++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2550

การประยุกต์ใช้งานอินทราเน็ตและเอ็กทราเน็ตเพื่อสนับสนุนการค้าบนเวบ (Intranet/Extranet)


ก่อนอื่นต้องขอทำความเข้าใจก่อนว่าระบบอินทราเน็ตและเอ็กทราเน็ตคืออะไร? และมันเกี่ยวโยงอะไรกับอินเทอร์เนต?


ตามความหมายแล้ว ทั้งสองระบบนี้ หมายถึง ระบบเครือข่ายที่สร้างขึ้นจากการนำหลักการหรือระบบการทำงานของอินเทอร์เนตมาใช้งานภายในองค์กร (Intranet) และระหว่างองค์กรเฉพาะกลุ่ม (Extranet) ซึ่งหน้าที่ต่างๆในการใช้งานไม่ว่าจะเป็นเรื่องเว็บบราวเซอร์ การรับ-ส่งอีเมล์ การทำการโอนย้ายแฟ้มข้อมูล (FTP) จะเหมือนกันกับที่ใช้อยู่บนระบบอินเทอร์เน็ตปกติ ซึ่งระบบนี้ทำงานด้วยการตั้งอินทราเน็ตเซิร์ฟเวอร์ขึ้นมาภายในองค์กรหรือศูนย์กลางของกลุ่มองค์กรของเรา เช่น ระหว่างบริษัทของเรากับกับกลุ่มตัวแทนจำหน่าย เป็นต้น



อินทราเน็ต/เอ็กทราเน็ต สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานภายในองค์กร และระหว่างองค์กรได้มากมายหลายรูปแบบ โดยสามารถใช้ร่วมหรือทดแทนเครือข่ายหรือระบบ LAN เดิม ซึ่งสิ่งที่แตกต่างกันก็คือ การรับ-ส่งข้อมูลในลักษณะแบบกราฟฟิก และ มัลติมีเดีย เช่น การใช้งานในการสร้างแฟ้มประวัติบุคคล ก็สามารถที่จะใส่ภาพบุคคล กิจกรรม สถิติที่เป็นกราฟสี หรือหากใช้ในการควบคุมสต๊อกก็สามารถแสดงภาพสีของสินค้า หรือ ชิ้นส่วนได้ทุกชิ้น ทำให้มีความแม่นยำในการควบคุมและเป็นมิตรกับผู้ใช้มากขึ้น เมื่อเทียบกับระบบ LAN ดั้งเดิม ต่อไปนี้เป็นบางตัวอย่างของการใช้ประโยชน์จากระบบ อินทราเนต/เอ็กทราเน็ตจากประสบการณ์การทำงานของทีมงานบริษัทแห่งหนึ่ง ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ มีดังนี้ คือ



  1. ใช้เป็นระบบกระจายอีเมล์ภายใน : ระบบนี้ใช้ตู้อีเมล์กลางบนระบบอินเทอร์เนตเพียงตู้เดียวในรูปของ ชื่อพนักงานแต่ละคน@yourcompany.com และการเปิดตู้และส่งอีเมล์จะสามารถทำงานได้เองโดยอัตโนมัติตามเวลาที่ตั้งไว้ได้โดนอินทราเน็ตเซิร์ฟเวอร์จะทำการต่อโมเด็มเข้าสู่ระบบอินเทอร์เนตเองเมื่อถึงเวลาที่ตั้งไว้ และเมื่อทำการรับ-ส่งอีเมล์เรียบร้อยก็จะยกเลิกการเชื่อมต่อทันที ทำให้ประหยัดเวลาการใช้งาน หลังจากนั้น เครื่องก็จะทำหน้าที่กระจายอีเมล์ที่ได้รับจากตู้กลางเข้าสู่ตู้อีเมล์ภายใน โดยตรวจสอบชื่อที่อยู่หน้าเครื่องหมาย @ ของอีเมล์แต่ละฉบับ ซึ่งวิธีนี้เองที่เราสามารถส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการขายสินค้าบนเว็บแล้วกระจายไปยังฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องโดยอัตโนมัติ

  2. ใช้สนับสนุนระบบ Back Office: เป็นการเชื่อมต่อเว็วเซิร์ฟเวอร์ในระบบอินทราเน็ตเข้ากับอินทราเน็ตเซิร์ฟเวอร์ที่อยู่ภายในสำนักงานให้ทำงานประสานกัน เพื่อสนับสนุนกิจกรรมอีคอมเมิร์ซในส่วนจัดการระบบ Back Office เช่น การรับคำสั่งซื้อ บริหารคำสั่งซื้อ เบิกจ่ายสินค้าคงคลัง บันทึกผลงานของสมาชิกหรือตัวแทนขาย หรือแม้แต่ต่อเชื่อมเข้าสู่ระบบวางแผนการผลิต

