สธ.เผยผลพิสูจน์ ชัด
ดื่มนมเปรี้ยวช่วยลดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดได้เพียงเล็กน้อย
เตือนนักดื่มอย่าหลงเชื่อ ชี้พวกเมาแล้วขับนมเปรี้ยวช่วยไม่ได้
ไม่ว่าดื่มอะไรก็หลอกเครื่องตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ไม่ได้
วันที่ (20 ส.ค.) นายมานิต นพอมรบดี
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
กล่าวถึงกรณีที่มีการนำเสนอข่าวว่าการดื่มนมเปรี้ยวสามารถลดระดับแอลกอฮอล์
ในเลือดได้ ทำให้เครื่องตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์เมาแล้วขับไม่สามารถตรวจจับได้นั้นว่า
ได้รับรายงานจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในการตรวจสอบพิสูจน์ข้อเท็จจริงทาง
วิทยาศาสตร์ พบว่า จากการทดลองให้อาสาสมัคร จำนวน 5 คน ดื่มสุรา 3 คน
และดื่มเบียร์ 2
คนเพื่อตรวจวัดแอลกอฮอล์ในเลือดของอาสาสมัครหลังจากเวลาผ่านไป 20
นาทีแล้วให้ดื่มนมเปรี้ยวหรือนมจืดและทำการวัดปริมาณแอลกอฮอล์ซ้ำทันที
และจะทำการวัดปริมาณแอลกอฮอล์อีก 2 ครั้ง หลังจากรอเวลา 10 นาที และ 20
นาที ผลจากการทดลองพบว่า คนที่ดื่มสุราขนาด 500 มิลลิลิตร
จะมีปริมาณแอลกอฮอล์ 202 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
และเมื่อวัดปริมาณแอลกอฮอล์หลังจากดื่ม นมเปรี้ยวทันทีลดลงเล็กน้อยคือ
182 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ และหลังจากดื่มนมเปรี้ยว 10 นาที และ 20 นาที
วัดปริมาณแอลกอฮอล์ได้ 179 และ 166 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ตามลำดับ
นายมานิตกล่าวต่อว่า สำหรับอาสาสมัครที่ดื่มเบียร์ขนาด 630
มิลลิลิตร จำนวน 3 ขวดพบปริมาณแอลกอฮอล์ 104 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
และเมื่อวัดปริมาณแอลกอฮอล์หลังจากดื่มนมเปรี้ยวทันทีปริมาณแอลกอฮอล์ลดลง
เพียงเล็กน้อยคือ 101 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ และหลังจากดื่มนมเปรี้ยว 10
นาที และ 20 นาทีวัดปริมาณแอลกอฮอล์ได้ 93 และ 92 ตามลำดับ ทั้งนี้
การวัดผลไม่เท่ากันนั้นมีปัจจัยหลายอย่างเกี่ยวข้อง คือช่วงเวลาหลังดื่ม
การที่มีอาหารในกระเพาะมากหรือน้อยขนาดของร่างกายและขบวนการเผาผลาญอาหารใน
ร่างกาย
"ผล การทดลองพบว่า
การดื่มนมเปรี้ยวลดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดได้เพียงเล็กน้อย ประมาณร้อยละ 5
เท่านั้น แต่ไม่ช่วยให้ลดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดได้ในปริมาณมาก
หรือผ่านเครื่องตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ที่กฎหมายกำหนดค่าระดับแอลกอฮอล์ใน
เลือดของผู้ขับขี่ยานพาหนะต้องไม่เกิน 50
มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์"นายมานิตกล่าว
นายมานิตกล่าวอีกว่า หากดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น สุรา
เบียร์ ไวน์เครื่องดื่มนี้จะผ่านจากปากไปยังกระเพาะอาหารเนื่องจากโมเลกุลของ
แอลกอฮอล์มีขนาดเล็กและไม่ต้องการการย่อยก่อนทำให้แอลกอฮอล์สามารถถูกดูดซึม
เข้าสู่เลือดอย่างรวดเร็วเมื่อเลือดผ่านปอดแอลกอฮอล์บางส่วนจะแพร่ออกสู่ลม
หายใจดังนั้นการวัดระดับแอลกอฮอล์จากลมหายใจที่ถูกจะต้องเป่าลมหายใจเข้า
เครื่องวัดจนหมดลมหายใจและเครื่องจะใช้ปริมาณแอลกอฮอล์สุดท้ายในการ
วิเคราะห์ผลโดยหัววัดของเครื่องวัดจะตอบสนองต่อแอลกอฮอล์ชนิดเอทิลเท่านั้น
ซึ่งการใช้วิธีการดังกล่าว
เป็นวิธีการมาตรฐานสากลที่มีการพิสูจน์มาแล้วทั่วโลกแม้ว่าจะมีการดื่ม
เครื่องดื่มประเภทอื่นตามหลังจากดื่มสุราก็ไม่สามารถหลอกเครื่องวัดระดับ
แอลกอฮอล์ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น