++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2552

การแก้ปัญหาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์


ตั้งแต่ มีการจัดตั้งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเมื่อกว่า 5
ปีที่ผ่านมา ในฐานะที่เป็นคนที่อยู่ในวงการท่องเที่ยวมาเกือบ 10 ปี
ก็รู้สึกดีใจและคาดหวังว่าเมื่อมีกระทรวงฯที่ดูแลเรื่องการท่องเที่ยวโดย
เฉพาะ ก็จะทำให้ศักยภาพการแข่งขันของเราจะต้องแข่งขันได้ในระดับโลก เช่น
สเปน ฝรั่งเศส อีตาลี เป็นต้น

แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาอย่าว่าแต่จะแข่งขันระดับโลกเลย
แม้แต่ระดับภูมิภาคอย่างฮ่องกง ม้าเก๊า หรือ สิงคโปร์ก็ยังสู้เขาไม่ได้
เพราะอะไรหรือ? เพราะว่าประการแรก
โครงสร้างของตัวกระทรวงฯเองมีการเอาสิ่ง 2
สิ่งที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงมาอยู่รวมกันก็คือการท่องเที่ยวกับการกีฬา
ประการที่สอง รัฐมนตรีที่ถูกส่งมาบริหารกระทรวงฯแต่ละคนล้วนแต่เป็นพวกมือไม่ถึง
ไม่มีความรู้ ไม่มีประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยว ไม่มีวิสัยทัศน์
ประการที่สาม ข้าราชการที่ถูกโอนมาอยู่กระทรวงการท่องเที่ยวฯ
ส่วนใหญ่มาจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกรมพลศึกษา
ประการที่สี่ เงินงบประมาณที่ให้กระทรวงแต่ละปีมีอยู่น้อยนิด
ถ้าเทียบกับรายได้ที่อยากได้จากการท่องเที่ยว
ถ้าต้องการให้การท่องเที่ยวของประเทศไทย สามารถแข่งขันได้ระดับโลก
จะต้องปฏิบัติตามหลักต่อไปนี้จึงจะสำฤทธิ์ผล

1.ต้องแยกการท่องเที่ยวและการกีฬาออกจากกันโดยเด็ดขาด เพราะ

1.1 การท่องเที่ยวเป็นเรื่องเศรษฐกิจเป็นเรื่องของการหาเงินเข้าประเทศ
แต่การกีฬาเป็นเรื่องของสังคมไม่ได้หาเงินเข้าประเทศ

1.2 ผู้ที่เชี่ยวชาญเรื่องการท่องเที่ยวจะไม่เชี่ยวชาญเรื่องกีฬา
ผู้ที่เชี่ยวชาญเรื่องกีฬาจะไม่เชี่ยวชาญเรื่องท่องเที่ยว
ทำให้การทำงานตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาไม่มีประสิทธิภาพ

1.3 การจัดสรรงบประมาณแต่ละปีต้องสมดุลกับรายได้ที่อยากจะได้จากการท่องเที่ยว
เช่น ถ้าต้องการรายได้จากการท่องเที่ยวปีละ 1 ล้านล้าน
ต้องจัดสรรงบประมาณให้ปีละ 1 แสนล้านบาท ทำไมต้อง 1 แสนล้านบาท
เอาไปทำอะไรบ้าง? เพื่อเอาไปสร้างผลิตภัณฑ์ด้านการท่องเที่ยว
หรือสินค้าทางการท่องเที่ยวนั่นเอง
ตัวอย่างกระทรวงที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณปี 2552 เกิน 1 แสนล้านบาท
เช่น กระทรวงกลาโหมได้รับ 1 แสน 6 หมื่น 9 พันล้านกว่าบาท
กระทรวงมหาดไทยได้รับ 1 แสน 9 หมื่น 5 พันกว่าล้านบาท

กระทรวงศึกษาธิการได้รับ 3 แสน 3 หมื่นกว่าล้านบาท
แต่กระทรวงการท่องเที่ยวได้รับแค่ 4 พันกว่าล้านบาท เท่านั้นเอง
ดังนั้นถ้าอยากจะให้นักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวปีละ 30 ล้านคน
ต้องให้งบประมาณ 1 แสนล้านบาท
เพื่อไปสร้างสินค้าด้านการท่องเที่ยวใหม่ขึ้นมารองรับด้วย

