++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2550

มูลนิธิ ณ กิตติคุณ

ที่มา http://weblog.manager.co.th/publichome/forgiven/

ถ้าจะพูดถึงโรงเรียนสอนศิลปะ-ดนตรี ในปัจจุบันนี้ พ่อแม่นิยมส่งเสริมลูกทางด้านนี้โดยมีการส่งลูกไปเรียนพิเศษในช่วงวันหยุดกันมาก สำหรับเด็กพิเศษบางคนเราจะพบพรสวรรคหรือศักยภาพในตัวเขาเหล่านั้นได้ หากมีคนที่เข้าใจเขา มุ่งให้ความรูความรัก และความเข้าใจเขาเหล่านั้น โดยผ่านกิจกรรมทางด้านดนตรี ศิลปะ และพลศึกษา

มูลนิธิ ณ กิตติคุณ ได้จดทะเบียนมูลนิธิในปี 2547 โดยมีคุณสนทนี สุขประเสริฐ (ครูปุ๊)
เป็นผู้จัดการมูลนิธิ ก่อนหน้านี้ครูปุ๊ได้สอนดนตรี (เปียโน) ให้กับเด็กปกติ และได้เห็นญาติของลูกศิษย์ที่เป็นเด็กพิเศษ ครูปุ๊จึงขออนุญาตผู้ปกครองขอสอนดนตรีให้เด็กพิเศษ... จนในปัจจุบันนี้ครูปุ๊มีประสบการณ์การทำงานกับเด็กพิเศษมาเป็นเวลากว่า 15 ปี

เมื่อสอนไปนานๆเข้า ครูปุ๊พบกับลูกศิษย์ที่มีอาการออทิสติก ดาวน์ซินโดรม สมองพิการ (ซีพี) แอลดี และกลุ่มพัฒนาการช้า เด็กแต่ละประเภทจะแตกต่างกัน พ่อแม่ที่พาลูกมาสมัครเรียนที่มูลนิธิ ณ กิตติคุณ ครูปุ๊ต้องคุยกับพ่อแม่ก่อนที่จะมีการสอน เพราะเด็กแต่ละคนจะมีระดับความบกพร่องแตกต่างกัน บางคนมีโอกาสไปได้ไกล บางคนจะช้าหน่อย เพื่อให้พ่อแม่เข้าใจ และไม่เอาลูกไปเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่น...

เมื่อ 5 ปที่ผ่านมา ครูปุ๊สอนเด็กซีพี และสังเกตว่าเด็กคนนี้ท่าทางจะวาดรูปไดครูปุ๊จึงฝึกให้เด็กคนนั้นวาดรูปจากของจริงโดยดูเครื่องดนตรีที่อยู่ตรงหน้า และเห็นว่าเด็กทำได้ จึงได้ทดลองทำกับเด็กดาวน์ซินโดรมและออทิสติก ปรากฏว่าเด็กหลายคนมีความสามารถตรงนี้ในลักษณะที่มองของจริงและวาดภาพได้ ครูปุ๊จึงชักชวนเพื่อนให้มาสอนศิลปะคู่ขนานไปกับการสอนดนตรี...

จากการสอนนี้เองจึงทำให้เกิดชุมชนขึ้นระหว่างผู้ปกครอง เด็ก และครูปุจากจุดนี้ครูปุ๊ได้ทราบปัญหาของผู้ปกครองว่า เด็กบางคนยังอยู่ในโรงเรียน บางคนอยู่นอกระบบโรงเรียน และบางคนไม่มีที่เรียน ผู้ปกครองจึงปรารภกับครูปุ๊ว่า น่าจะทำเป็นชุมชนขึ้นมาจริงๆสำหรับน้องที่อายุตั้งแต่ 15 ปขึ้นไปที่ไม่มีสังคม ครูปุ๊จึงคิดก่อตั้งมูลนิธิ ณ กิตติคุณขึ้น

