++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2548

การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม

อาคม สรสุชาติ
เทพนม เมืองแมน
สุชาติ โสมประยูร
รัชนี ขวัญบุญจัน
เอมอัชณา รัตน์ริมจง

ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสุขภาพของส่วนรวม


องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้คำจำกัดความของการสุขาภิบาลหรือการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมไว้ว่า "การสุขาภิบาล หมายถึง การควบคุมองค์ประกอบต่างๆ ที่เป็นสิ่งแวดล้อมทางกายภาพของมนุษย์ ซึ่งทำให้หรืออาจทำให้เกิดเป็นพิษเป็นภัยต่อการมีสุขภาพที่สมบูรณ์ต่อการ เจริญเติบโตและต่อการดำรงชีวิตที่ปลอดภัยของมนุษย์ "

จากคำจำกัดความดังกล่าว จะเห็นได้ว่า การสุขาภิบาลมุ่งเน้นเรื่องสิ่งแวดล้อมทางด้านกายภาพมากกว่าสิ่งแวดล้อมทาง ด้านอื่นๆ สิ่งแวดล้อมทางด้านกายภาพเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิตซึ่งอยู่รอบๆตัวเรา มีทั้งสิ่งที่เกิดตามธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์เราสร้างขึ้น เช่น ดิน น้ำ อากาศ เสียง แสง รังสี ความร้อน ไฟฟ้า ถนนหนทาง อาคารบ้านเรือน สาธารณสถาน เครื่องจักร เครื่องยนต์ ขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ฯลฯ บรรดาสิ่งแวดล้อมทางกายภาพทั้งหลายเหล่านี้ ย่อมมีความสัมพันธ์กับสุขภาพทั้งทายร่างกายและจิตใจในชีวิตประจำวันของคน เรามาก เราจึงจำเป็นต้องรู้จักแก้ไข ดัดแปลง ปรับปรุงและระวังรักษาสิ่งแวดล้อมต่างๆ ไม่ให้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคและอันตรายต่อทั้งสุขภาพส่วนตัวและส่วนรวม ด้วยเหตุนี้เองการสุขาภิบาลจึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งของการ สาธารณสุข

คนเราย่อมอยู่ในสิ่งแวดล้อมตลอดเวลา นับตั้งแต่เกิดมาเป็นทารกจนกระทั่งตายจากโลกนี้ไป โดยที่คนเราไม่สามารถจะแยกตัวเองออกจากสิ่งแวดล้อมได้เลย ในการดำเนินชีวิตประจำวันก็เช่นเดียวกัน ไม่ว่าเราจะพักผ่อนทำธุระส่วนตัวอยู่กับบ้าน หรือออกไปประกอบธุรกิจการงานภายนอกบ้านก็ดี ก็ได้หาได้พ้นไปจากสิ่งแวดล้อมไม่ และสิ่งแวดล้อมทางกายภาพนี่เองที่คนเราต้องสัมผัสหรือเกี่ยวข้องอยู่ด้วย ตลอดเวลา ดังนั้น เราจึงควรจะเรียนรู้ถึงสิ่งแวดล้อมทางด้านกายภาพที่สำคัญ เช่น อากาศ น้ำ ดิน ขยะมูลฝอย และเสียง ซึ่งจะมีผลทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมกับสุขภาพส่วนตัวและส่วนรวมเป็นอันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิ่งแวดล้อมของโลกปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงและผันแปรไปมากจนกระทั่งได้กลาย เป็นโลกวิทยาศาสตร์ไปเสียแล้ว ทั้งนี้ก็เพราะมนุษย์สามารถคิดค้นและเอาชนะสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นหรือมี อยู่เองตามธรรมชาติได้มากขึ้นทุกที รวมทั้งจำนวนประชากรก็เพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน จึงทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา และนับวันจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นตามลำดับ ในสมัยก่อนเพียงแต่คนเราสามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ก็ดูเหมือน จะดำรงชีพอยู่ได้สุขสบายพอสมควร แต่ในสมัยนี้คนเราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้จัก เข้าใจ และสามารถปรับปรุงแก้ไขสิ่งแวดล้อมต่างๆให้เข้ากับการดำรงชีวิตของตนได้อีก ด้วย จึงถึงเวลาแล้วที่ทุกคนจำเป็นต้องเรียนรู้และร่วมมือกันปรับปรุงแก้ไขสิ่ง แวดล้อมทางด้านกายภาพต่างๆที่กำลังเสื่อมโทรมอยู่ เพื่อให้คนเราได้ดำรงชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น หรืออย่างน้อยก็ไม่ควรจะเลวลงยิ่งไปกว่าที่เป็นอยู่

อากาศสกปรก


ความหมายของอากาศสกปรก
อากาศสกปรกหรืออากาศเสีย หรืออากาศเป็นพิษ โดยทั่วไปหมายความแต่เฉพาะคุณสมบัติทางเคมีของอากาศเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น "อากาศสกปรกหรืออากาศเสีย คือ อากาศที่ประกอบด้วยสิ่งเจือปนอยู่เป็นจำนวนมาก จนสามารถให้โทษต่อร่างกายหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น พวกฝุ่นละออง เขม่า ควัน เชื้อโรค และก๊าซที่เป็นพิษต่างๆ " สำหรับในเรื่องการเคลื่อนไหว ความร้อน และความชุ่มชื้นของอากาศซึ่งเป็นคุณสมบัติทางฟิสิกส์นั้นมักจะไม่ได้กล่าว ถึง อย่างไรก็ดี พึงเข้าใจไว้ว่าคุณสมบัติของอากาศไม่ว่าจะเป็นทางด้านฟิสิกส์หรือทางด้าน เคมีก็ตาม ย่อมมีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนเราไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพราะเมื่ออากาศขาดคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งไปแล้ว ก็ย่อมจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ หรือแม้กระทั่งเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

เรื่องความสกปรกของอากาศหรือมลพิษทางอากาศ (Air pollution) นี้เป็นเรื่องที่ควรศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เพราะโดยปกติแล้วเรามักจะมองไม่ใคร่เห็น หรือบางทีมองเห็นแต่เราก็ไม่ใคร่ได้สังเกตกันมากนัก นอกจากเผอิญความสกปรกของอากาศนั้นมีกลิ่นผสมอยู่ด้วยเราจึงจะรู้สึกได้ง่าย ขึ้น อีกประการหนึ่ง เรื่องของอากาศหรือบรรยากาศนั้นเป็นสิ่งที่มีปริมาณหรือขอบเขตอันกว้างใหญ่ ไพศาลซึ่งห่อหุ้มโลกทั้งโลกไว้เลยทีเดียว จนบางครั้งเราไม่ได้นึกถึงความสำคัญของอากาศกันมากนัก ยิ่งกว่านั้นเรายังจำเป็นต้องหายใจเอาอากาศเข้าไปในร่างกายอยู่โดยตลอดเวลา จึงทำให้มิอาจหลีกเลี่ยงอันตรายที่เกิดขึ้นจากอากาศสกปรกเหล่านี้ได้

สาเหตุที่ทำให้อากาศสกปรก


ในสมัยก่อน สาเหตุที่ทำให้อากาศสกปรกมีน้อย เพราะปัญหาการเพิ่มของประชากรและความเจริญทางด้านวัตถุยังมีไม่มาก แต่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองใหญ่ๆ เช่น กรุงเทพมหานคร มีประชาชนอาศัยอย่างแออัดยัดเยียด มีตึกรามบ้านช่องปลูกสร้างขึ้นเต็มไปหมด ตามถนนหนทางก็เต็มไปด้วยรถยนต์อย่างคับคั่ง โรงงานอุตสาหกรรมทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นมากมาย สิ่งเหล่านี้มีผลช่วยทำให้อากาศในกรุงเทพฯ เพิ่มความสกปรกขึ้นทุกที สำหรับสาเหตุที่ทำให้อากาศทั่วไปสกปรกนั้น อาจแยกออกเป็นประเภทต่างๆได้ดังนี้

1. ยานพาหนะ ยานพาหนะต่างๆ ได้เพิ่มปริมาณขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งยานพาหนะทางบก ซึ่งได้แก่ รถยนต์ประเภทต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเผาไหม้จึงเกิดเขม่า ควัน หรือไอเสียอยู่ตลอดเวลา ยิ่งในขณะการจราจรติดขัดหรือในชั่วโมงเร่งด่วนด้วยแล้ว ไอเสียเหล่านี้ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่ามีก๊าซไฮโดรคาร์บอน ไอระเหยของตะกั่ว และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซต์อยู่ด้วย จะยิ่งมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดของอากาศสกปรกในกรุงเทพฯ ขณะนี้ โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนมอนอกไซต์นั้นทำให้อากาศเสียมีอันตรายมาก

2. โรงงานอุตสาหกรรม โรงงานทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ซึ่งกำลังเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อช่วยในการพัฒนาประเทศ แต่พร้อมกันนั้นก็เป็นการเพิ่มปริมาณสิ่งสกปรกให้กับอากาศไปด้วยในตัว เช่น เขม่า ควัน ฝุ่นละออง ก๊าซต่างๆ และกลิ่นของเสียอื่นๆ ซึ่งแล้วแต่ประเภทของโรงงานอุตสาหกรรม สิ่งสกปรกเหล่านี้จะปลิวหรือฟุ้งกระจายไปไกลๆ เช่น โรงงานปูนซีเมนต์ โรงสีข้าว โรงงานถลุงเหล็ก โรงงานแก้ว โรงงานฟอกหนัง โรงงานสบู่ โรงงานน้ำตาล โรงงานกลั่นน้ำมัน โรงงานไฟฟ้า เป็นต้น

3. อาคารสถานที่อยู่อาศัย อาคารบ้านเรือนที่ปลูกสร้างกันอย่างผิดสุขลักษณะและไม่มีการวางผังเมือง เพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆไว้ล่วงหน้า ในที่สุดชุมชนนั้นจะกลายเป็นแหล่งเสื่อมโทรม หรือสลัม มีน้ำโสโครกขังอยู่ตามใต้ถุนอาคารบ้านเรือน มีขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลกองอยู่กลาดเกลื่อน ถนนหนทางก็คับแคบเข้าออกไม่สะดวก มีเขม่าควันไฟจากการหุมต้มลอยอยู่ทั่วไป

4. ขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลต่างๆรวมทั้งของเหลือใช้และของทิ้งอื่นๆมีวิธีการ กำจัดที่ไม่ถูกต้อง จึงทำให้เกิดกลิ่นเหม็นและเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์นำโรคต่างๆได้ นอกจากนี้ในบางชุมชนยังมีการกวาดถนนในขณะที่มีผู้สัญจรไปมาอีกด้วย อากาศบริเวณนั้นจะเต็มไปด้วยฝุ่นละอองของสิ่งสกปรก ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้

5. การประกอบอาชีพเกษตรกรรม สำหรับบริเวณนอกเมืองหรือในชนบท สาเหตุที่ทำให้อากาศสกปรก อาจเนื่องมาจากเกษตรกรทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ชนิดต่างๆ เช่น เป็ด ไก่ สุกร ฯลฯ หรือการใช้ยาฆ่าแมลงและยากำจัดศัตรูพืช โดยใช้เครื่องพ่นยาขนาดใหญ่หรือเครื่องบิน หรือการเผาทุ่งนาหรือเผาป่า เป็นต้น

6. สภาพดินฟ้าอากาศ สภาพดินฟ้าอากาศซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น การเกิดพายุหนักพัดเอาฝุ่นละอองปลิวฟุ้งกระจายไปทั่ว หรืออาจพัดพาเอาความสกปรกแหล่งหนึ่งไปยังที่อื่นๆได้เป็นระยะทางไกลๆ หรือบางครั้งเกิดหมอกลงจัด มองไม่ชัด ทำให้เกิดอุบัติเหตุต่างๆได้ง่าย เป็นต้น

7. สาเหตุอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีสาเหตุบางอย่างที่อาจยังไม่ใคร่เป็นปัญหามากนักสำหรับบ้าน เมืองเรา เช่น การทดลองระเบิดปรมาณูของเหล่าบรรดาประเทศมหาอำนาจ ซึ่งทำให้เกิดฝุ่นกัมมันตภาพรังสีแผ่กระจายไปในบรรยายกาศได้เป็นระยะทาง ไกลๆนับเป็นพันๆไมล์นั้น อาจเป็นผลทำให้อากาศของประเทศไทยเราเกิดมีฝุ่นกัมมันตภาพรังสีเจือปนอยู่ก็ ได้

ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซต์ในอากาศ ปริมาณของสิ่งสกปรกที่มีอยู่ในอากาศย่อมขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศและ สภาพดินฟ้าอากาศของท้องถิ่นด้วย เช่น ถ้าหากเมืองตั้งอยู่บนพื้นที่ราบที่ลมพัดผ่านอยู่ตลอดเวลา ปริมาณของสิ่งสกปรกในอากาศเสียก็จะลดลงได้ง่าย แต่ตรงกันข้าม เมืองที่ตั้งอยู่ตามหุบเขาหรือที่อับอากาศ มีกระแสลมผ่านไม่สะดวก ปริมาณของสิ่งสกปรกในอากาศก็จะลดลงได้ยาก อย่างไรก็ดี ในเรื่องนี้ธรรมชาติอาจจะขาดความยุติธรรมอยู่บ้าง กล่าวคือ เมืองที่เป็นตัวการทำให้อากาศเสียหรืออากาศสกปรกกลับไม่เดือดร้อนเพราะสิ่ง โสโครกที่ตัวเองได้สร้างขึ้นไว้ เช่น ในสหรัฐอเมริกาเคยปรากฏว่า อากาศสกปรกจากเมืองเซนต์หลุยส์ได้พัดเข้าไปทำความเดือดร้อนให้แก่เมือง ต่างๆในรัฐอิลลินอยส์ เป็นต้น นอกจากนี้ในทุกๆแห่งที่มีอากาศเสีย อากาศจะสะอาดบริสุทธิ์ดีขึ้นหลังจากที่มีฝนตกชำระล้างสิ่งสกปรกทั้งหลายที่ มีอยู่ในอากาศนั้นออกไปแล้ว แต่ว่าสิ่งสกปรกเหล่านี้จะทำให้ดินเป็นกรดมากขึ้น และไม่เหมาะกับการเพาะปลูก

