++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2552

"เต็นท์นี้มีดีไซน์"

เมื่อได้ดูข่าวท่านนายกฯขยันขันแข็งไปตรวจงานสนามบินสุวรรณภูมิ ถึงขนาดกางเต็นท์นอนพักแรม ทำให้ทีมงานต่วย\'ตูนเกิดไอเดียจ๊าบสนับสนุน ท่านนายกฯ โดยหาเต็นท์สวยๆ แบบว่ามีดีไซน์ มาให้ท่านเลือกใช้ และเป็นเต็นท์ชนิด “ติดดิน” อย่างที่ท่านชอบด้วยละ-ฮา
ถ้าจะว่ากันไปถึงอะไรๆ เกี่ยวกับเต็นท์ เราก็จะพบว่า นี่คือลักษณะ สถาปัตยกรรมแบบ ธรรมชาติพื้นฐานเบื้องต้น แบบหนึ่ง ที่มนุษย์คิดขึ้นมาได้ตั้งแต่ สมัยโบราณ... และมีมาจนถึงทุกวันนี้
ดูตามข้อมูลการค้นพบ ปรากฏว่า มีการ พบ ร่องรอยชิ้นส่วนการสร้าง เต็นท์ที่ยูเครน ซึ่งคำนวณได้ว่า มีอายุถึง 40,000 ปี
ตั้งแต่มนุษย์เริ่มสร้างเพิงพักพิง เพื่ออยู่อาศัยในสมัยโน้น จึงมีการใช้ทั้งกระดูกช้างแมมมอธและ หนังสัตว์ประกอบกันขึ้น เป็นโครงสร้าง คุ้มฟ้า คุ้มฝน และกันสัตว์ร้ายมากล้ำกราย
โครงสร้างทำนองนี้สร้างได้รวดเร็ว (โดยใช้วัสดุที่หาได้จากธรรมชาติ) จะโยกย้าย พับ หุบ เก็บ แล้วแบกหามไปไหนๆด้วยตามประสาเร่ร่อนก็ทำได้โดยง่าย เหมาะกับพวกที่อยู่ไม่เป็นที่เป็นทาง
แต่...แม้ว่าจะเป็นโครงสร้างชั่วคราว ก็จริง... หากทว่า ความเหมาะสมตลอดจน ชั้นเชิงแง่มุม การออกแบบดีไซน์นั้น มีบางประการอันเป็นลักษณะ ท้องถิ่น ทำให้สถาปนิกชั้นนำในอดีตได้ทึ่งมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเลอ คอร์-บูซิเอร์, แฟรงค์ ลอยด์ ไรท์ และวอลเตอร์ โกรเปียส
ผลงานสถาปัตยกรรมหลายชิ้นของ สถาปนิกชั้นนำเหล่านี้ นัยว่าได้แรงบันดาลใจมาจาก โครงสร้างของเต็นท์
ผู้คนรุ่นแล้วรุ่นเล่า ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ยังสนใจโครงสร้าง ทำนองเต็นท์อยู่ (...อย่างนี้เขาเรียกว่า โครงสร้างอมตะใช่ไหม?)
ดังนั้น เราลองไปสำรวจดูรูปร่างหน้าตาของเต็นท์ ในที่ต่างๆกันดีมั้ยคะ
เต็นท์ในแอฟริกา
ในทวีปแอฟริกา แถวๆเคนยา, โซมาเลีย และ เอธิโอเปีย มีชนเผ่าเร่ร่อนอยู่ คนเหล่านี้ต้องต่อสู้กับ สภาวะอากาศที่รุนแรง จึงมักสร้างสรรค์ผลงาน ไว้ในลักษณะข้าวของเครื่องใช้ที่มี ความงามเฉพาะตัว และมีประโยชน์ใช้สอยเหมาะกับชีวิตความเป็นอยู่ โดยวัสดุหลักคือหนัง ไม้ และโลหะ ซึ่งทำเป็นเสื้อผ้า, เครื่องใช้, เครื่องเรือนและบ้าน...ดังนั้น ข้าวของของพวกเขา จึงมีทั้งกระเป๋า เพื่อใส่สัมภาระเดินทาง, ภาชนะบรรจุอาหาร และน้ำนม ตลอดจนเสื้อผ้าและรองเท้าแตะ ซึ่งทำจากหนังสัตว์
คนกลุ่มนี้ถือว่าความหมายของคำว่า “เต็นท์” นั้น เกี่ยวข้องสัมพันธ์ แนบแน่นกับ ชีวิตการแต่งงานมีครอบครัว (คล้ายของไทยเราเหมือนกัน- มีบ้าน มีเหย้า มีเรือน...)
