++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2552

เรื่องเล่าจาก นศ.ฝึกงาน ตอบคำถามเส้นทางชีวิต

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 กันยายน 2552 09:12 น.
เรื่องเล่านักศึกษาฉบับนี้
เป็นส่วนหนึ่งในบางบทตอนของหนังสือที่มีชื่อเรื่องว่า
"ททท.(ท่องเที่ยวทำเนียบ)" ซึ่งเจ้าของผลงานไม่ใช่คนอื่นคนไกลที่ไหน
เป็นฝีไม้ลายมือการเล่าเรื่องของ "ปลา" ชื่อปวริศา ตันตราทร
นักศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะนิเทศศาสตร์ ภาควิชาวารสารศาสตร์
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ อดีตนักศึกษาฝึกงานของหนังสือพิมพ์เอเอสทีวีผู้จัดการ
ในโต๊ะข่าวการเมือง และได้ไปประจำอยู่ที่ทำเนียบรัฐบาล
ศูนย์กลางการปกครองของประเทศไทย นับเป็นจุดเริ่มต้นของประสบการณ์กว่า 3
เดือนที่เด็กฝึกงานคนหนึ่งได้รับ
และได้เก็บทุกความประทับใจมาร้อยเรียงเป็นตัวหนังสือผ่านมุมมองที่ได้สัมผัส
มา

"ปลา" และ "พี่ดัช"
" 3 เดือนที่ได้เป็นนักศึกษาฝึกงานอยู่ที่หนังสือพิมพ์เอเอสทีวี
ผู้จัดการ คือช่วงเวลาที่ปลามีความสุขมาก ก่อนหน้านี้ปลาเคยคิดไว้ว่า
ตลอดระยะเวลาของการฝึกงาน คงเป็นช่วงเวลาแห่งความทุกข์และอึดอัดใจ
แต่สิ่งที่ปลาได้ประสบมา มันทำให้ปลาอยากจะย้อนเวลากลับไป
เมื่อตอนที่ได้อาศัยอยู่ใต้ชายคาของสำนึกพิมพ์แห่งนี้อีกครา
หนังสือพิมพ์เอเอสทีวีผู้จัดการ"
นี้คือจุดเริ่มต้นของปลาที่พร้อมจะมาเล่าถึงช่วงเวลาสำคัญของการฝึกงานที่ผ่านมาให้เราได้ฟังกัน

การเตรียมตัวสำหรับการฝึกงานของนักศึกษา

อับดับแรกที่นักศึกษาทุกคนต้องทำคือ พยายามตอบตัวเองให้ได้ว่า
ชอบงานทางด้านไหน โดยยึดเอาความชอบส่วนบุคคลก่อน
อย่าเพิ่งไปคิดว่าตัวเองจะทำได้ไหม เพราะการวิตกกังวลไปก่อนล่วงหน้านั้น
จะทำให้ไม่ได้พบเจอกับประสบการณ์ที่แปลกใหม่เลย

สิ่งที่มักเป็นปัญหาของนักศึกษาฝึกงานหลายคน คือ
การไม่กล้าออกไปทำงานคนเดียว อย่างน้อย ๆ ขอให้มีเพื่อนสักคนก็ยังดี
แต่สำหรับการทำงานเราไม่สามารถกำหนดอะไรได้
และไม่มีหลักข้อใดที่จะรับประกันว่า เพื่อนจะได้ที่ฝึกงานที่เดียวกับเรา
มีหลาย ๆ คน เมื่อเพื่อนรักไม่ได้ฝึกงาน ก็ตัดสินใจว่า จะไม่ทำเหมือนกัน
นี่เป็นการตัดโอกาสของตัวเอง
เพราะการฝึกงานจะให้เราได้มากกว่าตำราเรียนหลายเท่า

เมื่อคิดได้แล้วว่ามีความชื่นชอบอยากที่จะทำงานด้านหนังสือพิมพ์
หรือ นิตยสาร หรือแม้กระทั่งสายงานที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับที่เรียน เช่น
อาจจะเป็นงานทางด้านภาพยนตร์ โทรทัศน์ แต่ถ้าเราชอบก็เลือกได้ทั้งหมด