1.3.1. 1 หมื่นล้านบาท เอาไปสร้างวัด ทำไมต้องสร้างวัด
เพราะศาสนาคริสต์ก็มี นครวาติกันเป็นศูนย์กลาง
ศาสนาอิสลามก็มีเมืองเมกกะเป็นศูนย์กลาง ดังนั้น
ศาสนาพุทธต้องมีวัดแห่งหนึ่งเป็นศูนย์กลางของโลก ในเนื้อที่เท่าไร? ต้อง
5 พันไร่ ทำไมต้อง 5 พันไร่ เพื่อให้เท่ากับคำนายว่าพุทธศาสนามีอายุ 5
พันปี ประกอบด้วยอะไรบ้าง? ประกอบด้วยส่วนต่างๆ เช่น

1.3.1.1. 1 พันไร่
เป็นแหล่งท่องเที่ยวต้องสร้างพระประจำวันเกิดทั้ง 7 ปาง
แต่ละปางต้องมีความสูง 80 เมตร หรือความยาว 80 เมตร
เพื่อให้เท่ากับพระชนมายุของพระพุทธเจ้า 80 พรรษาหรือ
เพราะต้องการให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวฉะนั้นต้องสร้างให้มีจุดเด่นที่แตกต่าง
จากที่อื่นและต้องมีพิพิธภัณฑ์ทางพุทธศาสนาขนาดใหญ่สุดของโลกด้วย

1.3.1.2. สร้างเป็นแหล่งการศึกษาสำหรับพระภิกษุสามเณร 1 พันไร่
จัดการศึกษาตั้งแต่ต่ำสุดจนถึงระดับสูงสุดคือ เปรียบธรรม 9 ประโยค และ
ปริญญาเอกสาขาต่างๆที่ไม่ขัดพระธรรมวินัยและนอกจากนี้ต้องสร้างสถาบันเฉพาะ
ทางที่มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาขึ้นมารองรับด้วย เช่น
สถาบันวิจัยและส่งเสริมพระพุทธศาสนา สถาบันฝึกอบรมวิปัสสนากรรมฐาน
สถาบันภาษานานาชาติ สถาบันพัฒนาพระสังฆาธิการ สถาบันเผยแผ่พระพุทธศาสนา
หอสมุดทางพระพุทธศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในโลก
หอประชุมที่จุคนได้ไม่น้อยกว่าหมื่นคน

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
การสร้างอาคารแต่ละหลังจะต้องไม่สูงกว่า 9 ชั้นและไม่ต่ำกว่า 9
ชั้น เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9
และสถาบันต่างๆนั้น
ต้องมีจัดตั้งมูลนิธิหรือกองทุนเป็นการเฉพาะของใครของมันเพื่อความสะดวกใน
การบริหารจัดการและต้องมีผู้บริหารองค์กรเป็นการเฉพาะเพื่อให้เกิด
ประสิทธิภาพสูงสุด

1.3.1.3. 1
พันไร่แบ่งเป็นที่พักสงฆ์หรือเขตสังฆาวาสส่วนที่เหลืออีก 2 พันไร่
เป็นที่ปลูกป่าเพื่อเป็นที่ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานอีก 1
พันไร่ที่เหลือจัดไว้เป็นแหล่งน้ำ
นอกจากนี้ระหว่างส่วนต่างๆก็จะต้องมีคลองซอยเชื่อมโยงติดต่อกันทั้งหมด
เพื่อให้เกิดความร่มรื่นให้สมกับที่เรียกว่า ร่มอาราม

1.3.1.4. สร้างที่ไหน ต้องภาคอีสาน ทำไมต้องภาคอีสาน?
เพราะภาคอีสานเป็นภาคที่มีแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติน้อยที่สุด
เป็นภาคที่มีเนื้อที่มากที่สุด
และมีประชากรมากที่สุดและแห้งแล้งมากที่สุด
จึงต้องสร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ขึ้นมาเพื่อกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวอยาก
เดินทางเที่ยวไปทางภาคอีสานมากขึ้น อีกประการหนึ่ง
ภาคอีสานจะเป็นศูนย์กลางของอินโดจีน ดังนั้น
จึงต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสิ่งที่จะตามมาในอนาคต
และที่สำคัญที่สุดก็คือเพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางของการท่องเที่ยวใน
ระหว่างอดีตประเทศอินโดจีน ประเทศลาว ประเทศเวียดนาม และประเทศกัมพูชา
ซึ่งจะมีการเชื่อมโยงทางด้านคมนาคมที่ครบวงจรในอนาคตที่ใกล้นี้