ในพิธีแต่งงานของชนกลุ่มนี้ จะมีการหา วัสดุต่างๆ มาเพื่อก่อสร้างบ้านใหม่... และเขามอบหมายให้ผู้หญิง เป็นเจ้าของบ้าน!
ผู้หญิงจะมีหน้าที่ทั้งจัดการ เป็นแม่งานในการก่อสร้าง และดูแลบำรุงรักษาสมบัติ ชิ้นนี้ตลอดไป... คือทำหน้าที่เรื่อยมาตั้งแต่เป็นสถาปนิกผู้ออกแบบ เป็นแม่บ้าน...นอกจากนี้ สังคมประเพณีของชนกลุ่มนี้ยังกำหนดให้ผู้หญิง เป็นผู้เล่าขานถ่ายทอดสืบต่อ ประวัติของเผ่าพันธุ์ และสั่งสอนให้การศึกษาแก่บรรดาผู้คนในสังคมอีกด้วย
ทั้งนี้ ลักษณะการกำหนดผังพื้นที่และ เฟอร์นิเจอร์ภายในเต็นท์ จะสอดคล้องกับบทบาททางสังคม วัฒนธรรม และชีวิตความเป็นอยู่ใน ครอบครัว ซึ่งสมาชิกต่างทำหน้าที่กัน อย่างเหมาะสม
เต็นท์ของพวกเบดูอิน
พวกเบดูอิน คือชนพื้นถิ่นในแถบ คาบสมุทรอาหรับ นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 7 ที่พวกอาหรับปกครองดินแดน ก็ได้แผ่ขยายอารยธรรม กำหนดแนววิถีชีวิตความเป็น อยู่สำหรับผู้คนในดินแดนแถบนี้
เต็นท์ของพวกเบดูอินส่วนใหญ่ จะอยู่ในรูปทรงแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า โยกย้ายได้ เหมาะสมกับสภาพฤดูกาล ส่วนใหญ่จะใช้เสาไม้และเชือก โดยมีหินก้อนใหญ่เป็นฐาน ไว้ผูกให้เต็นท์อยู่มั่น เหตุเพราะในแถบนี้มักจะมีลมแรงมาก ส่วนผืนหนังที่ปกคลุม ก็คือหนังอูฐหรือแพะ โดยที่ด้านข้างของเต็นท์จะม้วนขึ้นไปได้เพื่อรับ ลมโชยเข้า และดึงลงปิดเต็นท์ให้ มิดชิดได้เมื่อมีลม ฝนแรงๆ ส่วนด้านในเต็นท์จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ สำหรับผู้ชาย, ผู้หญิงและเด็ก และส่วนที่ใช้ประกอบอาหาร
เต็นท์ของชาวคาซัค
ชาวเอเชียจะมีวัฒนธรรมหลายอย่าง คล้ายกับของชาวคาซัค (หรือที่เรียกดินแดนว่าคาซัคสถาน) อันเป็นชนเผ่าพันธุ์ผสม ระหว่างมองโกลกับจีน ส่วนใหญ่คนพวกนี้จะเป็นพวกเร่ร่อน เปลี่ยนย้ายที่อยู่ไปเรื่อยๆ เพื่อเสาะหาดินแดนที่มีหญ้า อุดมสมบูรณ์เพื่อเลี้ยงสัตว์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแกะ
เนื่องจากสภาพอากาศและการตั้ง ที่พักอยู่ในบริเวณหนึ่ง เป็นเวลานาน ดังนั้น เต็นท์ของพวกเขาจะมีโครงสร้าง ที่มั่นคงแข็งแรงทีเดียว และนับว่าซับซ้อน ในการสร้างกว่าบรรดาเต็นท์ต่างๆ ที่ได้เอ่ยมา
