โครงการตั้งโรงถลุงเหล็กคุณภาพสูงในประเทศเวียดนาม อาจต้องสะดุดลง
เนื่องจากความต้องการใช้เหล็กคุณภาพสูงในเวียดนามยังมีอยู่น้อย
ทำให้การลงทุนผลิตเหล็กคุณภาพสูง ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล
ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน เพราะตลาดเหล็กในเวียดนามส่วนใหญ่เป็นเหล็กราคาถูก
เป็นเหล็กที่นำไปใช้ในการก่อสร้าง
ซึ่งสามารถนำเหล็กเก่ามาหลอมเพื่อผลิตใหม่ได้
ไม่จำเป็นต้องใช้เหล็กคุณภาพสูงเหมือนอุตสาหกรรมในประเทศไทย
จึงเป็นโอกาสอันดีที่ประเทศไทยจะเร่งเดินหน้าผลักดัน
โครงการเหล็กต้นน้ำคุณภาพสูง ซึ่งบริษัทชั้นนำของโลกทั้ง 4 ราย
ประกอบด้วย นิปปอนสตีล เจเอฟอีสตีล บาวสตีล และอาร์ซิลอร์ มิตัล
มีความตั้งใจจริงกับการเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเป็นอย่างมาก
โดย บริษัท นิปปอนสตีล ผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่อันดับ 1 ของญี่ปุ่น
และเป็นอันดับ 2 ของโลก ระบุว่า
ต้องการเข้ามาลงทุนผลิตเหล็กต้นน้ำคุณภาพสูง
เพื่อเป็นวัตถุดิบของอุตสาหกรรมต่อเนื่องในประเทศไทย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมยานยนต์
โดยจะปฏิบัติตามมาตรฐานการผลิตของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้านานาชาติ
(International Iron and Steel Institute)
เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
ทั้งนี้ นิปปอนสตีลได้นำแผนบริหารจัดการของโครงการผลิตเหล็กคุณภาพสูงในเมืองโออิตะ
ซึ่งถือว่าเป็นโรงงานที่มีระบบการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่ทันสมัยมาก
ที่สุดในญี่ปุ่น มาเป็นแผนต้นแบบ
สำหรับการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและชุมชนในประเทศไทย
ซึ่งจะใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
และมีระบบการสื่อสารที่ดีเยี่ยม
โดยเปิดโอกาสให้สังคมสามารถตรวจสอบการดำเนินงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง
นิปปอนสตีล ยังมีแผนด้านการวิจัยและพัฒนา
ซึ่งกำหนดให้มีการถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวด
ล้อม และเทคโนโลยีที่ประหยัดพลังงาน
รวมทั้งมีแผนในระยะยาวว่าจะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการผลิตเหล็ก
กล้าคุณภาพสูงให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมผลิตเหล็กและเหล็กกล้าในประเทศ
ไทยด้วย
ทางด้าน บริษัท เจเอฟอีสตีล ผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่อันดับ 2
ของญี่ปุ่น และอันดับ 3 ของโลก
ยืนยันว่าจะใช้เทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดในทุกขั้นตอนของการผลิต
โดยจะนำมาตรฐานและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเช่นเดียวกับที่ได้ดำเนินการในประเทศ
ญี่ปุ่น เข้ามาใช้ในการควบคุม
เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในไทยอย่างแน่นอน
เจเอฟอีสตีล
ได้นำแผนการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและชุมชนของโครงการเหล็กในเมืองชิบะ
มาเป็นแผนต้นแบบในการติดตั้งระบบควบคุมและป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่ง
แวดล้อม ซึ่งมีระบบติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมทั้งด้านอากาศ ฝุ่น เสียง
และน้ำตลอดเวลา รวมทั้งแสดงผลการตรวจสอบให้ประชาชนสามารถดูผลการตรวจวัดได้ตลอดเวลา
อย่างไรก็ตาม เจเอฟอีสตีล ยังแสดงความมั่นใจด้วยว่า
จะสามารถดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและชุมชนของประเทศไทยได้ไม่แพ้ที่ญี่ปุ่น
