยากให้ใคร

๙. มายา คือ เจ้าเล่ห์หลอกลวง ไม่จริงใจ พยายามแสดงบทบาทตัวเองเกินความจริง หรือจริงๆ แล้วเรามีน้อยแต่พยายามแสดงออกให้คนอื่นเข้าใจว่ามั่งมี เช่น ด้วยการแต่งตัว กินอยู่อย่างหรูหรา หรือบางกรณี ใจเราคิดตำหนิติเตียนเขา แต่กลับแสดงออกด้วยการพูดชื่นชมอย่างมาก หรือบางทีเราไม่ได้มีความรู้มาก แต่ของคุยแสดงว่ารู้มาก เป็นต้น

๑๐. สาเถยยะ คือการโอ้อวด หลอกลวงเขา ชอบอวดว่าดีกว่าเขา เก่งกว่าเขา พยายามแสดงให้เขาเห็น เพื่อให้เขาเกิดอิจฉาเรา เมื่อได้โอ้อวดแล้วมีความสุข

๑๑. ถัมภะคือความดื้อ ความกระด้าง ยึดมั่นถือมั่นในตัวเอง ใครแนะนำอะไรให้ก็ไม่ยอมรับฟัง

๑๒. สารัมภะคือ การแข่งดี มุ่งแต่จะเองชนะเขาอยู่ตลอด จะพูดจะทำอะไรต้องเหนือกว่าเขาตลอด เช่นเมื่อพูดเถียงกันก็อ้างเหตุผลต่าง ๆ นานา เพื่อเอาชนะให้ได้ ถึงแม้ความจริงแล้วตัวเองผิด ก็ไม่ยอมแพ้

๑๓. มานะคือความถือตัว ทะนงตน

๑๔. อติมานะ คือการดูหมิ่นท่าน ความถือตัวว่าเราดียิ่งกว่าเขา ทำให้ดูถูกดูหมิ่นคนอื่น

๑๕. มทะคือ ความัวเมา หลงว่ายังเป็นหนุ่มเป็นสาว ยังไม่แก่ ยังไม่ตาย หลงในอำนาจ หลงในตำแหน่ง คิดว่าเราจะเป็นอย่างนี้ตลอดไปแล้วทำอะไรเกินเหตุ

๑๖. ปมาทะ คือความประมาท เลินเล่อ ไม่คิดให้รอบคอบ อาการที่ขาดสติ ขาดปัญญา

***************************************************
พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ

สัญลักษณ์สื่ออารมณ์ที่ใช้ในการ Chat ทาง Internet

ไม่น่าเชื่อว่า เพียงแค่สัญลักษณ์พิเศษบนแป้นพิมพ์ไม่กี่ตัวก็สามารถสื่อถึงอารมณ์ของผู้ Chat ได้แม้ ไม่มากมายก็ตาม บางคนอาจจะคิดว่ามันเป็นเพียงตัวสร้างสีสันของการพูดคุยเท่านั้น แต่ประโยชนฺ์จริงๆของมันก็มีอยู่ โดยเฉพาะการต่อท้ายประโยคที่ค่อนข้างประชดประชันเสียดสีที่คุณต้องการบอกให้ อีกฝ่ายหนึ่งทราบว่า คุณเพียงแค่ล้อเล่นเท่านั้น

สัญลักษณ์สื่ออารมณ์ทั้งสิบนี้ เป็นสัญลักษณ์ที่เป็นที่นิยมใช้ในการพุดคุยทางอินเทอร์เน็ตมากที่สุด

:-) มีความสุข แสดงความยินดีกับสิ่งดีๆที่เกิดขึ้น เป็นสัญลักษณ์มาตรฐานที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคยมากที่สุด

:-( เศร้าใจ แสดงความเสียใจกับสิ่งแย่ ๆ

:,-( เศร้าใจมาก กำลังร้องไห้ด้วย

;-) ประโยคข้างหน้านี้ล้อเล่นนะ

>:-> ฉันร้ายนะจะบอกให้ มักใช้ในการจีบสาว

:*) กำลังเมา เพราะฉะนั้น การพูดคุยอาจจะเลอะเทอะไม่ตรงประเด็นไปบ้าง

:-D หัวเราะให้กับมุขตลกของคุณ

:-| รู้สึกเฉยๆ กับเรื่องที่คุยกันอยู่

:-O ประหลาดใจเป็นอย่างยิ่ง

:-/ ฉันไม่ค่อยชอบคำพูดของคุณเท่าไหร่

รามเกียรติรัชกาลที่ ๒ - วรรณคดีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

            ทำนองแต่ง - ใช้กลอนบทละคร
            เนื้อเรื่อง - จับตอนตั้งแต่พระรามรับสั่งให้หนุมานนำแหวนไปถวายนางสีดา หนุมานเผากรุงลงกาจนถึงนางสีดาไปอยู่เมืองบาดาล พระอิศวรไกล่เกลี่ย และอภิเษกพระรามกับนางสีดาที่เขาไกรลาศ จบลงตอนสองกษัตริย์กลับคืนอโยธยา
            ข้อคิดเห็น - บทละครเรื่องรามเกียรติ์นี้ มีพระราชประสงค์สำหรับใช้แสดงละครโดยเฉพาะ มิได้มุ่งแสดงเรื่องราวอย่างละเอียด จึงทรงตัดตอนกำเนิดมนุษย์ ยักษ์ และวานรออก เริ่มเรื่องตั้งแต่หนุมานถวายแหวนทันที บางตอนใช้บทสั้นๆ เพื่อแสดงละครสะดวกไม่ขัดเขิน เช่น ตอนนางสีดาผูกพระศอ บางทีต้องแก้ไขเรื่องเดิมเช่น อินทรชิตถูกศร  ไม่กล่าวถึงการใช้พานทิพย์รองศรีษะอินทรชิต เพราะบทเดิมเล่นละครไม่ได้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงยกย่องบทละครนี้ไว้ว่า  "นักเลงหนังสือก็ดี นักเลงดูละครก็ดี ต้องยอมทั้งนั้นว่าเป็นหนังสือดี เป็นบทกลอนไพเราะและถ้อยคำสำนวนดี  เป็นตัวอย่างดียิ่งอันหนึ่ง แห่งจินตกวีนิพนธ์ในภาษาไทยเรา สมควรแล้วที่จะเป็นหนังสือซึ่งจะรักษาไว้เป็นแบบแผน"

วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

หวัง 3 อย่างของพ่อแม่ "พระมหากษัตริย์ยอดกตัญญู"

ลูก ๆ ทุกคน...ก็ได้รู้กันแล้วว่า ความหวังของแม่ ..ที่มีต่อลูก 3 หวังคือ
ยามแก่เฒ่า หวังเจ้า เฝ้ารับใช้
ยามป่วยไข้ หวังเจ้า เฝ้ารักษา
เมื่อถึงยาม ต้องตาย วายชีวา
หวังลูกช่วย ปิดตา เมื่อสิ้นใจ


ทีนี้...มาดูตัวอย่างบ้าง..บุคคลที่เป็น ยอดกตัญญู ที่ประทับใจอาจารย์มากที่สุด คือใคร ทราบไหม?
คือคนในภาพนี้..ในหลวงของ เรา...
ในหลวง...นอกจากจะเป็น ยอดพระมหากษัตริย์ของโลก.. เป็น THE KING OF KINGS แล้ว
ในหลวงของเรา ยังเป็นกษัตริย์ยอดกตัญญูด้วย
ความหวังของแม่...ทั้ง 3 หวัง ในหลวงปฏับติได้ครบถ้วน ... สมบูรณ์ เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุด ให้แก่พวกเราในหลวงทำกับแม่ยังไง ? ตามอาจารย์มา...อาจารย์จะฉาย ภาพให้เห็น....

หวังที่ 1. ยามแก่เฒ่า..หวังเจ้า..เฝ้ารับใช้...
ใครเคยเห็น ภาพที่... สมเด็จย่า เสด็จไปในที่ต่าง ๆ แล้วมีในหลวง..ประคองเดินไปตลอดทาง...

เคยเห็นไหม...? ใครเคยเห็น...กรุณายกมือให้ดูหน่อย...ขอบคุณ...เอามือลง

ตอนสมเด็จย่าเสด็จไปไหนเนี่ย.. มีคนเยอะแยะ...
มีทหาร...มี องครักษ์ ...มีพยาบาล.. ที่คอยประคองสมเด็จย่าอยู่แล้ว แต่ในหลวงบอกว่า...

"ไม่ต้อง.... " คนนี้...เป็นแม่เรา...เรา ประคองเอง ตอนเล็ก ๆ แม่ประคองเรา ..สอนเราเดิน หัดให้เราเดิน... เพราะฉะนั้น.. ตอนนี้แม่แก่แล้ว...เราต้องประคองแม่เดิน

เพื่อเทิดพระคุณ ท่าน... ไม่ต้องอายใคร...
เป็นภาพที่...ประทับใจมาก... เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ท่านกตัญญูต่อแม่.. ประคองแม่เดิน
ประชาชนที่มาเฝ้ารับเสด็จ ... สองข้างทาง ฝั่งนี้ 5,000 คน ฝั่งนู้น.....8,000 คน
ยกมือขึ้น...สาธุ แซ่ซ้อง..สรรเสริญ
"กษัตริย์ยอดกตัญญู..." ในหลวง..เดินประคองแม่..
คนเห็นแล้ว ...เขาประทับใจ ถ่ายรูป...เอามาทำปฏิทิน
...เอาไปติดไว้ที่บ้าน เพื่อแสดงความเคารพ...กราบไหว้...


ลองหันมาดูพวก เรา...ส่วนใหญ่ เวลาออกไปไหน แต่งตัวโก้... ลูกชายแต่งตัวโก้... ลูกสาวแต่งตัวสวย.
แต่เวลาเดิน...ไม่มีใครประคองแม่ กลัวไม่โก้...กลัวไม่สวย ข้าราชการ...แต่งเครื่องแบบเต็มยศ...
ติดเหรียญตรา...เหรียญกล้าหาญ...เต็มหน้าอก... แต่เวลาเดิน...ไม่กล้าประคองแม่... กลัวไม่สง่า.

..กลัวเสีย ศักดิ์ศรี... ประคองแม่ .... เป็นเรื่องของ...คนใช้... หลายคนให้ประคองแม่.. ไม่กล้าทำ อาย...
เวลาทำดี..ไม่กล้าทำ...อาย เวลาทำชั่ว...กล้า....ไม่อาย...

ใครเห็นภาพนี้ที่ไหน...กรุณาซื้อใส่กรอบ... แล้วเอาไปแขวนไว้ที่บ้าน...

เอาไว้สอนลูก เห็นภาพชัดเจนไหมครับ?
เท่านั้น ...ยังน้อยไป...มาดูภาพที่ชัดเจนกว่านั้น... หลังงานพระบรมศพสมเด็จย่า...เสร็จสิ้นลงแล้ว
ราชเลขา..ของสมเด็จ ย่า... มาแถลงในที่ประชุม...ต่อหน้าสื่อมวลชน...ว่า...
ก่อนสมเด็จย่า จะสิ้นพระชนม์..ปีเศษ...ตอนนั้นอายุ 93 ในหลวง..เสด็จจากวังสวนจิตร.. ไปวังสระปทุมตอนเย็นทุกวัน..ไปทำไมครับ....? ไปกินข้าวกับแม่... ไปคุยกับแม่...

ไปทำให้แม่..ชุ่มชื่นหัวใจ...
พอเขาแถลงถึงตรง นี้ อาจารย์ตกตะลึง.. โฮ้โห....ขนาดนี้เชียวหรือในหลวงของเรา
เสด็จไปกินข้าวมื้อเย็นกับแม่... สัปดาห์ละกี่วัน...ทราบไหมครับ ? พวกเราทราบไหมครับ...สัปดาห์ละกี่วัน ? 5 วัน...... มีใครบ้างครับ....? ที่อยู่คนละบ้านกับแม่ แล้วไปกินข้าวกับแม่ ...สัปดาห์ละ 5 วัน
หา ยาก.... ในหลวง มีโครงการเป็นร้อย...เป็นพันโครงการ... มีเวลาไปกินข้าวกับแม่..สัปดาห์ละ 5 วัน พวกเรา ซี 7 ซี 8 ซี 9 ร้อยเอก..พลตรี...อธิบดี..ปลัดกระทรวง
ไม่เคยไปกินข้าวกับแม่....บอกว่า...งานยุ่ง
แม่บอกว่า...ให้พาไปกินข้าวหน่อย.. บอกว่า ไม่มีเวลา จะไปตีกอล์ฟ...
ไม่มีเวลาพาแม่ไปกินข้าว... แต่มีเวลาไปตีกอล์ฟ...เห็นตัวเองหรือ ยัง ..?
พ่อแม่..พอแก่แล้ว ก็เหมือนไม้ใกล้ฝั่ง... ฝนตก...น้ำเซาะ..อีกไม่นานโค่น...
พอถึงวันนั้น...เราก็ไม่มีแม่ให้กราบแล้ว...
ในหลวงจึงตัดสิน พระทัย... ไปกินข้าวกับแม่สัปดาห์ละ 5 วัน
เมื่อตอนที่สมเด็จย่าอายุ...93 สัปดาห์หนึ่งมี 7 วัน ในหลวงไปกินข้าวกับแม่ 5 วัน
อีก 2 วัน ไปไหนครับ ....? ดร.เชาว์ ณ ศีลวันต์...องคมนตรี บอกว่า....
ในหลวง...ถือศีล 8 วันพระ ถือศีล 8 นี่ยังไง. ต้องงดข้าวเย็น... เลยไม่ได้ไปหาแม่...วันนี้เพราะ ถือศีล
อีกวันหนึ่งที่เหลือ... อาจจะกินข้าวกับพระราชินี..กับคนใกล้ชิด แต่ 5 วัน....ให้แม่
เห็นภาพชัดแล้วใช่ไหม...? ตอนนี้เราขยับเข้าไปใกล้ ๆ หน่อย
ไปดูตอนกินข้าว... ทุกครั้ง...ที่ในหลวงไปหาสมเด็จย่า... ในหลวงต้องเข้าไปกราบ ที่ตัก...
แล้วสมเด็จย่า...ก็จะดึงตัวในหลวง... เข้ามากอด..กอดเสร็จก็หอมแก้ม...
ใครเคยเห็นภาพสมเด็จย่า..หอมแก้มในหลวงบ้าง...?

ภาพนี้...ถ้าใครมี...ต้องเอาไปใส่กรอบ
เป็นภาพความรักของแม่...ที่มีต่อลูก..อย่างยอดเยี่ยม

ตอนสมเด็จย่า..หอมแก้มในหลวง...อาจารย์คิดว่า แก้มในหลวง...คงไม่หอมเท่าไร
..เพราะไม่ได้ใส่น้ำหอม แต่ทำไม...สมเด็จย่าหอมแล้ว...ชื่นใจ...
เพราะท่านได้กลิ่นหอม... จากหัวใจในหลวง หอมกลิ่นกตัญญู
ไม่นึกเลยว่า...ลูกคนนี้ จะกตัญญูขนาดนี้ จะรักแม่มากขนาดนี้

ตัวแม่เองคือ สมเด็จย่า...ไม่ได้เป็นเชื้อพระวงศ์ เป็นคนธรรมดา...สามัญชน...เป็นเด็กหญิงสังวาลย์
เกิดหลังวัดอนงค์...เหมือนเด็กหญิงทั่วไป... เหมือนพวกเราทุกคนในที่นี้
ในหลวงหน่ะ... เกิดมา เป็นพระองค์เจ้า เป็นลูกเจ้าฟ้า
ปัจจุบันเป็นกษัตริย์...เป็นพระเจ้าแผ่นดินอยู่เหนือหัว
แต่ในหลวง..ที่เป็นพระเจ้าแผ่นดิน.... ก้มลงกราบ..คนธรรมดา..ที่เป็นแม่
หัวใจลูก...ที่เคารพแม่... กตัญญูกับแม่อย่างนี้ หาไม่ได้อีกแล้ว...
คนบางคน...พอเป็นใหญ่เป็นโต ไม่กล้าไหว้แม่....เพราะแม่มาจาก เบื้องต่ำ... เป็นชาวนา...

.เป็นลูกจ้าง... ไม่เคารพแม่....ดูถูกแม่......
แต่นี่...ในหลวง เทิดแม่ไว้เหนือหัว...นี่แหละครับความหอม
นี่คือเหตุที่สมเด็จย่า...หอมแก้มในหลวงทุกครั้ง...
ท่านหอมความดี...หอมคุณธรรม...หอมกตัญญู..ของในหลวง หอมแก้มเสร็จแล้ว...ก็ร่วมโต๊ะเสวย...
ตอนกินข้าวนี่...ปกติ...แค่เห็นลูกมาเยี่ยม...ก็ชื่นใจแล้ว... นี่ลูกมากินข้าวด้วย...โอย...ยิ่งปลื้มใจ
แม่ทั้งหลาย..ลองคิดดู ซิ... อะไรอร่อย ๆ ในหลวงจะตักใส่ช้อนแม่...
อันนี้อร่อย...แม่ลองทาน... รู้ว่าแม่ชอบทานผัก...
หยิบผักมาม้วน ๆ ใส่ช้อนแม่... เอ้าแม่...แม่ทานซะ...ของที่แม่ชอบ
แทนที่จะกินแค่ 3 คำ 4 คำ ก็เจริญอาหาร...กินได้เยอะ
เพราะมีความ สุข ที่ได้กินข้าวกับลูก มีความสุขที่ลูกดูแล....เอาใจใส่...
กินข้าวเสร็จแล้ว...ก็มานั่งคุยกับแม่... ในหลวงดำรัสกับแม่ว่าไง...ทราบไหม...?


