++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2552

"ดำนา" รูปแบบการคัดเลือกเข้าเรียนอุดมศึกษาแนวใหม่ ที่โพธิวิชชาลัย มศว

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์


(15 มีค.52) นักเรียนท้องถิ่นจังหวัดสระแก้ว
แข่งขันกันสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาแบบแนวใหม่ ' ทั้งดำนา
สร้างบ้าน ทดสอบความรู้ด้านธรรมชาติ สมุนไพร และจริยธรรม
ชิงทุนสมเด็จพระเทพฯ เรียนฟรีตลอด 4 ปี
ในโครงการบัณฑิตคืนถิ่นโพธิวิชชาลัย มศว จังหวัดสระแก้ว

หลังจากประชุมสภามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
มีมติอนุมัติให้เปิดหลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต
สาขาวิชาการจัดการภูมิศาสตร์สังคม ซึ่งจะทำการเรียนการสอน ณ โพธิวิชชาลัย
มศว จังหวัดสระแก้ว
โดยเพิ่งได้ปิดรับสมัครไปเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธุ์และปรากฏว่านักเรียนในท้องถิ่นก็ได้ให้ความสนใจจำนวนกว่าร้อยคน

การ คัดเลือกนิสิตรุ่นแรกที่จะรับเข้ามาภายในโครงการบัณฑิตคืนถิ่นจะมีจำนวน
49 คน จากยอดนักเรียนที่เดินทางเข้ามาสมัครและทดสอบความสามารถนั้นมีจำนวนอยู่
136 คน ซึ่งทั้งหมดจะต้องเป็นเยาวชนที่อยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดสระแก้ว
เนื่องจากนิสิตที่เข้าเรียนต้องกลับไปทำงานในจังหวัดสระแก้ว
จึงรับเยาวชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัด

ทั้งนี้ส่วนขั้นตอนในการคัดเลือกเข้าสู่ระบบด้วยวิธีสอบตรงกับ
ทางมหาวิทยาลัย ก็ได้มีการคัดเลือกที่ต่างจากระดับอุดมศึกษาทั่วไปที่เน้นแต่วิชาการเป็น
หลัก โดยการสอบดังกล่าวจะวัดจากคุณสมบัติต่างๆ
โดยเฉพาะกระบวนการที่เยาวชนผ่านระบบการเรียนรู้มาจากโรงเรียน บ้าน
และชุมชน ความรู้สึกนึกคิดลักษณะนิสัยใจคอ

ผศ.อำนาจ เย็นสบาย ประธานฝ่ายจัดการความรู้สู่ชุมชน
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เล่าว่า "นิสิต รุ่นแรกนั้น
เมื่อเรียนจบก็จะให้เขากลับไปพัฒนาท้องถิ่นตัวเอง
การพิจารณาจะไม่ใช้คะแนนสอบหรือผลการเรียนของเด็กเพียงอย่างเดียว
แต่จะมีการพิจารณาถึง การเสียสละเพื่อส่วนรวม
รวมถึงการมีคุณธรรมจริยธรรมของเด็กประกอบ.

ทำ การคัดเลือกจากสามส่วน คือสอบพื้นฐาน สอบปฎิบัติ สอบสัมภาษณ์
วิชาพื้นฐาน และมีข้อเขียนที่จะถามเกี่ยวกับเรื่องของธรรมชาติ
และการแก้ปัญหาจากนั้นก็จะเป็นการทดสอบที่จะแบ่งออกเป็นสี่ฐาน อย่าง
ฐานธรรมชาติ ก็ดูด้านความรู้สึกนึกคิดของผู้สอบ ฐานที่ 2
ฐานความรู้ทางพันธ์พืช
เป็นพันธุ์สมุนไพรที่อยู่ในละแวกบ้านเขาเขาต้องรู้จักและน่าจะต้องรู้ถึง
สรรพคุณของมัน ฐานที่ 3 ทดสอบทักษะการดำนาที่จะให้ลงไปดำนาจริงๆ
และทดสอบจริยธรรมในตัวผู้สอบไม่เคย
ส่วนอีกฐานเป็นฐานบ้านดินตรงนี้ทดสอบความอดทน ความทะมัดทะแมง
ส่วนอีกวันก็จะเป็นการสอบสัมภาษณ์ส่วน
หลักเกณฑ์การพิจารณาก็จะเป็นอาจารย์จากมศว.ประเมินกับผู้รู้ในชุมชน"

