เลขาอย.แนะหากกินผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและน้ำหนักตัวลดฮวบฮาบรวดเร็ว
ขอให้สงสัยว่าผลิตภัณฑ์อาจไม่ปลอดภัย
วันนี้(23 มิถุนายน 2553) ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นาย
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
พร้อมด้วยนายแพทย์พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
และพล.ต.ต. จตุรงค์ ภุมรินทร์
ผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้ม ครองผู้บริโภค
ร่วมกันแถลงข่าว ผลการตรวจจับผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย
หลังได้รับการร้องเรียนจากผู้บริโภคให้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารออริจิน
เนื่องจากกินแล้วมีอาการคอแห้ง และกระหายน้ำตลอดเวลา
นายจุรินทร์ กล่าวว่า อย.พร้อมด้วยตำรวจ ได้ไปตรวจ ค้นบริษัท
อีโวโลจิคอล (ไทยแลนด์) จำกัด ตั้งอยู่ที่อาคาร- วรสิน ชั้น 9 เลขที่
125/37 ม.2 แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ
เป็นบริษัทผู้จำหน่ายลักษณะขายตรง เปิดให้บริการตั้งแต่วันจันทร์-เสาร์
ผลการตรวจค้นพบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลายรายการ ได้แก่
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารออริจิน บรรจุกล่องสีส้ม เลขสารบบอาหาร
10-3-33748-1-0075 ผลิตโดย ประเทศมาเลเซีย นำเข้าโดยบริษัท เฮลท์ตี้ ฟอร์
ยู จำกัด ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกับที่ อย.เก็บตรวจ และตรวจพบยาลดความอ้วน
ไซบูทรามีน (Sibutramine) ซึ่งเป็นยาควบคุมพิเศษที่ต้องสั่งจ่าย
และอยู่ในความดูแลของแพทย์ เนื่องจากอาจทำให้เกิดความดันโลหิตสูง
หัวใจเต้นเร็ว และผลข้างเคียงอื่น เช่น ปากแห้ง ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ
และ ยังพบผลิตภัณฑ์อาหารที่แสดงฉลากไม่ถูกต้อง ได้แก่
เครื่องดื่มผักผสมข้าว-โอ๊ต และไซเลียมฮัสก์(ตราซัมเมอร์พลัส)
,ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคอลลาเจน พลัส,ผลิตภัณฑ์กาแฟปรุงสำเร็จรูปตราสปริง
คาเฟ่, ผลิตภัณฑ์กาแฟปรุงสำเร็จรูป ตราออริจิน คอฟฟี่,
ผลิตภัณฑ์กาแฟปรุงสำเร็จรูป ตราซัมเมอร์ คอฟฟี่ ,
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกรีนมิกส์ ขนาด 45 กรัม,
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกรีนมิกส์ ขนาด 90 กรัม , โรล อัพ( Roll Up)
เครื่องดื่มผักผสมข้าวโอ๊ตและไซเลียมฮัสก์ รวมทั้งเอกสารโฆษณาผลิตภัณฑ์
เสริมอาหารออริจิน ได้แก่ แผ่นพับ และป้ายโฆษณาแบบชัก จำนวน 10 รายการ
นอกจากนี้ยังพบเครื่องสำอางแสดงฉลากไม่ถูกต้อง ไม่มีภาษาไทยอีก 9 รายการ
ได้ยึดอายัดผลิตภัณฑ์ดังกล่าวกว่า 1,000 ชิ้น รวมมูลค่าประมาณ 1.5
ล้านบาท และเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์อาหารส่งตรวจวิเคราะห์อีกครั้ง
ทั้งหมดนี้ได้ดำเนินคดีดังนี้ กรณีอาหาร มี 3 ข้อหาคือ 1.
นำเข้าเพื่อจำหน่าย หรือจำหน่ายอาหารไม่บริสุทธิ์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี
หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 2.จำหน่าย
อาหารที่แสดงฉลากไม่ถูกต้อง ไม่ระบุที่ตั้งของผู้นำเข้า
และข้อความไม่เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
และรูปแบบฉลากโภชนาการไม่ถูกต้อง มีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท และ3.
