3 เวบไซต์ดังกล่าวได้แก่
1. การพัฒนาเวบไซต์สถานีอนามัยคำสร้างเที่ยง ต.คำสร้างเที่ยง กิ่ง อ.สามชัย จ.กาฬสินธุ์
url - www.geocities.com/kstpcu
2. เวบไซต์สถานีอนามัยบ้านดงเมือง ต.ลำพาน อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์
url - sasukmsu.googlepages.com/dmanamai
3. เวบไซต์สถานีอนามัยบ้านหวายหลึม ต.มะบ้า กิ่ง อ.ทุ่งเขาหลวง จ.ร้อยเอ็ด
url - www.geocities.com/wailum_anamai
หมายเหตุ ได้ทำการสำรองข้อมูลไว้เวบไซต์ละ 2 แห่ง ทั้งที่ sata1msu.com และที่ geocities.com กับ thai.net (ฟรีเวบไซต์) หากไม่สามารถเข้าชมเวบไซต์แห่งแรกได้ กรุณาคลิกดูอีก url ที่ให้ไว้
ทีมงานผู้พัฒนาเวบไซต์ - นายอดุลย์ กล้าขยัน, นายธีรพัฒน์ สุทธิประภา นายสรัญกริช นามไพร และนายอาษา อาษาไชย
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับเวบไซต์
1. ชื่อเวบไซต์ : สถานีอนามัย คำสร้างเที่ยง ต.คำสร้างเที่ยง กิ่ง อ.สามชัย จ.กาฬสินธุ์
2. ขนาดพื้นที่ที่ใช้ = 6.37 MB
3. จำนวนไฟล์ทั้งหมด = 469 ไฟล์ เป็นไฟล์ HTML = 14 ไฟล์
4. ระยะเวลาที่สร้างเวบ = 3 วัน
5. วันที่เริ่มเผยแพร่สู่ internet = 2 มกราคม พ.ศ. 2546 เวลา 11.49 น.
6. โปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนา
6.1 Notetab Light 4.9 (Freeware)
6.2 Notepad
6.3 Macromedia Dreamweaver 4
6.4 Adobe Photoshop 6
6.5 Adobe ImageReady 3.0
6.6 Microsoft word 2000
6.7 Microsoft Excel 2000
6.8 Microsoft Powerpoint 2000
6.9 Hypersnap-DX version 3.41.00
6.10 Gsmart 210 (แปลงภาพจากกล้องดิจิตอล)
6.11 ACDsee Version 3.1 Build 921
โปรแกรมที่ใช้ทดสอบเวบ
1. Internet Explorer 5.5
2. Netscape Communicator 4.6
3. Opera 6
- - - - - - - - - - - - -
ชื่อเวบไซต์ - สถานีอนามัยบ้านดงเมือง ต.ลำพาน อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์
ขนาดพื้นที่ที่ใช้ 2.37 MB
จำนวนไฟล์ทั้งหมด 103 ไฟล์ เป็นไฟล์ HTML 23 ไฟล์
ระยะเวลาที่ทำ 2 วัน
วันที่เริ่มเผยแพร่สู่ internet 17 มกราคม พ.ศ. 2546 เวลา 14.30 น.
โปรแกรมที่ใช้ เหมือนกับเวบไซต์คำสร้างเที่ยง
- - - - - - - - - - - - -
ชื่อเวบไซต์ สถานีอนามัยบ้านหวายหลึม ต.มะบ้า กิ่ง อ.ทุ่งเขาหลวง จ.ร้อยเอ็ด
ขนาดพื้นที่ที่ใช้ 3 MB
จำนวนไฟล์ทั้งหมด 150 ไฟล์
ระยะเวลาที่ทำ 2 วัน
ข้อมูลอื่นๆ คล้ายกับทั้งสองเวบไซต์ข้างต้น
เจาะประเด็นจากทีมผู้พัฒนาเวบไซต์ทั้ง 3 เวบไซต์
1.ทำไมถึงต้องทำเวบไซต์นี้ขึ้นมา?