อันดับต่อมาคือ พยายามหาสถานที่ฝึกงานไว้ตั้งแต่ช่วงแรกๆ
อย่าปล่อยให้เวลาผ่านไปโดยไม่ทำอะไรเลย ปัญหาข้อนี้ของนักศึกษา คือ
ความกังวลเกี่ยวกับเอกสารที่ยังไม่พร้อม แต่ถ้าเรามัวแต่นั่งคอยให้พร้อม
สถานที่ฝึกงานเหล่านั้นอาจไม่มีที่ว่างสำหรับเราแล้ว

สิ่งที่ควรทำ คือ ต้องอาศัยความใจกล้า อย่าอาย ลองสอบถามว่า
สำนักพิมพ์หรือ บริษัทที่เราอยากจะไปฝึกงานนั้นเปิดรับสมัครหรือไม่
แล้วค่อยเอาเอกสารไปยื่นทีหลังก็ไม่ช้าไป หากได้พูดคุยกันแล้ว
เขารับเราเข้าฝึกงาน เอกสารอาจจะกลายเป็นเรื่องเล็กน้อยไปเลยก็ได้

ห้องประชุมรัฐสภา

เคล็ดลับอีกอย่างหนึ่งคือ หากสถานที่ ๆ เราต้องการจะฝึกงาน
ไม่ตอบรับเราเข้าฝึกงาน ก็ไม่ต้องกังวลไป ลองมองดูหาที่ใหม่ ๆ ดู
สิ่งนี้คือสาเหตุที่บอกไว้ว่าเราต้องเริ่มหาสถานที่ฝึกงานตั้งแต่เนิ่น ๆ
จะได้มีเวลาเผื่อเอาไว้สำหรับหาที่แห่งใหม่ และถ้าสมมุติว่าถึงที่สุดแล้ว
เราอยากที่จะฝึกงานกับนิตยสาร
แต่โชคชะตากับทำให้เราได้ฝึกงานกับหนังสือพิมพ์ เราไม่ต้องกังวล
และลองคิดกลับกันว่า
สิ่งที่จะได้พบในอนาคตอันใกล้นี้อาจจะเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เข้ามาเปลี่ยนแปลง
ความคิดของเราก็เป็นได้

เมื่อได้ที่ฝึกงานแล้ว
ต้องพยายามหาความรู้เกี่ยวกับสถานที่ฝึกงานที่เราต้องไปฝึกก่อน
อย่าเข้าไปแบบไม่รู้อะไรเกี่ยวกับสถานที่นั้นเลย
เพราะจะทำให้เราดูเป็นคนไม่ใส่ใจ เมื่อพี่ ๆ ในสถานที่ฝึกงานถามเราว่า
อยากที่จะฝึกงานโต๊ะไหน ทำอะไร แล้วเราตอบไม่ได้

อย่ามาว่าเรื่องเล็กน้อยตรงนี้เป็นประเด็นที่ไม่สำคัญ
เพราะคำถามนี้คือคำถามยอดฮิตสำหรับนักศึกษาฝึกงานทุกคนที่ต้องได้พบ

ถัดมาคือการเลือกหน้าที่ หรืองานที่เราต้องทำ ถ้าถามว่ายากหรือไม่
ตอบได้เลยว่า ยากมากค่ะ เพราะการที่เราเป็นแค่นักศึกษา
เราคงทราบรายละเอียดในการทำงานไม่มากนัก เอาเป็นว่า
ขอให้เราเลือกทำในสิ่งที่เราสนใจจะดีกว่า เช่น ถ้าเราสนใจเรื่อง ดารา
ก็ให้เราตอบไปว่า "อยากทำงานโต๊ะบันเทิงค่ะ"