1.3.1.5. 5 พันล้านบาทใช้เพื่อเนรมิตรสวนป่าและแหล่งน้ำ
บ้านพักคนเลี้ยงช้าง รพ.ช้างและลานแสดงช้างครบวงจรในเนื้อที่ 1 หมื่นไร่
สร้างที่ไหน? ภาคอีสานต้องสุรินทร์ ทำไมต้องสุรินทร์ ?
เพราะสุรินทร์เป็นจังหวัดที่มีช้างมากที่สุดในภาคอีสาน
ดังนั้นสุรินทร์จึงต้องเป็นศูนย์กลางของช้างในภาคอีสาน
แต่บุรีรัมย์ก็มีช้างอยู่เหมือนกัน
ดังนั้นศูนย์กลางของช้างในภาคอีสานต้องอยู่ระหว่างสุรินทร์กับบุรีรัมย์

1.3.1.6. 1 พันล้านบาทในเนื้อที่ 1 พันไร่
สำหรับปางช้างอยุธยาแต่ต้องมีองค์ประกอบครบวงจรคือ มีทั้งแหล่งน้ำป่า
บ้านพักคนเลี้ยงช้าง รพ.ช้าง และลานแสดงช้าง

1.3.1.7. 5 พันล้านบาทในเนื้อที่ 1 หมื่นไร่ ต้องมีครบวงจร
ศูนย์กลางของช้างทางภาคเหนือต้องลำปาง สาเหตุที่ต้องสร้างที่ลำปาง
เพราะลำปางเป็นศูนย์กลางของช้างอยู่แล้ว
อีกอย่างหนึ่งเป็นการกระจายแหล่งท่องเที่ยวจากเชียงใหม่
อีกสาเหตุที่พูดถึงช้าง
ค่อนข้างมากเพราะในอดีตช้างเป็นสัตว์ที่พระเจ้าแผ่นดินทรงใช้เป็นพาหนะในการ
ทำสงครามประการต่อมาก็คือ
เป็นการช่วยลดช้างเร่ร่อนที่มีอยู่มากมายให้เหลือน้อยลง
ส่วนการแก้ปัญหาช้างเร่ร่อนอย่างถาวร จะพูดถึงเป็นการเฉพาะว่าทำอย่างไร

1.3.1.8. 1
หมื่นล้านบาทค่าสร้างพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติซึ่งมีความยิ่งใหญ่ระดับโลกใน
เนื้อที่ไม่น้อยกว่า 300 ไร่ สถานที่ที่เหมาะสมที่สุดในกรุงเทพ คือ
สนามม้านางเลิ้ง ต้องย้ายสนามม้านางเลิ้งออกไปนอกเมือง
การก่อสร้างต้องไม่สูงกว่า 5 ชั้น เพราะอยู่ใกล้วังและชั้นใต้ดินอีก 5
ชั้น เป็นที่จอดรถ ต้องขยายถนนด้านตะวันออกให้เป็น 8 ช่องจราจร

1.3.1.9. 3 หมื่นล้านบาท
ลงโครงการไทยแลนด์ริเวียร่าหรือรอยัลโคสท์ทางภาคใต้
ถามว่าทำไมต้องสร้างสิ่งเหล่านั้นขึ้นมา
เวลาคนไปเที่ยวฮ่องกงก็ไปดูสิ่งก่อสร้าง
คนไปเที่ยวม้าเก๊าก็ไปดูสิ่งก่อสร้าง คนไปสิงคโปร์ก็ไปดูสิ่งก่อสร้าง
เมื่อปี 2551 คนไปเที่ยวม้าเก๊า 28 ล้านคน คนไปเที่ยวฮ่องกง 30 ล้านคน
ถ้าอยากให้นักท่องเที่ยวมาเมืองไทยเหมือนฮ่องกงหรือม้าเก๊า
ก็ต้องสร้างสิ่งที่เป็นสินค้าด้านการท่องเที่ยวให้ได้เท่าเขา

