++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2551

เสือโคร่งผู้กุมชะตาป่า อย่าหลงเชื่อว่าเป็น ยาโด๊ป


ข่าวและภาพซากเสือโคร่ง ตัวมหึมาถูกฆ่าหั่น สองท่อนชำแหละเนื้อหนัง ใส่รถนำไปขายให้กับ "มนุษย์จิตวิปริต" ที่ต้องการกินเนื้อของมัน เพราะความเชื่อว่าสามารถ "บำรุงกำลังทางเพศ"


...เป็นภาพข่าวที่เห็นแล้วอเนจอนาถ และสลดหดหู่ใจแก่ "คนรักสัตว์"


การเข่นฆ่าและทำร้ายเสือโคร่ง เกิดขึ้นมานานมากแล้ว ทั้งที่เป็นข่าวและไม่เป็นข่าว!! วันนี้หลายชีวิต อยากให้ผู้อ่านได้รู้จัก "เสือโคร่ง" กันหน่อย...เสือโคร่งมีชื่อสามัญว่า TIGER ชื่อวิทยาศาสตร์ Panthera tigris ลักษณะขนสีเหลืองปนน้ำตาล มีลายดำยาวพาดขวางทั้งตัว หางมีลายดำขวางเช่นกัน ปลายหางและหลังหูดำ มีจุดสีขาวนวลให้เห็น ได้ชัดเจนบริเวณเหนือขา, ปากด้านบน, แก้มใต้คางและท้องสีจางหรือสีขาว


ถิ่นอาศัยอยู่ในไซบีเรีย ถึงทะเลสาบแคสเปียน อินเดีย สุมาตรา ชวา มาเลเซีย ในประเทศไทยมีอยู่ทั่วทุกภาค มากที่สุดบริเวณป่าแนวเทือกเขาตะนาวศรี ป่าทางภาคใต้และอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุปนิสัยชอบว่ายน้ำ สามารถขึ้นต้นไม้ได้ แต่ไม่ชอบขึ้น ออกหากินตามลำพัง ชอบอยู่โดดเดี่ยว


เสือโคร่ง ยังมีชื่ออื่น เช่น เสือลายพาดกลอน เสือเหลือง หรือเสือแผ้ว เป็น 1 ใน 9 ชนิดที่พบในประเทศไทย มีขนาดใหญ่ ที่สุด ความยาวจากหัวถึงลำตัวเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 168-227 เซนติเมตร ส่วนหาง 100 เซนติเมตร น้ำหนักราว 180-245 กิโลกรัม บางตัวที่มีอายุมากอาจหนักถึง 300 กิโลกรัม อายุเฉลี่ย 20-25 ปี การผสมพันธุ์ ตัวผู้ สามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี ส่วนตัวเมียเป็นสัดปีละ 50 วัน ตั้งท้องประมาณ 100 วัน ตกลูกครั้งละ 1-7 ตัว


ข้อมูลจาก กองทุนสัตว์ป่าโลก สำนักงานประเทศไทย WWWF-thairatland ระบุว่าเสือโคร่ง จัดเป็นสัตว์ชนิดหลักในธรรมชาติ เพราะจัดเป็นสัตว์ ที่ใช้ชีวิตครอบครอง พื้นที่ป่ามากที่สุด เพราะเสือโคร่ง มีหน้าที่เป็นผู้ควบคุม ประชากรสัตว์กินพืช ไม่ให้มีจำนวนมากเกินไป เพราะหากมีมาก จะทำให้พืชสำคัญหลายชนิด ในป่าหมดไปอย่างรวดเร็ว...!?!


ฉะนั้น ถือว่า เสือโคร่งคือผู้กุมชะตาชีวิตป่า...


เมื่อหลายปีก่อน ป่าในประเทศไทยยังมีความอุดมสมบูรณ์ ทำให้เสือโคร่งชุกชุม แต่ปัจจุบันลดลงไปอย่างน่าเสียดาย จากการสำรวจของ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช คาดว่าเหลือไม่ถึง 500 ตัว และหากเสือโคร่งยังคงถูกเข่นฆ่ารังแก...


ป่าไม้คงจะหมดไป...มนุษย์ก็อย่าหวังว่าจะยังอยู่ได้อีกต่อไปเช่นเดียวกัน.


ไชยรัตน์ ส้มฉุน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น