++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ละครการเมือง

ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
ศาสตราภิชาน มหาวิทยาลัยรังสิต

ดูการแถลงข่าวของพ่อนายวิทวัส ท้าวคำลือ ออกมาขอโทษ ยกมือไหว้ กรณีลูกชาย ผู้เข้าแข่งขัน อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย (AF) หมายเลข V 11 ที่ได้ใช้คำหยาบคาย ด่าสาดเสียเทเสีย วิพากษ์วิจารณ์นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อีกทั้ง ในเฟซบุ๊คของนายวิทวัส ยังปรากฏข้อความที่มีลักษณะจาบจ้วงสถาบันสูงสุด ประมุขของประเทศไทย

ดูแล้ว ก็อดนึกถึงเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้านั้นไม่ได้...

กรณีทักษิณ ชินวัตร ออกมายกมือไหว้สื่อ เพื่อขอให้ยุติการวิพากษ์วิจารณ์ลูกสาว “อุ๊งอิ๊ง” ว่าล่วงรู้ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย เป็นการใช้อิทธิพลพ่อ เอาเปรียบนักเรียนและสังคม สุดท้าย ละครจบลงที่ลูกสาวได้เข้าเรียนคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กรณีนางสิมารักษ์ ณ นครพนม ออกมาปกป้องนายศิวรักษ์ ชุติพงษ์ ผู้เป็นลูกชาย จากข้อหาจารกรรมข้อมูลตารางการบินที่กัมพูชา ขนาดทางการไทยจัดหาทนายมือดีให้ก็ไม่เอา สุดท้าย ละครจบลงโดยที่ฮุนเซ็นกับทักษิณ จับมือกันเป็นพระเอก อภัยโทษให้ จนเดี๋ยวนี้ นายศิวรักษ์ก็กลับไปทำงานที่เก่า ส่วนนางสิมารักษ์ก็หายเงียบไปแล้ว

กรณี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ออกมาปกป้องนายดวงเฉลิม และนายวันเฉลิม ลูกชายหัวแก้วหัวแหวน 2 คน จากข้อหาฆ่าดาบยิ้ม โยนความผิดให้ “ไอ้ปื๊ด” วิ่งเต้น ปกป้องช่วยเหลือ จนสุดท้าย ก็ไม่ต้องล้มหมอนนอนคุก

อันที่จริง... การแสดงอะคาเดมี่ แฟนเทเชีย ก็เป็นละครที่เกิดขึ้นในบ้านหลังหนึ่ง เอาคนมาแข่งขันการแสดง โปรโมทกัน แต่บทละคร ทำไมถึงได้พันกับบทการเมืองไทย

การเมืองคือละคร หรือละครคือการเมือง?

นักแสดงการเมือง

จะเห็นว่า นายมาร์ค “วิทวัส ท้าวคำลือ” อายุ 17 ปี ได้เขียนข้อความแสดงความรู้สึกนึกคิดของตนเอง ประกาศบนสื่อออนไลน์ “เฟซบุ๊ค” มีบางตอนด่าทอ ดูหมิ่นเหยียดหยามนายกฯ อภิสิทธิ์ ด้วยถ้อยคำหยาบคาย รุนแรง เช่น

“มึงออกได้ละ ไอ่โง่อภิสิทธิ์”

“แม่งพูดมาได้เห็นประชาประท้วงมาขนาดนี้เป็นผมผมออกไปนานแล้ว แล้วทีตัวเองเสือกไม่ออก ค_ย”

“ละเป็นไง พอมันเผา มึงจะทำไง มึงก็ทำเหี้ยไรไม่ได้ มึงไม่ออกเลยละสัส หน้าโง่ แก้ปัญหาไม่ได้ก็ยุบสภาซะสิ แม่งกลัวไม่มีงานทำมากกว่า บ้านไม่ได้รวยเท่าทักสินไง”

“กลัวตาย กลัวออกประเทศไม่มีเงินใช้ หรือไงวะ”

เรื่องนี้ มีข้อน่าคิด คือ

1) ใครเป็นเด็ก อายุเพียง 17 ปี อาจทำผิดพลาดได้

และใครๆ ก็เคยทำผิดพลาดกันบ้างทั้งนั้น

เมื่อรู้ว่าผิด ก็ควรแก้ไขได้

ยิ่งถ้าผิดพลาด โดยไม่ได้ตั้งใจ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือคึกคะนองชั่ววูบ ก็ยิ่งต้องแก้ไขที่ตัวเอง

หรือแม้แต่จะผิดพลาดไปโดยตั้งใจ โดยวางแผน หรือโดยการร่วมมือกันกับใคร ก็ยังอาจกลับตัวกลับใจได้ ถ้าเกิดสำนึกผิดอย่างแท้จริง