ตอนในหลวงเล็ก ๆ...แม่เคยสอนอะไรที่สำคัญ... "อยากฟังแม่สอนอีก"
เป็นยังไงบ้าง...?
เป็นกษัตริย์...ปกครองประเทศ..อยากฟังแม่ สอนอีก...
พวกเรา เป็นยังไง...? เราคิดว่า...เรารู้มาก...เราเรียนสูง... เรามีปริญญา...แม่จบ ป.4
เวลาแม่สอน....ตะคอกแม่ ตวาดแม่ กระทืบเท้าใส่แม่ เบื่อจากตายอยู่แล้ว...รำคาญ....
พูดจาซ้ำซาก...เมื่อไหร่จะหยุดพูด ซะที... เราเหยียบย่ำ หัวใจแม่......

พอสมเด็จย่าสอน... ในหลวงจะเอากระดาษมาจด... มีอยู่เรื่องหนึ่ง...ที่จำได้แม่น..
สมเด็จย่า...เล่าว่า ตอนเรียนหนังสือที่ Swiss ในหลวงยังเล็กอยู่...เข้ามาบอกว่า..อยากได้รถจักรยาน
เพื่อน ๆ เขามีจักรยานกัน แม่บอกว่า...ลูกอยากได้จักรยาน...
ลูกก็เก็บสตางค์...ที่แม่ให้ไปกินที่โรงเรียนไว้ซิ... เก็บมาหยอดกระปุก..วันละเหรียญ...สองเหรียญ
พอได้มากพอ...ก็เอาไป ซื้อจักรยาน... นี่คือสิ่งที่แม่สอน...
แม่สอนอะไร..ทราบไหมครับ...?
ถ้าเป็นพ่อแม่ บางคน... พอลูกขอ...รีบกดปุ่ม ATM ให้เลย ประเคนให้เลย..ลูกก็ ฟุ้งเฟ้อ...ฟุ่มเฟือย...
เหลิง...และหลงตัวเองพอโตขี้น...ขับรถเบนซ์ชนตำรวจ...ก็ได้... ยิงตำรวจ...ยังได้..

เพราะหลงตัวเอง..พ่อกูใหญ่ เห็นไหม.....? ตามใจเทิดทูน จนเสียคน...

แต่สมเด็จย่านี่...เป็นยอดคุณแม่.. สร้างคุณธรรมให้แก่ลูก..
ลูกอยากได้..ลูกต้องเก็บสตางค์ที่แม่ให้...ไปหย่อนกระปุก...
แม่ สอน 2 เรื่อง คือ...ให้ประหยัด....ให้ยืนอยู่บนขาของตัวเอง
"ความประหยัด...เป็นสมบัติของเศรษฐี"
ใครสอนลูกให้ประหยัด ได้.. คนนั้นกำลังมอบความเป็นเศรษฐีให้แก่ลูก
พอถึงวันปีใหม่..สมเด็จย่า ก็บอกว่า... "ปีใหม่แล้ว...เราไปซื้อจักรยานกัน.."
เอ้า...แคะกระปุก..ดูซิว่ามีเงินเท่าไร...? เสร็จแล้ว...สมเด็จย่าก็แถมให้...
ส่วนที่แถมนะ...มากกว่าเงินที่มีในกระปุกอีก... มีเมตตา...ให้เงินลูก...
ให้...ไม่ได้ให้เปล่า...สอนลูกด้วย...สอนให้ประหยัด
สอนว่า...อยากได้อะไร...ต้องเริ่มจากตัวเรา... คำสอนนั้น...ติดตัวในหลวงมาจนทุกวันนี้....
เขาบอกว่า..ในสวนจิตร เนี่ย... คนที่ประหยัดที่สุด...คือ...ในหลวง...
ประหยัดที่สุด..ทั้งน้ำ.. ทั้งไฟ... เรื่องฟุ้งเฟ้อ..ฟุ่มเฟือย...ไม่มี...
เป็นอันว่า...ภาพนี้.. ชัดเจน..

หวังที่ 2 ยามป่วยไข้ หวังเจ้า เฝ้ารักษา...
ทราบไหมว่าในหลวงทำกับแม่อย่างไร?
ตอน ที่สมเด็จย่าประชวรอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช
ในหลวง เสด็จไปเยี่ยมตอน ตี 1 ตี 2 ตี 4 เศษๆ จึงเสด็จกลับ
ไปเฝ้าแม่วันละหลายชั่วโมง
แม่พอเห็นลูกมาเยี่ยมก็หายป่วยไป ครึ่งหนึ่งแล้ว
ทีมแพทย์ ที่รักษาสมเด็จย่า เห็นในหลวงมาเยี่ยม มาประทับก็ต้องฟิตตามไปด้วย
ต้องปรึกษาหารือกันตลอดว่าจะให้ยายังไงจะเปลี่ยนยาไหม จะปรับปรุงการรักษายังไงให้ดีขึ้น
กลางคืนในหลวงไปอยู่กับสมเด็จย่าคืน ละหลายชั่วโมง
ไปให้ความอบอุ่นทุกคืน

คราวหนึ่ง ในหลวงทรงประชวร สมเด็จย่าก็ป่วยอยู่คนละมุมตึกโรงพยาบาลศิริราช
ตอนเช้า ในหลวงเปิดประตูออกมา เห็นพยาบาลกำลังเข็นรถสมเด็จย่าออกมารับลมผ่านหน้าห้องพอดี
ในหลวง พอเห็นแม่ ก็รีบออกจากห้องมาแย่งพยาบาลเข็นรถ
มหาดเล็กกราบทูลว่า ไม่เป็นไร ไม่ต้องเข็น มีพยาบาลเข็นให้อยู่แล้ว
ในหลวงมีรับสั่งว่า แม่ของเรา ทำไมต้องให้คนอื่นเข็น เราเข็นเองได้

หวังที่ 3 เมื่อถึงยามต้องตายวายชีวา หวังลูกช่วยปิดตาเมื่อสิ้นใจ
วันนั้น ในหลวงเฝ้าสมเด็จย่า อยู่จนถึงตี 4 ตี 5 เฝ้าแม่อยู่ทั้งคืน
จับมือแม่ กอดแม่ ปรนนิบัติแม่ จนกระทั่ง“แม่หลับ...” จึงเสด็จกลับ...
พอถึงวันเขาโทรศัพท์แจ้งว่าสมเด็จย่าสิ้นพระชนม์
ในหลวง รีบเสด็จกลับไปศิริราช เห็นสมเด็จย่านอนหลับตาอยู่บนเตียง
ในหลวงทำยังไงทราบไหมครับ?
ในหลวง ตรงเข้าไปคุกเข่า กราบลงที่หน้าอกแม่
พระพักตร์ในหลวงตรงกับหัวใจแม่
“ขอหอม หัวใจแม่เป็นครั้งสุดท้าย” ซบพระพักตร์นิ่ง..อยู่นาน
แล้วค่อยๆ เงยพระพักตร์ขึ้น น้ำพระเนตรไหลนอง...

ต่อไปนี้ จะไม่มีแม่ให้หอมอีกแล้ว เอาพระหัตถ์กุมมือแม่ไว้
มือนิ่มๆที่ไกวเปลนี้แหละ ที่ปั้นลูกจนได้เป็นกษัตริย์
เป็นที่รักของคนทั้งบ้านทั้งเมือง

มองเห็นหวีปักอยู่ที่ผมแม่ ในหลวงจับหวีค่อยๆหวีผมให้แม่... หวี...หวี..
หวี..... หวี..ให้แม่สวยที่สุด แต่งตัวให้แม่.. ให้สวยที่สุด... ในวันสุดท้ายของแม่...

คัดลอกมาจาก หนังสือ เรื่อง หยุดความชั่วที่ไล่ล่าตัวคุณ ของ พ.อ.(พิเศษ) ทองคำ


Thanks & Best Regards
ธนเดช สายพันธ์ (Thanadeach Saiphan)

มะโนมอบ พระผู้ เสวยสวรรค์
แขนมอบ ถวายพระทรงธรรม์ เทอดหล้า
ดวงใจ มอบเมียขวัญ และแม่
เกียรติศักดิ์รักข้า มอบไว้แก่ตัว.

www.SawasD.com

FW: ส่งต่อ: คัดค้าน ด่วน !! ภาษีกำลังถูกละลายไปกับบำนาญ สส.สว. (ส่งต่อด้วยนะ)‏

เราทุกคนในฐานะผู้ เสียภาษี ควรอ่านและรักษาสิทธิ เพราะภาษี ของคุณกำลังถูกละลาย
=========================
กำลังจะมีการออกกฏหมายนี้ เสียดายเงินภาษี เลือกตั้งได้เป็นสส.หรือสว..แค่สมัยเดียว ก็ได้บำนาญกินไปทั้งชาติแล้ว ใครไม่เห็นด้วย
เขามีเปิดตู้ปณ.ให้ร่วมลงชื่อคัดค้านกฏหมายฉบับนี้ที่
ตู้ปณ. 69 ปณจ.สามเสนใน
เขตพญาไท กรุงเทพ 10400
โดย ส่ง copy
บัตรประชาชนแล้วขีดคล่อมด้วยข้อความว่า ร่วมลงชื่อคัดค้านกฏหมาย บำเหน็จบำนาญ สส.สว.

เรื่อง คัดค้านการขอบำเหน็จ บำนาญ ให้ข้าราชการการเมือง ส.ส.- ส.ว.
ถึง ประชาชน คนไทยทุกท่าน
เรื่องที่จะมีการออก พระ ราชกฤษฎีกาให้บำเหน็จบำนาญ ส.ส.-ส.ว. ไม่ ทราบว่า
ท่าน ผู้ทรงเกียรติเหล่านั้นใช้ "สติปัญญาส่วนไหนคิด"
และ ถึงแม้ว่า ในรัฐธรรมนูญจะเปิดโอกาสให้ ข้า ราชการการเมืองมีโอกาสได้
แต่ในความเป็นจริงแล้ว บรรดาท่านผู้ทรงเกียรติได้คำนึงถึงความเหมาะสมหรือไม่
1.ท่าน ผู้ซึ่งได้รับการเลือกตั้งเข้ามา เป็นตัวแทน ของประชาชน
2.ทำหน้าที่ใน การออกกฎหมาย และตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหาร
3.ท่าน มีสิทธิพิเศษ และสวัสดิการมากมาย
ท่านยังจะมาเอา เปรียบประชาชน และข้าราชการประจำอีก หรือ
ท่าน คิดได้อย่างไร ??? ผมคนนึงละไม่เชื่อหรอกว่า
หาก ท่านไม่ได้เป็นสมาชิกรัฐสภาแล้ว ท่าน จะอดตาย
ใน เมื่อท่านมีเงินมาลงสมัคร และหาเสียง เลือกตั้ง
ท่าน จะไม่มีเงินเลี้ยงชีพตัวเองเลยหรือ แต่ละท่านก็ทรงคุณวุฒิทั้ง นั้นนี่ครับ
ท่านจะหาเลี้ยงชีพไม่เป็น เลยหรือ??? แล้วก่อนหน้า ที่ท่านจะมาเป็นสมาชิกรัฐสภา
ท่าน ทำอะไรมาก่อนครับ ? ท่านดูอัตราเงินเดือนของท่านให้ดีนะ ครับ
บัญชี เงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มของ

1. ' ส.ว.-ส.ส. '
ตำแหน่ง เงิน ประจำตำแหน่ง+เงินเพิ่ม ประธานรัฐสภา - 64,000+50,000
2. ประธานวุฒิสภา และประธานสภาผู้แทน ราษฎร - 63,000+45,500
3. รองประธานรัฐสภา - 63,000+45,000
4. รองประธานวุฒิสภา และรองประธานสภาผู้แทนราษฏร - 63,000+42,500
5. ผู้นำฝ่ายค้านในสภา - 63,000+45,500
6. ประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร - 63,000+42,500
7. สมาชิกวุฒิสภา และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร - 63,000+41,000
เอาตรง ส.ส. และ ส.ว. เนี่ย
ท่าน มีเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มรวมแล้ว 104,000 บาทต่อเดือน ครับ
อ่านให้ก็ได้เผื่อท่าน สมาชิกสภาบางท่านจะอ่านไม่ออก!
หนึ่งแสนสี่พันบาท ครับ ถ้า ท่านเป็น ส.ส. 4 ปี ท่านมีรายได้รวม 4,992,000 บาท อ่านว่า สี่ล้านเก้าแสนเก้าหมื่น สองพันบาท
ถ้าท่านเป็น ส.ว. 6 ปี ท่านมีรายได้รวม 7,488,000 บาท อ่านว่า
เจ็ดล้านสี่แสนแปดหมื่นแปดพันบาท
คนทั่วไปเขาทำงานกันทั้งชีวิตนะ ครับกว่าจะได้เงินขนาดนี้ นอกจากเงิน เดือนแล้ว
ใน ระยะเวลาที่ท่านดำรงตำแหน่ง ท่านยังมีสวัสดิการ มีสิทธิพิเศษมากมาย
ท่าน ได้เดินทางฟรี ขึ้นเครื่องบินฟรี ท่านมีเบี้ยเลี้ยงประชุม
ใน การเดินทางไปดูงาน ต่างประเทศ ท่านก็เบิกได้เต็มที่ 100% เรียกได้ว่า
ใน ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ของท่านนั้น ท่านสามารถเบิกได้หมด นอกจากนี้แล้ว
ยังมีเงินประจำตำแหน่งในคณะกรรมาธิการต่างๆของ สภา
ที่ ท่านสามารถจะได้รับอีก เรียกได้ว่า ท่านแทบไม่จำเป็นต้องแตะเงินเดือนของท่านเลย และถ้าท่านกินอยู่อย่างพอเพียง และรู้จักประกอบอาชีพสุจริต
เงินจำนวนนี้ถือว่ามากพอที่จะเลี้ยงชีวิตท่านล่ะครับ
แล้ว ท่านยังจะมาเอาบำเหน็จบำนาญอะไรอีกครับ
บอกตรงๆ ประชาชน อย่างพวกเรา ไม่เห็นความจำเป็นเลยครับ
เงิน ประจำตำแหน่งที่ท่านได้รับ ก็มีมากพอที่ จะเลี้ยงชีวิต
และเป็นเกียรติสมตำแหน่งฐานะของ ท่านอยู่แล้ว
หากท่านเป็นคนดี ไม่ รับสินบน เบี้ยบ้ายรายทาง ไม่ ฉ้อราษฎร์บังหลวง
ท่านก็ได้รับการเคารพนับถือจากคน ไทยอยู่แล้ว
ท่าน ยังจะเอาอะไรจากประชาชนอีกครับ
ผมไม่ใช่คนที่มีสิทธิมี เสียงในสภา ผมไม่ใช่คนที่สามารถออกกฎหมายได้
สิ่ง ที่ผมทำได้คือ เป็นเสียงเล็กๆ เสียงหนึ่ง เท่านี้
ที่ จะกระจายไปให้ประชาชนคนไทยร่วมรับรู้ว่า
กำลังจะเกิดอะไรขึ้นกับเงินภาษีที่ รัฐเรียกเก็บจากประชาชน
และในฐานะของประชาชน ผม ขอที่จะ คัดค้าน พระราช กฤษฎีกา
ให้ บำเหน็จบำนาญ ส.ส.-ส.ว. ฉบับ นี้
ขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็น และ ส่งต่อข้อความนี้ให้กับเพื่อนๆเรา ให้ กับคนที่สนใจ ได้รับรู้ร่วมกันว่า อะไรกำลังจะเกิดขึ้นกับเงินภาษีของเราแล้วแต่พวกคุณจะ พิจารณาน่ะครับแต่ สำหรับผม บอกได้คำเดียวว่า
' ไม่ให้ครับ!! '

.... ข้อความที่ถูกทวิตมากที่สุดตอนนี้(เมื่อคืนนี้):

.... ข้อความที่ถูกทวิตมากที่สุดตอนนี้(เมื่อคืนนี้):
.. วันนี้ ทหารมาอารักขาในหลวงที่ศิริราช
.. ในหลวง ทรงบอกทหารว่าให้กลับไปดูแลประชาชน
.. ทหารน้ำตา ไหล แพทย์ ผู้ที่รับ ใช้ใกล้ชิด เล่าให้ ฟังว่า
.. ภาพที่พ่อนั่งเหม่อลอย อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเวลานาน เหมือนจะ ร้องไห้นั้น
.. ณ.ที่ตรง นั้นกับเวลาที่ยาวนานพ่อพูดออกมาประโยคเดียวว่า
.. "เราไปทำอะไร ให้เขาเจ็บช้ำ หรือ คนไทยเหล่านั้นถึง โกรธ/เกลียด เราขนาดนี้"
.. พ่อพูดพร้อมกับน้ำตา คลอแล้วมองไปที่ควัน ที่พุ่ง มาจากอาคารบ้านเรือนต่างๆ
.. จาก หน้าต่างของ รพ.

