การประกาศปิดตัวของ "ช่อการะเกด" เมื่อช่วงต้นปี 2542 ไม่เพียงส่งผลให้นักเขียนเรื่องสั้นของไทยต้องสูญเสียเวทีแสดงอ อก ที่ได้รับความสนใจ "สูงสุด" แห่งหนึ่งลงเท่านั้น...
หากยังอาจกล่าวได้ว่าแทบไม่มี "นักเขียนรุ่นใหม่" ที่มุ่งผลิตงานเชิงสร้างสรรค์ "เกิด" ขึ้นอีกเลย!!!
เ มื่อสมทบเข้ากับ "ความตกต่ำ" อย่างทั่วด้านของหนังสือวรรณกรรม ซึ่งสะท้อนผ่านยอดจำหน่ายที่ "ลดลง" อย่างฮวบฮาบในช่วงหลายปีหลัง...แม้ยังพูดได้ไม่เต็มปากว่าประสบ ภาวะวิกฤติไปเสียทั้งหมด แต่ในอนาคตข้างหน้าไม่ไกล ก็ใช่ว่าจะมีแนวโน้มดีขึ้น...
ทั้งหลายทั้งปวงนี้ ชวนชี้ให้เกิดคำถามว่า "จะปล่อยให้เป็นไป" หรือ "จะช่วยกันเยียวยา"???
สภาพการณ์ดังกล่าวน่าจะคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้ หาก "ช่อการะเกด" ภายใต้การนำของ "สุชาติ สวัสดิ์ศรี" จะหวนกลับมาเปิดเวที "เรื่องสั้น" และ "ปลุกเร้า" บรรยากาศวงวรรณกรรมไทยอีกครั้ง...
บัดนี้ "สุชาติ สวัสดิ์ศรี" ได้กลับมารับบทบรรณาธิการนิตยสาร "ช่อการะเกด" อีกครั้งแล้ว!!!
30 ปี ช่อการะเกด "ผมกลับมาแล้วครับ"
หลังจาก "เว้นวรรค" ไป 9 ปี บัดนี้ นิตยสาร "ช่อการะเกด" กลับมาแล้วครับ!!!
เป็นนิตยสาร "ช่อการะเกด" ฉบับ "กลับมาใหม่" ในยุค "นาโน"
กลับมาพร้อมทีมงานผู้ก่อตั้งชุดเดิม คือ "สำนักช่างวรรณกรรม" ของ "บรรณาธิการเครางาม" สุชาติ สวัสดิ์ศรี
และทีมงานใหม่คือสำนักพิมพ์บูรพา-สามัญชน ภายใต้การนำของ "สองศิษย์เก่าช่อฯ"
เช็ค-สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ+เวียง-วชิระ บัวสนธ์
ในการนี้ นิตยสาร "ช่อการะเกด" ยุค "นาโน" จักได้จัดงานแถลงข่าว
เพื่อประกาศ "เปิดรับต้นฉบับ" ในวันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม 2550 ณ สถาบันปรีดี พนมยงค์ (ซอยทองหล่อ หรือสุขุมวิท 55)
ตั้งแต่เวลา 16.00 น.เป็นต้นไป
จึงใคร่ขอเรียนเชิญเพื่อนพ้องน้องพี่สื่อมวลชน มาร่วมพบปะกับ "ช่อการะเกด" ยุค "นาโน"
และขอแจ้งข่าวดีไปยังมิตรน้ำหมึกทุกท่าน ว่าหากท่านมีต้นฉบับ "เรื่องสั้นที่ดีที่สุด"
บัดนี้ สามารถส่งมาพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในนิตยสาร "ช่อการะเกด" ฉบับ 42 ได้แล้วตั้งแต่บัดนี้...