2) การแสดงความคิดเห็น หรือแม้แต่วิพากษ์วิจารณ์การเมือง ติดตามตรวจสอบการทำหน้าที่ของนักการเมือง เป็นเรื่องดี

ทุกคนสามารถกระทำได้ ไม่ว่าจะเด็ก หรือผู้ใหญ่

นายวิทวัสก็เช่นกัน ควรได้รับการส่งเสริมให้มีความสนใจ ติดตามข้อมูลข่าวสาร ข้อเท็จจริง และฝึกฝนความคิดในการวิเคราะห์ปัญหา เหตุการณ์บ้านเมืองอย่างละเอียดถี่ถ้วนต่อไป

และควรตระหนัก หรือเรียนรู้ที่จะมีมารยาทในการแสดงความคิดเห็น

ต้องไม่ใช้คำหยาบคาย หยาบโลน เหมือนที่ใช้คำเรียกอวัยวะเพศชายด่านายกฯ

หากไม่เห็นด้วย หรือต้องการตำหนิ ก็ควรจะคิดหาถ้อยคำที่สุภาพ หรือบ่งบอกถึงเหตุและผลมากกว่านี้

เรื่องนี้ ไม่จำเป็นต้องมีการศึกษาสูง ไม่ต้องมีข้อมูลลึก ไม่ต้องหล่อ ไม่ต้องฉลาด แต่ต้องมีมารยาท และสำนึกพื้นฐานของความเป็นคน

3) การจะติดตามเหตุการณ์บ้านเมือง วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ปัญหาต่างๆ ในบ้านเมือง จำเป็นต้องรู้จักคิดวิเคราะห์ แยกแยะ ผิดชอบชั่วดี

การคิดแบบเอาง่ายเข้าว่า หรือคิดแบบตื้นๆ ไม่มีเหตุผล ย่อมจะไม่เป็นผลดีต่อสติปัญญาของตนเอง

อย่างที่นายวิทวัสคิดว่า “...แก้ปัญหาไม่ได้ก็ยุบสภาซะสิ แม่งกลัวไม่มีงานทำมากกว่า บ้านไม่ได้รวยเท่าทักสินไง”หรือ “กลัวตาย กลัวออกประเทศไม่มีเงินใช้ หรือไงวะ”

น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีของผลลัพธ์จากการคิดไม่เป็น หรือไม่รู้จักคิด

ใช้ตรรกะและเหตุผลไม่ถูกต้อง

แสดงว่า ไม่ค่อยได้รับการสั่งสอน

การตัดสินใจจะยุบสภาหรือไม่นั้น มีปัจจัยหลายอย่าง ไม่ใช่ว่าตัวนายกฯ แก้ปัญหาไม่ได้ ก็ไปยุบสภาเสีย

และที่ดูจะไร้สติปัญญาที่สุด ก็คือ การไปเทียบเคียงฐานะทางการเงินของนายกฯ อภิสิทธิ์ กับอดีตนายกฯ ทักษิณ ว่าไม่ได้รวยเหมือนทักษิณ ก็เลยทำให้ตัดสินใจไม่ได้เหมือนทักษิณ

นายวิทวัสควรได้รับการส่งเสริมให้ศึกษาข้อมูลข้อเท็จจริงมากกว่านี้ เช่น ทักษิณรวยมาได้อย่างไร? รวยแล้วทำให้ทักษิรยุบสภาได้ง่ายๆ หรือออกไปอยู่นอกประเทศมีเงินจากไหนไปใช้ ฯลฯ

ทั้งหมด จะช่วยให้ไม่เกิดการคิดแบบ “จับแพะชนแกะ” หรือ “ข้างๆ คูๆ” แบบนี้ต่อไปในภายภาคหน้า

4) การแสดงความคิดเห็น ไม่ว่าจะรักจะชอบ หรือจะเกลียดนักการเมืองคนใดก็ตาม จะต้องไม่จาบจ้วง ล่วงละเมิดสถาบันเบื้องสูง

ไม่ไปลบหลู่ หรือยุยงให้คนกระทำการอันเป็นการดูหมิ่นสถาบัน

นายวิทวัสยังเด็ก อายุ 17 ปี อาจจะยังไม่ได้เรียนรู้ถึงความสำคัญ ความหมาย และคุณค่าของการดำรงอยู่ของสถาบันสูงสุดของประเทศไทยตั้งแต่ประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน

5) พิจารณาจากการกระทำของนายวิทวัส และการแสดงออกต่อเนื่องมาของตัวเขาเอง ครอบครัว และผู้จัดรายการแสดงอะคาเดมี่แฟนเทเชีย ก็ทำให้เห็นแรงจูงใจของการใช้ “การแสดงนอกรอบ” ของ “มาร์ควิทวัส” เป็นเครื่องมือในการโฆษณารายการไปด้วย

