ควันหลง...ในงาน "ประมงน้อมใจ ไทยทั่วหล้า" ซึ่งจัดขึ้นที่ห้อง
เอ็มซีซีฮอลล์ ชั้น 4 เดอะมอลล์ บางกะปิ เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา
ฮือฮากันมาก...เมื่อนาย พานทองแท้ ชินวัตรหรือ "หนุ่มโอ๊ค" ลูกชาย ของ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นำปลาหมอสี สายพันธุ์ครอสบรีด
เท็กซัสแดงชื่อ "พัตพาร์" ที่กล่าวขานกันว่ามี ราคาซื้อขายกันสูงถึง 5
แสนบาท!!! เข้าประกวดจนคว้ารางวัลชนะเลิศรางวัล ปลาสวยงาม
กลายเป็นเจ้าของถ้วยพระราชทานสมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
ปลาหมอสี หรือปลาหมอแอฟริกา เป็นปลาสวยงาม ในวงศ์ซิคิลดี Family Cichidae
มีถิ่นกำเนิดแพร่กระจายอยู่ที่ภูมิภาคในเขตร้อนของโลก ได้แก่ ทวีปแอฟริกา
อเมริกาใต้ อเมริกากลาง อินเดียและศรีลังกา
เนื่องจากอาณา เขตการแพร่กระจายของปลาวงศ์นี้
มีภูมิประเทศและสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน ประกอบไปด้วยทะเลสาบ แม่น้ำ
ลำธาร และหนองบึง จึงส่งผลให้เป็นปลาที่มีความหลากหลาย
ทั้งสายพันธุ์รูปร่างและการดำรงชีวิตที่แตกต่าง ประกอบ
อยู่ในตัวมันนั่นเอง!!!
แหล่งกำเนิดปลาหมอสี มีอยู่หลายพื้นที่ อย่างเช่นทะเลสาบมาลาวี
มีปลาหมอสีอยู่ 500 ชนิด... ทะเล สาบวิกตอเรีย มีปลาหมอสีอยู่ 300 ชนิด
ห้วงเวลาระหว่างปี ค.ศ.1950-1960
มนุษย์นำเอาปลาสกุลกะพงขาวจากแม่น้ำไนล์ไปปล่อย ในทะเลสาบ
เพื่อความต้องการให้เกิดผลผลิตเป็นอาหารแก่ชาวพื้นเมืองที่อาศัยอยู่
โดยรอบของ ทะเลสาบ ปรากฏว่าส่งผลกระทบให้จำนวนปลาหมอสีสูญพันธุ์ไปถึง 100
ชนิด
ปลาหมอสี ที่เข้ามาในประเทศไทยในราว 30-40 ปีที่ผ่านมา
ประกอบด้วยสายพันธุ์ แจ๊กเคมเซย์ แองการ่า หมอโปโล หมอไฟว์เม้าส์ หมอส้ม
แรมห้าจุด แรมเจ็ดสี และแรมเพชร โดยนำมาจาก ฮ่องกงโดยกลุ่มพ่อค้าส่งออก
ปลาสวยงาม นำมาเพาะเลี้ยงเพื่อการส่งออกและ
ส่วนหนึ่งก็จำหน่ายอยู่ภายในประเทศอีก ด้วย
ที่ตลาดนัดสวนจตุจักร คือแหล่งรวม ที่ใหญ่ที่สุด...
การเพาะพันธุ์ปลาหมอสี
ต้องเริ่มจากการคัดเลือกสายพันธุ์พ่อพันธุ์แม่พันธุ์
โดยพ่อแม่พันธุ์ที่ดี ต้องดูที่ความสมบูรณ์ ว่ายน้ำว่องไว ปราดเปรียว
ต้องไม่ผ่านการเร่ง หรือย้อมสี อายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป
สถานที่เพาะเลี้ยง ใช้ตู้ขนาด 36 นิ้ว ให้ปล่อยพ่อพันธุ์ 3
ตัวและแม่พันธุ์ 15 ตัว ในอัตราส่วน พ่อพันธุ์ 1 ตัวต่อแม่พันธุ์ 5 ตัว
ให้ทาสีตู้ทั้ง 3 ด้านเพื่อป้องกันปลาตกใจ การผสมพันธุ์
เมื่อตัวเมียวางไข่ ตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อผสมกับไข่
แม่พันธุ์จะอมไข่ไว้ในปากครั้งละประมาณ 30-40 ฟองใช้เวลา 15
วันในการฟักตัว ระหว่างนี้
ผู้เพาะเลี้ยงต้องนำแม่พันธุ์มาเปิดปากเพื่อนำตัวอ่อนออกไปอนุบาลแยกในตู้อื่นๆ
ให้อาหาร จำพวกไรแดงขนาดเล็กวันละ 2 ครั้ง เปลี่ยนถ่ายน้ำประมาณ 2 ใน 3
ของประมาณน้ำในตู้ปลาทุกวัน
หลังจากอนุบาลได้ 15 วัน เปลี่ยนอาหารจากไรแดงเป็นอาหารเม็ดขนาดเล็ก
เลี้ยงได้อายุ 1 เดือนสามารถนำออกวางจำหน่ายได้แล้ว
การเร่งสีในตัวปลาหมอสีนั้น กระทำได้โดยการให้ อาหารเสริมเท่านั้น
สำหรับการเร่งสีโดยการฉีดฮอร์โมนหรือใช้ยาเร่ง "สีจะสดจริง"
...แต่วิธีการนี้ไม่ควรใช้ เพราะร่างกายปลาหมอสีจะบอบช้ำและมีอายุสั้นลง!!!
ไชยรัตน์ ส้มฉุน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น