ส่งต้นฉบับ "เรื่องสั้นที่ดีที่สุด" มายัง ตู้ ปณ.1143 ปท.ดอนเมือง กรุงเทพฯ 10211 เพื่อพิจารณานำลงตีพิมพ์ใน "ช่อการะเกด 42"
----งานแถลงข่าวการกลับมาของ "ช่อการะเกด"---------- โพสต์โดย : mataree
2007-05-24 13:43:13
ห ายไปนานกว่า 9 ปี หลังจากช่อการะเกด เล่มที่ 41 ต้องล้มพับไปเพราะพิษต้มยำกุ้ง วงการวรรณกรรมเงียบเหงา ปล่อยให้สำนักพิมพ์เรื่องวัยรุ่น หวานแหวว ครองตลาดแต่เพียงผู้เดียว ทั้งบางรายยังประกาศตนว่าเป็น "วรรณกรรม""ของคนรุ่นใหม่ กะเขาด้วย
ใ นที่สุด สุชาติ สวัสดิ์ศรี ก็แพ้ต่อลูกตื้อ ยาวนานกว่า 3 ปี ของ "ดอนเวียง" วชิระ บัวสนธ์ กับ สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ ฅนค้นฅน ปลุกช่อการะเกดยุคที่สาม ออกสู้วงการวรรณกรรม โดยมียอดการันตีแก่ผู้อ่าน ว่า ช่อการะเกดยุคสาม จะออกรายสามเดือนอย่างสม่ำเสมอ ระยะเวลาต่อเนื่อง 3 ปี เป็นอย่างต่ำ ว้าววว...
แม้จะเคยประกาศวางมือทางวรรณกรรมไปด้วยอา การคล้ายๆ ถอดใจ ปน ประชดประชันวงการวรรณกรรม สุดท้าย สุชาติ สวัสดิ์ศรี ก็ต้องกลับมาทำนิตยสารสารช่อการะเกด โดยออกตัวถึงเรื่องราวในอดีตว่า
"ผมมาตรงนี้ก็เหมือนกับการที่ผมพูดในสิ่งที่ไม่เชื่อ เทศนาในสิ่งที่ตนไม่เชื่อ"
แ ต่ด้วยเหตุผลที่ไตร่ตรองอยู่นานสามปี ทั้งเชื่อมั่นใน อุดมการณ์บนเส้นทางวรรณกรรมของดอนเวียง และเชื่อมั่นใน ความมั่นคงทางธุรกิจ ของ เสี่ยเชค ช่อการะเกดจึงนับเป็นความร่วมมือ จาก 3 ฝ่าย พันธมิตร คือ สำนักช่างวรรณกรรม ผู้เป็นเจ้าของ เป็นผู้จัดทำ สำนักพิมพ์สามัญชน ผู้รับผิดชอบเรื่องการผลิต และพิมพ์บูรพา ผู้จัดการเรื่องธุรกิจ
สุชาติ กล่าวว่า
"ผมไม่ค่อยเต็มใจที่จะกลั บมาเท่าไหร่ เพราะผมเป็นห่วงสองคนนี้ (ดอนเวียง และ เสี่ยเช็ค) เพราะคนทำหนังสือวรรณกรรมบ้านเราอยู่ลำบาก นอกเสียจากว่าเป็นความผูกพันอะไรบางอย่าง รักที่จะทำตรงนี้"
ย้อนกลั บไปช่อการะเกดยุคแรก นับเป็นการกำเนิดขึ้น หลัง 6 ตุลาคม 2519 โดยมีแรงสนับสนุน จากคุณสุข สู.สว่าง เจ้าของ ดวงกมล ออกมาเพียง 4 เล่ม จากนั้นก็เข้าสู่ยุคที่สอง สมัยของ เรืองเดช จันทรคีรี ผู้ต้องต่อสู้ทุกวิถีทาง เพื่อปลุกปั้นช่อการะเกด ทว่า ก็ต้องพักไป หลังจากออกเล่มสุดท้าย เล่มที่ 41
เวลาผ่านไป 9 ปี หลังจากเลิกทำช่อการะเกดเล่มที่ 41 สุชาติ สวัสดิ์ศรี ยังคงทำงานในวงการวรรณกรรม ทั้งการบรรณาธิการหนังสือ ทำงานศิลปะ ทำหนังทดลอง (ที่กำลังสนุก) ในระยะเวลาดังกล่าว ทั้งวชิระ บัวสนธ์ และ สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ ก็ติดตามเป็นกำลังใจให้เสมอ รวมทั้งช่วยเหลือกิจกรรมต่างๆ เช่น ช่วยพิมพ์การ์ด และโปสเตอร์โฆษณางานแสดงศิลปะให้
