++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2550

หมอไทยเผยทำเด็กหลอดแก้วอัตราสำเร็จสูงถึงร้อยละ 30
















โดย ผู้จัดการออนไลน์21 มิถุนายน 2550 10:24 น.

























แ พทย์จุฬาฯ ระบุตลอด 20 ปีที่ผ่านมา แพทย์ไทยพัฒนาการทำเด็กหลอดแก้วผสมเทียมช่วยเหลือผู้มีบุตรยากก้าวหน้ามาก อัตราสำเร็จสูงร้อยละ 30 เตรียมจัดงานฉลอง 20 ปี เด็กหลอดแก้วไทย ระบุเด็กหลอดแก้วเหมือนเด็กเกิดตามธรรมชาติ แต่ส่วนใหญ่ที่เรียนเก่งเพราะพ่อแม่เอาใจใส่ดูแลเป็นพิเศษ






















ศ.นพ.ประมวล วีรุตมเสน ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งเป็นแพทย์ไทยคนแรกที่ผสมเทียมนอกร่างกาย หรือเด็กหลอดแก้ว ช่วยคู่สามีภรรยาที่มีบุตรยากตั้งครรภ์และได้ทารกเป็นเพศชาย ถือเป็นเด็กหลอดแก้วคนแรกของประเทศไทย เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ปี 2530 กล่าวว่า ช่วงเวลา 20 ปี ที่ผ่านมา แพทย์ไทยได้พัฒนาความรู้ความสามารถในการทำเด็กหลอดแก้ว ซึ่งมีเทคนิคใหม่และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้อัตราการสำเร็จสูงประมาณร้อยละ 30 เพื่อเป็นการฉลองครบ 20 ปี ของความสำเร็จในการทำเด็กหลอดแก้ว คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ จะจัดงาน "20 ปี เด็กหลอดแก้วไทย" ข ึ้นในวันเสาร์ที่ 23 มิถุนายนนี้ เวลา 08.00-14.00 น. ณ ตึกนวมินทราชินี-ตึกคคนางค์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ถือเป็นกิจกรรมร่วมเฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 60 ปี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ นอกจากนั้น ยังมีการเสวนาเพื่อให้ประชาชนเข้าใจเกี่ยวกับการทำเด็กหลอดแก้วที่ถูกต้อง ประเด็นกฎหมายที่เป็นข้อถกเถียงกัน โดยเฉพาะกรณีการให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน หรือการอุ้มบุญ การชุมนุมเด็กหลอดแก้ว 500 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กแฝด ถือว่าเป็นการชุมนุมเด็กหลอดแก้วครั้งใหญ่ที่สุดของไทย

ศ.นพ.ประมวล กล่าวว่า รพ.จุฬาฯ มีกระบวนการติดตามพัฒนาการของเด็กหลอดแก้วอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากจะถามว่าเด็กหลอดแก้วมีความพิเศษกว่าเด็กที่เกิดตามธรรมชาติหรือไม่ ส่วนตัวเห็นว่าไม่มีความแตกต่างกัน แต่อาจเป็นเพราะว่าคู่สามีภรรยาที่มีบุตรยากกว่าจะทำเด็กหลอดแก้วสำเร็จ บางคนใช้เวลานานถึง 10 ปี เมื่อมีลูกจึงเอาใจใส่เป็นพิเศษ ทำให้เด็กหลอดแก้วผลการเรียนดี โ ดยเด็กหลอดแก้วคนแรกของประเทศไทยเรียนอยู่ชั้นปีที่ 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ หลักสูตรนานาชาติ ส่วนเด็กหลอดแก้วคนที่ 2 เป็นนิสิตคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ชั้นปีที่ 1 ตนเชื่อว่าเด็กที่เกิดเองตามธรรมชาติหากได้รับการจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม พ่อแม่เอาใจใส่ดูแลดี ให้การสนับสนุนด้านการศึกษา เชื่อว่ามีขีดความสามารถทัดเทียมกัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น