ผศ.อำนาจ กล่าวต่อไปว่า
การจัดตั้งมหาวิชชาลัยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตภายใต้องค์ความรู้ของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเน้นการผลิตบัณฑิตคืนถิ่น
และเป็นการเรียนแบบจรยุทธที่เรียนกับผู้นำชุมชน
ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถและใช้ศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เป็นหัวใจในการพัฒนา

" เราไม่ได้อยากให้บัณฑิตต้องจบมาแล้วมีงานทำแต่เน้นให้เขาเป็นผู้สามารถพึ่ง
ตนเองได้เหมือนชาวบ้านที่แม้จะไม่ได้มีการรับรองเขามาจากไหนแต่ทำลายระบบการ
ศึกษาเลย คือให้นักเรียนได้สัมผัสกับความรู้ชุมชนที่มีอยู่แล้ว
เราต้องไม่ทิ้งความรู้ของชุมชน
ซึ่งจะเน้นในเรื่องของการศึกษาที่ควบคู่กับการปฎิบัติเรียนแบบหลักสูตรไม่มี
เรียน เน้นในเรื่องที่ปฎิบัติได้จริง อย่างถ้าเป็นแพทย์ก็ต้องมีห้องแลป
เป็นครูก็ต้องมีงานวิจัย โพธิวิชชาลัยก็ต้องมีชุมชน
โดยเป็นการเรียนรู้เพื่อให้เท่าทันการศึกษาโลกกระแสหลักพร้อมกับการเข้าถึง
ความเป็นจริงของธรรมชาติชีวิต ชุมชน"อาจารย์ชี้แจงเรื่องการเรียนการสอน


ส่วนเหตุที่เราคัดเลือกเยาวชนด้วยกระบวนการที่เข้มข้น
นอกจากต้องการเยาวชนที่มีความรู้และความพร้อมในชุมชนอีกหนึ่งเหตุผลคือผู้
ที่ผ่านการคัดเลือกทุกคนจะได้รับทุนเล่าเรียนตลอดเวลา 4 ปี
ซึ่งเป็นทุนพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ด้านผู้เข้าสมัคร " ยุทธพล กุลสากล"นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
6 จาก โรงเรียนวัฒนานคร
ยุทธบอกมาสมัครเพราะตัวเองอยากเรียนเป็นเกษตรนำความรู้ไปพัฒนาหมู่บ้าน

" จบไปก็อยากไปเป็นเกษตรกรหรืออยากทำงานราชการ
อยากเรียนที่เราถนัด
กับชุมชนกับการทำนาก็คลุกคลีเพราะที่บ้านก็ทำนาอย่างที่ทดสอบไปเราก็ทำได้
ไม่รู้สึกว่ายากอะไรเพราะทำเป็นอยู่แล้ว
หากได้เรียนก็จะนำความรู้ที่เราได้มามาพัฒนาการเกษตรช่วยพ่อแม่พี่น้อง"


นอกเหนือจากบรรดาเด็กม.6ที่สนใจเข้าสอบแล้วก็ยังมีนักเรียนที่เรียน
จบไปแล้วแต่สนใจอยากเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงระดับอุดมศึกษา

"ศักดิ์ชัย งามเนตร"
จากโรงเรียนสระแก้ววิทยาคมบอกอยากเรียนด้านเกษตรพอเพียง
เห็นเป็นแนวคิดในหลวงและเป็นโครงการทุนของพระเทพจึงเข้าสอบ

