++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2552

นักวิจัย มข. ค้นพบเทคนิคเพาะเลี้ยงสาหร่ายอุตสาหกรรมไบโอดีเซล

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    

การวิจัยพื่อการเพิ่มชีวมวลสาหร่ายน้ำเค็มโดยใช้ก๊าซ คาร์บอนไดออกไซต์เพื่อผลิตไบโอดีเซล เป็นทางออกของการหารแหล่งพืชพลังงานใหม่หลังมีการถกเถียงกันในระดับนานาชาติ ประเด็นเรื่อง การใช้พืชน้ำมันมาผลิตไบโอดีเซลเป็นการแย่งพื้นที่การผลิตพืชอาหารที่จะก่อ ปัญหาในอนาคต
      
       ผศ.ดร. ผกาวดี แก้วกันเนตร อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยี มข. นักวิจัยเจ้าของผลงานกล่าวว่า ปัญหา พลังงานทำให้นักจิจัยให้ความสนใจในเรื่องพลังงานทดแทนซึ่งไบโอดีเซลจำเป็น ต้องใช้น้ำมันที่มาจากพืชซึ่งถ้าเป็นพืชน้ำมันทั่วไปก็สามารถสกัดมาใช้ได้ เลย แต่พืชที่เป็นทางเลือกซึ่งไม่ใช่พืชอาหารตามประเด็นที่นานาชาติกำลังจับตา มองจะเป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถ เช่นสาหร่าย ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วสาหร่ายมีจำนวนมาก เพราะเติบโตเร็ว มีการเกิดในหลายสภาวะทั้งน้ำจืด น้ำเค็มและน้ำกร่อยอย่างในอีสานเป็นต้น แต่สาหร่ายไม่สามารถให้น้ำมันได้หรือหากมีก็ปริมาณน้อย เมื่อนำมาสกัดก็จะมีเพียงโปรตีนและสารอื่นๆ โดยในทางอุตสาหกรรมก็เพียงนำมาเป็นอาหารเสริมหรืออาหารว่างเท่านั้น
      
       ในการวิจัยครั้งนี้ได้เริ่มมาตั้งแต่ พศ. 2549 โดยนำสาหร่ายมาเพาะเลี้ยงเปรียบเทียบ และควบคุมการเติบโตโดยเป็นสาหร่ายขนาดเล็กและสาหร่ายน้ำเค็มที่เกิดขึ้นได้ ในแถบอีสานที่น้ำมีความเค็ม เป็นการใช้เทคโนโลยีทางชีวภาพควบคุมปริมาณแสง ปริมาณของไนโตรเจน และที่สำคัญคือการใช้คาร์บอนไดออกไซต์ มาเป็นอาหารเพื่อกระตุ้นให้สาหร่ายเกิดการสะสมน้ำมันในปริมาณที่มากพอที่จะ สกัดเพื่อใช้ในการผลิตไบโอดีเซล
      
       ซึ่งผลการทดลองสาหร่ายที่ผ่านกระบวนการเพาะเลี้ยงดังกล่าว เมื่อเป็นเซลแห้ง จะมีปริมาณน้ำมันถึง 40 เปอร์เซนต์ต่อน้ำหนักสาหร่าย ขณะที่สาหร่ายสีเขียวตามธรรมชาติในปริมาณเท่ากันจะได้น้ำมันเพียง 10 เปอเซนต์ เท่านั้น แสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของตัวสาหร่ายอย่างเห็นได้ชัด
      
       ประเด็นสำคัญอีกประการคือการ ใช้คาร์บอนไดออกไซต์จากแหล่งธรรมชาติ ที่เป็นของเหลือใช้เช่นน้ำเสีย หรือกากน้ำตาล หรือเป็นการนำคาร์บอนไดออกไดต์โดยตรงมาเพื่อทำการผลิต เป็นการนำสิ่งเหลือใช้มาเป็นประโยชน์ การเพาะเลี้ยงสาหร่ายซึ่งเป็นพืชสีเขียวที่ใช้คาร์บอนไดออกไซต์ในกระบวนการ เติบโต เป็นการลดภาวะโลกร้อนอันเนื่องมาจากปริมาณคาร์บอนไดออกไซต์ได้อีกทางหนึ่ง
       จากผลการวิจัยในประเด็นความสำคัญของการหาพลังงานทดแทนที่ไม่มีผล กระทบต่อพืชอาหารและกระบวนการเพื่อสิ่งแวดล้อมโลก ทำให้มูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทยได้คัดเลือกให้โครงการนี้เป็น 1 ใน 24 โครงการวิจัยเด่นจาก 166
      
       โครงการ ทั่วประเทศที่เสนอเข้ามาได้รับทุนส่งเสริมการวิจัยเพื่อให้นำผลงานไปนำเสนอ ระดับนานาชาติเป็นการเผยแร่ชื่อเสียงผลงานนักวิทยาศาสตร์ไทยสู่สายตาต่าง ชาติต่อไป ซึ่งโครงการนี้เตรียมการเพื่อไปเสนอผลงานที่ เมืองซิดนีย์ประเทศออสเตรเลีย ในการประชุม World congress on oil and fat for biodiesel production ในเดือนกันยายน 2552

http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000020209

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น