คำย่อ 10 คำที่คนใช้ในการ Chat มากที่สุด

เอกลักษณ์อย่างหนึ่งในการ Chat ในอินเทอร์เน็ต คือ การใช้คำย่อแทนสำนวนภาษา (อังกฤษ) บางประโยค การใช้คำย่อทำให้การสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็วทันใจยิ่งขึ้น แต่คุณก้ไม่ควรใช้มันบ่อยจนเกินไปนัก โดยเฉพาะกับคนที่ไม่คุ้นเคยกับการใช้คำย่อทำนองนี้

นี่คือ 10 คำย่อที่คนใช้ในการ Chat มากที่สุด

AFAIK - As Far As I Know (เท่าที่ฉันรู้นะ)
BRB - Be Right Back (เดี๋ยวมา)
IIRC - If I Recall Correctly (ถ้าฉันจำไม่ผิด)
IMHO - In My Humble Opioion (ในความคิดของฉัน)
LOL - Laughing Out Loud (ขำก๊าก)
OTOH - On the Other Hand (ในทางตรงกันข้าม)
PMFJI - Pardon Me For Jumping In (ขออภัยที่เข้ามาแทรก)
ROTFL - Roll On The Floor Laughing (ขำกลิ้งไปกลิ้งมา)
ROTFLAO - Roll On The Floor Laughing my A** Off (คำอุทาน)
WTH - What The Hell ?

clip video ฝรั่งล้อ CNN รับไม่ได้รายงานข่าวไทยบิดเบือน-ขาดความเป็นมืออาชีพ

กรณีเหตุการณ์ชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคม และสิ้นสุดด้วยการก่อการจลาจล การวินาศกรรม ปล้นสะดม เผาบ้านเผาเมือง เมื่อวันที่ 19 พ.ค.2553 โดยระหว่างการชุมนุมดังกล่าวมีผู้สื่อข่าวต่างประเทศเข้ามารายงานข่าวใน ประเทศไทยเป็นจำนวนมาก โดยส่วนหนึ่งตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงและทำให้มีผู้สื่อข่าวจากประเทศ ญี่ปุ่นและอิตาลีเสียชีวิตจากกลุ่มผู้ก่อการร้าย

ทั้งนี้ ในการชุมนุมและการสลายการชุมนุมของ นปช.นั้น แม้จะมีสื่อต่างประเทศเข้ามาทำข่าวเป็นจำนวนมากและการนำเสนอข่าวของสำนัก ข่าวต่างประเทศส่วนใหญ่ได้นำเสนออย่างเป็นรูปธรรม ทว่า สถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็น จากสหรัฐอเมริกา กลับนำเสนอข้อมูลเพียงบางส่วนที่อาจบิดเบือนและขัดแย้งกับเหตุการณ์ อีกทั้งยังมีรายการบางประเภทได้มีการกล่าวไปในเชิงดูหมิ่นสถาบันสูงสุดของ ไทย จนทำให้เกิดความเคลื่อนไหวในหมู่ประชาชน และปัญญาชนชาวไทยจำนวนมากที่ออกมาตำหนิและประท้วงต่อการกระทำดังกล่าวของซี เอ็นเอ็น

โดยเมื่อวันที่ 21 พ.ค. นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการ รมว.ต่างประเทศ ก็เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า กระทรวงการต่างประเทศได้มีจดหมายตำหนิรุนแรงต่อสำนักข่าวซีเอ็นเอ็น หลังจากสำนักข่าวดังกล่าวมีการเสนอข่าวคลาดเคลื่อน บิดเบือน กรณีกล่าวหาว่ารัฐบาลใช้ความรุนแรงปราบปรามประชาชนและพาดพิงไปถึงสถาบัน เบื้องสูง ทั้งซีเอ็นเอ็นยังได้อ้างว่ารัฐบาลไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้จนเป็นเหตุ ให้มีการเผาอาคารสถานที่ต่างๆ

ขณะที่ในวันจันทร์ที่ 24 พ.ค.ที่ผ่านมา สมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม (ประเทศไทย) ได้จัดประชุมสัมมนาหัวข้อ “บทบาทของซีเอ็นเอ็น กับมาตรการทางสังคมของไทย” โดยมีตัวแทนจาก สภาการหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ สมาคมการค้าและผู้ประกอบการเคเบิลทีวี สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย คณะวารสารศาสตร์สื่อสารมวลชน นายสมเถา สุจริตกุล นักเขียน และ นายกมล สุโกศล แคลปป์ หรือสุกี้ วงพรู ผู้ที่เขียนจดหมายโต้แย้งการนำเสนอข่าวของซีเอ็นเอ็น เข้าร่วมการประชุม โดยในที่ประชุมได้มีการตำหนิ นายแดน ริเวอร์ส (Dan Rivers) ผู้สื่อข่าวของซีเอ็นเอ็นอย่างรุนแรงว่า นำเสนอข้อมูลเพียงด้านเดียว รายงานข่าวผิดพลาด นำเสนอข่าวไม่ตรงกับข้อเท็จจริง แม้นายแดนจะอาศัยอยู่ในประเทศไทยมานานแล้วก็ตาม

ไม่เพียงแต่ชาวไทยที่ตำหนิการกระทำของผู้สื่อข่าวของสำนักข่าวซีเอ็น เอ็น แต่ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย และชาวต่างชาติที่มีปฏิสัมพันธ์กับชาวไทยเป็นอย่างดีจำนวนไม่น้อยต่างก็ รู้สึกไม่พอใจต่อการกระทำดังกล่าว โดยมีชาวต่างประเทศเขียนบทความ บล็อก การ์ตูน รวมถึงทำวิดีโอคลิปเผยแพร่ในสังคมออนไลน์เพื่อร้องเรียน รวมถึงล้อเลียนการกระทำของนักข่าวซีเอ็นเอ็นจำนวนมาก

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 22 พ.ค. ได้มีผู้โพสต์วิดีโอคลิปลงในเว็บไซต์ยูทิวบ์ (www.youtube.com) ประชดการรายงานข่าวในลักษณะดังกล่าวของซีเอ็นเอ็น โดยบุคคลในคลิปใช้ชื่อตัวเองว่า คือ แคน ริเวอร์ส (Can Rivurs) นักข่าวระดับมือรางวัลของสำนักข่าวดีเอ็นเอ็น ปฏิบัติการรายงานข่าวเหตุการณ์การใช้ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่ต่อคนเสื้อแดง ในกรุงเทพมหานคร


วีรกรรมหรือวีรเวรของ"ก้านธูป(ดำ)"ณัฐกานต์ สกุลดาราชาติ ผู้หลงผิด

-ตอน เรียนชั้นมัธยมต้น"พลอย"มักชอบวิจารณ์และโจมตีสถาบันอย่างรุนแรงเป็นประจำ จนโรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุงที่อ.บ้านโป่งถึงกับไล่ออก แล้วจึงหนีไปเรียนต่อที่รร.ธารประสาทเพ็ชรจว.โคราช(พ่อแม่ทั้งสองคนของเธอ เป็นสีแดงเต็มตัว ขนาดปลดภาพสำคัญออกจากฝาบ้านทิ้ง)

-ลงทุนเปิดเฟส บุ๊คของตนด่าพ่อหลวง ถ้ามีใครโพสโต้ตอบ จะช่วยกับ"โอปอ"พี่สาว(เรียนอยู่คณะวิศวฯม.เกษตรศาสตร์นี่แหละ)โพสด่ากลับ กระเจิง ยิ่งถ้าเป็นผู้หญิงด้วยจะห้าวถึงกับท้าตีท้าตบ

-โพสข้อความ วิจารณ์ ด่า โจมตี สถาบันฯ ในเวปไซด์"ฟ้าเดียวกัน"มาประจำนานหลายปี บางครั้งก็โพสลงในเวปไซด์"ประชาไท"ด้วย จนกลายเป็นคนมีชื่อเสียงฮิตติดท็อปเทนของเวปไซด์ต่อต้านเจ้่าทั้งสองแห่ง

-ชอบ ขึ้นเวทีเสื้อแดงแทบทุกแห่งเท่าที่มี แล้วปราศรัยอ้างว่าตนเองเป็นแกนนำกลุ่ม"เยาวชนสีแดง"ต่อต้านเจ้า แถมเคยอ้างว่าตนเคยได้รับรางวัลประกวดบทความเรื่องประชาธิปไตยมาทุกบ่อย

-ระยะ หลังชักก้าวหน้าก้าวหลัง ขนาดได้เป็นแกนนำริเริ่มจัดตั้ง "สมัชชาแดงก้าวหน้า"ขึ้นมา โดยมี จักรตุ๊ด เพ็ญแข สุรชัย แซ่ด่าน จรัล ดิษฐา โหวงเหวง ไม่รู้จักโต อดิศร เพียงแม้ว ฯลฯ เป็นที่ปรึกษา

ผล ที่เกิดและอนาคตที่กำลังจะรุ่ง(ริ่ง) เพราะ

-พี่น้องชาวโซเชีย ลไซเบอร์ช่วยกันเข้าไปโพสด่าในเฟสบุ๊ค ของเธอ และยังช่วยกันแฉความเลวร้ายชั่วช้าในเวปไซด์ดังๆ ทั้ง เนชั่นบล็อค/ผู้จัดการ ฯลฯ

-มหาวิทยาลัยศิลปากร นครปฐม ประกาศไม่ยอมรับเข้าเป็นนักศึกษา(สมน้ำหน้า)ใหม่ ทั้งที่สอบผ่านข้อเขียนได้แล้ว

-ชาวม.เกษตรเปิดเฟสบุ๊คชื่อ "มั่นใจชุมชนชาวเกษตรฯไม่ยินดีต้อนรับคนหมิ่นพ่อชื่อณัฐกานต์มาร่วมเรียน ด้วย" มีนิสิตสมัครเข้าไปร่วมด้วยนับพันคน และประกาศว่าจะไปชุมชนต่อต้านวันที่พลอยจะไปสอบสัมภาษณ์

-ศิษย์เก่า และคณาจารย์รร.รัตนราษฎร์ที่บ้านโป่ง ประกาศจะตามล่าตามล้าง จัดการกับคนหมื่นพ่อหลวงคนไทยเราคนนี้อย่างถึงที่สุด

-พอมีคนต่อต้าน กันมากๆเข้า ทีแรกมีชาวสีแดงบางคนประกาศลงในเฟสบุ๊คว่า จะมีการส่งการ์ดสีแดงไปคุ้มกันให้พลอย 30-40 คน วันที่จะไปสอบสัมภาษณ์ที่ม.เกษตรศาสตร์(25 พค.53 เวลา 09.30 น.)และยังมีบางคนขู่ว่า "ถ้าม.เกษตรฯงี่เง่าไม่ยอมรับเธอเป็นนิสิตใหม่จะมีการไปเผาม.เกษตรให้ดู"

-แต่ ผลที่สุด"พลอย"ก็ไม่กล้าำไปสอบสัมภาษณ์ และจากนั้นมีข่าวออกมาว่า แกนนำชาวแก็งค์สีแดงจะเรี่ยไรเงินส่งให้ไปเรียนต่อที่ประเทศออสเตรเลีย แทน(หรืออาจจะที่ประเทศมอนเตรนิโกรก็ได้นะ)

นี่คือความสำเร็จที่น่า ภาคภูมิใจยิ่ง จากความร่วมมือร่วมใจกันของพี่น้องชาวไทยผู้รักชาติ ที่ช่วยกันปกป้องพ่อหลวง"พ่อ"ของพวกเรา
คนเสื้อหลากสี

อิเหนารัชกาลที่ ๒ - วรรณคดีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

            ทำนองแต่ง - ใช้กลอนบทละคร
            ข้อคิดเห็น - บทละครอิเหนารัชกาลที่ ๒ ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรในรัชกาลที่ ๖ ว่า เป็นยอดแห่งกลอนบทละคร แต่งดีทั้งใจความกระบวนกลอน และกระบวนสำหรับเล่นละคร ให้ความรู้เกี่ยวกับความเป็นอยู่ของคนไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เช่น อุปนิสัย การมหรสพ การดับไฟ การป้องกันบ้านเมือง เป็นประโยชน์ในการศึกษา ขนบธรรมเนียมประเพณี และราชพิธีต่างๆ เช่น พิธีสมโภชลูกหลวง พิธีเมรุมาศ พิธีรับฑูตต่างประเทศ พิธีแห่สนานใหญ่ พิธีโสกันต์ เป็นต้น ลักษณะพิเศษอีกประการหนึ่งก็คือ บทละครเรื่องนี้แทรกบทชมป่าดงพงไพรและศิลปะทางสถาปัตยกรรมไว้มาก แสดงถึงพระปรีชาสามารถในด้านดังกล่าวขององค์ผู้ทรงพระราชนิพนธ์

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

3 หมวด กับ 30 ข้อ ของเหล้า ที่คุณอาจยังไม่รู้

3 หมวด กับ 30 ข้อ ของเหล้า ที่คุณอาจยังไม่รู้


หมวดส่งเสริมอาชีพ

1. คนขายเหล้ารวยขึ้น พนักงานโรงงานเหล้ามีรายได้
2. หมอมีงานทำมากขึ้น
3. บริษัทยาและเครื่องมือแพทย์มีรายได้มากขึ้น เพราะว่าคนเป็นตับแข็ง
เสี่ยงที่จะเกิดเลือดออกในกระเพาะมากขึ้น
อุปกรณ์และยาเหล่านี้ครองมูลค่าตลาดหลายล้าน
4. เฮียปอ และตำรวจมีงานมากขึ้น
5. หนังสือพิมพ์อยู่ได้เพราะข่าวที่เป็น ผลพวงจากเหล้านี่แหละ
ปล้นฆ่าข่มขืน เกินครึ่งฉบับ
6. หนังสือเกี่ยวกับเหล้ามีมากมายพอๆกับหนังสือเพื่อสุขภาพ
7. ทำให้พระมีเรื่องเทศน์
8. เป็นจุดเชื่อมต่อทางศาสนาต่างๆ
เพราะไม่มีศาสนาใดบอกว่าการกินเหล้าเมามายเป็นเรื่องดี
9. มุขแป้กๆของละครเวลาไม่รู้จะเขียนบทยังไงดี
จะเขียนให้วัยรุ่นกินเหล้าเมาฉุดนางเอก ถ้าเป็นหนังโรงพระเอกจะโดนยำ
ถ้าเป็นละครทีวีพระเอกจะโดนมา 1 แผล ถ้าเป็นหนังชีวิตนางเอกจะไม่มีคน
ช่วย
10. เมื่อรัฐบาลส่งเสริมอาชีพ พบว่าอาชีพผลิตเหล้าเป็นอันดับต้นๆ ที่คนไทยคิดออก

หมวดความรู้ทั่วไป

11. ขวดเบียร์ที่กินหมดแล้ว เอาไปตั้งดักแมลงสาบได้ แค่วางเอียงๆแหละ
12. สมัยเด็กๆจะเอาขวดเหล้าไปทุบละเอียดผสมกาวทาสายป่านว่าวเอาไป
แกล้งตัดว่าวคน อื่นได้
13. สายลับใช้ขวดเหล้าฆ่าคนได้โดย เอาก้นขวดกระแทก(แข็งนะ)
เอาปากขวดกระแทกเบ้าตา หรือฟาดให้แตกแล้วปาดคอ
14. คนไทยใช้เหล้าฆ่าคนโดยเอาแก้วเหล้ากระแทกปาก และซื้อฝากเพื่อนๆ
15. ยี่ห้อเหล้าเมืองไทย มีมากกว่ายี่ห้อนม ... สร้างรายได้ให้ผู้เกี่ยวข้องมากกว่า
16. เหล้ามีกลุ่มเป้าหมายแคบกว่ากลุ่มเป้าหมายของนม.. แต่ส่วนแบ่งตลาดต่างกันลิบลับ
17. เหล้าทำให้ตับแข็ง และทำให้"ไอ้นั่น"อ่อน ควบคู่กันไปอย่างอัศจรรย์
18. คนเมามีสามกลุ่ม 1. บอกว่าตนเองเมาแล้ว 2. บอกว่าไม่เมา 3.
พูดไม่ได้เพราะสลบไปแล้ว
19. มากกว่าครึ่งของการบาดเจ็บของบุคลากรทางการแพทย์ในห้องฉุกเฉิน
เกี่ยวกับคนที่เมาเหล้า ดังนั้นเป็นข้อได้เปรียบของคนที่เกลียดหมอนะ
ดื่มเข้าไปเลย
20. เหล้ามีข้อดี ขนาดที่ว่ามีโทษมากมาย แต่รัฐบาลยังไม่ห้าม
แปลว่ามันต้องมีข้อดีอันลึกลับแน่นอน

หมวดสังคม

21. เหล้าทำให้เด็กกร้านโลก กล้าทำในสิ่งที่เด็กไม่กล้าทำเช่นปล้น ฆ่า
ข่มขืน ... เป็นวิธีที่รวดเร็วในการพัฒนาเด็กเป็นผู้ใหญ่
22. เหล้าทำให้พ่อเด็กจำนวนมากตายไปในรูปแบบต่างๆ
เด็กในครอบครัวเหล่านี้จะรู้จักช่วยตนเองสู้ชีวิตมากขึ้น
23. ทำให้หมอแมวมีเรื่องเขียนไปวันๆ
24. เหล้าทำให้ครอบครัวอบอุ่น เร่าร้อน เหงื่อท่วมตัว
จากการออกกำลังทำร้ายร่างกาย
และพัฒนาต่อมน้ำตาของเด็กๆให้เจริญเร็วไม่เป็นโรคตาแห้ง
25. เหล้ามีบทบาทป้องกันประเทศรัสเซียยามสงครามมาแล้ว ในฐานะ Molotov;s
cocktail อันลือลั่น
26. เหล้าทำให้เราเห็นความรักอันสูงยิ่งของแม่ต่อลูก
หลายครั้งที่แม่ถูกลูกเมาเหล้าเตะถีบผลักจนแขนหักขาหัก
แต่แม่ยังไม่เอาเรื่อง
27. มนุษย์และลิงเป็นสัตว์สังคมที่สูงชั้น กว่าหมาแมว ดูสิ
หมาแมวมันยังไม่กินเหล้าเลย
28. ลองนึกดูสิ ว่าเหล้าทำให้ประชากรตายไปมากแค่ไหน ถ้าไม่มีมัน
โลกเราคงมีคนเยอะแยะมากมาย
29. เป็นอุปกรณ์สากลที่ทำให้ไทยจีนฝรั่งคุยกันรู้เรื่องดีกว่าวุ้นแปล
ภาษาของโด เรมอน
30. ทำให้กล้าแสดงออก กล้าพูดกล้าทำ
แสดงออกซึ่งเสรีภาพในการพูดสมดังเป็นประเทศประชาธิปไตย