ต้นกำเนิดของเวบเริ่มจากการเข้ามาเรียนในหลักสูตร สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)ของ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งการศึกษาค้นคว้า จะต้องค้นหาข้อมูลจากหลายแหล่ง รวมทั้ง internet ด้วย ทำให้มีโอกาสได้ใช้ internet และเปิดดูเวบไซต์ต่างๆ อีกทั้งอาจารย์หลายท่านได้ให้แนวคิดว่า ชาว ส.ม. รุ่นที่ 1 น่าจะมีเวบไซต์เป็นของตัวเอง เพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์อีกช่องทางหนึ่ง ควรจะจัดทำเวบรุ่นขึ้นมา แต่ในช่วงแรกๆยังไม่มีแนวทางในการทำเวบรุ่น จึงเริ่มจากการจัดทำเวบของที่ทำงานของนิสิต ส.ม.1 เป็นจุดเริ่มต้นขึ้นมาก่อน
2. ทำไมถึงเลือกสร้างเวบไซต์ของสถานีอนามัยคำสร้างเที่ยง เป็นเวบแรก?
แนวคิดเรื่องการสร้างเวบนี้ ได้เริ่มพูดคุยในหมู่นิสิตที่เรียนสาขาการจัดการสารสนเทศสาธารณสุขก่อน และคุณอดุลย์ และคุณอาษามีโอกาสได้พบกันบ่อยครั้งมากกว่าท่านอื่นๆ อีกทั้งเป็นคนจังหวัดเดียวกัน จึงร่วมมือกันสร้างเวบไซต์สถานีอนามัยคำสร้างเที่ยงขึ้น เป็นเวบไซต์แรก
3. เวบไซต์คำสร้างเที่ยง มีความพิเศษอย่างไร?
เวบนี้เป็นเวบที่เขียนด้วย HTML ธรรมดา คงไม่มีความพิเศษมากมายนัก ความพิเศษคงอยู่ที่เป็นเวบไซต์แรกของนิสิต ส.ม.1 ที่เมื่อเปิดตัวออกมา ทำให้หลายคนอยากจะมีเวบไซต์ของที่ทำงานของตัวเองบ้าง และเท่าที่ลองสืบค้นเวบสถานีอนามัย พบว่า ในจังหวัดกาฬสินธุ์ ยังไม่มีเวบไซต์ของสถานีอนามัยเลย อาจจะถือได้ว่า เวบไซต์นี้ เป็น เวบไซต์สถานีอนามัยแห่งแรกของจังหวัดกาฬสินธุ์ ด้วยหน้าตาเรียบง่าย สบายตา และเป็นต้นแบบ และแรงบันดาลใจให้ชาวหมออนามัย พัฒนาเวบไซต์สถานีอนามัยให้ปรากฏสู่สายตาชาวโลกเพิ่มขึ้นในเวลาต่อๆมา
4. เท่าที่ดูโครงสร้าง หัวข้อและรูปที่นำเสนอในเวบ คำสร้างเที่ยง ก็ไม่ธรรมดาเหมือนกัน ไปอบรมการสร้างเวบที่ไหนมาบ้าง?
เริ่มต้นจากการเปิดคู่มือการสร้างเวบที่ยืมมาจากห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหาสารคามนี่เองครับ และเปิดอ่านในเวบไซต์ที่แนะนำการสร้างเวบหลายแห่ง เปิดดู source code ก็ทดลองนำมาตัดแปะ จนเห็นหน้าตาของเวบอย่างที่เห็นอยู่นี้แหละครับ
5. ตามที่ระบุมา ทำไมถึงใช้โปรแกรมในการสร้างเวบเยอะมาก ใช้ dreamweaver ตัวเดียวก็น่าจะพอแล้ว?
