พ ูดถึง โอเมก้า-3 ซึ่งเป็นกรดไขมันที่ผู้คนให้ความสนใจไม่น้อย เพราะกระแสในปัจจุบัน โอเมก้า-3 เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะกลุ่มคนในแถบเมืองหลวงมีความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ
|
น้ำมันปลา ซึ่งประกอบด้วยกรดไขมันโอเมก้า-3 เริ่มเป็นที่สนใจมากว่า 20 ปี เมื่อมีข้อมูลว่า ชาวเอสกิโม ที่บริโภคปลาในปริมาณสูง จะมีปัญหาเส้นเลือดอุดตันน้อย ระดับไขมันในเลือดต่ำ และการเกาะตัวของเกล็ดเลือดน้อยกว่าชาวเดนมาร์กซึ่งกินเนื้อสัตว์มากกว่า นอกจากนี้ ยังพบว่าชาวญี่ปุ่นในหมู่บ้านชาวประมง ที่บริโภคปลาในปริมาณมาก จะมีโรคหลอดเลือดหัวใจ การเกาะตัวของเกล็ดเลือดและความหนืดของเลือดน้อยกว่าชาวญี่ปุ่นในหมู่บ้านเล ี้ยงสัตว์
กรดไขมันโอเมก้า-3 เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ จำเป็นต้องได้รับจากอาหาร กรดไขมันโอเมก้า-3 ที่สำคัญมี 2 ชนิด ได้แก่ EPA ( EICOSAPENTAENOIC ACID ) และ DHA ( DOCOSAHEXAENOIC ACID ) พบได้ในน้ำมันจากปลาทะเลน้ำลึก ซึ่งจะมีไขมันที่เรียกว่า FISH OIL หรือน้ำมันปลา (มิใช่น้ำมันตับปลา) ได้แก่ ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน ปลาทูน่า ปลาแมคเคอเรล ส่วนปลาทะเลของไทย ที่มีปริมาณกรดไขมันโอเมก้า - 3 พอประมาณ ได้แก่ ปลาทู ปลาโอ ปลากะพง ปลาเก๋า และ ปลาอินทรี เป็นต้น ปลาน้ำจืดบางชนิดก็มีกรดไขมันโอเมก้า-3 บ้าง เช่น ปลาช่อน ปลานวลจันทร์ นอกจากนี้กรดไขมันแอลฟ่าไลโนเลนิค ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของกรดไขมัน EPA และ DHA ยังมีอยู่ในน้ำมันจากเมล็ดธัญพืชบางชนิด เช่น น้ำมัน Flaxseed น้ำมันวอลนัท น้ำมันแคโนลา และน้ำมันถั่วเหลือง
ความสำคัญของกรดไขมันโอเมก้า-3 ชนิด DHA ในเด็กคือ มีผลต่อการเจริญเติบโตของสมองและจอประสาทตาของทารกในครรภ์ โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนก่อนคลอด มีความสัมพันธ์ระหว่างการขาด DHA และอาการของโรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder : ADHD) โดยเด็กที่มีระดับ DHA ต่ำ จะมีปัญหาด้านพฤติกรรม อารมณ์ การนอนและการเรียนรู้มากกว่าเด็กกลุ่มที่มีระดับ DHA ปกติ และเมื่อได้รับ DHA เสริมอาการต่างๆ จะดีขึ้น
ส่วนในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุนั้น กรดไขมันโอเมก้า-3 ชนิด EPA จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ โดยลดการเกาะตัวของเกล็ดเลือดและลดการหดตัวของหลอดเลือด ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันได้ยากขึ้น ลดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดและเพิ่มระดับ HDL-cholesterol ซึ่งเป็นไขมันชนิดดี ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดได้
นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันโรคความจำเสื่อม จากงานวิจัยของ National Institute of Public Health and the Environment ประเทศเนเธอร์แลนด์ พบว่าคนที่บริโภคปลาอย่างสม่ำเสมอ เมื่ออายุมากขึ้น ความจำจะลดน้อยกว่าคนที่บริโภคปลาน้อยและใช้น้ำมันพืชมาก และสิ่งที่ผู้คนให้ความสนใจมากในปัจจุบันนี้คือ กรดไขมันโอเมก้า - 3 สามารถชะลอหรือป้องกันการเจริญของเซลล์มะเร็ง มีข้อมูลทางระบาดวิทยาว่า ชาวเอสกิโม และชาวเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งบริโภคปลามาก จะมีอุบัติการณ์ของมะเร็งต่ำ และมีข้อมูลในสัตว์ทดลอง เช่น หนู แสดงให้เห็นว่า กรดไขมันโอเมก้า - 3 สามารถลดการเจริญของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากและเต้านมได้
|
จากคุณประโยชน์ของกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่มีอยู่ในน้ำมันปลา ทำให้มีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทน้ำมันปลาเกิดขึ้นมากมาย อย่างไรก็ตามต้องคำนึงถึงข้อควรระวังดังนี้
1. ทำให้เลือดออกง่าย โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่รับประทานยาแอสไพรินเป็นประจำ 2. เพิ่มสารอนุมูลอิสระจากไขมัน (Lipid peroxide) ในระยะยาวอาจส่งเสริมการเกิดโรคหัวใจขาด เลือด มะเร็ง และชราภาพ ถ้าร่างกายไม่ได้บริโภคสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) อย่างพอเพียง 3. เพิ่มความต้องการวิตามินอี โดยเฉพาะน้ำมันปลาที่ไม่มีการเติมวิตามินอี 4. มีกลิ่นคาวปลา
อ ันตรายในระยะยาวของการบริโภคน้ำมันปลายังไม่เป็นที่ทราบชัดเจน ดังนั้น จึงควรพิจารณาระหว่างผลดีที่อาจจะได้ และผลเสียที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้นการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทน้ำมันปลา จึงควรอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ เพื่อความปลอดภัย ควรบริโภคปลาที่มีกรดไขมันโอเมก้า-3 อย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ หากท่านสนใจในรายละเอียด ติดตามได้ในงานวันประมงน้อมเกล้าฯ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น