++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2551

นกแสก...ปิศาจราตรีมีคุณค่าต่อชาวสวนถ้ารู้ในประโยชน์


แควกๆๆๆ..... เสียงร้องอันโหยหวน ของ "นกแสก" ที่จะเร้าอารมณ์ ถึงกับขนหัวลุก หรือไม่ถ้าคืนไหนที่ เจ้าของเสียงตัวนี้ไปเกาะ ที่หลังคาบ้านผู้ใด ถือว่าถึงคราวเคราะห์ หามยามซวย.....สุดๆ ที่บางครั้งคนในครอบครัว จะต้องสังเวยด้วยชีวิต ดั่งว่ามันคือ "ปิศาจ"

.....มูลเหตุแห่งความเชื่อนี้ ทำให้คนตั้งตัวเป็นศัตรูกับ "นกแสก" จงเกลียดจงชังเอามากๆ พบเมื่อใดต้อง...ฆ่า!! ผลทำให้ ประชากรนกแสก ลดท่าล่าถอยลง ปัจจัยนี้ เลยทำให้วงจรความถ่วงดุลธรรมชาติส่งผลกระทบ ในทางร้ายต่อสภาพแวดล้อมโดยไม่รู้ตัว ประชากร "หนู" ไม่มีผู้รบกวน จึงเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างรวดเร็ว...!! ...และ เจ้าตัวร้ายนี้ก็เข้าทำลายพืชผลการเกษตร โดยเฉพาะสวนปาล์มของเกษตรกร สร้างความเสียหายคิดมูลค่ารวมแล้ว ผลผลิตปาล์มสดเสียไปเป็นมูลค่ากว่า 580 ล้านบาทต่อปี เพื่อที่จะลดบทบาท และจำนวนประชากรหนูลง ในรูปแบบของการคงสภาพแวดล้อม นายเกรียงศักดิ์ หามะฤทธิ์ นักวิชาการสำนักวิจัย พัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร จึงได้ทำการทดลอง และวิจัยในเรื่องนี้ ด้วยการให้ "นกแสก" เป็นพระเอกของงาน นกแสก TYTO ALBA เป็นสัตว์ในวงศ์ TY-TONIDAE อันดับ STRIQI-FORMES พบได้เกือบทั่วทุกแห่งในโลก ทั้งในทวีปยุโรป อเมริกา เอเชีย แอฟริกา และออสเตรเลีย การทำการวิจัยทดลอง ดำเนินการที่ สวนปาล์ม แห่งหนึ่ง ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในระยะเริ่มต้น พ่อ-แม่ นกแสกในธรรมชาติมีอยู่น้อยมาก (เนื่องจากนกแสกเหล่านั้น ตายจากการกินหนู ที่กินยาเบื่อหนูเกือบหมด) ทีมนักวิชาการเข้าไป สร้างรังให้ในช่วง 4 ปีแรก 15 รัง มาถึงช่วง 2 ปีหลัง จึงมีประชากรนกแสกเพิ่ม จึงสร้างรังเป็น 154 รัง... ...ประชากรนกแสกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หลังฤดูการผสมพันธุ์ปี 2545/46 ได้ประมาณ 300 ตัว ซึ่งนกแสกเหล่านี้สามารถที่จะกำจัดหนู ที่กัดทำลายผลผลิตปาล์มนํ้ามันได้ประมาณ 210,000 ตัว/ปี จากการวิเคราะห์ของทีมนักวิจัยพบว่า นกแสกตัวหนึ่งสามารถ กำจัดหนูศัตรูพืชได้ 700 ตัวต่อปี ซึ่งหนูในจำนวนนี้ หากทำการกำจัด จะต้องใช้สารเคมีออกฤทธิ์ช้า แบบก้อนขี้ผึ้งสำเร็จรูป รวมทั้งค่าแรงคน จะใช้เงินทุนประมาณ 500 บาท

การควบคุมความหนาแน่น ของประชากรหนู "นกแสก" จึงเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่ง ที่ไม่สร้างความเสียหาย และผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม... หากเกษตรกรที่มีป\'ญหาในเรื่องผลิตผลการเกษตรของท่านถูกศัตรูรุกราน ก็สามารถที่จะติดต่อขอความรู้ในวิธีการ ตามงานวิจัยนี้ได้ที่ สำนักงานวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร จตุจักร กทม. 10900 ทางหน่วยงานยินดีที่จะบริการ.

ปัญญา เจริญวงศ์

1 ความคิดเห็น: