++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2552

"บิ๊ก" ศิริวัฒน์ เก็บไอเดียเยอรมัน สร้างเด็กไทยรักสิ่งแวดล้อม

การเดินทางไปศึกษาแลกเปลี่ยนในต่างประเทศ สำหรับนักเรียนนักศึกษาบางคน
ไม่เพียงแต่ได้ประสบการณ์ด้านการใช้ชีวิต หรือด้านวิชาการ
หากยังได้แรงบันดาลใจกลับมาพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น อย่างเช่น "บิ๊ก"
ศิริวัฒน์ ฤทธาภัย - เยาวชนไทยที่เก็บเกี่ยวประสบการณ์จากเยอรมนี
กลับมาสร้างเครือข่ายเยาวชนสิ่งแวดล้อม


"บิ๊ก" ศิริวัฒน์ ฤทธาภัย
ปัจจุบันศึกษาอยู่ที่คณะวิศวกรรมอิเล็กโทรนิกส์และโทรคมนาคม ชั้นปีที่ 2
มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี จุดเปลี่ยนที่ทำให้หนุ่มน้อยคนนี้
เกิดความมุ่งมั่นอยากจะพัฒนาเกี่ยวกับด้านสิ่งแวดล้อมเริ่มจากการเดินทางไป
ศึกษาในฐานะนักเรียนแลกเปลี่ยนที่ประเทศเยอรมนีเมื่อ 4 ปีที่แล้ว

"ผม มีโอกาสได้เข้าร่วมโครงการนักเรียนแลกเปลี่ยนของมูลนิธิการศึกษา
และวัฒนธรรมสัมพันธ์ไทย-นานาชาติ หรือ AFS ที่ประเทศเยอรมนี
ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของแรงบันดาลใจ เพราะผมได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์
เกี่ยวกับการตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมของชาวเยอรมัน เช่น การแยกขยะกว่า 20
ประเภท ทุ่งหญ้าที่เต็มไปด้วยกังหันลม
หรือครอบครัวชาวเยอรมันที่ผมไปพักด้วย ก็ใช้พลังงานจากโซลาร์เซลล์" บิ๊ก
เปิดเผยถึงจุดเริ่มของแรงบันดาลใจ

เมื่อกลับมาเมืองไทย หนุ่มน้อยไฟแรงคนนี้ จึงคิดค้นประดิษฐ์
"Solar Charge" ที่ประยุกต์ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์
ซึ่งสิ่งประดิษฐ์นี้นี่เอง ทำให้บิ๊กผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมกิจกรรม
"ค่ายทูตไบเออร์เพื่อสิ่งแวดล้อม รุ่นที่ 10" จนกระทั่งท้ายที่สุด
ก็ได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 5
ตัวแทนเยาวชนจากประเทศไทยไปทัศนศึกษางานด้านสิ่งแวดล้อม ที่ประเทศเยอรมนี
และนับเป็นการไปสัมผัสประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เมือง
เบียร์อีกเป็นครั้งที่สองของหนุ่มคนนี้

บิ๊ก เล่าประสบการณ์ประทับใจจากการดูงานด้านสิ่งแวดล้อมว่า "ช่วง
ที่ผมเดินทางไปดูงานในฐานะทูตไบเออร์ เป็นช่วงที่ปัญหาโลกร้อนกำลังบูม
ในเยอรมนีมีการรณรงค์ เรื่องการจัดเก็บถุงพลาสติก หากใครใช้
จะต้องจ่ายภาษี ประมาณครึ่งยูโร ดังนั้นคนเยอรมัน
จึงใช้ถุงพลาสติกน้อยลงไปมาก จากนั้นผมมีโอกาสร่วมกับโครงการของสหประชาติ
ไปดูงานที่ประเทศเกาหลี งานด้านระบบขนส่งมวลชนที่ครอบคลุม ทั้งรถเมล์
รถไฟฟ้า รถใต้ดิน ใช้บัตรเดียวได้หมด เรียกว่า T-Money
ผมคิดว่าจะเป็นประโยชน์มากหากประเทศไทยเรานำมาใช้บ้าง เพราะด้วยความสะดวก
ใช้งานง่าย และประหยัดค่าใช้จ่าย คนก็จะหันมาใช้ระบบขนส่งมวลชนมากขึ้น
นั่นหมายถึงการลดใช้พลังงานน้ำมันลงได้อีกมาก"

เนื่องจาก บริษัทไบเออร์เป็นฝ่ายสนับสนุนของ UNEP (UN Environment
Program) บิ๊ก จึงเป็นตัวแทน ฝ่ายประสานงานของเยาวชนไทยไปในตัว นอกจากนี้
ด้วยความสามารถ และประสบการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม
จึงได้ทำหน้าที่เป็นผู้ร่วมประสานงานของสภาเครือข่ายเยาวชนสิ่งแวดล้อมแห่ง
ชาติ หรือ Thai Youth Environment Network : Thai YEN
ซึ่งเป็นเครือข่ายที่สามารถขยายความเข้มแข็งของเยาวชนด้านสิ่งแวดล้อมออกไป
สู่ระดับสากล

บิ๊ก อธิบายเกี่ยวกับการสร้างเครือข่ายเยาวชนรักษ์สิ่งแวดล้อมว่า
"เรา เจาะกลุ่มเป้าหมาย คือมหาวิทยาลัยจากทั่วทุกภูมิภาค
เจาะไปในชมรมการอนุรักษ์ของแต่ละมหาวิทยาลัย นอกจากนี้
ปัจจุบันมีหลายองค์กร รณรงค์กันในเรื่องภาวะโลกร้อน เราจึงมองว่า
ทุกองค์กรได้มาเป็นเครือข่ายเดียวกัน
เป็นเวทีที่ทุกเครือข่ายได้ร่วมทำงานเดียวกัน จุดประสงค์เดียวกัน
และสามารถขยายออกไปได้ทั่วโลก"

หนุ่มนักพัฒนาสิ่งแวดล้อม
ยังฝากข้อคิดเกี่ยวกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อมของไทยว่า "จาก
การที่ผมไปดูงานในต่างประเทศ ผมคิดว่าความจริงแล้ว ข้อดีของคนไทยมีมาก
แต่เรามักไปทำตามประเทศอื่นมากไป เราพยายามจะพัฒนาตามคนอื่น
แต่มักลืมสิ่งดีๆที่มีอยู่ใกล้ตัว เช่น การใช้ใบตอง
ผมไม่เข้าใจว่าทำไมคนไทยไปนิยมใช้โฟม ทั้งๆที่ใบตองดีกว่ามาก
เค้าอาจจะนึกแค่เรื่องความสะดวก
แต่ผมว่าก็ไม่ตรงกับทฤษฎีเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่
หัวฯ อยากให้บ้านเราน่าจะใช้ใบตองกันมากขึ้น
การพัฒนาหลายๆอย่างผมมองว่าเราน่าจะยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ย้อนกลับไปสู่จุดที่เราเคยทำดีไว้แล้ว
แต่ถ้าหากมีอะไรดีๆจากต่างประเทศเราก็ค่อยนำมาประยุกต์ใช้ได้ เช่น
เรื่องพลังงานทดแทน เรื่องระบบขนส่งประหยัดพลังงาน"


http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000112476

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น