ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 21 ทุติยปัณณาสกะ
พระพุทธองค์ได้ตรัสแสดงเกี่ยวกับอสูร 4 ประเภท คือ
1. อสูรที่มีอสูรเป็นบริวาร เปรียบได้กับบุคคลผู้ทุศีล มีบาปธรรม
มีบริวารเป็นผู้ทุศีล
2. อสูรที่มีเทพเป็นบริวาร เปรียบได้กับบุคคลผู้ทุศีล
แต่มีบริวารเป็นผู้มีศีล มีกัลยาณมิตร
3. เทพที่มีอสูรเป็นบริวาร เปรียบได้กับบุคคลผู้มีศีล
มีกัลยาณธรรม แต่มีบริวารเป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม
4. เทพที่มีเทพเป็นบริวาร เปรียบได้กับบุคคลผู้มีศีล
มีกัลยาณธรรม ทั้งมีบริวารเป็นเช่นนั้นด้วย
คำว่า อสูร ในที่นี้หมายถึงเทวดา แต่เป็นเทวดาที่เกเร มีฤทธิ์เดช
และชอบใช้ฤทธิ์เดชในทางที่ผิด ก่อความเดือดร้อนให้แก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย เนื่องจากไม่มีศีลและไม่มีกุศลธรรม
แต่ก็ยังมีกุศลกรรมที่ได้กระทำในปางก่อนที่เป็นเหตุให้มาเกิดเป็นเทพ
และสามารถจะอยู่บนสวรรค์ต่อไปได้จนกว่าจะหมดบุญเก่า
และอสูรที่ว่านี้เองที่ก่อความเดือดร้อนให้แก่ผู้ที่อยู่ในอาณาจักรแห่ง
สวรรค์และโลกมนุษย์อยู่เป็นระยะๆ
อีกนัยหนึ่ง ในพระสูตรเดียวกันนี้พระพุทธเจ้าได้แสดงบุคคล 4
ประเภท เป็นการอธิบายขยายความอสูร 4
ประเภทข้างต้นให้ชัดเจนยิ่งขึ้นดังต่อไปนี้
ผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น
เปรียบเหมือนดุ้นฟืนถูกไฟไหม้สองข้างตรงกลางเปื้อนอุจจาระ
ใช้ประโยชน์ไม่ได้ทั้งในบ้าน และในป่า
คำว่า ทุศีล หมายถึงไม่มีศีลหรือรับศีลแล้วรักษาศีลไว้ไม่ได้
ทำให้ศีลขาดหรือด่างพร้อยไม่สมบูรณ์
ในที่นี้หมายถึง ศีล 5 หรือนิจศีลที่ควบคู่กับกัลยาณธรรม
อันเป็นศีลที่สาธุชนหรือคนดีในความหมายของสังคม
โดยนัยแห่งคำสอนของพุทธศาสนาในข้อที่ว่าด้วยอสูร 4 ประเภทนั้น
เมื่อพิจารณาดูในแง่ของเนื้อหาสาระแล้ว
พระพุทธองค์ทรงสอนบุคคลทั้งที่อยู่ในฐานะผู้นำ และผู้ตามหรือบริวาร
โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ คือ
1. ผู้นำเป็นคนเลว และมีบริวารเป็นคนเลว
ด้วยคนกลุ่มนี้จัดอยู่ในประเภทผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์
และประโยชน์ผู้อื่น
เปรียบเหมือนดุ้นฟืนถูกไฟไหม้สองข้างตรงกลางเปื้อนอุจจาระ
ใช้ประโยชน์ตนไม่ได้ทั้งในบ้าน และในป่า
2. ผู้นำเป็นคนเลว แต่บริวารเป็นคนดี
เปรียบได้กับผู้ที่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น
แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ถือได้ว่าดีกว่าประเภทแรก
3. ผู้นำเป็นคนดี แต่บริวารเป็นคนเลว
เปรียบได้กับผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน
แต่มิได้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์คนอื่น เชื่อได้ว่าดีกว่า 2 ข้อแรก
4. ผู้นำเป็นคนดี ทั้งบริวารก็เป็นคนดีด้วย
เปรียบได้กับบุคคลที่ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตนและประโยชน์ของคนอื่น
ถือว่าดีที่สุดในบุคคล 4 ประเภท
อย่างไรก็ตาม โดยนัยแห่งคำสอนข้อนี้
พระพุทธองค์ทรงหมายถึงการประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นคนดี โดยการลดละ ราคะ
โทสะ และโมหะของตนเองให้เบาบางก่อน แล้วสอนผู้อื่นให้ทำตาม ถือว่าถูกต้อง
และดีที่สุด มิได้หมายถึงสิ่งของเงินทองที่บุคคลพึงหาเพื่อตนเองและผู้อื่น
ดังนั้นโดยนัยแห่งคำสอนนี้จึงหมายถึงว่า
คนควรทำตนเองให้เป็นคนดีก่อนแล้วสอนให้คนอื่นเป็นคนดีตาม ถือว่าดีที่สุด
แต่ถ้ายังสอนตนเองไม่ได้ แต่พยายามสอนผู้อื่นก็ถือว่ายังดีกว่าไม่สอน
จากคำสอนข้อนี้
ถ้าท่านผู้อ่านสามารถศึกษาและทำความเข้าใจให้ถูกต้อง
และตรงต่อเจตนารมณ์ของการสอนแล้ว
จะเป็นเครื่องมือหรือแนวทางชี้วัดตัวท่านเองในฐานะเป็นผู้นำ
และในฐานะเป็นบริวารได้เป็นอย่างดีว่า ท่านจัดอยู่ประเภทไหน
ดีหรือเลวอย่างไร
ถ้านำเอาคำสอนข้อนี้มาชี้วัดผู้คนในสังคมไทยโดยเฉพาะสังคมการเมืองแล้ว
พอจะอนุมานได้หรือไม่ว่าผู้นำรัฐบาลในปัจจุบันควรจะจัดอยู่ในประเภทใดได้
บ้าง เพราะเหตุใด?