กลุ่มทางการแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ในเมืองลอสแองเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐฯ ได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานของสิ่งที่ทำให้อากาศสกปรกไว้ดังนี้

ตารางแสดงมาตรฐานของสิ่งสกปรกในอากาศ

อากาศเสีย
(Pollution)
ระดับที่ร่างกายมนุษย์ทนได้
(Man Allowable Concentration) (p.p.m)
ขั้นเตือน
(Warning)
ขั้นระวัง
(Alert)
ขั้นอันตราย
(Danger)
ออกไซต์ของไนโตรเจน
(Oxide of Nitrogen)
โอโซน (Ozone)
ซัลเฟอร์ไดออกไซต์
(Sulfur dioxide)
คาร์บอนมอนอกไซต์
(Carbon monoxide)


3.0
0.5

3.0

100.0


5.0
1.0

5.0

200.0

10.0
1.5

10.0

300.0

p.p.m. ย่อมาจาก part per million หรือส่วนในล้านส่วน หมายความว่า ในอากาศหนึ่งล้านส่วนจะมีสิ่งสกปรกอยู่กี่ส่วน

โดยทั่วไปถือกันว่า ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซต์เป็นดัชนีที่สำคัญที่แสดงว่าอากาศสกปรกมากหรือน้อย เพียงใด ผลการสำรวจก๊าซนี้ในกรุงเทพมหานครหลายครั้ง โดยกองอนามัยสิ่งแวดล้อมของกองอนามัย เมื่อ พ.ศ. 2513 ปรากฏว่า มีอยู่โดยเฉลี่ย 100 p.p.m จึงอยู่ในขั้นเตือน (Warning) ว่าอากาศในกรุงเทพเริ่มสกปรกแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในขณะที่การจราจรติดขัดและอากาศนิ่งหรือลมสงบด้วย ตรงบริเวณนั้นๆย่อมเชื่อได้ว่ามีก๊าซคาร์บอนมอนอกไซต์เกิน 100 p.p.m. อย่างแน่นอน อย่างไรก็ดีสภาพทางฟิสิกส์ของอากาศ เช่น ความร้อน ความชุ่มชื้น การเคลื่อนไหวของอากาศรวมทั้งอัตราการฟุ้งกระจายของก๊าซภายในกรุงเทพมหานคร มีความแตกต่างไปจากอากาศของเมืองลอสแองเจลิส ดังนั้น เราก็น่าจะนำเอาสิ่งเหล่านี้มาพิจารณาเปรียบเทียบเพื่อจะได้กำหนดเกณฑ์ มาตรฐานของอากาศได้ถูกต้องมากขึ้น

อันตรายจากอากาศสกปรก


1. อันตรายต่อสุขภาพ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

1.1 อันตรายจากก๊าซต่างๆ ที่พบกันมาก ได้แก่
1.1.1 ก๊าซกำมะถันไดออกไซต์ (SO2) เป็นก๊าซที่มีกลิ่นเหม็น ทำอันตรายต่อปอดและส่วนอื่นๆของระบบทางเดินของลมหายใจได้ เช่น ทำให้เป็นโรคเยื่อในปอดพอง โรคเยื่อในจมูกอักเสบเรื้อรัง โรคหายใจไม่ออก เป็นต้น นอกจากนี้ยังทำให้แสบตาและแสบจมูกเกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนังอย่างมาก และทำลายเคลือบฟันทำให้ฟันผุอีกด้วย
1.1.2 ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซต์ (CO) ทำให้เม็ดโลหิตแดงไม่สามารถรับก๊าซออกซิเจนจากปอดได้ตามปกติ ร่างกายจึงอ่อนเพลีย เพราะได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ถ้าสูดเข้าไปเล็กน้อยจะทำให้คลื่นไส้อาเจียน เวียนศีรษะ มึนงง หายใจอึดอัด ระบบประสาททำงานช้า ถ้าได้รับเข้าไปมากๆจะทำให้การหายใจหยุดชะงักและเสียชีวิตได้ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ความจำเสื่อมและเบื่ออาหารได้
1.1.3 ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) หรือก๊าซไข่เน่า ทำให้ประสาทรับกลิ่นถูกทำลายหรือหมดความรู้สึก ถ้าร่างกายได้รับก๊าซนี้มากๆ ระบบหายใจจะถูกทำลายและอาจถึงแก่ชีวิตได้
1.1.4 ก๊าซโอโซน (O3) ทำให้เยื่อตา เยื่อภายในจมูก และทางเดินของลมหายใจอักเสบ รวมทั้งปวดศีรษะด้วย

1.1.5 ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน เช่น ไนตริกออกไซด์ (NO) มีกลิ่นฉุนทำลายเยื่อจมูกและหลอดลม ขัดขวางการรับออกซิเจนของเม็ดโลหิตแดง ไนโตรเจนได้ออกไซด์ (NO2) มีกลิ่นฉุนน้อยกว่าไนตริกออกไซต์ แต่ทำให้บรรยากาศมืดมัว คนหรือสัตว์ที่อยูาในบรรยายกาศนั้นจะมีอาการหลอดลมอักเสบ ถ้ามีก๊าซนี้มากๆอาจทำให้เกิดอาการปอดอักเสบ และมีเนื้องอกในปอด
1.1.6 ก๊าซไฮโดรคาร์บอน (HC) เมื่อหายใจเข้าไปจะทำให้รู้สึกเวียนศีรษะ หัวใจเต้นแรง และมึนเมา ในวงการแพทย์เชื่อกันว่าโรคมะเร็งในปอดมีสาเหตุมาจากไฮโดรคาร์บอนนี้ด้วย

(ก๊าซที่ทำให้อากาศเสียส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักมากกว่าอากาศธรรมดา นอกจากก๊าซคาร์บอนมอนอกไซต์ ดังนั้น โอกาสที่คนจะสัมผัสกับอากาศสกปรกจึงมีมากและเป็นอันตรายได้ง่าย)

1.2 อันตรายจากฝุ่นละออง เขม่า ควัน ไอเสีย และละอองเกสรดอกไม้ต่างๆ อาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย ดังนี้
1.2.1 ทำให้เกิดอาการแพ้ เช่น บางคนแพ้ฝุ่นละออง หรือเกสรดอกไม้บางอย่างแล้วทำให้เป็นโรคหืดหรือโรคแพ้อื่นๆ
1.2.2 ทำให้เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินของลมหายใจได้ง่าย เช่น โรคหลอดลมอีกเสบ โรคเนื้อร้ายในปอด ปอดอ่อนแอมีความต้านทานโรคต่ำ
1.2.3 ฝุ่นละอองจากสารบางอย่าง เช่น สารซิลิกา จะทำให้ร่างกายหายใจถี่ มีความต้านทานโรคต่ำ และสมรรถภาพทางกายลดลง ตะกั่วหรือไอระเหยของตะกั่วที่ปนออกมากับไอเสียรถยนต์ทำให้เกิดอาการปวด ศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวจนกระทั่งถึงเป้นอัมพาตได้

1.3 อันตรายจากเชื้อโรค ส่วนใหญ่เป็นอันตรายจากเชื้อโรคในระบบของทางเดินหายใจมากกว่าโรคในระบบอื่นๆ ซึ่งเชื้อโรคเหล่านี้จะแขวนลอยหรือฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศ เช่น เชื้อวัณโรคของปอด เชื้อไข้หวัดใหญ่ เชื้อไข้หวัดธรรมดา เชื้อไข้ปอดอักเสบ เป็นต้น

1.4 อันตรายจาก ดี.ดี.ที. สารเคมีต่างๆที่ใช้สำหรับการเกษตรกรรม เช่น ยาฆ่าแมลง หรือยากำจัดศัตรูพืชต่างๆ สารเหล่านี้เมื่อสะสมไว้ภายในร่างกายได้ปริมาณมากพอจะทำให้เกิดอาการทาง ระบบประสาท เช่น มึนศีรษะ และเป็นลมได้

2. อันตรายในทางสัญจร พวกฝุ่นละออง เขม่า ควันไฟ ไอเสีย รวมทั้งหมอกและควันอื่นๆ หากมีมากจะทำให้ถนนหนทางและท้องฟ้ามืดมัว มองเห็นไม่ชัด ไม่สะดวกในการสัญจรไปมา ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางโดยทางบก ทางน้ำหรือทางอากาศ ก็อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย นอกจากยวดยานพาหนะต่างๆที่อาจจะเกิดอุบัติเหตุอันเนื่องมาจากอากาศเสีย หรืออากาศสกปรกทำให้ทัศนวิสัยไม่ดีแล้ว ยังเชื่อกันว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในการสัญจร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการขับรถยนต์นั้น อาจเนื่องมาจากผู้ขับขี่มีอาการอ่อนเพลียหรือง่วงเหงาหาวนอน ซึ่งเกิดจากก๊าซคาร์บอนมอนอกไซต์ได้อีกด้วย

3. อันตรายต่อทรัพย์สิน วัตถุเคมีที่เบาซึ่งลอยอยู่ในอากาศ สามารถกัดกร่อนวัสดุก่อสร้างอาคารบ้านเรือน โบราณสถาน สะพานเหล็ก โลหะ สี ยาง ฯลฯ ส่วนเศษละอองในอากาศที่ติดตัวมากับควันหรือไอเสียของโรงงานนั้น เศษละอองที่มีน้ำหนักมากก็จะตกลงมายังพื้นดินและทำลายสิ่งของเครื่องใช้ได้ เครื่องประดับบ้าน เสื้อผ้าเครื่องนุ่มห่ม นอกจากนี้ก๊าซบางอย่าง เช่น ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ยังทำให้ผลิตภัณฑ์หรือเครื่องใช้ที่ทำด้วยเงินเปลี่ยนเป็นสีดำ และก๊าซโอโซนทำให้ยางแตกร้าวและทำให้พลาสติกอ่อนตัวได้

4. อันตรายต่อพืชพันธุ์ธัญญาหาร มีก๊าซหลายอย่างในอากาศเสียที่เป็นอันตรายต่อพืช เช่น กำมะถันไดออกไซต์ (SO2) ไฮโดรเจนฟลูออไรด์ (HF) ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) คลอรีน (Cl2) ไฮโดรเจนคลอไรด์ (HCl) และออกไซต์ของไนโตรเจน ก๊าซเหล่านี้จะทำให้สีเขียวของใบพืชถูกทำลาย ใบพืชจะเหี่ยวแห้ง เน่าหรือคล้ายถูกไฟลวก (ตายนึ่ง) และจะตายไปในที่สุด นอกจากฝุ่นละออง เขม่า ควันต่างๆยังอาจจับอยู่ตามใบไม้เต็มไปหมด และอากาศเสียที่เรียกว่าหมอกปนควัน (Smog) ซึ่งมีก๊าซโอโซนอยู่มาก จะเป็นตัวกั้นแสงอาทิตย์ ทำให้แสงส่องถึงพื้นโลกน้อยลง ซึ่งจะเป็นผลให้การสังเคราะห์แสงหรือการปรุงอาหารของพืชเสียไปด้วย ทำให้พืชพันธุ์ต่างๆไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร

องค์ประกอบที่ทำให้ได้รับอันตรายจากอากาศสกปรก


การที่คนเราจะได้รับอันตรายมากหรือน้อยจากอากาศสกปรกหรืออากาศเสีย ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่สำคัญๆ ดังนี้

1. ลักษณะและปริมาณของสิ่งสกปรกที่มีอยู่ในอากาศ เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าอากาศที่อยู่รอบตัวเราเป็นของผสม ซึ่งประกอบด้วยก๊าซสำคัญ 3 อย่าง คือ ก๊าซออกซิเจน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ และก๊าซไนโตรเจน โดยปกติแล้วสิ่งเหล่านี้จะไม่มีโทษต่อร่างกาย แต่ถ้ามีสิ่งเจือปน เช่น ก๊าซกำมะถันไดออกไซต์ ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟต์ ก๊าซโอโซน ก๊าซออกไซต์ของไนโตรเจน ก๊าซไฮโดรคาร์บอน ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีสิ่งเจือปนอื่นๆ ที่ไม่ใช่ก๊าซ เช่น ฝุ่นละออง เขม่า ควันไฟ ไอเสียต่างๆ ก็อาจทำให้อากาศสกปรกได้อีก สิ่งเจือปนต่างๆที่ร่างกายได้รับเข้าไปเหล่านี้ ถ้ารับเข้าไปมากก็จะเกิดอันตรายต่อร่างกายเพิ่มมากขึ้น โดยปริมาณที่ได้รับซึ่งทำให้เป็นอันตรายต่อร่างกายนั้นจะแตกต่างกันไปมาก บางอย่างแม้ร่างกายได้รับเพียงเล็กน้อยก็เกิดอันตรายขึ้นได้ เช่น ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซต์เพียงอต่มีส่วนผสมอยู่ในอากาศ 0.2% ก็สามารถทำอันตรายต่อร่างกายได้แล้ว แต่ถ้ามีส่วนผสมอยู่ในอากาศ 1% จะสามารถทำให้คนที่ได้รับก๊าซตายได้ภายใน 10 นาที ดังนี้เป็นต้น