กลุ่มเด็กที่มาเรียนที่มูลนิธินี้ส่วนใหญ่อายุระหว่าง 11-12 ป กิจกรรมหลักๆ คือ ดนตรีศิลปะ พลศึกษา... เด็กออทิสติกได้รับการฝึกให้มีสมาธิในการเล่นกีฬาได้ในจุดหนึ่ง โดยต้องใช้ระยะเวลาในการฝึกนานพอสมควร

การสอนให้เด็กแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ครูปุ๊จะมีครูผู้ดูและเป็นผู้ช่วย และเป็นตัวเชื่อมระหว่างครูผู้สอนกับเด็ก เด็กทุกคนจะมีสมุดประจำตัว แต่ละวันจะทราบว่าเด็กแต่ละคนได้รับการพัฒนาในด้านใดบ้าง เด็กที่จะมาร่วมกิจกรรมที่นี่จะมาตามความสะดวกของเด็กและผู้ปกครอง บางคนมาสัปดาห์ละ 1-2 วัน บางคนมาทุกวัน กลุ่มบุคลากรที่ทำงานที่มูลนิธินี้มีทั้งครูที่เรียนจบแล้ว กับครูที่กำลังเรียนในมหาวิทยาลัย ครูปุ๊อยากได้ครูใหม่ๆ ที่มีใจในการทำงานกับเด็กพิเศษ ครูของที่นี่จะทำงานได้สะดวกใจเพราะมีครูผู้ช่วยคอยช่วยดูแลอยู่ ผู้ดูแลเด็กจะเข้าใจในตัวเด็ก ว่าเด็กรู้สึกอย่างไร เด็กไม่เข้าใจตรงไหน ทำให้ครูผู้สอนไม่รู้สึกหนักใจ...

ก่อนสอนจะมีการคุยกันก่อนสอนว่า เด็กแต่ละคนเป้าหมายได้แค่ไหน เด็กแต่ละคนมีความบกพร่องที่แตกต่างกัน หน้าที่ของมูลนิธิคือ ช่วยแก้ไขข้อบกพร่องนั้นๆ

ก่อนที่ผู้ปกครองจะพามาฝึกศิลปะ-ดนตรีที่นี่ หากเด็กได้ผ่านการปรับพฤติกรรมก่อน ก็จะช่วยให้ลูกเรียนได้มากขึ้น เมื่อถามถึงความสำเร็จที่ได้ทำงานด้านนี้... ครูปุ๊เล่าว่า เด็กออทิสติกที่อยู่ไม่นิ่ง เมื่อได้รับการฝึกให้ทำงานด้านการฝีมือ ในกลุ่มเด็กออทิสติกซึ่งไม่มีสมาธิในการทำงานที่ละเอียด ถือว่ายากมาก... วันนี้เด็กๆเหล่านั้นสามารถทำเองได้ บางคนพัฒนาการพูดจากการเรียนศิลปะ ปกติไม่พูดแต่พอเรียนศิลปะจะพูดขณะที่เรียน บางคนเคยทำร้ายตัวเอง จะลดการทำร้ายตัวเองลง จุดนี้เองที่ครูปุ๊ถือว่าเธอประสบผลสำเร็จในการพัฒนาเด็กในระดับหนึ่ง การเล่นดนตรีการอ่านโน๊ตสำหรับเด็กพิเศษจะเป็นสิ่งที่ยาก แต่ถ้าเล่นให้เขาฟังแล้วร้องให้เขาฟัง เด็กบางคนสามารถเล่นตามได้เอง ทำให้ครูปุ๊ค้นหาได้ว่าเด็กแต่ละคนมีพรสวรรค์ในด้านใด และจะส่งเสริมเขาทางด้านใด