เพราะการผลิตเหล็กต้นน้ำของเจเอฟอีสตีลในเมืองชิบะนั้น
มีประชากรอาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงเป็นจำนวนมาก
ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เข้มงวดกว่าของไทยมาก
นอกจากนี้ เจเอฟอีสตีล
ยังยืนยันว่าจะตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาในประเทศไทย
รวมทั้งสร้างเครือข่ายการวิจัยกับหน่วยงานและสถาบันวิจัยในประเทศไทยอีกด้วย
สำหรับ บริษัท บาวสตีล ผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ของประเทศจีน
และเป็นผู้ผลิตอันดับ 4 ของโลก ได้ระบุว่า การดำเนินธุรกิจของบาวสตีล
ตั้งอยู่บนพื้นฐานการให้ความสำคัญในด้านสิ่งแวดล้อม การควบคุมมลพิษ
การประหยัดทรัพยากรธรรมชาติและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด
บาวสตีล ได้เดินทางมาหารือกับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(สผ.) ของประเทศไทยแล้ว
ทั้งนี้เพื่อให้เข้าใจถึงมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมของไทย
ในการนำไปออกแบบระบบควบคุมมลพิษ
และปฏิบัติตามกฎหมายสิ่งแวดล้อมของไทยอย่างเคร่งครัด
บาวสตีล ได้ยกตัวอย่างโครงการผลิตเหล็กในตำบลเป่าซาน นครเซี่ยงไฮ้
ประเทศจีน ซึ่งได้รับรางวัลด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมถึง 7 รางวัล อาทิ
รางวัลที่หนึ่งผู้ผลิตเหล็กที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากหน่วยงานด้านการปก
ป้องสิ่งแวดล้อมของจีน
รางวัลบริษัทจีนที่ดำเนินธุรกิจอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีกระบวนการ
ผลิตที่สะอาด และติดอันดับ 1 ใน 10 บริษัทจีนที่สามารถลดการใช้พลังงาน
และลดการปล่อยสารพิษในประเทศจีน
หากบาวสตีลเข้ามาลงทุนในประเทศไทย มีแผนจ้างงานคนในพื้นที่
แผนการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีการผลิตเหล็กที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
เทคโนโลยีการประหยัดพลังงาน
รวมทั้งแผนการให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนและนักศึกษาในพื้นที่ด้วย
สำหรับ บริษัท อาซิลอร์ มิตัล ผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่อันดับ 1 ของโลก
ได้ยืนยันที่จะนำประสบการณ์การผลิตเหล็กจากทั่วโลก
มาสร้างความก้าวหน้าให้กับโครงการเหล็กต้นน้ำคุณภาพสูงในประเทศไทย
โดยเฉพาะแผนบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและชุมชน
ซึ่งสามารถนำประสบการณ์จากการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและชุมชนของ
โครงการผลิตเหล็กของบริษัทในกว่า 60
ประเทศทั่วโลกมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของไทย
อาซิลอร์ มิตัล มีมาตรฐานสำหรับโครงการผลิตเหล็กทั่วโลก คือ
การเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ทุกประเทศที่อาซิลอร์
มิตัลเข้าไปลงทุน ได้มีการพูดคุยกับกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับโครงการ
ทั้งกลุ่มเอ็นจีโอ รัฐบาล ชุมชนท้องถิ่น
ตลอดจนจัดทำช่องทางการติดต่อสื่อสารให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องสามารถหยิบยก
ประเด็นที่มีความกังวลมาพูดคุยกัน
นอกจากนี้ มูลนิธิอาซิลอร์ได้สนับสนุนโครงการในชุมชนจำนวน 587
โครงการทั่วโลก ด้วยจำนวนเงินกว่า 57 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
และยังให้การสนับสนุนด้านการเงินกับองค์กรด้านที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชน
ในการก่อสร้างบ้านและที่อยู่อาศัยแบบใหม่ที่ใช้เหล็ก
ซึ่งมีต้นทุนต่ำและมีความคงทนแข็งแรง
