++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2552

ผลกระทบของฤดูกาลต่อคุณภาพน้ำเชื้อและเยื่อหุ้มเซลล์อสุจิกระบือปลัก

Season Factor Affecting Semen Quality and Spermatozoa Membrane

in Swamp Buffalo (Bubalus bubalis) Bull

วรรณนิษา เต็มวงษ์ (Wannisa Temwong )*

สุณีรัตน์ เอี่ยมละมัย (Suneerat Aiumlamai)**

วีระศักดิ์ วงศ์ศรีแก้ว (Weerasak Wongsrikeao)**

ศักดิ์ศิริ ศิริเสถียร (Saksiri Sirisatien)**

ขวัญเกศ กนิษฐานนท์ (Kwankate Kanistanon)***

เสรี กุญแจนาค (Seri Koonjaenak)****

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เก็บตัวอย่างน้ำเชื้อจากพ่อพันธุ์กระบือปลัก 5 ตัว ทุก 2 สัปดาห์ ตลอดระยะเวลา 1 ปี (มิถุนายน2547 ถึง มิถุนายน 2548) เพื่อศึกษาผลของสภาพอากาศและฤดูกาลต่อคุณภาพน้ำเชื้อและเยื่อหุ้มเซลล์อสุจิของกระบือปลัก ผลการศึกษาพบว่า ปริมาตร ความหนาแน่น การเคลื่อนที่หมู่ การเคลื่อนที่รายตัว การเคลื่อนที่รายตัวหลังแช่เเข็ง ความเป็นกรด-ด่าง ความเข้มข้น การตรวจลักษณะผิดปกติในส่วนหาง จำนวนเซลล์ที่ลอกหลุดปนในน้ำเชื้อ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติในแต่ละฤดู เมื่อประเมินคุณภาพเยื่อหุ้มเซลล์โดยใช้สารละลายที่มีแรงดันออสโมติกต่ำ พบเปอร์เซ็นต์การบวมของเซลล์ต่ำในฤดูฝน แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในแต่ละฤดู ทั้งนี้พบว่าฤดูกาลจะมีผลต่อเปอร์เซ็นต์ลักษณะผิดปกติที่ส่วนหัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยในฤดูร้อนพบเปอร์เซ็นต์ลักษณะผิดปกติต่ำกว่าในฤดูฝนและฤดูหนาว (1.88+1.9, 2.43+2.1 และ2.08+1.7 ตามลำดับ) เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า อุณหภูมิ ความชื้น ค่าดัชนีวัดความเครียดจากความร้อนชื้น (THI) และค่าดัชนีวัดความเครียดจากความร้อนชื้น 52 วันก่อนเก็บน้ำเชื้อ ไม่มีความสัมพันธ์กับปริมาตร ความหนาแน่น การเคลื่อนที่หมู่ การเคลื่อนที่รายตัวหลังแช่แข็ง ความเข้มข้น และความสมบูรณ์ของเยื่อหุ้มเซลล์ แต่พบว่าจำนวนเซลล์ที่ลอกหลุดปนในน้ำเชื้อมีความสัมพันธ์ไปในทางเดียวกับอุณหภูมิ ความชื้น ค่าดัชนีวัดความเครียดจากความร้อนชื้น แต่มีความสัมพันธ์ในทางตรงข้ามกับค่าดัชนีวัดความเครียดจากความร้อนชื้น 52 วันก่อนเก็บน้ำเชื้อ นอกจากนี้ยังพบว่า การเคลื่อนที่รายตัวมีความสัมพันธ์ในทางตรงกันข้ามกับความชื้น ค่าดัชนีวัดความเครียดจากความร้อนชื้น และค่าดัชนีวัดความเครียดจากความร้อนชื้น 52 วันก่อนเก็บน้ำเชื้อ จากการศึกษานี้สรุปได้ว่า ในการรีดเก็บน้ำเชื้อกระบือปลักในฤดูฝนมีคุณภาพต่ำกว่าในฤดูหนาวและฤดูร้อน แต่คุณภาพทุกลักษณะยังอยู่ในคุณภาพปกติของน้ำเชื้ออสุจิกระบือปลักที่เคยมีรายงานในประเทศไทย

คำสำคัญ: ฤดูกาล คุณภาพน้ำเชื้อ เยื่อหุ้มเซลล์อสุจิ กระบือปลัก

Key words: seasonal, semen quality, spermatozoa membrane, swamp buffalo bull

ABSTRACT

The semen characteristics of five swamp buffalo bulls were studied every two weeks five swamp buffalo bulls during one year period (from June 2004 to June 2005) to examine the effects of seasonal al factors on semen qualities. It was found that semen volume, density, mass motility, individual motility, individual motility after thawing, pH, concentration, abnormal tail and other somatic cell were not significantly affected by seasons. Spermatozoa membrane integrity was evaluated by hypoosmotic swelling test (HOS test) as the percentages of swollen spermatozoa tail. The results showed that these percentages were lower in rainy season than those in winter and summer although non significant difference was found. However, it was found that the percentages of abnormal sperm head were significantly affected by seasons. The percentages of abnormal sperm head during summer were lower than those during rainy season and winter (1.88+1.95, 2.43+2.08 and 2.08+1.95, respectively). No relationships was found between seasonal factors and semen quality. The numbers of other somatic cells were positively correlated with temperature, humidity, temperature humidity index, but negatively correlated with temperature humidity index at day 52 before semen collection. Furthermore, sperm motility showed negative correlation with humidity, temperature humidity index (THI) and temperature humidity index at day 52 before semen collection. In conclusion, the results of this study indicated that semen quality of swamp buffalo bull collected during rainy season had lower qualities than those collected during winter and summer. Nevertheless, all semen characteristics remained within a normal range of swamp buffalo bull semen that has been reported in Thailand.


*นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิทยาการสืบพันธุ์สัตว์, **ภาควิชาศัลยศาสตร์และวิทยาการสืบพันธุ์, ***ภาควิชาสรีรวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ****คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑืตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น