บางคนอาจชอบการร้องเพลง เช่น เด็กออทิสติกบางคนที่ไม่พูด ครูปุ๊จะแต่งเพลงสั้นๆ (เอ๊ะ เจอกันอีก โอ๊ะ เจอกันอีก วันนี้อากาศดีนะ) ที่มีเพียงไม่กี่คำ และสอนให้เด็กจนร้องไดเด็กอาจจะไม่เข้าใจความหมายที่ร้องในช่วงแรกๆ แต่ครูปุ๊เชื่อว่าต่อไปเขาจะเข้าใจได้ ความสำเร็จคือเด็กยอมเปล่งคำ และเปล่งเสียงได้ถูกต้อง จุดนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ครูปุ๊พยายามค้นหาว่า จากที่เด็กพูดออกมาโดยอาจจะยังไม่เข้าใจความหมายในช่วงแรก ทำอย่างไรให้พัฒนามาเป็นการสื่อสารกันให้ได้ นี่คือโจทย์ที่ครูปุ๊กำลังค้นหาคำตอบ และยังสนุกกับงานที่กำลังทำอยู่ในขณะนี้ การต้องแก้ปัญหาต่างๆเหล่านี้ทำให้ครูปุ๊รู้สึกอยู่เสมอว่า อยากทำต่อไปเรื่อยๆ ครูปุ๊บอกว่ารู้สึกสนุกที่ได้ทำงานและได้แก้ปัญหากับเด็กแต่ละคน

ถามว่าเคยท้อในการทำงานไหม ครูปุ๊บอกว่าเด็กบางคนสอนยากมาก ถึงขนาดอยากจะกราบเด็กว่าทำไมไม่ทำให้ครูปุ๊ทำได้ก็มี แต่ไม่รู้สึกท้อ... ครูปุ๊บอกว่า ทุกวันที่ทำไม่ได้ทำเพื่อตนเอง หากไม่ได้กำลังใจจากพระเจ้าคงไม่สำเร็จ วันที่เริ่มต้นจะทำงาน เธอขอความรักจากพระเจ้า ครูปุ๊บอกว่าแล้วอย่างอื่นจะตามมาเอง ในพระคัมภีร์บอกว่ารักนั้นก็อดทนนาน และเป็นความอดทนที่มีความสุขในการอดทน ตรงจุดนั้นเป็นไฟของครูปุและเธอไม่อยากให้ไฟตรงนี้มอดไป เธอได้ให้กำลังใจกับกลุ่มที่ทำงานเพื่อคนพิการว่า...

“การที่เรามาอยู่ตรงจุดนี้เป็นโอกาสที่เราจะรักมากกว่าที่เคยเป็น เราไม่ได้รักคนที่ตอบแทนเราไดเราไม่รู้ว่าเด็กคนนั้นจะรักเราแค่ไหน หรือว่าพ่อแม่เด็กจะพอใจเรามั๊ย แต่มันเป็นความรักที่บอกว่า อย่างไรก็รัก มันไม่มีเงื่อนไข ถึงคุณจะกัดฉันฉันก็ยังรักคุณ ถึงคุณจะทุบฉันฉันก็ยังรักคุณได้... ถึงคุณพ่อคุณแม่ก็ตาม ครูปุ๊อยากจะบอกว่าคุณมีโอกาสที่จะรักมากกว่าที่พ่อแม่คนอื่นรักไดนั่นคือความงามของชีวิต แม้ว่าจะเป็นอุปสรรคของชีวิต”

ครูปุ๊บอกว่าผ่านผู้ปกครองมาจำนวนมาก หลายคนอยากฆ่าตัวตาย หลายคนทนไม่ไหว หลายคนหย่าร้างกันเพราะลูกเป็นเหตุ ใครก็ตามที่ยังอยู่กับลูก ครูปุ๊บอกว่าคุณยังมีโอกาสตรงนี้ที่จะรัก อย่าไปฟังใครที่บอกว่าคุณทำได้ไม่ดีที่สุด แต่ละคนทำได้ดีที่สุดในจุดของคุณเองเท่านั้น ไม่สามารถที่จะทำเหมือนกับคนอื่นไดแต่ทำให้ดีที่สุดสำหรับลูกของคุณ...

อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญที่สุด คืออย่าบอกว่าลูกโง่ อย่าว่าลูก แต่ให้กำลังใจลูกเสมอเมื่อลูกทำได้ดี ให้กำลังใจทันที เด็กจะเกิดความภาคภูมิใจในตัวเอง ศิลปะและดนตรีทำให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจในตัวเองได้ในเวลาอันสั้น ฉะนั้น การสร้างความมั่นใจในตัวเองจึงเกิดได้เร็ว เด็กจะมีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้นและเริ่มวาดภาพ เด็กจะไม่รู้สึกกลัว และเป็นความรู้สึกว่าเป็นสิ่งเดียวที่ทำให้คนอื่นรับเขาไดทั้งชีวิตไม่มีอะไรที่คนในสังคมรับเขาได้เลย แต่ในเชิงศิลปะมีคนรับเขาไดและชื่นชมด้วยเมื่อเด็กเต้นได้ถูกต้อง เต้นได้ถูกจังหวะ ในเรื่องของกำลังใจ ตัวเราเองยังต้องการกำลังใจ เด็กพิเศษเขาต้องการมากกว่าเรา...

ปัจจุบัน โรงเรียน ณ กิตติคุณ กลายเป็นโรงเรียนเฉพาะเด็กพิเศษ ตั้งอยู่ที่ 356 ถนนศรีอยุธยา พญาไท กรุงเทพฯ โทร. 02-640 1860

ที่มา : สัมภาษณ์ คุณสนทนี สุขประเสริฐ ผู้จัดการมูลนิธิ ณ กิตติคุณ
ในรายการวิทยุเพื่อคนพิการ

ขออนุโมทนา ...



สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนพิการทางสมองและปัญญา (บ้านเฟื่องฟ้า) เป็นหน่วยงานของรัฐ รับผิดชอบในการอุปการะเลี้ยงดูเด็กอ่อนพิการทุกประเภท ทั้งชายและหญิง อายุแรกเกิด ถึง 7 ปี หรืออาจจะมากกว่านี้ หากจำเป็นต้องได้รับการดูแล หรือพัฒนาก่อนที่จะย้ายเข้ารับการสงเคราะห์ในสถานสงเคราะห์เด็กพิการต่างๆ ตามสภาพความพิการต่อไป

ก่อนตั้งสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนพิการทางสมองและปัญญา (บ้านเฟื่องฟ้า) กลุ่มผู้เข้ารับบริการที่เป็นเด็กอ่อนพิการ ได้รับการเลี้ยงดูร่วมกับเด็กอ่อนปกติที่สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนปากเกร็ด... ต่อมาปัญหาเด็กอ่อนพิการเริ่มมีปริมาณเพิ่มขึ้น ทำให้การเลี้ยงดูเด็กอ่อนปกติร่วมกับเด็กอ่อนพิการมีความยากยิ่งต่อการให้บริการ เพราะเด็กอ่อนพิการจำเป็นต้องให้การดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษเนื่องจากสภาพความพิการของเด็ก กรมประชาสงเคราะห์จึงได้แยกการปฏิบัติงานออกจากสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนปากเกร็ด โดยยืมอาคารของสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนปากเกร็ด ชื่ออาคารกรรณิการ์ มาเป็นอาคารนอนของเด็กอ่อนพิการและใช้เป็นสำนักงานด้วย โดยเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 ระยะแรกมีเด็กในความอุปการะประมาณ 30-50 คน ต่อมามีจำนวนเด็กอ่อนพิการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงได้สร้างอาคารต่างๆเพิ่มขึ้นในเนื้อที่ 15 ไร่

วิสัยทัศน์: " เด็กๆสดใส ผู้ใหญ่สร้างสรรค์ มุ่งมั่นพัฒนา "

ภารกิจ:
ให้บริการขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิต
ให้การพัฒนา และฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย
ให้การส่งเสริมพัฒนาการ และเตรียมความพร้อมทางการศึกษา
ให้บริการทางสังคมสงเคราะห์ และจิตวิทยา
ส่งเสริม สนับสนุน ให้เครือข่ายต่างๆมีส่วนร่วมในการทำงาน