2.สภาพของร่างกายและการปฏิบัติตน โดยทั่วไป ผู้ที่มีสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรง ย่อมจะมีความต้านทานต่ออากาศสกปรกได้มากกว่าผู้ที่สุขภาพไม่ดี ร่างกายอ่อนแอ รวมทั้งเด็กและผู้ชราด้วย สำหรับการปฏิบัติตนก็เป็นอีกส่วนหนึ่งซึ่งมีความสำคัญมาก ถ้าหากบุคคลนั้นรู้จักเอาใจใส่ระวังรักษาสุขภาพทั่วไปของตนเองให้ดีอยู่เสมอ กล่าวคือ เมื่อทราบว่ามีอากาศสกปรกเกิดขึ้น ก็พยายามกำจัดอากาศสกปรกให้หมดสิ้นไปถ้าทำได้ หรือถ้าจำเป็นต้องเผชิญกับอากาศสกปรกเช่นนั้น ก็พยายามป้องกันตัวโดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีอากาศเสีย หรืออาจใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น ผ้าเช็ดหน้าปิดปากและจมูก หน้ากาก เป็นต้น

การป้องกันไม่ให้อากาศสกปรก


เนื่องจากประเทศไทยเราเป็นประเทศเกษตรกรรม โรงงานอุตสาหกรรมยังมีไม่มากนัก และบ้านเรือนโดยทั่วๆไปก็อยู่กันอย่างไม่แออัด ตลอดจนถนนหนทางก็ยังมีน้อย ดังนั้น หากจะกล่าวกันโดยทั่วไปแล้ว ในเรื่องอากาศสกปรกนี้จึงยังไม่เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญนัก นอกจากบางแห่งในเมืองใหญ่ๆ เช่น กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีลักษณะตรงข้ามกับที่ได้กล่าวมาแล้ว อากาศสกปรกได้เริ่มเป็นปัญหาขึ้นมาบ้างพอสมควร เราจึงควรทราบหลักทั่วไปในการป้องกันไม่ให้อากาศสกปรกเอาไว้บ้าง ดังต่อไปนี้

1. บรรดาโรงงานอุตสาหกรรมทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้อากาศสกปรก หรือก่อเหตุรำคาญต่างๆ รัฐบาลควรจะได้ออกกฏหมายบังคับโรงงานให้ออกไปตั้งอยู่ไกลจากที่อยู่อาศัย ของประชาชน ซึ่งจัดเป็นแหล่งหรือย่านอุตสาหกรรมไว้โดยเฉพาะ การวางผังเมืองจะมีส่วนช่วยป้องกันได้เป็นอย่างมากในเรื่องนี้

2. หากโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภท ยังไม่สามารถขยับขยายออกไปยังแหล่งอุตสาหกรรมได้ เพราะอาจตั้งอยู่มานาน หรือเมืองได้ขยายความเจริญไปถึงเอง หรือด้วยเหตุผลใดก็ตาม เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องควรจะได้แนะนำและควบคุมให้เจ้าของกิจการรู้จัก ดำเนินวิธีการต่างๆ เพื่อลดปริมาณสิ่งสกปรกซึ่งจะเป็นสาเหตุทำให้อากาศสกปรกลงให้มากที่สุดเท่า ที่จะมากได้ เช่น การติดตั้งเครื่องกำจัดควันที่ปลายปล่องควันของโรงงาน เป็นต้น

3. ควรจะได้มีการควบคุมการก่อสร้างโรงงานต่างๆ หรือการจัดสรรที่ดินเพื่อการปลูกสร้างที่อยู่อาศัย โดยให้มีการระบายถ่ายเทอากาศที่ดี มีทางระบายน้ำโสโครกและส้วมให้ถูกสุขลักษณะ มีการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่ถูกวิธี มีถนนหนทางอย่างสะดวกและเพียงพอ เป็นต้น

4. เนื่องจากไอเสียรถยนต์เป็นสาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดอากาศสกปรกตาม เมืองใหญ่ๆ จึงควรจะได้มีการตรวจสอบสภาพรถยนต์ทุกชนิด ที่ใช้ในเขตที่มีการจราจรติดขัดอย่างเอาจริงเอาจัง และปล่อยให้รถยนต์ที่มีสภาพเครืองยนต์เก่าชำรุดแล่นอยู่ เพราะจะมีเขม่าควันหรือไอเสียออกมารบกวนผู้อื่น ทำให้อากาศสกปรกได้

5. ควรจะทำความสะอาดถนนหนทางต่างๆ หรือสาธารณสถานด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย เช่น ควรใช้รถสำหรับกวาดถนนและควรจะกวาดถนนในเวลากลางคืน ไม่ควรใช้คนกวาดถนนอันเป็นเหตุให้ฝุ่นละอองฟุ้งกระจายไปทั่ว ในขณะที่คนกำลังเดินทางกันอยู่

6. ควรจะให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องอากาศสกปรก เช่น ให้รู้จักสาเหตุ โทษและการป้องกันอากาศสกปรก และควรมีรายงานสภาพความสกปรกของอากาศในชุมชนให้ประชาชนได้ทราบเป็นประจำ

7. ควรจะได้มีการพิจารณาใช้กฏหมายเกี่ยวกับการลงโทษผู้สูบบุหรี่ภายในโรง ภาพยนตร์หรือโรงมหรสพต่างๆ อย่างเข้มงวดกวดขัน เพราะนอกจากจะทำให้อากาศสกปรกแล้ว ยังก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้อื่นอีกด้วย

น้ำสกปรก


เราเคยทราบมาแล้วว่า น้ำสะอาดโดยทั่วไปหมายถึง น้ำที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส รวมทั้งไม่มีสิ่งเจือปนต่างๆที่ให้โทษต่อร่างกายผสมอยู่ แต่ถ้าจะกล่าวให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลแล้ว น้ำสะอาดควรเป็นน้ำที่ประกอบไปด้วยคุณสมบัติ ดังนี้

1. คุณสมบัติทางฟิสิกส์ เมื่อนำน้ำไปตรวจแล้วจะไม่พบว่ามีสี ความขุ่น กลิ่นและรสต่างๆเจือปนอยู่
2. คุณสมบัติทางเคมี เมื่อนำน้ำไปตรวจแล้วจะไม่พบว่ามีวัตถุเคมี แร่ธาตุและก๊าซที่ไม่เหมาะสมปนอยู่ในน้ำ ซึ่งอาจทำให้น้ำนั้นเกิดความกระด้าง หรือเป็นโทษต่อร่างกายได้
3. คุณสมบัติทางชีวภาพ เมื่อนำน้ำไปตรวจแล้วจะไม่พบว่า มีพวกสัตว์และพืชหรือเชื้อโรคต่างๆเจือปนอยู่ในน้ำนั้น

น้ำสกปรกเป็นน้ำที่มัคุณสมบัติตรงข้ามกับน้ำสะอาดดังกล่าว ไม่ว่าจะขาดคุณสมบัติเพียงข้อหนึ่งข้อใดก็ตาม อาจกล่าวได้ว่าน้ำนั้นเป็นน้ำที่ไม่สะอาด ถ้าหากน้ำนั้นมีสารที่เป็นพิษต่อร่างกายผสมอยู่หรือมีก๊าซออกซิเจนผสมอยู่ ในน้ำน้อยมาก จนมีผลทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพร่างกายด้วยแล้ว ก็เรียกได้ว่าน้ำนั้นเป็นน้ำสกปรกหรือน้ำโสโครกหรือน้ำเน่า น้ำสกปรกหรือน้ำเน่า จึงหมายถึง น้ำที่มีคุณสมบัติแตกต่างไปจากคุณสมบัติของน้ำตามธรรมชาติ หรือมีคุณภาพเสื่อมโทรมจนเกิดผลเสียหายจากการใช้ประโยชน์แหล่งน้ำนั้น เช่น เกิดอันตรายต่อสุขภาพเมื่อประชาชนนำมาใช้อุปโภคหรือบริโภค หรือทำให้สัตว์นั้นตายหรือไม่สามารถอยู่อาศัยในแหล่งน้ำนั้นได้

สาเหตุที่ทำให้น้ำสกปรกหรือน้ำเน่า


น้ำที่คนเรานำมาใช้เพื่อประโยชน์ในการดื่ม อาบ ซัก ล้าง หรือทำความสะอาดต่างๆ รวมทั้งใช้ในการเกษตร การอุตสาหกรรมและการคมนาคมด้วย พอจะกล่าวสรุปถึงแหล่งที่มาได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ น้ำฝน น้ำบนพื้นดินหรือน้ำผิวดิน และน้ำใต้ดิน แหล่งน้ำทั้ง 3 ประเภทนี้มีโอกาสจะสกปรกได้ โดยการเจือจางของสิ่งสปรกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสารเคมีหรือสิ่งมีชีวิต ซึ่งได้แก่สัตว์และพืชต่างๆดังได้กล่าวมาแล้ว ความสกปรกหรือความโสโครกของน้ำหรือมลพิษทางน้ำ (Water pollution) นี้จะมีมากหรือน้อยย่อมขึ้นอยู่กับสาเหตุต่างๆดังต่อไปนี้

1. การระบายน้ำจากอาคารบ้านเรือนต่างๆ น้ำโสโครกที่ประชาชนระบายออกไปนั้นย่อมเต็มไปด้วยสิ่งสกปรกสารพัดอย่างเจือ ปนอยู่ โดยเฉพาะน้ำโสโครกที่ระบายออกไปจากชุมชนหรือเมืองใหญ่ๆ อาจทำให้น้ำทั้งแม่น้ำโสโครกขึ้นได้ ดังตัวอย่างแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบริเวณกรุงเทพมหานคร เป็นต้น นอกจากจะพบว่ามีความสกปรกมากแล้ว ยังพบว่าบางแห่งมีก๊าซออกซิเจนในน้ำน้อยมากหรือไม่มีเลย การจัดการระบายน้ำที่ถูกต้องตามหลักการสุขาภิบาลจึงเป็นสิ่งสำคัญมากอย่าง หนึ่งในการวางผังเมืองเพื่อจัดสร้างชุมชนขึ้นใหม่

2. ประชาชนที่อาศัยอยู่บนเรือนแพ บรรดาผู้คนที่อาศัยอยู้เป็นประจำในเรือนแพซึ่งสัญจรไปมาในแม่น้ำลำคลอง ต่างๆมักมีนิสัยมักง่าย ขาดความรับผิดชอบและขาดความร่วมมือกันรักษาความสะอาด มักถ่ายอุจจาระปัสสาวะหรือทิ้งของโสโครกต่างๆลงในน้ำอยู่เป็นประจำ จนทำให้น้ำในแม่น้ำลำคลองโดยทั่วไปมีเศษขยะและสิ่งสกปรกอื่นๆลอยปนอยู่มาก มาย

3. ประชาชนที่อาศัยอยู่ริมฝั่งน้ำ ผู้คนที่ตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ริมแม่น้ำลำคลองก็เช่นเดียวกัน มักไม่ช่วยกันรักษาความสะอาดของแหล่งน้ำ ตรงกันข้าม กลับมักง่าย เช่น ทิ้งขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลหรือซากสัตว์ตายลงไป ยิ่งกว่านั้นยังทำส้วมถ่ายอุจจาระปัสสาวะลงไปในแหล่วน้ำนั้นด้วย ซึ่งทำให้แหล่งน้ำสกปรกหรือโสโครกเป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้ว่าเมื่อมีอหิวาตกโรคเกิดขึ้น จะระบาดไปตามลำน้ำต่างๆอย่างรวดเร็ว และจะระบาดอยู่เป็นเวลานาน อย่างไรก็ดี ในการตรวจพบเชื้อโรค เช่น อหิวาต์ บิด ไทฟอยด์ ย่อมแสดงว่ามีอุจจาระของคนลงไปอยู่ในแหล่งน้ำอย่างแน่ชัด

4. โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น โรงงานน้ำตาล โรงงานกระดาษ โรงงานฟอกหนัง โรงงานเส้นหมี่ โรงงานผงชูรส โรงงานสุรา โรงงานเบียร์ ฯลฯ ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำลำคลอง มักจะทิ้งสิ่งที่ไม่ใช้หรือของเสียต่างๆลงในน้ำ เพราะความมักง่ายและเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว จนบางครั้งทำให้น้ำทั้งแม่น้ำสกปรกหรือเน่า ก่อความเดือดร้อนแก่ประชาชนผู้ใช้น้ำ และยังทำลายทรัพยากรธรรมชาติในน้ำ เช่น ปลา ปู หอย อีกด้วย เคยมีโรงงานน้ำตาลที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ได้ปล่อยให้น้ำเหลืองหรือโมลาสไหลลงไปสู่แม่น้ำแม่กลอง ทำให้น้ำในแม่น้ำแม่กลองโสโครกหรือเน่าจนปลา ปู หอยลอยขึ้นมาตายกันอย่างน่าอนาถ ทั้งนี้เพราะน้ำขาดก๊าซออกซิเจนละลายปนอยู่เท่าที่ควร จึงเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำซึ่งต้องการใช้ก๊าซออกซิเจนสำหรับหายใจ