เต็นท์เหล่านี้จะเป็นรูปทรงกลม หลังคาเป็นรูปโคน กรอบเต็นท์ ใช้เสาไม้ถึงราวๆ 60 ส่วนต่อกัน แต่ก็สร้างและรื้อถอนได้ไม่ยาก ส่วนผืนแผ่นบังใช้ผ้าขนสัตว์และ วัสดุทำจากพืชบางชนิด ที่ทำให้อุณหภูมิเหมาะสม สำหรับผู้ที่อยู่ภายใน
เต็นท์ลักษณะนี้มีปรากฏอยู่ในดินแดนแถบจีน, อัฟกานิสถาน, อิหร่าน, ตุรกี และรัสเซีย
กระโจมทีปี
ชาวอินเดียนแดงท้องถิ่นอเมริกา เหนือ มีที่อยู่อาศัยในลักษณะของกระโจม ทีปี ที่เป็นรูปทรงกรวย หรือที่เรียกว่าโคน
ในช่วงศตวรรษที่ 18 ตอนปลายๆ ชนพื้นถิ่นเหล่านี้อาศัยอยู่ในบริเวณ ทุ่งราบอันกว้างใหญ่ เพาะปลูกและล่าสัตว์ ภายหลัง พวกสเปนได้นำม้าเข้ามา ชนพื้นถิ่นเหล่านี้ถูกชนผิวขาว ไล่ที่อพยพไปเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม โครงสร้างเต็นท์แบบ อินเดียนแดงนี้เป็นที่น่าศึกษา และได้รับความสนใจ (จากบรรดาอาร์คิเตก) จนสามารถพัฒนาเป็นเต็นท์รูปแบบอื่นๆได้อีกมาก
โครงสร้างนั้นเรียบง่ายชัดเจน และได้ผล...ใช้เสาไม้นำมา ผูกรวมกันไว้ที่ปลายด้านหนึ่ง ทำให้เกิดเป็นรูปโคน แล้วก็ปิดรอบด้านด้วยแผ่นผืนหนังสัตว์ บางทีก็ผูกยอดเสานั้นไว้ให้ม้าลากไป แล้วบรรจุข้าวของสัมภาระไว้ในกระโจม (...ทำหน้าที่คล้ายรถเทรเลอร์-รถพ่วงในสมัยนี้ไง)
TEE PEE มีความหมายในเชิงชีวิต จิตวิญญาณของชาวพื้นเมืองอเมริกาด้วย คือแปลว่า “THE GOOD MOTHER” ผู้ให้ที่อยู่อาศัยและคุ้มภัยแก่บุตร
เราจึงเห็นได้ว่า โครงสร้างลักษณะเต็นท์อันมีการใช้แรงดึง “TENSILE STRENGTH” นี้ เป็นที่น่าสนใจอยู่หลายประการ มีเอกลักษณ์ในเรื่องความโปร่งโล่ง มีส่วนโค้งอันเนื่องมาจากแรงดึง ซึ่งดูเป็นธรรมชาติ และเมื่อผู้ออกแบบใช้ลูกเล่นในเรื่องวัสดุต่างๆที่งดงามแปลกตา ขึงทางโน้น ดึงทางนี้ หลากทิศหลายทาง บางครั้งอาจปรากฏเป็นลักษณะของการถักทอเส้นใย (พวก TEXTILE ต่างๆ) โยงไว้สอดสานกันไปมา ดูเก๋ไก๋แปลกตา สามารถพับเก็บได้ ขนส่งเปลี่ยนแปลงเนื้อที่ได้ ทั้งแบบชั่วคราว และแบบติดตั้งถาวร...
นับว่าเต็นท์นี้มีดีไซน์จ๊าบ ซึ่งถ้าหากทีมงานของท่านนายกฯ จะออกแบบสร้างเต็นท์ ที่เหมาะสมกับ การโยกย้ายไปพักแรมตามที่ต่างๆ สำหรับท่านนายกฯบ้าง ก็คงจะดีไม่น้อยเชียวค่ะ.
ต่วย\'ตูน และ ไอแสค อาศิระ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น