++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

facebook มาแรง!! ทำโจ๋ไทย เมินท่องตำราน้อยลง

หากถามถึง facebook หรือ twitter คงไม่มีหนุ่มสาววัยทีนคนไหนไม่รู้จัก ผิดกับการถามถึงหนังสือ นวนิยาย เรื่องสั้น สารคดี ที่พวกเขาอาจจะต้องส่ายหัว ทำหน้าตาซีเรียส อย่างที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อน ด้วยเหตุผลที่ว่า ปัจจุบันนี้พฤติกรรมของวัยรุ่นสมัยนี้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยสังคมโลกออ นไลน์ บวกกับความน่าสนใจของหนังสือมีน้อยลง แถมราคาแพงมากขึ้นเป็นทวีคูณ จึงไม่ใช่เรื่องแปลก หากพวกเขาเกิดจากการหลงใหลไปกับสื่อเทคโนโลยีเหล่านี้ จนหลงลืมการอ่านหนังสือ ทั้งที่ “การอ่าน” เป็นหนึ่งกระบวนการพัฒนาความคิด สติปัญญา และอารมณ์เด็กไทยสมัยนี้



“กิม” ปิยะพร ศรีเจริญ นิสิตชั้นปี 3 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หนึ่งในเยาวชนไทยที่ชื่นชอบการอ่านหนังสือมาตั้งแต่เด็ก จนกระทั่งเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย ยังคงชื่นชอบและเก็บสะสมหนังสือไว้เป็นจำนวนมาก “ถือ ว่าโชคดีที่ครอบครัวสนับสนุนให้เป็นคนรักการอ่านมาตั้งแต่เด็ก จนถึงมัธยมปลาย พอจะมีกำลังซื้อหนังสือด้วยตัวเอง โดยไม่รบกวนค่าขนมเพิ่มเติมจากคุณพ่อ คุณแม่ ส่วนใหญ่หนังสือที่ชอบอ่านจะเป็น การตูน นิยาย วรรณกรรม เพราะทำให้เราได้คลายเครียด อย่างไม่จำกัดเวลา อยากจะอ่านตอนไหนก็ได้ เวลาไหนก็ได้"

หากถามถึงคุณภาพและราคาหนังสือในปัจจุบันนั้นเป็นอย่างไร กิม บอกว่า คุณภาพหนังสือนั้นขึ้นอยู่กับประเภทหนังสือที่เราชื่นชอบ อ่านแล้วสนุกไหม รูปเล่ม น่าอ่าน น่าติดตามหรือเปล่า แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปคือ ราคาหนังสือ "เมื่อ ก่อนพกเงินมา 1,000 บาท ซื้อหนังสือได้มากถึง 3-4 เล่ม แต่เดี๋ยวนี้ได้ซื้อแค่ 1-2 เล่มเท่านั้น หนังสือแพงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เวลาที่เราอยากจะอ่านหนังสือที่ชอบขึ้นมาจริงๆ ต้องตัดใจไม่ซื้อ ส่งผลให้เพื่อนบางคนที่ชอบอ่านหนังสือเหมือนอย่างเรา หันไปหาสิ่งๆ อื่นที่ช่วยให้หายเครียด อย่าง เกมส์ออนไลน์ ,hi5 , face book แทนที่การอ่านหนังสือ เพราะการสื่อสารในโลกออนไลน์ ทำให้เราได้เรียนรู้อะไรหลายอย่างได้มากกว่าในหนังสือเสียอีก"



สำหรับพี่ใหญ่ อย่าง “แนน” นัทธมน คำ ประดิษฐ์ นักศึกษาปริญญาโท จาก มหาวิทยาลัยศิลปกร เผยตนว่า ชอบอ่านหนังสือมาตั้งแต่เด็กโดยมีครอบครัวช่วยปลูกฝังจนถึงวันนี้ และประเภทของหนังสือที่ชื่นชอบสุดๆก็เป็นจำพวกแนวสืบสวนสอบสวนที่ติดตามซื้อ ส่วนกรณีถ้าหากลดหย่อนภาษีได้มากขึ้นเธอบอกไม่ได้มีส่วนทำให้เธอซื้อหนังสือ มากขึ้นเท่าใดนัก เพราะเธอจะเลือกซื้อแต่หนังสือที่ชอบเท่านั้น