5. การใช้ปุ๋ยหรือยาฆ่าแมลงหรือยาทำลายวัชพืชในการเกษตร ซึ่งทำให้มีสารเคมีตกค้างอยู่ทั้งในดินและน้ำ ยิ่งนานวันขึ้นก็ยิ่งมีสารตกค้างมากขึ้น เพราะสารเหล่านี้ยากแก่การสลายตัว ในที่สุดก็จะมีปริมาณมากพอจนทำให้แหล่งน้ำที่ใช้เพื่อการเกษตรกรรมมีสาร เคมีตกค้างซึ่งอาจเป็นอันตรายได้

ก๊าซออกซิเจนในน้ำ ออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำ มีชื่อเรียกว่า Dissolved Oxygen หรือ D.O. ซึ่งมีหน่วยวัดเป็นมิลลิกรัมต่อลิตร หรือ mg/L โดยทั่วไปถือว่า D.O. เป้นดัชนีแสดงให้ทราบถึงความสกปรกของน้ำ ถ้าน้ำเน่าก็หมายความว่ามี D.O. ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของความสามารถที่แหล่งน้ำบริเวณนั้นจะละลายออกซิเจนไว้ได้ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณกรุงเทพมหานคร มีความสามารถที่จะละลายออกซิเจนไว้ได้ 7.0 mgL ดังนั้น ครึ่งหนึ่งคือ 3.5 mgL ถ้าต่ำกว่านี้ก็แสดงว่าน้ำเริ่มเน่าหรือสกปรกมาก เพราะตามมาตรฐานโดยทั่วไป D.O. ของน้ำธรรมดาต้องไม่ต่ำกว่า 4.0 mg/L แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า ผลการวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระพุทธยอดฟ้า เมื่อ พ.ศ. 2514 โดยกองอนามัยสิ่งแวดล้อมของกรมอนามัย ปรากฏว่า D.O.= 0 (ศูนย์) ซึ่งแสดงว่าขณะนั้นไม่มีออกซิเจนเหลืออยู่เลย ดังนั้น ถ้าเอาน้ำนั้นมาเลี้ยงปลา ปลาก็จะตาย หรือถ้าเอาน้ำนั้นมาต้ม น้ำก็จะเดือดเลยโดยไม่มีฟองอากาศปุดๆขึ้นมาก่อน (โดยทั่วไป ปลามักจะตายเมื่อ D.O. ของน้ำต่ำกว่า 2 mgL )

ตัวอย่างกระบวนการที่ทำให้น้ำเน่า ตัวอย่างเช่น โรงงานน้ำตาล นอกจากจะทำให้น้ำเสียโดยการปล่อยกากน้ำตาลหรือโมลาส (Molasses) ลงไปสู่แม่น้ำลำคลองดังได้กล่าวมาแล้ว โรงงานน้ำตาลยังทิ้งกากอ้อยหรือน้ำล้างเครื่องลงไปในน้ำอีกด้วย กากอ้อยนั้นเนื่องจากยังมีน้ำตาลเหลืออยู่บ้าง จึงทำให้พวกบัคเตรีในน้ำเจริญเติบโตและเกิดการหมักหมมขึ้น ทำให้น้ำเน่า ส่วนน้ำล้างเครื่องนั้น ถ้ายังมีอุณหภูมิสูงอยู่ เช่น อุณหภูมิเกิน 40 องศาเซลเซียส ก็จะทำให้สัตว์น้ำในบริเวณนั้นได้รับอันตราย โดยปกติน้ำล้างเครื่องจะมีฝาน้ำมันลอยปนอยู่ด้วย ฝาน้ำมันจะทำให้ก๊าซออกซิเจนผสมลงไปในน้ำตามวิธีการของธรรมชาติได้ยากขึ้น และทำให้ก๊าซออกซิเจนในน้ำลดลง ซึ่งอาจมีผลกระทบกระเทือนต่อสิ่งมีชีวิตทั้งสัตว์และพืชที่อาศัยอยู่ในน้ำ และทำให้การฟอกตัวตามธรรมชาติของน้ำต้องเสียไป จึงทำให้น้ำเน่าได้ง่ายขึ้น

นอกจากนี้ โรงงานอุตสาหกรรมทางเคมีบางแห่ง ได้เคยปล่อยวัตถุเคมีลงในแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ตรวจพบสารที่เป็นอันตรายในน้ำบริเวณนั้น เช่น ปรอท และแคดเมียม แต่ยังมีปริมาณต่ำอยู่ ในประเทศญี่ปุ่นเคยปรากฏว่าโรงงานอุตสาหกรรมทางเคมีได้ปล่อยปรอทและแคดเมี ยมลงสู่ทะเล ทำให้สารเหล่านี้เข้าสู่ตัวปลา ปู หอย เมื่อคนกินเข้าไปก็มีกาสะสมสารเหล่านี้ไว้ในร่างกาย ถ้าเป็นสารปรอทจะทำให้เกิดโรคมินามาตะ (มีอาการต่อสมองและประสาทส่วนกลาง เช่น ทำให้เดินโซเซ จับสิ่งของไม่ถนัด ชาตามนิ้วมือ พูดลำบาก ) ถ้าเป็นสารแคดเมียมจะทำให้เกิดโรค อิไต-อิไต (มีอาการปวดเนื่องจากกระดูกเปราะ ปวดหลังบริเวณเอวและปวดกล้ามเนื้อ น้ำหนักตัวลด ฯลฯ) เป็นต้น ซึ่งโรคทั้งสองนี้แม้จะพบในประเทศญี่ปุ่นก็จริง แต่ถ้าประเทศเราขืนปล่อยให้น้ำสกปรกมากขึ้น อาจพบทั้งสองโรคนี้ในบ้านเมืองเราก็เป็นได้

องค์ประกอบที่ทำให้ได้รับอันตรายจากน้ำสกปรก


การที่คนเราจะได้รับอันตรายจากน้ำ หรือน้ำสกปรกมากหรือน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่สำคัญๆดังนี้

1. ลักษณะและปริมาณของสิ่งโสโครกที่อยู่ในน้ำ โดยทั่วไปถ้าหากมีสิ่งสกปรกที่เจือปรอยู่ในน้ำนั้นเป็นสิ่งสกปรกทางด้าน ฟิสิกส์หรือทางด้านเคมี ก็มักจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนเราไม่รวดเร็วนัก อาจจะค่อยเป็นค่อยไป บางอย่างจะต้องมีการสะสมไว้ในร่างกายในปริมาณที่มากพอจึงจะเกิดโทษขึ้นได้ เช่น น้ำที่มีตะกั่วเจือปน น้ำกระด้างเป็นต้น แต่สารเคมีบางอย่างซึ่งโรงงานอุตสาหกรรมอาจปล่อยลงในน้ำแล้ว อาจทำให้เกิดอันตรายกับผู้ใช้น้ำนั้นได้อย่างรวดเร็ว เช่น ปรอท แคดเมียม โซดาไฟ เป็นต้น สำหรับสิ่งสกปรกทางด้านชีวภาพนั้น ได้แก่ บรรดาเชื้อโรคต่างๆ โดยมากจะกระทำให้เกิดโรคทางเดินอาหารและพยาธิลำไส้ เชื้อโรคที่ร้ายแรงบางชนิด เช่น เชื้ออหิวาตกโรค หรือเชื้อไข้รากสาดน้อย อาจเป็นอันตรายมาก โดยอันตรายที่ได้รับจากโรคติดต่อเหล่านี้จะรุนแรง รวดเร็ว และอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

2. การปฏิบัติตนของผู้ใช้น้ำ ก่อนที่จะใช้น้ำในแหล่งน้ำที่สงสัยว่าจะไม่สะอาดพอ ควรจะพิจารณาให้แน่นอนเสียก่อนว่าปลอดภัยหรือไม่ โดยการส่งตัวอย่างของน้ำไปตรวจคุณสมบัติทางฟิสิกส์ ทางเคมีและทางบัคเตรีได้ที่กรมอนามัยหรือกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ถ้าพบว่าน้ำนั้นไม่สะอาดพอก็จะต้องจัดการให้เป็นที่เรียบร้อยเสียก่อนนำน้ำ ไปใช้ เช่น ทำลายความขุ่นของน้ำด้วยการกรอง ทำลายความกระด้างของน้ำด้วยการต้มหรือใส่ปูนขาว และทำลายเชื้อโรคในน้ำด้วยการใส่ผงปูนคลอรีน เป็นต้น ดังนั้น ถ้าผู้ใช้น้ำรู้จักระมัดระวังหรือหลีกเลี่ยงการใช้น้ำที่สกปรกได้ก็จะ ปลอดภัยมากขึ้น

ผลเสียหรืออันตรายจากน้ำสกปรก


1. ทางด้านการสาธารณสุข น้ำเสียเป็นอันตรายต่อสุขภาพถ้าหากประชาชนนำน้ำนี้ไปใช้อาบหรือดื่ม อาจทำให้เกิดโรคได้หลายชนิด และอาจทำให้เกิดโรคระบาด เช่น อหิวาตกโรค ไข่รากสาดน้อยและบิด เป็นต้น น้ำเสียอีกประเภทหนึ่งทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมที่มีสารเป็นพิษเจือปน สารเป็นพิษเหล่านี้ทำให้เกิดโรคร้ายแรง เช่น โรคมินามาตะ สาเหตุเกิดจากผู้ป่วยรับประทานปลาที่มีสารปรอทสูง ผู้ป่วยมีอาการเกี่ยวกับประสาท มือเท้าชา ถ้าเป็นมากอาจถึงทุพพลภาพและตายได้ ดังเช่น ในประเทศญี่ปุ่น จากการสำรวจในปี 2516 ปรากฏว่ามีคนตายด้วยโรคนี้ถึง 71 คน โรคอิไต อิไต เกิดจากประชาชนใช้น้ำที่มีสารแคดเมียมในการบริโรคและการเกษตรกรรม โดยผู้ป่วยจะมีอาการทางปัสสาวะและโลหิต มีแคลเซียมน้อยและกระดูกเปราะ นอกจากนี้แม่น้ำลำคลองที่เน่าเสียยังส่งกลิ่นเหม็น ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญเป็นการบั่นทอนสุขภาพของผู้อยู่อาศัยริมแม่ น้ำลำคลองและผู้สัญจรไปมาด้วย

2. ทางด้านการผลิตน้ำเพื่อบริโภคและอุปโภค น้ำเสียมีผลกระทบกระเทือนต่อการผลิตน้ำใช้เป็นอย่างยิ่ง แหล่งน้ำสำหรับผลิตน้ำประปาส่วนใหญ่ได้จากแม่น้ำลำคลอง เมื่อแหล่งน้ำเกิดเน่าเสียมีคุณภาพน้ำลดลง การผลิตน้ำประปาเพื่อให้ได้น้ำที่มีคุณภาพตามมาตรฐานจะต้องเพิ่มค่าใช้จ่าย มากขึ้น เพราะจะต้องจัดทำระบบกำจัดความสกปรกของน้ำเพิ่มขึ้น สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมก็ยังมีความจำเป็นที่จะต้องใช้น้ำที่มีคุณภาพดี เช่น น้ำที่ใช้กับหม้อกลั่นจะต้องใช้น้ำที่อ่อนมาก หรือน้ำใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมกระดาษและเส้นใยต้องการน้ำที่มีปริมาณเหล็ก และแมงกานีสน้อยมาก น้ำเหล่านี้จำเป็นต้องใช้ขบวนการพิเศษ เพื่อทำให้น้ำสะอาดตามมาตรฐานที่ต้องการ เมื่อมีน้ำเสียเกิดขึ้น จึงมีผลกระทบกระเทือนต่อขบวนการผลิตน้ำในการแยกสิ่งเจือปนที่ไม่ต้องการออก ทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น และยังต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมเครื่องอุปกรณ์และเครื่องจักรที่ เสียหายอีกด้วย

3. ทางด้านการประมง น้ำเสียทำให้สัตว์น้ำต่างๆ เช่น ปบา กุ้ง หอย ตาย หรือค่อยๆลดจำนวนลง เนื่องจากไม่สามารถดำรงชีพหรือแพร่พันธุ์ได้ตามธรรมชาติ โดยเฉพาะน้ำเสียที่เกิดจากสารเป็นพิษอาจทำให้ปลาตายทันที ส่วนน้ำเสียที่เกิดจากการลดต่ำของออกซิเจน ถึง แม้จะไม่ทำให้ปลาตายในทันที แต่ก็อาจทำลายพืชและสัตว์น้ำเล็กๆที่เป็นอาหารของปลา จึงทำให้ปลาขาดอาหาร ในที่สุดปลาก็จะลดจำนวนลงทุกที ก่อให้เกิดผลเสียต่อการประมงยิ่งขึ้น ปริมาณออกซิเจนในน้ำ ถ้าหากลดลงมากและทันทีก็อาจทำให้ปลาตายได้ เช่น ในกรณีน้ำเน่าเสียที่แม่น้ำแม่กลอง หรือที่แม่น้ำพอง จังหวัดขอนแก่น จะเห็นว่า ปลาตายลอยแพ ทั้งนี้เนื่องจากโรงงานน้ำตาลปล่อยยน้ำเสียจำนวนมากลงไปในแม่น้ำ ทำให้ปริมาณออกซิเจนละลายในแม่น้ำอย่างรวดเร็ว จนปลาไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้เพราะขาดออกซิเจน

