++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2551

วัฒนธรรมคุณภาพ Plan - Do - Check - Act (PDCA)


คำว่า "วัฒนธรรม" พระยาอนุมานราชธนให้นิยามไว้ว่า วัฒนธรรมคือ สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลงปรับปรุง ผลิตสร้างขึ้น เพื่อความเจริญงอกงามในวิถีชีวิตของมนุษย์ ในส่วนรวมที่ถ่ายทอดกันได้ เลียนแบบกันได้ วัฒนธรรมจึงเป็นสิ่งอันเป็นผลผลิตของส่วนรวมที่มนุษย์ได้เรียนรู้มาจากคนสมัยก่อนสืบทอดต่อมาเป็นประเพณี วัฒนธรรมจึงเป็นทั้งความคิดเห็น หรือการกระทำของมนุษย์โดยส่วนรวมที่เป็นเอกลักษณ์เดียวกัน และสำแดงให้ปรากฏเป็นภาษา ความเชื่อ ระเบียบ ประเพณี

ถ้าจะวิเคราะห์จากนิยามดังกล่าว จะเห็นได้ว่าวัฒนธรรมเป็นวิถีชีวิตของคนในสังคมที่หล่อหลอมผ่านปฏิสัมพันธ์ ได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันมาโดยผ่านความเชื่อ ศิลปะ จริยธรรม กฎหมาย
ขนบธรรมเนียมประเพณี การศึกษา ฯลฯ จนกลายเป็น แบบแผนของความคิดและการกระทำของคนในสังคมส่วนใหญ่ และที่สำคัญ ลักษณะของวัฒนธรรมอาจนำมาซึ่ง ความเจริญงอกงาม หรือ ความเสื่อมแก่สังคม นั้นๆ ได้เช่นเดียวกัน

สังคมไทยเรานั้นเป็นสังคมที่มี เอกลักษณ์โดดเด่น
เฉพาะของสังคมเรา จากการสืบทอดจากบรรพบุรุษและผสมผสานวัฒนธรรมต่างๆ
ที่รับเข้ามาจากภายนอกสังคม จนเป็นเอกลักษณ์ของตนเองเป็นลักษณะประจำชาติ

การวิเคราะห์วัฒนธรรมในเชิงวิชาการนั้น
จะเห็นทั้งจุดอ่อนและจุดแข็งของทุกวัฒนธรรม วัฒนธรรมไทยเราก็เช่นเดียวกันมีทั้งจุดเด่นและและจุดด้อย
มีลักษณะหลายๆ ประการที่พวกเราภูมิใจ น่าชื่นชมยินดี และส่งเสริมสืบทอดต่อๆ
ไป เช่น ความมีน้ำใจ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความมีมนุษยสัมพันธ์ยิ้มแย้มแจ่มใส
จนได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่า สยามเมืองยิ้ม ขณะเดียวกันเราก็ต้องยอมรับเช่นเดียวกันว่า
ในวิถีชีวิตของคนไทยเรานั้นมีทั้งความเชื่อ และการปฏิบัติหลายประการที่เป็นจุดอ่อน
เป็นข้อบกพร่องทำให้เกิดความเสียหายต่อสังคม เพิ่มอุปสรรคต่อการพัฒนาชาติ

ศาสตราจารย์ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
ได้กล่าวไว้ว่า สาเหตุแห่งความล่มสลายในสังคมไทยที่พวกเราต้องเผชิญกับภาวะวิกฤติอยู่ขณะนี้
เกิดจากวัฒนธรรมบางประการ เช่น "การฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่าย"
"ระบบอุปถัมภ์ในสังคม" "การปล่อยปะละเลย"
ถือว่าธุระไม่ใช่ "ธนานิยม" "รวยทางลัด"
"หูเบาเชื่อง่าย" เป็นต้น ซึ่งลักษณะของวัฒนธรรมดังกล่าว
มีผลมากำหนดวิถีชีวิต กำหนดรูปแบบของการทำงานของบุคคลในสังคม ไม่ว่าจะเป็นระบบราชการ
ระบบธุรกิจ นักการเงินการธนาคาร หรือนักการเมือง หรือข้าราชการทั่วๆ
ไป เมื่อต่างคนต่างก็มีความเชื่อและรูปแบบการทำงานที่เป็นไปในทางเดียวกัน