หลังจากเปิดดูหลายๆเวบไซต์แล้ว คงจะทำให้เวบดูสวยงามเหมือนเวบมืออาชีพคงไม่ได้ และก็ไม่มีข้อมูลมากมายเหมือนเวบไซต์ที่มีคนรู้จักเยอะ การทำเวบไซต์สถานีอนามัยก็คงจะทำได้เพียงแค่นำเสนอข้อมูลเท่าที่มีอยู่เท่านั้น ซึ่งข้อมูลก็เลือกเอาไฟล์ข้อมูล word, excel, powerpoint ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ของสถานีอนามัยนี่เอง มานำเสนอในเวบไซต์ โดยทำการ save ไฟล์ข้อมูลให้เป็น html เลยต้องใช้ทั้ง word, excel, powerpoint มา save และ source code จากเวบไซต์อื่นๆก็ copy และนำมาตัดแปะใน Notepad บาง code มีความยาวมาก ก็ใช้ Notetab LIght www.notetab.com ในการตัดแปะ และทดลองทำตามคู่มือที่ยืมมาจากห้องสมุด ก็เลยได้ลองใช้หลายโปรแกรมทั้ง dreamweaver photoshop และอีกหลายโปรแกรม เนื่องจากยังเป็นมือใหม่เลยต้องทดลองทำตามคู่มือที่แนะนำมาครับ
6. ทำไมจำนวนไฟล์ทั้งหมดของเวบไซต์คำสร้างเที่ยงถึงมีจำนวนมากถึง 469 ไฟล์ แต่อีก 2 เวบไซต์มีแค่ 100 กว่าไฟล์เท่านั้น มีข้อมูลอะไรเป็นพิเศษหรือเปล่า?
เนื่องจ่กทดลองตกแต่งภาพด้วย photoshop ในหลายๆรูปแบบ เลยทำให้มีไฟล์รูปภาพมากมาย แต่ในอีก 2 เวบไซต์ ได้ทำการตกแต่งภาพเฉพาะที่จำเป็นต้องใช้นำเสนอในเวบเท่านั้น ประกอบกับมีประสบการณ์มากขึ้น จึงเลือกนำเสนอข้อมูลให้ดูกระชับมากขึ้น
7. ที่ระบุว่า ใช้ระยะเวลาทำเวบ 3 วัน ทำอะไรบ้าง?
วันแรก คือ ทำการคัดเลือกและ save ข้อมูลมาสร้างเวบ และ save ไฟล์ให้เป็น html และช่วงหนึ่ง ก็ถือกล้องดิจิตอล เดินถ่ายภาพตามมุมต่างๆของสถานีอนามัย ถ่ายไว้หลายๆรูปเพื่อจะได้มาเลือกภาพที่หลัง วันที่ 2 ก็หารูปภาพ ตกแต่งภาพ ตัดแปะไฟล์ต่างๆ ทำ link แต่ละไฟล์ และทดสอบดูว่า คลิกแต่ละที่สามารถเปิดดูเอกสารหน้านั้นๆถูกต้องหรือไม่ วันที่ 3 ก็สมัครขอพื้นที่ฟรี ที่ geocities.com และ login ส่งไฟล์ขึ้นสู่เวบไซต์ โดยไปทำที่ห้องคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพราะ internet เร็วมาก จากนั้น ก็ส่งเมล์แนะนำเวบไซต์ไปยังบุคคลที่รู้จักครับ
8. ทั้ง 3 เวบไซต์ ทำไมถึงมีแนวคิดในการนำเสนอ ภาพถ่ายของสถานีอนามัย
วัตถุประสงค์ คือ อยากให้ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์ ได้เห็นภาพบรรยากาศของสถานีอนามัย เหมือนได้มาเยี่ยมด้วยตัวท่านเอง ไม่ว่าสถานีอนามัยจะเป็นอย่างไร ก็สามารถนำเสนอข้อมูลสู่สายตาชาวโลกผ่านทางเวบไซต์ได้ครับ
9. สังเกตว่า ในเวบคำสร้างเที่ยง มีส่วนที่แนะนำการเดินทางสู่คำสร้างเที่ยง ,รู้จักกิ่ง อ.สามชัย และแผนที่การเดินทางด้วย จุดประสงค์ที่ต้องการนำเสนอในจุดนี้ ต้องการให้ผู้ชมไปเยี่ยมถึงสถานที่จริงๆเลยหรือเปล่า?
ส่วนนี้คือต้องการแนะนำและให้ข้อมูลของที่ตั้งสถานีอนามัยด้วย เนื่องจากว่า กิ่ง อ.สามชัย เป็นอำเภอที่ตั้งใหม่ หลายท่านอาจจะยังไม่เคยได้ยินชื่อมาก่อน และยังไม่มีตำแหน่งของกิ่งอำเภอนี้ในแผนที่ฉบับเก่าๆด้วย เลยนำเสนอในจุดนี้ขึ้นมาด้วย เพื่อให้ผู้เยี่ยมชมได้มองเห็นด้วยว่า คำสร้างเที่ยงอยู่ที่ไหน หากสนใจก็สามารถแวะมาเยี่ยมกันได้ครับ ยินดีต้อนรับทุกท่านเสมอ
10. มีต้นแบบในการทำเวบหรือไม่ แล้วใช้เวบไซต์ไหนเป็นต้นแบบจนทำให้พัฒนาเวบไซต์สถานีอนามัยจนมีรูปแบบอย่างที่เห็น?