4. ทางด้านการเกษตร น้ำเสียที่มีผลทำให้เกิดความเสียหายต่อเกษตกรนั้น ส่วนใหญ่เป็นน้ำเสียที่มีความเป็นกรดเป็นด่างสูง และมีปริมาณเกลืออนินทรีย์สูง หรือมีสารเป็นพิษต่างๆปนอยู่ ส่วนใหญ่เป็นน้ำเสียที่ทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมลงสู่แม่น้ำลำคลอง น้ำจากแหล่งน้ำเหล่านี้ เมื่อนำไปใช้เพื่อการเกษตรก็จะเกิดผลเสีย เช่น พืชผักไม่เจริญเติบโต นอกจากนี้ การที่ประชาชนใช้ยาฆ่าแมลงและปุ๋ยยังมีผลทำให้สารเคมีตกค้างอยู่ตามพื้นดิน และในท้องร่อง เมื่อฝนตกหรือน้ำท่วมน้ำก็จะพาเอาสารเคมีไหลลงสู่แม่น้ำลำคลอง ทำให้แหล่งน้ำมีสารพิษปะปนอยู่ จึงอาจเกิดอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆได้

5. ทางด้านความสวยงามและการพักผ่อนหย่อนใจ แม่น้ำ ลำธาร และแหล่งน้ำอื่นๆที่สะอาดถูกสุขลักษณะนับเป็นความสวยงามตามธรรมชาติ ผู้คนนิยมใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ เช่น ว่ายน้ำ ตกปลา แล่นเรือ และอื่นๆ แต่ถ้าหากแหล่งน้ำสกปรกและมีกลิ่นเหม็นก็ไม่เหมาะที่จะใช้เป็นสถานที่พัก ผ่อนหย่อนใจ นอกจากนี้ ยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณแหล่งน้ำเน่าด้วย การพัฒนาแหล่งน้ำให้สะอาดและสวยงาม นอกจากจะส่งเสริมสุขภาพของประชาชนโดยทั่วไปแล้ว ยังแสดงถึงการกินดีอยู้ดีของประชาชน และแสดงถึงความเจริญของบ้านเมืองได้อีกด้วย

วิธีป้องกันแหล่งน้ำไม่ให้สกปรก


เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ซึ่งมีพลเมืองประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์เป็นเกษตรกร รวมทั้งการคมนาคมทางบกและทางอากาศก็ยังไม่เพียงพอแก่ความต้องการ ประชาชนจึงจำเป็นต้องใช้แหล่งน้ำต่างๆโดยเฉพาะแม่น้ำลำคลองกันมาก ดังจะเห็นได้ว่า ประชาชนมักนิยมตั้งบ้านเรือนอยู่ริมฝั่งแม่น้ำกันเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น การป้องกันแหล่งน้ำต่างๆไม่ให้สกปรกหรือโสโครกจึงเป็นปัญหาที่สำคัญมาก สมควรที่จะได้มีการร่วมมือกันเพื่อป้องกันไม่ให้แหล่งน้ำเกิดความสกปรกขึ้น ดังต่อไปนี้

1. รัฐบาลควรส่งเสริมในเรื่องการจัดทำน้ำประปา ในท้องถิ่นชนบทหรือประปาโรงเรียนให้มากขึ้น หรืออย่างน้อยก็ควรจัดขุดบ่อน้ำบาดาลในท้องถิ่นทุรกันดารให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อช่วยให้ประชาชนมีแหล่งน้ำสะอาดไว้ใช้ หรือถ้าหากยังขาดงบประมาณอยู่ก็ควรจัดทำแหล่งน้ำที่ถูกสุขลักษณะเพื่อเป็น ตัวอย่าง แล้วแนะนำช่วยเหลือให้ประชาชนได้ร่วมมือกันจัดสร้างแหล่งน้ำขึ้นใช้เอง

2. ในการจัดสรรที่ดินเพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัย สร้างตลาดหรือสร้างเมืองใหม่ ควรคำนึงถึงเรื่องการระบายน้ำโสโครกไว้ด้วยเสมอ โดยควรจะวางแผนผังให้ถูกหลักการสุขาภิบาล เพื่อป้องกันมิให้น้ำโสโครกขังเฉอะแฉะตามใต้ถุนบ้านเรือนหรือบริเวณทั่วไป เพราะมักจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง สัตว์นำโรคอื่นๆและส่งกลิ่นเหม็นอีกด้วย การที่จะคิดแก้ไขกันภายหลังนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมาก ดังตัวอย่างที่ชุมชนหลายแห่งของที่ดินจัดสรรในกรุงเทพมหานครกำลังเผชิญ ปัญหาเรื่องการระบายน้ำโสโครกอยู่ในขณะนี้

3. การระบายน้ำเสียจากบ้านเรือน ตลาด หรือชุมชนนั้นมีวิธีการทำได้หลายตัวอย่างด้วยกันมิใช่ว่าจะระบายน้ำลงสู่ แม่น้ำลำคลองได้เพียงอย่างเดียว เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นก็จะทำให้น้ำในแม่น้ำลำคลองเน่าหรือโสโครกได้ง่าย น่าจะมีการคิดหาวิธีการอื่นๆบ้าง เช่น ตามบ้านเรือนอาจทำบ่อเกรอะหรือบ่อซึมขึ้นใช้เอง หรือสำหรับชุมชนใหญ่ๆอาจใช้การระบายน้ำโสโครกลงสู่แอ่งน้ำที่มีอยู่ตาม ธรรมชาติหรือขุดสร้างขึ้นใหม่ เพื่อให้น้ำโสโครกได้ฟอกตัวเองตามวิถีธรรมชาติ หรือาจใช้ยาฆ่าเชื้อโรคช่วยด้วย เมื่อน้ำนั้นปลอดภัยพอแล้วจึงค่อยระบายลงสู่แม่น้ำลำคลองต่อไป

4. รัฐบาลควรจะได้จัดการชลประทานให้เพิ่มมากขึ้นอีก เพื่อป้องกันการขาดแคลนน้ำและน้ำท่วม จะช่วยทำให้ประชาชนมีแหล่งน้ำใช้ที่พอเพียงและถูกสุขลักษณะยิ่งขึ้น นอกเหนือไปจากประโยชน์โดยตรงที่จะได้จากการเกษตร

5. ควรให้การศึกษาแก่ประชาชนทั่วไป ให้ทราบและเข้าใจถึงประโยชน์ของการร่วมมือกันรักษาแหล่งน้ำให้สะอาดและโทษ ของแหล่งน้ำโสโครก

6. เจ้าหน้าที่ฝ่ายสาธารณสุขควรจะนำเอาพระราชบัญญัติสาธารณสุข พุทธศักราช 2484 เรื่องน้ำ มาใช้อย่างจริงจัง เช่น การห้ามไม่ให้ประชาชนทำส้วมลงในแม่น้ำลำคลอง หรือทิ้งซากสัตว์ที่ตายลงในแหล่งน้ำต่างๆ เป็นต้น จะช่วยให้น้ำในแม่น้ำลำคลองต่างๆสกปรกน้อยกว่าที่เป็นอยู่อีกมาก

7. เนื่องจากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้นเโสโครก ดังนั้น ควรให้โรงงานได้จัดสร้างเครื่องกำจัดสารมีพิษ หรือสิ่งสกปรกออกไปเสียก่อนที่จะปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำลำคลอง

ดินสกปรก


ความหมายของดินสกปรก
มนุษย์ได้ใช้พื้นดินเพื่อทำประโยชน์ในกิจการต่างๆหลายอย่างด้วยกัน เช่น ส่วนใหญ่ใช้ที่ดินเพื่อเป็นแหล่งเกษตรกรรม นอกจากนี้ก็ใช้ที่ดินเพื่อเป็นแหล่งป่าไม้และเหมืองแร่ เพื่อเป็นแหล่งอุตสาหกรรม เพื่อเป็นแหล่งพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัย เพื่อเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ ฯลฯ จะเห็นได้ว่า การที่คนเราใช้พื้นดินทำประโยชน์ด้วยการประกอบกิจกรรมต่างๆ ทั้งเพื่อเป็นอาชีพหรือเพื่อการดำเนินชีวิตโดยทั่วไปก็ดี ย่อมทำให้พื้นดินถูกทำลายจนเนื้อดินเสื่อมคุณภาพ เช่น คุณภาพทางเกษตร รวมทั้งทำให้พื้นดินต้องปนเปื้อนไปด้วยเชื้อโรคและสารพิษต่างๆ ดังนั้น ตามความหมายทั่วไปของดินสกปรกหรือดินเสีย หรือมลพิษทางดิน (Soil pollution หรือ Land pollution) จึงหมายถึง "สภาวะของดินที่ไม่เป้นปกติ เพราะไม่อาจอำนวยประโยชน์ให้แก่มนุษย์ได้ตามธรรมชาติ และยังอาจให้โทษแก่มนุษย์ได้อีกด้วย " อย่างไรก็ดี คำว่าดินสกปรกและดินเสียนั้น ถ้าหากจะกล่าวกันตามความหมายของคำแล้ว ดินสกปรกคงเน้นในเรื่องปัญหาทางด้านการสาธารณสุข และดินเสียคงเน้นในเรื่องปัญหาทางด้านอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการเกษตรมากกว่า

สาเหตุที่ทำให้ดินสกปรกลแะอันตรายที่เกิดขึ้น


ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะสาเหตุที่ทำให้ดินสกปรกและอันตรายที่เกิดขึ้นตามมา อันเป็นผลเสียหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนโดยส่วนรวมเท่านั้น สำหรับสาเหตุที่ทำให้ดินเสียและอันตรายที่เกิดขึ้นโดยดินเสื่อมคุณภาพทาง การเกษตรนั้น เราอาจศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมได้จากวิชาการเกษตร ดังนั้น สาเหตุที่ทำให้ดินสกปรกและอันตรายที่เกิดขึ้นจึงอาจกล่าวโดยสรุปได้ดังนี้

1. สาเหตุที่ทำให้ดินปนเปื้อนด้วยเชื้อโรค ได้แก่ การที่คนเราทิ้งขยะมูลฝอย อุจจาระ ปัสสาวะ หรือสิ่งปฏิกูลและสารอินทรีย์อื่นๆ ลงบนพื้นดินโดยวิธีที่ผิดสุขลักษณะ เช่น กองหรือเทขยะทิ้งไว้แล้วไม่กำจัดให้ถูกวิธี ก็อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์นำโรคได้มากมายหลายชนิด หรือขยะที่เป็นของแข็งบางอย่างที่ทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม เมื่อนำไปเผาเข้าก็กลับทำให้อากาศสกปรกเกิดเป็นปัญหาต่อไปอีก นอกจากนี้การถ่ายอุจจาระลงบนพื้นดินโดยไม่เลือกที่ หรือการใช้ส้วมที่ไม่สามารถเก็บกักอุจจาระไว้ไม่ให้แพร่กระจายเชื้อโรคไปได้ ก็จะทำให้พื้นดินมีเชื้อโรคปนอยู่โดยทั่วไป เช่น โรคพยาธิลำไส้ต่างๆ โรคบิด โรคท้องร่วง โรคบาดทะยัก เป็นต้น

2. สาเหตุที่ทำให้ดินปนเปื้อนด้วยสารเคมีต่างๆ ในปัจจุบันคนเราได้นำเอาสารเคมีปลายต่อหลายชนิดเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน มากขึ้นทุกที เช่น ยาฆ่าแมลง ยากำจัดวัชพืช ปุ๋ยเคมี ฝงซักฟอก ฯลฯ รวมทั้งสารเคมีชนิดต่างๆที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมอีก เช่น โซดาไฟ กรดเกลือ กรดกำมะถัน กรดดินประสิว ตะกั่ว ปูนขาว สารส้ม ฯลฯ สารเคมีเหล่านี้เมื่อตกค้างอยู่บนพื้นดินก้อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นแก่ผู้ อยู่อาศัยได้ด้วยการสัมผัสโดยตรง หรืออาจถูกน้ำเป็นตัวทำละลายพาสารพิษเหล่านี้ไป เมื่อมนุษย์หรือสัตว์บริโภคน้ำนั้นเข้าไปก็เกิดความเจ็บป่วยขึ้นได้

วิธีป้องกันดินไม่ให้สกปรก


1. ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องดินสกปรกของบ้านเมืองเราในปัจจุบันยังไม่ถึงขั้น รุนแรงมากนัก แต่ก็ควรจะได้เตรียมมาตรการป้องกันแก้ไขเอาไว้ด้วย เช่นเดียวกับปัญหาอากาศสกปรก และน้ำสกปรกเหมือนกัน ดังนั้น การวางแผนเพื่อป้องกันไม่ให้ดินสกปรกไว้ทั้งระยะสั้นและระยะยาวจึงควรแก่ การปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง

2. ดินสกปรกนอกจากจะทำให้เกิดผลเสียทางสุขภาพหลายประการดังได้กล่าวมาแล้ว ดินสกปรกยังส่งผลกระทบกระเทือนไปถึงเรื่องน้ำสกปรก และอากาศสกปรกอีกด้วย เพราะน้ำจะเป็นสื่อพัดพาเอาสิ่งสกปรกจากดินไปอีกทอดหนึ่ง และเมื่อน้ำเกิดเสียขึ้น อากาศเสียก็ย่อมจะเป็นผลตามมา หรือไม่ดินสกปรกก็เป็นผลโดยตรงทำให้อากศเกิดสกปรกขึ้น จึงเห็นได้ว่า ความสกปรกทั้ง 3 เรื่องอาจเกิดขึ้นได้พร้อมๆกัน แม้จากการกระทำเพียงครั้งเดียวของมนุษย์ ดังนั้น ในการดำเนินการควบคุมหรือป้องกันเกี่ยวกับความสกปรกของทั้ง 3 เรื่องนี้ จึงควรจะได้พิจารณาวางแผนปฏิบัติไปเสียด้วยพร้อมๆกัน