ผลต่อสุขภาพประชาชนไทยที่เกิดจากเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2553

นายแพทย์อดุลย์ บัณฑุกุล
ที่มาของบทความ
เนื่องจากผมเป็นเพียงประชาชนไทยคนหนึ่ง
ซึ่งรู้สึกแย่มากกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
และไม่เคยคิดว่าคนไทยจะเป็นแบบนี้
โดยปกติคนไทยจะไม่ยอมเป็นเครื่องมือของใครง่ายๆ นอกจากเขาจะมีความจำเป็น
แต่ไม่ว่าจะมีความจำเป็นเช่นไร คนไทยก็ไม่เคยทำเช่นนี้ สังคมเปลี่ยนไปมาก
จนผมคิดว่าคำทำนายเรื่องโลกแตกคงใกล้จะเป็นความจริงแล้ว
ผมเป็นแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ คนหนึ่ง การช่วยชาตินอกจากทำงานให้ดี
ทำตามหน้าที่โดยมีความรับผิดชอบ
สิ่งที่ทำต่อไปนี้คิดว่าคงเป็นการช่วยเหลือแบบหนึ่งเท่านั้น
อยากเห็นสิ่งที่ดีกว่า
โรงพยาบาลนพรัตนราชธานีกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ในช่วงที่ผ่านมาโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
ได้เข้าไปช่วยเหลือในด้านเหตุฉุกเฉินหลายเรื่อง
เช่นการฝึกซ้อมอุบัติภัยสารเคมี ให้กับโรงพยาบาลในต่างจังหวัดหลายๆโรง
ทั้งนี้ผมและคุณหมอกิติพงษ์ต่างก็ได้ประกาศนียบัตร advanced hazmat
chemical life support จาก U of Arizona และเคยไปฝึกที่ประเทศเกาหลี
และหลักสูตรของ Asian Disaster Management Center
นอกจากนี้ผมและคุณหมอกิติพงษ์และพยาบาลในหน่วยงานยังมีโชคดีไปอบรมเป็นครู
ก และการรับอุบัติภัยทางรังสีของ National Institute of Radiations
ที่ประเทศญี่ปุ่น จึงค่อนข้างจะมีบทบาททางฉุกเฉิน
นอกเหนือจากบทบาททางอาชีวเวชศาสตร์อีกบทบาทหนึ่ง
เมื่อมีบทบาทเหล่านี้ผสมปนเปกัน ก็เลยมีความสนใจเรื่อง 9/11 ที่อเมริกา
คงจำกันได้เรื่อง อาคาร WTC ถล่ม คงจำกลุ่มควัน ฝุ่นที่เกิดจากไฟไหม้ ตึก
เป็นเวลานานมาก ควันและฝุ่นเหล่านี้เหมือนเหตุการณ์เผาเมืองที่กรุงเทพเลยครับ
ต่างกันตรงการเผายางที่นิวยอร์คไม่มี
การเผาเมืองของเรามีสารพิษออกมามากพอกันเนื่องจากเผานานมากเป็นเวลากว่า
24 ชั่วโมง จึงไม่น่าแปลกใจว่าจะมีสารพิษอะไรออกมามากมาย ที่นิวยอร์ค
มีการจัดตั้งศูนย์ excellence center เกี่ยวกับเหตุการณ์ 9/11
เขาคงไม่เหมือนคนไทยที่อยากให้ลืมไปซะเพื่อรอให้เกิดขึ้นใหม่
เขาตั้งเพี่อย้ำเตือน
และเป็นศูนย์ศึกษผลกระทบและดูแลสุขภาพคนนิวยอร์คที่อยู่ในเหตุการณ์
เข้าไปผจญเพลีงหรืออาศัยอยู่ใกล้เคียง เนื่องจากผงฝุ่น
เหล่านี้จะตกลงมาบนพื้น และมีการสะสมในสิ่งแวดล้อมและในอาคาร สำนักงาน
ในห้องเรียน ในห้องนอน แน่นอนครับจะต้องมีโรคที่เกิดทันที โรคเรื้อรัง
จนถึงโรคมะเร็ง นอกจากโรคทางกายแล้วก็ยังมีโรคทางจิตใจ
จากการศึกษาผลกระทบของ WTC มีงานวิจัยมากมาย ผลออกมาแน่ชัดแล้ว
ผมเคยมีแนวคิดแบบนี้ครับ
อยากเสนอกรมการแพทย์ให้ตั้งศูนย์ศึกษาผู้ได้รับผลกระทบจากกรณีเหตุการณ์
ครั้งนี้ โดยจะพยายามนำเสนอผ่านสมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศ
ไทย หนังสือพิมพ์ และสื่ออื่นๆ
การเผายาง
ช่วงนี้เหตุการณ์บ้านเมือง ไม่ค่อยดี
(แย่กว่าที่บ่นไว้เมื่อสองปีก่อนเสียอีก)
มีการเอายางออกมาเผากันเป็นว่าเล่น เห็นกระทรวง และแพทยสภา ออกมาพูด
ก็รู้สึกว่ายังไม่สะใจ เลยไปค้นผลเสียของควันเผาใหม้จากยาง เลยไปได้จาก
web ของ หน่วยงานพิทักษ์สิ่งแวดล้อมของอเมริกา
เนื่องจากยางรถที่ใช้แล้วเขาจะเอาไปทิ้ง และมีการสันดาปหรือไหม้ไฟได้เอง
ซึ่งดับยาก และจะปล่อยสารพิษออกมาหลายอย่าง
ควันที่ลอยไปก็ไม่ไปใหนใกลหรอกครับ จะจับตัวตกลงมาเป็นผงเล็กๆ เรียกว่า
particulated mattered ซึ่งถ้ามีขนาด 10-3 ไมครอน ก็สามารถเข้าไปในปอดได้
ดังนั้นในบริเวณสามเหลี่ยมดินแดง บ่อนไก่ ราชปรารภ
ก็จะมีผงเหล่านี้ตกลงมาในพื้นที่มากมาย ประชาชน ทุกคน
ไม่ว่าใครก็จะหายใจเข้าไป และก็จะเกิดผลเสียต่อร่างกาย
นอกจากนี้ยังมีมลภาวะที่เป็นก๊าซให้หายใจเข้าไปอีกด้วย
ในระยะยาวเป็นได้หลายโรคครับ ที่กลัวมากคือเป็นมะเร็ง นอกจากนี้คนที่ไว
ต่อควันพิษ เช่นเป็นหอบหืด คนสูงอายุที่เป็นถุงลมโป่งพอง
คนที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ก็มีสิทธิที่จะมีอาการกำเริบได้
ในภาคเหนือซึ่งอากาศนิ่ง และอยู่ในบริเวณหุบเขา ถ้ามีการเผายางแบบนี้
ก็จะมีมลพิษ (ร้ายแรงมาก) ปกคลุมทั้งภาคเลยทีเดียว เอาล่ะ
เรามาดูกันดีกว่าว่าควันไฟจากการเผายางจะเกิดอะไรขึ้น
จากการศึกษาของ US EPA (Environmental Protection Agency) ตั้งแต่ตุลาคม
1997 พบว่าการเผาไหม้ยางรถเก่าจะทำให้เกิดสารที่อันตรายอย่างร้ายแรงต่อมนุษย์
และยังเป็นสารที่ทำให้เกิดการกลายพันธ์อย่างรุนแรง
โดยสารที่ทำให้กลายพันธ์
ซึ่งออกมาจากการเผายางใช้แล้วจะมีอันตรายมากกว่าการเผาไหม้ฟืนในเตาถึง 16
เท่า และมากกว่าในที่มีการควบคุมอย่างดีถึง 13000 เท่า
สารกลายพันธ์ทำให้ทารกพิการ หรือตายคลอด คลอดออกมาผิดปกติ
และถ้าติดตามผลระยะยาว ก็จะเกิดโรคต่างๆซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรม
หรือมีไอคิวผิดปกติได้
นอกจากนี้จะมีการปล่อยสารก่อมะเร็งหลายชนิดออกมาซึ่งได้แก่ benzene, 1,
3- butadiene และ benz (a)pyrene การเผายางในที่โล่งจะปล่อยสารพิษ เช่น
สารกลายพันธ์ มากกว่าการปล่อยให้สันดาปธรรมดา (ในที่ทิ้งขยะ)
ควันไฟจะประกอบด้วยสารก่อมลพิษหลายชนิดเช่น
ละอองขนาดเล็กที่เข้าไปในปอดซึ่งจะทำให้เป็นหลอดลมอักเสบ
โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง หอบหืดในเด็ก
คาร์บอนมอนออกไซด์ซึ่งแย่งที่ออกซิเจนทำให้เกิดเจ็บหน้าอก
กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือหน้ามืดเป็นลม ซัลเฟอร์ออกไซด์
ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) ซึ่งเมื่อหายใจเข้าไปในปอด
ก็ทำปฏิกิริยากับน้ำในทางเดินหายใจเป็นกรด และมีการระคายเคือง
เป็นปอดอักเสบ และ volatile organic compounds (VOCs) ทำให้มีอาการมึนงง
ศีรษะ สมองอักเสบ และเป็นมะเร็ง
นอกจากนี้ยังมีมลพิษที่ไม่ใช่เป็นสารมลพิษที่พบได้ทั่วไปเช่น Polynuclear
aromatic hydrocarbons(PAHs) ไดออกซิน ฟูแรน ไฮโดรเจนคลอไรด์ เบนซีน
polychlorinated biphenyls (PCBs)
ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสารก่อมะเร็งทั้งสิ้น และโลหะหนักเช่น อาร์เซนิก
(สารหนู) แคดเมียม นิกเกิ้ล สังกะสี ปรอท โครเมียม และวานาเดียม
ซึ่งมลพิษทั้งสองอย่างจะมีผลต่อสุขภาพทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง
ข้นกับความเข้มของควันและระยะเวลาที่สัมผัส ผลต่อสุขภาพได้แก่
การระคายเคืองผิวหนัง ตา และเยื่อเมือก ผลต่อระบบหายใจ
ผลกดการทำงานระบบประสาทส่วนกลาง และมะเร็ง
ทั้ง VOCs , PAHs, NOx, benzene และโลหะหนัก
ต่างก็เป็นสารก่อมะเร็งที่ไปอาละวาดที่ มาบตาพุดมาแล้ว
แต่ตอนนี้ที่จุดต่างๆนี้มีสารเหล่านี้จำนวนมาก น่ากลัวเหลือเกิน
หลังจบเหตุการณ์ผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น ทหาร นักข่าว ม็อบ
จะต้องมารายงานตัว และเฝ้าระวังโรคตลอดชีวิตครับ
แต่ถ้าจะให้พิสูจน์เป็นรายบุคคลคงจะยากที่จะพิสูจน์ว่านาย ก
เป็นมะเร็งจากการเป็นผู้เข้าไปเผชิญเหตุ
ข้อแนะนำทางคลินิกสำหรับผู้อยู่ ในเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2553
* จากบทเรียนของตึก world trade center ซึ่งมีควันไฟ
และฝุ่นซึ่งมาจากตึกที่ได้รับการเผาไหม้เป็นเวลานาน และตึกถล่ม
ซึ่งมีลักษณะคล้ายกัน
พบว่าผู้อาศัยในนิวยอร์คหลายคนยังมีอาการทั้งทางกายและจิตใจจากเหตุการณ์
ครั้งนั้น
* บุคลากรทางการแพทย์จึงควรถามผู้ป่วยทุกรายว่าอยู่ในเหตุการณ์หรืออาศัยอยู่
ใกล้เหตุการณ์ที่มีการเผายาง หรืออาคาร ได้แก่บริเวณแยกราชประสงค์
สยามสแควร์ สามเหลี่ยมดินแดง หรือย่านบ่อนไก่ หรือไม่
โดยเฉพาะคนที่มีอาการทางเดินหายใจ เช่นเป็นหวัด กรดไหลย้อน
ปัญหาด้านสุขภาพจิต และการใช้สารเสพติด
* ผู้ให้บริการควรรู้วิธีที่จะสืบค้น ประเมิน
รักษาและส่งต่อผู้ป่วยซึ่งคิดว่าอาการน่าจะเกิดจากการสัมผัสกับเหตุการณ์และ
ควรตี่นตัวเสมอว่าจะมีการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์เกิดขึ้นในอนาคต
ได้อีก
* เนื่องจากภาวะสุขภาพทางกายภาพและจิตใจจะเกี่ยวข้องกันบ่อยครั้ง
ดังนั้นควรมีการประสานงานร่วมมือกัน
เพี่อให้มีการดูแลที่ดีและมีการส่งต่อ
จาก เหตุการณ์ความไม่สงบในกรุงเทพมหานคร และในอีกหลายพื้นที่ในประเทศไทย
ซึ่งมีการเผายางรถยนตร์และมีการวางเพลิง เผาตึก
ซึ่งมีการลุกไหม้เป็นเวลานาน โดยไม่สามารถดับเพลิงได้
ทำให้ประชาชนที่อยู่ในบริเวณนั้น ทั้งผู้ชุมนุม ทหาร ตำรวจ ตำรวจดับเพลิง
มูลนิธิ และผู้เผชิญเหตุ ทั้งฝ่ายแพทย์และพยาบาล หายใจเศษวัสดุ ควัน
และสารพิษต่างๆเข้าไป โดยในระยะแรกไม่มีการป้องกัน
ซึ่งในระยะเฉียบพลันจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้ทันที ในระยะเรื้อรัง
จะมีทั้งโรคทางเดินหายใจ ภาวะผิดปกติทางสุขภาพจากผลของสารพิษ
และยังมีภาวะทางจิตใจจากความเครียดที่เกิดขึ้นหลังเหตุการณ์รุนแรง (post
traumatic stress disorder) และภาวะซึมเศร้า (major depressive disorder)
ซึ่งแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ควรรู้จักโรคเหล่านี้และสามารถค้นหาหรือให้
การวินิจฉัยได้
การสัมผัสและผลต่อสุขภาพ
การสัมผัสทางกายภาพ
การ เผาไหม้ตึกทำให้เกิดการปล่อยฝุ่น ควันและก๊าซออกมา การเผาไหม้คอนกรีต
แก้ว พลาสติก กระดาษและไม้ทำให้เกิดฝุ่นที่มีฤทธิ์เป็นด่าง
นอกจากนี้ฝุ่นยังมีโลหะหนัก แอสเบสตอส และสารก่อมะเร็งหลายชนิด ฝุ่น
ควันเหล่านี้จะตกกระจายในพื้นที่
และทำให้เกิดมลพิษทั้งในสิ่งแวดล้อมและในอาคารที่พักอาศัย
จากการทดสอบทางเคมีพบว่าฝุ่นในอาคารจะมีฤทธิ์เป็นด่างมากกว่าฝุ่นที่อยู่นอก
อาคาร (ซึ่งจะถูกฝน)
ปัจจัยด้านคนที่มีความสำคัญคือระยะเวลาการสัมผัส
การเข้าไปใกล้สถานที่มากขนาดใด
การป้องกันและการชะล้างร่างกายหลังการปฏิบัติงานหรือการใช้เครื่องป้องกัน
อันตรายส่วนบุคคลเหมาะสมเพียงใด
นอกจากนี้ยังขึ้นกับความไวของสารพิษของแต่ละบุคคลด้วย
มีการตรวจสอบ พนักงานดับเพลิง 10000 คนในเหตุการณ์ world trade center
ไม่พบว่ามีปรอทหรือตะกั่วในร่างกายเกินค่ามาตรฐาน
แม้ว่าจะการตรวจพบโลหะหนักในมลพิษและในฝุ่นจากเหตุการณ์
การตรวจแร่เบอริลเลียมในปัสสาวะในพนักงานดับเพลิงมีขนาดต่ำแต่ก็ไม่สามารถ
ประเมินความไวต่อเบอริลเลียมได้ สำหรับผู้เผชิญเหตุในเหตุการณ์ world
trade center นั้นในปัจจุบันไม่จำเป็นต้องตรวจโลหะหนักเนื่องจากถ้าไม่ได้สัมผัสอีกร่าง
กายก็จะขับออกมาในเวลาไม่นาน
ผลทางสุขภาพจิต
ประชาชนที่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานครซึ่งอยู่ในเหตุการณ์
โดยเฉพาะคนที่อาศัยในแถบ ราชประสงค์ ศาลาแดง สามเหลี่ยมดินแดง
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สามย่าน สีลม สวนลุมพินี ย่านบ่อนไก่ สยามสแควร์
ต่างก็ประสบกับเหตุการณ์ซึ่งถือว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญในชีวิต
ซึ่งอาจเป็นเหตุโดยตรง หรือมีญาติพี่น้องได้รับอันตรายหรือบาดเจ็บ
มีความวิตกกังวล ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะความเครียดหลังอุบัติการณ์ร้ายแรง
มีอาการซึมเศร้า วิตกกังวล หรือมีการใช้สารเสพติดเช่น เหล้า บุหรี่
และยาเสพติดอื่นเพิ่มขึ้นได้
การค้นหาโรคเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับ เหตุการณ์ซึ่งเกิดได้ในอนาคต
ในอนาคต เมื่อมีการประเมินการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม
2553 นี้ แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ควรพิจารณาถึง
* ระดับการสัมผัสควันไฟ และฝุ่นที่ออกมาจากการเผายางและอาคาร
* ระยะเวลา ชนิด และจำนวนของฝุ่น ควัน และฟิว์ม หลังเหตุการณ์
* จำนวนของประชาชนในบริเวณจุดเกิดเหตุ และสถานที่ใกล้เคียง
โดยเฉพาะจำนวนคนที่ไวต่อสารพิษเช่น คนชรา เด็ก คนท้อง
คนที่เป็นโรคเรื้อรัง โรคหอบหืด ถุงลมโป่งพอง ผู้ที่สูบบุหรี่
นอกจากนี้ยังมีคนที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่ควันลอยไปถึง
โดยเฉพาะบุคลากรที่ทำงานในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
และคนที่อาศัยในอาคารสูงในบริเวณใกล้เคียง
ประชาชนเหล่านี้อาจมีอาการ
ทางเดินหายใจหรืออาการทางจิตซึ่งจะเกิดหลังเหตุการณ์เกือบทันที
อย่างไรก็ตามจะต้องมีการเฝ้าระวังผลระยะยาวด้วย
เนื่องจากแต่ละคนจะมีความทนต่อการเกิดโรคต่างกัน
ดังนั้นจึงไม่ขึ้นกับปัจจัยการสัมผัสมากเท่าไรนัก
ปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยที่บ่งถึงสุขภาพของคนที่อาศัยในอาคาร
พนักงานออฟฟิต นักเรียน หรือคนที่ทำความสะอาดตึกเหล่านี้
มีรายงานหนึ่งกล่าวว่าถ้าปล่อยให้มีกลิ่นหรือมีฝุ่นในบ้านยิ่งนานก็จะยิ่ง
เพิ่มของความเสี่ยงต่อระบบหายใจ นอกจากนี้ในคนที่สูบบุหรี่มาก่อน
ก็ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคทางเดินหายใจส่วนล่างมากขึ้น
ซึ่งที่จริงแล้วการสูบบุหรี่ด้วยตัวของมันเองก็ทำให้เ
พิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคทางเดินหายใจเรื้อรังและโรคมะเร็งอยู่แล้ว
การหยุดสูบบุหรี่ และการหยุดรับควันบุหรี่หรืออยู่ร่วมกับคนสูบบุหรี่
(second hand smoke)
ก็เป็นส่วนสำคัญในการป้องกันและรักษาโรคหลายอย่างโดยเฉพาะโรคทางเดินหายใจ
จากเหตุการณ์ครั้งนี้
ตารางที่ 1 การประเมินประวัติอาชีพและการสัมผัส
ถาม " คุณสัมผัสกับเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2553 หรือไม่?"
ถ้าผู้ป่วยตอบว่า ใช่ ให้ถามคำถามต่อไปเกี่ยวกับขนาดและระยะเวลาการสัมผัสเช่น
1. คุณอาคัยในกรุงเทพมหานคร ในย่าน ........หรือไม่
หรือเคยเข้ามาร่วมในเหตุการณ์หรือไม่?
มีการหายใจเอาฝุ่นควันหรือถูกฝุ่นควันเปื้อนตัวหรือไม่?
2. คุณทำงานเป็นอาสาสมัคร ตำรวจ ทหาร บุคลากรทางการแพทย์ ฯลฯ
ระหว่างเหตุการณ์นั้นหรือไม่ ?
มีการใช้เครื่องป้องกันทางเดินหายใจหรือไม่ ?
3. คุณอาคัยอยู่ในบริเวณ ..... ไปเรียนหรือไปทำงาน
หรืออยู่ใกล้เคียงที่เกิดเหตุหรือไม่? (หลังเกิดเหตุการณ์แล้ว)
4. คุณทำความสะอาดหรือซ่อมแซมบ้าน
โรงเรียนหรืออาคารสำนักงานที่ได้รับภัยพิบัติหรือไม่ ?
5. คุณเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทางใดทางหนึ่งนอกเหนือจากนี้หรือไม่?
ถ้าผู้ ป่วยตอบว่าใช่ให้นึกถึงว่าเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
การ หายใจหรือกินฝุ่นทำให้เกิดโรค
และทำให้โรคที่เป็นอยู่แล้วแสดงอาการมากขึ้น
อาการทางเดินหายใจจะเกิดจากสาเหตุหลายอย่างและการรักษาหลายวิธีจะทำให้ผู้
ป่วยอาการดีขึ้น
สำหรับโรคทางเดินหายใจจะเกิดจากสารระคายเคืองทำให้เกิดปฏิกริยาซึ่งจะมี
อาการไปเรื่อยๆ และกลายเป็นโรคทางเดินหายใจเรื้อรังในที่สุด
ควรมีการพัฒนาแผนการวินิจฉัยและรักษาซึ่งครอบคลุมโรคทางเดินหายใจส่วนบน
ทางเดินหายใจส่วนล่าง และโรคกรดไหลย้อน
พยายามให้การรักษาแม้ว่าจะได้ผลเพียงเล็กน้อย ให้ทดลองรักษาจนถึงที่สุด
เมื่อไม่ได้ผลแล้วจึงเปลี่ยนแนวทางการรักษา
ให้ซักประวัติอาชีพโดยเฉพาะการทำงานเกี่ยวกับการสัมผัสฝุ่นหรือฟิวม์ซึ่งจะ
ทำให้อาการของโรคซึ่งเกิดจากเหตุการณ์นี้กำเริบขึ้น
ตัวอย่างโรคบางอย่างซึ่งเกี่ยวข้องกับการเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2553
ตาราง ที่ 2 โรคอื่นที่เกี่ยวข้องกับ เหตุการณ์
* เป็นหวัดเรื้อรัง (chronic rhinitis และ rhinosinusitis)
* หอบหืด/ RADS
* โรคกรดใหลย้อน (gastroesophageal reflux disease-GERD และ
laryngopharyngeal reflux disease (LPRD)
โรคหอบหืดจากการสัมผัสและกลุ่มอาการทำงานผิดปกติของทาง
เดินหายใจจากปฏิกริยากระตุ้น (Irritant-Induced Asthma/ Reactive Airways
Dysfunction Syndrome (RADS)
มีการศึกษาจากเหตุการณ์ WTC จากการที่หลอดลมมีปฏิกริยาหดตัวจากการกระตุ้น
ทำให้เกิดอาการหอบหืดในคนที่สัมผัสฝุ่นควันเป็นจำนวนมาก
มีการศึกษาเพื่อดูปฏิกริยาภูมิไวเกินของหลอดลม (bronchial hyperactivity)
ของพนักงานดับเพลิง หลังเกิดเหตุการณ์ WTC 6 เดือนยังพบว่ามีปฏิกริยาถึง
20% มีการตรวจความไวของหลอดลมหลังเกิดเหตุการณ์หนึ่งปีเพื่อติดตามผล
พบว่าผู้ป่วย 37% ยังมีทดสอบให้ผลบวกต่อการกระตุ้นหลอดลม
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มคนเล็กๆ ซึ่งสัมผัสต่อสารพิษจากเหตุการณ์มีภาวะ RADS
ซึ่งมีอาการหอบในเวลาอันรวดเร็ว (ภายในหนึ่งถึงสามวันหลังสัมผัส)
และคนที่มีอาการหอบหืดที่เป็นไม่มาก
หรือเป็นโรคถุงลมโป่งพองก็มีอาการกำเริบขึ้น
อาการ: เหนื่อย แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงดังหวีด ไอ มีเสมหะ
ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนง่าย ภูมิแพ้ มีการระคายเคืองง่ายจากน้ำหอม
ผงซักฟอก ควันบุหรี่ ฝุ่นควัน และเป็นโรคทางเดินหายใจบ่อย
การตรวจพบ: อาจจะตรวจไม่พบความผิดปกติหรือพบหายใจเร็ว หายใจมีเสียงหวีด
การหายใจออกยาว มีเสียงก้องเวลาเคาะปอด
มีการใช้กล้ามเนื้ออื่นเพื่อช่วยหายใจ
การวิ นิจฉัย: ประวัติ การตรวจร่างกาย การตรวจภาพรังสีปอด
และการวัดสมรรถภาพปอด ในโรคปอดชนิดอุดกั้น มีการตรวจสมรรถภาพปอด
พบว่ามีการลดลงของ FEV1 และมีการลดลงของสัดส่วน FEV1/FVC
ความผิดปกติที่พบบ่อยของ WTC คือ การลดลงของ FVC และสัดส่วน FEV1/FVC
ปกติ แต่อาการและอาการแสดงก็บ่งถึงโรคหอบหืดชัดเจน
การรักษา : ดูตารางที่ 3
ตาราง ที่ 3 การรักษาโรคหอบหืด และ RADS
* ในรายที่เป็นเพียงเล็กน้อย ให้ใช้การสูดดม corticosteroid ทุกวัน (เช่น
budesonide) และใช้ยาขยายหลอดลมที่ออกฤทธิ์ระยะสั้น (เช่น albuterol)
ถ้ามีอาการมาก จะต้องติดตามการรักษาอย่างใกล้นิดอย่างน้อยในช่วงสามเดือนแรก
ว่อาการดีขึ้นหรือไม่ โดยเฉพาะถ้ามี rhinosinusitis และ โรคกรดใหลย้อน
(GERD)
* ในผู้ป่วยที่มีอาการบ่อย ให้ใช้การสูดดม corticosteroid และให้รวม long
acting inhaled beta agonists (เช่น salmeterol) หรือ leukotriene
modifiers (เช่น montelukast sodium) โดยมีการติดตามอย่างใกล้ชิด
ถ้าการตรวจสมรรถภาพปอดเป็นปกติให้ทำ methacholine challenge test หรือ
ส่งต่อเพื่อประเมิน distal airway function
* ในผู้ป่วยที่รักษาไม่หายให้ส่งต่อไปหาแพทย์เฉพาะทางโรคทางเดินหายใจ
ผู้ ป่วยทั้งหมด
* ให้หลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อมที่จะกระตุ้นให้เกิดโรคทางเดินหายใจ
* เพื่อช่วยในการจัดการรักษาให้ทำตามแนวทางการรักษาโรคหอบหืดของแพทยสภาหรือ
ของสถาบันโรคหัวใจ ปอด และหลอดเลือดแห่งชาติ ของประเทศสหรัฐอเมริกา
(www.nhlbi.nih.gov/guidelines/asthma/asthsumm.pdf)
โรคหวัดเรื้อรัง (chronic rhinitis และ rhinosinusitis)
อาการหวัดเป็นทั้งจากภูมิแพ้ และไม่ใช่ภูมิแพ้
ซึ่งส่วนใหญ่จะมีไซนัสอักเสบ คออักเสบ และหลอดลมอักเสบร่วมด้วย
โรคหวัดเรื้อรังเป็นโรคที่พบบ่อยร่วมกับโรคทางเดินหายใจส่วนล่าง และ
โรคกรดใหลย้อน เมื่อเกิด rhinosinusitis จะมีน้ำมูกใหลลงหลังคอ
และทำให้เกิดการไอเรื้อรังแห้งๆ
ซึ่งถ้าตรวจภาพรังสีปอดจะไม่พบความผิดปกติ
อาการ: คัดจมูก น้ำมูกใหลทั้งออกทางจมูกและไหลลงหลังคอ ไอ เจ็บตามใบหน้า
เลือดกำเดาไหล การดมกลิ่นเสีย ปวดฟันส่วนบน น้ำตาไหล คันตา จมูก หรือคอ
ปวดหู และอ่อนเพลีย
อาการแสดง: การอักเสบของจมูก และ ไซนัส มากกว่า 3 เดีอน
การรักษา: ดูตารางที่ 4
ตารางที่ 4 การรักษาโรคหวัดเรื้อรัง
* ให้ล้างจมูก และให้ยา antihistamines (เช่น loratadine) หรือ
ยาลดน้ำมูก (เช่น phenylephrine) ประมาณ 5-7 วัน
* ถ้ามีเยื่อจมูกบวมมาก ให้ใช้ topical decongestants (เช่น
oxymetazoline) โดยใช้ได้อย่างมาก 3 วัน
* ถ้าอาการทางจมูกและคอยังมีอยู่หรือเป็นมากขึ้นหลังรักษาด้วยการล้างหรือยาลด
น้ำมูก ให้ใช้สเตียรอยด์ (เช่น budesonide) ซึ่งอาจจะไม่เห็นผลจนกว่า 2
สัปดาห์ ถ้าอาการดีขึ้น ควรรักษาต่ออีกประมาณ 2-3 เดือน
* ถ้าผู้ป่วยมีไข้ และ/หรือหนาวสั่น มีน้ำมูกเหลวข้น มีอาการปวดใบหน้า
และฟันในบริเวณ เจ็บบริเวณไซนัส หรือมีอาการเลวลงเรื่อยๆ
ให้นึกถึงว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียที่ไซนัสร่วมด้วย
และต้องให้ยาปฏิชีวนะ maxillary
* ถ้าอาการรุนแรงหรือรักษาแล้ว 3 เดือนยังไม่ดีขึ้นให้ทำ CT scan
บริเวณไซนัส หรือส่งต่อให้แพทย์เฉพาะทาง

โรคกรดใหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease -GERD และ
Laryngopharyngeal Reflux Disease -LPRD)
จะต้องมีการรักราโรคกรดไหลย้อนเช่น GERD และ LPRD อย่างเต็มที่
เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตและเนื่องจากมีโอกาสที่จะเป็นโรคของทางเดินอาหาร
อื่นๆ เช่นการกลืนลำบาก มีการตีบที่ทางเดินอาหาร เป็น Barrett's
esophagus และ เป็นมะเร็งของหลอดอาหาร
รวมทั้งจะพบร่วมกับโรคทางเดินหายใจเช่น หลอดเสียงอักเสบ ไซนัสอักเสบ
หอบหืด และการไอเรื้อรัง จากการศึกษาในกรณี WTC พบว่าพนักงานดับเพลิง 87%
มีกลุ่มอาการของ GERD หรือ GERD และ LPRD โดย GERD
นั้นเกิดจากการใหลย้อนของกรดของกระเพาะอาหารเข้ามาในหลอดอาหาร LPRD
เกิดจากการใหลย้อนของของเหลวในกระเพาะอาหารเข้าไปในหลอดคอและหลอดเสียง
(pharyngeal และ laryngeal) ไซนัส หรือทางเดินหายใจส่วนล่าง
ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบบ่อยครั้ง
อาการของ GERD : มีอาการปวดหรือรู้สึกแน่นบริเวณยอดอก
(substernal/epigastric) เรอกรดออกมา อาหารไม่ย่อย
ไอซึ่งเกิดจากการกินอาหารหรือไอเวลากลางคืน
อาการของ LPRD: เสียงแหบหรือมีการเปลี่ยนแปลงของหลอดเสียง เจ็บคอ
รู้สึกเหมือนมีก้อนในคอ
อาการแสดงของ GERD: ถ้าเป็นน้อยจะตรวจไม่พบอะไร ถ้าส่องกล้องดูจะพบการบวม
หรือหลอดอาหารอักเสบ ถ้ามีอาการมาก
การส่องกล้องไม่พบอะไรก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ป่วยไม่ได้เป็นโรคนี้
อาการ แสดงของ LPRD: จะตรวจไม่พบอะไร หรือถ้าส่องตรวจจะพบการบวมแดงของหลอดเสียง
การ วินิจฉัยโรค: ประวัติ การตรวจร่างกาย และการตอบสนองต่อการรักษา
ถ้าไม่มีการตอบสนองจะต้องใช้กล้องส่อง หรือมีการกลับเป็นอีกภายหลัง 2-3
เดือน หรือถ้าอาการบ่งว่าเป็นรุนแรงหรือไม่คล้ายจะเป็นโรคนี้ การรักษา
ดูตารางที่ 5
ตารางที่ 5 การรักษา GERD และ LPRD
* ถ้าผู้ป่วยมีอาการไม่มากให้เริ่มการรักษาแบบ empirical
รวมทั้งการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต (lifestyle modification)
ได้แก่การปรับเปลี่ยนโภชนาการ การลดน้ำหนัก และหยุดสูบบุหรี่
และการลดกรดในกระเพาะอาหาร
* พยายามปรับการดำเนินชีวิตประจำวันก่อน ถ้าไม่ดีขึ้น ค่อยให้ Proton
pump inhibitors (PPIs) เช่น omeprazole
ซึ่งจะช่วยลดอาการและรักษาอาการหลอดอาหารอักเสบในผู้ป่วยส่วนใหญ่
รักษาโดยใช้ PPI ประมาณ 4-8 อาฑิตย์ และหลังจากนั้นให้รักษาตามอาการ
นอกจากนี้ยังมีการใช้ histamine-2 receptor antagonists (เช่น
ranitidine) ในพวกที่มีอาการน้อยหรือใช้ร่วมกับยาอื่นเมื่อมีอาการที่ควบคุมลำบากโดย
เฉพาะใช้ป้องกันเมื่อรู้ว่าอะไรเป็นตัวกระตุ้น GERD
เช่นก่อนการออกกำลังหรือกินอาหารมาก หรือก่อนเข้านอน
แต่ส่วนใหญ่การตอบสนองต่อ PPI จะดีกว่าการรักษาด้วย histamine-2 receptor
antagonist
* สาร Prokinetic เช่น metoclopramide ใช้เป็นการรักษาเสริม
* ถ้าการรักษาแบบ empiric ไม่ได้ผลหลังจากเริ่มไป 2-3 เดือน
ให้ส่งต่อไปแพทย์เฉพาะทาง
การประเมินอาการไอเรื้อรัง
จากการติดตามผู้เผชิญเหตุหรือคนที่อยู่ในเหตุการณ์ WTC
จะพบว่ามีการไอเรื้อรัง
ซึ่งเกิดจากกลุ่มอาการทั้งสามแบบซึ่งกล่าวถึงในข้างต้น
แม้ว่าจะไม่มีอาการชัดเจนที่บ่งถึงอาการหอบหืด เป็นหวัดเรื้อรังหรือ
GERD/LPRD โดยผู้ป่วยเหล่านี้ยังมีการตอบสนองต่อ empiric treatment
อย่างไรก็ตามถ้าไม่มีอาการและอาการแสดงซึ่งน่าจะพบหรือไม่ตอบสนองต่อการ
รักษา จะต้องคิดถึงสาเหตุอื่นด้วย
แนวทางการประเมินผู้ป่วยที่ไอเรื้อรังจากกลุ่มควัน
และฝุ่นที่เกิดจากการเผาอาคารและยางได้แสดงในรูปที่ 1
ควรมีการซักประวัติให้ละเอียดก่อนที่จะดำเนินตาม algorithm ต่อไป
และควรให้ผู้ป่วยหยุดสูบบุหรี่ หยุดยาลดความดันโลหิตชนิด ACE inhibitor
และแนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงสิ่งที่ระคายเคืองทางเดินหายใจ
ถ้าผู้ป่วยทำงานกับไอกรด ฝุ่น ควัน ตรวจร่างกาย
ดูว่าอาการและอาการแสดงบ่งถึงอาการของโรคหวัดเรื้อรัง หอบหืด หรือ GERD
หรือไม่ และพยายามให้การรักษา ถ้าอาการเข้าได้กับโรคหอบหืดหรือ RADS
หรือมีเพียงอาการไออย่างเดียวให้
ฉายภาพรังสีปอดถ้าพบผิดปกติให้รักษาความผิดปกติที่พบก่อนทำตาม algorithm
ถ้าภาพรังสีปอดปกติ ก็ให้ตรวจสมรรถภาพปอดต่อไป
ให้เริ่มรักษาโรคหอบหืดหรือ RADS ในคนที่ตรวจพบเป็นโรคปอดชนิดอุดกั้น
หรือตอบสนองต่อการให้ยาขยายหลอดลมเมื่อตรวจสมรรถภาพปอด
หรือในกลุ่มที่ตรวจสมรรถภาพปอดปกติแต่มีประวัติหอบหืดเมื่อมีการกระตุ้น
ชัดเจน สำหรับในกลุ่มหลังนี้สามารถทำ provocative test เช่น metacholine
challenge test ได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจจะต้องได้รับการตรวจเพิ่มเติมโดย
high resolution chest CT scans หรือตรวจหน้าที่ของปอดอย่างครบถ้วน
โดยการส่งต่อให้แพทย์ทางอุรเวชเพื่อสืบค้นต่อไป
โรคปอดชนิดอื่นๆ
ใน ผู้ป่วยบางรายการระคายเคืองและการอักเสบเรื้อรังทำให้เป็นโรคถุงลมโป่งพอง
ได้ จากการติดตามพนักงานดับเพลิง เจ้าหน้าที่ EMS
ที่เข้าไปช่วยในเหตุการณ์ WTC พบว่ามีผู้ที่เป็น sarcoid like
granulomatous lung disease มากกว่าปกติในการติดตามคนเหล่านี้เป็นเวลา 5
ปี โดยโรค sarcoidosis ที่พบจะไม่มีอาการแต่มีภาพรังสีปอดผิดปกติ
(มีต่อมน้ำเหลืองบริเวณขั่วปอดโต)
ซึ่งตรวจพบโดยการเพิ่มการตรวจร่างกายคัดกรอง
ในการตรวจพนักงานดับเพลิง นั้นพบความผิดปกติร่วมได้แก่
มีต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอดโต และ 65%
มีอาการและอาการแสดงเข้าได้กับโรคหอบหืดที่เป็นใหม่ มี 23 %
มีอาการอื่นๆนอกเหนือจากอาการทางเดินหายใจ แต่มีเพียง 3
รายที่ตรวจพบสมรรถภาพปอดและ diffusion capacity ลดลงต่ำกว่า 80%
ของค่าทำนาย จากการตรวจทั้งหมด 26 คน
ยังมีการรายงานโรคปอดที่พบน้อยอื่นๆเช่น eosinophilic pneumonita,
bronchiolitis obliterans, interstitial fibrosis ซึ่งมี predominant
peribronchiolar changes และ granulomatous pneumonitis
เมื่อเปรียบเทียบกับโรคหอบหืด การตรวจสมรรถภาพปอดในโรคปอดชนิด
interstitial lung จะพบความจุของปอดและ diffusion capacity ลดลง
มีความผิดปกติเมื่อตรวจภาพรังสีปอด และการทำ high resolution CT scan
ของทรวงอกจะเป็นการวินิจฉัยหรือเป็นการทำเพื่อวางแผนในการผ่าตัด
การรักษาจะต้องให้ยาต้านอักเสบ
จำนวนสูงซึ่งจะต้องให้หลังวินิจฉัยได้แน่นอนแล้ว
โรคอื่นๆ
ผู้ป่วยอาจจะมาหาด้วยอาการหรือโรคอื่นๆ โดยเฉพาะโรคมะเร็ง
ซึ่งต้องใช้เวลานาน
สารเคมีที่ออกมาจากบริเวณตึกที่ถูกไฟเผาและยุบตัวจะมีสารก่อมะเร็งหลายชนิด
ได้แก่โรคมะเร็งของระบบเลือด ซึ่งมีระยะฟักตัวสั้นที่สุด
และโรคมะเร็งของอวัยวะอื่นๆ ซึ่งมีระยะฟักตัวยาวกว่า โรคอื่นๆ ได้แก่
โรคกล้ามเนื้ออักเสบ (myositis)
การรายงานโรค
จากเหตุการณ์ WTC รัฐนิวยอร์คได้ออกกฏหมายเพื่อให้มีการรายงานโรคต่อไปนี้
* โรคมะเร็งใดๆ ที่มีการวินิจฉัยหรือรักษา (เข้า cancer registry)
* โรคปอดจากการทำงานใดๆที่มีการวินิจฉัยและรักษาต้องรายงานภายใน 10 วัน
เพื่อเข้าสู่ occupational lung disease registry
สภาพจิต
ผู้ที่อยู่ในกรุงเทพมหานครในช่วงเกิดเหตุการณ์ เป็นผู้ประสบเหตุโดยตรง
โดยเฉพาะผู้ที่ถูกปิดล้อมในช่วงเหตุการณ์ ผู้ที่อาศัยในพื้นที่ดังกล่าว
ผู้ที่มีญาติพี่น้องเสียชีวิต
หรือผู้ที่ต้องตกงานหรือประสบเหตุการณ์ทำให้เกิดภาวะชะงักงันในเศรษฐฐานะของ
ตนเอง เหล่านี้ ทำใหเกิดอาการทางจิตประสาทได้
ส่วนใหญ่ประชาชนที่สุขภาพกายและจิตดี
จะมีการปรับตัวให้กลับมามีสุขภาพจิตเช่นเดิมได้
แต่มีบางคนที่ต้องใช้เวลานานหรือมีอาการทางจิตประสาทถาวร เช่น วิตก กังวล
เครียด นอนไม่หลับ
อย่างไรก็ตามจะมีบางคนที่มีอาการทางจิตที่ผิดปกติและเป็นกลุ่มอาการชัดเจน
เช่น PTSD, ซึมเศร้า Generalized Anxiety Disorder (GAD)
หรือมีการใช้สารเสพติด แพทย์จะต้องค้นหา
ประเมินและให้การรักษาหรือส่งต่อเพื่อให้ผู้ป่วยเหล่านี้ได้รับการดูแลที่
ถูกต้อง โดย
* จะต้องตื่นตัวเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงหรือกาการแสดงที่บ่งถึงความผิดปกติทาง
จิตใจเหล่านี้
* พยายามซักประวัติความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และความรุนแรง
รวมทั้งคัดกรองความเสี่ยงต่อสุขภาพจิต (ดูตารางที่ 6)
* ประเมินอาการของ PTSD (ดูตารางที่ 7), อาการซึมเศร้า (ตารางที่ 8 และ
9) GAD (ดูตารางที่ 10) และการใช้สารเสพติด (ตารางที่ 11)
* ให้ความรู้ผู้ป่วยเกี่ยวกับการตอบสนองต่อความเครียดตามปกติ
* วินิจฉัย/จัดการ ตามแนวทางการรักษาที่เหมาะสม
แพทย์จะต้องค้นหาอาการทางจิตเนื่องจากผู้ป่วยบางรายจะไม่พยายามพูดถึง
แพทย์สามารถให้การดูและวินิจฉัยหรือส่งต่อไปยังจิตแพทย์
ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติหลายอย่างจะยากต่อการวินิจฉัยและรักษา
ควรส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญ
ความเครียดผิดปกติหลังประสบเหตุการณ์ร้ายแรง (Post traumatic stress
disorder- PTSD)
PTSD เกิดขึ้นในผู้ป่วยบางรายที่ประสบเหตุการณ์ร้ายแรงในชีวิต เช่น
อุบัติเหตุรุนแรง ความตายในกลุ่มญาติพี่น้อง หรือเพื่อน
และการตอบสนองต่อความกลัวอย่างสุดขีด การช่วยตนเองไม่ได้
หรือเหตุการณ์ที่รุนแรง เช่นเหตุการณ์เมื่อเดือนพฤษภาคม 2553
ที่กรุงเทพมหานคร และในจังหวัดอื่นๆ เป็นต้น PTSD
จะมีอาการเหล่านี้หลังจากเวลาระยะหนึ่ง
และทำให้เกิดความผิดปกติเป็นระยะเวลามากกว่าหนึ่งเดือน อาการของ PTSD
ได้แก่
* มีการนึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง เป็นความจำ ฝันร้าย
หรือเป็นภาพเข้ามาในสมอง
* การพยายามไม่นึกถึงเหตุการณ์ เช่นการคิดถึง ความรู้สึก พูดถึง
มีกิจกรรม ไปยังสถานที่นั้น ลืมเหตุการณ์
หรือรู้สึกชาทั้งตัวเมื่อมีคนพูดถึงเหตุการณ์
* มีอาการ นอนไม่หลับ กระวนกระวาย ไม่มีสมาธิ วุ่นวาย หรือตกตะลึงบ่อยครั้ง
การวินิจฉัยโรค PTSD (ดูตารางที่ 7)
ค่อนข้างยากเนื่องจากผู้ป่วยอาจเป็นโรคทางจิตใจอื่นๆอยู่ก่อนแล้วเช่น
Major Depressive Disorder (MDD) หรือโรควิตกกังวลอื่นๆ
และในตอนแรกผู้ป่วยอาจมาหาแพทย์ด้วย อาการทาง ร่างกายอื่นๆก่อน
ความผิดปกตินี้จะทำให้ผู้ป่วยทำงานไม่ได้ หรือทำงานผิดพลาด
และเพิ่มความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
นอกจากนี้ผู้ป่วยหายรายจะปกปิดอาการและไม่ยอมบอกแพทย์
โรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder)
โรคซึมเศร้าหรือ MDD
เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ที่มีผลต่อชีวิตและการทำงานของผู้ป่วย
ประชาชนที่ประสบเหตุการณ์รุนแรง หรือมีส่วนในการช่วยเหลือ
เช่นในเหตุการณ์ซึนามิ หรือเหตุการณ์ในกทม ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2553
จะมีความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า และอาจจะมี PTSD ร่วมด้วย
อาการซึมเศร้าจะมีอาการดังนี้ คือ รู้สึกเศร้ามาก รู้สึกผิด
รู้สึกไม่มีใครช่วยได้ หมดหวัง นอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิ เบื่ออาหาร
และคิดจะฆ่าตัวตายหรือคิดถึงความตาย การซึมเศร้าอาจเกิดเพียงครั้งเดียว
แต่ก็สามารถเป็นซ้ำได้อีกบ่อยๆ แพทย์สามารถคัดกรองการซึมเศร้าโดยใช้
แบบคำถาม Patient Health Questionnaire-2 (PHQ-2) (ดูตารางที่ 8)
ซึ่งถ้าผู้ป่วยตอบว่าใช่ทั้งสองข้อ ให้ใช้แบบสอบถาม Patient Health
Questionnaire-9 (PHQ-9) (ดูตารางที่ 8) แบบสอบถามทั้ง 9
ข้อนี้มีความเที่ยงตรงและมีคุณภาพในการค้นหาภาวะซึมเศร้า
และใช้ในการติดตามการรักษาได้ และถ้าคำตอบในข้อ 9
เป็นผลบวกให้ประเมินความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย (ดูตารางที่ 9)
การรักษาภาวะซึมเศร้ามีทั้งการใช้ยาและไม่ใช้ยาเช่นการทำจิตบำบัด
การให้ความรู้ การให้ผู้ป่วยมีกิจกรรมมากขึ้น เช่นออกกำลัง
ปัจจัยที่กำหนดการเลือกการรักษาได้แก่ความรุนแรงของอาการ
ความเครียดด้านจิตสังคม โรคที่พบร่วมด้วย
จะต้องมีการดูแลติดตามผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดถึงผลการรักษา ความคิดฆ่าตัวตาย
และผลข้างเคียงของยา เมื่อมีความคิดในการฆ่าตัวตาย
ควรรับเข้ารักษาในโรงพยาบาล โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้วย
ตารางที่ 6 ปัจจัยซึ่งเพิ่มความเสี่ยงที่จะมีอาการทางจิตใจ
(จากการศึกษาจากกรณี WTC)
* ประชาชนที่รับรู้เหตุการณ์ ซึ่งทำให้เกิดความตระหนกได้แก่
o ความรุนแรงของการชุมนุม
o การฟังข่าว Buildings collapsing
o การวางเพลิง เผายาง เห็นภาพตึกไฟไหม้ ตึกถล่ม
o มีเพื่อน ญาติพี่น้อง ถูกฆ่าหรือบาดเจ็บ
* สัมผัสกับควันหรือฝุ่น อยู่ในเหตุการณ์
* ได้รับบาดเจ็บ
* มีอาการตื่นตระหนก กับเหตุการณ์
* ทำงาน ทำความสะอาด หรือเก็บกวาด
* มีปัญหาโรคทางกายที่เกิดจากเหตุการณ์
* สูญเสียงานหรือมีเศรษฐานะแย่ลงจากเหตุการณ์
ปัจจัยทั่วไป
* อายุน้อย
* เพศหญิง
* มีประวัติคนเป็นโรคจิตในครอบครัว
* มีประวัติการบาดเจ็บมาก่อนหน้านี้
* มีโรคทางจิตหรือโรคเรื้อรัง
* ขาดการสนับสนุนทางสังคม
* มีความลำบากทางการเงิน