" ชอบทำเกษตรอยู่แล้ว เพราะที่บ้านก็ทำ
คุณครูก็จะกระจายข่าวแล้วเราก็มาเข้าการทดสอบอยากเรียนเพราะอยากเรียนรู้เอา
มาพัฒนา พื้นที่นาสระแก้วมันแห้งแล้งไม่ค่อยได้ผลตามฤดู
และก็เป็นทุนของพระเทพ เราได้เรียนฟรีก็น่าที่จะมาสอบให้ได้
เผื่อจะมีโอกาสได้ทำอะไรให้ท้องถิ่นตอนเรียนจบ"...

http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000029598


การพึ่งพาตนเองตามแนวทางของพระเจ้าอยู่เป็นสิ่งที่สุดยอดแล้ว
เพราะคนไทยบางส่วนยังไม่เข้าใจว่า
เราเหมาะสมที่จะเป็นผู้ผลิตอาหารเลี้ยงชาวโลก
สภาพภูมิประเทศของไทยส่วนใหญ่เหมาะแก่การเพาะปลูก
บรรพบุรุษของไทยสุดยอดที่พามาอยู่ตรงนี้
แต่ผู้นำบางคนตั้งแต่ในอดีตรวมถึงปัจจุบันมองข้ามความสำคัญของชาวนา
อยากจะให้ไทยเป็นเสือเศรษฐกิจตัวใหม่ ทั้งที่คนไทยยังไม่พร้อม
ปัญหาเลยตามมาอย่างนี้ เด็กไทยบางคนยังไม่รู้จักต้นข้าวเลย
โพธิวิชาลัยเป็นสุดยอดของหัวใจคนไทยที่ยังต้องกินข้าว
ดูแลแผ่นดินไทยให้อุดมสมบูรณ์
และเป็นที่ที่ให้คนไทยเข้าใจกำพืดและรากเง้าความเป็นคนไทย
ในฐานะชาวนาคนหนึ่งที่รักอาชีพนี้มาก ขอเชิญชวนให้ทุกท่านที่ได้อ่านพบ
มาชมโพธิวิชาลัย ตั้งอยู่ อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว
แล้วท่านจะพบว่าผู้ที่รู้กำพืดเดิม แล้วเดินตามรอยเท้าพ่อ
ว่ามีความสุขแค่ไหน และบางท่านที่คิดว่าการทำนาเป็นสิ่งที่ล้าหล้ง
โปรดระวังคำพูด และเปิดใจรับรู้วิถีชีวิตชาวนาด้วยว่า
มิได้ไม่ได้ล้าหลังดั่งใครบางคนคิด แต่ชาวนาใจซื่อ
และเชื่อผู้นำที่ไร้ความจริงใจก็เท่านั้นเอง
พวกนักการเมีองหน้าเนื้อใจเสือหากินอยู่บนหลังชาวนา
แต่..ต่อไปนี้เด็กทุนพระเทพฯ
จะเป็นผู้พิกฟื้นแผ่นดินไทยและอาชีพชาวนาไทยต้องยืนอยู่บนขาของตัวเองได้
อย่างสง่างาม วันใดไร้คนทำนาวันนั้นไทยสิ้นชาติ
ชาวนา

ถูกแล้ว ที่จับเด็กไปดำนา
เพราะเด็กจะได้มีความรู้ขั้นพื้นฐาน

ใน อนาคต หลังจากได้รับการศึกษาแล้ว ถึงจะค่อยนำความรู้ที่ได้มาวิเคราะห์
ข้อดีข้อเสีย ของการดำนา แล้วค่อยนำไปศึกษา พัฒนา และปรับปรุง
จากวิธีดั้งเดิมที่เป็นอยู่

ถ้าเด็กไม่ได้ดำนาจริงๆ แล้วจะรู้ได้ไงว่า
คุณค่าของข้าวจริงๆที่ควรจะเป็น มันจะเป็นยังไง

ถ้าพื้นฐานไม่แน่นแล้วจะต่อยอดไปได้ยังไงกันคุณ
กศน.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น