++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2551

ไรน้ำนางฟ้าสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่


"ไรน้ำนางฟ้าไทย" หรือ "แมงอ่อน-ช้อย" แหล่งอาหารเสริมโปรตีน ของชาวอีสานบ้านเฮาเวลานี้ กำลังจะได้ขึ้นทำเนียบ สัตว์เศรษฐกิจอีกตัวแล้ว หลังจากที่ นายนุกูล แสงพันธุ์ นักศึกษาโครงการ ปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) ซึ่งได้รับทุนอุดหนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ศึกษา การเพาะเลี้ยง ไรน้ำนางฟ้าไทย ให้มีอัตรารอดตายสูง ได้เป็นผลสำเร็จ โดยมี รศ.ดร.ละออศรี เสนาะเมือง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา


นายนุกูล กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยเราต้องนำเข้าไข่อาร์ทีเมียเพื่อมาเลี้ยงลูกกุ้งลูกปลา รวมทั้งสัตว์น้ำวัยอ่อนจำนวนปีละไม่ต่ำกว่า 200-600 ตัน มูลค่ากว่า 500 ล้านบาท และที่ต้องนำเข้าก็เพราะไทยเรายังไม่สามารถผลิตได้เอง จึงมองหาสัตว์น้ำอื่นเพื่อทดแทนและ เห็นว่า "ไรน้ำนางฟ้า" เป็นสัตว์กลุ่มเดียวกับ "อาร์ทีเมีย" ซึ่งเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในทะเลสาบน้ำเค็ม


สำหรับไรน้ำนางฟ้าในประเทศไทย ที่ค้นพบมีทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่ ไรน้ำนางฟ้าสิรินธร ไรน้ำนางฟ้าไทย และไรน้ำนางฟ้าสยาม (ทั้ง 3 ชนิดมักอาศัยอยู่ในบ่อที่มีน้ำขังชั่วคราว โดย เฉพาะพื้นที่แห้งแล้งใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) แต่จากการ ศึกษาพบว่า ชนิดที่มีศักยภาพ ในการเพาะเลี้ยงคือ "ไรน้ำนางฟ้าไทย" เนื่องจากเป็นชนิดที่โตเร็วกว่า ไรน้ำนางฟ้าชนิดอื่น


กล่าวคือ จะฟักเป็นตัวอ่อนเมื่ออายุราว 1 สัปดาห์ และวางไข่ครอกแรก จากนั้นจะวางไข่อีกทุกๆ 27 ชม. ประมาณ 16 ครั้ง เฉลี่ยวางไข่ทั้งหมดประมาณ 6,000 ฟอง โดยจากการทดลองเลี้ยง น้ำ 1 ลิตร ต่อไรน้ำฯ 50 ตัว ใช้เวลา 2 สัปดาห์ จะได้ ผลผลิต 1.5-1.7 กก. เวลานี้สามารถเลี้ยงให้มีอัตรารอดตายกว่า 90% นอกจากนี้ ยังพบว่าไรน้ำชนิดนี้มีโปรตีนสูงถึง 64-69% ขณะที่อาร์ทีเมียมีแค่ 56% เท่านั้น


สำหรับอาหารของไรน้ำนางฟ้าไทย เป็นสาหร่ายเซลล์เดียว อินทรียวัตถุ ขนาดเล็ก รวมถึงแบคทีเรียและ เชื้อราที่อยู่ในน้ำ จึงเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว ไม่ยุ่งยากในการดูแล แต่ทั้งนี้ต้องอาศัย ความชำนาญพอตัว เหมือนกัน ส่วนด้านต้นทุนการเตรียม บ่อเพาะเลี้ยง ก็ไม่สูงนัก และสามารถเลี้ยงจนเพิ่ม ปริมาณได้อย่างรวดเร็ว สะดวกที่จะนำตัวเต็มวัยมาแช่แข็ง ส่งไปขายเป็น อาหารกุ้งกุลาดำ ที่มีการเพาะเลี้ยงอยู่บริเวณชายทะเล และยังใช้เป็นอาหารเลี้ยง ปลาสวยงามหรือปลาที่มีความ สำคัญทางเศรษฐกิจทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม


นอกจากนี้ ไข่ของไรน้ำนางฟ้าไทย ยังสามารถเก็บได้ ในสภาพแห้งเป็นระยะเวลานาน เหมาะที่จะนำไปเพาะฟักได้เอง หรือนำไปใช้เป็นตัวอย่างสำหรับ การเรียนการสอนได้อีกด้วย ส่วนตัวเต็มวัยของไรน้ำนางฟ้า ก็สามารถใช้เป็นสัตว์ ทดลองในการทดสอบ คุณสมบัติของสารพิษต่างๆได้ หากเปรียบเทียบราคาอาร์ทีเมียตัวโตเต็มวัยขายกันอยู่ที่ 50-100 บาท/กก. ส่วนไข่อาร์ทีเมียราคาอยู่ที่ประมาณ 15,000 บาทต่อ 6 กก. (12 กระป๋อง) และมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ


ฉะนั้น หากเราสามารถเพาะเลี้ยงไรน้ำตัวนี้ในระดับการค้าได้ ไม่เพียงช่วยลด การนำเข้า ได้มหาศาลแล้ว ยังเป็นการสร้างงานสร้างอาชีพ ให้กับคนไทย เราอีกด้วย ท่านที่สนใจ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร.0-9861-9159, 0-1480-1165.


ดวงแก้ว ผุงเพิ่มตระกูล


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น