สิงหาคม 2552 21:18 น.
ปัจจุบันเราเสียภาษีทางอ้อมกว่า 70% และเสียภาษีทางตรงเพียง 30%
ภาษีทางอ้อมนั้นเก็บผ่านฐานการบริโภค คือ
ภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มต่างๆ
ซึ่งเป็นการเก็บภาษีทางอ้อมที่ผลักภาระให้คนจนส่วนใหญ่เป็นผู้แบกรับภาษี
ท่ามกลางความเหลื่อมล้ำทางสังคมมหาศาลและการกระจายรายได้ที่แย่มากที่สุด
ประเทศหนึ่งในโลกนี้ เรามีมนุษยน์ผู้จิบไวน์ขวดละแสน
และชาวนาที่ต้องขายควายกว่า 10 ตัวกว่าจะเทียบเท่าน้ำทิพย์สีแดงขวดนั้น
ไม่ผิดที่เราเกิดมาต่างกัน แต่นั่น มันไม่เป็นธรรมเลยสักนิด!!
ไม่ผิด ถ้าคนส่วนใหญ่ไม่ได้แบกรับการพัฒนา ไม่ผิด
ถ้ามูลค่านั้นมาจากส่วนเกินทางสังคม ไม่ผิด
ถ้ารายได้ที่มากขึ้นนั้นมาจากหยาดเหงื่อแรงงานและการลงทุนที่ใช้ความสามารถ
หากแต่ภายใต้การคุ้มครองของรัฐ
ทรัพย์สินที่สั่งสมเพิ่มขึ้นจากการรีดมูลค่าจากคนสังคม
สมควรแบ่งปันคืนสู่สังคม
โดยให้รัฐจัดการในส่วนเสี้ยวหนึ่งเพื่อการพัฒนาสังคม
สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และความสะดวกปลอดภัยของชีวิต.. แน่นอน
รายได้ที่เพิ่มขึ้น ย่อมมาจากการกอบโกยจากสังคมส่วนหนึ่ง
การคืนบางส่วนเพื่อไปพัฒนาแก้ไขปัญหาย่อมเป็นหน้าที่พลเมืองที่ดีมีคุณภาพ
ของรัฐ และรัฐต้องเป็นรัฐที่ดีด้วยเช่นกัน
ในการใช้ส่วนนั้นกลับไปพัฒนาสังคม
ตลอดจนคุณภาพชีวิตและสวัสดิการที่ดีจากรัฐ
พลเมืองในยุโรป โดยเฉพาะประเทศแถบสแกนดิเนเวีย
ยินดีจ่ายภาษีส่วนเกินนี้คืนให้รัฐแน่นอน
ในอัตราก้าวหน้าจากทรัพย์สินและรายได้ที่งอกเงย
เพราะแต่ละคนก็เอาประโยชน์ที่งอกเงยนั้นมาจากสังคมไม่เท่ากัน
ความเป็นธรรมจึงเกิดขึ้นจากโครงสร้างภาษีที่เป็นธรรมนี้
และรัฐบาลก็นำภาษีที่เก็บได้มาพัฒนาสังคม จนผลิตผลของทรัพย์สิน
ที่ดินและมูลค่าของการลงทุนต่างๆ
งอกเงยขึ้นมาเป็นดอกผลตอบแทนคืนสูพลเมืองอีกระลอกหนึ่ง แน่นอน
ผลพวงนี้เชื่อมต่อกันและทุกคนก็ยินดีที่จะจ่ายภาษีเหล่านี้
หลายครอบครัวยินดีที่จะจ่ายเงินมากกว่าอีกครอบครัวหนึ่งซึ่งมีรายได้น้อย
กว่า เพียงเพื่อจะให้ลูกของตนเข้าโรงเรียนที่เดียวกัน
เหตุผลเดียวก็คือเพื่อให้ลูกหลานของตนได้เรียนรู้และอยู่ใน "สังคม"
