++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ทรรศนะของพระพุทธศาสนาต่อน้ำ

น้ำเป็นธาตุที่สำคัญในธาตุ ๔ ทำหน้าที่ประสาน/เชื่อมสิ่งอื่น ๆ ให้จับตัวกันได้ ในสิ่งต่างๆ จึงมีธาตุน้ำเป็นส่วนผสมที่ลงตัวร่วมกับธาตุอื่น ๆ
น้ำเป็นทรัพยากร ที่สำคัญต่อมนุษย์ พืชและสัตว์ ในชาดกแสดงว่า คนในสมัยพุทธกาลมีความเชื่อว่า น้ำ (คือฝน) เป็นสิ่งที่หล่อเลี้ยงสรรพสัตว์ และถือว่าฝนนั้นมีวิญญาณหรือเทพเจ้าแห่งฝนสิงอยู่
น้ำเป็นทรัพยากรที่สำคัญต่อสรรพสัตว์ทั้งในด้านบริโภค อุปโภค ทำเกษตรกรรม ในปีที่เกิดฝนแล้งและมีน้ำไม่พอใช้ในการทำเกษตรกรรม จึงเป็นเหตุให้วิวาทกัน เช่น การวิวาทระหว่างเจ้าศากยะและโกลิยะเรื่องการใช้น้ำในแม่น้ำโรหิณี

เมื่อขาดน้ำฝน สรรพสัตว์จึงต้องเผชิญกับอันตรายและความทุกข์ พระพุทธเจ้าทรงมีพระกรุณาคุณต่อสรรพสัตว์ จึงรับหน้าที่ทำฝนให้ตก ดังปรากฏในมัจฉชาดกว่า

“ในสมัยหนึ่ง ในแคว้นโกศล ฝนไม่ตกเลย ข้าวกล้าทั้งหลายเหี่ยวแห้ง ตระพัง สระโบกขรณี และสระในที่นั้นๆ ก็เหือดแห้ง แม้สระโบกขรณีเชตวัน ณ ที่ใกล้ซุ้มพระทวารเชตวันก็ขาดน้ำ ฝูงกาและนก เป็นต้น รุมกันเอาจะงอยปากอันเทียบได้กับปากคีม จิกทึ้งฝูงปลาและเต่าอันหลบคุดเข้าสู่เปือกตม ออกมากินทั้งๆ ที่กำลังดิ้นอยู่ พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นความพินาศของฝูงปลาและเต่า พระมหากรุณาเตือนพระทัยให้ทรงอุตสาหะ จึงทรงพระดำริว่า วันนี้เราควรจักให้ฝนตก ครั้นราตรีสว่างแล้ว ทรงกระทำการปฏิบัติพระสรีระเสร็จ ทรงกำหนดเวลาภิกษาจาร มีพระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่แวดล้อมเสด็จเข้าไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี ด้วยพระพุทธลีลา ภายหลังภัตรเสด็จกลับจากบิณฑบาตแล้ว เมื่อเสด็จจากพระนครสาวัตถีสู่พระวิหารประทับยืนที่บันไดสระโบกขรณีเชตวัน ตรัสเรียกพระอานนท์มาว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจงเอาผ้าอาบน้ำมาเราจะสรงน้ำในสระโบกขรณีเชตวัน พระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำในสระโบกขรณีเชตวันแห้งขอด เหลือแต่เพียงเปือกตมเท่านั้นมิใช่หรือพระเจ้าข้า พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ธรรมดาว่ากำลังของพระพุทธเจ้าใหญ่หลวงนัก เธอจงนำเอาผ้าอาบน้ำมาเถิด พระเถระนำผ้ามาทูลถวาย พระศาสดาทรงนุ่งผ้าอาบน้ำด้วยชายข้างหนึ่ง อีกชายข้างหนึ่งทรงคลุมพระสรีระประทับยืนที่บันได ตั้งพระทัยว่า เราจักสรงน้ำในสระโบกขรณีเชตวัน” จากนั้นท้าวสักกะก็มีเทวบัญชาให้วลาหกเทพเจ้า เทพเจ้าแห่งฝนบันดาลให้เกิดฝนตกไปทั่วทิศ ท่วมแคว้นโกศลทั้งหมด สระโบกขรณีเชตวันก็เต็มด้วยน้ำจดถึงแคร่บันได”
ข้อนี้แสดงให้เห็นความสำคัญของน้ำในแง่ของการบริโภคตามลักษณะของปัจจัย ๔ เครื่องอาศัยของมนุษย์และสัตว์อื่น ๆ


แหล่งน้ำนั้นส่งผลกระทบโดยตรงต่อมนุษย์ใน ๒ ลักษณะด้วยกัน คือ

๑. ด้านปริมาณ ปัญหาด้านปริมาณน้ำมีผลกระทบทั้งเมื่อมีปริมาณน้อยและมาก คือหากขาดน้ำก็จะมีผลกระทบโดยตรงต่อผลิตผลทางการเกษตร การอุตสาหกรรม การประมง ในทางตรงกันข้าม หากมีปริมาณมากเกินไปก็จะทำให้เกิดน้ำท่วม สร้างความเสียหายแก่ผลิตผลทางการเกษตร การทำไร่ทำนา รวมไปถึงความสูญเสียที่เกิดกับสัตว์ป่า


๒. ด้านคุณภาพ บางแห่งมนุษย์เป็นต้นเหตุทำให้เกิดปัญหามลพิษในน้ำ อาทิ การที่โรงงานอุตสาหกรรมปล่อยของเสียที่มีสารเคมีตกค้างลงแม่น้ำ ลำคลอง และทางน้ำสาธารณะ ทำให้เกิดผลเสียอย่างใหญ่หลวงแก่สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน้ำ และจะเป็นอันตรายต่อชีวิตมนุษย์ที่ต้องอาศัยน้ำใช้ น้ำดื่ม ในการดำรงชีวิตประจำวันด้วย

ปัญหาที่สำคัญในปัจจุบันคือคุณภาพน้ำได้ถูกทำให้เสื่อมโทรมลงจนไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เท่าที่ควร คนส่วนใหญ่ไม่ตระหนักถึงความจำเป็นในการดูแลรักษาคุณภาพน้ำของแหล่งน้ำ ธรรมชาติไว้ เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ กลับใช้แหล่งน้ำธรรมชาติเป็นที่ระบายสิ่งสกปรกทั้งหลายอย่างไม่สนใจต่อผลเสียที่จะเกิดขึ้นทั้งแก่คนรุ่นปัจจุบันและรุ่นต่อไป

พระพุทธศาสนามีท่าทีต่อการอนุรักษ์แหล่งน้ำ ถ้าใครทำให้น้ำเสีย คือทำลายคุณภาพของน้ำ ถือว่าเป็นบาปอย่างยิ่ง เพราะสรรพสัตว์ที่อาศัยน้ำนั้น หากขาดน้ำก็จะถึงจุดจบ ในขุททกนิกาย เปตวัตถุ ระบุไว้ว่า “หากบุคคลทำลายสระน้ำ บ่อน้ำ สวน ศาลาน้ำ หรือสะพาน ย่อมเกิดเป็นเปรต เปลือยกาย และน่าเกลียดน่าชัง ดุจเดียวกับเศรษฐีธนบาล”

แท้จริงแล้ว ผู้ที่ทำให้เกิดมลพิษทางแหล่งน้ำ จะต้องมีภัยเกิดขึ้น ในฆตาสนชาดก ระบุไว้ว่า
“ครั้งหนึ่ง พระโพธิสัตว์ บังเกิดในกำเนิดนก บรรลุความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว ถึงความงามเป็นเลิศ ได้เป็นพระยานก อาศัยต้นไม้ใหญ่ซึ่งสมบูรณ์ด้วยกิ่งก้านสาขา และค่าคบมีใบหนาแน่น อยู่ใกล้ฝั่งสระเกิดเองในแนวป่าตำบลหนึ่ง อยู่เป็นหลักฐานพร้อมทั้งบริวารนกเป็นจำนวนมาก เมื่ออยู่ที่กิ่ง อันยื่นไปเหนือน้ำของต้นไม้นั้น ก็พากันถ่ายคูถลงในน้ำ และในสระเกิดเองนั้นเล่า มีพญานาคผู้ดุร้ายอาศัยอยู่ พญานาคนั้นคิดว่า นกเหล่านี้พากันขี้ลงในสระอันเกิดเอง อันเป็นที่อยู่ของเรา เห็นจะต้องให้ไฟลุกขึ้นจากน้ำเผาต้นไม้เสียให้พวกมันหนีไป พญานาคนั้นมีใจโกรธ ตอนกลางคืน เวลาที่พวกนกทั้งหมดมานอนรวมกันที่กิ่งไม้จึงเริ่มทำให้น้ำเดือดพล่านเหมือนกับยกเอาสระขึ้นตั้งบนเตาไฟ ฉะนั้น เป็นชั้นแรก ชั้นที่สอง ก็ทำให้ควันพุ่งขึ้น ชั้นที่สาม ก็ทำให้เปลวไฟลุกขึ้นสูงชั่วลำตาล พระโพธิสัตว์เห็นไฟลุกขึ้นจากน้ำ จึงกล่าวว่า ชาวเราฝูงนกทั้งหลาย ธรรมดาไฟติดขึ้น เขาก็พากันเอาน้ำดับ แต่บัดนี้ น้ำนั่นเองกลับลุกเป็นไฟขึ้น พวกเราไม่อาจอยู่ที่นี้ได้ ต้องพากันไปที่อื่น ครั้นกล่าวอย่างนั้นแล้ว ก็พาฝูงนกที่เชื่อฟังคำบินไปที่อื่น ฝูงนกที่ไม่เชื่อฟัง ต่างก็พากันเกาะอยู่ ถึงความสิ้นชีวิตแล้ว”


ในเสขิยวัตร ปกิณณกะ (หมวดเบ็ดเตล็ด) พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามไม่ให้ภิกษุถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ
ปัจจุบัน คนส่วนมากจะขาดจิตสำนึกในเรื่องความรับผิดชอบต่อน้ำ มีนิสัยมักง่ายชอบทิ้งขยะตามใจชอบ แม้แต่โรงงานอุตสาหกรรมด้วย โดยไม่สนใจว่า อนาคตข้างหน้าจะเป็นอย่างไร
ดังนั้น จึงควรสร้างจิตสำนึกเอาใจใส่ต่อการรักษาน้ำให้สะอาด ไม่ว่าจะเป็นน้ำในแม่น้ำลำคลอง หรือบ่อน้ำก็ตาม แหล่งน้ำมีเพื่อให้สาธารณชนได้ใช้ทั้งอุปโภคและบริโภค แต่ละคนจำเป็นต้องใช้น้ำด้วยความระมัดระวัง โดยมีจิตใจห่วงหาอาทรต่อสาธารณชน เพื่อว่าคนอื่นๆ ต่อจากเขาจะสามารถใช้น้ำโดยมีความสะอาดในระดับเดียวกันกับที่ตนเองใช้มาก่อน
ใน ประเด็นทรัพยากรน้ำนี้ ขอคัดข้อความในอัมพชาดก มาให้อ่าน เพื่อแสดงถึงภาพความเอื้ออาทรต่อกัน การพึ่งพาอาศัยกันของฤาษีกับสัตว์เดรัจฉาน ดังนี้
“ครั้งหนึ่งในป่า หิมพานต์ มีความแห้งแล้งอย่างร้ายแรง น้ำดื่มในที่นั้นก็เหือดแห้ง พวกสัตว์เดรัจฉานเมื่อไม่ได้น้ำดื่มก็พากันลำบาก มีพระดาบสองค์หนึ่งเห็นความทุกข์เกิดแต่ความกระวนกระวายของพวกสัตว์เดรัจฉาน เหล่านั้น จึงตัดต้นไม้ต้นหนึ่งทำราง โพงน้ำใส ให้เป็นน้ำดื่มแก่พวกสัตว์เดรัจฉานเหล่านั้น เมื่อพวกสัตว์เดรัจฉานจำนวนมากพากันมาดื่มน้ำ พระดาบสจึงไม่มีโอกาสที่จะไปหาผลาผล แม้ท่านจะอดอาหารก็คงให้น้ำดื่มอยู่นั่นเอง พวกสัตว์เดรัจฉานเข้าใจเหตุการณ์นั้นจึงตั้งกติกาว่า ผู้มาดื่มน้ำ ต้องคาบผลไม้มาตามสมควรแก่กำลังของตน ตั้งแต่นั้นมา สัตว์เดรัจฉานตัวหนึ่งๆ ก็คาบผลไม้ มีมะม่วงและขนุน เป็นต้น จนมีปริมาณบรรทุกเต็ม ๒ เกวียนครึ่ง

ติโรกุฑฑกัณฑ์

ติโรกุฑฑกัณฑ์ ในที่บางแห่งเรียกติโรกุฑฑสูตร คำว่า กัณฑ์ ก็แปลว่า หมวด ติโรกุฑฑะ แปลว่า " นอกฝา " เป็นเรื่องพรรณนาถึงผู้ล่วงลับไปแล้วว่า การอุทิศส่วนกุศลไปให้ ย่อมเข้าถึงคือสำเร็จแก่ผู้ล่วงลับเหล่านั้นโดย ควรแก่ฐานะ.


ติโรกุฑฑะกัณฑะสตตะคาถา

ติโรกุฑเฑสุ ติฏฐันติ สันธิสิงฆาฏะเกสุ จะ,

ทะวาระพาหาสุ ติฏฐันติ อาคันตะวานะ สะกัง ฆะรัง.

ปะหุเต อันนะปานัมหิ ขัชชะโภชเช อุปัฏฐิเต,

นะ เตสัง โกจิ สะระติ สัตตานัง กัมมะปัจจะยา.

เอวัง ทะทันติ ญาตีนัง เย โหนติ อะนุกัมปะกา.

สุจิง ปะณีตัง กาเลนะ กัปปิยัง ปานะโภชะนัง.

อิทัง โว ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย.

เต จะ ตัตถะ สะมาคันตะวา ญาติเปตา สะมาคะตา.

ปะหุเต อันนะปานัมหิ สักกัจจัง อะนุโมทะเร,

จิรัง ชีวันตุ โน ญาตี เยสัง เหตุ ละภามะ เส.

อัมหากัญจะ กะตา ปูชา ทายะกา จะ อะนิปผะลา,

นะ หิ ตัตถะ กะสิ อัตถิ โครักเขตถะ นะ วิชชะติ.

วะณิชชา ตาทิสี นัตถิ หิรัญเญนะ กะยากะยัง
อิโต ทินเนนะ ยาเปนติ เปตา กาละกะตา ตะหิง.

อุณณะเต อุทะกัง วุฏฐัง ยะถานินนัง ปะวัตตะติ.

ยะถา วาริวะหา ปูรา ปะริปูเรนติ สาคะรัง.

เอวะเมวะ อิโต ทินนัง เปตานัง อุปะกัปปะติ.

อะทาสิ เม อะกาสิเม ญาติ มิตตา สะขา จะ เม.

เปตานัง ทักขิณัง ทัชชา ปุพเพ กะตะมะนุสสะรัง.

นะหิ รุณณัง วา โสโก วา ยา วัญญา ปะริเทวะนา,

นะตัง เปตานะมัตถายะ เอวัง ติฏฐันติ ญาตะโย.

อะยัญจะ โข ทักขิณา ทินนา สังฆัมหิ สุปะติฏฐิตา,

ทีฆะรัตตัง หิตายัสสะ ฐานะโส อุปะกัปปะติ.

โส ญาติธัมโม จะ อะยัง นิทัสสิโต, เปตานะ ปูชา จะ กะตา อุฬารา,

พะลัญจะ ภิกขูนะมะนุปปะทินนัง, ตุมเหหิ ปุญญัง ปะสุตัง อะนัปปะกันติฯ

คำแปล ติโรกุฑฑกัณฑคาถา

หมู่เปรต มาสู่เรือนของตน ยืนอยู่ภายนอกฝาเรือนบ้าง ณ ทางสี่แพร่ง และทางสามแพร่งบ้างใกล้บานประตูบ้าง เมื่อคนตั้งข้าวน้ำ ของควรเคี้ยวควรบริโภคแล้ว พวกญาติมิตรบางคนของพวกเปรตนั้น ระลึกไม่ได้ เพราะสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นปัจจัย เหล่าชนผู้มีจิตอนุเคราะห์ ย่อมให้น้ำดื่มโภชนะอันเป็นกัปปิยะ เพื่ออุทิศแก่พวกญาติ ๆ อย่างนี้ว่า ขอทานนี้จงถึงแก่พวกญาติของข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอญาติจงเป็นสุข ๆเถิด อนึ่งพวกญาติที่ละโลกนี้ไปแล้ว มาประชุมพร้อมกันในสถานที่ให้ทานนั้น ย่อมตั้งใจอนุโมทนา ในข้าวน้ำเป็นอันมาก

พวกเราได้สดับสมบัติเช่นนี้ เพราะญาติเหล่าใด ของญาติเหล่านั้นจงมีอายุมั่นขวัญยืนเถิด บูชาที่พวกทายก ทำแก่พวกเราแล้ว ไม่ไร้ผลบุญ ความจริงในเปรติวิสัยนั้น ไม่มีกสิกรรม โครักขกรรม การค้าขาย และเปลี่ยนด้วยเงินทอง ผู้ตายไปแล้ว มีชีวิตอยู่ได้ในที่นั้นด้วยทานที่พวกญาติอุทิศถวายในโลกนี้

น้ำฝนตกลงมาที่ดอน ย่อมไหลไปสู่ที่ลุ่มฉันใด ทานที่ทายกอุทิศถวายแล้ว แด่ในมนุษย์โลกนี้ ย่อมสำเร็จผลแก่เปรตทั้งหลายฉันนั้น ห้วงน้ำที่มีน้ำเต็มเปี่ยม ทำให้สมุทรสาครเต็มเปี่ยมได้ ฉันใด ทานที่ทายกอุทิศถวายแล้วแต่มนุษย์ในโลกนี้ ย่อมสำเร็จผลแก่เปรตทั้งหลายฉันนั้น

บุคคลหวลระลึกถึงอุปาระ ท่านเคยทำไว้ว่า ผุ้นี้ได้ให้สิ่งนี้แก่เรา ได้ทำสิ่งนี้แก่เรา ผู้นี้เป็นญาติ ผู้นี้เป็นมิตร ผู้นี้เป็นเพื่อนเราดังนี้ถึงถวายทักษิณาทาน เพื่อท่านที่ละโลกนี้ไปแล้ว การร้องให้เศร้าโศกพิไรรำพันอย่างอื่นใด ไม่ควรทำ เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่พวกญาติที่ตายไปแล้ว ท่านก็คงดำรงอยู่เช่นนั้นเหมือนเดิม

ทักษิณาทานที่ถวายแล้วนี้ เป็นทานที่ประดิษฐานไว้ดีแล้วในสงฆ์ ย่อมสำเร็จผลตามสมควรแก่ท่านผู้ล่วงลับไปแล้ว เพื่อประโยชน์เกื้อกูล ตลอกกาลนาน ท่านแสดงญาติธรรมนี้ไว้แล้ว บูชาอันยิ่งใหญ่ ท่านบูชาแก่ญาติทั้งหลายผู้ล่วงลับไปแล้ว

