++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2552

"สุนทร รักรงค์" ผู้ประสานงาน พธม.ใต้ เดินหน้าสร้างเครือข่ายการเมืองภาคประชาชนปักษ์ใต้

"สุนทร รักรงค์" ผู้ประสานงาน พธม.ใต้
เดินหน้าสร้างเครือข่ายการเมืองภาคประชาชนปักษ์ใต้
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

ศูนย์ข่าวภูเก็ต - "สุนทร รักรงค์"
แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยชุมพร
และผู้ประสานงานพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยภาคใต้ 16
จังหวัดเป็นหนึ่งในพันธมิตรฯ
ที่ทำงานการเมืองภาคประชาชนมาตั้งแต่สมัยที่เป็นนักศึกษา ซึ่ง สุนทร
เล่าให้ฟังว่า สมัยที่เรียนหนังสือที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หรือ
มอ.ได้ทำกิจกรรมมาโดยตลอด โดยเป็นนายกองค์การบริหารนักศึกษา
และเป็นประธานสมาพันธ์นักศึกษาภาคใต้ ซึ่งตอนนั้นสมาพันธ์นักศึกษาภาคใต้
มีการนำร่องประท้วง รสช.มีการเคลื่อนไหวนัดกันหยุดเรียน
ประท้วงให้หยุดเผด็จการ มีการทำจดหมายถึงผู้ที่มีอำนาจในสมัย
เรียกว่าสมัยที่เรียนก็ทำกิจกรรมทางด้านการเมืองมาโดยตลอดเช่นกัน

จนเมื่อเรียนจบก็ได้ออกมาทำธุรกิจของตนเอง จนเมื่อถึงปี 2548
ที่ทาง คุณสนธิ ลิ้มทองกุล
ได้ออกมาเคลื่อนไหวรู้ทันทักษิณและขับไล่รัฐบาลทรราชให้ออกไปจากประเทศไทย
ก็ได้เข้ามาร่วมในการเคลื่อนไหวครั้งนี้ด้วยในนามของพันธมิตรประชาชนเพื่อ
ประชาธิปไตยชุมพร โดยอาสาเป็นแกนนำพันธมิตรฯ จังหวัดชุมพร
พร้อมทั้งอาสาที่จะรับใช้พี่น้องพันธมิตรฯในภาคใต้ด้วยการเป็นผู้ประสานงาน
พันธมิตรฯภาคใต้ 16 จังหวัด
โดยได้รวมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และเพชรบุรีเข้าไปด้วย
มีการเคลื่อนไหวทำกิจกรรมที่ควบคู่กับเวทีพันธมิตรฯส่วนกลาง
ทั้งการเปิดเวทีถ่ายทอดสดจากเวทีพันธมิตรฯที่สะพานมัฆวานสังสรรค์และทำเนียบ
รัฐบาล กิจกรรมต่างๆที่เป็นการกดดันให้ทักษิณและรัฐบาลนอมินีของทักษิณ
ต้องออกไป

สุนทร เล่าอีกว่า ภายหลังจากที่พันธมิตรฯได้ประกาศยุติการชุมนุม
ทางพันธมิตรฯภาคใต้ 16
จังหวัดไม่ได้หยุดการเคลื่อนไหวยังมีการเคลื่อนไหวต่อไป
โดยมีมติที่จะเดินหน้าในการทำให้พันธมิตรเป็นกลุ่มเป็นก้อนมากขึ้น
โดยการจัดตั้งเป็นเครือข่ายการเมืองภาคประชาชนที่เป็นกลุ่มก้อน
เพราะเรามองว่าการรวมตัวของพันธมิตรตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้น
มาเป็นการรวมตัวที่หลวมๆ เหมือนกับการรวมตัวกันทอดกฐิน
พอรวมตัวเอาเงินถวายวัดเสร็จต่างคนต่างกลับบ้าน
พอเริ่มใหม่ด้วยการรวมตัวกันที่ธรรมศาสตร์ 2 ครั้ง
เหมือนเครื่องดีเซลที่รวมตัวได้ช้า
และที่สำคัญที่สุดในการตัวรวมกันเมื่อปี 2549 นั้น
ไม่ได้มีเรื่องการเมืองใหม่เข้ามาเกี่ยวข้อง
ไม่มีการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
ซึ่งการสร้างการเมืองใหม่และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้นั้น
ต้องอาศัยการจัดตั้ง เราจึงจำเป็นที่จะต้องแปรสภาพพันธมิตรฯภาคใต้
ที่ได้ร่วมกันทำงานร้อน งานกดดันมาเป็น
"เครือข่ายการเมืองภาคประชาชนภาคใต้"