ในอเมริกา อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ จอร์จ บุช ผู้พ่อ
เคยเสนอให้ยกเลิกเก็บภาษีมรดก เพื่อเดินทางเสรีนิยมสุดขั้ว
ให้การแข่งขันและการผลิตของทุนมุ่งกำไรเต็มที่โดยไม่ต้องเอาสังคมเป็นภาระ
ปรากฏว่านายทุนชั้นนำของสหรัฐฯ ต่างออกมาคัดค้าน
หลายคนเห็นว่าพวกเขากอบโกยมาจากคนกว่า 200 ล้านคนในสหรัฐฯ
ย่อมสมควรคืนกลับให้สังคมบ้างไม่มากก็น้อย
อย่างน้อยก็เพื่อให้สังคมที่เขาอยู่ดีขึ้น
และมันทำให้คุณภาพชีวิตของพวกเราดีขึ้นด้วย เข้าทำนองภาษิตที่ว่า
"หากคนอ้วนแบ่งอาหารให้คนผอม ชีวิตเขาจะยืนยาวทั้งคู่"
ระหว่างที่ทรัพย์สินงอกเงยขึ้น
มาจากการคุ้มครองจากรัฐในรูปแบบนิติบุคคล แน่นอน
เราจ่ายภาษีเพียงบางส่วนให้แก่รัฐ แต่สังคมที่โอบอุ้มดูแลอยู่ล่ะ
เราได้เสียภาษีสังคมหรือไม่ สิ่งแวดล้อมที่เสื่อมสลายลงทีละน้อยๆ ล่ะ
เราได้จ่ายภาษีสิ่งแวดล้อมที่เสียไปอย่างคุ้มค่าหรือไม่
มีใครเคยคิดบ้างว่า เรายังคงหายใจในอากาศร่วมกัน
เรายังคงหายใจบนพื้นที่ส่วนรวมอยู่
ไม่น้อยก็มากชีวิตเรากึ่งหนึ่งยังเป็นของส่วนรวม
ภาษีทรัพย์สิน
คือภาษีทางตรงที่เราจ่ายให้แก่รัฐและสังคมระหว่างที่มีชีวิตอยู่
และแน่นอน ภาษีมรดก คือการจ่ายส่วนเกินที่ปลายทางนั่นเอง
ส่วนเกินที่เราสะสมมาจากมูลค่าที่สังคมโอบอุ้ม เราไม่ได้มันมาจากสุญญากาศ
ดังนั้น เราจ่ายภาษีคืนสังคมเผื่อเหลือเผื่อขาดแน่นอน
มันจึงพอกพูนงอกเงยขึ้นเป็นกองมรดกให้แก่ลูกหลาน
การจ่ายคืนส่วนเกินบางส่วนให้แก่สังคมปลายทางนี้
จึงเป็นอัตราก้าวหน้าเช่นกันเพื่อความเป็นธรรมทางสังคม
ในสหภาพยุโรปเกือบทุกประเทศเก็บภาษีมรดกอัตราก้าวหน้า
รวมถึงญี่ปุ่นและอเมริกาด้วย
มีทั้งปันส่วนหนึ่งเข้ารัฐบาลกลางและส่วนหนึ่งเข้าท้องถิ่น
มีทั้งภาษีการให้และการรับ
จากกองมรดกและหรือจากการรับมรดกก็ตามรูปแบบที่แต่ท้องที่ไป
ในประเทศไทย ซึ่งมีปัญหาความเหลื่อมล้ำมหาศาล
คนรวยพากันคัดค้านการปฏิรูปภาษีเพื่อความเป็นธรรมทางสังคมมาโดยตลอด
แต่ก็เป็นที่น่ายินดี
ที่รัฐบาลดำริว่าจะผลักดันภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในเร็วๆ นี้
เพราะมันถึงเวลาแล้วจริงๆ!!!
