เพ็ญศรี เผ่าเหลืองทอง
เมื่อแมกกาซีนบนอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นใหม่ๆ หมายถึงบรรดาหนังสือพิมพ์
แมกกาซีนทั้งหลายเอาเนื้อหาลงเว็บไซต์ให้คนอ่านได้ฟรีๆ
เจ้าของธุรกิจสิ่งพิมพ์ทั่ว
ไปต่างก็วิตกกังวลว่าสิ่งพิมพ์ของตนจะขายไม่ได้ แต่เปล่าเลย
การณ์กลับปรากฏว่าหนังสือ สิ่งพิมพ์ต่างๆ ขายดีขึ้นทุกวัน มีหนังสือ
หนังสือพิมพ์และนิตยสาร
ใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย
แล้วอย่างนี้จะว่าอินเทอร์เน็ตเป็นศัตรูกับหนังสือได้อย่างไร
ความกลัวว่าอินเทอร์เน็ตจะเป็นศัตรูนั้นได้แล่นเข้าจับหัวใจค่ายเพลงต่างๆ
ในโลกนี้ด้วย ทำให้บรรดาค่ายเพลงทำศึกสงครามกับกระบวนการดาวน์โหลด
เพลงทางอินเทอร์เน็ต ทำให้ต้องเสียเงินเสียทอง
เสียเวล่ำเวลากับการราวีกับเรื่องนี้ไปมากมาย
แต่แล้ว ในขณะที่ค่ายเพลงรุ่นเก่ากำลังหน้ามืดอยู่นั้น
ก็มีค่ายเพลงค่ายใหม่ซึ่งคงจะยึดถือคติที่มีมาแต่โบร่ำโบราณว่า
"ถ้าคุณคว่ำคู่ต่อสู้ไม่ได้ ก็ชวนมาเข้า
พวกเสียเลย" ได้พากันคิดใหม่ทำใหม่
ด้วยการผนวกเอาการดาวน์โหลดเพลงจากเว็บไซต์มาเป็นหนึ่งในแผนการโปรโมตเพลงเสียเลยให้รู้แล้วรู้รอด
ทำไมถึงมีแผนการตลาดแบบนี้
มันเกิดจากความจำเป็นของต้นทุนต่ำ ไม่มีเงินเอาไปโปรโมต
ซื้อเวลาเปิดเพลงตามวิทยุหรือทีวี
เนื่องจากเป็นเพลงจากค่ายอินดี้ที่เลือกทำงานกับนักแต่ง
เพลงหน้าใหม่ ยังไม่มีคนรู้จัก เลยต้องเลือกวิธีนี้แหละ แล้วก็ได้ผลเสียด้วยแฮะ
ค่าย Team Love เป็นค่ายเพลงใหม่ ที่เกิดจากการรวมตัวของ Nate Krenkel
กับ Conor Oberst ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งอินดี้แบนด์ Bright Eyes
แผนการเริ่มขึ้นเมื่อ
Bright Eyes สามารถขายซีดีชุดใหม่ได้ทะลุเป้า 100,000 ชุด และ Oberst
ต้องการจะทำอะไรใหม่ๆ ต่อไปจึงจับมือกับ Krenkel
ทั้งสองมีความคิดว่าจะทำค่ายเพลงที่เป็นกันเอง
และทำอะไรไม่ซ้ำกับพี่เก่าๆ
สัปดาห์ถัดมาจากที่คุยกันตกลงในหลักการตรงกันแล้ว ทั้งสองก็ไปทาบทามวง
Tilly and the Wall ซึ่งทั้งสองอยากให้เป็นวงเปิดบริษัทใหม่
ลงทุนขนาดพาไปเลี้ยงข้าวไทยซึ่งตอนนี้ขึ้นแป้นเป็นอาหารยอดฮิตของโลกไปแล้ว
เรื่องก็เลย
ง่าย
พวกเขาตกลงกันว่าจะทำสัญญากันแค่ อัลบั้มเดียวก่อนพอ
ไม่เอาแล้วแบบผูกพันกันนานๆ แบบเป็นปีๆ
แต่วงที่ทำสัญญาจะได้รับอิสระเต็มที่ ไม่มีมาบังคับว่า
ต้องทำเพลงแบบนี้ถึงจะขายได้ แต่ที่ต้องตกลงกันแบบไม่มีข้อยกเว้นคือ
พอซีดีวางตลาดต้องยอมให้เอาไปดาวน์โหลดบนอินเทอร์เน็ตทันที
Krenkel เชื่อมั่นว่ายิ่งมีคนดาวน์โหลดเท่าไหร่ ซีดีก็จะยิ่งขายดี