เพื่อให้ท่านผู้อ่านมีพื้นในการศึกษารูปแบบของนักการเมือง
และพรรคการเมืองมากพอที่จะจัดประเภท
ผู้เขียนใคร่ขอนำท่านผู้อ่านไปพบกับพฤติกรรมส่วนบุคคล
และพฤติกรรมองค์กรของพรรคการเมืองพอเป็นสังเขป ดังต่อไปนี้
1. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
และในปัจจุบันดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการบริหารประเทศในรูปแบบของรัฐบาลผสม
โดยรูปแบบของพฤติกรรมส่วนบุคคลเท่าที่ผ่านมาก่อนเข้ารับตำแหน่งผู้นำรัฐบาล
ถือได้ว่าเป็นคนมีพฤติกรรมโปร่งใส และยอมรับในแง่ของความซื่อสัตย์
และจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
เมื่อเปรียบเทียบกับผู้นำประเทศบางคนในยุคที่ผ่านมา
แต่เมื่อเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแม้เพียง 7
เดือนตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น มีแนวโน้มลดลง
จะเป็นด้วยเหตุว่าเป็นผู้นำรัฐบาลผสม ทำอะไรไม่สะดวก
และเป็นเหตุใช้ความเด็ดขาดไม่ได้อย่างเต็มรูปแบบ
หรืออะไรก็ตามที่จะเห็นได้ชัดเจนในกรณีการตัดสินใจเรื่องรถเมล์เอ็นจีวี
4,000 คัน เรื่องการบังคับใช้กฎหมายกับกลุ่มเสื้อแดงที่มีพฤติกรรมจาบจ้วงสถาบัน
รวมไปถึงการให้ความสะดวกแก่คณะนายตำรวจที่ทำคดีคุณสนธิที่กำลังเจอตอ
เป็นต้น
จากพฤติกรรมที่ลังเล
และไม่กล้าตัดสินใจในหลายเรื่องที่เป็นอยู่ในขณะนี้
ทำให้ภาวะของผู้นำรัฐบาลดูเหมือนจะอ่อนแอ
และไม่มีพลังต่อรองมากพอที่จะสั่งการให้ทุกอย่างเป็นไปตามครรลองที่ควรจะ
เป็นไปได้ เนื่องจากเจอตอหรือถูกขัดขวางด้วยบริวารที่ทุศีลบางคน
2. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตหัวหน้าพรรคไทยรักไทย
และอดีตผู้นำรัฐบาลในช่วงปี 2544-2549
เดือนกันยายนเป็นผู้นำรัฐบาลพรรคเดียวที่แข็งแกร่ง
และมีพฤติกรรมในการดำเนินการค่อนข้างไปทางเผด็จการ
จึงเอื้ออำนวยให้เกิดการแสวงหาประโยชน์ในทางทุจริตมากมาย จนในที่สุดถูก
คมช.โค่นล้ม และถูกดำเนินคดีพิพากษาจำคุก 2 ปี และหนีออกนอกประเทศ
และยังมีพฤติกรรมก้าวก่ายการบริหารของรัฐบาลปัจจุบัน
รวมไปถึงการแสดงออกในทางการเมืองที่หมิ่นเหม่ต่อการจาบจ้วงเบื้องสูงอยู่ใน
ขณะนี้ โดยอาศัยบริวารที่กระทำเพื่อบุคคลคนเดียว
ไม่คำนึงถึงว่าใครจะเดือดร้อนหรือไม่อย่างไร
ถ้าเปรียบเทียบรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับรัฐบาลของ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แล้ว เชื่อได้ว่า
ท่านผู้อ่านคงจัดประเภทได้ไม่ยากว่าระหว่างคุณอภิสิทธิ์กับ พ.ต.ท.ทักษิณ
ใครจะเป็นอสูรประเภทไหนใน 4 ประเภท
แต่ อย่างไรก็ตาม เพื่อช่วยให้ท่านเปรียบเทียบได้ง่ายขึ้น
ขอให้ลองเอาเรื่องเสื้อแดงถวายฎีกาเพื่อขออภัยโทษ
และเรื่องคุณอภิสิทธิ์จะแก้ปัญหาความไม่ยุติธรรมให้แก่คดีคุณสนธิ
ลิ้มทองกุล ก็คงจะได้คำตอบแน่นอน
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9520000087726
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น