++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2550

“หมอประเวศ” ชี้คนไทย “อ่านน้อย” ต้นตอวิกฤตของบ้านเมือง
















โดย ผู้จัดการออนไลน์14 มิถุนายน 2550 14:36 น.

ที่มา http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9500000069083










































ศ.นพ.ประเวศ วะสี


"หมอประเวศ" ชี้สังคมไทยเกิดวิกฤตการณ์บ้านเมือง มองให้ลึกจะรู้ว่าเกิดจากคนไทยอ่านหนังสือน้อย ทำให้ไม่เข้าใจเรื่องซับซ้อนในสังคมและแก้ปัญหาในสังคมไม่ได้ เสนอกำหนดยุทธศาสตร์ให้ทุกภาคส่วนร่วมกันขับเคลื่อนให้เกิดวัฒนธรรมการอ่านใ นสังคมไทย

ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส ปาฐกถานำเปิดการสัมมนา "ยุทธศาสตร์สร้างปัญญาด้วยการอ่าน" ในงานมหกรรมนักอ่าน ที่เมืองทองธานี โดยกล่าวว่า วิกฤตการณ์บ้านเมืองที่เกิดขึ้นในปัจจุบันหากมองให้ลึกเกิดจากคนไทยอ่านหนัง สือน้อย ทำให้ไม่เข้าใจเรื่องที่ซับซ้อน ซึ่งในสังคมที่มีความซับซ้อนมาก เมื่อไม่เข้าใจจึงทำให้แก้ปัญหาไม่ได้โดยเฉพาะปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ชายแ ดนภาคใต้ ซึ่งเป็นปัญหาที่เห็นได้ชัดเป็นรูปธรรมว่าขาดสมรรถนะในการแก้ปัญหาความยากจน ที่เกิดจากความไม่เป็นธรรมทางสังคม ปัญหาความเห็นแย้งเรื่องเขตการค้าเสรี (FTA) จะเห็นได้ว่าประชาธิปไตยในประเทศไทยผ่านมา 75 ปีแล้วก็ยังไม่เกิด

หรือที่พระมหากษัตริย์ไทยพยายามสอนเรื่องความดี ศีลธรรม มาตลอดรัชกาล และการที่ไทยเป็นเมืองพุทธ มีวัดมากมาย แต่ศีลธรรมก็ยังไม่เกิดเรื่อง เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความซับซ้อนของสังคม เมื่ออ่านน้อยก็ทำให้ไม่เกิดความเข้าใจ

ศ.นพ.ประเวศ กล่าวอีกว่า หากดูจากจำนวนประชากรไทยที่มีประมาณ 63 ล้านคนแต่พบว่า หนังสือดีๆ บางเล่มพิมพ์เพียง 3,000 เล่มกว่าจะขายหมดใช้เวลานาน ดังนั้น ต้องเร่งวางยุทธศาสตร์และสร้างวัฒนธรรมการอ่านให้เกิดขึ้นโดยเร่งด่วน โดยทุกองค์กรในสังคมต้องร่วมกันขับเคลื่อน

สำหรับยุทธศาสตร์ที่ ศ.นพ.ประเวศ เสนอแนะให้จัดทำมี 7 ข้อ ได้แก่ 1. ส่งเสริมให้มีชมรมรักการอ่านในทุกหมู่บ้าน โดยให้เกิดจากผู้ที่รักการอ่านอย่างแท้จริง เป็นชมรมไม่เป็นทางการไม่ใช่รัฐจัดตั้ง จากนั้นชมรมนี้ก็จะดูแลห้องสมุดชุมชนที่จะเกิดขึ้น ซึ่งจะต้องให้มีห้องสมุดชุมชนเต็มพื้นที่ทางสังคม และรัฐควรขึ้นภาษีของฟุ่มเฟือยแล้วนำรายได้ส่วนดังกล่าวมาซื้อหนังสือดีๆ ให้ทุกชุมชน หลายคนมักเข้าใจผิดว่าเศรษฐกิจดีแล้วสังคมจะดี แท้ที่จริงสังคมดี จึงจะสร้างเศรษฐกิจของประเทศให้ดีได้

2. จัดหาหนังสือนิทานดีๆ ให้ทุกครอบครัวอ่าน โดยเฉพาะให้ลูกอ่าน

3. จัดการแจกจ่าย Book Start ให้ทุกครอบครัวที่มีเด็กเกิดให้มีหนังสือถึงบ้าน เพื่อรณรงค์รักการอ่าน

4. ฟื้นฟูการอ่านในระบบการศึกษาจากอดีตที่มีวิชาการสอนย่อความ อ่านจับใจความ ในระบบการศึกษาทุกระดับแต่ปัจจุบันเปลี่ยนไปเป็นข้อสอบปรนัย ทำให้เด็กรุ่นใหม่อ่านเขียนหนังสือไม่เป็น

5. จัดประกวดการอ่านทั้งแผ่นดินในรูปแบบเดียวกับการสอบจอหงวนของประเทศจีน ให้เกิดวัฒนธรรมเชิดชูการอ่าน

6. รัฐต้องจัดทำรายการอ่านทางสถานีโทรทัศน์

และ 7. รวบรวมศิลปินสร้างประติมากรรมสัญลักษณ์ให้ทุกวัยรักการอ่าน ยกตัวอย่างที่เมืองเปียงยาง ประเทศเกาหลีเหนือ มีประติมากรรมขนาดใหญ่เป็นรูปเยาวชนวัยหนุ่มสาวถือหนังสือ พร้อมเขียนข้อความปลุกระดมให้วัยหนุ่มสาวต้องมีหนังสือติดมือตลอดและอ่านทุก ที่ทุกครั้งที่มีโอกาส


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น