“ เราได้ใช้ประโยชน์จากการชอบอ่านหนังสือ มันช่วยฝึกระบบจัดเรียงความคิด และมีจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ อ่ย่างแนวที่ชอบก็พวกสืบสวนสอบสวน ที่ทำให้เราได้คิดตาม มีความสนุกตื่นเต้น และน่าค้นหา ส่วนการหนังสืออย่างอื่นก็จะอ่านได้แต่ไม่ติดตาม เวลามีงานสัปดาห์หนังสือเราก็จะไปเลือกหาซื้อที่ชอบค่ะ เพราะเป็นที่ที่เดียวที่มีหนังสือใหม่ๆที่เราติดตามและซื้อพร้อมๆกันก็ราคา ถูก แต่หากมองถึงเรื่องภาษีตรงนี้ยอมรับว่าไม่ได้คิดเท่าไหร่ เพราะส่วนตัวตอนนี้ก็ทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย เรื่องค่าหนังสือจึงไม่ใช่ปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้อแต่เป็นประเภทของ หนังสือมากกว่า และถ้าหากภาษีหนังสือจะถูกลง ก็อาจจะไม่ได้ทำให้เราซื้อหนังสือมากกว่าเดิมก็ได้ เนื่องจากหนังสือที่เราชอบอ่านจริงๆบางทีก็อาจจะยังไม่ได้ตีพิมพ์ ถึงแม้ถูกลงแต่ถ้าเราไม่ชอบอ่านเรื่องก็อาจจะไม่ซื้อก็เป็นได้”

ขณะที่ นางริสรวล อร่ามเจริญ นายก สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ต้องยอมรับว่าเด็กไทยมีแนวโน้มในการอ่านหนังสือน้อยลง เพราะเทคโนโลยี สื่อมัลติมีเดียเข้ามาบทบาทมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเด็กติดเกมส์ ติด face book ติด MSN จนทำให้บางคนไม่เคยหยิบจับหนังสือขึ้นมาอ่าน ซึ่งเรื่องนี้ทำให้เห็นได้ว่าโลกออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาทชีวิตประจำวันมาก ขึ้น การที่รัฐบาลชุดปัจจุบันให้ความสำคัญในการประกาศการอ่านเป็นวาระแห่งชาติ จึงเป็นเรื่องที่ดี เพราะอย่างน้อยก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการผลักดันการอ่านให้เกิดขึ้นในสังคม ไทย

“การ อ่านหนังสือ มีความจำเป็นอย่างมากในการเสริมสร้างพัฒนาการแก่เด็กและเยาวชน ทั้งนี้ นโยบาย กิจกรรมเพื่อผลักดันให้การอ่านวาระแห่งชาติ เป็นรูปธรรมชัดเจนนั้น ตอนนี้ยังไม่เกิดขึ้นมากเท่าที่ควร ไม่ว่าจะเป็นมาตรการลดหย่อนภาษี การจัดทำ งานวิจัย เพื่อศึกษาว่าหนังสือที่เหมาะสมแก่คนในแต่ละเพศ แต่ละวัยนั้นควรเป็นอย่างไร ซึ่งเรื่องเหล่านี้แม้ยังไม่เกิดขึ้น แต่เชื่อว่าเป็นรูปธรรมขึ้นมาเมื่อใด จะสามารถช่วยกระตุ้นให้คนไทยเกิดการซื้อหนังสือมากขึ้น เมื่อซื้อหนังสือมากขึ้น ย่อมหมายถึงการอ่านมากขึ้น”

“หนังสือ” ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เวลาใดก็สามารถอ่านได้ และประโยชน์ของการอ่านนั้นมีมากมาย ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครอง หรือแม้แต่กลุ่มนักศึกษาเอง ก็หันมาอ่านหนังสือมากขึ้น เพราะไม่ว่าจะเป็นหนังสือประเภทไหน นายกสมาคมฯ มั่นใจว่า ต่อให้ราคาแพงมากกว่าในอดีต ผู้ที่หลงใหลในการอ่านหนังสือ ยังคงซื้อหนังสืออ่านอยู่เช่นเดิม เพียงแต่หากราคาหนังสือสูงขึ้น ผู้ซื้ออาจซื้อจำนวนน้อยลง หากรัฐบาลมีมาตรการลดหย่อนภาษี แก่ผู้ซื้อ ย่อมทำให้พวกเขาซื้อหนังสือได้อย่างสบายใจ เช่นเดียวกับผู้บริจาค หรือสำนักพิมพ์ หากมีการลดหย่อนภาษี คงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จูงใจให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมการ อ่าน การซื้อ บริจาค ลดราคาหนังสือ หากมีมาตรการเข้ามาช่วยให้ครอบครัว เอกชน สำนักพิมพ์ได้ลดภาระค่าใช้จ่าย เชื่อว่าผู้หลงใหลในหนังสือ คงยอมจ่าย เพื่อให้ได้หนังสือ แหล่งความรู้มาบรรจุสมอง เพราะไม่ใช่เพียงทำให้เกิดความรักในการอ่าน แต่ยังทำให้เด็กและเยาวชนห่างไกลสื่อสังคมออนไลน์ที่มีความเสี่ยงอีกด้วย"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น