  3. ใช้กับ Off-line Catalog : ในกรณีที่ท่านมีสินค้าจำนวนมาก การจัดพิมพ์แคตาล็อคตามปกติคงจะเป็นเรื่องที่ลำบาก เพราะเสียค่าใช้จ่ายสูง และถ้าต้องส่งให้ ผู้ค้าปลีกของท่านด้วยก้ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง แต่ครั้นจะจัดทำในรูปของเวบเพจก็อาจจะมีปัญหาที่ปริมาณข้อมูลมากเกินไป และเสียเวลาในการเปิดดู หรือ ดาวน์โหลดข้อมูลจากระบบอินเทอร์เนต ฉะนั้นทางแก้หนึ่งก็คือ จัดทำเป็น CD-Rom เพื่อใช้ในการเปิดชม Offline ในร้านหรือโชว์รูม แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมัปัญหาในเรื่องการอัพเดทข้อมูล ฉะนั้น วิธีหนึ่งที่ทำได้ก็คือ การจัดสร้างระบบผสมกับระบบเอ็กทราเนต โดยเริ่มจากการถ่ายข้อมูลจาก CD-ROM ลงในฮาร์ดดิสก์และเมื่อต้องการทำการอัพเดทก็สามารถกระทำผ่านระบบเอ็กทราเนตได้โดยตรงและอาจจะหมายรวมถึงการบริหารการซื้อ-ขายของผู้ค้าปลีกผ่านระบบนี้ได้อีกด้วย

  4. ใช้เอ็กทราเน็ตบริหารงานขายและการจัดจำหน่ายของผู้ค้าปลีก : เช่น ให้ตัวแทนของท่านสั่งซื้อสินค้า แจ้งรายการโปรโมชั่น ติดตามผลการขาย เปิดหน้าร้านร่วมกันบนระบบอินเทอร์เน็ต หรือใช้ระบบ Online Catalog ร่วมกัน เป็นต้น

  5. ใช้เอ็กทราเน็ตสนับสนุนการจัดส่งสินค้า: ระบบนี้จะทำให้ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าบนระบบออนไลน์ได้ และสามารถส่งคำสั่งซื้อที่ได้ไปยังระบบเอ็กทราเน็ตของผู้ค้าปลีกเพื่อให้ตัสแทนที่อยู่ในพื้นที่นั้นจัดส่งสินค้าให้เลย ด้วยระบบนี้เราอาจจะเช็คก่อนก้ได้ว่า ตัวแทนรายใดมีสินค้าอยู่ในสต๊อกหรือไม่? หากไม่มีก็อาจโอนไปให้ตัวแทนรายอื่นในพื้นที่ใกล้เคียงทำการจัดส่งแทน

  6. ระบบการกระจายรายงานขายผ่านระบบอินเทอร์เนต: เป็นการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายภายในองค์กร เพื่อให้ทำการกระจายรายงานผลการขาย หรือ รายงานด้านการค้าต่างๆไปยังสมาชิกหรือบริษัทในเครือโดยอัติโนมัติโดยอาศัยระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งอาจจะเป็นการส่งรายงานนั้นเข้าสู่อีเมล์ของลูกค้า หรือออกรายงานในรูปของ HTML บนเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่ทางลูกค้าสามารถจะค้นหาดูได้เลย

  7. การประมวลผลคำสั่งซื้อหรือ Enquiry Form: ใช้วิธีการเชื่อมต่อข้อมูลจากเว็บเซิร์ฟเวอร์ในระบบอินเทอร์เน็ตเข้ามายังระบบเครือข่ายภายในเพื่อนำไปสู่การประมวลผลโดยตรง ซึ่งในแต่ละขั้นตอนสามารถทำงานเชื่อมต่อกันโดยอัติโนมัติ


ข้างต้นนี้เป็นเพียงตัวอย่างส่วนหนึ่งของการประยุกต์ใช้ระบบอินทราเน็ต/เอ็กทราเน็ตเท่านั้น ในการออกแบบระบบจริงนั้นจำเป็นจะต้องปรับยืดหยุ่นตามความต้องการหรือปัญหาทางธุรกิจของท่านและสามารถที่จะต่อเติม หรือใช้ร่วมกับระบบเครือข่ายเดิมที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งต้องเรียนว่า การประยุกต์ใช้งานเหล่านี้ มันไม่รู้จบนะครับ !


นำมาจากบทความถ่ายทอดประสบการณ์ โดย วัชรพงศ์ ยะไวทย์






Technorati : , , , , , ,

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น