++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เพิ่งตื่น! บอร์ด กกอ.รับสังคมแย่ เหตุ ม.ลืมปลูกสำนึก นศ.- เล็งนำงานชุมชนสู่ผลงานวิชาการ

เพิ่งตื่น! บอร์ด กกอ.รับปัญหาความขัดแย้งในสังคม เหตุจากมหา'ลัย
สอนผิดทาง เน้นวิทย์-เทคโนโลยี-หลักสูตรต่างประเทศมากเกิน
ลืมสัมผัสชีวิตชุมชน ปลูกฝังจิตสำนึกทางสังคมใส่หัวนักศึกษา สั่ง
สกอ.หาช่องประยุกต์ใช้ผลงานด้านชุมชน ท้องถิ่น เทียบเท่าผลงานวิชาการ
ประกอบการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการได้

ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.)
เปิดเผยถึงผลการประชุมคณะกรรมการการอุดมศึกษา เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า
สืบเนื่องจากปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ที่ประชุม
กกอ.จึงหยิบยกปัญหาดังกล่าวมาหารือถึงแนวทางการนำพลังปัญญาชนพาชาติให้พ้น
วิกฤต เกิดความต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม
โดยเห็นว่าปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเกิดจากปัญหาของมหาวิทยาลัยที่ทำ
มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพราะมหาวิทยาลัยไม่ได้สอนให้นิสิต นักศึกษา
ลงไปสัมผัสกับสังคมจริงๆ
อีกทั้งหลักสูตรส่วนใหญ่ยังนำความรู้จากต่างประเทศมาปรับใช้
และเน้นการสอนด้านวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีเป็นหลักจึงขาดการปลูกฝังเรื่องการมีจิตสำนึกความรับผิดชอบทาง
สังคมให้กับนิสิต นักศึกษา

ดร.สุเมธกล่าวต่อว่า ในเรื่องนี้ที่ประชุมเห็นว่า
ถ้าจะให้มหาวิทยาลัยมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาสังคมได้อย่างแท้จริง
มหาวิทยาลัยก็จะต้องใกล้ชิดกับสังคมมากขึ้น
โดยปรับวิธีการสอนนำนักศึกษาออกไปสัมผัสกับชุมชนและสังคมมากขึ้น
แต่ก็ควรมีสิ่งจูงใจให้กับมหาวิทยาลัยที่ทำสิ่งเหล่านี้
โดยที่ประชุมเห็นว่า ควรจะปรับเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ
โดยให้มหาวิทยาลัยที่มีผลงานที่เกี่ยวกับชุมชน
และงานที่ประยุกต์ศาสตร์ท้องถิ่นสามารถนำผลงานเหล่านั้นมาเข้าสู่ตำแหน่งทาง
วิชาการได้ ซึ่ง กกอ.ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
ไปหารือกับมหาวิทยาลัยที่มีผลงานทางด้านนี้ว่า
สิ่งใดที่เป็นองค์ประกอบสำคัญ
และพัฒนากรอบแนวคิดให้ชัดเจนเพื่อกำหนดเป็นมาตรการระยะยาวให้มหาวิทยาลัยมี
ความใกล้ชิดกับชุมชนและท้องถิ่นมากขึ้น

"มหาวิทยาลัย
หลายแห่งมีกิจกรรมลงสู่ชุมชนเยอะมากแต่ผลงานเหล่านั้นไม่สามารถนำมาประกอบ
การขอผลงานทางวิชาการได้
เพราะงานวิจัยส่วนใหญ่จะวัดคุณภาพของผลงานด้วยการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ
ขณะที่งานด้านการพัฒนาท้องถิ่นไม่สามารถตีพิมพ์ได้ดังนั้นจึงต้องมีการกำหนด
สายงานใหม่ เป็นสายงานทางด้านการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อให้มหาวิทยาลัยนำงานเหล่านี้มา
ประกอบการขอตำแหน่งทางวิชาการได้
เชื่อว่าจะมีมหาวิทยาลัยสนใจพัฒนางานทางด้านนี้เพิ่มขึ้น" เลขาธิการ
กกอ.กล่าว


ทุกภาคส่วน ต้องปรับกรอบความคิด แลค่านิยม กันใหม่หมดก่อน
เลิกสยบยอมแก่ "อำนาจเงิน" ไม่อยู่ใต้อิทธิพลของเงิน
ทุกคนต้องยึดประโยชน์สุขของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง เงินเป็นตัวรอง
ทุกวันนี้มหาวิทยาลัยก็ขยับขยายตัวเพื่อมุ่งหาเงินมาขยายตัวเอง
อาจารย์ทั้งหลายก็มุ่งงานที่ได้เงินสอน บรรยาย วิจัย ทำผลงาน
นักศึกษา เล่าเรียนเพื่องานดีๆได้เงินเยอะๆ แข่งขันแก่งแย่งกัน

ซึ่งค่านิยมเรียนเพื่อเงิน เพื่อยกระดับชั้นทางสังคม ที่รายได้สูงๆ
มันฝังหัว ฝังตัวมาตั้งแต่การเรียนในชั้นอนุบาลแล้ว

ดังนั้น ตอนนี้ คิดได้ก็ดีแล้ว
แต่จะเปลี่ยนแปลงให้คิดถึงชุมชนสังคมส่วนรวมได้จริงจังนั้น
ต้อง ถอดรื้อการจัดการศึกษากันใหม่ทั้งระบบ แบบปฏิวัติ
รวมทั้งปฏิวัติจากกรอบคิดอิทธิพลของทุนบริโภคนิยมโลกาภิวัตน์
ของทั้งสังคมที่บูชาเงินเป็นพระเจ้า
ง่ายๆก็คือน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาสร้าง
แนวทาง
ถ้าทำได้สำเร็จ ก็จะเป็นบุญแก่เยาวชนลูกหลานไทยในวันข้าง
หน้า
ไม่ต้องบ้า ไม่รู้เรื่องชีวิต-สังคมบ้านเมือง เครียดและทุกข์กับตัวเอง ไร้ค่า
คิดได้แล้ว ก็ต้องรีบทำชดเชย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น