การทำอย่างนี้เป็นการทำตามกระแสพฤติกรรมผู้บริโภคปัจจุบัน
ที่ไม่ชอบให้ใครมาวุ่นวาย
ควบคุมความประพฤติ
ที่เคยวิเคราะห์กันว่าดาวน์โหลดได้แล้วจะไม่ซื้อซีดีนั้นไม่จริง
วิเคราะห์ใหม่น่าจะดีกว่า
ยังไงคนที่โปรดปรานดนตรีก็จังจะควักกระเป๋า "จ่าย"
ค่าซีดีเพื่อความพึงพอใจของตนอยู่ดี
เหมือนที่คนชอบแต่งตัวก็จะชอบซื้อเสื้อผ้า คนชอบดื่มก็ซื้อไวน์
คนชอบกินก็ไปสรรหากินร้านดีๆ คนชอบอ่านหนังสือก็ซื้อหนังสืออยู่ดี
แม้จะมีสรรพความรู้
ข้อมูลให้อ่านไม่หวาดไหวบนอินเทอร์เน็ตก็ตาม
คนเราทำงานเหนื่อยแล้วก็อยากใช้เงินปรนเปรอตัวเองตามรสนิยมทั้งนั้นแหละ
ผู้เขียนเคยไดัรับซีดีฟรีจากเพื่อนที่ดาวน์โหลดมาให้
ไม่รู้แผ่นนั้นไปอยู่ไหนแล้ว ฟังสองทีก็ลืมแล้ว
เนื่องจากมันไม่ใช่รสนิยมของเราน่ะ เพลงที่เราชอบเราก็
ควักกระเป๋าซื้อเองและฟังแล้วฟังอีกไม่มีเบื่อ
เสื้อผ้าก็เหมือนกันที่เราซื้อเองจะใส่บ่อยกว่า
ที่คนอื่นให้มาใส่สองทีก็เก็บ จริงไหม
เขาบอกว่านักดนตรีรุ่นใหม่กำลังใช้เทคโนโลยีทีมีอยู่ด้วยวิธีการที่สร้างสรรค์
ด้วยการใช้การดาวน์โหลดอินเทอร์เน็ตนี่แหละต่อสู้กับค่ายยักษ์ใหญ่
เชื่อหรือไม่
ว่ามันกลายเป็นสิ่งท้าทายค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ไปแล้ว
ปกติอัลบั้มจากค่ายเพลงยักษ์จะต้องขายให้ได้ 500,000
แผ่นถึงจะมีกำไรเพราะมีค่าใช้จ่ายสูง
ส่วนเพลงจากค่ายอินดี้ไม่มีค่าใช้จ่ายคนกลางหรือค่าโปรโมท
ขายอัลบั้มละแค่ 20,000 ถึง 30,000 แผ่นก็อยู่ได้
ในกรณีของ Tilly ขายได้ 10,000 แผ่นก็เริ่มมีกำไรแล้ว
กระบวนการนี้เป็นอะไรที่จะต้องจับตาดูกันต่อไปว่าจะเข้ามาคานกับกระแสหลักของเพลงป็อบจากค่ายยักษ์แบบ
บริตนีย์ สเปียร์ส หรือ บียอนเซ่ ได้หรือไม่
เพราะผู้ก่อตั้งทั้งสองคือ Krenkel และ Oberst นั้นก็ใช่ว่าจะธรรมดา
Oberst อายุแค่ 24 ก็จริง แต่อยู่ในวงการดนตรีมาแล้วถึง 11 ปี เมื่อนำวง
Bright Eyes ก็ทำจนดัง ส่วน Krenkel ทำงานกับโซนี่และอีเอ็มไอ
มีประสบการณ์
ในการทำสัญญากับนักร้องและวงดนตรีมากมาย
ย่อมจะต้องรู้ว่ากระบวนการโปรโมตดนตรีมันเป็นอย่างไร
เมื่อรู้แล้วการจะตัดค่าใช้จ่ายและใช้วิธีอื่นแทนก็
ย่อมเป็นไปได้
แทนที่จะจ้างโปรโมเตอร์เปิดเพลงในเอ็มทีวีและวิทยุก็ให้ดาวน์โหลดจากเน็ตแทน
แทนที่จะให้สัมภาษณ์ทีวี สิ่งพิมพ์ก็ให้แฟนส่งอี-เมลมาคุย
แทนที่จะจ่ายเงินออกเอ็มทีวี ก็เอาวิดีโอใส่ในเน็ตให้แฟนๆ ดาวน์โหลดได้
วิธีสู้ของคนตังค์น้อยก็มี แล้วแต่ใครจะมีกึ๋นคิดสร้างสรรค์
แจ๊กก็เคยล้มยักษ์มาแล้วนะอย่าลืม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น