ทางออก

ท่านสะมะชัยโยบอกผู้เขียนว่าเขียนบทความตามหาแก่นธรรมกับพ้องเพื่อนมานานกว่าสองปี แรกๆก็ประหม่านิดหน่อย เพราะคิดว่าตนเองความรู้น้อย แม้จะรวบรวมสรรพกำลัง(สำนวนฮิต)จากพี่ๆที่เป็นนักปฎิบัติและนักภาษาศาสตร์รวมทั้งที่เป็นผู้ศึกษาพระไตรปิฎก มาช่วยกันคัดกรองให้ ก็เลยสบายใจไปได้เปราะหนึ่ง
แต่ที่ผ่านมาก็ไม่เคยถูกท้วงติงอะไรเลยจากท่านทั้งหลายเหล่านั้น รวมทั้งท่านผู้อ่านตามหาแก่นธรรมด้วย เคยมีอยู่ท่านหนึ่งที่เอ่ยปากว่าเขียนอะไรโง่ๆให้ท่านสะมะชัยโยฟัง ซึ่งท่านก็น้อมฟังแล้วยิ้มเงียบ ผู้เขียนเชื่อว่าตนเองรู้ว่าท่านสะมะชัยโยท่านคิดอะไร รู้ว่าท่านคิดว่า"ไม่โง่แล้วจะเกิดหรือ"
ท่านสะมะชัยโยยังบอกเล่าอีกว่าการเขียนตามหาแก่นธรรม เริ่มต้นมาจากการตั้งใจเขียนให้ตนเองอ่านและสนทนาธรรมกับเพื่อนๆหมู่เล็กๆเท่านั้น ในช่วงเวลาที่แต่ละคนมีเวลาเหลือน้อย ลงๆไปทุกวัน เพราะหลายๆคนก็เลือนหายไปจากรูปถ่ายที่อัพเดทกันแล้วทุกๆปี
ไม่ว่าจะเป็นคนดี คนไม่ดี คนรวย คนจน เด็ก ผู้ใหญ่ คนแก่ มันเป็นกาละหรือเวลาที่ต้องพลัดพราก
มีแต่ธรรมะของพระพุทธองค์เท่านั้นที่ดำรงอยู่และทันสมัยอยู่เสมอเพราะเป็นความจริงที่เรียกกันว่า"อกาลิโก"
ความจริง คำนี้ดูออกจะแปลกที่ว่าใครๆก็ต้องเจอ ใครๆก้ต้องผ่านมันไป ใครๆก็ต้องอยู่กับมัน แต่ใครๆก็ล้วนแต่พยายามหนีมัน ความจริงในเรื่องเกิด แก่ เจ็บ ตาย
ความจริงในเรื่องมีลาภ แต่ไม่อยากเสื่อมลาภ มียศแต่ไม่อยากเสื่อมยศ ชอบให้ผู้คนสรรเสริญเยินยอ แต่ไม่ชอบให้ใครติฉินนินทา ชอบแต่ความสุขแต่รังเกียจทุกข์
ความจริงที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ความจริงที่ไม่สามารถบิดเบือนได้ แต่ผู้คนล้วนหลบเลี่ยง บิดเบือน หนีมันไปเพื่อให้ตัวเองมีความรู้สึกที่ว่ามีแต่ความสุขเมื่อได้สนองความต้องการให้ใจมันฟูในชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น
แต่สุดท้ายความจริงก็กลับมาให้ทุกคนได้เห็นและยอมรับ เรียกว่ามาดีๆไม่ชอบ ก็ ต้องให้มาแบบบังคับให้ยอมรับ ทั้งที่ความจริงก็มาแบบตรงๆ ไม่มีอคติ ลำเอียง แบ่งพรรคแบ่งพวก เลือกข้าง ประนีประนอม รอ ผลัดวันประกันพรุ่ง หากความจริงจะมา เพราะความจริงไม่มีสัญญาณไฟเขียงไฟเหลืองไฟแดง
ไม่มีใครสามารถจะปฏิเสธได้ แต่ในโลกใบนี้ทุกคนชอบที่จะบิดเบือนความจริงเพราะ ไม่เข้าใจหรือรู้จักความจริงดีพอ หรือไม่รู้จักมันเลย ว่าความจริงสุดท้ายก็ย่อมเป็นความจริง เหมือนคำพูดโบราณที่ว่าความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย แต่ก็มีคนเอาไปแผลงเป็ว่านความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย แต่ว่าผู้พูดความจริงจะตายเสียก่อน
ความจริงเป็นของมีค่ามากกว่าสิ่งใดๆในโลก แม้กระทั่งพระบรมศาสดาจะถูกห้อม ล้อมด้วยอามิสสุขหรือเครื่องมือที่จะทำให้มีแต่ความสุขทางโลกด้วยวัตถุ ไม่ว่าชาติตระกูล ทรัพย์สมบัติ เหลือคณานับ พระมเหสี พระโอรส ปราสาทสามฤดูอันงดงามและแสนสบายกาย ในฐานะเจ้าชายสิทธัตถะ
แต่ความจริงที่รายล้อมพระองค์ เป็นความจริงบางส่วนที่ปรุงแต่ง แต่ก็หนีไม่พ้นพระไตรลักษณ์คือเกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วก็ดับไป ความจริงแท้ทั้งหมดที่เกิดในพระหทัยหรือใจของเจ้าชายสิท
ธัตถะก็คือความทุกข์
ความทุกข์ที่พระองค์ทรงเห็นคือความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ความจริงที่พระองค์ทรงเห็นเห็นเป็นเพียงสมมุติสุข แค่ผลัดเปลี่ยนแล้วก็จากไป
ความจริงที่พระองค์ทรงเห็นว่ามันวนเวียนไปมาเหมือนน้ำที่เน่าที่มีอยู่ทั่วกรุงเทพฯและในจังหวัดที่ถูกภัยพิบััติในขณะนี้ พระองค์ทรงถามพระองค์เอง และทรงหาคำตอบด้วยพระองค์เองว่า มีทางออกจากความทุกข์ที่เหล่ามนุษย์เวียนว่ายตายเกิดอยู่ร่ำไปหรือไม่
และสุดท้ายพระองค์ก็หาหนทางออกได้โดยทรงออกผนวชหรือบวช ปฏิบัติธรรมจนบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้าหรือพระพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้ธรรมทั้งปวง เป็นพระผู้โลกวิทูคือรู้แจ้งโลกยากที่จะหาผู้รู้ได้อย่างเสมอเหมือน ยกตัวอย่างเรื่องเล็กน้อยในมวลใหญ่ในพระปัญญาของพระองค์เช่น
ทรงรู้จัก อธิมุติ คือความน้อมไป ความเอนเอียงไปแห่งจิตของสัตว์ทั้งหลาย ทรงรู้จักผงคือกิเลสที่เข้าตาใจของสัตว์ทั้งหลายว่าผู้ใดมีน้อย ผู้ใดมีมาก ทรงรู้จักอินทรีย์คือธรรมะที่ครองจิตใจ อันได้แก่ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ของสัตว์ทั้งหลายว่าใครมีแก่กล้า ใครมีอ่อน ได้ทรงรู้จักอาการของสัตว์ทั้งหลายว่าใครมีอาการดี ใครมีอาการไม่ดี ทรงรู้จักพื้นแห่งปัญญาของสัตว์ทั้งหลายว่าใครรู้ได้ง่าย ใครรู้ได้ยาก
ทรงรู้จักพื้นภูมิของสัตว์ทั้งหลาย อันเกี่ยวแก่กิเลส เกี่ยวแก่กรรม เกี่ยวแก่ปัญญาเป็นต้นว่าใครเป็นภัพพสัตว์คือเป็นสัตว์ที่สมควรที่จะรับธรรมะ บรรลุถึงธรรมะได้ ใครเป็นสัตว์ที่เป็นอภัพพะคือไม่สมควร ที่เรียกว่าอาภัพ ไม่สามารถที่จะรับธรรมะ ที่จะเข้าถึงธรรมะได้ พระองค์ได้ทรงรู้จักสัตวโลกโดยอาการที่ท่านพระอาจารย์ได้ยกมาดังที่กล่าวนี้ และมิได้รู้ติดหรือว่ารู้ยึด ได้ทรงรู้พรากออกได้ จึงทรงเป็นโลกุตระอยู่เหนือโลก (หาอ่านรายละเอียดได้จากหนังสือพระนิพนธ์เรื่องพระพุทธคุณบทว่าโลกวิทู(๑และ๒) ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณนายก วัดบวรนิเวศวิหาร )
สิ่งที่สำคัญที่พระองค์นำมาสอนแก่เวไนยสตว์ผู้ที่มีผงธุลีอยู่ในดวงตาทั้งหลาย ไม่ใช่ความรู้มากมายที่พระองค์มี
เพราะไม่ได้เป็นไปเพื่อการพ้นทุกข์ และมีผู้อื่นสอนไปมากแล้ว ธรรมะที่พระองค์นำมาสู่โลกเป็นธรรมะเพื่อการพ้นทุกข์ หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏนี้แต่เพียงเท่า นั้น เปรียบความรู้นั้นเป็นได้เสมือนกับใบไม้ในกำมือของพระองค์ที่ทรงนำมาสอนเท่านั้น ไม่ใช่ใบไม้นอกกำมือในป่าที่มีมากมาย
เช่นเดียวกับในพระไตรปิฎกที่มีพระธรรมคำสั่งสอนมากมายถึง 84,000พระธรรมขันธ์ซึ่งเป็นความรู้มากมาย สำหรับพระผู้ปฎิบัติเพื่อหนทางแห่งการหลุดพ้น
แต่ครูบาอาจารย์ที่ท่านศึกษามาดีแล้ว ท่านกลับนำมาสรุปให้เราชาวพุทธบริษัทฟังว่ามันย่อมาเหลือแค่ศีล สมาธิ ปัญญา คือไม่เบียดเบียนผู้อื่นและไม่เบียดเบียนตนเองทั้งกาย วาจาใจ ซึ่งการจะกระทำเช่นนั้นได้จำเป็นต้องศึกษาและปฎิบัติเพื่อรู้ความจริง ความจริงให้เรารู้จักสงบจิตและสงบกิเลส ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่หลงอารมณ์หรือหลงโลก และมองโลกด้วยสายตาที่รู้จริง
ว่าทุุกอย่างเป็นเรื่องที่เิกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย ไม่มีตัวไม่มีตน ไม่มีอะไรให้ยึดถือ ความจริงที่เป็นสิ่งสมมุติและความจริงที่เป็นวิมุตติ สมมุติให้ยึดถือ วิมุตติให้หลุดพ้นจากความยึดถือ โดยมีตรงกลางเป็นการเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปของสิ่งทั้งหลายทั้งปวง
วิทยาศาสตร์เป็นศาสตร์ที่อาศัยการพิสูจน์ด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย เท่านั้นที่สัม ผัสด้วยวัตถุ
แต่พุทธศาสนาสอนให้รู้จักความจริงได้มากกว่านั้นว่าสามารถพิสูจน์ได้ด้วยใจ เพราะมีความชอบ ความชัง ความสุข ความทุกข์ที่วิทยาศาสตร์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ แต่พุทธศาสนามีคำตอบที่จบสิ้นทั้งหมด ทั้งโลกและธรรม เป็นทางออกที่ประเสริฐ สงบ สว่าง สะอาดและสบาย แค่เริ่มต้นฝึกถอนลมหายใจยาวๆก็รู้สึกได้ว่าทุกข์บางเบา ไหนเลยจะฝึกฝนต่อเนื่องด้วยความเพียรชอบจะหาไม่พบทางออกที่แท้จริง
ทางออกแห่งทุกข์ ทางออกแห่งวัฎสงสารหรืออสังสารวัฎนี้ หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ แห่งวัดสะแกนอกท่านรับรองว่าได้แน่หากเอาจริง ผู้เขียนที่ศรัทธาในคำสอนของหลวงปู่ หลวงตา พ่อแม่ครูบาอาจารย์เห็นเช่นนั้น เพียงแต่ว่าอยู่ในระหว่างเิดินทางจากซอยเล็กเพื่อออกไปสู่ถนนใหญ่ในทางสายกลาง
น้ำก็เรื่องของน้ำ ดินก็เรื่องของดิน ลมก็เรื่องของลม ไฟก็เรื่องไฟ มันเป็นเรื่องของโลกที่ย้อมให้เราหลง เพราะกิเลสที่ไม่ได้สงบแล้วยังหลงมันอีก ทุกเรื่องที่แปรปรวนอย่างที่เห็นมันเกิดจากโลภ โกรธหลง หรือหลงโลกทั้งนั้น แล้วบอกว่าหาทางออกไม่ได้
ผู้มีอำนาจในแผ่นดินหลายต่อหลายท่าน ไม่ว่าจะก่อกุศลกรรมและอกุศลกรรม ในบั้นปลายชีวิตผู้เขียนเห็นแต่ไปนั่งสนทนาธรรมกับครูบาอาจารย์แทบทั้งนั้น หากละเลยไป อย่างที่เห็นก็มีแค่ผ้าคลุมหน้า น้ำรดศพเท่านั้นเอง
นั่นเป็นเรื่อของโลก แม้ไม่ห่างจากเรื่องของธรรมสักเท่าไร แต่คนยังมองไม่เห็นทางออก ที่เราได้ยินได้ฟังได้อ่านมานาน แล้วมันก็ผ่านไปจริงๆอย่างไม่มีความหมาย แล้วก็มาจมโลกกันต่อไป อย่างน่าเสียดาย เอวัง

แทนสะมะชัยโย

ช่วงนี้ท่านผู้อ่านตามหาแก่นธรรม ได้อ่านกันจุใจอย่างต่อเนื่อง กระทบกระแทกมุมแห่งธรรมนานาประการในทัศนะของผู้เขียนตามแต่ภูมิรู้ ตามแต่วาระ แต่อย่างน้อยความสงบก็น่าจะเกิดขึ้นกับท่านผู้อ่าน ท่ามกลางความแปรปรวนของความจริงคือเท็จ ความเท็จคือจริง เชื่อหรือศรัทธาต่อพระพุทธองค์แล้วพิสูจน์ให้เห็นจริงกับตัวเองดีกว่าครับ ไม่เสียชาติเกิด

สะมะชัยโย

อารามทูสกชาดก ลิงโง่

อารามทูสกชาดก
ลิงโง่



ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภคนประทุษร้ายอุทยาน ในหมู่บ้านโกศลตำบลหนึ่ง ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า...

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ในเมืองพาราณสีมีงานเทศกาลประจำปี ชาวเมืองต่างก็สนุกสนานรื่นเริง ในพระราชอุทยานมีลิงอาศัยอยู่ฝูงหนึ่ง คนเฝ้าสวนหลวงอยากจะไปเที่ยวงานประจำปีกับเขาด้วย จึงเข้าไปหาฝูงลิงแล้วพูดกับลิงหัวหน้าฝูงว่า
" เจ้าลิง สวนหลวงนี้ มีอุปการะคุณแก่พวกเจ้ามาก พวกเจ้าได้ขบเคี้ยวดอก ผลและใบอ่อนของต้นไม้ในสวนหลวงนี้ บัดนี้ ในเมืองมีงานเทศกาลประจำปี เราอยากจะไปเที่ยวบ้าง เราอยากจะวานให้พวกเจ้าช่วยรดน้ำต้นไม้ ที่กำลังปลูกใหม่ในสวนนี้ แทนเราจะได้ไหม ? "

ลิงรับว่าได้ คนเฝ้าสวนหลวงก่อนจะเข้าไปเที่ยวในเมือง กำชับว่า
" พวกท่านอย่าประมาทนะ " แล้วมอบอุปกรณ์ตักน้ำให้แก่พวกลิง

ลิงตัวหัวหน้าฝูง ได้กล่าวกะพวกลิงผู้ถือเอาอุปกรณ์ตักน้ำเตรียมพร้อมที่จะรดน้ำต้นไม้ว่า
" ท่านทั้งหลาย ธรรมดาน้ำเป็นของหายาก พวกท่านเมื่อจะรดน้ำต้นไม้ พึงรดตามความต้องการของต้นไม้ ด้วยการถอนต้นไม้ขึ้นมาดู ต้นไหนรากยาวก็จงรดน้ำให้มากๆ ต้นไหนรากสั้นก็จงรดน้ำให้แต่น้อย "

พวกลิงรับคำแล้วก็ทำตามนั้น สร้างความเสียหายแก้ต้นไม้เป็นจำนวนมาก
ในขณะนั้น ได้มีชายบัณฑิตคนหนึ่งเดินผ่านมาเห็นเข้า จึงถามความนั้นแก่ฝูงลิง พวกลิงจึงบอกว่าหัวหน้าให้ทำเช่นนั้น เขาจึงคิดว่า
" โอ! เจ้าลิงโง่ ช่างไม่ฉลาดเสียเลย คิดจะทำประโยชน์ แต่กลับทำความฉิบหายเสียนี่ "

แล้วกล่าวเป็นคาถาว่า
" ผู้ไม่ฉลาดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ถึงจะบำเพ็ญประโยชน์ ก็ไม่สามารถ
จะนำความสุขมาได้เลย คนมีปัญญาทรามทำประโยชน์ให้เสียหาย
เหมือนลิงเฝ้าสวน "

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

คนโง่มักทำความฉิบหายให้ มากกว่าประโยชน์

"เทวดาในตัวเรา"

แต่ก่อนหลวงพ่อเข้าใจว่า เทวดาอยู่บนฟ้า อยู่บนก้อนเมฆ...เทวดาตามความเชื่อนั้น ไม่ใช่เทวดา

ที่


จะช่วยเราได้ แต่เทวดาที่เกิดอยู่กับเรานั้น คือ มีความละอายต่อความชั่ว ไม่กล้าคิดชั่ว ไม่กล้าพูด

ชั่ว ไม่กล้าทำชั่ว แม้แต่คิดก็ไม่กล้า นี่คือ "เทวธรรม"

เทวดาลักษณะนี้จะช่วยเรา รักษาเรา คุ้มครองเรา

เราไม่ต้องไปกราบไหว้ ไม่ต้องไปขอร้องเทวดาที่ไหน เพราะเทวดาอยู่ในตัวเรา

หลวงพ่อคำเขียน สุวัญโณ

คำสอนฮวงโป

จิตหนึ่ง

ท่านครูบาได้กล่าวกับข้าพเจ้าว่า :

พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้น ไม่ได้เป็นอะไรเลยนอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่ง (One mind) นอกจากจิตหนึ่ง นี้แล้ว มิได้ มีอะไรตั้งอยู่เลย

จิตหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่ของมีสีเขียวหรือสีเหลือง

และไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ มันไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งทั้งที่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการตั้งอยู่ มันไม่อาจจะถูกลงความเห็นว่า เป็นของใหม่หรือของเก่า

มันไม่ใช่ของยาว ของสั้น ของใหญ่ ของเล็ก ทั้งนี้เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และเหนือการเปรียบเทียบทั้งหมดทั้งสิ้น

จิตหนึ่ง นี้ เป็นสิ่งที่เธอเห็นว่าตำตาเธออยู่แท้ ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เธอจักหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที

สิ่งนี้เป็นเหมือนกับความว่างอันปราศจากขอบทุก ๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจหยั่งหรือวัดได้

จิตหนึ่งนี้เท่านั้น เป็น พุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่าง พุทธะ กับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลาย ไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ เสีย

และเพราะเหตุนั้น จึงได้แสวงหา พุทธะภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้น นั่นเอง

ทำให้เขาพลาดจาก พุทธภาวะ การทำเช่นนั้นเท่ากับการใช้สิ่งซึ่งเป็น พุทธะ ให้เที่ยวแสวงหา พุทธะ

และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวย จิต แม้เขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขาอยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็ม ๆ

เขาก็จะไม่สามารถลุถึงมันได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเองเพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหาเสียเท่านั้น

พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่า จิต นี้ ก็คือ พุทธะ นั่นเอง และ พุทธะ ก็คือ สิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง นั่นเอง

สิ่ง ๆ นี้เมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ และเมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเป็นสิ่งใหญ่หลวง ก็หาไม่.