ตอนแรกพยายามที่จะดูต้นแบบจากหลายๆเวบ แต่ดูแล้ว ไม่ใช่อย่างที่อยากจะทำ หรือบางเวบดูแล้ว เห็นว่า เกินกว่าที่จะสามารถสร้างเวบแบบนั้นได้ ทั้งเวบไซต์ หมออนามัย เวบของกระทรวง และเวบหน่วยงานราชการอื่นๆ เลยออกแบบอย่างง่ายๆ แบ่งเป็นช่องๆ แล้วใส่ข้อมูลเข้าไป ปรับแต่งพื้นหลัง สี จนพอใจ เลยได้เวบออกมาในแบบที่เห็น รูปแบบก็ได้มาจากการดูหลายๆเวบ แล้วจับบางส่วนมาผสมผสานจนได้รูปแบบที้เห็น ทำตามความสามารถและเวลาที่มีอยู่ครับ
11. อยากทราบวิธีการเปิดตัวให้คนอื่นรู้จักเวบไซต์ทั้ง 3 เวบนี้
โดยการส่งเมล์แจ้งไปถึงหลายท่านที่พอจะรู้จัก และหาเบอร์อีเมล์ในเวบไซต์หมออนามัยดอทคอม รวมทั้งเข้าไปเขียนแนะนำเวบไซต์ในกระดานข่าว 7-8 แห่ง ก็เริ่มที่จะมีคนรู้จักเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 12. ทำไมในปัจจุบันไม่มีการอัพเดทข้อมูลใหม่ๆในเวบไซต์บ้างเลย
ตอนแรกตั้งใจว่า จะทำเวบไซต์ออกมาให้เป็นเวบไซต์ต้นแบบ โดยออกแบบง่ายๆ เพื่อที่จะสามารถพัฒนาเวบไซต์ต่อไปได้ แต่เนื่องจากภาระหน้าที่การงาน และครอบครัว ทำให้ไม่มีเวลาที่จะพัฒนาเวบไซต์ต่อไป แต่ในอนาคตกำลังมองหารูปแบบที่เหมาะสมและลงตัวในการพัฒนาข่าวสารข้อมูลในเวบให้ข้อมูลเป็นปัจจุบันมากขึ้น
13. มีการวัดผลสำเร็จของเวบไซต์อย่างไรบ้าง?
วัดโดยการติด counter เพื่อดูว่ามีผู้เข้ามาเยี่ยมชมเวบไซต์ต่างๆมากน้อยเพียงไร และเปิดสมุดเยี่ยม (Guestbook) เพื่อรับคำแนะนำ ติชมไว้ด้วย ถึงแม้จะไม่ค่อยได้ทำการปรับปรุงข้อมูลในเวบไซต์เลย แต่กำลังใจและคำแนะนำจากผู้เยี่ยมชมเวบไซต์ เป็นสิ่งที่มีค่าสำหรับ สถานีอนามัยเล็กๆ แต่ก่อนไม่เคยคาดคิดมาก่อนว่า เวบไซต์สถานีอนามัยจะมีผู้ให้ความสนใจถึงเพียงนี้ ถึงแม้ว่าจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเวบ จะเทียบไม่ได้กับเวบไซต์ใหญ่ๆที่มีคนรู้จักมากมาย แต่สำหรับเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยแล้ว กำลังใจที่มีให้มีค่าเหนือคำบรรยายครับ
14. อยากได้แนวความคิดในการออกแบบและพัฒนาเวบไซต์ของทีมงานครับ เพื่อที่ผู้ที่สนใจ หรือมือใหม่ที่กำลังจะสร้างเวบไซต์จะได้ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาเวบไซต์ต่อไป
เรื่องเหล่านี้สามารถที่จะค้นหาข้อมูลใน internet ได้เลยครับ มีเวบไซต์หลายแห่งที่ให้ข้อมูลในส่วนนี้ ซึ่งทางทีมงานก็ได้นำคำแนะนำมาเป็นแนวทางในการออกแบบและพัฒนาเวบไซต์ดังกล่าว แต่เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องของเวลา ภาระหน้าที่ต่างๆ ทำให้ไม่สามารถใช้แนวทางต่างๆได้อย่างเต็มที่