ตารางที่ 7 การวินิจฉัยและรักษาภาวะ PTSD
การคัดกรอง
ผู้ป่วยที่ตอบว่าใช่ 3-4 ข้อในคำถามด้านล่างถือว่าอาจเป็น PTSD
ในชีวิตของท่าน เคยมีประสบการณ์ที่น่ากลัวมาก รุนแรง
หรือทำให้วุ่นวายใจในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาหรือไม่ ซึ่งทำให้ท่าน
1. มีฝันร้ายเกี่ยวกับสิ่งนั้นหรีอชอบไปคิดถึงมันโดยไม่ได้ตั้งใจ?
2. ท่านพยายามที่ไม่คิดถึงมันและพยายามหาวิธีที่จะหลีกเลี่ยงไม่คิดถึง?
3.มี ความระมัดระวัง ป้องกันหรือตื่นกลัวอยู่เสมอหรือไม่?
4. รู้สึกชา มีความรู้สึกเหมือนถูกกันออกจากสภาพแวดล้อม
กิจกรรมที่ทำอยู่อย่างกะทันหันเมื่อนึกถึงมันหรือไม่?
การรักษา
การ รักษาทางจิตใจ
*ใช้ Exposure therapy โดยจะลดการรู้สึกถูกกระตุ้น และเครียด
ที่เกี่ยวเนื่องกับความทรงจำ โดย exposure therapy จะทำร่วมกับ
relaxation และ breathing techniques
ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยจัดการความวิตกกังวลและต่อสู้กับความเครียดได้
* การรักษาทางจิตใจอื่นๆ ได้แก่ cognitive และ behavioral therapies
ซึ่งอาจจะได้ผลบ้าง
การใช้ยา
* ยา First-line treatment: selective serotonin reuptake inhibitors
(SSRIs)--sertraline (Zoloft(R)) และ paroxetine (Paxil(R))
ซึ่งเป็นยาที่ใช้เพื่อรักษา PTSD ถ้าใช้ SSRIs ไม่ได้ผลอาจจะทดลองใช้
venlafaxine (Effexor(R))หรือ ยารักษาโรคซึมเศร้าอื่นๆเช่น mirtazepine
(Remeron(R)), duloxetine (Cymbalta(R)) และ bupropion
(Wellbutrin(R))
* ในรายที่เป็น resistant PTSD: ใช้ tricyclic antidepressants (TCAs)และ
monoamine oxidase inhibitors (MAOIs)
แต่เนื่องจากผลข้างเคียงมีมากจึงไม่ควรใช้เป็น first line
* ในรายที่ได้ผลบ้าง: ให้ใช้ยาลดการซึมเศร้าร่วมกับยาทางจิตอื่นๆ เช่น
ยาปรับอารมณ์ antiadrenergic medications ยาลดอาการวิตกกังวล
และยาทางจิตเภท)
* การใช้ยารักษาทางจิตรวมกันหลายชนิดอาจจะได้ผลดีในผู้ป่วยบางราย
และควรพิจารณาดูผลข้างเคียงด้วย
* ในผู้ป่วยที่ใช้ยาหลายชนิดควรส่งต่อผู้เชี่ยวชาญ