3.1.10. 1 หมื่นล้านบาทใช้ขยายชายหาดพัทยาออกไปประมาณ 20 เมตร
ตลอดแนวตั้งแต่โรงแรมดุสิตรีสอร์ต
ไปจนถึงพัทยาใต้เพื่อขยายถนนพัทยาชายหาดให้กว้าง 8 ช่องทางจราจร
ขยายสวนหย่อมและชายหาดออกไป ถ้าไม่รีบทำตอนนี้
ถ้าโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ที่ สีหนุวิลล์ของกัมพูชา มูลค่า 900
ล้านดอลล่าร์เสร็จเรียบร้อย จะทำให้พัทยาสูญเสียศักยภาพในการแข่งขันทันที

2. ต้องออกกฎหมายการจดทะเบียนบริษัทด้านการท่องเที่ยวเป็นการเฉพาะ
บริษัทด้านการท่องเที่ยว ต้องมาจดทะเบียนกับกระทรวงการท่องเที่ยวเท่านั้น
เพราะกฎหมายที่จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทของกระทรวงพาณิชย์ที่เป็นอยู่ขณะนี้
ล้าสมัยและมีช่องโหว่มากมายทำให้บริษัทด้านการท่องเที่ยวที่มีอยู่ขณะนี้
ส่วนมากล้วนเป็นของคนต่างชาติ แต่ใช้คนไทยเป็นนอมินีจัดตั้งแทน
แต่ถ้ามีกฎหมายเฉพาะ ต้องกำหนดสัดส่วนผู้ถือหุ้นข้างน้อย ไม่น้อยกว่า 25
เปอร์เซ็นต์ของทุนจดทะเบียน เพื่อป้องกันไม่ให้เจ้าของเงินตัวจริง
จ่ายเงินแทนผู้อื่น โดยมีหลักปฏิบัติดังนี้

บริษัทด้านการท่องเที่ยวทุกบริษัทต้องมีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 5
ล้านบาท หรือ ถ้าเป็นไปได้ควรจะมีทุนจดทะเบียนสัก 10 ล้านบาท ทำไมหรือ?
เพราะ

หมีแพนด้าที่สวนสัตว์เชียงใหม่
2.1.1 เท่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้
เป็นการจดทะเบียนตามกฎหมายของกระทรวงพาณิชย์ ใครมีเงินขั้นต้น 200,000
บาท หากรรมการได้ครบ 7 คน ก็ตั้งบริษัทได้แล้ว
ทำให้บริษัทแทบจะทั้งหมดไม่มีความมั่นคงทางด้านการเงิน
ทำให้เหตุการณ์ที่มัคคุเทศก์ส่วนใหญ่ต้องเผชิญก็คือ
แทนที่มัคคุเทศก์จะอยู่ได้เพราะบริษัท
แต่กลับกลายเป็นว่าบริษัทอยู่ได้เพราะมัคคุเทศก์
ก็หมายความว่าเวลามัคคุเทศก์รับทัวร์จากบริษัทต้องใช้เงินส่วนตัวจ่ายล่วง
หน้าไปก่อน เมื่อเสร็จงานมาเคลียร์เงินกลับได้เช็คไป ซึ่งบางครั้งต้องรอ
15 วัน หรือ 20 วัน กว่าจะขึ้นเงินได้
ถ้ามีกฎหมายบังคับว่าบริษัทด้านการท่องเที่ยวต้องมีทุนจดทะเบียน 5
ล้านบาท หรือ 10 ล้านบาท ก็จะทำให้ปัญหาตรงนี้หมดไป
เพราะสภาพคล่องด้านการเงินของบริษัทไม่มีปัญหา