และในอนาคตภาษีมรดกจะตามมาเยียวยาบาดแผลและรอยร้าวของความยากจน
ที่เกิดจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจและนโยบายที่ไม่เป็นธรรมมาตลอดกว่า 50 ปี
กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ซึ่งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้เก็บนี้
นอกจากเป็นมาตรการสำคัญในการปฏิรูประบบภาษีที่ดิน
และสามารถพัฒนาโครงสร้างทางการคลังเพื่อนำไปสู่ภาวการณ์กระจายรายได้ที่ดี
ขึ้นได้ ยังเป็นการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นและเป็นการพัฒนาประชาธิปไตยในระยะยาวอีก
ขั้นหนึ่ง เพราะเป็นรายได้ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดสรรทรัพยากรและ
กระจายการพัฒนาสาธารณูปโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตามหลักการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของประชาชน
เนื่องเพราะประเทศไทยยังไม่มีภาษีที่จัดเก็บจากฐานทรัพย์สินที่แท้จริงเช่น
นี้ นอกจากฐานรายได้ คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
และฐานการบริโภค คือ ภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มต่างๆ
ซึ่งเป็นการเก็บภาษีทางอ้อมที่ผลักภาระให้คนจนส่วนใหญ่เป็นผู้แบกรับภาษีดัง
กล่าว ซึ่งเป็นโครงสร้างภาษีที่ไม่มีความเป็นธรรม
แม้ว่าในอดีตถึงปัจจุบัน เราจะมีการเก็บภาษีโรงเรียนและที่ดิน
และภาษีบำรุงท้องที่ แต่ก็ไม่ได้เก็บจากมูลค่าของทรัพย์สินอย่างแท้จริง
เพราะเป็นการคำนวณภาษีบนฐานรายได้ โดยคำนวณจาก "ค่ารายปี"
หรือค่าเช่าที่เจ้าของได้รับในแต่ละปี
ถ้ามีการออกกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
จะเป็นภาษีทางตรงที่เก็บจากฐานทรัพย์สินที่แท้จริง
อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่ได้เป็นอัตราก้าวหน้าในเชิงการถือครองมูลค่า
แต่ก็เป็นอัตราก้าวหน้าในเชิงการใช้ประโยชน์
หากมีการปล่อยที่ดินไว้รกร้างว่างเปล่าก็จะเก็บภาษีมากขึ้น
หากเป็นที่ดินที่ทำประโยชน์เชิงพาณิชย์ก็จะมีอัตรามากกว่าพื้นที่เกษตรกรรม
ทั่วไป อย่างไรก็ตาม ร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ไม่ได้เน้นในเรื่องของการกระจายการถือครองที่ดินโดยตรง
และคนจนจำนวนมากไม่มีที่ดินทำกิน ดังนั้น กระทรวงการคลัง
ควรมีนโยบายที่จะป้องกันไม่ไห้ที่ดินหลุดมือจากเกษตรกรไปสู่นายทุน
โดยเพิ่มมาตรการการเก็บภาษีอัตราก้าวหน้าที่มากขึ้น
โดยเฉพาะพื้นที่รกร้างไม่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตร และนโยบาย
"โฉนดชุมชน" เพื่อเป็นการสร้างการยอมรับการครอบครองที่ดินทำกินและที่ดินอยู่อาศัยของผู้
ที่ใช้ประโยชน์ในที่ดินที่แท้จริง
และเป็นมาตรการในการให้ชุมชนมาจัดการที่ดินร่วมกัน
เพื่อให้ที่ดินสามารถคงอยู่กับคนในชุมชนได้อย่างยั่งยืนต่อไป
รวมถึงควรมีมาตรการกันรายได้ของภาษีที่ดินส่วนหนึ่งตั้งเป็น
"ธนาคารที่ดิน" เพื่อเป็นหลักประกันให้คนจนที่ไม่มีที่ดินทำกิน
มีโอกาสในการเข้าถึงที่ดิน
นอกจากนี้ หากเป็นไปได้ในระยะอันใกล้
หรืออาจเป็นนโยบายสังคมระยะยาว ควรมีนโยบายการปฏิรูปที่ดินทั้งระบบ
เพื่อการกระจายการถือครองที่ดินอย่างจริงจัง โดยการรื้อฟื้นปรับปรุง
พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 ในสมัยจอมพล ป.
