ในทันทีที่พรรคเพื่อไทยซึ่งนำโดย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง
ได้ยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีกับอีก 5 รัฐมนตรี
ผู้เขียนเชื่อว่ามีผู้คนในสังคมจำนวนไม่น้อยที่อยากเห็นภาพแห่งการประชุมใน
วันนั้นว่า ส.ส.ฝ่ายค้านแต่ละท่านจะมีลีลาในการอภิปรายสุภาพเรียบร้อยสมกับที่ได้รับการ
เรียกขานว่า ผู้ทรงเกียรติ มากน้อยแค่ไหน อย่างไร
และที่สำคัญที่สุด คงจะอยากได้ยินได้ฟังภาษา และเนื้อหาที่
ส.ส.ฝ่ายค้านที่ว่านี้นำมาเป็นข้ออ้างในการปรักปรำผู้ถูกอภิปรายว่ามีสาระ
และความจริง รวมไปถึงเหตุผลในการชี้นำให้ผู้ฟังเห็นด้วยและคล้อยตามได้มากน้อยเพียงใด
ในขณะเดียวกัน ในด้านรัฐบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ส.ส.ในสังกัดพรรคที่รัฐมนตรีของพรรคถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ
จะมีท่าทีในการตั้งรับด้วยการช่วยกันให้ข้อมูล
และอาจเลยไปถึงลุกขึ้นชี้แจงโดยอาศัยการถูกพาดพิง
หรือแสดงการโต้แย้งในกรณีที่ ส.ส.พรรคฝ่ายค้านทำผิดข้อบังคับการประชุม
ทุกสิ่งที่ปรากฏจะเป็นจุดขายทางการเมืองของพรรคการเมืองในฐานะเป็นรัฐบาล
และจะเป็นทุนในการเลือกตั้งครั้งต่อไปไม่น้อยไปกว่าน้ำหนักของข้อมูล
และเหตุผลของฝ่ายค้าน
ดังนั้น ญัตติการอภิปรายไม่ไว้วางใจไม่ว่าในครั้งไหนๆ
ก็คงเปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับรู้ความจริงเกี่ยวกับกิจการบ้านเมืองผ่านทาง
การกล่าวหารัฐบาลของพรรคฝ่ายค้าน ทั้งในแง่ของด้านท้วงติง เสนอแนะ
และผ่านทางการชี้แจงของฝ่ายรัฐบาล
ที่ว่ามานี้เป็นไปตามหลักการแห่งการปกครองในรูปแบบของประชาธิปไตยที่มี
บุคลากรทางการเมือง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มาจากการได้รับเลือกเข้ามาตามระบอบประชาธิปไตยที่มี
ความถูกต้อง และสมบูรณ์ทั้งในด้านรูปแบบและเนื้อหาของประชาธิปไตย
แต่การเมืองไทยเท่าที่ผ่านมาจากอดีตจนกระทั่งปัจจุบัน
การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ
หรือแม้กระทั่งการประชุมเพื่อพิจารณากฎหมายทั่วไป
ก็มักจะได้เห็นพฤติกรรมแปลกประหลาดทั้งจากคำพูด และกิริยาท่าทางของ
ส.ส.ผู้ทรงเกียรติที่พูดได้ว่าไม่เหมาะสมกับสถานะทางสังคมที่ได้ให้การยอม
รับว่าเป็นผู้ทรงเกียรติอยู่บ่อยๆ เป็นต้นว่า พูดจาส่อเสียด
เยาะเย้ยถากถาง รวมไปถึงในบางครั้งพูดได้ว่าหยาบคายด้วยซ้ำไป
และพฤติกรรมในทำนองที่ว่านี้เองคือปัจจัยแห่งการบั่นทอนศรัทธาของประชาชนที่
มีต่อผู้แทนราษฎร และเป็นเหตุนำไปสู่ความเบื่อหน่ายทางการเมือง
แล้วนำไปสู่ความพิกลพิการของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอยู่ในปัจจุบัน
ด้วยเหตุนี้ การอภิปรายไม่ไว้วางใจที่จะจัดให้มีขึ้นในช่วงวันที่
30 พ.ค.-1 มิ.ย.ที่จะถึงนี้
จึงได้แต่หวังว่าจะไม่มีพฤติกรรมและพฤติการณ์ที่ว่ามาข้างต้นเกิดขึ้น
หรือถ้าจะมีก็ควรจะให้น้อยที่สุดก็จะช่วยให้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้