3. เนื่องจากสาเหตุสำคัญที่ทำให้ดินสกปรกได้แก่ เรื่องการทิ้งขยะมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล กับเรื่องการใช้สารเคมีต่างๆ ดังได้กล่าวมาแล้ว ดังนั้น วิธีป้องกันแก้ไขจึงควรมุ่งไปที่ต้นเหตุทั้งสอเรื่องนี้โดยตรง

4. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ดิน หรือป้องกันแก้ไขความสกรกของดิน เช่น กรมอนามัย ของกระทรวงสาธารณสุข กรมกสิกรรม ของกระทรวงเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรม ของกระทรวงอุตาหกรรม ควรจะได้ร่วมมือกันวางแผนจัดดำเนินการป้องกันแก้ไขเกี่ยวกับเรื่องดินสกปรก และควรให้ประชาชนทั่วไปได้มืความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ด้วย

ขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล


ความหมายของขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
พระราชบัญญัติสาธารณสุข (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2497 ได้อธิบายความหมายของขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ไว้ดังนี้

"มูลฝอย หมายถึง เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้าเถ้า มูลสัตว์ และซากสัตว์ รวมตลอดถึงวัตถุอื่นใดซึ่งเก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น"

"สิ่งปฏิกูล หมายความว่า อุจจาระ ปัสสาวะ รวมตลอดถึงวัตถุอื่นใดซึ่งเป็นสิ่งโสโครก และมีกลิ่นเหม็น"

จากความหมายของขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ตามพระราชบัญญัติสาธารณสุขฉบับนี้จะเห็นได้ว่า ขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลมีความหมายกว้างมาก อาจกล่าวรวมๆได้ว่า สิ่งใดก็ตามที่คนเราไม่ต้องการใช้ เหลือใช้หรือใช้แล้ว หรือบรรดาสิ่งของต่างๆที่คนเราทิ้งไปก็จัดได้ว่าเป็นขยะมูลฝอยและสิ่ง ปฏิกูลทั้งสิ้น

โดยทั่วไปคำว่าขยะมูลฝอยมักเป็นคำที่ใช้เรียกชื่อรวมระหว่างขยะมูลฝอยกับ สิ่งปฏิกูล ยกเว้นพวกสิ่งที่ขับถ่ายออกจากร่างกายมนุษย์เท่านั้นที่ยังเรียกว่าสิ่ง ปฏิกูล นอกจากนี้ ขยะมูลฝอยที่เก็บรวบรวมมาได้จากชุมชนต่างๆ ก็มักมีลักษณะปะปนกันหรือรวมกันออกมาในรูปแบบขยะผสม เพราะระบบการเก็บขยะมูลฝอยภายในบ้านเมืองของเรายังไม่ได้เก็บแยกชนิดโดย เฉพาะ

ลักษณะทั่วไปของขยะผสมที่เก็บมาจากชุมชนอาจแยกออกได้เป็น 2 ชนิด คือ ขยะเปียกและขยะแห้ง ตัวอย่างของขยะเปียกได้แก่ พวกเศษอาหาร เศษพืชผลและซากสัตว์ต่างๆ ซึ่งมักจะมีปริมาณความชุ่มชื้นสูง ถ้าปล่อยทิ้งไว้จะทำให้เกิดการบูกเน่า มีกลิ่นเหม็นรบกวน ส่วนตัวอย่างของขยะแห้ง ได้แก่ พวกเศษกระดาษ ถุงพลาสติก แก้ว กระป๋อง ใบไม้แห้ง โลหะ ขี้เถ้า ฯลฯ ซึ่งมักจะเป็นสารหรือวัตถุที่สลายตัวยากหรือสลายตัวไม่ได้ ถ้าปล่อยทิ้งไว้จะทำให้สกปรกรกรุงรัง บางอย่างอาจปลิวฟุ้งกระจายไปได้ไกลๆ และบางอย่างอาจติดไฟหรือเป็นเชื้อเพลิงได้ง่าย ชยะมูลฝอยทั้งขยะเปียกและขยะแห้งเหล่านี้ส่วนใหญ่มาจากแหล่งสำคัญๆ เช่น บ้านเรือน ร้านค้า ตลาดสด ภัตตาคาร โรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงแรม และตามถนนหนทางต่างๆ

ปริมาณของขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลในชุมชน


ในปัจจุบันขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลต่างๆได้ทวีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งคิดโดยเฉลี่ยแล้วสำหรับในชุมชนที่หนาแน่นหรือในเมืองใหญ่ๆ เช่น กรุงเทพมหานคร คนหนึ่งจะทิ้งขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลประมาณครึ่งกิโลกรัมต่อวัน แต่อย่างไรก็ดี ปริมาณของขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่เก็บได้จากชุมชนมักจะมีปริมาณไม่คงที่ และเปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งเหล่านี้

1. สภาพดินฟ้าอากาศ เช่น ในฤดูร้อนมักจะมีปริมาณขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลมากกว่าในฤดูหนาวหรือฤดูฝน

2. สภาพภูมิศาสตร์ เช่น ในท้องที่ทุรกันดารมักจะมีปริมาณขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลน้อยกว่าในท้องที่ อุดมสมบูรณ์และการคมนาคมสะดวก

3. สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม ในครอบครัวที่มีฐานะทางการเงินดี และมีความเป็นอยู่สูง มักจะมีปริมาณขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลมากกว่าในครอบครัวที่ยากจนและความเป็น อยู่ต่ำ ในทำนองเดียวกัน ชุมชนหรือสังคมที่มีประชากรหนาแน่นก็ย่อมจะมีปริมาณขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล มากกว่าในชุมชนที่มีประชาชนอยู่กันอย่างเบาบาง

อันตรายจากขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล


เนื่องจากขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่เกิดจากการกระทำของคน เช่น มักจะเป็นของที่เหลือใช้ ใช้ไม่ได้ ไม่มีประโยชน์หรือบางอย่างก็ให้โทษ จึงเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับความเป็นอยู่ของคนเรามาก ซึ่งอาจแสดงถึงความเจริญหรือความเสื่อมโทรมของบ้านเรือนหรือสังคมด้วย และที่สำคัญก็คือ อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนเราได้ ถเาหากใช้วิธีกำจัดที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ปลอดภัยเพียงพอ อันตรายจากขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล อาจกล่าวโดยสรุปได้ดังนี้

1. เป็นแหล่งทำให้เกิดเชื้อโรคชนิดต่างๆ โดยเฉพาะเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคติดต่อระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคอุจจาระร่วง อหิวาตกโรค ไข้รากสาดน้อย บิด และพยาธิลำไส้ เป็นต้น

2. เป้นแหล่งเพาะพันธุ์และเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์นำโรค ได้แก่ แมลงวัน แมลงหวี่ แมลงสาบ และสัตว์อื่นๆ เช่น งู ตะขาบ เป็นต้น

3. ก่อให้เกิดความรำคาญต่างๆ เช่น ส่งกลิ่นเหม็นรบกวนประสาท ทำให้บ้านเรือนหรือถนนหนทางสกปรกเลอะเทอะ เป็นแหล่งเสื่อมโทรมและเป็นที่น่ารังเกียจแก่ผู้ที่พบเห็นโดยทั่วไป

4. ขยะมูลฝอยที่แห้งอาจเป็นต้นเหตุของอัคคีภัยได้ง่าย เช่น มักจะพบเสมอว่าต้นเพลิงเกิดจากคนมักง่ายทิ้งก้นบุหรี่ลงไปบนกองขยะข้างถนน แล้วเกิดเพลิงลุกไหม้ติดต่อไปยังอาคารบ้านเรือน ทำความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

5. การทิ้งขยะสดๆลงในน้ำ ทำให้บัคเตรีในน้ำเจริญเติบโตและเกิดการหมักขึ้น รวมทั้งบัคเตรียังใช้ออกซิเจนในการย่อยสารอินทรีย์อีกด้วย จึงเป็นผลทำให้ออกซิเจนในน้ำลดลงและเกิดมลพิษทางน้ำได้

การกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล


เนื่องจากขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล เป็นสิ่งที่คนเราต้องทิ้งไปเพราะบูดเน่า เสียเหลือใช้หรือใช้ไม่ได้แล้ว จึงต้องตกเป็นหน้าที่ของฝ่ายท้องถิ่น เช่น เทศบาล หรือ สุขาภิบาลที่จะต้องจัดการให้บริการในด้านนี้ให้แก่ประชาชน เพราะมิฉะนั้นแล้วขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลก็จะทิ้งกันเกลื่อนเลอะเทอะเปรอะ เปื้อนไปหมด อันจะทำให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงและสัตว์นำโรคอื่นๆ รวมทั้งเป็นบ่อเกิดแห่งความรำคาญต่างๆ เทศบาลหรือสุขาภิบาล จึงจำเป็นต้องจัดรถไปรับขยะมูลฝอยจากตามอาคารบ้านเรือน ซึ่งได้ใส่ถังไว้แล้วเป็นประจำทุกวัน เพื่อนำมากำจัดให้ถูกหลักสุขาภิบาลต่อไป วิธีการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลโดยทั่วไป อาจทำได้หลายวิธี เช่น

1. การเผา ใช้สำหรับขยะมูลฝอยต่างๆ ตามบ้านเรือน อาจกองแล้วเผาได้ทันที หรือถ้าจะให้ดีควรใช้ถังน้ำมันปิโตรเลียมดัดแปลงเป็นเตาเผาเล็กๆ จะทำให้การเผาสะดวกขึ้น ถ้าเป็นโรงเรียนหรือโรงงาน ก็ควรจะต้องทำเตาเผาให้มีขนาดใหญ่ขึ้น และขี้เถ้าจากการเผานี้อาจใช้นำไปถมที่ได้ด้วย วิธีเผานี้ถ้ามีขยะมูลฝอยมากพอ อาจนำไปเผาเพื่อให้เกิดความร้อนเผาหม้อน้ำของเครื่องจักรในโรงงาน อุตสาหกรรมได้ แต่จะต้องระวังในเรื่องเขม่าหรือควันไฟ ซึ่งอาจทำให้อากาศสกปรกและเกิดปัญหาตามมาได้ภายหลัง

2. การฝัง ใช้สำหรับขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลต่างๆ ทำได้ดังนี้

2.1 เลือกสถานที่ที่จะขุดหลุม ซึ่งควรจะเป็นน้ำท่วมไม่ถึง ห่างจากแหล่งน้ำใช้อย่างน้อย 30 เมตร และควรให้อยู่ใต้ทิศทางลมด้วย
< 2.2 ขนาดและรูปร่างของหลุม ควรมีขนาดกว้างประมาณ 1.00-1.50 เมตร ลึกประมาณ 1.50 เมตร โดยขุดให้ก้นหลุมสอบเข้าหากัน และนำดินที่ขุดมากองไว้ด้านหนึ่งของหลุม
2.3 เมื่อนำขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลทิ้งลงไปแล้ว ควรเกลี่ยให้เสมอ ใช้ดินที่ปากหลุมกลบลงไปหนาประมาณ 25 เซนติเมตร ถ้าเทขยะลงไปหนาประมาณ 75 เซนติเมตร กระทุ้งดินให้แน่นทุกครั้ง การกลบครั้งสุดท้ายควรโรยด้วยปูนขาว แล้วพูนดินให้สูงขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อยเผื่อดินยุบภายหลัง
2.4 สำหรับการฝังขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลเปียก เช่น ใบไม้ ใบต้อง ใบหญ้า เศษอาหาร และมูลสัตว์ ถ้าทิ้งไว้นานประมาณ 6 เดือน ขยะเหล่านี้จะหมักตัวและกลายเป็นปุ๋ยได้อย่างดี เมื่อนำเอาพืชล้มลุกต่างๆมาปลูกบริเวณใกล้เคียงกับหลุมที่ฝัง จะปรากฏว่าพืชผักงอกงาม โตเร็วและให้ผลผลิตสูง

3. การกองรวมไว้บนดิน จะต้องเลือกที่สำหรับกองขยะมูลฝอยชนิดต่างๆให้ห่างจากชุมชนให้มาก ปล่อยให้ขยะมูลฝอยถูกย่อยโดยบัคเตรีตามธรรมชาติ นานๆเข้าก็จะผุหรือสลายตัวเป็นดินไปเอง แต่ต้องระวังอย่าให้ประชาชนนำเอาขยะมูลฝอยเหล่านั้นกลับมาใช้อีก

4. กานำไปเลี้ยงสัตว์ ส่วนมากเป็นพวกเศษอาหารต่างๆ จากร้านค้าอาหารหรือภัตตาคารต่างๆ ทางที่ดีควรจะต้มเสียก่อนเพื่อทำลายเชื้อโรคจากเศษอาหาร ซึ่งจะติดต่อไปยังสัตว์ได้ เศษอาหารเหล่านี้มักจะนำไปเป็นอาหารของสุกร เป็ด ไก่ ปลา

5. การหมักทำปุ๋ย วิธีนี้เหมาะสำหรับชุมชนขนาดใหญ่หรือเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพฯ ซึ่งมีปริมาณขยะมูลฝอยมากพอกับการลงทุนตั้งโรงงานผลิตปุ๋ยขึ้น โดนการนำเอาขยะมูลฝอยไปทำการแยกเอาสิ่งที่ไม่ต้องการ ได้แก่ เศษเหล็ก เศษแก้ว ก้อนอิฐ หินต่างๆ ออกไปก่อน แล้วนำเอาขยะไปบด และหมักเอาไว้ ขยะจะถูกพวกบัคเตรีย่อยจนกระทั่งนำไปปรับปรุงเป็นปุ๋ยสำหรับพืชได้