======================================



สัจจะธรรม

เมื่อวันหนึ่งค่ำเดือนเก้า ท่านครูบาได้กล่าวแก่ข้าพเจ้าว่า ...

นับตั้งแต่วันที่ท่านโพธิธรรมผู้ปรมาจารย์ ได้มาถึงประเทศจีนเป็นต้นมา ท่านได้พูดถึง จิตหนึ่ง นี้เท่านั้น และได้ถ่ายทอด ธรรมหนึ่ง นี้ แต่อย่างเดียวเท่านั้น

ท่านได้ใช้ พุทธะ (คือ จิตหนึ่ง ที่กล่าวแล้วนั่นเอง) นี้ ถ่ายทอด พุทธะ นี้ ไม่เคยกล่าวถึงพุทธะอื่นใดเลย ท่านได้ใช้ ธรรมะ นี้ ถ่ายทอด ธรรมะ นี้เท่านั้น

ไม่เคยกล่าวถึงธรรมะอื่นใดเลย

ธรรมะ ที่กล่าวนั้นเป็น ธรรม ที่ไม่อาจจะบรรยายได้ด้วยคำพูด และ พุทธะ นั้น ก็เป็น พุทธะ ที่ไม่เห็นได้ด้วยตา หรือคลำได้ด้วยมือ

เพราะว่าที่จริงนั้น สิ่งทั้งสองนั้นก็คือ จิตล้วน ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของสิ่งทั้งปวง นั่นเอง นี่แหละ คือสัจจะ ซึ่งมีอยู่เพียงอย่างเดียว ข้ออื่นนอกไปจากนี้ เป็นสัจจะเทียม

ปรัชญา คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้ง คือ จิต-ต้นกำเนิด ดั้งเดิมซึ่งปราศจากรูป

คนธรรมดาทั่วไป ไม่แสวงหา ทาง ทางโน้น เขาเหล่านั้นได้แต่ปล่อยตนไปตามอำนาจของอายตนะทั้งหก

ซึ่งย่อมนำเขาวกกลับไปสู่การกำเนิดในคติทั้งหกไปตามเดิม นักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้น ก็ยังพลัดตกไปสู่พวกมารร้ายได้

โดยการยอมให้ตนเองเกิดมีความคิดอย่างสังสารวัฏขึ้นมา แม้เพียงครั้งเดียว ถ้าเขายอมให้ความคิดชนิดที่นำไปสู่ความสำคัญมั่นหมายมีประการต่าง ๆ

เกิดขึ้นแก่เขาเองเพียงครั้งเดียว เขาก็ตกไปสู่ความเป็นมิจฉาทิฏฐิ

การถือว่ามีอะไรบางอย่างเกิดขึ้น และพยายามขจัดความเป็นอย่างนั้นเสียนั้นก็จะทำให้ตกลงไปอยู่ในระหว่างบรรดาพวกสาวก(ยาน)

การถือว่าสิ่ง ๆ ไม่ได้เกิดขึ้น แต่ก็อยู่ในวิสัยที่จะแตกทำลายไปนั้น ก็จะทำให้ตกลงไปอยู่ในระหว่างบรรดาพวกปัจเจกะ(ยาน)

ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไม่มีอะไรทำลายไป จงเหวี่ยงคติทวินิยมไปเสียให้พ้น รวมทั้งความชอบและความไม่ชอบของเธอด้วย

สิ่งที่มีอยู่จริง ๆ เพียงสิ่งเดียวเท่านั้น คือ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้น เมื่อเธอเข้าถึงสิ่ง ๆ นี้ด้วยใจแล้ว เธอก็จะได้ขึ้นสู่ราชรถแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย(พุทธยาน) .

======================================



การรู้แจ้งเห็นแจ้ง

ถ้าคนธรรมดาสามัญคนหนึ่ง เมื่อเขาร่อแร่จวนจะตาย หากว่าเขาสามารถเพียงแต่เห็นว่ามูลธาตุทั้งห้า

ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น เป็นของว่างเปล่า และเห็นว่ามูลธาตุทางรูปกายนั้น ไม่ใช่สิ่งซึ่งประกอบขึ้นเป็นตัว “ข้าพเจ้า” และเห็นว่า จิต จริงแท้นั้น

ไม่มีรูปร่างและไม่ใช่สิ่งที่มีการมาหรือการไป และเห็นว่าธรรมชาติเดิมแท้ของเขานั้น เป็นสิ่ง ๆ หนึ่ง

ซึ่งมิได้มีการตั้งต้นขึ้นที่การเกิดหรือมิได้มีการสิ้นสุดลงที่การตายของเขา

แต่เป็นของสิ่งเดียวรวดและปราศจากการเคลื่อนไหวใด ๆ ในส่วนลึกจริง ๆ ของมันทั้งหมด และว่า จิต ของเขากับสิ่งต่าง ๆ

ซึ่งแวดล้อมเขาอยู่นั้น เป็นสิ่ง ๆ เดียวกัน ถ้าเขาสามรถทำได้ตามนี้จริง ๆ เขาจะลุถึงการรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแว็บเดียว ในขณะนั้น

เขาจะเป็นผู้ที่ไม่ต้องข้องเกี่ยวกับโลกทั้ง ๓ อีกต่อไป เขาจะเป็นผู้อยู่เหนือโลกได้ เขาจะไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว

แม้หากว่าเขาจะได้มองเห็นภาพอันรุ่งโรจน์ ของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์กำลังเสด็จมาต้อนรับเขา ห้อมล้อมไปด้วยสิ่งอันวิจิตรตระการตาทุกชนิด

เขาก็ไม่เกิดความรู้สึกอยากเข้าไปใกล้สิ่งเหล่านั้น หรือถ้าเขาจะได้มองเห็นสิ่งอันหน้าหวาดเสียวทุก ๆ ชนิดมาแวดล้อมอยู่รอบตัวเขา เขาก็ไม่รู้สึกกลัวเลย

เขาจะเป็นแต่ตัวของเขาเองเท่านั้นที่ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเชิง และเป็นสิ่ง ๆ เดียวกันกับ สิ่งสูงสุด สิ่งนั้น

เขาจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้นนี่แหละ คือ หลักธรรมะที่เป็นหลักมูลฐานในที่นี้.

_____________________

ชื่อภาพ: peace in your being

+แหล่งที่มาของภาพ: http://community.beliefnet.com/raiene-faewolf/gallery/view_gallery.one?pid=58156289

======================================

+คัดสรรมาจาก หนังสือ คำสอนฮวงโป

อ่านทั้งหมดได้ที่ http://truthoflife.fix.gs/index.php?board=43.60

เท่าทุน

แก่นกับเพื่อนโชคดีแต่หัววัน อยู่ ๆ ก็เจอลาพลัดหลงมาตัวหนึ่ง ทั้งสองกำลังร้อนเงินอยู่พอดี จึงตกลงให้แก่นจูงลาไปขายที่ตลาด

ระหว่างทางพบชายคนหนึ่งหิ้วปลามาสองตัว ชายผู้นั้นถามว่า

"พี่ชาย ลาตัวนี้จะขายไหม"

"ขายสิ"

"ถ้างั้นพี่ชายช่วยถือปลาให้ผมด้วย ผมจะลองขี่มันดู ถ้าถูกใจค่อยมาตกลงเรื่องราคากัน"

ชายคนนั้นขี่ลาวนอยู่หลายรอบ ยิ่งวนก็ยิ่งไกลออกไปทุกที จนหายวับไป แก่นรออยู่นานก็รู้ว่าถูกหลอกเสียแล้ว จึงได้แต่ถือปลากลับไป เพื่อนเห็นเข้าก็ถามว่า

"ขายลาไปแล้วใช่ไหม"

"ฮื่อ" แก่นตอบ

"ขายได้เท่าไร"

"ขายได้เท่าทุน แต่ปลาสองตัวนี้เป็นกำไร"



เรื่องนี้มองได้หลายแง่มุม อาจมองว่าเป็นเรื่องของโชคที่หลุดลอยจากมือของคนโง่ก็ได้ แต่จะมองให้ลึกไปกว่านั้นก็ได้

แก่นคงไม่ใช่คนที่ฉลาดนัก ไม่เช่นนั้นเขาคงไม่ถูกหลอกจนเสียลาไป แต่ถ้ามองให้ดี ก็จะเห็นสัจธรรมจากคำพูดของเขา ใช่หรือไม่ว่า ทั้งสอง 'เท่าทุน' ทั้งนี้เพราะพวกเขาได้ลามาฟรี ๆ เมื่อเสียลาไปฟรี ๆ จะเรียกว่า 'ขาดทุน' ได้อย่างไร เพราะฉะนั้นจึงไม่ต้องมีอะไรที่ต้องเสียใจ ที่จริงแก่นพูดถูกแล้วที่บอกว่าเขา 'ได้กำไร' เพราะได้ปลาสองตัวมาจากเดิมที่ไม่มีอะไรเลย ดังนั้นจึงน่าที่จะดีใจด้วยซ้ำ

คนเรามักจะเสียใจทุกครั้งที่สูญเสียอะไรไปโดยไม่ได้อะไรตอบแทนกลับมา เราเสียใจที่เงินหาย เสียรถ เสียบ้าน ฯลฯ แต่เรามักลืมไปว่าที่จริงเราแค่ 'เท่าทุน' เราไม่ได้ 'ขาดทุน' หรือสูญเสียอะไรไปเลย เพราะแต่เดิมเราก็ไม่ได้มีสิ่งเหล่านั้นมาก่อน ถ้าสาวกันจริง ๆ แล้ว แต่เดิมเราก็มีแต่ตัวเปล่า ๆ เท่านั้น เราคลานออกมาจากท้องแม่โดยไม่มีอะไรติดตัวมาเลยแม้แต่อย่างเดียว

ถ้ามองจากจุดที่ว่า เราเกิดมาตัวเปล่า ก็จะพบว่าถึงแม้เราจะสูญเสียอะไรไปมากมาย เราก็ยัง 'กำไร' อยู่ เพราะตอนนี้เราก็ยังมีทรัพย์สินติดตัว มีครอบครัว วิชาความรู้ และอะไรต่ออะไรอีกเยอะแยะ คุณอาจบอกว่าของที่สูญเสียไปนั้น ไม่ได้เกิดจากโชคเหมือนอย่างสองคนในเรื่องที่ได้ลามาเปล่า ๆ แต่เกิดจากน้ำพักน้ำแรงและวิชาความรู้ของคุณเอง แต่ลองสืบสาวดูก็จะพบว่า 'ทุน' ที่คุณลงไปนั้นส่วนใหญ่ก็ได้มาฟรี ๆ เหมือนกัน น้ำนมและอาหารทั้งหลายที่เลี้ยงคุณมาแต่เกิด จนทำให้มีกำลังวังชาและกำลังความคิดนั้น ใช่ว่าคุณเป็นคนซื้อมาหรือลงทุนลงแรงหามาเอง ก็เปล่า การศึกษาที่ได้รับจากพ่อแม่และครูอาจารย์ ก็ไม่ได้เกิดจากเงินทองของคุณเลยแม้แต่น้อย ถึงที่สุด ร่างกายของคุณก็เกิดจากน้ำพักน้ำแรงของพ่อแม่ที่ดูแลเอาใจใส่ตั้งแต่เป็นตัวอ่อน ชีวิตทรัพย์สิน และอะไรต่ออะไรที่คุณมีนั้นเป็นของที่คุณได้มา 'ฟรี ๆ' แทบทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นถ้าคุณสูญเสียสิ่งเหล่านั้นไป อย่างแย่ที่สุดคุณก็เพียงแต่ 'เท่าทุน' เท่านั้น

ในเมื่อสิ่งที่คุณมีอยู่เวลานี้เป็นของฟรีแทบทั้งนั้น ดังนั้นสิ่งเหล่านี้จึงไม่อาจเรียกได้ว่าเป็น 'ของคุณ' จริง ๆ กรรมสิทธิ์หรือความเป็นเจ้าข้าวเจ้าของทั้งหลายจึงเป็นเพียง 'สมมติ' เท่านั้น สมมตินั้นใช้การได้ในบางที่ บางแห่ง บางเวลาเท่านั้น (เช่นกรรมสิทธิ์ในภรรยาใช้ได้ในอินเดียสมัยก่อน แต่ใช้ไม่ได้ในเมืองไทย พ.ศ. นี้) แต่บ่อยครั้งเราคิดว่า สมมติเป็นความจริงสูงสุด และดังนั้นเราจึงติดยึดกับมัน การติดยึดกับมันมาก ๆ นอกจากจะทำให้เราทุกข์เวลาสูญเสียมันไปแล้ว ยังอาจทำให้เรากลายเป็นคนโง่ได้อย่างเรื่องข้างล่าง



ลูกค้าคนหนึ่งไปซื้อของที่ร้านชำ

"ขอซื้อน้ำตาลทรายขาวหนึ่งกิโล"

เจ้าของร้านหยิบกล่องสังกะสีใบหนึ่งลงมาจากชั้น กล่องนั้นปิดฉลากพริกป่น ลูกค้าจึงท้วงว่า

"ผมต้องการน้ำตาลทรายขาวนะครับ ไม่ใช่พริกป่น" เจ้าของร้านหัวเราะ ตอบว่า

"อย่าห่วง กล่องนี้บรรจุน้ำตาลทรายขาว แต่ผมกลัวว่ามดแดงมันจะขึ้นน้ำตาล ก็เลยเอาฉลากพริกป่นปิดหลอกมันไว้ไง"

เหลือแค่กางเกงในตัวเดียว ก็มีกำไร เพราะเกิดมาตัวเปล่า

เหลือแค่กางเกงในตัวเดียว ก็มีกำไร เพราะเกิดมาตัวเปล่า
ขาดทุน=กำไร

เรามาย้อนเวลากันซักนิด .....คุณเคยทำตังหายไหม? เคยโดนโกงไหม? เสียโน่นเสียนี่ไปฟรี ..
และอื่นๆอีกมากมายที่คุณจะต้องบ่นออกมาว่า ขาดทุนซะแล้วตู..ประมาณนี้

ขาดทุน=กำไร มันเป็นไปได้อย่างไรน่ะหรือ......อ่ะ เราจะย้อนอดีตกันอีกรอบ เราย้อนไปแค่ตอนที่คุณเพิ่งเกิดก็พอนะ ทีแรกกะย้อนตั้งแต่เป็น
อสุจิละ แต่กลัวจะย้อนไกลไป

นั่นไงๆ...คุณเห็นภาพคุณตอนเพิ่งเกิดรึยัง เอ้าใช้จิตนาการกันหน่อย เห็นรึยังว่าตอนคุณเกิดมา
น่ะมีแต่ตัวเปล่าๆ จ้อนๆเลยนะน่ะ เริ่มรู้สึกตัวรึยังว่าคุณเริ่มมาจาก 0 คุณมาแต่ตัวเพียวๆเลย
แล้วคุณก็ได้รับอาหาร เสื้อผ้า และอื่นๆจวบจนทุกวันนี้ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เข้ามาหาคุณ นั่นล่ะคือกำไร
ต่อให้คุณโดนขโมยขึ้นบ้าน โดนโกง คุณก็ยังได้กำไร (นอกซะจากว่าคุณโดนฆ่าตาย หรือ อุบัติเหตุแล้วตายนั่นล่ะคุณจะเท่าทุน)

ทุกๆสิ่งที่เข้ามาหาคุณหรือจากไปก็ตามขอให้เข้าใจซักนิดว่า...นั่นล่ะคือกำไรของชีวิต
หากว่าคุณกำลังเสียใจกับสิ่งที่เสียไปจงคิดเสียว่า...มันคือกำไรชีวิต

บางคนอาจไม่เคยเจอความเจ็บช้ำนั่นแสดงว่าเขายังรับรู้รสชาติของชีวิตไม่ครบของความเป็นคน

////////////////////////////////////////////////////////



คนเราเกิดมาก็ตัวเปล่า ตายไปก็ตัวเปล่า

จงบอกตัวเองไว้ว่าไม่มีสิ่งไหนที่เป็นของเรา

อย่าหวังว่าสิ่งไหน หรือคนไหนจะมีเป็นของเรา

ไม่มีใครในโลกที่สามารถพึ่งได้เท่าตัวเอง

อย่าหวังว่าใครคนไหนจะอยู่ยืนนานไว้เป็นหลักให้เรา

เพราะไม่มีใครมาเป็นหลักให้เราเกาะได้ตลอด

///////////////////////////////////////////////////////

เจ้าเกิดมามีอะไรมากับเจ้า
ใยมัวเมาโลภลาภทำบาปใหญ่
เจ้าเกิดมาตัวเปล่าแล้วจะเฝ้าเอาอะไร
เจ้าก็ไปตัวเปล่าเหมือนเจ้ามา

======================

เจ้าเกิดมา เอาอะไร มาด้วยเล่า
เจ้าจะเอา แต่สุข สนุกไฉน
เจ้าเกิดมา ตัวเปล่า จะเอาอะไร
เจ้าก็ไป ตัวเปล่า เหมือนเจ้ามา

=========================

"เจ้าเกิดมา มีอะไร มาด้วยเล่า
แล้วจะเอา แต่สุข สนุกไฉน
เจ้าเกิดมาตัวเปล่า ไม่มีอะไร
ก็กลับไป ตัวเปล่า เหมือนเจ้ามา"

