++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เยาวชนอาสาสมัครเอกลักษณ์ชาติ-ธงไตรรงค์ ธำรงไทย

โดย แสงแดด 29 มิถุนายน 2553 15:20 น.
ตลอดระยะเวลาเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา
โดยเฉพาะช่วงที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ ในสมัยของรัฐบาล
พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ กับ "การพัฒนาประเทศ" เรียกว่า
"โค้งก้าวหน้าเศรษฐกิจ" ที่มิใช่เกิดขึ้นเฉพาะประเทศไทย
แต่พัฒนาเจริญก้าวหน้าในภูมิภาคเอเชียแบบ "ก้าวกระโดด"
จนเป็นที่ตื่นตัวของสังคมโลกในยุคนั้น ซึ่งเป็นก่อนยุคโลกาภิวัตน์ประมาณ
15 ปีทีเดียว!

เราคงจำกันได้กับ "ความตื่นเต้น"
ของเราชาวเอเชียทุกคนที่ได้รับการกล่าวขวัญว่าจะเป็น
"กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่" หรือ "New Industrial Countries (NIC'S)"
พูดง่ายๆ เหมือนกับ "การปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคเอเชีย"
ที่เพิ่งถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตจากแหล่งอุตสาหกรรมของซีกโลกตะวันตก
จึงทำให้เอเชียบูมอย่างมากกับการพัฒนาอุตสาหกรรม

อย่างไรก็ตาม "การก่อกำเนิดกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NIC'S)"
ในทวีปเอเชียนี้ โดยมุ่งมาที่ประเทศที่มีแหล่งวัตถุดิบ
แหล่งทรัพยากรมนุษย์ และแหล่งทุน ตลอดจน
ความมีเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจ จึงมีการจับ "กลุ่ม 5 เสือ"
ของประเทศต่างๆ ในเอเชีย เช่น จีน เกาหลี ญี่ปุ่น สิงคโปร์
และแทบไม่น่าเชื่อว่า "ประเทศไทย" ติดอยู่ในกลุ่มกับ "5 เสือ" ด้วย

ว่ากันตามความเป็นจริงแล้ว การที่กลุ่มประเทศต่างๆ
ในเอเชียถูกจัดวางให้เป็น "กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่" นั้น
มิใช่หมายความว่า จะเป็นแหล่งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่หรืออุตสาหกรรมหนัก อาทิ
อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมน้ำมัน อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
และอุตสาหกรรมเหล็ก เป็นต้น ที่มีสมรรถนะในการผลิตครบวงจร
พร้อมทั้งเป็นเจ้าของอุตสาหกรรม และที่สำคัญ "ลิขสิทธิ์" ของพวกเรากันเอง

ประเด็นสำคัญที่กล่าวข้างต้นนั้น
กลุ่มประเทศแถบเอเชียถูกจัดวางในลักษณะเป็น "อุตสาหกรรมใหม่" ในส่วนของ
"การย้ายถิ่นฐานการผลิต" หรือ "Relocation" จาก "กลุ่มประเทศตะวันตก"
และ/หรือ "กลุ่มประเทศอุตสาหกรรม-กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว" ที่ขาดแคลนทั้ง
"วัตถุดิบ" แต่คงไม่สำคัญเท่ากับ "แรงงาน" ซึ่งทั้งสองส่วนนั้นเป็น
"ทรัพยากรคุณค่า" ที่นับวันจะหาได้ยากในกลุ่มประเทศเหล่านั้น

ทั้งนี้ นอกเหนือจากประเด็นดังกล่าวข้างต้นนั้น ที่สำคัญที่สุดคือ
"ค่าจ้างแรงงาน" ที่นับวันจะทวีคูณเพิ่มขึ้นมากเรื่อยๆ จนก่อให้เกิดปัญหา
"ต้นทุนการผลิต" ที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว
จนราคาสินค้าเมื่อถึงมือผู้บริโภค จะมีราคาแพงจนไม่สามารถซื้อหากันได้!

หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง หมายความว่า
เมื่อต้นทุนการผลิตมีราคาสูงขึ้นจนเกินความจำเป็น
และความสามารถของผู้บริโภคที่จะซื้อได้ "การย้ายฐานการผลิต"
จากกลุ่มประเทศตะวันตก โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกากับกลุ่มประเทศยุโรป
หรือแม้กระทั่ง ประเทศญี่ปุ่นเอง
ยังต้องย้ายฐานการผลิตสู่ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ "ถูก!"
ในทุกกรณี ไม่ว่า "วัตถุดิบ-ค่าแรงงาน" และ "ทรัพยากร" อื่นๆ
ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเรียกว่า "Labor Incentive" หรือ
"ค่าตอบแทนด้านแรงงาน" เท่านั้น!