ตารางที่ 8 การคัดกรองการซึมเศร้าและการรักษา
การคัดกรอง
สังเกต ฟัง และถามคำถามเกี่ยวกับอารมณ์ของผู้ป่วย การทำงาน แรงจูงใจ
และปัญหาเกี่ยวกับงานและสังคม
เริ่มโดยการถามคำถามผู้ป่วย (PHQ-2)
ใน ช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมาคุณเคยรู้สึก:
1. มีความสนใจหรือความรู้สึกระตือรือร้นที่จะทำงานหรือทำกิจกรรมลดลงหรือไม่?
2. รู้สึกหมดหวังหรือไม่ ?
ถ้าตอบว่าใช่ในข้อใดข้อหนึ่ง ให้ตอบใน Patient Health Questionnaire-9 (PHQ-9)
PHQ 9
ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมาคุณ รู้สึกเป็นกังวลกับปัญหาต่อไปนี้หรือไม่?
ไม่เลย เป็นบางวัน มากกว่าครึ่งวันหลายๆวัน ทุกวัน
1. หมดความสนใจหรือความกระตือรือร้นในการทำงาน 0 1 2 3
2. รู้สึกจิตตก ซึมเศร้า และหมดหวัง 0 1 2 3
3. ชอบหกล้ม หรือง่วง หรือนอนมากผิดปกติ 0 1 2 3
4. รู้สึกเหนื่อยหรือมีพลังงานน้อยลง 0 1 2 3
5. ไม่อยากอาหารหรือกินจุมาก 0 1 2 3
6. รู้สึกตัวเองไม่ดี
หรือรู้สึกว่าประสบความล้มเหลวในชีวติและทำให้ตนเองและครอบครัวตกต่ำ 0 1
2 3
7. ความสนใจในสิ่งที่ทำน้อยลงเช่นการอ่านหนังสือ การดูโทรทัศน์
ไม่สามารถอ่านจบหรือดูจนจบได้ 0 1 2 3
8. การเคลื่อนไหวหรือการพูดช้าลงจนคนอื่นสังเกตได้ หรือในทางตรงกันข้าม
มีอาการอยู่ไม่สุข กระวนกระวาย เดินไปมาจนผิดปกติ 0 1 2 3
9. คิดว่าตนเองควรตาย หรือควรทำร้ายตนเอง 0 1 2 3
รวม + +
รวมทั้งหมด

10. ถ้าคุณตอบข้อใดข้อหนึ่ง ปัญหานั้นทำให้คุณมีปัญหาในการทำงาน
ในการดำรงชีวิต หรือการติดต่อสัมพันธ์กับเพี่อนคนอื่นๆหรือไม่
ไม่มีปัญหาเลย _________ มีปัญหาบ้าง __________
มีปัญหามาก ____________ มีปัญหามากที่สุด _______

PHQ-9 QUICK DEPRESSION ASSESSMENT
การวินิจฉัยแรกเริ่ม:
1. ให้ผู้ป่วยทำแบบสอบถามให้หมด
2. รวม score เพื่อประเมินความรุนแรง
3. ให้พิจารณาว่าเป็น Major Depressive Disorder ถ้าได้คะแนนอย่างน้อย 5
ข้อในบริเวณที่แรเงา (และได้ 1 ในข้อ 1 และ 2)
และให้คิดถึงภาวะซึมเศร้าอื่นๆถ้าตอบในข้อที่แรเงา 2-4 ข้อ (และได้ 1
ในข้อ 1 และ 2)
เนื่องจากเป็นการตอบโดยผู้ป่วยดังนั้นจึงขึ้น
อยู่กับความเข้าใจคำถามซึ่งผู้ตัดสินใจให้คะแนนคือแพทย์ที่ซัก การ
วินิจฉัย MDD หรือภาวะซึมเศร้าอื่นๆนั้นต้องใช้คำถามเกี่ยวกับอาชีพ สังคม
และการทำงานด้านอื่น (คำถามข้อ 10) และต้องแยกโรค bipolar disorder
หรือโรคทางกาย การกินยา และภาวะอื่นที่ทำให้เกิดการซึมเศร้า
สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับ PHQ-9 questionnaire สามารถเปิดดูได้ที่
www.depression-primarycare.org/clinicians/toolkits/materials/forms/phq9/
การ แปรผล PHQ-9 สำหรับบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้น
คะแนน -- รวมคะแนนทั้งหมดใน check box ของแบบสอบถาม PHQ-9
Total Score Depression Severity Total Score Depression Severity
1-4 None 15-19 Moderately severe depression
5-9 Mild depression 20-27 Severe depression
10-14 Moderate depression
การทำจิตบำบัด
การทำจิต บำบัดและการใช้ยารักษาพิจารณาตามความรุนแรงของอาการ
ผู้ป่วยที่มีอาการ MDD
ปานกลางถึงรุนแรงควรใช้ยาลดการซึมเศร้าและการทำจิตบำบัดร่วมกัน การทำ
aerobic exercise
มีผลดีต่ออาการซึมเศร้าเล็กน้อยถึงปานกลางและใช้ร่วมกับการรักษาอื่นๆ
นอกจากนี้การออกกำลังยังมีผลดีต่อสุขภาพด้วย
การใช้ยารักษา
ยากลุ่ม SSRIs หรือยาใหม่ๆ ดีกว่ายากลุ่ม tricyclic antidepressants
โดยเฉพาะในการปรับขนาดยาเพื่อให้ผล โดยจะมีผลข้างเคียงน้อยกว่า
มีการตอบสนองเร็วกว่า มีอัตราการมาติดตามผลการรักษาสูง ค่าใช้จ่ายน้อย
ผลข้างเคียงได้แก่การเพิ่มการวิตกกังวล คลื่นไส้ อาเจียน
หรือมีปัญหาทางเพศ ทำให้หลั่งช้าในผู้ชาย และไม่ถึงจุดสุดยอดในผู้หญิง
ผลข้างเคียงในยาลดการซึมเศร้าอื่นๆได้แก่ นอนไม่หลับหรือหลับมากไป
ปวดศีรษะ น้ำหนักเพิ่ม
ยากลุ่ม SSRIs: citalopram (Celexa(R)); escitalopram (Lexapro(R));
fluoxetine (Prozac(R), Prozac(R) Weekly(tm)); paroxetine (Paxil(R), Paxil
CR(R));sertraline (Zoloft(R))
ยากลุ่มใหม่: bupropion (Wellbutrin(R), Wellbutrin SR(R), Wellbutrin XL(R));
duloxetine (Cymbalta(R)); irtazapine (Remeron(R), RemeronSolTab(R));
venlafaxine (Effexor(R), Effexor XR(R))

ตาราง ที่ 9 การประเมินความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย
ถ้าผู้ป่วยตอบว่าใช่ในข้อ 9 ใน PHQ-9
จะต้องประเมินความคิดในการฆ่าตัวตายของผู้ป่วย
ถามว่ามีแผนการในการฆ่าตัวตายอย่างไร
หรือจะไม่ทำให้เกิดความคิดนี้ได้อย่างไร
การประเมินความคิดและการวาง แผน:
"คุณรู้สึกว่าชีวิตนี้ไร้ค่า ไม่สมควรมีชีวิตอยู่หรีอไม่?"
"คุณ เคยคิดว่าอยากเข้าไปนอนหลับและไม่ตื่นขึ้นมาอีกเลยหรีอไม่ ?"
"คุณเคยมี ความคิดว่าสิ่งต่างๆจะดีขึ้นถ้าไม่มีคุณหรือไม่?"
"คุณมีความคิดจะฆ่าตัว ตายหรือไม่?"
การประเมินความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายประกอบด้วย:
* เคยมีความพยายามฆ่าตัวตาย (เป็นสิ่งบ่งบอกว่าจะมีความพยายามอีก)
* มีโรคทางจิตอื่นร่วมด้วย หรือมีการใช้สารเสพติด
* มีปืน
* อยู่คนเดียว
* ไม่มีการยอมรับจากสังคม
* เป็นผู้ชาย มีอายุมาก
* มีการสูญเสียหรือแยกตัวออกมาจากสังคม
* หมดหวัง

โรควิตก กังวล (Generalized Anxiety Disorder)
GAD มีลักษณะที่มีความวิตกกังวลอยู่เสมอ มีอาการมาก
หรือไม่สามารถควบคุมได้ การวินิจฉัยโดย:
* มีความวิตกกังวลหรือเป็นห่วงมากเกินปกติ
และควบคุมไม่ได้หลายวันอย่างน้อยเป็นเวลา 6 เดือนขึ้นไป
* มีอาการต่อไปนี้อย่างน้อยสามเดือน: กระวนกระวาย อยู่ไม่เป็นสุข
มีความผิดปกติในการนอน อ่อนเพลีย ไม่มีสมาธิ ปวดเกร็งกล้ามเนื้อ
วิตกกังวล หรือมีอาการเป็นห่วง
มีการการทางกายซึ่งทำให้การทำงานหรือดำเนินชีวิตผิดจากปกติ
* อาการไม่ได้เกิดจากยา หรือการใช้สารเสพติด (ดูตารางที่ 10).
อาการอื่นๆ ของ GAD คือ ปวดเมื่อย ตัวสั่น ปวดศีรษะ กลืนลำบาก ปวดท้อง
ท้องอืด ท้องเสีย เหงื่ออก หน้าแดง รู้สึกเวียนศีรษะ หายใจไม่ออก
ผู้ป่วยจะรู้สึกตึงเครียด กังวล มีอาการทางกายจากการวิตกกังวล
มีอาการเรื้อรัง หรือเป็นซ้ำบ่อยครั้ง
และจะรบกวนการทำงานและการดำเนินชีวิตประจำวัน
การรักษาระยะแรกต้องการที่จะลดอาการทางกาย และความวิตกกังวล
การรักษาระยะยาวต้องการให้หายขาด และป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ
ตารางที่ 10 การคัดกรองและการรักษาโรควิตกกังวล (GAD)
ประเมินอาการของ GAD ระดับของความผิดปกติ และโรคทางจิตอื่นที่พบร่วมด้วย
มีการพัฒนาแบบประเมิน GAD 7 เพื่อช่วยในการยืนยัน GAD
ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมาคุณรู้สึกเป็น กังวลกับปัญหาต่อไปนี้หรือไม่?
ไม่เลย เป็นบางวัน มากกว่าครึ่งวันหลายๆวัน ทุกวัน
1. รู้สึกประสาท กังวล 0 1 2 3
2.ไม่ สามารถหยุดหรือควบคุมความกังวลได้ 0 1 2 3
3. กังวลมากเกินไปเมื่อเกิดความผิดปกติ 0 1 2 3
4. ไม่สามารถผ่อนคลายได้ 0 1 2 3
5. หยุดไม่ได้และนั่งเฉยไม่ได้ 0 1 2 3
6. รู้สึกรำคาญและกระวนกระวายง่าย 0 1 2 3
7. รู้สึกกลัวว่าจะมีสิ่งที่น่ากลัวเกิดขึ้น 0 1 2 3
รวม + + +
รวมทั้ง หมด

รวมคะแนน: 5-9 มีความวิตกกังวลเล็กน้อย ,10-14 มีความวิตกกังวลปานกลาง
,15 ขึ้นไปมีความวิตกกังวลมาก
การรักษา
ให้ แยกสาเหตุอื่นๆออกก่อนที่จะให้การรักษา GAD
* โรคทางกายที่ทำให้วิตกกังวลที่ไม่ได้วินิจฉัยเช่นโรคไทรอยด์เป็นพิษ
หัวใจเต้นผิดจังหวะ ถุงลมโป่งพอง หัวใจขาดเลือด และโรคมะเร็งตับอ่อน
* ยา สุรา กาแฟ นิโคติน และโคเคน ทำให้มีอาการหรือซ้ำเติมให้อาการเลวลง
การ ใช้จิตบำบัด
ได้ผลดีถ้าใช้ร่วมกับการใช้ยา แต่สามารถใช้ในระยะแรกที่เป็น GAD โดยใช้
* พฤติกรรมบำบัด: เพื่อปรับพฤติกรรมผู้ป่วย
* Cognitive therapy: เพื่อเปลี่ยนความคิดที่ไม่เป็นประโยชน์และเป็นอันตราย
* Relaxation therapy: เพื่อฝึกเทคนิกที่จะเผชิญกับความเครียด
การใช้ยา
เพื่อ จัดการกับอาการของความวิตกกังวล ยาลดการซึมเศร้าจะมีผลต่อ GAD
โดยยา Escitalopram (Lexapro(R)), paroxetine (Paxil(R)), และ venlafaxine
(Effexor(R)) ใช้สำหรับรักษาโรค GAD
ถ้าจำเป็นให้ใช้ยาคลายกังวล (benzodiazepine) เพื่อลดอาการแบบทันที
ได้แก่ Alprazolam (Xanax(R)) ,Diazepam (Valium(R)), Chlorazepate
(Tranxene(R)) , Lorazepam (Ativan(R)), Clonazepam (Klonopin(R)) ,Oxazepam
(Serax(R)) ต้องระวังในการใช้ยากลุ่มนี้เนื่องจากเมื่อใช้ไปสองสามสัปดาห์จะมีการใช้ผิด
และติดยา

การป้องกัน
* ลงทะเบียนประชาชนกลุ่มเสียงทั้งหมด ได้แก่
1. ประชาชนในบริเวณม็อบ
2. ทหาร
3. ตำรวจ
4. เจ้าหน้าที่ EMS
5. เจ้าหน้าที่ดับเพลิง
6. ประชาชนและผู้ป่วยในบริเวณ โรงพยาบาลจุฬา ศาลาแดง สีลม ราชประสงค์
บ่อนไก่ สามเหลี่ยมดินแดง ราชปรารภ คลองเตย บ่อนไก่
และผู้ที่อยูใกล้เคียงที่ควันไฟไปถึง
7. ประชาชนที่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง
8. ประชาชนที่มีเพื่อนฝูง ญาติพี่น้อง หรือมิตรสหายที่สูญหายหรือถึงแก่ชีวติ
9. ประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บจากอาวุธสงคราม
10. ประชาชนที่มีอาการทางจิตหลังเหตุการณ์
11. ประชาชนที่ประสบเหตุเช่นเดียวกันในต่างจังหวัด
* ประเมินสภาวะต่างๆตามที่ได้เขียนไว้ด้านบน
* ทำความสะอาดบริเวณบ้าน ออฟฟิต ห้องเรียน เพื่อป้องกันสารระคายเคืองที่ตกค้าง
* ควรมีศูนย์ที่ให้การคึกษาเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด
* มีการลงทะเบียนคนที่เป็นโรคทางเดินหายใจ โรคมะเร็ง

แหล่งที่มา: นายแพทย์ อดุลย์ บัณฑุกุล
โทรศัพท์: 02-5174270-9 ต่อ 1659
E-Mail: occenv@gmail.com
Url: www.occmednop.org

ขอรับบริจาค..นมสำหรับเด็ก .. เพื่อเด็กในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจาการชุมนุม

#
..
Share by Than รักในหลวง

ประกาศ ขอรับบริจาคนมผง , นมกล่อง UHT สำหรับเด็กในชุมชน
ที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม

เรียนพี่น้องคนไทยทุกท่าน .. ตามที่มีเหตุการณ์ไม่สงบขึ้นในบ้านเรา ..
ซึ่งมีผลกระทบเป็นวงกว้างต่อชุมชน สังคม และประเทศชาติ ..
และหนึ่งในกลุ่มที่ ได้รับผลกระทบ อย่างมากคือ กลุ่มเด็กเล็กในชุมชน ต่าง
ๆ ที่อยู่ในจุดที่ถูกทำลาย.. จากการ
ลงพื้นสำรวจข้อมูลของกลุ่มอาสาสมัครฟื้นฟูประเทศไทย และ
เครือค่ายแนวร่วมกลุ่มจิตอาสาต่าง ๆ .. พบว่า เด็กเล็ก ๆ
ในชุมชนต่างได้รับผลกระทบอย่างมาก ทั้งสุขภาพ จากควันไฟ และ
การขาดแคลนนมผง สำหรับ ทารก ตั้งแต่แรกเกิด – 6 เดือน ,
นมผงสูตรต่อเนื่อง 6 เดือน – 1 ปี , นมผงสูตรต่อเนื่อง 1 ปี – 3 ปี ,
ตลอดจน นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก ด้วย ..