เทคนิคง่าย ๆ คือ ตอบคำถามในสิ่งที่เราต้องการจริง ๆ
อยากตอบไปเพื่อรักษาภาพพจน์ หรืออะไรก็ได้
เพราะเมื่อถึงเวลาสิ่งที่เราตอบไปอาจจะกลับมาสร้างปัญหาให้เราระหว่างการฝึก
งานตลอด 3 เดือน

และเมื่อเราได้ทราบแล้วว่าเราต้องทำหน้าที่อะไรบ้าง
สิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมเป็นอับดับสุดท้ายคือ ศึกษาเนื้อหาที่เราต้องทำ
ต้องเขียน ข้อสำคัญคือ อ่านงานจากสำนักพิมพ์ที่เราฝึกงานให้มาก ๆ
เราจะได้รู้ว่า ลักษณะงานที่ออกมามีรูปแบบเป็นเช่นไร
เพราะสำนักพิมพ์แต่ละแห่งนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวแตกต่างกันไป
เมื่อเราได้เรียนรู้มา จะทำให้การปรับตัวของเราง่ายมากขึ้น


การฝึกงานได้อะไรบ้าง

... ช่วงเวลากว่า 3
เดือนที่เราต้องออกไปเผชิญกับโลกที่แตกต่างไปจากการเรียนหนังสือในรั้ว
ของมหาวิทยาลัยนั้น ถือเป็นเรื่องที่ยากพอสมควรสำหรับการปรับตัว
แต่สิ่งที่เราได้มาพบมาเจอนั้น
ไม่แตกต่างกับช่วงเวลาที่ต้องทำเมื่อจบการศึกษาไป

"การปรับตัว"
ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่นักศึกษาฝึกงานทุกคนจะต้องได้เจอ
ไม่ว่าจะเป็นการปรับตัว ไม่ว่าจะเป็นความอดทนที่ทุกคนจะต้องมีมากขึ้น
การทำงานจะทำตัวเป็นเด็ก ๆเหมือนช่วงเวลาอยู่ในมหาวิทยาลัยไม่ได้
มันเป็นช่วงเวลาของการที่จะต้องพึ่งพาตัวเองให้ได้มากที่สุด

โดยทั่วไปแล้ว
ชีวิตของเด็กนักศึกษาอาจจะต้องใช้ความอดทนที่ต้องตื่นแต่เช้ามานั่งเรียนใน
แต่ละวัน หรืองานในแต่ละภาคการศึกษา เชื่อว่าเมื่อเรียนมาถึงตรงนี้
ทุกคนมีความอดทนที่อยากจะมีอนาคตที่สวยงามแน่นอน
แต่สิ่งที่เราได้พบเจออยู่ ณ วันนี้
คงเทียบไม่ได้เลยกับการทำงานในอนาคตที่ต้องเจอกับแรงกดดันที่มากขึ้น

ในช่วงแรก ๆ ของการฝึกงาน
ความท้อแท้มักจะเกิดขึ้นในใจเป็นเรื่องธรรมดา ทุกอย่างจะดูลำบาก เหนื่อย
รู้สึกเบื่อ ไม่ได้เป็นช่วงเวลาที่ได้เฮฮา ปาร์ตี้
เหมือนกับอยู่กับเพื่อน ๆ หรือเวลาจะพูดกับพี่เลี้ยงแต่ละครั้ง
ก็มีอาการเกร็งๆ ทำตัวไม่ค่อยถูก กลัวจะโดนดุ โดนต่อว่า สิ่งนี้คือ
การปรับตัว เพราะหากไม่มีปัญหาเข้ามาให้แก้ไข ต้องถือว่าไม่ได้ประสบการณ์
เมื่อเจอปัญหาอยากจะให้ทุกคนคิดแบบนี้
ถือว่าเรื่องที่เรากำลังเผชิญอยู่ถือในตอนนี้จะเป็นประโยชน์ในอนาคต