วัฒนธรรมการทำงานของคนไทยโดยภาพรวมที่เป็นเอกลักษณ์ะเฉพาะที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเปลี่ยนแปลง เช่น การทำงานไม่ค่อยวางแผน วางระบบ ทำงานไปเรื่อยๆ ไม่ค่อยมีความตื่นตัว
หรือกระตือรือร้นต่อการทำงาน ไม่ค่อยรับรู้สนใจข่าวสารต่างๆ ที่ส่งผลต่อตนเอง
เคยปฏิบัติอย่างไรในอดีตก็มักจะปฏิบัติแบบเดิมต่อไป ... ยังคงชอบทำงานแบบสไตล์เบิร์ด..
เบิร์ด คือ สบายๆ ไม่มีการตรวจสอบ ปล่อยปะละเลย อยากทำอะไรใคร่ทำอะไรก็มักจะใช้
อิสระ หรือที่เรียกว่า "ความเป็นไท" เป็นข้ออ้าง เป็นระบบการทำงานที่ขาด การประเมินและติดตาม หรือตรวจสอบกันอย่างจริงจัง อย่างเช่น งบประมาณของประเทศมากมายที่ต้องสูญเสียไป การทำงานของหน่วยงานต่างๆ โดยขาดการประเมินและติดตามอย่างจริงจัง.. ต่อไปนี้วัฒนธรรมการทำงานน่าจะต้องคำนึงถึงคุณภาพของงานที่จะเกิดขึ้นจากผลงานด้วย
น่าจะเป็นรูปแบบ หรือ แบบแผนการทำงานที่เรียกว่า "วัฒนธรรมคุณภาพ"

คำว่า "วัฒนธรรมคุณภาพ" ในที่นี้ หมายถึง ความเชื่อ ความคิด หรือการกำหนดวิธีการทำงานโดยยึดถือ คุณภาพของงาน เป็นที่ตั้งเสมอ ระบบการทำงานที่มีคุณภาพมีรูปแบบตามวงจรของ
Deming Cycle คือ Plan - Do - Check - Act (PDCA) ที่พวกเราทุกคนทราบดี
Plan : ก็คือการวางแผนการทำงานอย่างมีระบบมีขั้นตอนที่ชัดเจน
จะทำอะไร อย่างไร เมื่อใด เพื่อให้เกิดสิ่งใด ทั้งมีเป็นแผนระยะสั้น
ระยะยาวต้องวางไว้ให้ได้
Do : หมายถึงการลงมือปฏิบัติให้เป็นไป
หรือให้ได้ตามเงื่อนไข หรือระบบขั้นตอนที่วางไว้ การปฏิบัติในขั้นนี้ผู้ปฏิบัติทุกคนต้องตรวจสอบมาตรฐาน
เกณฑ์ หรือดัชนีต่างๆ ที่กำหนดไว้ ในมาตรฐานการทำงานของหน่วยงาน
เช่น ในการสอน ถ้ากำหนดว่าต้องมีแผนการสอนทุกรายวิชา ผู้สอนก็จะต้องจัดทำแผนการสอนในรายวิชาที่ตนเองสอน
เพื่อแจกจ่ายให้นักศึกษา
Check : เป็นการตรวจสอบการทำงานที่ได้ดำเนินการไปแล้ว
ได้ผลเป็นอย่างไร มีอุปสรรคอะไรบ้าง มีชิ้นงานหรือเนื้องานใดที่ต้องเก็บบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
เพื่อรอรับการตรวจสอบและการประเมิน
Act : เป็นขั้นตอนการประเมินและปรับปรุง
หมายถึง การประเมินผลงานที่ได้จากการตรวจสอบกลับมาวิเคราะห์จุดอ่อน
จุดแข็งในการดำเนินการ วิธีการทำงานแบบใดที่เป็นจุดเด่นเป็นข้อดีต้องคงไว้ วิธีการทำงานใดที่เป็นจุดอ่อนซึ่งต้องนำมาปรับปรุงแก้ไข แล้วนำไปวางแผนการทำงานต่อไป ซึ่งก็จะเข้าสู่วงจร PDCA อีกครั้งหนึ่ง

การทำงานตามวงจรที่กล่าวถึง PDCA
นั้นจะเป็นวัฒนธรรมการทำงานได้ จะเป็นวัฒนธรรมในสถาบันได้ ทุกคนต้องยอมรับ
และมีความเชื่อร่วมกันนะครับว่า ระบบหรือการปฏิบัติเช่นนี้เป็นวิธีการทำงานที่มีคุณภาพ
เป็น วิถีการทำงาน ของพวกเราและทุกคน ทุกส่วนงาน ทั้งระดับสถาบัน
ระดับคณะหรือสำนัก ระดับโปรแกรมวิชา หรือระดับผู้สอน ผู้ปฏิบัติทุกคนต้องนำไปปฏิบัติ
และปฏิบัติกันอย่างจริงจัง และปฏิบัติกันอย่างต่อเนื่อง ในที่สุดแล้ว PDCA ก็จะเป็นวัฒนธรรมในการทำงานของพวกเรา รูปแบบและระบบการทำงานของพวกเราก็เรียกได้ว่าเป็น วัฒนธรรมแห่งคุณภาพ...
www.rb.ac.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น