โฆษณาอาหารโดยไม่ได้รับอนุญาตต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท
กรณี เครื่องสำอาง ข้อหาแสดงฉลากเครื่องสำอางไม่ถูกต้อง
มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หากผลการตรวจวิเคราะห์
พบยาลดความอ้วน ไซบูทรามีนในผลิตภัณฑ์อาหาร จะจัดเป็นอาหาร
ไม่บริสุทธิ์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีหรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
"ขอ เตือนผู้บริโภค สินค้าชนิดนี้ยังมีจำหน่ายตามท้องตลาด
การจับกุมยังไม่หมด หากมีไว้ในครอบครองให้หยุดใช้ทันที
ผู้บริโภคต้องไม่ตกเป็นเหยื่อ อย่าซื้อ อย่าบริโภค หากพบมีการทำผิด
ให้ร้องเรียนได้ที่ สายด่วน อย. โทร. 1556 หรือส่งจดหมายไปที่ ตู้ ปณ.52
ปณฝ.กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004"นายจุรินทร์กล่าว
ทางด้านนพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการฯ อย.กล่าว เพิ่มเติมว่า
หากประชาชนมีผลิตภัณฑ์ดังกล่าว โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เสริมอาหารออริจิน
ที่เคยตรวจพบไซบูทรามีน ขอให้หยุดบริโภคโดยเด็ดขาด ทั้งนี้
ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ขอขึ้นทะเบียน
อย.อย่างถูกต้องเป็นจำนวนมาก โดยในการขออนุญาตขึ้นทะเบียน
ผู้ประกอบการมักจะนำผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ไม่มีส่วนผสมของสิ่งที่น่าจะเป็น
อันตรายต่อสุขภาพเจือปน เช่นยาลดความอ้วน
และแสดงฉลากที่ถูกต้องมาขึ้นทะเบียน
แต่หลังจากที่ได้รับอนุญาตเลขสารบบอาหารไปแล้ว
มักพบว่าลักลอบใส่ยาลดความอ้วน ไซบูทรามีน(Sibutramine)
ซึ่งเป็นยาควบคุมพิเศษที่ต้องสั่งจ่าย และอยู่ในความดูแลของแพทย์ ยา
ดังกล่าวอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้ เช่น
ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว และผลข้างเคียงอื่นๆ ได้แก่
ปากแห้ง ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ ท้องผูก
รวมทั้งยานี้ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ ผู้ป่วยโรคตับ โรคไต ผู้ที่มีโรคต้อหิน
รวมไปถึงหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร และหากรับประทานทุกวัน
อาจเกิดอันตรายถึงชีวิตเหมือนกับกรณีข่าวที่เคยเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้
ทั้ง นี้ ขอเตือนผู้บริโภคอย่าได้หลงเชื่อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่อวดอ้างว่าสามารถลด
ความอ้วนได้ ซึ่งการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทดังกล่าว
มักจะใช้ดารามาแนะนำสินค้า และใช้คำโฆษณาชวนเชื่อต่างๆ เช่น ผ่าน อย.
แล้ว ซึ่ง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หากกินแล้วน้ำหนักลดฮวบฮาบอย่างรวดเร็ว
มักจะไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยใน การบริโภค
ในการลดความอ้วนที่ถูกต้องไม่จำเป็นต้องพึ่งยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใดๆ
ควรปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และออกกำลังกายให้พอเหมาะ
ก็จะสามารถควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วนได้จึงขอให้ผู้บริโภคช่วยกันสอดส่องเป็นหูเป็นตาให้แก่อย.หรือภาครัฐด้วย
หากพบเห็นผลิตภัณฑ์ผิดกฎหมายหรือพบเห็นการโฆษณาเกินจริงหลอกลวงผู้บริโภค
เช่นอ้างสรรพคุณอาหารว่าสามารถรักษาโรค/ลดความอ้วนมีฉลากผลิตภัณฑ์ไม่ชัดเจน
ไม่มีภาษาไทย และคาดว่าจะผิดกฎหมาย โปรดแจ้งร้องเรียนได้ที่ สายด่วน อย.
โทร. 1556 หรืออีเมล์ : 1556@fda.moph.go.thหรือ ส่งจดหมายไปที่ ตู้
ปณ.52 ปณฝ.กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004
หรือเดินทางมาร้องเรียนด้วยตัวเองพร้อมตัวอย่างผลิตภัณฑ์มาที่
ศูนย์เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ อย.
ได้ทุกวันในเวลาราชการ หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด
************************************* 23 มิถุนายน 2553
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น