สำหรับมือใหม่ที่สนใจ และสามารถพัฒนาเวบไซต์ได้อย่างเต็มที่ ทางทีมงานก็ขอนำเนื้อหาบางส่วนต่อจากนี้ มานำเสนอไว้ เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปประยุกต์ - พัฒนาและค้นคว้าหาข้อมูลต่อไปครับ
1. กำหนดขอบเขตของเวบไซต์
ขอบเขตของเวบไซต์สถานีอนามัย เป็นการแนะนำข้อมูลทั่วไป กิจกรรม แผนงานการให้บริการภายในสถานีอนามัย2. การออกแบบสิ่งที่จะมีในเวบไซต์
นำเสนอข้อมูลที่มีในสถานีอนามัยและสามารถนำมาเผยแพร่ได้ โดยพิจารณาตามรายละเอียดตอ่ไปนี้
2.1 ต้องสร้างวัตถุประสงค์และกำหนดขอบเขตที่มีความน่าเชื่อถือในเวบไซต์ปัจจุบัน
2.2 การพัฒนาต้องวางแผนตามจุดสำคัญดังนี้
2.2.1 จุดมุ่งหมายของเวบไซต์ - รายละเอียดของวัตถุประสงค์หลัก
2.2.2 ขอบเขตของเวบไซต์
- ขอบเขตสามารถกำหนดในจุดสำคัญและขนาดของโครงงาน
- กำหนดเนื้อหาของเรื่อง เพื่อการพิจารณาและกำหนดให้กว้างหรือแคบ ซึ่งจะต้องครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด
- กำหนดระดับของรายละเอียด สำหรับเนื้อหาของเวบไซต์ โดย สรุปเนื้อหาสาระ และพิจารณาความยาวของหัวข้อหลักต่างๆ โดยตั้งค่าของหน้าเพจในระดับต่อไป และรูปแบบทั่วไปของเวบไซต์
2.2.3 ผู้มาเข้าชม
- ตัดสินใจประชาสัมพันธ์ความคิดของเวบไซต์โดยเน้นใช้ภาษาไทย
- กลุ่มเป้าหมายของเวบไซต์ = บุคลากรสาธารณสุขและผู้สนใจทั่วไป
- อะไรที่กลุ่มเป้าหมายสนใจ = ข้อมูลทั่วไป/การให้บริการ/ แผนงาน
- ต้องทำอย่างไรที่จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ = ส่งอีเมล์แจ้งข่าวสาร และเขียนแนะนำในกระดานข่าว
2.2.4 โครงสร้าง = ดูภาพตัวอย่างของเวบไซต์ประกอบ
- เขียนเค้าโครงเวบไซต์
- กำหนดจุดประสงค์ ขอบเขต เป้าหมาย กลุ่มผู้ชม
- หน้าแรก Homepage ต้องเตรียมรายการเพื่อให้ผู้อ่านทราบถึงภาพรวมของเวบไซต์
- หน้าหลัก ต้องแสดงเนื้อหาสาระที่ต้องการเสนอให้ชัดเจน
- หาวิธีดึงดูดความสนใจ ให้ผู้อ่านกลับมาเยี่ยมชมอีก
- ร่วมกันระดมความคิดเพื่อพัฒนาเวบไซต์ให้ดีขึ้น
2.2.5 ลักษณะองค์กรที่ประสบความสำเร็จ
- บอกรายละเอียดโดยทั่วไปขององค์กร
- บอกเกี่ยวกับ รายการ โครงสร้างข้อมูลและแฟ้มรายการ (Directory and file)
- จัดทำชนิดข้อมูลที่แตกต่างกันของสารสนเทศ
- โครงสร้างข้อมูลองค์กร = พื้นฐานของโครงสร้างจะต้องเกี่ยวกับเนื้อหาโดยรวมของเวบไซต์ทั้งหมด, ใช้แฟ้ม Index หรือคำเริ่มต้นของโฮมเพจ ที่จะให้บริการในเวบไซต์ และมีการจัดกลุ่ม รูปแบบที่เหมาะสม เป็นระเบียบ ง่ายต่อการเพิ่มขยายหรือปรับปรุง