เพื่อเพิ่มความปลอดภัยหากเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติอีกด้วย
ขั้นตอนล่าสุดของภาครัฐในขณะนี้
อยู่ระหว่างการศึกษาที่ตั้งโครงการอย่างละเอียดโดยจะทำการสำรวจความเหมาะสม
ของพื้นที่ สำรวจพื้นที่ตั้งโรงงาน แหล่งน้ำ
รวมถึงการสำรวจพื้นที่ใต้ทะเล
เพื่อให้แน่ใจว่าพื้นที่ที่จะใช้ก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกไม่ใช่แหล่งที่
อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ รวมทั้งการสร้างความเข้าใจกับชุมชนในพื้นที่
ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2553 - 2554
โครงการเหล็กต้นน้ำคุณภาพสูงจะเกิดขึ้นในประเทศไทยหรือไม่
ขึ้นอยู่กับภาครัฐว่าจะเลือกพื้นที่ใด
รวมทั้งจะสามารถทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ได้หรือไม่
และจะสนับสนุนภาคเอกชนในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานอย่างไร
ส่วนภาคเอกชนนั้นพร้อมตั้งแต่ยื่นเอกสารแสดงความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนแล้ว
นอกจากความพร้อมของบริษัททั้ง 4 ราย ที่จะเข้ามาลงทุนในไทย
ยังมีกลุ่มอุตสาหกรรมในประเทศ
ได้ขานรับแผนการเข้ามาลงทุนผลิตเหล็กต้นน้ำคุณภาพสูงในประเทศไทย โดย
คุณเพียงใจ แก้วสุวรรณ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
เชื่อว่าจะช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยมากยิ่งขึ้น
เพราะจะทำให้ต้นทุนหลักของการผลิตรถยนต์ คือ
ต้นทุนวัตถุดิบและค่าขนส่งลดลง
ขณะที่คุณภาพของเหล็กได้มาตรฐานตามที่ต้องการ
เนื่องจากเหล็กที่จะผลิตเป็นเหล็กต้นน้ำคุณภาพสูง
ขณะที่ คุณนินนาท ไชยธีรภิญโญ รองประธานกรรมการ บริษัท โตโยต้า
มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า โครงการเหล็กต้นน้ำของรัฐบาล
จะมีส่วนช่วยพัฒนาภาคอุตสาหกรรมของไทยทั้งระบบให้มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
และสามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้อีกด้วย เช่น
อุตสาหกรรมอากาศยาน การต่อเรือ รถบัส และรถไฟ
รวมถึงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน
ตลอดจนช่วยในการพัฒนาระบบลอจิสติกส์ของประเทศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ส่วน คุณพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รองประธานสภาอุตสาหกรรม
และประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ระบุว่า
หากประเทศไทยสามารถผลิตเหล็กต้นน้ำคุณภาพสูงได้เอง
จะทำให้อุตสาหกรรมเกือบทุกประเภท ได้รับประโยชน์
เพราะเหล็กเป็นวัสดุพื้นฐานของทุกอุตสาหกรรม ทั้งการก่อสร้าง
เครื่องจักรกลการเกษตร อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน
อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้
ยังมีส่วนช่วยให้เกิดการพัฒนาของอุตสาหกรรมเหล็กขั้นกลางน้ำและปลายน้ำในไทย
ด้วย เพราะเมื่อสามารถผลิตเหล็กต้นน้ำได้
ก็จะเกิดความชัดเจนในการวางแผนผลิตเหล็กขั้นกลางและขั้นปลายน้ำของไทยได้
อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ ยังสามารถช่วยสนับสนุนให้เกิดเมืองอุตสาหกรรมนิเวศน์
หรืออีโคทาวน์ ขึ้นในประเทศไทยได้ด้วย เพราะแนวคิดของอีโคทาวน์คือ
เมืองที่สามารถนำของเสีย ของเหลือใช้กลับมาใช้ใหม่ ซึ่งเหล็กก็คือ
วัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ 100%
และยังสามารถนำความร้อนและก๊าซจากกระบวนการผลิตมาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้
อีกด้วย
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9520000112817
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น