เพราะเขาเหล่านั้นก็ไม่ใช่ของเรา เขาก็ตัวเปล่า

เหมือนกับเรา ๆ ทุกคนที่เกิดมาพร้อมกับภาระแห่งชีวิต

จะเชื่อและช่วยตัวเอง อย่าหวังพึ่งใครเลย

สมมุติ




                                    สมมุติว่าถ้าเรามีเงิน 20,000,000.00 บาท เราจะทำอะไรก่อน บ้างก็เริ่มต้นคิดถึงการซื้อบ้าน บ้างก็คิดถึงการซื้อรถ บ้างก็คิดถึงการนำเงินไปลงทุนทำอะไรก็ได้ที่เป็นเงินต่อเงิน แม้กระทั่งจะไปช้อปที่ไหนดี เที่ยวที่ไหนดี หรือไปกินไปดื่มที่ไหนดี แต่จะมีสักกี่คนที่คิดถึงพ่อและแม่บ้าง
                                     เริ่มต้นแค่นี้ผู้คนก็ส่งจิตออกไปปรุงแต่งกันแล้วสารพัดเรื่อง ดังได้กล่าวมาพอประมาณข้างต้นแล้ว ฟังดูแล้วก็ออกจะเพ้อ เจ้อกันมากที่พูดอะไรกันอย่างนี้ แต่เชื่อหรือไม่ว่าถ้าเปิดประเด็นนี้ขึ้นมา คงจะมีผู้ร่วมเสวนากันไม่มากก็น้อย ไม่ต้องคิดรวมไปถึงพวกชอบดูหนังดูละคร อันนั้นก็เริ่มต้นด้วยหลักเดียวกันนั่นแหละด้วยคำว่าสมมุติ
                                     โลกยิ่งพัฒนามากไปเท่าไร การสมมุติมันก็มากไปเท่านั้น วิทยาศาสตร์ก็เป็นศาสตร์แห่งการสมมุติฐานทั้งนั้น เราจึงมีเครื่องมือเครื่องไม้ที่่ทันสมัย เพราะการสมมุติ ยกตัวอย่างเช่นคนเราอยากบินได้ วิทยาศาสตร์ก็เลยให้เครื่องบินมา เราอยากคุยกันในระยะไกลกันได้ วิทยาศาสตร์การสื่อสารก็ให้เราคุยกันข้ามโลกได้ด้วยโมบายด์ แถมยังให้เห็นหน้ากันได้อีกผ่านคอมพิวเตอร์ที่ติดกล้อง
                                     สมมุติว่า x=y อันนี้ก็เป็นหลักทางคณิตศาสตร์ ที่ตั้งขึ้นมาแล้วมาแก้โจทย์กันที่หลัง จนมาเป็นรหัสที่เรามาใช้ทางอินเตอร์ เนท เฟสบุ๊ค หรือเครื่องมืออีเล็คโทรนิค คอมพิวเตอร์มากมาย รวมทั้งดาวเทียมสื่อสาร หรือแม้แต่สิ่งที่เรานึกไม่ถึง ในรถยนต์ ซีดี ดีวีดี ทุกอย่างเกิดจาการสมมุติทั้งนั้น หรือแม้แต่เครื่องมือทางการแพทย์ เช่นเครื่องเดินสายพานตรวจวัดการทำงานของหัวใจ เครื่องวัดความดันโลหิตดิจิตอลก็เช่นกัน
                                     เรื่องสมมุติจึงไม่ใช่เรื่องล้อเล่นหรือไร้สาระไปเสียทั้งหมด เพราะทุกผู้คนในโลกนี้ล้วนเดินตามสมมุติสัจจะกันทั้งนั้น ไม่ว่าใครที่ไหนจะชื่ออะไร ล้วนแต่เป็นสมมุติทั้งนั้น แต่พวกเราล้วนมองเรื่องสมมุติทั้งหมดเป็นจริงเป็นจัง ใช่เลย แน่แล้ว แล้วก็คล้อยตามมันไป เพราะแรงดันของกิเลสพอปล่อยไปตามแรงผลักดันของกิเลส สมมุติสัจจะจึงกลายมาเป็นความจริงแท้ ความจริงที่ทุกคนยอมรับ ขวนขวาย ถวิลหา
                                    ความจริงที่ทุกคนต้องมีพ่อมีแม่ มีพี่ มีน้อง มีญาติ มีภรรยา มีลูก มีหลาน มีเพื่อน มีคนใช้ มีเจ้านาย มีบ้าน มีรถ มีเงิน มีกาม
                                   ถ้าทุกคนมีโอกาสได้มาพิจารณาความจริงในสิ่งที่เห็นที่เป็น จะรู้ว่าสิ่งต่างๆที่เรามีหรืออยากมี ล้วนแล้วแต่ไม่จีรังยั่งยืน ถึงแม้เราจะได้ครอบครองมาอย่างเต็มภูมิแล้วก็ตาม สักวันมันก็จากไป หรือกลายไปเป็นของผู้อื่น ที่เราเหนื่อยยากแสนลำบากที่ขวนขวายให้มันมี ให้มันเป็น ให้มันเกิดขึ้น ด้วยน้ำพักน้ำแรงชั่วชีวิต แล้วมันก็ปลิวลมหายไปทั้งสิ้น ไม่ว่าจะได้มันมาอย่างง่ายดายหรือด้วยความยากลำบาก ตัวเราเองเท่านั้นที่จะตระหนักรู้และต้องยอมรับความเป็นจริงนั้น
                                   โจทย์กี่โจทย์ทางคณิตศาสตร์ ปัญหาทั้งหลาย ไม่ว่าเราจะแก้หรือไม่แก้ สุดท้ายล้วนแต่มีคนแก้ทั้งสิ้น ความจริงมันเป็นอย่างนั้น ความจริงมันก็เป็นความจริงของมันวันยังค่ำ มันเป็นของมันตลอดกาล มานานแสนนานแล้ว
                                    สิ่งที่จะพลิกโฉมความจริงในสมมุติสัจจะ ก็คือการรู้ตัว การรู้ตัวเป็นการรู้ที่แท้จริง รู้ความจริงแท้ในโลก รู้ความจริงในอริยสัจจะคือ ทุกข์ ที่มาแห่งทุกข์ สภาวะแห่งการพ้นทุกข์ และหนทางแห่งการหลุดพ้นจากทุกข์ ที่องค์พระบรมครูของเราคือพระสัมมา สัมพุทธเจ้า ผู้ที่ทรงตรัสรู้เองในพระอนุตรสัมโพธิญาณ และทรงมาโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลายเช่นเรา ความจริงอันประณีตที่ทรงตรัสรู้ยากนักที่จะหามหาบุรุษใดในโลกทำได้ เพราะทรงบำเพ็ญบารมีมานานแสนนาน... 
                                    สิ่งที่พระองค์ทรงตรัสล้วนเป็นสัจจะหรือความจริงแท้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะโดยสมมุติสัจจะ เพื่อให้เหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลายหรือเทวดาทั้งปวงได้อยู่กันอย่างศานติธรรม ในสมมุติสัจจะ และวิมุตตีสัจจะหรือปรมัตถ์สัจจะ เพื่อให้เหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย เทวดาทั้งปวงได้บรรลุธรรมกันอย่างศานติหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง
                                   สมมุติก็อยู่ด้านหนึ่ง แต่วิมุตติก็อยู่อีกด้านหนึ่ง มันขนานเคียงคู่กันไปโดยตลอด เหมือนฝุ่นละอองเมื่อรวมกันก็เป็นก้อนดิน มีน้ำมีลมมีไฟมาสานกันขึ้นมาเป็นกายนี้ โดยมีใจที่เป็นตัวผู้รู้มาประกอบด้วย 
                                     ความเอร็ดอร่อย ความสุข ความทุกข์ ความสนุกสนาน ความรันทด ความหดหู่ใจ ความรัก ความเกลียด ความชอบความชัง ล้วนเป็นสมมุติสัจจะที่อยู่ในหน้าเดียวกัน แต่ต่างมุมมอง มันเป็นเพียงสังขารที่แปลว่าการปรุงแต่งล้วนๆ ที่จิตมันส่งออกหรือจิตไหวตัว
                                    สมถะยานิกที่เจริญสมถะกรรมฐานที่นิยมกินลมเป็นอาหารวิเศษจะรู้ได้ดีว่าลมหายใจมันมีค่าและด้อยค่า หากมันวิ่งเข้าวิ่งออกมันก็มีค่ารักษาชีวิต หากมันวิ่งเข้าแล้วไม่ออกหรือวิ่งออกแล้วไม่เข้า มันหมดค่าอย่างสิ้นเชิง เพราะชีวิตที่ประกอบด้วยลมหายใจในกายนี้มันแสดงเช่นนั้น
                                   ความจริงอันพิสุทธิ์ก็คือการพิจารณาลมแล้วรู้ว่าสักแต่ว่าธาตุลม ธาตุดิน ธาตุน้ำ และธาติไฟมาประชุมกันเป็นกายนี้และมีผู้รู้หรือใจที่เป็นส่วนประกอบมาดำรงอินทรีย์นี้ไว้
                                   การเจริญกรรมฐานทั้งปวงก็เพื่อให้เราตระหนักรู้ถึงความจริงในสมมุติสัจจะและวิมุตติสัจจะ เพื่อเข้าสูพุทธภาวะแห่งการหยั่งรู้ที่เรียกว่าวิสังขารหรือไม่ปรุงแต่งทั้งปวง
                                   ท่านผู้อ่านที่รัก ผู้ที่เป็นครูของผู้เขียน ที่ได้แสดงความรัก ความชอบ ความเกลียด ความชัง ร่วมทุกข์และสุขกันมานานแสนนาน ทั้งภพนี้และภพก่อนหน้านี้ ผู้ที่เคยแสนฉลาดและโง่เขลา หากท่านหยั่งรู้ถึงตัวผู้รู้ สมมุติที่อมทุกข์ก็จะกลายเป็นวิมุตติที่คลายทุกข์และหลุดพ้นทันที แค่พลิกหลังมือมาเป็นหน้ามือ โดยการพลิกฝ่ามืออย่างมีสติสัมปชัญญะเท่านั้นเอง เอวัง


                                                                                             ธรรมะสวัสดี

คู่มือฟื้นฟูบ้านหลังน้ำท่วมจาก SCG

  ประตู หน้าต่าง หลังน้ำลด
    พฤติกรรมที่เกิดการตรวจสอบ ข้อแนะนำแก้ไข
    A.บ้านที่เจอน้ำท่วม  ประตูเป็นจุดแรกที่น้ำเข้าโจมตีเข้าสู่ตัวบ้าน   และความเสียหายซึ่งต้องซ่อมแซม อาจเกิดจากความเสียหายจากน้ำและ ความเสียหายจากการติดตั้งระบบป้องกันต่าง เช่น การก่ออิฐ การติดแผ่นไม้,สมาร์ทบอร์ด. ฟิวเจอร์บอร์ด ทับประตูหน้าต่างเพื่อป้องกันน้ำเข้าบ้านA1.ประตูและวงกบกลุ่มไม้จริง ตรวจสอบสภาพความเสียหาย ตอนแรกให้ทดลองปิดเปิด ดู ถ้าไม่สามารถเปิดปิดประตูได้ เนื่องการแช่น้ำเป็นเวลานานประตูแลวงกบจะมีอาการบวมหรือบิด  และตรวจสอบสภาพหลังจากทิ้งไว้ให้แห้งสนิทถ้าโชคดีประตูและวงกบ อาจแห้งและกลับสภาพเดิม จนไม่ต้องปรับแต่งใดๆ แต่ถ้าเกิดปัญหาการโก่งให้ปรับแต่งA2.ประตูไม้อัด, MDF ,HDF
    ตรวจสอบคล้ายกลุ่มไม้จริง  แต่ความเสียหายน่าจะเกิดมากกว่าเนื่องความไม่คงทนของวัสดุที่ใช้ประกอบเป็นบานประตูซึ่ง  มีกาวและรังผึ้งกระดาษหรือ โครงไม้อยู่ด้านใน
    A3.ประตูเหล็ก อลูมิเนียม
    ส่วนใหญ่ทำด้วยวัสดุที่ทนน้ำและความชื้น  แต่อาจต้องตรวจสอบการเสียรูปและการบิดงอตัวบานเนื่องการรับแรงดันด้านข้างของน้ำ อาจทำให้เสียรูปได้และกระจกแตกได้ และตรวจเรื่องน้ำที่อาจขังอยู่ในโครงสร้างวงกบและประตู  ถ้ามีน้ำขังให้ไล่น้ำออกให้หมด และปล่อยให้แห้ง
    A4.ประตูPVC คล้ายข้อA3
    A5.อุปกรณ์ประกอบต่างๆ เช่น ลูกบิด บานพับ  ให้ตรวจดูเรื่องความสวยงานและความสะดวกในการใช้งานเนื่อง อาจมีการขึ้นสนิมและมีสิ่งสกปรกอุดในกลไกต่างๆที่ทำให้การใช้งาน ไม่สะดวก
    A1.การซ่อมแซมประตูที่แช่น้ำนานให้ถอดบานประตู  มาพึ่งลมให้แห้งโดยกดทับด้วยแผ่นสมาร์ทบอร์ดและหาวัสดุหนักๆทับไว้  และทิ้งไว้จนแห้ง ระหว่างนั้นอาจตรวจสอบและพลิกกลับด้านเพื่อให้ประตูไม่โก่ง  เมื่อประตูแห้งสนิทแล้วให้ช่างปรับแต่งขนาดให้ได้พอดับวงกบ และเก็บงานสีให้เรียบร้อยA2. แนะนำให้รื้อทำการติดตั้งด้วยบานประตูของใหม่ทั้งหมด  เนื่องจากราคาไม่แพงมากนัก แต่อาจต้องปรบแต่งตัวบานให้เข้ากับวงกบเดิมซึ่งส่วนใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็งซึ่งอาจเสียรูปบ้างเล็กน้อย  และเก็บงานสีให้เรียบร้อย
    A3. ถ้าโครงโลหะและอลูมิเนียมยังสภาพสมบรูณ์  แนะนำให้ใช้ของเดิมได้ และหลังจากไล่น้ำ และแห้งสนิทแล้วให้ซ่อมแซมรอยต่อต่าง ติดตั้งกระจกที่แตกและเก็บงานยาแนว และสีต่างให้เรียบร้อย  แต่ถ้าโครงเสียหายให้เปรียบเทียบราคาในการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่
    A4. ตัวบานไม่น่าจะมีปัญหาหลังจากไล่น้ำออกหมดจนแห้งสนิทแล้วแต่จุดที่เกิดปัญหาคือ บานพับซึ่งส่วนใหญ่ตัวเล็ก ซึ่งอาจเสียหายได้จากแรงดันน้ำ ให้เปลี่ยนใหม่
    A5.ซ่อมแซมทำความสะอาด  ทิ้งให้แห้งและใส่สารหล่อลื่นต่างๆแล้วทดลองใช้ดูว่าสภาพยังใช้งานได้อยู่หรือไม่  และพิจารณาเปลี่ยนได้ตามงบประมาณ