วัตถุประสงค์: ให้การอุปการะเด็กอ่อนพิการทั้งชาย-หญิง อายุแรกเกิดถึง 7 ปี ที่กำพร้าถูกทอดทิ้ง พลัดหลง ครอบครัวประสบปัญหาเดือดร้อน

เป้าหมาย: เด็กอ่อนพิการทุกประเภททั้งชายและหญิง อายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 7 ปี ที่ประสบปัญหาเดือดร้อน

สนับสนุนการดำเนินงานโดยบริจาคเงินและสิ่งของได้ที่...
สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนพิการทางสมองและปัญญาบ้านเฟื่องฟ้า
เลขที่ 78/9 หมู่ 1 ถนนติวานนท์ ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 * ได้ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ เวลา 8.30 น. – 16.30 น.*

บริจาคโอนเงินเข้าบัญชี "มูลนิธิสงเคราะห์เด็กอ่อนพิการทางสมองและปัญญา"
เลขที่บัญชี 123-1-18770-0 ประเภทออมทรัพย์ ธนาคารกรุงไทย สาขาปากเกร็ด

กรณีโอนเงิน กรุณาส่งสำเนาใบฝากเงินพร้อมชื่อที่อยู่ของท่านมายังมูลนิธิฯ หรือสถานสงเคราะห์ฯ หรือโทรศัพท์แจ้งให้ทราบด้วย เพื่อจะได้ส่งใบสำคัญรับเงินให้ท่านต่อไป

สิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อใช้ในการดำเนินงานเพื่อเด็กพิการ
1. อาคารนอนเด็ก (ค่าก่อสร้าง 4.2 ล้านบาท/อาคาร) เพื่อลดความแออัดและเหมาะสมกับเด็ก พักอาศัยได้ประมาณ 70 คน มีห้องพัฒนาการเด็ก มีระเบียงให้เด็กได้ใช้ประโยชน์

2. บ้านพักเจ้าหน้าที่ (ค่าก่อสร้าง 7.6 ล้านบาท/หน่วย) เพื่อขวัญกำลังใจให้เจ้าหน้าที่ได้มีบ้านพักภายในสถานสงเคราะห์ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเช่าและเดินทาง สามารถทำงานให้กับสถานสงเคราะห์ได้แม้เป็นวันหยุด

3. ต่อเติมอาคารพยาบาล เนื่องจากมีเด็กป่วยต้องดูแลใกล้ชิดเป็นจำนวนมาก การต่อเติมอาคารเป็นอาคารชุด 4 ชั้นๆละ 4 ห้อง รวม 16 ห้อง โดยต้องใช้ค่าใช้จ่ายประมาณ 2.7 ล้าน ซึ่งในขณะนี้ได้มีงบประมาณแล้วประมาณ 2 ล้านบาท

4. งบประมาณในการจ้างเจ้าหน้าที่ นักกายภาพบำบัด ครูพัฒนาการเด็ก พี่เลี้ยง ซึ่งขณะนี้มีลูกจ้างชั่วคราว 65 คน

วัสดุและเครื่องอุปโภคบริโภคต่างๆที่ต้องการเพื่อใช้ในการดำเนินงานเพื่อเด็กพิการ
ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ของเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 7 ปี (ต้องการจำนวนมาก)
อาหารเสริมชนิดชง สำหรับเด็กเล็กพิการที่ไม่สามารถรับประทานอาหารปกติได้ ต้องให้อาหารเหลวทางสายยาง

วัสดุสิ่งของที่ขาดแคลนและต้องการโดยเร่งด่วน
ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ทุกขนาด (จำนวนมาก)
แผ่นรองซับสำเร็จรูป ขนาดใหญ่ (จำนวนมาก)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนพิการทางสมองและปัญญาบ้านเฟื่องฟ้า เลขที่ 78/9 หมู่ 1 ซอยติวานนท์ 1 ถนนติวานนท์ ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 โทร. 02-583 6815, 02-583 4000, 02-583 4031 หรือ โทรสาร. 02-583 4000

ขออนุโมทนา ...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น