++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เด็กภูมิใจ “นักการเมือง ”ต่ำ

ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เผยผลสำรวจ เด็กภูมิใจ “แผ่นดินไทย” พุ่ง “นักการเมือง” ไม่ถึงครึ่ง

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ร่วมกับสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา เผยผลวิจัยเชิงสำรวจต่อเนื่องภายใต้โครงการวิจัยเพื่อเฝ้าระวังรักษา คุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนไทย เรื่อง สุขภาวะของนักเรียน นักศึกษา และความภูมิใจต่อแผ่นดินไทย จากตัวอย่างนักเรียน ป.5 ถึง นักศึกษาปริญญาเอก ทั่วประเทศ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-กรกฎาคม 2553 จำนวน 23,088 ตัวอย่าง

โดยตัวอย่างร้อยละ 58.1 เป็นชาย ร้อยละ 41.9 เป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 38.1 อายุต่ำกว่า 15 ปี ร้อยละ 42.7 อายุระหว่าง 15-20 ปี ร้อยละ 10.2 อายุระหว่าง 21-25 ปี และร้อยละ 9.0 อายุมากกว่า 25 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 21.2 กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 33.8 กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษา ร้อยละ 13.0 กำลังศึกษาอยู่ในระดับ ปวช. ร้อยละ 11.8 กำลังศึกษาอยู่ในระดับ ปวส.ร้อยละ 9.8 กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี และร้อยละ 10.4 กำลังศึกษาอยู่ในระดับสูงกว่าปริญญาตรี

ผลการสำรวจด้านสุขภาวะทางร่างกาย พบว่า นักเรียน นักศึกษา ร้อยละ 30.3 ระบุ นอนหลับสนิท อย่างน้อย 6 ชั่วโมงทุกคืน ล้างมือก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง ร้อยละ 16.9 ไม่ได้เล่นกีฬา หรือออกกำลังกายเป็นประจำ ร้อยละ 58.8 ไม่ได้รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ร้อยละ 59.1 รู้สึกว่าตนเองมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงมากที่สุด ร้อยละ 24.8
แปรงฟันทุกวันตอนเช้าและก่อนนอน ร้อยละ 59.9

เมื่อสอบถามถึงสุขภาวะทางจิตใจ พบประเด็นที่น่าพิจารณา คือ สุขภาวะทางจิตใจและอารมณ์ของนักเรียน นักศึกษาในโครงการนี้บางเรื่องเป็นสิ่งที่น่าพอใจ แต่บางเรื่องก็ยังคงน่าเป็นห่วง เพราะส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.9 ยังคงรู้สึกว่าตนเองเป็นคนอารมณ์ดีมากถึงมากที่สุด มีร้อยละ 38.1 ไม่รู้สึกเช่นนั้น ที่น่าเป็นห่วง ร้อยละ 77.2 รู้สึกกลัวผิดพลาด ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 86.8 มักจะตำหนิตนเองในเรื่องต่างๆ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.3 มักจะเปรียบเทียบสิ่งที่ตนเองมีกับผู้อื่น อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 58.8 ยังใจกว้าง ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นระดับมาก ถึงมากที่สุด แต่ร้อยละ 41.2 ไม่เป็นเช่นนั้น ที่น่าพิจารณาคือ ร้อยละ 50 ยังรู้สึกว่าตนเองเป็นคนดีในสายตาผู้อื่นระดับมาก ถึงมากที่สุด อีกร้อยละ 50 ไม่คิดเช่นนั้น

ที่ น่าสนใจ คือ ผลสำรวจ “สองสิ่ง” เปรียบเทียบในความภูมิใจของนักเรียน นักศึกษาระหว่าง “แผ่นดินไทย” กับ “นักการเมืองไทย” พบว่า ทุกระดับชั้น ร้อยละ 90 ภูมิใจต่อแผ่นดินไทย แต่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ที่รู้สึกภูมิใจต่อนักการเมืองไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น