โดยเครือข่ายการเมืองภาคประชาชนภาคใต้
เป็นส่วนผสมระหว่างสหภาพแรงงานกับกลุ่ม NGO จะมีการพูดถึงตัวสมาชิก
เงินทุนที่จะนำมาใช้ในการเคลื่อนไหว ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ
ที่จังหวัดชุมพร มีโครงการเตรียมที่จะผลิตกาแฟซองสำเร็จรูป ชื่อ
"กาแฟพันธมิตรฯชุมพร"
เมื่อผลิตออกมาแล้วก็จะส่งไปจำหน่ายในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ
ซึ่งก็เช่นเดียวกับจังหวัดอื่นๆ
ที่มีการผลิตสินค้าออกมาในนามของพันธมิตรฯก็สามารถที่จะนำไปจำหน่ายใน
พื้นที่จังหวัดอื่นๆได้เช่นกัน
ส่วนต่างที่เกิดขึ้นจากการผลิตสินค้าขายจะกลายเป็นทุนในการดำเนินงานทั้งใน
เชิงกว้างและเชิงลึก ซึ่งในเชิงกว้างนั้นจะเป็นการทำงานในลักษณะของมวลชน
ด้วยการจัดเวทีให้มวลชนได้พบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
รวมทั้งเงินที่เกิดจากการระดมทุนหลังจากที่เหลือจากช่วย ASTV แล้ว
อาจจะนำไปซื้อร้านดาวเทียมไปติดตั้งตามร้านกาแฟในชุมชน
การที่นำจานไปติดตั้งตามชุมชนนั้นถือเป็นการทำงานในเชิงลึกลงไปถึงชุมชนมาก
ขึ้น

การจัดตั้งการเมืองภาคประชาชนนั้น สุนทร บอกว่า
จะต้องเริ่มต้นจากระบบหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัด
โดยแกนนำในแต่ละระดับนั้นจะต้องมีความรู้ความเข้าใจก่อน
เพื่อทำหน้าที่เป็นวิทยากรให้ความรู้กับสมาชิกได้
เพราะองค์กรจัดตั้งใดก็ตามจะประสบความสำเร็จได้นั้นผู้นำและมวลชนต้องมีองค์
ความรู้ และการที่จะมีองค์ความรู้ได้จะต้องมีการศึกษาจากการชี้แนะจากผู้ที่รู้กว่า
หลังจากนั้นก็รวมตัวกันเป็นกลุ่มไม่ต้องใหญ่มากแค่ 5-6 คน
ลงไปทำงานในพื้นที่ด้วยการปฏิบัติจริงๆ ทั้งในการขยายสมาชิก การหาทุน
ซึ่งการที่องค์กรจะประสบความสำเร็จและเข้มแข็งได้จะต้องมีองค์ประกอบพร้อม
กัน 3 อย่าง คือ ผู้นำและมวลชนต้องมีความรู้
ต้องมีทุนในการขับเคลื่อนองค์กรนั้นๆ
และจะต้องมีเอกภาพในการจัดการกับปัญหาทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ

"วันนี้ ที่ทุกคนต้องการการเมืองใหม่ เพราะการเมืองเก่าใช้ไม่ได้
และการเมืองเก่าไม่สามารถรับใช้ประชาชนได้ กลไกลรัฐสภาพิกลพิการหมดแล้ว
พันธมิตรฯในฐานะผู้ที่ตื่นรู้
ต้องหาทางออกนำร่องกดดันในนามของการเมืองภาคประชาชนจะทำอย่างไรได้บ้างที่จะ
เปลี่ยนแปลงสังคม" นายสุนทร กล่าวและว่า

ตัวอย่างที่เห็นได้ในขณะนี้ คือ การต่อต้านโรงไฟฟ้าที่ชุมพร
ในช่วงแรกๆมีคนเข้าร่วมชุมนุม 600-700 คน แต่ตอนนี้เพิ่มเป็น 2,000-3,000
คน และจากที่เมื่อก่อนนักการเมืองท้องถิ่นนั่งดูการต่อต้านของชาวบ้านเฉยๆ
ตอนนี้นักการเมืองท้องถิ่นต้องกระโดดเข้ามาด้วย
เพราะชุมชนมีความเข้มแข็งขึ้น เมื่อชุมชนเข้มแข็ง คนตื่นรู้
คุณภาพของนักการเมืองก็จะตามมาเองโดยอัตโนมัติ
ทำให้เราเชื่อในหลักการที่ว่า ถ้าทำให้ประชาชนเข้มแข็ง
ไม่จำเป็นต้องพัฒนาคุณภาพนักการเมือง
เพราะนักการเมืองจะพัฒนาคุณภาพตัวเองโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว
และไม่เชื่อว่าการร่างกฎที่ดีจะทำให้นักการเมืองมีคุณภาพ
เพราะสังคมที่ดีได้จะต้องเปลี่ยนจากฐานราก และต้องเสียสละจริงๆ"

นายสุนทร กล่าวต่อว่า ดังนั้น
จะต้องมีการจัดตั้งแกนนำเครือข่ายการเมืองภาคประชาชนแต่ละตำบล แต่ละอำเภอ
ที่สามารถจัดตั้งได้ และหลักๆ จะต้องมีการผลิตสินค้าเพื่อหาทุน เช่น
ที่ชุมพรมีมติที่ชัดเจนในการผลิตสินค้าและเดินตามรอยเบื้องพระยุคลบาทพระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
อะไรที่เราสามารถพึ่งตัวเองได้เราต้องพึ่งตัวเองก่อน
เช่นผลิตสินค้าใช้ในชุมชนของตัวเองก่อนเพื่อให้ทุกคนในชุมชนอยู่ได้
เพราะสิ่งที่เรามองว่าเป็นศัตรูที่แท้จริงไม่ใช่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
อดีตนายกรัฐมนตรี เพราะทักษิณเป็นแค่ตัวละครตัวหนึ่งเท่านั้น

แต่ศัตรูที่แท้จริงของเรา คือ ระบบทุน
เพราะระบบทุนก่อให้เกิดปัญหาตามมาหลายอย่าง
และระบบทุนสอนว่าวันนี้เรามีเงิน 200 บาท พรุ่งนี้เราต้องมีเงิน 500 บาท
ถึงจะทำให้เราร่ำรวยได้
ซึ่งสวนทางกลับทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงถ้าเรามีเงิน 200 บาท
ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป เช่น มีเงิน 200 บาท จ่ายแค่ 150
บาทก็จะทำให้เรารวยขึ้น 50 บาท
นี่คือสิ่งที่เราจะนำมาใช้กับมวลชนของเราในการสร้างการเมืองใหม่และเครือ
ข่ายการเมืองภาคประชาชน

แต่ อย่างไรก็ตาม ในโลกแห่งความเป็นจริงนั้น
เราจะปฏิเสธระบบทุนทั้งหมดไม่ได้ เราต้องยอมรับระบบทุน
โดยการอยู่อย่างรู้ทันระบบทุน ซึ่งคอนเซ็ปต์การเมืองใหม่ของภาคใต้นั้น
"เรียนรู้ อยู่กับทุนอย่างเท่าทันในแนวคิดทุนพอเพียง"