รับการยอมรับจากต่างประเทศ และในประเทศมากขึ้น
อันจะเปิดโอกาสให้การเลือกตั้งในครั้งต่อไปได้รับความสนใจจากประชาชนมากขึ้น
เนื่องจากเบื่อหน่ายกันน้อยลง
แต่เมื่อถึงวันนั้นจะเป็นอย่างที่คาดหวังหรือไม่ผู้เขียนไม่แน่ใจ
และยิ่งกว่านี้ยังมีแนวโน้มที่เชื่อว่าคงจะเป็นไปดังที่หวังได้ยาก
ทั้งนี้ด้วยเหตุปัจจัยในเชิงตรรกะดังต่อไปนี้
1. จากการประชุมสภาฯ เพื่อพิจารณาพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี
พ.ศ. 2554 จะเห็นได้ว่า
ส.ส.หลายท่านจากพรรคฝ่ายค้านแทนที่จะหยิบยกเนื้อหาสาระของ พ.ร.บ.ฉบับนี้
เป็นต้นว่า จำนวนเงิน การนำไปใช้
และสิ่งที่คาดว่าจะได้รับจากการใช้เงินจำนวนที่ว่านั้น
มีความจำเป็นมากน้อยเพียงไร และคุ้มค่าแก่การใช้หรือไม่
และถ้าไม่คุ้มค่าจะเสนอแนะอย่างไรเพื่อให้รัฐบาลรับฟัง
และนำไปปรับลดให้สอดคล้องกับความจำเป็น และคุ้มค่าแก่การลงทุน
แต่กลับนำโอกาสในการพิจารณางบประมาณเพื่อควบคุมการใช้จ่ายของประเทศ
ไปเป็นการซักซ้อมการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
โดยมุ่งประเด็นไปที่การแก้ไขปัญหาม็อบคนเสื้อแดง
และเน้นย้ำในประเด็นที่ทำลายศรัทธารัฐบาล
โดยการวิจารณ์เรื่องการทำให้คนบาดเจ็บและล้มตาย ทั้งๆ
ที่ส่วนหนึ่งของความขัดแย้งจนเกิดเป็นม็อบก็คือบุคลากรทางการเมืองของพรรค
เพื่อไทยภายใต้ชื่อพรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชน
ที่ถูกยุบไปก่อนหน้านี้เป็นส่วนหนึ่งของเหตุด้วย
2. ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้
แท้จริงแล้วคือการคิดของแนวร่วมหนึ่งของขบวนการโค่นล้มรัฐบาลเพื่อให้มีการ
เลือกตั้งโดยเร็ว
อันเป็นการเปิดโอกาสให้มีการเปลี่ยนแปลงผู้ครองอำนาจรัฐใหม่
โดยหวังว่าจะทำให้กลุ่มอำนาจเก่าคืนมา
และถือโอกาสแก้ไขกฎหมายเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลอำนาจเก่า
โดยเฉพาะอย่างยิ่งอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร เป็นหลัก
แต่แล้วก็หยุดชะงักไป
ปล่อยโอกาสให้ขบวนการล้มรัฐบาลนอกสภาบีบรัฐบาลผ่านการชุมนุมเรียกร้อง
ครั้นการชุมนุมเลยเถิดถึงกับก่อกวน
และจบลงด้วยการกระทำรุนแรงที่เรียกได้ว่าก่อการร้าย
และถูกปราบด้วยการบังคับใช้กฎหมาย จึงจำเป็นต้องเดินเกมในสภาต่อ
ด้วยเหตุ 2 ประการที่ว่านี้ การอภิปรายไม่ไว้วางใจในวันที่ 30
พ.ค.-1 มิ.ย. เชื่อได้ว่าจะไม่มีอะไรมากไปกว่าลุกขึ้นมาพูดเรื่องรัฐบาลปราบม็อบ
และแก้ตัวแก้ต่างว่าคนเสื้อแดงไม่ใช่ผู้ก่อการร้าย
ส่วนว่าคนฟังฟังแล้วเชื่อรัฐบาลหรือเชื่อฝ่ายค้าน
คงจะตอบได้ว่ากลุ่มคนเสื้อแดงเชื่อฝ่ายค้าน แต่คนที่มีเหตุผลฟังแล้วคิด
คิดแล้วเชื่อ คงจะเชื่อรัฐบาลมากกว่าฝ่ายค้านแน่นอน
ทั้งนี้ดูได้จากพฤติกรรมทางการเมืองของบุคลากรทั้ง 2 ฝ่าย
โดยนำมาเปรียบเทียบใน 3 ประเด็น คือ
1. คุณวุฒิ
2. คุณธรรม
3. พฤติกรรมที่ผ่านมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น