3. การสร้างขอบเขตของเวบไซต์
3.1 เวบไซต์จะต้องลดอุปสรรคในการสื่อสารและสามารถที่จะเสนอความคิดเห็นต่อสาธารณชน
3.2 สร้างสิ่งที่ดี ใส่ใจกับโฮมเพจให้มีพลัง
- เตรียมจัดพื้นที่แล้วนำเนื้อหาพร้อมรูปภาพมาใส่
- ปรับปรุง ให้ทันสมัยอยู่เสมอ = การ update ข้อมูล
- รับฟังในสิ่งที่เพื่อนเสนอแนะ ทำการใส่สมุดเยี่ยม
- การจัดระเบียบรวบรวมข้อมูลที่ดี = การจัดวางหัวข้อต่างๆไว้ที่ด้านซ้ายของหน้าจอ
4. สร้างห้องเพื่อทำโฮมเพจ = ดูภาพตัวอย่างของเวบประกอบ
4.1 สร้างสรรห้องเวบไซต์เพื่อใครและจะวางแผนทำอะไร
4.2 การออกแบบเนื้อหาให้เหมาะสมกับการเข้าชมครั้งแรกและกลับมาเยี่ยมชมอีก
4.3 เสนอข่าวสารที่ทันสมัยและถูกต้องมีรายละเอียด
4.4 ปัจจัยที่สำคัญในการออกแบบ คือ มีพื้นที่และความเข้าใจเกี่ยวกับเวบไซต์
5. การเชื่อมโยงแบบก้าวหน้า
5.1 มีตัวชี้นำแบบหลากหลาย
5.2 ออกแบบมีหลายเส้นทางในการดูข้อมูล
5.3 สร้างเส้นทางที่ดีเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้โปรแกรมเบราเซอร์หลากหลาย
5.4 เพิ่มหัวข้อคำอธิบายรูปภาพ
6. การตรวจสอบและทดลองเวบไซต์
6.1 หลีกเลี่ยงชนิดและรูปแบบที่ไม่สอดคล้อง - เน้นคุณภาพ
6.2 ให้ตรวจสอบตัวสะกดและไวยกรณ์
6.3 จัดการตรวจสอบหลายๆครั้ง ค้นหาจุดที่ผิดพลาด
- ตรวจสอบรูปแบบที่ไม่สอดคล้องหรือส่วนที่ขาดหายไป
- ตรวจสอบทิศทางของตรรกะและถ้อยคำ
- ตรวจสอบข้อความในเอกสาร รูปแบบ การสะกดคำ วรรคตอน
- ตรวจสอบตัวเลข รูปภาพและแผนผัง
6.4 ทดสอบการเชื่อมโยงต่างๆ (Link)
- ทำการเปิดหน้าเอกสารในเบราเซอร์และตรวจเช็คส่วนที่เชื่อมโยง
ฃ- ตรวจสอบหลักไวยกรณ์ของการเชื่อมโยง ชื่อแฟ้มหรือสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้อง
6.5 ปัญหาด้านรูปแบบที่พบมากมีอยู่ 4 ข้อ
- คำสั่งควบคุมต้องอยู่ในเครื่องหมาย < >
- การจับคู่คำสั่งของโครงสร้างภาษา HTML
- การใช้เครื่องหมาย " " ต้องใช้คู่กัน
- คำสั่งการวนรอบ
7. กรเผยแพร่เวบไซต์
ทำการลงทะเบียนที่ฐานข้อมูลหลักเท่านั้น และเวบกลุ่มเป้าหมาย
- sanook.cok
- Hunsa.com
- pantip.com
- thaiwebhunter.com
- thaiseek.com
- siamguru.com
- mohanamai.com
- yahoo.com
- google.com
- เวบไซต์ต่างๆของกาฬสินธุ์
"การสร้างโฮมเพจเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์สำหรับการนำเสนองานสู่สาธารณชน"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น