6. การหมักทำก๊าซ สิ่งปฏิกูลประเภทมูลสัตว์ เช่น มูลโค มูลกระบือ มูลสุกร เกษตรกรสามารถนำมาหมักตามกรรมวิธีที่ถูกต้องของการสุขาภิบาล จะทำให้เกิดก๊าซมีเทน (CH4) สำหรับใช้ประโยชน์ในการหุมต้ม และให้แสงสว่างได้เป็นอย่างดี ซึ่งขณะนี้เกษตรกรได้ทดลองทำและใช้กันแพร่หลายพอสมควร

7. การนำไปถมที่ โดยมากใช้ถมที่ลุ่มที่มีน้ำขัง เพื่อปรับปรุงให้เป็นพื้นดินที่ดี ซึ่งเป็นประโยชน์ในการปลูกสร้างอาคารได้ วิธีนี้จะต้องอัดขยะลงไปให้แน่น แล้วเอาดินกลบอีกทีหนึ่ง รอให้ขยะผุหรือย่อยตัวเองจนกลายเป็นดิน ประมาณ 5 ปี จึงจะใช้พื้นที่นั้นปลูกสร้างอาคารได้

8. การนำไปทิ้งทะเล วิธีนี้เหมาะสำหรับชุมชนใหญ่ที่อยู่ใกล้ทะเล โดยจะต้องนำขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลไปทิ้งให้ห่างไกลจากฝั่งอย่างน้อย 15 ไมล์ เพื่อป้องกันไม่ให้ลมและคลื่นพัดเอากลับคืนเข้าสูงฝั่งได้

9. การทำส้วม สิ่งปฏิกูลประเภทอุจจาระและปัสสาวะของคนเรานั้น วิธีกำจัดโดยทั่วไป คือ การทำส้วมขึ้นใช้อย่างถูกสุขลักษณะ ได้แก่ ส้วมหลุม ส้วมซึม และส้วมถังเกรอะ ทั้งนี้จะต้องพิจารณาชนิดของส้วมที่ใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม ด้วย ส้วมหลุมอาจใช้ได้เฉพาะในชนบท สำหรับในเมืองไม่ปลอดภัยเพียงพอ เป็นต้น

เสียงรำคาญ


ความหมายของเสียงรำคาญ
เสียงดังหรือเสียงอึกทึกนับได้ว่าเป็นสิ่งแวดล้อมที่เป็นเหตุรำคาญอย่าง หนึ่งของชุมชนในปัจจุบัน ทั้งนี้ก็เป็นผลเนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีของโลกสมัยใหม่นั่นเอง จึงทำให้ผู้คนโดยเฉพาะอย่างยิ่งตามเมืองใหญ่ๆต้องเผชิญกับเสียงรบกวนที่ไม่ ต้องการเหล่านี้อยู่เป็นประจำ

ในแง่ของสุขวิทยา เราอาจแบ่งเสียงออกได้เป็น 2 แบบ คือเสียงธรรมดา (Sound) เป็นเสียงที่ไพเราะนุ่มนวล ฟังแล้วสบอารมณ์ มีความสุข สามารถปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี อีกแบบหนึ่งได้แก่ เสียงรำคาญ (Noise) ซึ่งมีลักษณะตรงกันข้าม คือ เป็นเสียงทั่ไม่ไพเราะ ฟังแล้วกระด้างหู น่ารำคาญ มีผลกระทบกระเทือนทางด้านจิตใจ ทำให้เสียประสิทธิภาพในการทำงาน และถ้าฟังนานๆเข้าอาจทำให้หูเสื่อมหรืออาจถึงแก่หูหนวกได้ ด้วยเหตุนี้เองเสียงรำคาญจึงจัดเป็นต้นเหตุที่ทำอันตรายต่อสุขภาพทั้งทาง ร่างกายและทางจิตใจได้อย่างหนึ่ง

เสียงรำคาญที่ทำให้เป็นพิษหรือเกิดมลพิษทางเสียง (Noise pollution) นอกจากเป็นเสียงที่ดังมากแล้ว เสียงนั้นยังมีความเข้มสูง ( เช่น เสียงแหลมจะมีความเข้มกว่าเสียงทุ้ม) มีความถี่ของคลื่นเสียงสูง (ได้แก่การวัดว่าคลื่นเสียงมากระทบหูเรากี่ครั้งต่อวินาที) และมีระยะเวลาที่เสียงปรากฏอยู่นานอีกด้วย ดังนั้น เสียงรำคาญหรือเสียงอึกทึกที่เป็นภัยต่อสุขภาพของคนเรานั้น จึงหมายถึง เสียงที่คนเราไม่ต้องการฟังและมีความดังเกิน 85 เดซิเบล (Decibel) ขึ้นไป องค์การอนามัยโลกได้กำหนดไว้ว่า "เสียงที่เป็นอันตรายนั้น หมายถึงเสียงที่ดังเกิน 85 เดซิเบล ที่ทุกความถี่ของคลื่นเสียง และต้องสัมผัสเสียงนั้นอยู่นานไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง

ตัวอย่าง ความดังของเสียงโดยประมาณ ดังนี้

แหล่งกำเนิดเสียง เดซิเบล

เสียงกระซิบเบาๆ
เสียงสนทนาตามปกติ
เสียงคนทะเลาะกัน
เสียงเครื่องดูดฝุ่นขนาดใหญ่
เสียงรถยนต์บรรทุก สิบล้อ
เสียงรถจักรยานยนต์
เสียงเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
เสียงเครื่องตัดหญ้าขนาดใหญ่
เสียงในโรงงานตีเหล็ก
เสียงเครื่องบินไอพ่น

30
60
80
85
95
90-100
95-102
100-107
98-110
115-140


ต้นเหตุที่ทำให้เกิดเสียงรำคาญ


ในสมัยก่อนผู้คนทั้งหลายมักอยู่กันในโลกเงียบ เสียงรำคาญต่างๆจึงไม่ใคร่มากนัก แต่ในปัจจุบันเนื่องจากคนเราได้นำเอาเครื่องจักร เครื่องยนต์กลไก เครื่องทุ่นแรงต่างๆ และเครื่องอำนวยความสะดวกนานาชนิดเข้ามาใช้ทั้งภายในอาคารบ้านเรือนและใน ชุมชน จึงทำให้ผู้คนจำนวนไม่น้อยต้องอาศัยอยู่ในโลกอึกทึก โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามเมืองใหญ่ด้วยแล้ว จะมีเสียงอึกทึกน่ารำคาญรบกวนร่างกายและจิตใจอยู่เกือบตลอดเวลา ทั้งกลางวันและกลางคื สำหรับต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดเสียงรำคาญอันเป็นภัยต่อสุขภาพต่างๆเหล่า นี้ได้แก่

1. โรงงานอุตสาหกรรม ตามปกติโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ อาจก่อให้เกิดเสียงดังได้ตั้งแต่ 60 เดซิเบลขึ้นไปจนถึง 120 เดซิเบล โดยการทำงานของเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์นานาชนิดภายในโรงงาน

2.ยานพาหนะต่างๆได้แก่
2.1 ยานพาหนะทางบก เช่น รถบรรทุก รถจักรยานยนต์ รถสามล้อเครื่อง รถไฟ ฯลฯ ในเมืองใหญ่ๆยานพาหนะเหล่านี้จะส่งเสียงรบกวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากรถแล่นอยู่ในถนนที่มีตึกสูงๆทั้งสองฝั่ง จะยิ่งเกิดเสียงดังเพิ่มมากขึ้น
2.2 ยานพาหนะทางน้ำ เช่น เรือด่วน เรือยนต เรือหางยาว ฯลฯ เรือเหล่านี้จะส่งเสียงดังมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าแล่นอยู่ในคลองแคบๆ
2.3 ยานพาหนะทางอากาศ เช่น เฮลิคอปเตอร์ เครื่องบินเป็นต้น โดยเฉพาะเครื่องบินที่มีความเร็วเหนือเสียง หรือเครืองบินไอพ่นด้วยแล้ว ในเวลาที่วิ่งขึ้นหรือวิ่งลง จะมีเสียงดังแรงเป็นพิเศษ ทำความรำคาญให้แก่ผู้อาศัยอยู่ใกล้ท่าอากาศยานเป็นอย่างยิ่ง

3. อุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ภายในบ้าน เช่น เครื่องขยายเสียง เครื่องเป่าผม เครื่องดูดฝุ่น รถตัดหญ้า ฯลฯ จะส่งเสียงรำคาญให้เกิดขึ้นภายในบ้านนั้นๆ และบ้านใกล้เรือนเคียงได้มากพอสมควร

4. เสียงที่เกิดขึ้นจากชุมชน โดยเฉพาะในชุมชนใหญ่ๆจะมีเสียงรำคาญเกิดขึ้นได้มากมายหลายชนิด เช่น เสียงทะเลาะวิวาท เสียงโห่ร้อง เสียงจากรถโฆษณา เสียงจากเครื่องเจาะหิน เสียงจากเครื่องก่อสร้าง เสียงจากร้านค้าเครื่องเสียง เสียงจากสถานเริงรมย์ ฯลฯ

อันตรายจากเสียงรำคาญ


1.ผลเสียทางร่างกายได้แก่
1.1 ผลเสียโดยตรงต่อประสาทหู ทำให้ประสาทหูพิการ อาจเริ่มพิการทีละน้อยแล้วเริ่มพิการขึ้รตามลำดับ จนทำให้หูตึงหรือหูนวกได้
1.2 ผลเสียทางสรีรวิทยา ทำให้อวัยวะของร่างกายขาดความสมดุลในการปฏิบัติหน้าที่ เช่นทำให้หัวใจเต้นแรง โลหิตไหลเวียนเพิ่มขึ้น มีความดันโลหิตสูง มีการเปลี่ยนแปลงทางการหายใจ กรดในกระเพาะอาหารหลั่งออกมามากกว่าปกติ อาจทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืดท้องเฟ้อ นอนไม่หลับ ฯลฯ บางคนแพ้เสียงดังจะมีผลทำให้หลอดโลหิตขยายตัว กล้ามเนื้อกระตูก และอ่อนเพลีย

2. ผลเสียทางจิตใจ ได้แก่
2.1 ทำให้มีการเปลียนแปลงทางอารมณ์ เช่น เกิดความรำคาญ หงุดหงิด โมโหง่าย เสียขวัญ เสียสมาธิ
2.2 ผลของการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ดังกล่าว อาจทำให้มีความเจ็บป่วยทางกายตามมาได้ เช่น ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารพิการ หรือมีความดันโลหิตสูง

3. ผลเสียทางธุรกิจการงาน เสียงอึกทึกน่ารำคาญที่เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำอาจทำให้ประสิทธิภาพในการทำ งานลดลง เช่น มีการทำงานผิดพลาด ได้ผลผลิตที่ต่ำลง เกิดความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าอ่อนเพลียได้ง่าย และที่สำคัญก็คือ อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุต่างๆได้ง่ายอีกด้วย

การป้องกันและแก้ไขเสียงรำคาญ


1. ป้องกันที่ต้นเหตุแห่งเสียง ซึ่งทำได้โดยการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขให้ต้นเหตุแห่งเสียงลดความดังให้น้อยลง เช่น เปลี่ยนใช้เครืองจักรที่มีเสียงดังน้อยลงแทน หรือติดเครื่องเก็บเสียงประจำเครื่องจักร หรือออกแบบท่อเก็บเสียงพิเศษติดเข้ากับท่อไอเสียเครื่องยนต์

2. ป้องกันทางที่เสียงผ่าน ได้แก่
2.1 ใช้ผนังกั้นอุปกรณ์ที่เป็นต้นกำเนิดเสียง โดยทั่วไปมักใช้แผ่นตะกั่วหรือแผ่นไวนิล-ตะกั่ว เพื่อให้เสียงลดลง
2.2 ใช้แผ่นวัสดุเก็บเสียง (Acoustis Board) บุตามฝาผนังและเพดานเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเสียงสะท้อนที่ดังเกินควร
2.3 ย้ายเครื่องจักรที่เป็นต้นกำเนิดเสียงไปไว้บนวัสดุที่กันสะเทือนได้

3. ป้องกันที่ตัวบุคคล ได้แก่
3.1 ใช้เครื่องป้องกันส่วนบุคคล เช่น ใช้จุกอุดหู หรือฝาครอบหู
3.2 ลดระยะเวลาที่ต้องทำงานอยู่กับเสียงในวันหนึ่งๆให้น้อยลง หรืออาจมีการสับเปลี่ยนให้ไปทำงานอย่างอื่นที่ไม่เกี่ยวกับเสียงแทนบ้าง

4. ใช้มาตรการทางด้านกฏหมายให้เข้มงวดกวดขันยิ่งขึ้น เช่น จับกุมและลงโทษผู้ขับขี่ยานพาหนะที่มีเสียงดังเกิน 95 เดซิเบล ซึ่งวัดห่างจากยานพาหนะนั้น 7.50 เมตร (จะมีความผิดถูกปรับ 500 บาท สำหรับรถยนต์และ 100 บาท สำหรับรถจักรยานยนต์ และเรือกลไฟ ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 16 พ.ศ. 2514)