นอกเหนือจากการที่กลุ่มอุตสาหกรรมตะวันตกได้ใช้วิธีการที่ "แยบยล"
ที่ดูเสมือนให้กลุ่มประเทศเอเชียเป็น "แหล่งอุตสาหกรรมใหม่"
แต่โดยความเป็นจริงแล้ว ต้องขอเสียมารยาทว่าเป็น "การหลอก!" เสียมากกว่า
ทำให้กลุ่มประเทศเอเชียตื่นเต้นดีใจ ว่าจะเป็นกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่
แต่แท้จริงแล้วเป็น "การแสวงหาวัตถุดิบ-ค่าแรงงาน" ที่ "ถูกอย่างมาก"

เท่านั้นยังไม่พอ "กระบวนการผลิต" ทั้งหมด ยัง "กระจาย-ไม่กระจุก"
ตามโรงงานแหล่งผลิตที่แยกให้เป็นเพียงส่วนๆ เท่านั้น มิใช่ผลิตครบวงจร
และแล้วในที่สุดเมื่อ "ค่าแรงงานขั้นต่ำ" ได้เพิ่มขึ้น
ก็ย้ายฐานการผลิตในปัจจุบันสู่ประเทศเวียดนามและประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
แทบทุกภาคส่วนของอุตสาหกรรม

จากสภาพการณ์ของการย้ายฐานการผลิต จนก่อให้เกิด "อุตสาหกรรมใหม่"
ที่ปัจจุบันก่อปัญหาไว้อย่างมากมาย เนื่องด้วย "มุ่งพัฒนาด้านเศรษฐกิจ"
จน "ลืม-ละเลย" "การพัฒนาด้านสังคม" "ปัญหาด้านวัฒนธรรม"
จึงไหลบ่าทะลักสู่ชาวเอเชีย จนเกิด "กระแสบริโภคนิยม-ทุนนิยม"
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ "กลุ่มคนรุ่นใหม่-เยาวชนรุ่นใหม่"
ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง

เป็นกรณีที่แปลกอย่างมาก ที่ปัจจุบัน "ยุคสังคมข้อมูลข่าวสาร"
ที่มีการเผยแพร่อย่างกว้างขวาง และครอบคลุมเต็มพื้นที่
จนประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจมากกว่าเดิม จน "ตื่นตัว" อย่างมากกับ
"ข่าวคราว" และ "ความเคลื่อนไหว" แทบทุกมิติในสังคม แต่มุ่งไปเฉพาะ
"ความทันสมัย-สมัยใหม่" เท่านั้น ซึ่งยังคงปักหลักอยู่กับ
"บริโภคนิยม-ทุนนิยม"

ประเด็นปัญหาสำคัญที่สุดกับสังคมยุคใหม่ โดยเฉพาะ
"เยาวชนรุ่นปัจจุบัน-รุ่นอนาคต" ต่างไม่ให้ความสำคัญกับ
"วัฒนธรรม-ขนบธรรมเนียมประเพณี" ที่เป็น "รากฐาน-โครงสร้าง"
ของสังคมตนเอง เรียกว่า "ลืมตัวตน!" ของ "ความเป็นชาติ" โดยเฉพาะอย่าง
"เอกลักษณ์ชาติ"

ทั้งนี้ กลุ่มประเทศในแถบเอเชียอาจจะเปลี่ยนแปลงไม่มากก็น้อย
แต่สำหรับ "คนไทย" และ "คนรุ่นใหม่" แล้วต้องกล่าวอย่างตรงไปตรงมาว่า
"สังคมไทยยุคใหม่" เป็น "สังคมพร่องความรู้ความเข้าใจ" เกี่ยวกับ
"เอกลักษณ์ชาติ" จนสามารถกล่าวตำหนิได้ว่า "ลืมรากฐาน" ชาติบ้านเมือง

จริงๆ แล้ว ถ้าท่านผู้อ่านได้ทดลองศึกษาและพิจารณาว่า
ปัจจุบันคนไทยที่มีตั้งแต่อายุ 40 ปีกว่าๆ ลงมาจนถึงเด็กเยาวชนรุ่นใหม่
ถ้าให้ลองสาธยาย หรือพูดถึง "เอกลักษณ์ของชาติไทย" ว่ามีอะไรบ้าง
เขาเหล่านั้นอาจจะกล่าวถึง "ชาติ ศาสน์ กษัตริย์"
ซึ่งอาจอธิบายไม่ครบถ้วนเลยก็เป็นได้ หรืออาจจะพูดถึงแค่ "การไหว้" กับ
"อาหารไทย" เท่านั้น

