"ซาร์ส" (SARS) ความหวาดหวั่น ว่า เป็นแล้ว มีโอกาสตายเร็ว
เลยทำให้คนไม่ค่อย เดินทางไปใน เมือง ที่มีการแพร่ระบาดชุกชุม
แต่ถ้ามีความจำเป็นล่ะ ต้องทำอย่างไร คำถามนี้มีคำตอบ
โดยฝ่ายประชาสัมพันธ์ ของสำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย (สกว.)
ได้ส่งอีเมล์คำแนะนำ ของ นพ.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ มาให้ พอสรุปได้อย่างนี้ค่ะ
* ต้องเตรียมหน้ากากไว้หลายๆชิ้น ซักด้วยสบู่สลับใช้ได้, แอลกอฮอล์ทำแผล
75% ซื้อจากโรงพยาบาลใส่ขวดพกเล็กเพื่อเปิดใช้ได้สะดวก,
กระดาษทิชชูติดตัวตลอดเวลา, สบู่ก้อนเล็กๆ
ใช้แล้วทิ้งเลยก็อาจจะมีประโยชน์
* เมื่อเข้าในพื้นที่ซึ่งเสี่ยง ต้องสวมหน้ากาก ได้แก่ โรงพยาบาล
(พยายามหลีกเลี่ยงให้ได้ เพราะเป็นเขตอันตรายที่สุด),
ตัวอาคารที่มีระบบอากาศปิด, รถแอร์ นอกจากนี้หลายแห่ง
นอกประเทศไทยมีคนสูบบุหรี่กันมาก ทำให้มีการไอและขากเสมหะบ่อยๆ
ในที่สาธารณะ จึงเพิ่มความเสี่ยง
ส่วนในที่โล่งแจ้งแสงแดดส่องทั่วถึงคนไม่หนาแน่น ก็ไม่จำเป็น
แต่อย่าลืมว่าการใส่ๆถอดๆ อาจเพิ่มการติดเชื้อมากขึ้นถ้ามือสกปรก
* การล้างมือในห้องน้ำสาธารณะ
ถ้าห้องน้ำแยกจากส้วมชัดเจนและเราได้ฟอกสบู่ด้วยก็น่าจะ OK
ถ้ามีส้วมอยู่ด้วยและสกปรก หลีกเลี่ยงได้จะดีกว่า
ไม่ควรสัมผัสลูกบิดห้องน้ำเมื่อเข้าห้องน้ำ ให้ใช้เท้าดันประตู
หรือจับลูกบิดด้วยกระดาษทิชชู เสร็จแล้วเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ถ้าไม่แน่ใจ
* แอลกอฮอล์จะใช้เมื่ออยู่ในเงื่อนไขที่ล้างมือไม่ได้
โดยเฉพาะหลังจากไปจับสิ่งต้องสงสัย มาใหม่ๆ เช่น จับมือ
หรือก่อนจะจับอาหาร, จมูก, ปาก, ขยี้ตา เป็นต้น
* ต้องระวังเรื่องน้ำ โดยดื่มน้ำร้อน หลีกเลี่ยงน้ำแข็ง ถ้าเป็นไป ได้
ควรแปรงฟันและบ้วน ปากโดยใช้น้ำต้มแล้วหรือน้ำบรรจุขวด
น้ำประปาในเขตระบาดอาจจะไม่ปลอดภัย
* ยังไม่มีหลักฐานการติดต่อทางอาหาร
แต่แนะนำให้กินอาหารร้อนที่ปรุงสุกใหม่ๆ
ถ้าเป็นผลไม้ให้เลือกกินผลไม้ที่ปอกเปลือกได้ด้วยมือ เช่น กล้วย
แทนที่จะกินผลไม้ ที่ปลอกด้วยมีดหรือแทะด้วยฟัน เช่น ส้มเช้ง, แอปเปิ้ล
หรือแตงโม ถ้ากินส้มเขียวหวาน ต้องให้แน่ใจว่าเราปอกเอง มือสะอาด
และนิ้วมือไม่สัมผัสกับส่วนที่จะเข้าปาก.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น