พิบูลสงคราม ซึ่งมีการจำกัดการถือครองที่ดินไม่เกิน 50 ไร่
และห้ามคนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน
แต่มายกเลิกในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่
19 เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2503 ยกเลิกการจำกัดการถือครองที่ดิน
เพื่อส่งเสริมให้เอกชนได้แสวงประโยชน์จากทรัพยากรโดยไม่มีมาตรการรองรับ
จนโครงสร้างการจัดการทรัพยากรโดยเฉพาะที่ดินเปลี่ยนแปลงไปจนเกิดปัญหาการ
สะสมที่ดินขึ้น โดยรัฐบาลและกระทรวงการคลังอาจร่วมกันปฏิรูปกฎหมายดังกล่าวให้ทันสมัยขึ้น
โดยมีมาตรการจำกัดการถือครองเพิ่มขึ้นไม่เกิน 200 ไร่ ตามความจำเป็น
เป็นต้น ซึ่งจะสนับสนุนนโยบายการเก็บภาษีที่ดินฯ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
หรืออาจจะปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ให้ครอบคลุมมาตรการดังกล่าว เพราะหากรัฐบาลไม่มีนโยบายเรื่องนี้
เกษตรและชาวนาไทยอาจจะกลายเป็นเพียงแรงงานในท้องไร่ที่เป็นฟาร์มขนาดใหญ่ของ
นายทุนข้ามชาติในอนาคต
ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าว ยังเป็นไปตามเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญไทย
พ.ศ. 2552 มาตรา 85 ที่บัญญัติว่า
รัฐมีหน้าที่กระจายการถือครองอย่างเป็นธรรม
และดำเนินการให้เกษตรกรมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมอย่างทั่ว
ถึงโดยการปฏิรูปที่ดินหรือวิธีอื่น
อย่างไรก็ดี ประเทศไทย
ควรมีนโยบายการเก็บภาษีทรัพย์สินอัตราก้าวหน้า
ทั้งจากสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์เหมือนภาษีทรัพย์สินในต่างประเทศ
ไม่ใช่จากอสังหาริมทรัพย์อย่างเดียวตามที่บัญญัติไว้ในร่างพระราชบัญญัติ
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ซึ่งจะเป็นมาตรการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมในระยะยาว
รวมถึงการเก็บภาษีมรดกอัตราก้าวหน้า
เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมทางสังคม
และเป็นหลักประกันด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ตามสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม
และวัฒนธรรม (ICESCR) ที่ประเทศไทยเป็นภาคีอยู่
เพื่อให้รัฐและท้องถิ่นนำมาใช้ในการพัฒนาสาธารณูปโภคและสวัสดิการทางสังคม
เช่น การขนส่งมวลชนสาธารณะ การศึกษาและการสาธารณสุข เป็นต้น
เพื่อให้ประชาชนมีเสรีภาพปลอดพ้นจากความอดอยากแร้นแค้น
โดยเฉพาะชนชั้นล่างทางสังคม
ซึ่งหากภาษีที่รัฐเก็บมาใช้จ่ายไปในกลุ่มที่เป็นกลุ่มรายได้ระดับล่างมาก
เท่าไหร่ ก็ยิ่งจะทำให้เกิดการกระจายรายได้ที่เท่าเทียมกันมากขึ้น
ซึ่งจะสามารถลดช่องว่างของคนในสังคมได้มากยิ่งขึ้น
มันถึงเวลาแล้วที่คนรวยจะต้องไม่เห็นแก่ตัว
แล้วมันแต่อ้างอิงว่าตนเองและสังคมจะเสียประโยชน์จากนโยบายเหล่านี้
การแข่งขันเสรีจะสะดุด หรือวิกฤตเศรษฐกิจจะตามมา
นอกจากเป็นอวิชชาของพ่อค้าคนธรรพ์จอมปลอมแล้ว ทุกคำที่ท่านอาจคัดค้าน
ก็ล้วนแต่ส่งสาส์นของความเห็นแก่ได้ไม่รู้จบ
หากคนอ้วนไม่สนใจคนผอม
ความขัดแย้งก็ไม่มีวันสิ้นสุดและสะดุดเสรีนิยมสุดขั้วลงทุกครั้งด้วยความ
รุนแรงทางสังคม ความมั่นคงของมนุษย์ไม่อาจละเลยลืมเลือนต่อส่วนรวม
สังคมจะขับเคลื่อนกงล้อไปสู่อารยธรรมใหม่ได้
ก็เมื่อเราสละไวน์รสดีขวดละแสน
เป็นน้ำทิพย์ชุบชีวิตเพื่อนมนุษย์ที่แร้นแค้นใกล้ตาย
จากโครงสร้างที่เขาไม่สามารถเข้าถึงมาเป็นสังคมเศรษฐกิจที่เราร่วมกันออกแบบ
ได้ เพื่อมาร่วมใช้ชีวิตร่วมกันและพัฒนาสังคมต่อไป
The World is our Country, the Humanity is our Homeland...
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9520000087947
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น