++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เพิ่มทางจักรยาน...ปั้นฝันหรือแค่ฝัน

5 ภารกิจพัฒนาชีวิตคนกรุงที่สุดแสนจะสวยหรูของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์
บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) อันประกอบด้วย 1.ปัญหาน้ำท่วม
ให้ได้ภายใน 4 ปี 2.เพิ่มสวนสาธารณะอย่างน้อยอีก 5 แห่งใน 3 ปี
3.ปัญหาจราจร ในกทม.4.การจัดการขยะ และ 5.การเพิ่มความปลอดภัยในกรุงเทพฯ
นั้น หลายคนตั้งข้อสงสัยว่า นี่อาจเป็นเพียงการขายฝัน
ที่อาจไม่มีทางเป็นจริง?

ยิ่งหากเจาะจงไปที่ปัญหาการจราจรแล้ว แนวทางของ
กทม.ที่จะบรรเทาปัญหาอย่างยั่งยืนเน้น 2 กลยุทธ์หลัก คือ
ผลักดันให้มีระบบขนส่งสาธารณะที่ดีเพื่อให้คนหันมาใช้บริการ
และเริ่มต้นโครงการก่อสร้างเพื่อลดปัญหาคอขวดในจุดหลัก โดยใน 3
ปีนี้มีโครงการจะช่วยป้อนผู้โดยสารเข้าสู่ระบบขนส่งสาธารณะหลักมากขึ้น
เพื่อให้คนหันมาใช้บริการ BTS และขนส่งมวลชนโดยจอดรถไว้ที่บ้านนั้นในอีก
10 ปีข้างหน้าจะยังต้องฝันต่อหรือไม่?

อย่างไรก็ตาม
ผู้พิสมัยการปั่นจักรยานและฝันถึงความเป็นไปได้ของการเพิ่มทางจักรยานให้มาก
ขึ้นในมหานครแห่งนี้สังเกตว่า
การลดปัญหาจราจรของกทม.นั้นไม่ได้กล่าวถึงทางจักรยานเท่าใดนัก โดยในระยะ
4-5 ปีที่ผ่านมาทางจักรยานนั้นเพิ่มน้อยมาก สวนทางกับ 9
มาตรการสู่การขนส่งยั่งยืนของกทม.ที่ระบุว่าจะลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวและ
เพิ่มเส้นทางจักรยานให้มากขึ้น

ปัญหาจุดนี้ นายอรวิทย์ เหมะจุฑา รองผู้อำนวยการสำนักงานวิศวกรรม
สำนักการจราจรและขนส่ง กทม.ระบุว่า สาเหตุที่ไม่สามารถเพิ่มทางจักรยานได้
เนื่องจากในแต่ละปีงบประมาณของ
กทม.มีสัดส่วนงบที่จะสร้างทางจักรยานน้อยมากเทียบเป็นอัตราส่วนไม่ถึง 1%
ของงบทั้งที่จักรยานเป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะทำให้คนขึ้น BTS หรือ BRT
ได้สะดวกมากขึ้น อีกทั้งงบประมาณในการสร้างเลนจักรยาน 2 ฝั่งถนนระยะทาง 1
กม.งบประมาณ 7-8 แสนเท่านั้น

ขณะที่ ศ.กิตติคุณ ธงชัย พรรณสวัสดิ์
อดีตประธานชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย ให้ทัศนะว่า
สาเหตุที่ทำให้นโยบายสร้างเมืองไทยให้เป็นเมืองจักรยานไม่เกิดนั้น
เนื่องจากนักการเมืองมองไม่เห็นว่าการปั่นจักรยานจะช่วยแก้ปัญหาสังคม
สิ่งแวดล้อม ตลอดจนเศรษฐกิจได้
ดังนั้นหากจะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต้องอาศัยแรงกดดันจากสังคม
ซึ่งต้องแก้ที่วิธีคิดของผู้นำ

"พวก เขาไม่รู้ว่ามันมีประโยชน์อย่างไร เพราะเขาไม่ได้ทำ
น่าสังเกตว่า เมืองที่เป็นเมืองแห่งจักรยานอย่างอัมสเตอร์ดัม
หรือโคเปนเฮเกน เขาทำให้จักรยานเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน
ซึ่งเมืองไทยนั้นยังไม่ต้องพูดถึงเลนจักรยาน เพราะ 30 ปีที่ผ่านมา
ได้พิสูจน์แล้วว่าการทำทางจักรยานจะทำให้มีคนปั่นจักรยานมากขึ้น
เราต้องทำให้คนรู้ว่าขี่จักรยานแล้วดีอย่างไร ให้เขาเข้าใจใหม่"

อดีตประธานชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพฯ บอกอีกว่า
อีกประการหนึ่งที่ทางจักรยานของ กทม.ไม่ตอบโจทย์ คือ เส้นทางที่
กทม.สร้างไม่ใช่ทางจักรยานที่ประชาชนต้องการใช้
เพราะหากทำการสำรวจพฤติกรรมการใช้จักรยานของคนกรุง จะพบว่า
ชาวบ้านต้องการทางจักรยานในระยะสั้นๆ เช่น จากบ้านไปปากซอย
หรือเข้าออกหน้าหมู่บ้านเพื่อไปต่อระบบขนส่งมวลชนประเภทอื่น ดังนั้น
ควรทำทางจักรยานในซอยให้คนคุ้นชินระเบียบ
แล้วจากนั้นจะทำเป็นโครงข่ายหรือเส้นทางระยะยาวก็ไม่ใช่ปัญหา

"แม้ ตัวเลขผู้ใช้จักรยานระยะไกลจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น
แต่ก็ยังถือเป็นกลุ่มเล็กเมื่อเทียบกับชาวบ้านที่ขี่จักรยานในซอยหรือในหมู่
บ้าน ดังนั้น การสร้างเลนจักรยานไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณเป็นแสนแต่แค่ตีเส้นให้รู้
สร้างวินัยให้เกิดในซอยก่อนจนกลายเป็นวิถีชีวิตเมื่อนั้นเราค่อยสร้างตาม
เส้นทางหลัก"

กิจกรรม World on Wheels ที่จัดโดยบริษัทเอกชน
ที่กระตุ้นให้พนักงานปั่นจักรยานลดการใช้พลังงาน
ขณะเดียวกัน ผู้คลุกคลีกับระบบขนส่งของ กทม.อย่าง นายอรวิทย์
มองว่า นโยบายของ กทม.ยังไม่ได้สนับสนุนอย่างจริงจัง
เพราะหากเอาจริงเอาจังเช่นหลายประเทศที่ประสบความสำเร็จ
ซึ่งมีการกำหนดยุทธศาสตร์เกี่ยวกับจักรยานโดยเฉพาะทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค
แต่สำหรับประเทศไทยจะมีกระแสเป็นช่วงๆ
เมื่อมีโครงการใดโครงการหนึ่งเกิดขึ้นจึงจะเห็นกลุ่มผู้บริหารออกมาปั่น
จักรยานโชว์สื่อ

"แต่ คำถามต่อไปก็คือเราจะกระตุ้นผู้บริหารอย่างไร
ในต่างประเทศจักรยานคือวิถีชีวิต
แต่สำหรับคนไทยมองว่าคนที่ปั่นจักรยานเป็นสัญลักษณ์ของคนจน ดังนั้น
เราต้องเปลี่ยนภาพลักษณ์นี้ ผมเชื่อว่า
ถ้าในที่ทำงานมีนโยบายสนับสนุนโดยสร้างห้องอาบน้ำให้คนที่ปั่นจักรยานมาทำ
งานได้ จะช่วยให้คนที่อยากปั่นจักรยานมาทำงานมีจำนวนมากขึ้นด้วย
ซึ่งนี่จะสร้างจุดเริ่มต้นของไลฟ์สไตล์ให้คนทำงานขี่จักรยานได้"

นายอรวิทย์ ทิ้งท้ายว่า นโยบายดังกล่าวต้องออกเป็นระเบียบของรัฐ
และกระตุ้นให้เกิดการบังคับอย่างจริงจัง พ.ร.บ.จราจร
ที่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับจักรยาน
ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติยังไม่ประกาศบังคับใช้
แม้ว่ากทม.จะยื่นเรื่องไปนานกว่า 6 เดือนแล้ว ซึ่งใน 51
เส้นทางจักรยานทั่วกทม.นั้นประกาศจากตำรวจจราจรแล้ว 22 เส้นทาง
และรอประกาศเพิ่มเติมอีก 4 เส้นทาง
และเชื่อว่าหากประกาศข้อบังคับเพิ่มเติมออกมาและตำรวจเคร่งครัดในกฎข้อ
บังคับอย่างจริงจังแล้ว
ผู้ใช้จักรยานจะเชื่อมันและกล้าขี่จักรยานในระยะไกลมากขึ้น

ที่สุดแล้วเมืองไทยจะยังไม่มีบทสรุปสำหรับทางจักรยาน
ตราบที่ผู้บริหารยังไม่ฉุกคิดถึงประโยชน์ที่ประชาชนและประเทศชาติจะได้รับ
จากเลนจักรยานเล็กๆ
หรือเลนจักรยานคงกลายเป็นที่จอดรถยนตร์ข้างทางต่อไป...

1 ความคิดเห็น:

  1. แนะนำเว็บเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองด้วยจักรยานของคนไทย www.inud.org

    ตอบลบ