จา การสำรวจในชุมชน เคหะบ่อนไก่ และ กุหลาบแดง มีรายละเอียด ดังนี้
จำนวน เด็กในชุมชน 88 คน
อายุ แรกเกิด – 6 เดือน จำนวน 14 คน
อายุ 6 เดือน - 1 ขวบ จำนวน 20 คน
อายุ 1 ปี - 3 ขวบ จำนวน 39 คน
อายุ 3 ปี - 6 ขวบ จำนวน 15 คน

### ซึ่งขณะนี้ ประสบปัญหาขาดแคลนนมผงสำหรับเด็ก .. นมกล่อง UHT อย่างมาก ###

..... ทางกลุ่ม ฯ จึง ขอเรียนประชาสัมพันธ์ ขอรับบริจาคนมผง นมกล่อง UHT
สำหรับ เด็กแรก เกิด ถึง 3 ขวบ รวมถึงนมสูตร ต่อเนื่อง ไม่จำกัดยี่ห้อ..

สำหรับท่าน หรือองค์กรใดที่ต้องการให้ความช่วยเหลือ ..กรุณาติดต่อ..
กลับโดยฝากข้อความที่ กลุ่ม หรือ ที่ wall ได้เลย จนท. จะติดต่อ
กลับโดยเร็วที่สุด

ขอขอบคุณล่วงหน้า .. ในน้ำใจคนไทย

220453 อาสาพยาบาล
เมื่อวานนี้ เวลา 21:46 น. · รายงานผู้ดูแลระบบ
#
Piyatida รักในหลวง @Than รักในหลวง:
เรียนท่านที่มีความประสงค์จะร่วมบริจาคเป็นเงินสด เพื่อให้ทางทีมงาน
นำไปดำเนินการจัดซื้อ นมให้ตรงกับความต้องการและขาดแคลนของเด็ก ๆ ..

กรุณา บริจาคได้ที่ บัญชี โครงการบางกอกฟอรั่ม..
ธนาคาร กรุงไทย เลขที่ 156-1-08713-0
Tel. 02 - 6222316

++ โครงการนี้ เป็นโครงการที่ ร่วมมือฟื้นฟูชุมชน กันระหว่างกลุ่ม
องค์กรจิตอาสา ทุกภาคส่วน
โดยมีเสถียรธรรมสถาน..เป็นแกนกลางในการให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการ
ฟื้นฟู สังคม ++

ซึ่งท่าน / องค์กร ใดที่บริจาค แล้วกรุณาแจ้งรายละเอียดได้ที่
หมายเลขโทรศัพท์ ดังกล่าว .. ทางบางกอกฟอรั่มจะมี หนังสือขอบคุณ
พร้อมประกาศคำขอบคุณจากทางชุมชน ที่ได้รับมอบดังกล่าว ..

หากมีข้อสงสัย เพิ่มเติม ฝากคำถามที่ wall หรือ ข้อความได้ ..

++ การฟื้นฟู ..เยียวยา ประเทศไทย ของเราในครั้งนี้ ..ต้องใช้ใจ เมตตา
และความรัก ของคนไทยทุกคน ..++

ปล. ยังมีโครงการอื่น ๆ ที่ ต้องการความร่วมมือร่วมใจอีกมาก
แล้วจะแจ้งให้ทราบ .. ต่อไป ..

ด้วยความขอบพระคุณยิ่งในน้ำใจคนไทย

220453 อาสาพยาบาล, บางกอกฟอรั่ม,เครือข่ายอาสาฟื้นฟูประเทศไทย,
เครือข่ายพลเมืองจิตอาสา .. :)
เมื่อวานนี้ เวลา 22:29 น. · รายงานผู้ดูแลระบบ
#
Piyatida รักในหลวง ขอแจ้งเพิ่มเติม เรื่องรายละเอียด นมที่ น้อง ๆ ต้องการมาก ..

แรกเกิด - 6 เดือน - -> เอนฟาแลค, ดุแลค,เอส 26 โปรเกรส โกลด์
6 เดือน - -> 1 ขวบ สูตรต่อเนื่อง ทั้ง 3 ยี่ห้อ
1 - 3 ขวบ - -> นมแอนฟาแล็ค, ตราหมีน้ำผึ้ง, ดูโปร , นม UHT ทุกยี่ห้อ .. ทุกรส ..

อบรม 'อาสาสมัครฟื้นฟูประเทศไทย รุ่นที่ 1' โดย แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต

ขออนุญาตเล่าให้ฟังจากการเป็นเพียงหนึ่งในผู้ เข้าร่วมงานนะคะ

ช่วงเช้า:
คุณแม่ชีศันสนีย์ได้ให้นักข่าวและ
อาสาผู้ที่ได้ลงพื้นที่มาเล่าให้ฟังถึงสิ่งที่ได้พบให้ผู้เข้าอบรมฟัง
พร้อมกับสอดแทรกธรรมะ แง่คิดให้พวกเราพยายามถ่ายทอดสิ่งดีๆ แง่คิดดีๆ
ออกสู่สังคมให้มากๆ ...หลังจากนั้นท่านก็เริ่มให้พวกเรา "เปิดใจกว้าง"
"ลดอคติ" "มีสติ" "เป็นผู้ฟังที่ดี" และฝึกให้พวกเราหยุดอารมณ์โกรธ
เกลียด ซึ่งเกิดขึ้นได้ในมนุษย์ ด้วยคำว่า "จ๊ะเอ๋ บ๊ายบาย" คือ
จ๊ะเอ๋กับความโกรธ คือรู้แล้วว่ารู้สึกอย่างไร
หลังจากนั้นให้บอกลาความโกรธ คือ ให้บอกลาความรู้สึกนั้นๆ ไป
โดยหายใจเข้าลึกๆ แทนคำว่า"รู้" หายใจออกยาวๆ แทนคำว่า "ปล่อยวาง"
(ประมาณนี้นะคะ อาจไม่แม่นเรื่องคำพูดค่ะ)

หลัง จากนั้นคุณแม่ให้ "ผู้นำชุมชน" ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง
มาเล่าประสบการณ์ให้พวกเราฟัง และเล่าว่าแต่ละชุมชนเป็นอย่างไร
เผื่อเราต้องเข้าไปทำงานในชุมชนนั้นๆ ค่ะ

คุณแม่ชีสรุปช่วงเช้าให้ พวกเราว่า...การเริ่มต้นอย่างมีสติ
พ้นจากอำนาจของกิเลส เป็นอิสระจากความไม่รู้ จากอวิชชาต่างๆ
อาสาสมัครควรมีความพร้อมในลักษณะดังนี้
1) ทำงานทุกชนิดด้วยจิตที่ไม่ขุ่นมัว
2) เปิดใจกว้าง วางอคติ มีใจเป็นกลาง ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด
3) มีจิตที่คิดจะให้โดยไม่เลือกปฏิบัติ
4) พร้อมที่จะเป็นผู้รับใช้ ขอบคุณบุคคลและโอกาสที่ให้รับใช้
5) ฝึกทำงานเฝ้าสังเกตอย่างมีสติ
6) รับฟังผู้อื่นด้วยใจเป็นกลาง
7) มีจิตใจที่หนักแน่น ไม่อ่อนไหว
8) ใช้การทำงานเป็นฐานแห่งการภาวนา ทั้งนี้เพื่อ "อยู่เย็นเป็นสุข พ้นทุกข์ร่วมกัน"

ช่วงบ่าย:
คุณ แม่ได้แนะนำคุณหมอและเจ้าหน้าที่จากกรมสุขภาพจิตเพื่อให้คำแนะนำพวกเราว่า
ถ้าจะเข้าไปทำงานในชุมชนจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง สรุปดังนี้นะคะ
1) มีสติ
2) ต้องเป็นผู้ฟังที่ดี อย่าแสดงให้เห็นว่า
พวกเค้าเป็นผู้รับที่น่าสงสารหรือด้อยกว่าเรา
ควรที่จะขอบคุณพวกเค้าทุกครั้งที่ให้โอกาสเราเข้าไป "ฟัง" พวกเค้าค่ะ
3) ใช้ปิยวาจา
4) ท่าทางต้องนุ่มนวล ให้กำลังใจ ไม่แสดงสีหน้า หรือจ้องตานานเกินไป
5) อย่าพูดว่า "เราเข้าใจเขา" เพราะจริงๆ แล้วเราไม่ได้เข้าใจเขาจริงๆ
6) ไม่ให้ "รับปาก หรือ ให้สัญญา" เพราะหากทำไม่ได้
จะทำให้ชาวบ้านปิดรับความช่วยเหลือจากเราได้ คุณหมอแนะนำให้จดรายละเอียด
ข้อเรียกร้องต่างๆ เพื่อส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง
เพื่อช่วยเหลือในขั้นต่อไป
7) แนะนำว่า ถ้าลงพื้นที่ให้ใส่ "ยีนส์" หรือแต่งตัวติดดิน
เพื่อให้กลมกลืนกับคนในท้องที่

ส่วนเจ้าหน้าที่จากกรมสุขภาพจิต แนะนำดังต่อไปนี้ค่ะ;

สิ่งที่ควรทำในการเยี่ยมบ้าน (Do)
1) สังเกตและละเอียดอ่อน ดูว่าต้องถอดรองเท้าก่อนเข้าบ้านหรือไม่
เขากำลังทำธุระยุ่งหรือเปล่า เช่น การปฏิบัติศาสนกิจ(ต้องไปวัด สวดมนต์)
2) ขณะที่พูดคุยควรสังเกตกิริยาท่าทาง สีหน้า แววตา เช่น ก้มหน้า ไม่สบตา
เสียงสั่น หรือพูดแล้วหยุดชะงักเป็นช่วง ๆ
3) ก่อนที่จะลงพื้นที่
ให้ประเมินสถานการณ์และความรู้สึกของคนในพื้นที่เสียก่อน เช่น
ความรู้สึกโกรธแค้น ต่อต้าน ชิงชังยังมีอยู่หรือไม่
4) แต่งกายสุภาพเรียบร้อย

สิ่งที่ไม่ควรทำ (Don't)
1) เวลาคนที่เราเยี่ยมร้องไห้ ไม่ควรร้องไห้ตาม
2) ไม่ควรซักไซ้ถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ยกเว้นอีกฝ่ายจะเป็นผู้เอ่ยขึ้นเอง

กิจกรรม ในการลงพื้นที่
1) สร้างสัมพันธภาพ ทักทาย แนะนำตัว บอกวัตถุประสงค์ของการมาเยี่ยมบ้าน
2) ทีมที่ไปควรมีการแบ่งบทบาทหน้าที่กัน เช่น ถ้าบ้านนั้นมีลูกเล็ก
ต้องมีคนเล่นและดูแลเด็ก
3) การคุยเพื่อสร้างสัมพันธภาพ คือ ถามถึงความเป็นอยู่ทั่ว ๆ
ไป/ความสัมพันธ์ในครอบครัว ถามเกี่ยวกับการกินการนอน สุขภาพส่วนตัว
ถ้าเป็นวัยรุ่น(อายุ 12-18 ปี)ให้ถามเกี่ยวกับการเรียน กีฬา
หรืองานอดิเรกต่าง ๆ ถ้าเป็นเด็ก(อายุ 5 ปีขึ้นไป)ถามชื่อ อายุ
นำของเล่นไปเล่นกับเด็กเพื่อให้เด็กคุ้นเคย
ให้เด็กวาดรูปแล้วเล่าสิ่งที่เขาวาดให้ฟัง
4) การสังเกต ดูว่าเด็กเกาะแม่แจ หรือหลบอยู่หลังแม่ตลอดหรือเปล่า
หรือมีพฤติกรรมแยกตัว หลบมุม ร่วมมือหรือไม่ร่วมมือ
ถ้าเป็นวัยรุ่นดูว่าเป็นมิตรหรือไม่เป็นมิตร
พูดจาข่มขู่หรือมีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงหรือไม่
5) การช่วยเหลือเบื้องต้น วัยรุ่นและผู้ใหญ่ ให้ระบายความรู้สึก รับฟัง
ถามถึงความคาดหวัง เป้าหมายในอนาคต ดูว่าเขามีจุดแข็งอะไรเพื่อให้กำลังใจ
จะได้มีแรงสู้ชีวิตต่อไป อาจใช้หลักคำสอนทางศาสนามาช่วย
ถ้าพบว่านอนไม่หลับแนะนำให้พบแพทย์ ถ้ากังวล วิตก
ถามถึงประสบการณ์ที่เคยจัดการความรู้สึกแล้วได้ผลก็ให้ทำอย่างนั้น
หรือแนะนำวิธีผ่อนคลาย เช่น ฝึกหายใจ สวดมนต์ ถ้าเคียดแค้นชิงชัง
มีท่าทีก้าวร้าวให้ยอมรับและเข้าใจความรู้สึกของเขาขณะนั้น
หลังระบายแล้วให้เขาคิดว่าความรู้สึกอย่างนี้ส่งผลกระทบต่อเขาอย่างไรบ้าง
ให้เขาวิเคราะห์ถึงผลเสียต่อตัวเขา ถ้าโศกเศร้า 3
เดือนแรกถือว่าเป็นปฏิกิริยาปกติ ให้เขาได้ระบายความรู้สึก
และหันเหความสนใจไปเรื่องอื่น ถ้าเกิน 3 เดือนควรปรึกษาแพทย์
6) คำแนะนำ ควรพยายามจัดกิจวัตรให้เข้าสู่ภาวะปกติเร็วที่สุด
สังเกตสมาชิกใครแยกตัว ซึมเศร้า ให้หากิจกรรมทำร่วมกัน
ให้เวลาในการพูดคุยกัน ถ้ามีอารมณ์ฉุนเฉียว ให้หากิจกรรมที่ออกแรงมาก
เช่น เล่นกีฬา หลีกเลี่ยงการกระทำและการพูดกระตุ้นอารมณ์กัน ในกรณีเด็ก
อยู่ใกล้ชิดโอบกอด พูดคุยปลอบประโลม ให้กำลังใจ ถ้าเด็กกัดเล็บ
ถอนผมให้เบี่ยงเบนความสนใจ ชักชวนเล่น ถ้าเด็กก้าวร้าว ให้จับหรือกอดเด็ก
และหลีกเลี่ยงการลงโทษ ในกรณีวัยรุ่น ชักชวนทำกิจกรรมร่วมกัน
หรือทำกิจกรรมที่เขาสนใจ เช่น ดนตรี กีฬา ฯลฯ

(ที่มา: เอกสารการเผยแพร่จากคุณกาญจนา วณิชรมณีย์ กรมสุขภาพจิต ที่มาพูดในงานค่ะ)

ช่วงบ่ายแก่ๆ:
พวกเราแบ่งกลุ่ม กันทำงาน มีทั้งหมด 7 กลุ่ม คือ
1. จิตอาสาภาวนากับการเยี่ยมชุมชน
2. จิตอาสาภาวนากับการเยี่ยมผู้ป่วย
3. จิตอาสาภาวนากับการสื่อสารประสานงาน
4. จิตอาสาภาวนากับการใช้สื่อ
5. จิตอาสาภาวนากับการทำงานมวลชน
6. จิตอาสาภาวนากับการการดูแลความปลอดภัย
7. จิตอาสาภาวนากับการสนับสนุน

เพื่อ หาข้อสรุปว่า หลังจากจบกิจกรรมวันนี้
แต่ละกลุ่มมีผู้ประสานงานหลักคือใคร ผู้ประสานงานรองคือใคร
(หมายถึงตัวแทนต่อจากผู้ประสานงานหลัก)
กิจกรรมครั้งต่อไปของแต่ละกลุ่มคืออะไร นัดครั้งหน้าเมื่อไหร่
และให้แต่ละกลุ่มประสานงานกับกลุ่มสื่อฯ เพื่อกระจายข่าวต่อๆ กันไปค่ะ

ช่วง เย็น (ก่อนกลับบ้าน):
คุณแม่ได้แนะนำให้รู้จักพระภิกษุรูปหนึ่ง (ขอโทษมากๆ
จำชื่อท่านไม่ได้ค่ะ) ท่านได้มาให้แง่คิดเพิ่มเติมในการทำงานอาสา
และทำให้เห็นว่า ถ้าเราทำสำเร็จ ชาวโลกจะประจักษ์ว่า
ประเทศไทยได้เกิดสิ่งมหัศจรรย์อันยิ่งใหญ่คือ
หลังจากที่ทะเลาะกันมามากมาย
ผลสุดท้ายทุกคนก็ช่วยกันสร้างประเทศขึ้นมาใหม่ ด้วยจิตใจที่โอบอ้อมอารี
ต่อกัน (ประมาณนี้ค่ะ คำพูดอาจผิดเพื้ยนไปบ้าง ขออภัยด้วยนะคะ)

สุดท้ายคุณแม่ชีก็ให้เรานั่งสมาธิ สวดมนต์ แผ่เมตตาให้ทุกคน ทุกสรรพสิ่ง
ช่วงนั้น ลมเย็นพัดมา ทำให้จิตสงบมากๆ ค่ะ

สรุป ว่า...วันนั้นกลับบ้านด้วยจิตใจที่อิ่มเอิบ
และเป็นจุดเริ่มต้นที่จะสำหรับการ "เปิดใจ" "ลดอคติ" และ "พร้อมอาสา"
เพื่อช่วยให้สังคมเราดีขึ้นค่ะ ^____^


โดย 220453 อาสาพยาบาล