กูรู้

ในตามหาแก่นธรรมนี้เคยมีผู้เขียนถึงคำว่ากูรูกันมาหลายตอนเหมือนกัน แต่ผู้ที่อธิบายความหมายของคำๆนี้ได้ดีที่สุดน่าจะเป็นผู้เขียนในวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีที่มีผู้ใช้งานในเว็บเป็นอันดับห้าของโลก เป็นเว็บที่ก่อตั้งโดยจิมมี เวลส์ ผู้ที่ไม่ปรารถนาเงินทอง
เพราะไม่มีการลงโฆษณาอะไรเลยในวิกิพีเดีย เป็นห้องสมุดที่มีคุณค่าให้คนทั้งโลกในหลากภาษา
ปัจจุบันวิกีพีเดียขาดแคลนทุนทรัพย์เพราะไม่ใช่เว็บเชิงพาณิชย์ จึงขอแบ่งปันเงินทองคนละเล็กละน้อยเพื่อให้สารานุกรมเสรีนี้คงอยู่ต่อไปได้ หาอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากหมายเหตุแนบข้างล่างครับ
คุรุ (สันสกฤต: गुरु) หรือ กูรู (อังกฤษ: guru) หมายถึง ครู หรือ อาจารย์
ถ้าแยกศัพท์ออกมาแล้ว จะมีสองคำ คือ คำว่า คุ ซึ่งแปลว่า แสงสว่าง (เป็นผู้ชี้ทางแสงสว่าง) และคำว่า รุ แปลว่า ความมืดมน
(เป็นผู้ขจัดความเขลาที่มืดมน) ในศาสนาพราหมณ์ฮินดู มาจากปรัชญาความเชื่อในความสำคัญของการเข้าถึงความรู้ โดยมี คุรุ หรือ อาจารย์เป็นผู้ชักนำไปสู่จุดสูงสุด
ในประเทศอินเดียในปัจจุบัน สำหรับผู้ที่นับถือศาสนาฮินดู และซิกข์ คำ คุรุ นี้ยังคงความ
หมายของความศักดิ์สิทธิ์ เช่นคุรุนานัก คุรุปัทมสัมภวะ คุรุนาคารชุน
คุรุ ในภาษาสันสกฤตนั้นยังใช้หมายถึง พฤหัสบดี ซึ่งเป็นเทพเจ้าองค์หนึ่ง ซึ่งตรงกับเทพเจ้าจูปิเตอร์ของชาวโรมันนั่นเอง
ตามความเชื่อในศาสนาฮินดูนั้น ดาว จูปีเตอร์/คุรุ/พฤหัสบดี ถือว่าเป็นดาวที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ ในภาษาต่างๆ ของอินเดีย
คำว่า พฤหัสปติวาร(วันพฤหัสบดี) จะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าว่า คุรุวาร(วันคุรุ) โดย วาร นั้นหมายถึงวัน
คุรุ ในอินเดียในทุกวันนี้ใช้ในความหมายทั่วไป หมายถึง "ครู"
ในประเทศตะวันตก คุรุ ยังใช้ในความหมายที่กว้างขึ้นหมายถึง บุคคลที่เผยแพร่ศาสนา หรือ กลุ่มความเชื่อตามปรัชญาต่างๆ
คำนี้ยังใช้ในความหมายเชิงอุปมา หมายถึงบุคคลผู้ซึ่งอยู่ในสถานะที่เชื่อถือได้ เนื่องมาจากความรู้ และความชำนาญ ที่เป็นที่ประจักษ์และยอมรับ
ในปัจจุบันระบบการศึกษาของบ้านเราได้ขยายตัวเบ่งบานออกไปมาก จะเห็นได้จากมีการจัดตั้งสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเกิดขึ้นมาก ในระยะเวลาเปรียบเทียบกับสิบปีที่ผ่านมาอย่างเปรียบเทียบกันแทบไม่ได้ ยิ่งถ้ามานับจำนวนครู อาจารย์และนักศึกษาแล้ มากจริงๆ แต่ถ้าจะให้เปรียบเทียบกับประชากรทั้งประเทศแล้ว ก็ยังถือว่าน้อย
แต่ในระบบการศึกษาในประเทศสารขันธ์นี้ ก็ยังมีระบบการศึกษาแบบระบบเปิดคือสามารถดูได้จากสื่อหลายๆสื่อ ตลอดจนหาความรู้ได้จากสื่อทางวิทยุและทีวี ตลอดจนสื่อที่ผ่านทางดาวเทียม อินเตอร์เน็ท และสื่ออื่นๆอีกมากมาย
ผู้คนสมัยนี้จึงมีความรู้จากแหล่งความรู้ต่างๆที่ซึมซับมามาก จะเห็นได้จากการใช้คำพูดของผู้คนในประเทศนี้ที่เริ่มจะมีเหตุผลของตนที่น่ารับฟังอยู่กล้าแสงออกมากขึ้น แม้จะไม่สามารถกำหนดไ้ด้ว่าถูกหรือผิด แต่ก็มีเหตุผลชวนฟังไม่น้อย หากฟังด้วยความเป็นกลาง
การศึกษาในระบบการศึกษาและนอกระบบการศึกษา ทำให้หลายๆคนมีความรู้ขึ้นมาก โวหารหรือคำพูดที่แสดงออกมาล้วนแล้วแต่เกิดจากการเรียนรู้ แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดในแต่ละกลุ่มก็ยังมีผู้คนที่ใช้ภาษาที่พูดตามๆกันไป ไม่ว่าจะคิดหรือพิจารณามากันแล้วหรือไม่
การศึกษาในปัจจุบันนี้ ความรู้ได้แตกแขนงออกไปมาก แม้วิทยาการบางด้านยังแตกสาขาออกไปมากจนน่าเวียนหัว แล้วใช้คำว่า"ผู้เชี่ยวชาญเเฉพาะด้าน"มาปิดท้ายความสงสัยที่ว่าจะเรียนรู้เจาะลึกกันไปทำไม
ผู้คนส่วนใหญ่ในหลายๆกลุ่มเริ่มแสดงตนเองว่าเป็นผู้รู้ ไม่ว่าจะจบภาคการศึกษามาจากระดับใดตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาจนกระทั่งปริญญาเอก ผู้หยั่งรู้ก็เกิดขึ้นมากมาย ไม่เชื่อลองโยนคำถามอะไรก็ได้เข้าไปในกลุ่มผู้ฟัง ผู้วิพากษ์วิจารณ์ต่างก็แสดงตัวตนกันออกมามากมาย จนผู้เขียนยอมรับคำพูดที่ว่าปากมีหนึ่งปากแต่ทำงานมากกว่าหูที่มีสองข้าง เพราะคนที่พูดมีมากกว่าคนฟังหลือจะกล่าว
หากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไป ไม่ต้องหลับตานึกภาพหรอก ให้ลืมตานึกภาพก็จะเห็นว่าความวุ่นวายทุกหย่อมหญ้าจะเกิดขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะทุกคนที่พูดมักจะโน้มเอียงไปในคำที่ว่า"กูรู้" กูรู้ว่าจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร แต่ในความเป็นจริงแล้ว มันแก้ได้จริงหรือ
เหมือนผู้เขียนแก่นธรรมตอนหนึ่งที่พูดถึงเรื่องการประชุมในธุรกิจของบริษัท ผู้เข้าร่วมประชุมมานั่งประชุมกันช่วยกันคิดหัวแทบแตก แต่พอถึงเวลาตัดสินใจ คำตอบสรุปมักจะออกมาได้ว่า"กูไม่รู้"เว้นเสียแต่ว่าเจ้าของกิจการหรือเจ้าของธรงกิจมานั่งประชุมด้วย จึงจะมีข้อสรุปว่าจะจัดการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร เพราะเจ้าของธุรกิจหรือเจ้าของกิจการจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบโด ยตรงในสิ่งหรือปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างยากจะหลีกได้
ยกตัวอย่างในขณะนี้เช่นธุรกิจที่ประสบภัยน้ำท่วมที่ประกอบธุรกิจโรงงาน เครื่องจักรเสียหาย สต๊อกสินค้าและวัตถุดิบเสียหาย แม้จะมีประกันครอบคลุมบ้างหรือไม่มีประกันคุ้มครองก็ยิ่งแย่ไปใหญ่
แต่มีปัญาหนักๆรอให้แก้กันมากมายพร้อมคำถามว่า"จะทำหรือแก้อย่างไรดี" และผู้เขียนเชื่อว่าเจ้าของกิจการก็อยากจะได้ยินคนที่จะมาช่วยแก้ปัญหาให้ตนนั้นพูดว่า"กูรู้"และรู้จริงในสิ่งที่เขาหรือเธอพูดออกมา
อย่างน้อยธุรกิจก็ยังมีทางออก และมีหนทางที่จะรอดจากภัยพิบัติในครั้งนี้ ที่ทิ้งปัญหาในระยะสั้นและระยะยาวไว้มากมาย และอาจจะมากจนคนนึกไม่ถึง
ประเพณี วัฒนธรรม ศีลธรรม เป็นปัญญาขั้นต้นให้ผู้คนอยู่กันด้วยความรักและสามมัคคีอย่างสงบสุข ลดความขัดแย้งทางความคิด เพื่อให้ผู้คนมีวิถีชีวิตไปในทางเดียวกัน แบ่งปันความสุขกัน
แต่ในความเป็นจริงในโลกปัจจุบัน ที่เจริญกันทางวัตถุอย่างสุดโต่ง แย่งกันบริโภค แย่งกันใช้ทรัพยากร และยังแข่งกันที่จะแย่งอะไรที่คิดว่าไม่ผิดทั้งทางตรงทางอ้อม โดยไม่ได้พิจารณาให้ถี่ถ้วนเลยว่า สิ่งที่ตามมาคือความเดือดร้อน
แม้กระทั่งเรื่องของธรรมะ ที่มีผู้ถามและผู้ตอบมากกมายในคอลั่มน์ต่างๆ ในfaceในเว็บธรรมะทางอินเตอร์เน็ท แต่จะมีคำตอบที่ถูกต้องและชัดเจนมากน้อยสักเท่าไร ที่มันใช่และจริงตามความรู้ของผู้ตอบ และจะถูกใจผู้ถามหรือไม่
แม้คำตอบจะเป็นความจริงที่ไม่สามารถปฎิเสธได้เลยก็ตาม
ในสังคมของผู้คนในประเทศสารขันธ์ในขณะนี้ มีแต่ผู้รู้เต็มบ้านเต็มเมืองไปหมด และที่ตามมา็้ก็คือความวุ่นวายของผู้คนที่ล้วนแล้วเกิดมาจากความทุกข์ยากจากภัยพิบัติ แต่ส่วนหนึ่งเกิดจากความเห็นผิด
แม้บางคนถึงกับพูดว่ารู้นะว่าคนอื่นคิดอะไรอยู่ แต่ในความเป็นจริงแล้วท่านรู้เช่นนั้นจริงหรือที่เรียกกันว่าเจโตปริยญาณหรือการหยั่งรู้วาระจิตผู้อื่น
แต่จะมีสักกี่คนกันนะที่รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจที่เรียกว่ามีสติสัมปชัญญะ

ธรรมะสวัสดี

หลักการพื้นฐานในการสร้างคุณธรรมให้เกิดขึ้นได้ง่าย ๆ ที่บ้าน ดังนี้

หลักการพื้นฐานในการสร้างคุณธรรมให้เกิดขึ้นได้ง่าย ๆ ที่บ้าน ดังนี้

1. กำหนดว่าคุณค่าของคนคืออะไร เช่น คนที่ซื่อสัตย์ คนที่ทำงานหนัก คนที่รักครอบครัว คนที่เข้าใจผู้อื่น หรือแม้แต่การพาลูกไปทำกิจกรรมช่วยสังคมในรูปแบบต่าง ๆ เหล่านี้ควรเป็นกรอบที่คุณพ่อคุณแม่สร้างเสริมให้ลูกเข้าใจและปฏิบัติในภาย ภาคหน้า

2.ให้คำชมลูกสม่ำเสมอ คุณพ่อคุณแม่หลายท่านพยายามจับผิดลูก ด้วยคิดว่าจะเอาความผิดนั้นมาสอน จริง ๆ แล้วนักจิตวิทยาจากโรงพยาบาลเด็กในชิคาโกกล่าวว่า ยิ่งคุณพ่อคุณแม่พูดคำว่า “ไม่” หรือ “ห้าม” บ่อยเท่าไหร่ จะยิ่งทำให้ลูกรู้สึกว่าทำอะไรก็ผิดไปหมด ดังนั้นเมื่อคุณแม่ต้องการจะสอนลูกเรื่องแบ่งปัน แทนที่คุณแม่จะว่าลูกที่ไม่แบ่งปัน ก็ควรจะชมลูกเมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกแบ่งปันของให้กับผู้อื่น

3.พยายามหาโอกาสในการสอน เช่น คุณพ่อคุณแม่อาจจะอ่านข่าวเรื่องการเก็บเงินแล้วส่งคืนเจ้าของ ก็สามารถนำเรื่องลักษณะนี้มาสอนและชื่นชมไปด้วยพร้อมกัน

4.ลูกทำอะไรก็ควรทำด้วย เรื่องนี้นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยบอสตันกล่าวไว้ว่า โดยธรรมชาติแล้วเด็กมีแนวโน้มที่จะเลียนแบบทั้งในเรื่องที่ดีและเรื่องที่ ไม่ดี ซึ่งนั่นหมายความว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่เด็กดูทีวีหรือเล่นเกมที่มีความรุนแรงโดยไม่ได้รับคำแนะนำ เด็กก็มีแนวโน้มจะเลียนแบบพฤติกรรมเหล่านั้นมาใช้ในชีวิตจริง ดังนั้น เด็กควรจะต้องได้รับคำแนะนำ ความรัก และความเข้าใจจากคนรอบข้าง เช่น การสอนที่ว่า จะเล่นดี ๆ ได้อย่างไร จะเล่นอย่างไรจึงจะปลอดภัยและมีน้ำใจ รวมถึงการอธิบายว่าพฤติกรรมในเกมเป็นสิ่งที่ไม่สามารถนำมาใช้จริงได้และไม่ ควรลอกเลียนแบบ

5.ชี้ให้เห็นผลกระทบต่าง ๆ เช่น ในกรณีที่พี่ชายทำตุ๊กตาของน้องสาวหาย คุณพ่อคุณแม่อาจกล่าวว่า น้องเสียใจมาก ๆ เลย ถ้าหุ่นยนต์ลูกหาย ลูกก็คงเสียใจเหมือนกัน หรือถ้ามีการต้องลงโทษก็ควรให้เด็กมีโอกาสที่จะเลือกวิธีการถูกลงโทษด้วยตน เอง เช่น อาจให้เลือกใน 2 กรณี คือการโดนตัดค่าขนม หรือการไปขอโทษน้องด้วยความรู้สึกผิดจริง ๆ ซึ่งการให้ทางเลือกกับเด็ก จะช่วยส่งเสริมวิธีการตัดสินใจที่ดีได้ในอนาคต

6.พยายามชี้ให้เห็นถึงใจเขาใจเรา เช่น ถ้าพี่ผลักน้อง คุณแม่อาจจะพูดว่า น้องเจ็บนะครับ ลูกจะรู้สึกอย่างไรถ้ามีคนมาผลักลูกบ้าง ซึ่งการเอาใจเขามาใส่ใจเรานี้จะเป็นคุณธรรมเบื้องต้นสำหรับการเป็นผู้ใหญ่ใน วันข้างหน้าต่อไป

แบบทดสอบที่สำคัญมากในการตัดสินว่าลูกได้รับการปลูกฝังด้านคุณธรรมมากพอ คือ พฤติกรรมต่าง ๆ ที่ลูกทำลับหลังคุณพ่อคุณแม่ ซึ่ง ด้วยความรักและความเข้าใจของคุณพ่อคุณแม่แล้ว ในท้ายที่สุด การที่ลูกเติบโตมาพร้อมกับความเป็นคนดี และมีคุณธรรมนั้นน่าจะเป็นสิ่งที่สำคัญและน่าภูมิใจที่สุดเช่นกัน.

สัมมาทิฏฐิทั้ง ๑๐ ประการนี้ โดยเนื้อแท้ คือเรื่องของ “กฎแห่งกรรม”

มิได้เกิดจากการดลบันดาลจากอำนาจของพระเจ้าองค์ใด และไม่มีใครมารับผลของกรรมแทนบุคคลอื่นได้
พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ในพระสูตรหนึ่ง ชื่อว่า “ปุพพังคสูตร” ปรากฏอยู่ในพระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสกนิบาต ว่า

“ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ก่อนที่ดวงอาทิตย์จะส่องสว่างเหนือโลกหล้า ย่อมมีแสงเงินแสงทองจับขึ้นที่ขอบฟ้า เป็นนิมิตเบื้องต้นให้เห็นก่อนฉันใด ก่อนที่กุศลธรรมทั้งหลายจะบังเกิดขึ้น ย่อมมีสัมมาทิฏฐิ เป็นนิมิตเบื้องต้นให้เห็นก่อนฉันนั้น”

สัมมาทิฏฐิที่เป็นเบื้องต้นของกุศลธรรมนั้น มี ๑๐ ประการ ได้แก่

ทานที่ให้แล้วมีผล
การสงเคราะห์กันมีผล
การยกย่องบูชาบุคคลที่ควรบูชามีผล
ผลแห่งกรรมดีและกรรมชั่วมีจริง
โลกนี้มี (ที่มา)
โลกหน้ามี (ที่ไป)
แม่มี
พ่อมี
สัตว์ที่เกิดแบบโอปปาติกะมี
พระอรหันต์ผู้หมดกิเลสแล้วมี
สัมมาทิฏฐิทั้ง ๑๐ ประการนี้ โดยเนื้อแท้ คือเรื่องของ “กฎแห่งกรรม” ซึ่งการที่พระพุทธองค์ตรัสสอนเรื่องสัมมาทิฏฐิ ๑๐ ประการนี้ก่อนอย่างอื่น ก็เพราะว่า สัมมาทิฏฐิทั้ง ๑๐ ประการนี้ เป็นเบื้องต้นของความดีทุกประการของคนเรา การประพฤติกรรมดีหรือชั่ว หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่าการกระทำความดีและความชั่วของคนเรานั้น ทำได้ ๓ ทาง คือ ทางกาย (กายกรรม) วาจา (วจีกรรม) และใจ(มโนกรรม) และไม่ว่าเราทำอะไรไว้ทั้งกรรมดีและชั่วก็ตาม เราจะต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้นเสมอ จะให้ใครมารับผลกรรมแทนเราไม่ได้

เมื่อทำความเข้าใจพื้นฐานตรงนี้แล้ว ความตระหนักในความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองก็จะเกิดขึ้นตามมา มีผลที่ทำให้ใจของเขาสว่างพอที่จะมองออกต่อไปว่า พระธรรมคำสอนต่างๆ ที่มีอยู่ในพระพุทธศาสนานี้ แท้จริงทุกคำสอนล้วนเป็นการสอนให้เกิดความเข้าใจถูกในเรื่องกฎแห่งกรรมดี และกฎกรรมชั่ว
เมื่อความเข้าใจของใครก็ตามที่มีใจสว่างมาถึงระดับนี้ ความซาบซึ้งในเรื่อง “กฎแห่งกรรม”“นิสัยดีๆ” ประจำตัวเขาขึ้นมา แล้วก็ทำให้เขาสามารถทำความดีต่างๆ ให้สูงยิ่งขึ้นไป
ในทางตรงกันข้าม ถ้าสัมมาทิฏฐิทั้ง ๑๐ ประการนี้ ไม่เกิดขึ้น แล้วอะไรจะเกิดขึ้นแทน คำตอบ ก็คือ ความเห็นผิดเป็นชอบจะเกิดขึ้นแทน เมื่อเห็นผิดเป็นชอบจึงทำความชั่ว เมื่อทำความชั่วบ่อยเข้า นิสัยเลวๆ ก็เกิด การสั่งสมอาสวะก็เกิด ผลทุกข์ที่เดือดร้อนแสนสาหัสที่ยาวนานก็เกิด และกลายเป็นความทุกข์ที่ไม่สิ้นสุด จนกว่าจะคิดได้ในวันใดวันหนึ่ง วันนั้นจึงจะเริ่มทำความเข้าใจกฎแห่งกรรม แต่ถ้าในยุคนนั้น ไม่มีพระพุทธศาสนามาบังเกิดขึ้น ก็จะต้องทุกข์ต่อไป วันใดเข้าใจในสัมมาทิฏฐิเบื้องต้น ๑๐ ประการ วันนั้น คือวันที่จะได้มีโอกาสพ้นทุกข์
ดังนั้น สัมมาทิฏฐิเบื้องต้นทั้ง ๑๐ ประการนี้ จึงเป็นเหมือนกับฐานรากของความดีทุกประการในโลกนี้ อุปมาเหมือนการสร้างตึกสูง ๑๐๐ ชั้น ถ้าฐานรากของตึกไม่แข็งแรงมั่นคง ตึกก็ย่อมต้องพังถล่มลงมาเป็นซากอิฐซากปูน ฉันใด ความดีของคนเราก็เช่นกัน จะพัฒนาสูงขึ้นไปได้เรื่อยๆ ไม่ดีแตกเสียกลางทาง ก็ต่อเมื่อเขามีสัมมาทิฏฐิเบื้องต้น ๑๐ ประการ เป็นฐานรากที่แข็งแรงมั่นคง ฉันนั้น
ด้วยเหตุที่การศึกษาเรื่องสัมมาทิฏฐิเบื้องต้น ๑๐ ประการ เป็นเรื่องใหญ่ของมวลมนุษยชาติเช่นนี้ พระพุทธองค์จึงได้ตรัสว่า สัมมาทิฏฐิเบื้องต้น ๑๐ ประการนี้ เป็นเบื้องต้นของกุศลกรรมทั้งหลายของมนุษย์ เพราะฉะนั้น เพื่อให้เราดำเนินชีวิตในโลกนี้ได้อย่างปลอดภัย เราจึงต้องศึกษาสัมมาทิฏฐิทั้ง ๑๐ ประการนี้ให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ถ้าเราแยกไม่ออกว่าเส้นทางไหนคือเส้นทางแห่งความดีและความชั่ว เราก็จะมีโอกาสพลาดไปทำความชั่ว แล้วผลทุกข์แห่งความชั่วก็ย่อมตกมาถึงตัวเรา ของเขาก็จะยิ่งทับทวีแก่กล้าขึ้นไป และจะส่งผลให้ตัดสินใจเลือกทำแต่กรรมดีได้อย่างถูกต้อง เช่น เริ่มตั้งแต่เลือกคิดในเรื่องดีๆ เลือกพูดในเรื่องดีๆ เลือกทำในสิ่งที่ดีๆ เลือกประกอบอาชีพที่ไม่ก่อบาปก่อเวร พากเพียรทำความดีเพิ่มยิ่งขึ้นไป มีสติระมัดระวังตนไม่ให้พลาดพลั้งกลับไปทำความชั่ว และมีสมาธิที่แน่วแน่มั่นคงในการทำความดี ไม่หวั่นไหวกับอุปสรรคใดๆ ที่มาขวางกั้นทั้งสิ้น ในที่สุด ความดีที่เขาทำผ่านกาย วาจา ใจรอบแล้วรอบเล่านี้ ก็ได้กลายเป็นนิสัยดีๆประจำตัวเขาขึ้นมา แล้วก็ทำให้เขาสามารถทำความดีต่างๆให้สูงยิ่งขึ้นไป

วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สิ่งดี ๆ ที่ผมได้จากน้ำท่วม