2.1.2 ต้องกำหนดสัดส่วนผู้ถือหุ้นข้างน้อยของบริษัทว่าต้องไม่น้อยกว่า
25% ของทุนจดทะเบียน ทำไมหรือ?
เพราะว่าเท่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนอกจากทุนจดทะเบียนจะน้อยแล้ว
ยังไม่กำหนดสัดส่วนผู้ถือหุ้นข้างน้อยอีกด้วย
ทำให้เจ้าของเงินตัวจริงซึ่งเป็นคนต่างชาติใช้วิธีขอชื่อคนไทยเพื่อให้ครบ
จำนวนหลังจากนั้น คนที่มีอำนาจตัวจริงในบริษัทคือ
เจ้าของเงินซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนต่างชาติ

2.1.3 อันเนื่องมาจาก ข้อ 2.1.2
ถ้ามีกฎหมายบังคับว่าบริษัทแต่ละแห่งต้องมีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 5
ล้านบาท หรือ 10 ล้าน
และกำหนดว่าผู้ถือหุ้นข้างน้อยสุดต้องถือหุ้นไม่น้อยกว่า 25%
ของทุนจดทะเบียน
ก็จะทำให้คนต่างชาติซึ่งเป็นเจ้าของเงินตัวจริงจะเอาเงินมาจ่ายแทนคนไทยที่
เป็นนอมินี มีโอกาสทำให้ได้ยากขึ้น
อีกอย่างหนึ่งทำให้ฐานะทางการเงินของบริษัทมีความแข็งแกร่งเป็นการป้องกัน
ไม่ให้บริษัทถูกเทกโอเวอร์จากบริษัทต่างชาติไปในตัวด้วย

2.1.4 ถ้าถามว่าจะทำอย่างไรกับบริษัทท่องเที่ยวที่มีอยู่แล้ว
ซึ่งมีทุนจดทะเบียนไม่ถึง 5 ล้านบาทหรือ 10 ล้าน จะทำอย่างไร
ขอชี้แจงว่าในกฎหมายต้องมีบทเฉพาะกาลเพื่อให้บริษัทเหล่านั้นได้ปรับตัว
เช่น อาจกำหนดว่า ภายใน 2 ปี ต้องเพิ่มทุนให้ครบ 5 ล้านบาท หรือ ภายใน 4
ปีต้องเพิ่มทุนให้ครบ 10 ล้านบาท เป็นต้น
ถามว่าทำอย่างนี้ไม่เป็นการเปิดโอกาสให้มีการผูกขาด หรือ
ก็ต้องตอบว่าถ้าไม่อยากให้วงการท่องเที่ยวมันฟอนเฟะเกลื่อนเมืองเหมือนที่
เป็นอยู่อย่างนี้ก็ต้องกล้าทำในสิ่งที่เป็นสิ่งใหม่ๆ

2.1.5 สาเหตุที่ต้องบรรยายเรื่องการจัดตั้งและวิธีจัดตั้งบริษัทด้านการท่องเที่ยว
ค่อนข้างจะละเอียด เพราะเคยมีบันทึกข้อสังเกตเมื่อครั้งมีการเสนอร่าง
พ.ร.บ ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ว่าประการแรก
รัฐยังไม่สามารถสร้างระบบคัดกรองบริษัทนำเที่ยวได้
ตั้งแต่การยื่นจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท
เมื่อเปรียบเทียบกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ไทยจัดตั้งบริษัทท่องเที่ยวง่ายที่สุด ประการที่สอง
เงินลงทุนในการประกอบธุรกิจด้านการท่องเที่ยวไทย
มีเงินลงทุนต่ำที่สุดเมื่อเปรียบเทียบฮ่องกง 1:10 สิงค์โปร์ 1:10
มาเลเซีย 1:10 ประการที่สาม การบังคับใช้กฎหมายยังไม่เข้มงวด
ยังไม่มีระบบป้องกันความเสียหายที่จะเกิดจากกลุ่มมิจฉาชีพที่จะเข้ามาสู่
ธุรกิจท่องเที่ยวได้

3. ต้องยกฐานะของสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพ ให้เป็นสภามัคคุเทศก์
ทำไมต้องเป็นสภามัคคุเทศก์อาชีพ
เหตุผลก็คือว่าถ้ายังเป็นสมาคมอยู่ทำให้การทำงานไม่มีประสิทธิภาพและขาด
อำนาจต่อรอง แต่ถ้าเป็นสภามัคคุเทศก์ได้ก็ต้องมีกฎหมายมารองรับเป็นการเฉพาะ
มีการกำหนดบทบาทและหน้าที่ไว้อย่างชัดเจน เช่น การฝึกอบรมมัคคุเทศก์
การออกใบอนุญาต และการถอดถอนใบอนุญาต เป็นต้น
ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสภามัคคุเทศก์อาชีพ
โดยการตั้งคณะกรรมการฝ่ายต่างๆขึ้นมารับผิดชอบเป็นการเฉพาะ

4. ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง
ก็คือว่าต้องกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะมาเป็นประธานสภามัคคุเทศก์ด้วยว่า
ต้องไม่เป็นลูกจ้างของบริษัท และไม่เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท
หรือเป็นเจ้าของบริษัทเพื่อให้เป็นอิสระจากการถูกครอบงำจากฝ่ายต่างๆ
ในขณะเดียวกัน ถ้าตรวจสอบพบทีหลังว่าเป็นลูกจ้างของบริษัทหรือถือหุ้นอยู่ในบริษัทใดบริษัท
หนึ่ง ก็จะต้องถือว่าขาดคุณสมบัติของประธานสภามัคคุเทศก์อาชีพโดยทันที
เป็นต้น

5. ต่อจากประการที่สาม ตัวอย่างความอ่อนด้อยด้านสติปัญญา
ของเจ้าหน้าที่กระทรวงการท่องเที่ยว ก็คือใบอนุญาตมัคคุเทศก์
หรือบัตรไกด์แบบเก่าที่ออกโดย ท.ท.ท มี
คุณค่ามีเอกลักษณ์หรือมีจุดเด่นในตัวเองสูงมากเห็นปราดเดียวก็รู้ทันทีว่า
เป็นบัตรไกด์ แต่ที่ออกโดยกระทรวงการท่องเที่ยวโดยเฉพาะบัตรบรอนซ์เงินซึ่งเมื่อพื้นมัน
เป็นสีขาว คำว่า มัคคุเทศก์ก็ต้องเอาสีอื่นที่มันตัดกับสีขาว เช่นสีแดง
สีน้ำเงิน สีดำ หรือสีเหลือง พิมพ์ทับเข้าไปจะได้สังเกตเห็นได้ง่าย
นี่เล่นเอาสีขาวพิมพ์ทับพื้นสีขาว เห็นแล้วบรรยายความรู้สึกไม่ถูก

บทความโดย : บรรลือ หฤทัยถาวรมัคคุเทศก์อิสระภาษาต่างประเทศ (อังกฤษ)

http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9520000028660


จากบทความเห็นด้วยบางอย่าง และไม่เห็นด้วยหลายอย่าง
อยากให้การวิเคราะห์เรื่องการท่องเที่ยวให้มีความเป็นวิชาการ
และมีการศึกษาวิจัยรองรับไม่ใช่เอาแค่ความคิด
และความรู้สึกส่วนตัวมาชี้นำ จะทำให้เรื่องของการท่องเที่ยวมันไม่ยั่งยืน
การท่องเที่ยวเป็นสินค้าที่มีต้นทุนสูงมาก
แต่ไม่มีใครเคยประเมินต้นทุนออกมา
ยิ่งการเปลี่ยนสภาพไปจะถือเป็นการพัฒนาอย่างยังยินได้อย่างไร
สิ่งที่การท่องเที่ยวต้องคำนึงถืงคือต้องหาจุดยืน
และความแตกต่างที่เป็นอัตลักษณ์ของตนเองและรักษาอัตลักษณ์นั้นให้ได้เป็น
อย่างดี มิฉะนั้นมันก็ไม่ต่างกับแค่เป็น theme park เท่านั้นเอง
จงคิดให้หนัก และคิดอย่างรอบครอบก่อนที่จะทำอะไรกับการท่องเที่ยวไทย
โปรดอย่าทำร้ายประเทศเพราะการต้องการเงินต่างประเทศมากๆ
ลูกหลานของเรามีสิทธิ์ที่จะได้เห็นและได้ชื่นชมกับธรรมชาติและโบราณสถาน
โบราณวัตถุ อย่างที่คนในรุ่นของเราได้เห็น ได้สัมผัส
และได้เสพกับแหล่งท่องเที่ยวที่เรามี
ปรเมษฐ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น