5. ให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไปให้เข้าใจถึงอันตรายของเสียงรำคาญ หรือเสียงอึกทึกที่มีผลต่อสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ

การจัดชุมชนให้ถูกสุขลักษณะ


ในการพัฒนาชุมชนสังคมหรือเพื่อให้ประชาชนมีความกินดีอยู่ดี และมีความสุข จำเป็นต้องคำนึงถึงองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่ การศึกษา การเศรษฐกิจ และการสาธารณสุข ทั้งนี้ก็เพื่อให้เป็นไปตามคำกล่าวที่ว่า "ศึกษาดี มีเงินใช้ ไร้โรคา พาให้สุขสมบูรณ์ " นั่นเอง การที่รัฐบาลจำเป็นต้องพัฒนาชุมชนทั้ง 3 ด้านไปพร้อมๆกันนั้น เพราะปัญหาหารดำรงชีวิตของคนไทยโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนในชนบท ที่กำลังเผชิญหน้าอยู่ในขณะนี้ คือ การด้อยการศึกษา การยากจนข้นแค้น และความเจ็บไข้ได้ป่วย ปัญหาทั้ง 3 ประการนี้ย่อมมีความเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดเสมอ ตัวอย่างเช่น เมื่อคนเราโง่ก็๋มักจะยากจนเพราะทำมาหากินไม่เป็น เมื่อยากจนก็มักจะเจ็บไข้ได้ง่ายเพราะขาดอาหารและสิ่งแวดล้อมถูกสุขลักษณะ และเมื่อเจ็บไข้ก็มักทำให้โง่ได้ เพราะขาดโอกาสที่จะศึกษาเล่าเรียน เป็นต้น การจัดชุมชนให้ถูกสุขลักษณะซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาการสาธารณสุขของ ชุมชนที่จะกล่าวถึงในที่นี้ จึง เป็นอีกส่วนหนึ่งในหลายส่วนของการพัฒนาชุมชนเท่านั้น ทั้งนี้เพราะการกินดี -อยู่ดี ลแะการมีความสุขของคนเราย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่างประกอบกัน ดังนั้น ความร่วมมือและการประสานงานกันระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการ พัฒนาชุมชนเดียวกัน จึงเป็นสิ่งที่สำคัญและพึงปรารถนาเป็นอย่างยิ่ง

หลักทั่วไปในการจัดชุมชนให้ถูกสุขลักษณะ


ภายในชุมชนหนึ่งๆย่อมประกอบไปด้วย บ้านเรือน สาธารณสถาน วัดวาอาราม ถนนหนทาง แม่น้ำลำคลอง และสิ่งแวดล้อมอื่นๅอีกมากมายหลายประเภท ดังนั้นชุมชนใดจะถูกสุขลักษณะได้ก็ต่อเมื่อทุกๆส่วนที่เป็นองค์ประกอบของ ชุมชนดังกล่าวนั้นถูกสุขลักษณะด้วย การจัดชุมชนให้ถูกสุขลักษณะจึงเป็นสิ่งที่ทำได้ยากกว่าการจัดบ้านเรือนให้ ถูกสุขลักษณะมาก เพราะจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจกันอย่างจริงจัง จากประชาชนที่อยู่ภายในชุมชนนั้นโดยพร้อมเพรียงกัน แต่ประชาชนซึ่งเป็นสมาชิกของชุมชนหรือสังคมต่างๆย่อมมีความผิดแผกแตกต่าง กันไป ทั้งในด้านฐานะทางเศรษฐกิจ สภาพของจิตใจ การประกอบอาชีพ ความประพฤติ และมาตรฐานด้านสุขภาพ การจัดชุมชนให้ถูกสุขลักษณะจึงต้องจัดในรูปของกิจการสาธารณสุข โดยมีเจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่นซึ่งอาจเป็นเทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดก็ตาม มีหน้าที่รับผิดชอบต่อการจัดและการดำเนินงานในด้านสุขภาพอนามัยหรือสุข ลักษณะของชุมชนเป็นแห่งๆไป สุขลักษณะของชุมชนจึงมักจะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่ ฝ่ายสาธารณสุขของส่วนท้องถิ่นนั้นๆด้วยเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดี เพื่อให้การพัฒนาสุขภาพส่วนรวมของชุมชนในท้องถิ่นต่างๆดำเนินไปด้วยดี และประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย ชุมชนแต่ละแห่งควรจะได้มีหลักทั่วไปในการจัดสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้

1. ในการจัดชุมชนให้ถูกสุขลักษณะนั้น นอกจากประชาชนจะต้องดูแลระวังรักษาบ้านเรือนของตนให้ถูกสุขลักษณะแล้ว ยังมีสาธารณสถานหรือสิ่งอื่นๆที่เป็นสมบัติส่วนรวมในชุมชนอีกมากที่ประชาชน ทุกคนจะต้องช่วยกันดูแลและเอาใจใส่อีกด้วย เช่น
1.1 ถนนหนทาง สะพาน ที่พักผู้โดนสาร ท่อระบายน้ำสาธารณะ
1.2 บ่อน้ำใช้ ประปาสาธารณะ สระว่ายน้ำสาธารณะ แม่น้ำลำคลอง
1.3 สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ วนอุทยาน สวนสาธารณะ ส้วมสาธารณะ
1.4 โบราณสถาน โบราณวัตถุ พิพิธภัณฑ์สถาน วัดวาอาราม โบสถ์ วิหาร
1.5 โรงเรียน ห้องสมุดสำหรับประชาชน ศาลาพักร้อน ศาลาประชาคม
1.6 โรงพยาบาล ศูนย์การแพทย์และอนามัย สถานีอนามัย สำนักงานผดุงครรภ์
1.7 สถานที่ทำงานของหน่วยงานราชการต่างๆ เช่น ที่ว่าการอำเภอ ศาลากลางจังหวัด ฯลฯ

สถานที่หรือสิ่งที่เป็นสาธารณสมบัติที่ประชาชนใช้ร่วมกัน และเป็นสิ่งเชิดหน้าชูตาของชุมชนหรือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของความเจริญ แห่งท้องถิ่นเหล่านี้ จำเป็นที่ประชาชนทุกคนจะต้องช่วยกันดูแลเอาใจใส่หรือทำนุบำรุงรักษา เพื่อให้มีสภาพถูกสุขลักษณะและมั่นคงถาวรสืบไปจนถึงชั้นลูกชั้นหลาน โดยจะต้องไม่แสดงนิสัยที่เห็นแก่ตัวหรือมักง่าย อันเป็นผลทำให้สิ่งเหล่านี้เสียหายแตกหัก สกปรกเลอะเทอะเปรอะเปื้อนเต็มไปด้วยขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่รกรุงรังและ ส่งกลิ่นเหม็น

2. ในการที่จะจัดชุมชนให้มีสุขลักษณะที่ดีนั้น ประชาชนและทางฝ่ายราชการควรจะต้องร่วมมือและร่วมใจกันโดยอาศัยหลักปฏิบัติ ดังนี้ด้วย
2.1 เจ้าหน้าที่ฝ่ายสาธารณสุขควรถือเป็นหน้าที่โดยตรงในการที่จะให้การสุขศึกษา แก่ประชาชนทั่วไปเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ให้ตระหนักถึงความสำคัญของสุขลักษณะส่วนรวม และพร้อมที่จะปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือมีสุขปฏิบัติที่ดีเพื่อให้ตนเองมีสุขภาพดีและชุมชนมีสุขลักษณะที่ดีด้วย
2.2 ในแต่ละชุมชนควรจะต้องมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขฝ่ายต่างๆให้มีจำนวนเพียงพอ กับความต้องการของประชาชน และเจ้าหน้าที่ทุกคนจะต้องปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงสุขภาพของประชาชน และสุขลักษณะของบ้านเมืองเป็นสำคัญ
2.3 ประชาชนจะต้องให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข โดยการปฏิบัติตนตามคำแนะนำ หรือกระทำการใดๆเพื่อให้เกิดสุขลักษณะขึ้นกับชุมชน ตามหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละบุคคลเป็นอย่างดีด้วย

3. ชุมชนจะต้องกระตือรือร้นในการที่จะพัฒนาสุขภาพอนามัยของตัวเองขึ้นมา ไม่ใช่จะรอความหวังจากรัฐบาลเพียงฝ่ายเดียว ในเรื่องการพัฒนาสุขภาพอนามัยนี้ กระทรวงสาธารณสุขก็พร้อมอยู่เสมอที่จะให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนอย่าง เต็มที่ และยังได้จัดหมู่บ้านพัฒนาอนามัยเป็นจำนวนมากไว้ให้ดูเป็นตัวอย่างอีกด้วย

4. เนื่องจากสุขลักษณะของชุมชนเป็นเรื่องของสังคมส่วนรวม การปฏิบัติตนของประชาชนเพื่อช่วยกันระวังรักษาชุมชนให้สะอาดเรียบร้อยและ ปลอดภัย จึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ถึงแม้ว่าจะมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขคอยดูแลอยู่บ้างแล้ว ก็หาเป็นการเพียงพอไม่ เพราะลักษณะหรือขนาดของชุมชนแต่ละแห่งนั้นกว้างใหญ่ไพศาล รวมทั้งมีประชาชนอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมาก ดังนั้น การใช้ระเบียบข้อบังคับหรือกฏหมายที่เกี่ยวกับเรื่องสุขลักษณะของชุมชน จึงเป็นอีกแรงหนึ่งที่สำคัญมาก กฏหมายเกี่ยวกับการจัดชุมชนให้ถูกสุขลักษณะที่ควรทราบ ซึ่งบางท่านอาจจะเคยทราบมาบ้างแล้ว ได้แก่
4.1 พระราชบัญญัติสาธารณสุข พุทธศักราช 2484 (แก้ไขเพิ่มเติม) เป็นกฏหมายที่ว่าด้วยระเบียบข้อบังคับต่างๆ ในเรื่องการรักษาสุขลักษณะทั่วไปของชุมชนหรือท้องถิ่นทั่วประเทศ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ประชาชนปลอดภัยจากโรคและอันตรายต่างๆ
4.2 พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พุทธศักราช 2503 เป็นกฏหมายที่ว่าด้วยการดูแลรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั่วไปภายในชุมชน

สิ่งที่ควรจัดให้ถูกสุขลักษณะภายในชุมชน


ภายในชุมชนแต่ละแห่ง ไม่ว่าจะเป็นชุมชนที่อยู่ในท้องถิ่นชนบทหรืออยู่ในตัวเมือง หรือไม่ว่าชุมชนนั้นจะมีขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่เพียงใดก็ตาม เป็นความจริงที่ว่าในแต่ละชุมชนย่อมมีความแตกต่างกันทั้งในด้านวัตถุและจิต ใจ เพราะชุมชนทุกแห่งย่อมมีสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นลักษณะของตัวเองโดยเฉพาะ ด้วยเหตุนี้ปัญหาสุขภาพส่วนรวมของแต่ละชุมชนจึงไม่ใคร่ที่เหมือนกันนัก ดังนั้น สิ่งที่เหมาะสมเพื่อใช้แก้ไขปัญหาหรือส่งเสริมสุขภาพภายในชุมชนหนึ่งอาจจะ เป็นสิ่งที่ไม่ใคร่เหมาะสมใช้การไม่ได้กับอีกชุมชนหนึ่งก็เป็นได้ แต่อย่างไรก็ดี สิ่งที่สำคัญๆภายในชุมชนส่วนใหญ่ที่จะต้องจัดหา ดูแลรักษา และปรับปรุงให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อให้เป็นพื้นฐานเบื้องต้นในการดำรงชีวิตของประชาชนนั้น ก็มักจะมีลักษณะที่ใกล้เคียงกันโดยทั่วไป สิ่งสำคัญภายในชุมชนที่ควรจัดให้ถูกสุขลักษณะ มีดังนี้

1. อาคารบ้านเรือน หรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ เราจะเห็นได้ว่า ในแต่ละชุมชนมีอาคารบ้านเรือนและสิ่งก่อสร้างต่างๆมากมาย ทั้งที่เป็นของเอกชนและเป็นของสาธารณะ สถานที่เหล่านี้ผู้เป็นเจ้าของหรือผู้มีส่วนรับผิดชอบจำเป็นต้องคอยเอาใจ ใส่ดูแลรักษาให้ถูกสุขลักษณะอยู่เสมอ เพราะเราเคยทราบมาแล้วว่า การปล่อยให้สถานที่ผิดสุขลักษณะจนกระทั่งเป็นเหตุเสื่อมต่อสุขภาพส่วนรวม นั้น ในหลายๆเรื่องอาจถือว่า เป้นการกระทำที่ผิดกฏหมายด้วย อย่างไรก็ตาม ในชุมชนต่างๆมักพบมีปัญหาในเรื่องความสกปรกเลอะเทอะ และความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยของอาคารบ้านเรือนและสิ่งก่อสร้างต่างๆอยู่ เสมอ ทั้งนี้ก็อาจจะเนื่องมาจากหลายๆสาเหตุประกอบกัน แต่การวางผังของชุมชนก็มีส่วนเกี่ยวข้องที่สำคัญอยู่มากเรื่องหนึ่ง เพราะเท่าที่ผ่านมาเรามักจะไม่ได้มีการวางผังของชุมชนเอาไว้ก่อน ดังนั้น ชุมชนที่จะสร้างขึ้นใหม่ เช่น หมู่บ้านจัดสรร เป็นต้น ควรจะได้วางผังเกี่ยวกับการสุขา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น