สิ่งดี ๆ ที่ผมได้จากน้ำท่วม
« เมื่อ ตุลาคม 25, 2011, 03:46:47 PM »
http://www.thailandsusu.com/webboard/index.php?PHPSESSID=5939bd36e7fc1e5af1e988b54501355b&topic=203396.msg4222176#msg4222176

ผมพักอยู่ประตูน้ำพระอินทร์ อยุธยา แต่ที่ทำงานอยู่ลาดพร้าว 80 ผมต้องเดินทางไปกลับทุกวัน (บริษัทฯมีรถรับ-ส่งแค่สะพานใหม่)
ตอนเช้าผมจะตื่นตีสี่ครึ่ง ทำธุระส่วนตัว แล้วออกมารอรถประมาณ ตีห้ากว่า ๆ โดยผมจะนั่งรถเมล์มาลงที่รังสิต แล้วต่อรถตู้ มาลาดพร้าว 80
โดยภาพที่ผมเห็นจนชินตาก็คือ ทุกคนที่รอรถ ตรงหน้าเมเจอร์รังสิต ต่างรีบวิ่งลงไปบนพื้นถนนโดยไม่นึกกลัวว่า รถจะชน หรือกรีดขวางการจราจร เมื่อเห็นรถตู้แล่นเข้ามาเทียบท่า ต่างแย่งชิง ทั้งเบียดเสียด บางครั้งก็มีถ้อยคำด่าทอเสีย ๆหาย ๆ ตามมา ไม่ว่าหญิงหรือชาย
คนขับบางคน ก็พูดจาไม่สุภาพ ขับรถเหมือนแม่ป่วยต้องนำส่งโรงพยาบาลก็ไม่ปาน ปกติรถตู้สามารถนั่งได้ 14-15 คน แต่นี่มีการเสริมเบาะนั่งให้ได้ 20 คน แออัดยัดเยียดเบียดเสียดจนแทบจะเป็นผัวเมียกันทั้งคันรถ พอรถออกตัว หน่วยคอลเซ็นเตอร์ ก็เริ่มทำงานทันที คือ ควักมือถือออกมาแล้วคุยอย่างออกรสออกชาดประหนึ่งว่า กรูนั่งมาในรถคนเดียว ไม่สนใจคนรอบข้าง คนขับก็ไม่ยอมน้อยหน้า โทรด่ากับเมียด้วยถ้อยคำที่ไม่รู้ไปขุดมาจากใหน บางครั้งมีแถมแจกกล้วยให้รถคันที่วิ่งแซงไปด้วย นี่เป็นชีวิตประจำวันตลอด 3 ปีที่ผ่านมา

แต่.........เมื่อวานนี้เอง ผมรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงบางอย่าง แน่นอนครับ " น้ำท่วม "
หลายคนบอกน้ำท่วมมันดีตรงใหน ใช่ครับน้ำท่วมไม่ใช่สิ่งที่ผู้คนปรารถนา แต่น้ำท่วม ทำให้ผมได้เห็นชีวิตในอีกแง่มุมหนึ่งของผู้คนในเมืองฟ้าผ่องอำไพแห่งนี้ วันนี้ ผมเลิกงาน 5 โมงเย็นจึงนั่งรถบริษัท ฯ มาลงสะพานใหม่ แล้วนั่งรถเมล์สาย 39 ต่อ เพราะน้ำท่วมรถตู้วิ่งไม่ได้ รถเมล์วิ่งลุยน้ำมาถึง กม.25 ก็ต้องหยุดเนื่องจากว่า น้ำลึกไปต่อไม่ไหว กระเป๋าจึงแจ้งให้ผู้โดยสารลงจากรถ เพื่อให้ไปต่อรถทหาร(ซึ่งไม่รู้ว่าจะมา ตอนใหน) ผมเดินลุยน้ำมารอบริเวณเกาะกลางถนน ซึ่งมีผู้คนยืนรออยู่ประมาณ 30 คน ผู้คนเหล่านั้นต่างก็มีสีหน้าที่กังวล บ้างก็หันหน้าพูดคุยสอบถามว่าจะไปไหน จะมีรถหรือเปล่า ไอ้หนุ่มนักศึกษาถามป้าว่า จะไปไหน มาให้ผมช่วยถือของ พี่ผู้ชายมีหนวดช่วยอุ้มเด็ก 3 ขวบที่มากับแม่ที่หิ้วของพะรุงพะรัง แฟนสาวของไอ้หนุ่มนักศึกษาช่วยคุณแม่ของเด็กหิ้วกระเป๋า อีกมือใช้กระดาษพัดไล่ยุงให้เด็กน้อย ลุงแก่ ๆ สองคนที่นั่งบนราวเกาะกลางถนนเขยิบพร้อมเอ่ยปากเชิญให้ชายแก่อีกคน ที่ยืนอยู่ข้าง ๆ มานั่งด้วยกัน


จากนั้นก็จะมีรถผ่านมาเรื่อย ๆ และสิ่งที่ผมเห็นรถเกือบทุกคันจะเปิดกระจก แล้วโผล่หน้าออกมาถามว่าจะไปใหน ถ้าผ่านจุดที่ใครจะไป คนนั้นก็จะขึ้นไป คนที่อยู่ใกล้ ๆ ไปกันเกือบหมดแล้ว จะเหลือพวกที่อยู่แถว ประทานพร บางขัน นวนคร และผม ประตูน้ำพระอินทร์ รวมแล้วน่าจะประมาณ 17 คน เรารออยู่ประมาณสองชั่วโมงก็มีรถโฟรวีลคันหนึ่งผ่านมา คนขับหน้าตายังวัยรุ่นเปิดกระจกออกมาถามพวกเราว่ามีไครไปนวนครไม๊ครับ เท่านั้นแหละทุกคนต่างยิ้มแก้มแทบปริ พวกเรารีบทะยอยขึ้นรถ บ้างก็ช่วยดึงกันขึ้น บ้างก็ช่วยถือของโดยไม่ต้องเอ่ยปากบอก แต่สิ่งที่พวกเราลืมคิดนะตอนนั้นคือ จำนวนคนกับรถมันไม่เหมาะสมกัน เนื่องจากโฟร์วีลกะบะมันเล็ก เมื่อพวกเราขึ้นแล้วมันจุได้แค่ 12 คน ที่เหลืออีก 5 คนคือ ไอ้หนุ่มนักศึกษากับแฟน ลุงแก่ ๆ 2 คน และผม พวกเรามองหน้ากัน พี่ผู้ชายมีหนวดที่เคยอุ้มเด็กเอ่ยปากขึ้นว่า พวกคุณไปกันก่อน เดี๋ยวผมรอคันหลังแล้วก็กระโดดลงรถเพื่อให้แฟนสาวของไอ้หนุ่มนักศึกษาขึ้นไป แฟนไอ้หนุ่มนักศึกษาบอกไม่เป็นไรให้ลุงไปก่อนดีกว่าเดี๋ยวหนูกับแฟนรอไปคันหลัง และอีกหลายคนที่แสดงเจตจำนงค์ที่จะเสียสละ แต่แล้วสิ่งที่ทำให้ผมต้องกลั้นน้ำตาไม่อยู่ก็คือ ป้าที่นั่งอยู่ลุกขึ้นแล้วพูดว่า "ถ้าจะไปก็ต้องไปด้วยกัน" ให้พวกเราทุกคนยืนขึ้นก็จะสามารถขึ้นมาได้อีก จริงอย่างที่แกพูด พวกเราที่เหลือขึ้นมาบนรถได้
จากนั้น พวกเราก็ยืนกอดเอวกันไว้ให้เป็นวงกลมอย่างแน่น เพื่อจะได้ไม่ล้ม เวลารถวิ่ง


จากนั้นรถก็เริ่มวิ่งลุยน้ำมาเรื่อย ๆ อย่างช้า ๆ ในขณะนั้นสิ่งที่ผมสังเกตุเห็น คือ รอยยิ้มจากมุมปากของทุกคน บางคนก็มีมุกให้พวกเราได้หัวเราะกันอย่างสนุกสนาน ดูแล้วแทบไม่น่าเชื่อเลยว่า กลุ่มคนเหล่านี้ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนเลย และเมื่อถึงจุดที่มีคนลงรถ พวกเราก็จะร่ำลาและอวยพรให้กันและกันเหมือนประหนึ่งกับญาติตัวเองไม่มีผิด


จนในที่สุด รถก็วิ่งมาถึงนวนคร ซึ่งเป็นจุดสุดท้าย พวกเราที่เหลือลงจากรถแล้ว ก็เดินไปไหว้ขอบคุณเจ้าของรถ แล้วผมก็โบกมือลาไอ้หนุ่มนักศึกษากับแฟนเพื่อเดินต่อจากนวนครไปประตูน้ำพระอินทร์ ผมเดินไปยิ้มไป ร้องเพลงบ้าง ผิวปากบ้าง อย่างอารมณ์ดีแบบที่ไม่เคยรู้สึกอย่างนี้มาก่อน
เหตุการณ์ในวันนี้ ทำให้ผมรู้ว่า "แสงสว่างนั้น ซ่อนอยู่หลังความมืดมิดเสมอ"


นายหงษ์แก่

การระลึกชาติของ..หลวงพ่อสมชาย วัดเขาสุกิม จ.จันทบุรี

ตามประวัติของท่านเล่าว่า ชีวิตในเยาว์วัยอายุได้ ๒ ขวบ มารดาของท่านก็ถึงมรณะกรรม คุณตาของท่านก็รับภาระ เลี้ยงดู สิ้นบุญของคุณตาหลวงพ่อสมชายก็มาอาศัยอยู่กับญาติ ซึ่งมีฐานะเป็นลูกผู้พี่ แต่เมื่อพี่สะไภ้ได้เสียชีวิตจากไป ท่านต้องรับภาระเลี้ยงดูหลาน ๔ -๕ คนแทนเพราะพี่ชายเมื่อสิ้นพี่สะไภ้ ก็กระทำตัวเป็นนักเลงหัวไม้ หาได้สนใจในหน้าที่ของพ่อที่มีต่อลูกไม่

ท่านจึงได้พยายามสร้าง ฐานะขึ้นมา ให้ทัดเทียมกับผู้อื่น ด้วยอุปนิสัยที่เป็นผู้มีนิสัยเด็ดเดี่ยว เอาจริง ถ้าตั้งใจจะทำสิ่งใดแล้วต้องทำให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เป็นนักเสียสละบำเพ็ญประโยชน์ ของส่วนรวม ไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก เป็นผู้มีความทรหดอดทน กล้าหาญ ท่านได้สร้างฐานะขึ้นมาจนสำเร็จ เป็นที่เคารพยกย่อง นับถือของตระกูล ตลอดจนคนทั่วไปในหมู่บ้านนั้น

ระลึกชาติได้

ตอนที่ท่านยังไม่บวช เวลาท่านนอน มือท่านทั้งสองข้างมาพนมเข้าหากัน และบริกรรมว่า "โอม ปถวีๆๆ" ขานั้นก็นั่งขัดสมาธิ หลุดปุ๊บ..ก็ระลึกถึงชาติเก่าทันที ท่านบอกว่าเป็นอยู่อย่างนี้ ระลึกได้ถึง ๔ ปี ทุกคืน และเป็นไปอัตโนมัติ ว่า

ชาติที่ ๑ นั้น ท่านเกิดเป็นฤาษี บวชเป็นฤาษี ลุงของท่านเป็นหัวหน้าฤาษีในชาตินั้น ชาตินี้ลุงของท่านก็กลับมาเป็นพ่อของท่าน

ชาติที่ ๒ ก็เป็นอย่างนั้นอีก (เหมือนชาติที่ ๑)

ชาติ ที่ ๓ ได้เกิดเป็นลูกชาวประมง พอโตขึ้นหน่อย พ่อแม่ก็ให้ออกไปหาปลาเพราะเป็นชาวประมง แต่ท่านไม่เอา ท่านก็เลยบวช พอไปก็ไปพบกับสำนักของฤาษีอีก พอกลับชาตินี้ คือชาติปัจจุบัน ท่านก็กลับมาเป็นลูกของลุงในชาติอดีตคือ "ฤาษี" นั่นเอง กลับมาเกิดเป็นพ่อของท่าน

ภายหลังท่านได้ตั้งสำนักปฏิบัติธรรมบนเขา แล้วตั้งเป็นวัดชื่อว่า วัดเขาสุกิม อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี จนมีชื่อเสียงและเป็นที่เคารพนับถือทั่วไป ต่อมาท่านก็ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ พระวิสุทธิญาณเถระ หลังจากนั้นท่านก็ได้มรณภาพไปในที่สุด

‎" สอนลูกให้ถูกทาง : มีสติรู้กิเลส "

พระไพศาล วิสาโล - Phra Paisal Visalo
‎" สอนลูกให้ถูกทาง : มีสติรู้กิเลส "

มีแม่คนหนึ่งเล่าให้ฟังว่า วันหนึ่งลูกซึ่งอายุแค่ ๔ ขวบ ไม่พอใจย่ามาก ที่เอาดอกไม้กระดาษของตัวเองมาผสมกัน แทนที่จะแยกคนละสี แม่อาสาว่าจะช่วยแยกให้ แต่ลูกก็ไม่ยอม ยืนยันจะให้ย่าทำให้เหมือนเดิม

ปกติคนเป็นแม่ ถ้ารู้ว่าลูกโกรธย่า แม่ก็จะบอกว่า อย่าโกรธย่านะลูก มันไม่ดี แต่แม่คนนี้ไม่ทำอย่างนั้น แม่ถามว่า

“ลูกโกรธย่ามากใช่ไหมที่มาทำของลูกเสีย ไหนลูกบอกแม่ซิ ว่าลูกโกรธย่าแค่ไหน เท่านี้หรือ”

แล้วแม่ก็กางมือออกเล็กน้อย เด็กยังเงียบ แม่จึงกางมือใหญ่กว้างแบบเท่าฟ้า คราวนี้ลูกกางมือออกเท่าฟ้าเหมือนแม่ แสดงว่าลูกโกรธย่าเท่าฟ้า แถมยังบอกแม่ให้ไปบอกย่าด้วยว่าลูกโกรธย่าตั้งเท่านี้ ถ้าเป็นแม่ทั่วไปก็ต้องตกใจที่ลูกโกรธย่าเท่าฟ้า แต่แม่ไม่ตระหนก แม่บอกลูกว่า ได้เลยลูก แม่จะไปบอกย่าให้ พูดแค่นี้ ลูกก็เดินจากไปราวกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น

แม่ไม่ได้สอนลูกให้ต้านกิเลส หรือให้กดข่มความโกรธ แต่แม่ทำหน้าที่เป็นกระจกสะท้อนให้ลูกเห็น ว่าตัวเองมีความโกรธแค่ไหน พอเด็กเห็นปุ๊บ สติเกิดขึ้น ความโกรธก็ค่อย ๆ หายไป

แม่คนหนึ่งก็เล่าคล้าย ๆ กัน ลูกชื่อน้องเพลง อายุแค่ ๓ ขวบครึ่ง เสียใจเพราะกบตาย ร้องไห้ไม่หยุด ทีแรกแม่ก็ใช้วิธีปลอบใจ แต่พูดอย่างไรก็ไม่ได้ผล แม่เลยเปลี่ยนวิธีใหม่ โดยทำหน้าที่สะท้อนความรู้สึกของลูก แม่พูดกับลูกว่า

"น้องเพลงเสียใจที่กบตายใช่ไหม?"

น้องเพลงก็พยักหน้า เสร็จแล้วแม่ก็นั่งอยู่ข้าง ๆ กับลูกเงียบ ๆ ไม่ได้บอกลูกเลย ว่าอย่าเสียใจนะลูก มันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ถ้าพูดอย่างนั้นเด็กไม่รู้เรื่องนะ แม่เพียงแต่ให้เด็กรับรู้ความรู้สึกของเขาโดยที่แม่เป็นตัวสะท้อน พอแม่พูดอย่างนี้ เด็กก็เห็นความรู้สึกของตัวว่ากำลังเสียใจที่กบตาย ความรู้สึกตัวก็เกิดขึ้น พอความรู้สึกตัวเกิดขึ้น ความเสียใจก็ค่อย ๆ หายไป

แม่กำลังสอนลูกให้รู้ทันกิเลส ให้รู้ทัน อารมณ์อกุศล นี่ก็เป็นวิธีการแบบพุทธ ส่วนใหญ่เราจะใช้วิธีการสอนให้เด็กต้านกิเลส ซึ่งก็ดีอยู่ แต่ว่ามันไม่ใช่เป็นวิธีเดียวที่ใช้ได้ ยังมีวิธีอื่นคือการทำให้เด็กรู้ตัว

พระไพศาล วิสาโล

ที่สุด.....