เพราะในขณะที่กระแสของรายการเริ่มตกต่ำลง เมื่อมี “มาร์ควิทวัส” แสดงออกทางการเมืองในแบบ “ดิบ-ถ่อย-เถื่อน” ก็ทำให้รายการมีคนส่งเอสเอ็มเอสเข้ามามากขึ้น

จากพฤติกรรมดังกล่าว ได้ทำให้คนที่ไม่เคยสนใจรายการนี้เลย ก็ต้องสงสัย และอยากรู้ว่า รายการมันเกี่ยวอะไรกับการเมือง หรือมันเป็นการแสดงประเภทไหน ถึงได้มีคนอย่างนายวิทวัสเข้าไปอยู่ด้วย

คนเสื้อแดงก็ส่งเข้ามาเชียร์ โหวตให้ V11

ส่วนประชาชนที่ทนไม่ไหวก็ส่งเข้ามาด่า

ยอดเอ็สเอ็มเอสเพิ่มขึ้น เรตติ้งของรายการก็เพิ่มขึ้น

ผู้จัดรายการ ก็เลยได้โอกาส ผนวกเอา “การแสดงนอกรอบ” ของนายวิทวัส เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของรายการแสดงอะคาเดมี่ แฟนเทเชีย โดยจัดให้นายวิทวัสได้ร้องเพลงพิเศษหนึ่งเพลง ก่อนจะตบท้ายด้วยเพลง “เก็บตะวัน” เพื่อเป็นการอำลาเวทีการแสดง ตามบทบาทที่เคยแถลงข่าวขอโทษสังคมไปก่อนหน้านั้น

และในโอกาสนี้ นายวิทวัสและพ่อก็ได้โอกาสใช้การแสดงอะคาเดมี่แฟนเทเชีย เล่นบทบาทที่ตนเองต้องการได้อีกครั้ง ซึ่งแตกต่างจากตอนที่แถลงข่าวขอโทษอย่างกับเป็นคนละคน

ยิ่งกว่านั้น นักการเมืองพรรคฝ่ายค้าน ผู้ติดบทบาท “เด็จพี่” เหมือนดาราตกรุ่น ลิเกหลงวิก ก็ยังอุตส่าห์พยายามจะเกาะกระแส “แสดงบทบาททางการเมือง” ไปกับเขา

เล่นส่งบทกันอย่างผสมผสานกลมกลืน

โดยใช้ “การแสดงนอกรอบ” ของ “มาร์ควิทวัส V 11” การอำลาจากการแข่งขันในอะคาเดมี่แฟนเทเชีย นำมาใช้โจมตี กล่าวหานายกรัฐมนตรีและรัฐบาลเข้าจนได้ ว่ารัฐบาลรับไม่ได้กับคนที่เห็นต่าง ทั้งๆ ที่ เรื่องนี้ นายกฯ ถูกเด็กด่า แล้วนายกฯ ก็ไม่ได้ตอบโต้อะไรเลย

นอกจากนี้ สื่อมวลชนทั่วไปก็ดูสนใจที่จะนำเสนอเรื่องราวพรรค์อย่างนี้มากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะเมื่อสามารถเชื่อมโยงกับการเมืองได้ว่า เป็นเหมือนการชกข้ามรุ่นของ “มาร์ค V 11” กับ “มาร์ค ราบ 11”

จากธุรกิจรายการแสดงผ่านโทรทัศน์ ก็เลยถูกนำมาเล่นต่อ ขยายบท ขยายฉาก ทำเป็นการแสดงการเมืองไปอย่างเต็มรูปแบบ

การเมืองคือละคร หรือละครคือการเมือง

จึงอาจขยายความได้ว่า ในการเมืองมีการเล่นละคร และในการเล่นละครก็มีการเมืองแอบแฝงอยู่

สิ่งสำคัญ คือ คนดูจะต้องรู้เท่าทัน และช่วยกันขจัด “น้ำเน่า” ที่แฝงอยู่ทั้งใน “ละคร” และ “การเมือง”

---
เรื่องที่น่ากลัวคือฝ่ายที่สนับสนุนทักษิณล้วนสำแดงความ ด้อย ดิบ กักขฬะ ขาดวุฒิภาวะในทุกด้าน
ทำยังไงคนในสังคมจะส่งความรักความเข้าใจเข้าไปได้ทั่วถึง ใ้การอยู่ร่วมกันเป็นไปอย่างสงบสันติ
หากใช้ความเกลียดต้านความเกลียด จำนวนที่มากกว่าย่อมเป็นผู้ชนะ
สื่อสารมวลชลจึงมีบทบาทสำคัญมาก
ชื่นชมบทความของอาจารย์มาก ถึงมากที่สุด
อยากให้บทความอื่นๆของastv มุ่งเสนอที่เนื้อหา มากกว่าการกระพืออารมณ์ให้แตกแยก
ส่งเสริมปัญญาให้กับสังคม
101

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น