นายสุนทร กล่าวอีกว่า การทำงานของเครือข่ายการเมืองภาคประชาชนนั้น
ไม่ได้มองเฉพาะกลุ่มพันธมิตรฯเท่านั้น แต่จะทำงานร่วมกับกลุ่มต่างๆ
ที่มีอยู่ในสังคมแล้ว เช่น กลุ่ม NGO กลุ่มประชาสังคม
กลุ่มที่มีการปกป้องสิ่งแวดล้อม กลุ่มต่อต้านเขื่อน กลุ่มยางพารา
กลุ่มปาล์ม เป็นต้น ซึ่งกลุ่มเหล่านี้มีอยู่แล้วและเข้มแข็ง
เพียงแต่เราเข้าไปเชื่อมโยงกับกลุ่มเหล่านี้
ซึ่งกลุ่มเหล่านี้สามารถที่จะทำความเข้าใจได้ไม่ยาก
เพราะเป็นกลุ่มที่มีความรู้อยู่แล้ว
เพราะการเคลื่อนไหวงานชุมชนนั้นเราอย่าคิดว่ามวลชนมีความล้าหลังกว่าเรา
เหล่านี้ตื่นรู้ก่อนเราด้วยซ้ำไป
บางส่วนเราต้องลอกความคิดมาขยายผลด้วยซ้ำ
และจากการที่ได้เข้าไปพบปะกับกลุ่มต่างๆในชุมพร ที่อำเภอพะโต๊ะ
กลุ่มเรานี้มีความตื่นรู้มากๆ และตื่นรู้มานานแล้ว

ตอนนี้พันธมิตรฯภาคใต้ได้ขยายไปถึงประจวบคีรีขันธ์ และเพชรบุรี
สิ่งที่เราเจอทุกครั้งคนใต้จะคิดเหมือนกันๆ ไม่ว่าจะเป็นโนโหวต หรือ 20%
เมื่อคนใต้รวมเป็นแนวรบแนวหน้าที่อาจหาญ
ทำให้มวลชนอุ่นใจว่าคนใต้ออกมาต่อสู้แล้ว
เพราะฉะนั้นแสดงให้เห็นว่าคนใต้ทำเป็นทั้งงานเย็นและงานกดดัน
และเชื่อว่าคนใต้สามารถเปลี่ยนแปลงสังคมได้ และอยากจะนำร่องให้คนภาคอื่นๆ
เห็นว่าการทำงานในเชิงลึกเป็นสิ่งสำคัญ
เมื่อมีงานร้อนมีนกหวีดเรียกรวมพลก็ไม่ใช่ปัญหา
สามารถร่วมพลได้ทันทีเช่นกัน

ส่วน ความคืบหน้าการจัดตั้งเครือข่ายการเมืองภาคประชาชนนั้น
นายสุนทร บอกว่า หลังจากการประชุมเมื่อวันที่ 11 ก.พ.ที่ผ่านมา
ที่จังหวัดระนอง
ได้ข้อสรุปว่าโครงสร้างเครือข่ายการเมืองภาคประชาชนน่าจะออกมาในรูปแบบที่
ให้ผมเป็นผู้ประสานงาน โดยทุกจังหวัดจะต้องมีการจัดตั้งองค์กรของตัวเอง
โดยมีพันธกิจร่วมกันที่จะต้องดำเนินการในนามของภาคใต้ คือ การเมืองใหม่
ปัญหาสิ่งแวดล้อม และปัญหาปากท้องของชาวบ้านเพื่อทำให้การเมืองใหม่กินได้
โดยการแบ่งโซนเป็น 3 โซน คือ ภาคใต้ตอนบน ภาคใต้ตอนล่าง
และภาคใต้ฝั่งอันดามัน เช่น กรณีของภาคใต้ตอนบน ชุมพร ประจวบฯ
และเพชรบุรี มีปัญหาที่ใกล้เคียงกันจะรวมตัวกันต่อต้านเรื่องเหล็กต้นน้ำ
โรงไฟฟ้า เป็นต้น


http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9520000030097

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น