ในสายตาของผู้เขียนในหลายสิบปีที่ผ่านมา ที่ได้รู้ได้เห็นอะไรๆมาหลายๆอย่าง จากประสบการณ์อันหลากหลาย หลังจากที่ได้พบผู้คนมากมาย
หลายๆคนก็ดูเหมือนฉลาดกับเรามาก แต่หลายๆคนที่เราเองก็รู้สึกว่าดูเหมือนโง่กว่าเรา ทั้งๆที่ในความเป็นจริงแล้วความคิดเช่นนี้อาจจะไม่ถูกเลยสักอย่างก็ได้ แต่จากความคิดเห็นในตอนนั้น...มันใช่เลยว่าเราคิดถูก
เพราะในตอนนั้นผู้เขียนแบกยศแบกตำแหน่งเยอะมาก คุมโปรเจ็คเป็นมูลค่าหลายร้อยล้านบาท รวมกันมากกว่าห้าโปรเจ็ค มีลูกน้องในสายบังคับบัญชาโดยตรงกว่าเจ็ดร้อยคน เรียกได้ว่าแทบจะเป็นเจ้าของโปรเจ็คเองก็ว่าได้ เพราะต้องหาเงินเป็นพันล้านบาทเอง ควบคุมวิธีใช้เงินเอง ดูผลผลิตของการใช้เงินว่าจะเกิดอย่างไรเอง แล้วก็เห็นเงินมันเพิ่มขึ้นๆตามผลผลิตที่เกิดขึ้น และส่วนหนึ่งในผลผลิตเหล่านั้นเกิดจากหยาดเหงื่อแรงงานและมันสมองของเราเอง
ท่านผู้อ่านลองคิดตามดูนะครับว่าจากเด็กชายยากจน ที่คิดว่าตัวเองจะมีโอกาสได้เรียนหนังสือน้อยมาก แล้วกลับมาเป็นคนที่ต้องมาแบกยศแบกตำแหน่งแบกความรับผิดชอบมากมาย แถมยังต้องไปนั่งประชุมกับนายกสมาคมต่างๆ รวมทั้งรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ที่มีพื้นเพอยู่แถวๆปทุมธานีที่จมน้ำในขณะนี้ที่ประเทศสารขันธ์เป็นต้น
แต่ด้วยความเป็นคนบ้างาน ก็บากบั่นจนปัญหาร้อยแปดนานาประการผ่านพ้นไปได้ ด้วยดี ทุกปัญหาที่สำคัญยังจดจำได้และที่สำคัญที่ไม่เคยลืมเลยคือลืมตัว เพราะในช่วงงานหนัก ผู้เขียนกลับหาทางออกด้วยการดื่มเหล้า สูบบุหรี่วันละกว่าหลายซองจนเหม็นมือเหม็นหัวตัวเอง แต่ก็ยังหันมานั่งฟังเทศน์ อ่านหนังสือธรรมะอย่างต่อเนื่องยาวนาน เพราะเป็นผู้รักการอ่านมาแต่เด็ก
จนวันหนึ่งเหม็นสาบตัวเองในการดมกลิ่นบุหรี่ และเบื่อการดื่มแอลกอฮอล์ จึงได้วางมือจากบุหรี่และวางแก้วเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของมแอลกอฮอล์ทุกชนิดอย่างไม่สนใจ
ที่สำคัญได้ถอนตัวออกจากการเป็นพ่อพวงมาลัยกับสุภาพสตรีทั้งหลายจนหมดสิ้น ชาติก่อนผู้เขียนคงจะก่อกรรมกับพวกเธอทั้งหลายมายาวนานและมากมาย
คำพูดที่เธออันเป็นที่รักของผู้เขียนเหล่านั้น เกือบแทบทั้งหมดชอบพูดให้ผู้เขียนฟังว่า"แม้ผู้เขียนจะไม่ได้เป็นคนหล่อแต่มีเสน่ห์เหลือเกิน" เลยแบกยศเพิ่มอีกอันหนึ่งว่าเป็นชายเจ้าเสน่ห์กับเขาด้วย
เมื่อวางแก้วเหล้าและบุหรี่ และเริ่มถอยห่างจากเธออันเป็นที่รักทั้งหลาย( จริงๆนะ) แต่ก็ยังเป็นเพื่อนสนิทกับทุกคนจนถึงปัจจุบัน ก็เริ่มรู้สึกตัวเพิ่มขึ้นว่า ความคิดของเราเปลี่ยนไป สุขภาพของเราดีขึ้น หัวสมองปลอดโปร่งขึ้น ใจดีขึ้น แม้แต่เดิมก็ใจดีอยู่แล้ว ขนาดเลขาคู่ใจที่ติดตามผู้เขียนมานานกว่าสิบปี ยังกล่าวชมผู้เขียนเลยว่า ไม่เคยเห็นผู้เขียนดุด่าว่าใครหรือตำหนิผู้ใต้บังคับบัญชาเลยสักคน
จนกระทั่งผู้เขียนได้แต่งงานกับผู้หญิงที่รักมานานและรักที่สุด จนมีลูกชายกับเธอ ก็คือภรรยาของผู้เขียนในปัจจุบัน
หลังจากแต่งงานอย่างราบรื่นมาหลายปี ความคิดแปลกๆก็เกิดขึ้นกับเธอผู้เป็นภรรยา เช่นเมื่อภรรยาได้เอ่ยชมพระรูปหนึ่งให้ผู้เขียนฟังว่าเป็นพระดี และเป็นพระสุปฎิปันโน( ปฏิบัติดีแล้ว )อุชุปฎิปันโน( ปฏิบัติตรงแล้ว ) ญายปฎิปันโน ( ปฏิบัติธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว ) สามีจิปฎิปันโน( ปฏิบัติสมควรแล้ว )รูปหนึ่ง แต่เธอกลับตำหนิคนรอบข้างท่านว่าล้วนแต่ไม่ดีเลย
ผู้เขียนจึงอยากรู้จักท่านขึ้นมา เพราะมีความเชื่อว่าพระดีย่อมทำให้คนรอบข้างดีด้วย เพราะศีลและธรรมของท่านมันเหมือนผงซักฟอก นอกจากจะซักฟอกใจตัวเองให้ขาวสะอาดแล้ว ยังซักฟอกใจของคนรอบข้างได้อีกด้วย
ผู้เขียนจึงได้เข้าไปกราบท่านกับเพื่อนสนิท คือคุณเม้าตาอิน ผู้เป็นนักเขียนที่โด่งดังไม่น้อยในหนังสือประเภทโลกและจักรวาลขณะนี้ พระรูปนั้นคือ"หลวงตาช้วน คุณธมฺโม"แห่งวัดแค นางเลิ้ง
วัดแคนี้เคยมีพระเอกหนังไทยชื่อดังในอดีตคือคุณมิตร ชัยบัญชาที่โด่งดังมานานกว่าพระเอกหนังไทยคนอื่นๆในประวัติศาสตร์เป็นลูกศิษย์ ( ยกเว้นคุณสมบัติ เมทะนี ) เพราะเป็นสุภาพบุรุษรูปหล่อและนิสัยดี จึงมีหนังให้เเสดงกว่าสามร้อยเรื่อง รวมทั้งหนังตอนต่อเรื่องอินทรีย์แดงที่สร้างชื่อเสียงให้กับท่านมาก ซึ่งคนอายุรุ่นห้าสิบปีขึ้นไป จึงจะรู้จักคุณมิตรดี
เนื่องจากุคุณมิตรมีงานแสดงมาก เพราะเป็นพระเอกหนังไทยชื่อดังอันดับหนึ่งในยุคนั้น ( สมัยนี้คงเรียกว่าซุปเปอร์สตาร์ ) จึงหักโหมในงานแสดงและยังจริงจังกับการทำงาน ไม่ยอมใช้ตัวแสดงแทนในหนังบู๊ตอนต่อเรื่องอินทรีย์แดงดังกล่าว จนตกบันไดเฮลิคอปเตอร์เสียชีวิต แล้วก็เอาศพมาทำพิธีที่วัดแคนางเลิ้งนี่แหละ ผู้เขียนแม้ตอนนั้นยังเด็กก็ยังพอจะจำได้ว่ามีผู้คนมาร่วมงานศพของคุณมิตรกันแทบจะเรียกว่ามืดฟ้ามัวดิน ในวัดที่มีโบสถ์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยแห่งนี้
แต่ที่ผู้เขียนรู้จักพระวัดนี้ก็เพียงไม่กี่รูป ที่ใกล้ชิดท่านมากๆก็คือหลวงตาช้วนศิษย์เอกของหลวงปู่ธูป เขมศิริ ( พระราชธรรรมวิจารณ์ )เจ้าอาวาสในสมัยนั้นเพราะเกิดศรัทธาและเลื่อมใสในตัวท่าน ผู้เขียนจึงเริ่มเข้าไปทำบุญที่วัดแค ในตอนนั้นหลวงปู่ธูปท่านได้ล้มป่วยเป็นอัมพาตแล้ว จึงไม่เคยเจอหลวงปู่เลย ทั้งๆที่ท่านเป็นพระวิปัสสนาจารย์ที่มีชื่อเสียงในการเจริญสมาธิวิปัสสนามากในตอนนั้น
ทุกครั้งผู้เขียนจะไปทำบุญถวายค่ายาที่ใช้รักษาหลวงปู่กับหลวงตาช้วน และทุกครั้งหลวงตาช้วนก็จะบอกผู้เขียนว่าท่านรู้นะ ตอนแรกๆที่ผู้เขียนได้ฟังท่านพูด ก็สงสัยอยู่ในใจเสมออยู่เหมือนกันว่า(หลวงปู่ )ท่านจะรู้ได้อย่างไร ในเมื่อผู้เขียนไม่เคยได้กราบหลวงปู่เลย
จนมีอยู่วันหนึ่งที่ผู้เขียนได้เข้าไปกราบหลวงตาช้วน และจะรีบไปทำงานต่างจังหวัด ในตอนนั้นเพิ่งกลับออกมาจากอ๊อฟฟิศก็ตรงมาที่วัดเลย จึงไม่ได้ถอดเน็กไทออก พอก้มลงกราบหลวงตา ท่านก็ทักว่า "หลานจะไปต่างจังหวัดหรือ" ผู้เขียนถามท่านว่ารู้ได้อย่างไร ท่านก็ยิ้ม
เพื่อนคนหนึ่งของท่านสะมะชัยโยไปกราบท่านครั้งแรก เห็นว่าที่จอดรถของวัดน้อยก็เลยจอดรถข้างกำแพงวัดริมฟุตบาท แล้วก็เดินเข้าไปกราบท่านในระยะทางหนึ่งจากรถมาที่กุฎิ หลวงตาช้วน
ท่านยืนหันหลังให้เพื่อนผู้เขียน พอหันหน้ามาก็ถามเพื่อนผู้เขียนเป็นคำทักทายครั้งแรกว่า"โยมเกรงใจวัดขนาดไม่กล้าเข้ามาจอดรถในวัดเลยหรือ" ทำเอาเพื่อนผู้เขียนถึงกับอึ้งและศรัทธาในกิริยาสำรวมของท่านมาก จนมอบตัวเป็นลูกศิษย์ท่านตั้งแต่นั้นมานานกว่าสิบปี
เพื่อนคนนี้มีบริษัทรับเหมาก่อสร้างทีต้องช่วยดูแล มีงานใหญ่งานหนึ่งที่ต้องทำให้เสร็จทันตามกำหนด ตัวอาคารสร้างเสร็จแล้ว เพียงแต่ขาดถนนทางเข้าอาคารที่ยังไม่เสร็จสักที เนื่องจากลงมือทำถนนทีไรก็เจอฝนตกหนักทุกที
สุดท้ายเพื่อนของผู้เขียนก็ไปก้มลงกราบหลวงตาช้วนกับผู้เขียน แล้วกราบเรียนถามท่านว่า"จะทำอย่างใดดี แม้จะใช้วัสดุอย่างดีจากต่างประเทศแล้วก็ไม่สำเร็จ "
ท่านนิ่งอยู่สักพักแล้วก็เอ็ดด้วยความเมตตาว่า"ไม่ต้องใช้ของนอกเลย ให้ใช้หินคลุกก่อนแล้วก็ทำตามแบบชาวบ้านนั้นแหละ เรื่องฝนนั้นไม่ต้องห่วงจะไม่ตกหรอก เพียงแต่ให้ไปตั้งเครื่องไหว้ที่ตรงด้านหน้าทางเข้า แล้วท่านก็กำหนดจุดให้
พอถึงวันที่จะนำไปไหว้ คนงานได้มาแจ้งว่าจุดที่จะมาไหว้นี้เคยขุดไปเจอศพเด็กอยู่ตรงนั้น แต่ก็ดำเนินการถวายเครื่องไหว้เรียบร้อยในวันนั้น งานก็ลุล่วงไปได้ด้วยดีเสร็จตรงตามกำหนดอย่างเฉียดฉิว โดยไม่มีฝนตกลงมาสักหยดหนึ่ง
หลวงตาท่านเป็นพระทันสมัย แต่มักจะกล่าวออกตัวว่าเรียนหนังสือน้อย ไม่มีความรู้อะไร แต่พอยามที่ลูกศิษย์ไปขอปรึกษาปัญหากับท่าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการงานหรือเป็นเรื่องอะไรก็ตาม ทุกคนมักจะได้คำตอบดีๆกลับไปเสมอ
บางครั้งมีคนเครียดไปกราบท่าน ท่านก็จะแนะให้ไปนอนฟังเพลง หากดีขึ้นหน่อยแล้วก็ให้สวดมนต์ แล้วจึงทำสมาธิ
คำสอนยอดฮิตของหลวงตาเรื่องหนึ่งก็คือ หากลูกศิษย์คนใดท้อแท้ ท่านก็จะให้ฟังเสียงฝนกระทบหลังคา แล้วถามว่า"ได้ยินไหมหลานว่า...เสียงอะไร" ลูกศิษย์ยังไม่ทันตอบคำถาม ท่านก็จะเฉลยให้เพื่อไม่ให้เสียเวลาว่า"ซู๋ๆ...หรือสู้ๆไงหลาน" ตามด้วยรอยยิ้มเสมอ
เมื่อประมาณสองอาทิตย์ก่อน ผู้เขียนได้มีโอกาสไปกราบท่านพร้อมน้องชายคนหนึ่ง สนทนาธรรมกับท่านได้สักครู่ใหญ่ และได้ถามท่านว่าหลวงตาถึงธรรมหรือยังครับ ท่านเงียบแล้วก็ยิ้ม ผิดไปจากหลายครั้งที่ท่านจะพูดเสมอว่ามีแต่หลวงปู่เท่านั้นที่เป็นพระพ้นโลก แล้วท่านก็ชี้ให้กราบรูปหล่อคล้ายหลวงปู่ ผู้เชียนจับมือท่านใส่ศีรษะท่านก็ลูบแล้วอวยพรให้อย่างเมตตาพร้อมกับน้องชายที่ตามไปด้วย แล้วพูดว่า"สุวิชาโน ภวังโหตุ ผู้รู้เป็นผู้เจริญ"
เมื่อวันที่17/10/54ที่ผ่านมา ผู้เขียนทราบข่าวจากลูกศิษย์ของหลวงตาคนหนึ่งว่าท่านละสังขารแล้ว หลังจากป่วยด้วยโรคมะเร็งร้ายมานานหลายปี แต่หลายๆคนไม่เคยทราบเรื่องโรคร้ายนี้เลย เพราะหลวงตาไม่เคยพูดถึงเรื่องนี้ มีแต่ยิ้มรับและนิ่งเฉย
ตอนนี้ผู้เขียนรู้แล้วนะครับว่าที่หลวงตาพูดว่าหลวงปู่ธูป เขมศิริ รู้แล้วตอนที่หลานคนนี้ไปถวายค่ายารักษาหลวงปู่กับหลวงตา แม้ไม่ได้เข้าพบและกราบท่านเองก็ตาม
ที่สุดไม่ว่าจะเป็นดีที่สุด เลวที่สุด สุดท้ายมันเกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วก็ดับไป ถ้าไม่มีตอนต่อจากเรื่องที่สุดทุกเรื่องมันคงจะดีนะครับ
คำว่าที่สุด...นี้บอกว่าถึงจะที่สุดอย่างไรก็ตาม ถ้ายังไม่ได้เห็นความจริงในอริยมรรคและอริยผลแล้ว ก็ยังมีจุด จุด จุดอยู่ คือยังคงเวียนว่านตายเกิดอยู่นั้นเอง เอวัง

ธรรมะสวัสดี

แทนสะมะชัยโย

16 ประโยชน์ของน้ำส้มสายชู

ใช้ลดไข้ เอาน้ำส้มผสมน้ำ 1 ต่อ 2 ส่วน เอาผ้าชุบเช็ดตัวคนไข้
ขจัดรังแค เอาน้ำส้มสายชู ชุปผ้าเช็ดศีรษะก่อนนอนทุกคืน
ป้องกันสีผ้าตก เอาน้ำส้มสายชู 1 ถ้วย ผสมน้ำแช่ผ้าไว้สัก 15 นาที ก่อนซัก สีจะไม่ตกและยังมีสีสดขึ้นอีกด้วย
แก้สิว เอาน้ำส้มสายชู 1 ช้อนชาผสมน้ำเชื่อมพอหวานนิดๆ ดื่มตอนเช้าๆ ทุกวัน 1 สัปดาห์ สิวจะหาย
แก้ไฝฝ้า ไข่ขาวไข่ไก่ 1 ฟอง ผสมน้ำส้ม 1 ช้อนชา ตีเป็นฟอง ทาหน้าก่อนนอนทุกคืน ถ้าหน้าแห้งใช้ใข่แดง ถ้าเอายางมะละกอครึ่งชอ้นชาผสมลงไปด้วยใช้ลอกหน้าได้ อย่าติดกันเกิน 3 วัน
ให้ยาทาเล็บติดทน เอาเล็บมือจุ่มลงในน้ำส้มสายชูก่อนทาสัก 2-3 นาทีก่อนทา หรือเอาสำลีชุบน้ำส้มสายชูทาเล็บก็ได้
ล้างภาชนะต่างๆ เช่น หม้ออลูมิเนียม มีคราบดำๆ ของผักที่ต้ม ใช้น้ำส้ม 1-2 ช้อนโต๊ะผสมน้ำต้มให้เดือด 30 นาที ทิ้งไว้ให้เย็น ใช้ฝอยเหล็กขัดไปทางเดียวกันอย่าขัดในขณะหม้อกำลังร้อนๆ จะเป็นรอย
แก้กุ้งมีกลิ่นตุๆ เอากุ้งแช่ในน้ำผสมน้ำส้มสายชู 1-2 ช้อนโต๊ะ ประมาณ 15 นาที กุ้งจะขาวขึ้นกลิ่นตุๆ จะหายไปด้วย
ต้มผักให้กรอบ เอาน้ำส้มสายชูใส่ลงในน้ำต้มผัก 1-2 ช้อนโต๊ะ ผักจะกรอบและไม่ดำอีกด้วย ถ้ากะหล่ำดอกให้เอาผ้าขาวบางห่อต้ม ดอกจะไม่แตกกระจายออกจากกัน
ต้มปลาไม่ให้เนื้อปลาแตก เอาน้ำส้มสายชูใส่ลงในน้ำต้มปลา 1-2 ช้อนโต๊ะ นอกจากเนื้อปลาจะไม่แตกยังมีสีขาวอีก
ต้มเนื้อให้เปื่อย เอาน้ำส้มสายชูผสมในน้ำต้มเนื้อสัก 1-2 ช้อนโต๊ะ เนื้อจะเปื่อยเร็วขึ้น ถ้าต้มลิ้นวัวจะลอกผิวหนังลิ้นง่ายขึ้นอีกด้วย บางคนใช้ยางมะละกอ กะลามะพร้าว และ น้ำแข็งแทนก็ได้
ล้างปลาทะเลที่มีคาวมากๆ เอาน้ำส้มสายชู 1-2 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำล้างปลา คาวจะหมดไป หรือจะใช้น้ำซาวข้าวแทนก็ได้เหมือนกัน
ขัดพื้นไม้ให้เป็นมัน น้ำส้มสายชู น้ำมันลินซีด แอลกอฮอล์จุดไฟ ผสมอย่างละเท่าๆ กัน ขัดพื้นเป็นเงางามดี
ให้สีฝุ่นสดขึ้น ช่างเขียนสีฝุ่นเวลาผสมสีกับกาว ถ้าเอาน้ำส้มผสมลงไปด้วย สีฝุ่นจะสีสดขึ้นกว่าเดิม
แก้ปวดฟัน เอาลิ้นทะเล (กระดูกขาวในตัวปลาหมึกตัวโตๆ) บดละเอียดผสมน้ำส้มสายชูพอเปียกๆ ทาตรงฟันปวดถ้าไม่หายใช้เกลือ สารส้ม การบูร อย่างละเท่าๆ กันห่อผ้าอมตรงฟันปวด หรือผสมพิมเสนด้วยทำยาสีฟันตองเช้าป้องกันฟันปวดและทำให้ฟันทนอีกด้วย
แก้เจ็บคอ ใช้นำส้มผสมน้ำมันสะระแหน่อย่างละเท่าๆ กัน อมไว้อย่ากลืน หรือใบสะระแหน่มาขยี้ผสมน้ำส้มอมแทนก็ได้ แต่ได้ผลไม่เหมือนน้ำมันสะระแหน่
จากหนังสือ เคล็ดลับคู่บ้าน

ความสำเร็จในจริยาข้อนี้ทรงอาศัยพุทธกิจประจำวั

งานการสอนธรรม เพื่อประดิษฐานพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า
เป็นงานที่ละเอียดประณีต เพราะทรงมุ่งให้เป็นธรรมที่เกื้อกูลแก่คนทั้งปวง
และอำนวยผลให้เป็นความสุข พระพุทธเจ้า จึงทรงมีกิจหลักที่เรียกว่าพุทธกิจ
ในแต่ละวันทรงมีพุทธกิจหลัก ๕ ประการ เพื่อบำเพ็ญพุทธจริยา ๓ ประการ
เพื่อบำเพ็ญพุทธจริยา ๓ ประการ ของพระพุทธเจ้าให้สมบูรณ์ คือ
พุทธจริยาประการที่หนึ่ง โลกัตถจริยา ทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่โลก
ในฐานะที่พระองค์เป็นสมาชิกคนหนึ่งของสังคมโลก ความสำเร็จในจริยาข้อนี้ทรงอาศัยพุทธกิจประจำวัน ๕ ประการคือ

๑.ปุพฺพณฺเห ปิณฑปาตํ
พุทธกิจประการที่ ๑ เวลาเช้าเสด็จออกบิณฑบาต เพื่อเป็นการโปรดสัตว์โลกผู้ต้องการบุญ

๒.สายณฺเห ธมฺมเทสนํ
พุทธกิจประการที่ ๒ ในเวลาเย็นทรงแสดงธรรมแก่คนผู้สนใจในการฟังธรรม

๓.ปโทเส ภิกฺขุโอวาทํ
พุทธกิจประการที่ ๓ ในเวลาค่ำทรงประทานพระโอวาทให้กรรมฐานแก่ภิกษุทั้งหลาย

๔.อฑฺฒรตฺเต เทวปญฺหนํ
พุทธกิจประการที่ ๔ ในเวลาเที่ยงคืน ทรงแสดงธรรม และตอบปัญหาแก่เทวดาทั้งหลาย

๕.ปจฺจูเสว คเต กาเล ภพฺพาภพฺเพ วิโลกน
ํพุทธกิจประการที่ ๕ ในเวลาใกล้รุ่ง ทรงตรวจดูสัตว์โลกที่อาจจะรู้ธรรม
ซึ่งพระองค์ทรงแสดง แล้วได้รับผลตามสมควรแก่อุปนิสัยบารมีของคนเหล่านั้น.