แต่มิใช่ว่า แค่การตามให้กำลังใจต่อเนื่องจะทำให้บรรณาธิการอย่างคุณสุชาติใจอ่อน ทว่า พื้นหลังของทั้ง วิชระ บัวสนธ์ และ สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ เคยเป็น "แฟน" ช่อการะเกดอย่างเหนียวแน่น อีกทั้งมีผลงานลงในช่อการะเกดด้วย วชิระ บัวสนธ์ เป็นชื่อที่คุณสุชาติ รู้จักตั้งแต่สมัยเขายังเรียนชั้นมัธยม 5 ที่พิษณุโลก และมีวิถีการเติบโตในวงการหนังสือ ก็มาจากการทำงานวรรณกรรมล้วนๆ ปรากฏผลงานต่อเนื่องน่าเชื่อถือ ในนามสำนักพิมพ์สามัญชน คุณสุชาติบอกว่า "พิสูจน์หัวใจให้ผมเห็นว่า เป็นคนเชื่อมั่นในอำนาจวรรณกรรมคนหนึ่ง" ส่วนสุทธิพงษ์ นั้น คุณสุชาติเห็นมาตั้งแต่สมัยเป็นผู้ช่วยผู้กำกับในทีมงานของคณะละครสองแปด รวมทั้งเป็นนักแสดงละครเวทีด้วย และเคยมีเรื่องสั้นลงในช่อการะเกด ได้รับการ "ประดับช่อ" มาแล้ว ก่อนจะก้าวเข้ามาในพรมแดนของสื่อ ที่เติบโตมาจากการผสมผสานระหว่างคนละคร กับคนวรรณกรรม
หลังจาก "ดูใจ" กันมานาน คุณสุชาติก็ยื่นเงื่อนไขว่า หากจะทำก็ต้องออกต่อเนื่องรายสามเดือน สามปี ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ทุกคนตกลง
สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ เล่าถึงแนวคิดที่มาของการทำช่อการะเกดอีกครั้ง
" ผมกับเวียง ทำนิตยสาร ฅ ฅน ในนั้นมีส่วนเรื่องสั้น ซึ่งปรากฏว่า มีเรื่องส้นส่งเข้ามาเยอะมาก เวียงเขาเป็นคนอ่าน และเขาก็บอกว่าดี แต่ว่า มันลงได้แค่เดือนละ 1 เรื่องเท่านั้น แต่ก่อนหน้านั้น ผมก็เคยไปคุยๆ กับคุณสุชาติมาแล้ว พอมีความคิดเรื่องการทำหนังสือเรื่องสั้น ผมก็เห็นด้วย แต่คนทำต้องเป็นเวียง และในความมีสถานะมีคุณค่าของเรื่องสั้น ผมคิดถึงความรู้สึกของตัวเองในฐานะคนที่เขียนหนังสือ พอเราได้ผ่านเกิด ได้ประดับช่อ มันมีความหมายกับผมมาก เป็นประตูบานหนึ่ง เป็นแสงไฟ ที่ทำให้ผมพบความรักของตัวเอง มีความเชื่อมั่นอะไรบางอย่าง "
ส่วนพี ่เวียง บอกว่า เขาไม่ได้คิดอะไรซับซ้อน กระทั่งว่า ไม่ได้คิดว่า จะขายใคร จะทำอย่างไร แต่เขามองว่า "ผมคิดว่า การมีช่อการะเกด มันสะท้อนให้เห็นว่า ประเทศนี้ ท่ามกลางอะไรที่มันอย่างนี้ ก็ยังมีดี ยังมีนิตยสารเรื่องสั้นชื่อ ช่อการะเกด การมีอยู่หรือไม่มีอยู่ของช่อการะเกด การมีอยู่มันต้องดีกว่า"
นิตยส าร ช่อการะเกด เล่มที่ 42 จะออกในเดือนกันยายน โดยเนื้อหาจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนเรื่องสั้น 12-15 เรื่อง อีกส่วน 20 เปอร์เซ็นต์ จะเป็นเนื้อหาช่อการะเกดฉบับโลกหนังสือ ข่าวคราววรรณกรรมระดับนานาชาติ ความเคลื่อนไหว บทความวรรณกรรมลักษณะที่ลงลึก บทความวิจารณ์
ช่อกา ระเกด เปิดรับต้นฉบับเรื่องสั้นตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2550 ส่งเรื่องสั้นของคุณไปที่ สุชาติ สวัสดิ์ศรี ตู้ ปณ.1143 ดอนเมือง กรุงเทพฯ 10211 (ส่งทางไปรษณีย์เท่านั้น โดย พิมพ์เป็นต้นฉบับแล้ว หากสามารถทำได้ก็ให้แนบไฟล์งานมาด้วย เพื่อความสะดวก )
หวังว่าคนได้รับการต้อนรับจากนักอ่าน
ตอนนี้ก็มีเวทีเรื่องสั้น ทั้งราหูอมจันทร์ และช่อการะเกด แล้วนะคะ
ที่มา:
http://www.thaiwriternetwork.com/twncolumnread.php?id=168
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น