และสิ่งสำคัญที่สุดที่นักศึกษาฝึกงาน คือการตอบตัวเอง ว่า
การที่ได้ใช้เวลาช่วงหนึ่งของเศษเสี้ยวชีวิตไปสัมผัสกับอาชีพที่ใฝ่ฝันเอา
ไว้ในอนาคต อาจจะมีสุขบ้างทุกข์บ้าง แต่สิ่งที่เราได้ไปเผชิญมา
จะสามารถตอบคำถามได้ถึงปัญหาที่ว่า
เราจะเหมาะสมกับอาชีพที่ได้เรียนมาตลอด 4 ปี หรือไม่
เพราะลำพังการเรียนตามตำรา คงมาสามารถตอบเราได้ว่าเราชอบหรือไม่
แต่การได้มาทำงานจริง ๆ ต่างหากที่จะทำให้ความคิดของเราชัดเจนขึ้น
การฝึกงานอาจจะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ แต่มันจะกลายเป็นมุมมองที่แตกต่างออกไป

สำหรับการออกไปหางานทำอย่างจริงจัง
เหมือนกับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะสามารถนำเอาไปใช้เมื่อต้องเดินเตะฝุ่น
อยู่ริมถนน และอาจเป็นการช่วยลดเวลาในการเดินของเราลงได้......
http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000112377

1 ความคิดเห็น:

  1. ได้ฟัง วอร์เรน บัฟเฟตต์ ให้สัมภาษณ์ ชีวิตตนเองกับ CNBC ถึงชีวิตตนเองที่มีธุรกิจส่วนตัวตั้งแต่ ๑๑ ขวบ ก็มาพิจารณาถึงวิถีชีวิตของเยาวชนไทย ที่ต้องใช้เวลาศึกษายาวนานมากว่าจะจบปริญญาตรี แล้วออกหางานทำ

    ตรงกันข้ามหากยอมรับคำแนะนำของวอร์เรน เด็กไทย จำนวนหนึ่ง ที่มี อีเมล ของตนเองแล้ว นับเป็นบันไดขั้นแรก ที่จะเดินต่อไปในขั้น ๒... ๓ ต่อๆไปได้ทันที ตั้งแต่ ๙ ขวบ โดยอาศัยศักยภาพทางธุรกิจ ที่บางแห่งจัดเอาไว้ให้ เช่นที่ http://www.ainews1.com เป็นบันได้ขั้น ๒,๓ ต่อไป พัฒนาเยาวชน ให้เป็นผู้นำชุมชน ในเขตของตนได้โดยลำดับ

    และยังช่วยปรับยกฐานจิตของเยาวชนให้สูงยิ่งขึ้น มีสมาธิดีขึ้น เรียนดี โดยญาติธรรม ที่ให้เปล่าทางโทรศัพท์ เช่นเดียวกับที่หอประชุมใหญ่กระทรวงศึกษา ให้บริการทุกเที่ยงวันศุกร์ ไปได้หลายล้านคนแล้ว

    อนาคตเยาวชนไทย จะแบ่งเวลา ทำปฏิบัติ และเรียนไปด้วยพร้อมกัน และทำงานช่วยสังคมที่ผู้ใหญ่ที่ใช้ไอทีไม่ได้แต่เด็กทำได้ดี หากมีที่ปรึกษาใกล้ชิดไปตลอดทางสู่ความเป็นผู้นำเยาวชนรุ่นจิ๋ว

    หากเกิดขึ้นทั่วถึงทุกตำบล การปลดหนี้เกษตรกรทั่วประเทศ จะเด่นชัดขึ้นมา และหนี้ในและนอกระบบ ประมาณ ๘ แสนล้านก็จะหมดไป ยังให้เกิดผลดีต่างๆตามมาอีกหลายแสนล้านบาท ที่ประเทศไทยแทนที่จะสั่งเข้าก็กลายเป็นส่งออกไปหล่อเลี้ยงชีวิตชาวโลกที่ไร้สารได้อีกด้วย

    ใช่ครับกำลังเป็นภารกิจ ที่ทีม ainews1 กำลังทำอยู่ และทีมงานของ aibiznet มหาชนได้ทำต่อเนื่องมาจะครบ ๒ ปีแล้ว

    ตอบลบ