พุทธกิจประการที่ ๕ นี้เอง เป็นจุดเด่นในการทำงานของพระพุทธเจ้า
จนทำให้ผู้ศึกษาพระพุทธศาสนา บางคนมีความรู้สึกว่า
ทำไมคนแต่ก่อนสำเร็จกันง่ายเหลือเกิน ถ้าศึกษารายละเอียดแล้วจะพบว่า
ไม่มีคำว่าง่ายเลย เพราะนอกจากจะอาศัยวาสนาบารมีของคนเหล่านั้นเป็นฐานอย่างสำคัญแล้ว
การแสดงธรรมของพระองค์นั้น เป็นระบบการทำงานที่มีการศึกษาข้อมูล การประเมินผล
การสรุปผลในการแสดงธรรมทุกคราว

หลังจากที่บุคคลนั้น ๆ ปรากฏในข่ายพระญาณของพระพุทธเจ้าคือทรงรู้ว่าเขาเป็นใคร ?
มีอุปนิสัยบารมีอย่างไร ? แสดงธรรมอะไรจึงได้ผล ? หลังจากแสดงธรรมแล้ว
ผลจะออกมาเป็นอย่างไร ? ดังนั้นการแสดงธรรมทุกครั้งของพระพุทธองค์
จึงบังเกิดผล เป็นอัศจรรย์เพราะจะทรงแสดงเฉพาะแก่ผู้เป็นพุทธเวไนย
คือสามารถแนะนำให้รู้ได้เป็นหลัก

พุทธจริยาประการที่สอง ญาตัตถจริยา ทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่พระญาติ
เช่นการทรงมีพระพุทธานุญาตพิเศษ ให้พรญาติของพระองค์
ที่เป็นเดียรถีย์ (นักบวชภายนอกพระพุทธศาสนา) มาก่อน ให้เข้าบวชในพรุพุทธศาสนาได้
โดยไม่ต้องอยู่ติตถิยปริวาสก่อน (ติตถิยปริวาส คือ วิธีอยู่กรรมสำหรับเดียรถีย์
ที่ขอบวชในพระพุทธศาสนา จะต้องประพฤติปริวาส (การอยู่ชดใช้หรืออยู่กรรม)
ก่อน ๔ เดือน หรือจนกว่าพระสงฆ์พอใจจึงจะอุปสมาบทได้)
หรือการที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์
ทรงแนะนำให้พระญาติซึ่งกำลังจะทำสงครามกันได้เข้าใจในเหตุผล
สามารถปรองดองกันได้

พุทธจริยาประการที่ ๓ พุทธัตถจริยา ทรงทำหน้าที่ของพระพุทธเจ้า
เช่น ทรงวางสิกขาบทเป็นพุทธอาณา สำหรับควบคุมความประพฤติของผู้ที่เข้ามาบวช
ในพระพุทธศาสนา ทรงแนะนำให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ปฏิบัติให้ถูกต้อง
ตามหน้าที่ของตน ทรงวางพระองค์ต่อผู้ที่เข้ามาบวชและแสดงตนเป็นอุบาสกอุบาสิกา
ในฐานะของบิดากับบุตรผู้ปกครองกัลยาณมิตร ศาสดาผู้เอ็นดูเป็นต้น
ตามสมควรแก่บุคคลและโอกาสนั้น ๆ จนสามารถประดิษฐานเป็นรูปสถาบันศาสนา
สืบต่อกันมาได้ พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 147
พรรณนาพุทธกิจ ๕ ประการ



ขึ้นชื่อว่ากิจนี้มี ๒ อย่าง คือ กิจที่มีประโยชน์และกิจที่ไม่มีประโยชน์
บรรดากิจ ๒ อย่างนั้น กิจที่ไม่มีประโยชน์ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงเพิกถอนแล้วด้วยอรหัตตมรรค ณ โพธิบัลลังก์
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีกิจแต่มีประโยชน์เท่านั้น.

กิจที่มีประโยชน์ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นมี ๕ อย่าง คือ
๑. กิจในปุเรภัต
๒. กิจในปัจฉาภัต
๓. กิจในปุริมยาม
๔. กิจในมัชฌิมยาม
๕. กิจในปัจฉิมยาม


ในบรรดากิจ ๕ อย่างนั้น กิจในปุเรภัตมีดังนี้ ก็พระผู้มี
พระภาคเจ้าเสด็จลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ทรงปฏิบัติพระสรีระ
มีบ้วนพระโอฐษ์เป็นต้น เพื่อทรงอนุเคราะห์อุปฐากและ
เพื่อความสําราญแห่งพระสรีระเสร็จแล้วทรงประทับยับยั้ง
อยู่บนพุทธอาสน์ที่เงียบสงัด จนถึงเวลาภิกษาจาร
ครั้นถึงเวลาภิกษาจาร ทรงนุ่งสบง ทรงคาดประคดเอว ทรงครองจีวร
ทรงถือบาตร บางครั้งเสด็จพระองค์เดียว บางครั้งแวดล้อม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 148
ไปด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังคามหรือนิคม บางครั้งเสด็จ
เข้าไปตามปกติ บางครั้งก็เสด็จเข้าไปด้วยปาฏิหาริย์หลายประการ คือ
อย่างไร ? เมื่อพระบรมโลกนาถเสด็จเข้าไปบิณฑบาต ลมที่พัดอ่อน ๆ
พัดไปเบื้องหน้าแผ่วพื้นพสุธาให้สะอาดหมดจด
พลาหกก็หลั่งหยาดน้ำลง ระงับฝุ่นละอองในมรรคา
กางกั้นเป็นเพดานอยู่เบื้องบน กระแสลมก็
หอบเอาดอกไม้ทั้งหลายมาโรยลงในบรรดา
ภูมิประเทศที่สูงก็ต่ำลง ที่ต่ำก็ สูงขึ้น ภาคพื้นก็ราบเรียบสม่ำเสมอ
ในขณะที่ทรงย่างพระยุคลบาท หรือมีปทุมบุปผชาติอันมีสัมผัสนิ่มนวล
ชวนสบายคอยรองรับพระยุคลบาท
พอพระบาทเบื้องขวาประดิษฐานลงภายในธรณีประตู พระฉัพพรรณรังสีก็
โอภาสแผ่ไพศาล ซ่านออกจากพระพุทธสรีระพุ่งวนแวบวาบประดับ
ปราสาทราชมณเฑียร เป็นต้น ดังแสงเลื่อมพรายแห่งทอง และดั่งล้อม
ไว้ด้วยผืนผ้าอันวิจิตร บรรดาสัตว์ทั้งหลาย มี ช้าง ม้า และนก เป็นต้น
ซึ่งอยู่ในสถานที่แห่งตน ๆ ก็พากันเปล่งสําเนียงอย่างเสนาะ ทั้งดนตรีที่
ไพเราะ เช่น เภรี และพิณ เป็นต้น ก็บรรเลงเสียงเพียงดนตรีสวรรค์
และสรรพาภรณ์แห่งมนุษย์ทั้งหลาย ก็ปรากฏสวมใส่ร่างกายในทันที
ด้วยสัญญาณอันนี้ ทําให้คนทั้งหลายทราบได้ว่า วันนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในย่านนี้ เขาเหล่านั้นต่างก็แต่งตัวนุ่งห่มเรียบร้อย
พากันถือของหอมและดอกไม้ เป็นต้น ออกจากเรือนเดินไปตามถนน
บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยของหอมและดอกไม้ เป็นต้น โดยเคารพ
ถวายบังคมแล้ว กราบทูลขอสงฆ์ว่า ข้าแด่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์
โปรดประทานภิกษุแก่พวกข้าพระองค์ ๑๐ รูป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอพระองค์โปรดประทานภิกษุแก่พวกข้าพระองค์ ๒๐ รูป แก่พวกข้าพระ-
(พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 149)

องค์ ๕๐ รูป แก่พวกข้าพระองค์ ๑๐๐ รูป ดังนี้ แล้วรับบาตรแม้ของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ปูลาดอาสนะน้อมนําถวายบิณฑบาตโดยเคารพ.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทําภัตกิจเสร็จแล้ว ทรงตรวจดูจิตสันดานของสัตว์
์เหล่านั้น ทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดให้บางพวกตั้งอยู่ในสรณคมน์
บางพวกตั้งอยู่ในศีล ๕ บางพวกตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล สกทาคามิผล
อนาคามิผล อย่างใดอย่างหนึ่ง บางพวกบวชแล้วทั้งอยู่ในพระอรหัต
ซึ่งเป็นผลเลิศ ทรงอนุเคราะห์มหาชนดังพรรณนามาฉะนั้นแล้ว
ทรงลุกจากอาสนะเสด็จไปยังพระวิหาร ครั้นแล้วประทับนั่งบนพุทธอาสน
์อันบวรซึ่งปูลาด ไว้ในมัณฑลศาลา
ทรงรอคอยการเสร็จภัตกิจของภิกษุทั้งหลาย ครั้นภิกษุทั้งหลาย
เสร็จกิจเรียบร้อยแล้ว ภิกษุผู้อุปฐากก็กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า
ให้ทรงทราบ ลําดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จเข้าพระคันธกุฎี
นี้เป็นกิจในปุเรภัตก่อน.


ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงบําเพ็ญกิจในปุเรภัต
เสร็จแล้วอย่างนี้ ประทับนั่ง ณ ศาลาปรนนิบัติใกล้พระคันธกุฎี
ทรงล้างพระบาทแล้วประทับยืนบนตั่งรองพระบาท
ประทานโอวาทภิกษุสงฆ์ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงยังประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด
และ ว่าทุลฺลภญฺจ มนุสฺสตฺตํ พุทฺธุปฺปาโท จ ทุลฺลโภทุลฺลภา
ขณสมฺปตฺติ สทฺธมฺโม ปรมทุลฺลภา ทุลฺลภา สทฺธาสมฺปตฺติ ปพฺพชฺช จ
ทุลฺลภา ทุลฺลภํ สทฺธมฺมสฺสวนํ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรคเล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 150.
ความเป็นมนุษย์ หาได้ยาก ความเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้า หาได้ยาก
ความถึงพร้อมด้วยขณะ หาได้ยาก พระสัทธรรม หาได้ยากอย่างยิ่ง
ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา หาได้ยาก การบวช หาได้ยาก
การฟังพระสัทธรรม หาได้ยากณ ที่นั้น
ภิกษุบางพวกทูลถามกรรมฐานกะพระผู้มีพระภาคเจ้า
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ประทานกรรมฐานที่เหมาะแก่จริตของภิกษุเหล่านั้น
ลําดับนั้น ภิกษุทั้งปวงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วไปยัง
ที่พักกลางคืนและกลางวันของตน ๆ. บางพวกก็ไปป่า บางพวกก็ไปสู่โคนม
้บางพวกก็ไปยังที่แห่งใดแห่งหนึ่ง มีภูเขา เป็นต้น บางพวกก็ไปยังภพ
ของเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาฯลฯบางพวกก็ไปยังภพของเทวดาชั้นวสวัดดี
ด้วยประการฉะนี้.

ลําดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าพระคันธกุฎี ถ้ามีพระพุทธประสงค์
ก็ทรงมีพระสติสัมปชัญญะ สําเร็จสีหไสยาครู่หนึ่ง โดยพระปรัศว์เบื้องขวา
ครั้นมีพระวรกายปลอดโปร่งแล้ว เสด็จลุกขึ้นตรวจดูโลกในภาคที่สอง
ณ คาม หรือนิคมที่พระองค์เสด็จ เข้าไปอาศัยประทับอยู่
มหาชนพากันถวายทานก่อนอาหาร ครั้นเวลาหลังอาหารนุ่งห่มเรียบร้อย
ถือของหอมและดอกไม้ เป็นต้น มาประชุมกันในพระวิหาร
ครั้นเมื่อบริษัทพร้อมเพรียงกันแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จไปด้วยพระปาฏิหาริย์อันสมควร ประทับนั่ง แสดงธรรมที่ควรแก่กาลสมัย
ณ บวรพุทธอาสน์ที่บรรจงจัดไว้ ณ ธรรมสภา ครั้นทรงทราบ
(พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 151).


กาลอันควรแล้วก็ทรงส่งบริษัทกลับ เหล่ามนุษย์ต่างก็ถวายบังคม
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วพากันหลีกไป นี้เป็นกิจหลังอาหาร
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ครั้นเสร็จกิจหลังอาหารอย่างนี้แล้ว
ถ้ามีพระพุทธประสงค์จะโสรจสรงพระวรกาย ก็เสด็จลุกจากพุทธอาสนะ
เข้าซุ้มเป็นที่สรงสนาน ทรงสรงพระวรกายด้วยน้ำที่ภิกษุผู้เป็น
พุทธุปฐากจัดถวาย ฝ่ายภิกษุผู้เป็นพุทธุปฐากก็นําพุทธอาสนะมาปูลาดที่
บริเวณพระคันธกุฎี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองจีวรสองชั้นอันย้อมดีแล้ว
ทรงคาดประคดเอว ทรงครองจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง แล้วเสด็จไป
ประทับนั่งบนพุทธอาสนะนั้น. ทรงหลีกเร้นอยู่ครู่หนึ่งแต่ลําพังพระองค์เดียว
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายพากันมาจากที่นั้นๆ แล้วมาสู่ที่ปรนนิบัติ
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ ที่นั้น ภิกษุบางพวกก็ทูลถามปัญหา
บางพวกก็ทูลขอกรรมฐาน บางพวกก็ทูลขอฟังธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับยับยั้งตลอดยามต้น ทรงให้ความประสงค์ของภิกษุเหล่านั้นสําเร็จ
นี้เป็นกิจในปฐมยาม. ก็เมื่อสิ้นสุดกิจในปฐมยาม
ภิกษุทั้งหลายถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้วหลีกไป เหล่าเทวดาในหมื่นโลกธาตุทั้งสิ้น เมื่อได้โอกาสก็
พากันเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ต่างทูลถามปัญหาตามที่เตรียมมา
โดยที่สุดแม้อักขระ ๔ ตัว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตอบปัญหาแก่เทวดา
เหล่านั้น ให้มัชฌิมยามผ่านไป นี้เป็นกิจในมัชฌิมยาม.
ส่วนปัจฉิมยาม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแบ่งเป็น ๓ ส่วน คือ
ทรงยับยั้งอยู่ด้วยการเสด็จจงกรมส่วนหนึ่ง เพื่อทรงเปลื้องจากความเมื่อย
ล้าแห่งพระสรีระอันถูกอิริยาบถนั่งตั้งแต่ก่อนอาหารบีบคั้นแล้ว.
(ในส่วนพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 152)
ที่สอง เสด็จเข้าพระคันธกุฎี ทรงมีพระสติสัมปชัญญะ สําเร็จสีหไสยา
โดยพระปรัศว์เบื้องขวา. ในส่วนที่สาม เสด็จลุกขึ้นประทับนั่งแล้วทรงใช้
พุทธจักษุตรวจดูสัตว์โลกเพื่อเล็งเห็นบุคคลผู้สร้างสมบุญญาธิการไว้
ด้วยอํานาจทานและศีล เป็นต้น ในสํานักของพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ.
นี่เป็นกิจในปัจฉิมยาม.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1104
ผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงพิจารณาเห็นว่า โลกสันนิวาสถูกทิฏฐิ ๖๒ กลุ้มรุม
จึงทรงแผ่พระมหากรุณาไปให้หมู่สัตว์ว่า ก็เราแลเป็นผู้ข้ามได้แล้ว แต่
สัตว์โลกยังข้ามไม่ได้ เราเป็นผู้พ้นไปแล้ว แต่สัตว์โลกยังไม่พ้นไป
เราทรมานได้แล้ว แต่สัตว์โลกยังทรมานไม่ได้ เราสงบแล้ว
แต่สัตว์โลกยังไม่สงบ เราเป็นผู้เบาใจแล้ว แต่สัตว์โลกยังไม่เบาใจ
เราเป็นผู้ดับรอบแล้ว แต่สัตว์โลกยังไม่ดับรอบ ก็เราเป็นผู้ข้ามได้แล้ว
จะช่วยให้สัตว์โลกข้ามได้ด้วย เราเป็นผู้พ้นไปแล้ว
จะช่วยให้สัตว์โลกพ้นไปด้วย เราทรมานได้แล้ว จะช่วยให้สัตว์โลก
ทรมานได้ด้วย เราเป็นผู้สงบแล้ว จะช่วยให้สัตว์โลกสงบด้วย
เราเป็นผู้เบาใจแล้ว จะช่วยให้สัตว์โลกเบาใจด้วย เราเป็นผู้ดับรอบแล้ว
จะช่วยให้สัตว์โลกดับรอบด้วย พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ผู้ตรัสรู้แล้ว
ทรงพิจารณาเห็นดังนี้ จึงทรงแผ่พระมหากรุณาไปในหมู่สัตว์
นี้เป็นมหากรุณาสมาปัตติญาณของพระตถาคต.