แต่จริงๆ แล้ว เอกลักษณ์ไทยมีมากมายและลึกซึ้งมากกว่านั้น
ไม่ว่าจะเป็น "ความสุภาพนอบน้อม" และ "การโอบอ้อมอารี" แต่ที่สำคัญคือ
"สังคมพี่น้อง" หรือ "ระบบเครือญาติ" ที่กลุ่มประเทศในเอเชียอาจมีบ้าง
แต่คงไม่ฝังรากลึกเท่าสังคมไทยกับ "ระบบอาวุโส"
ที่ผู้มีอายุน้อยกว่าต้องแสดงความเคารพด้วย "การไหว้"
ผู้ที่มีอาวุโสมากกว่า

"สำนัก งานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ"
เป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ดำเนินการจัด
"โครงการฝึกอบรมเยาวชนอาสาสมัครเอกลักษณ์ของชาติ"
ตามแนวคิดของรองนายกรัฐมนตรี สุเทพ เทือกสุบรรณ
ในฐานะประธานกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ให้สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ฯ
ดำเนินการโครงการนี้ให้ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ
เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ
แก่เยาวชนอันจะนำไปสู่การมีส่วนร่วมในการพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ
ศาสนา พระมหากษัตริย์
และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ในรูปแบบของเยาวชนอาสาสมัครเอกลักษณ์ของชาติ

โดยที่เอกลักษณ์ของชาติไทยเป็นลักษณะเฉพาะที่มีความเด่นและดีงามแตก
ต่างจากนานาประเทศ ทำให้พื้นฐานสังคมไทยมีคุณภาพ คุณธรรม ภูมิปัญญา
ใฝ่เรียนรู้ มีความสมานฉันท์และเอื้ออาทรต่อกันมีความภาคภูมิใจในมรดกทางศิลปวัฒนธรรมที่
มีมาช้านานจนหล่อหลอมให้เกิดความเป็นไทย
อีกทั้งเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมให้ประเทศชาติมีความมั่นคงเจริญก้าวหน้า
สืบเนื่องยิ่งขึ้น
(ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ
พ.ศ.2549)

เมื่อสภาพสังคมในปัจจุบันเปลี่ยนไปตามกระแสโลกาภิวัตน์
เป็นเหตุให้วิถีการดำเนินชีวิตของคนไทย โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชน
แตกต่างเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างรวดเร็ว
เกิดความสับสนในการประพฤติปฏิบัติตน
และการดำเนินชีวิตในแนวทางที่ถูกต้องของคนไทย ละเลยเรื่องคุณธรรม
จริยธรรม ความกตัญญูกตเวที เพิกเฉยต่อการทุจริตคอร์รัปชัน
หลงผิดคิดว่าวัฒนธรรมต่างชาติดีกว่าวัฒนธรรมไทย
ซึ่งสภาวะดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการธำรงรักษาสิ่งที่ดีงามอันเป็นเอกลักษณ์
ของชาติ อันจะเป็นปัจจัยสำคัญที่บั่นทอนความมั่นคงของชาติ

วัตถุประสงค์หลักๆ มีดังต่อไปนี้ 1. เพื่ออบรมเยาวชนไทยทั่วประเทศ
ให้เป็นผู้มีความรู้ ความเข้าใจ และมองเห็นความสำคัญของเอกลักษณ์ของชาติ
ที่เป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการรักษาความเป็นไทย และความมั่นคงของชาติ 2.
เพื่อปลูกฝังให้เยาวชนเกิดจิตสำนึกในความรักชาติ เกียรติยศ
ศักดิ์ศรีและภูมิใจในความเป็นคนไทย 3.
เพื่อให้เยาวชนทราบถึงบทบาทหน้าที่และภารกิจของอาสาสมัครเอกลักษณ์ของชาติ
ที่มีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

4. เพื่อให้เยาวชนสามารถปฏิบัติตามหลักการและกระบวนการมีส่วนร่วมในการพิทักษ์
รักษาไว้ซึ่งสถาบันสำคัญอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติได้ 5.
เพื่อฝึกอบรมบุคลากรด้านวิทยากรของจังหวัดให้เป็นวิทยากรอาสาสมัครเอกลักษณ์
ของชาติ สามารถขยายผลความรู้และทักษะด้านกระบวนการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการเสริม
สร้างเอกลักษณ์ของชาติได้ 6.
เพื่อประสานส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน
มีส่วนร่วมในกิจกรรมเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ

อีกโครงการที่สำคัญดำเนินการควบคู่กันไปกับ
"โครงการฝึกอบรมเยาวชนฯ" คือ "โครงการธงไตรรงค์ ธำรงไทย"
โดยมุ่งเน้นสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ "ธงชาติไทย-เพลงชาติไทย"
เพื่อก่อให้เกิด "ความรักชาติ" และตระหนักถึงประวัติศาสตร์ของธงชาติไทย

และที่สำคัญมากไปกว่านั้น คือ "สัญลักษณ์ชาติ"
ของนานาอารยประเทศทั่วโลก คือ "ธงชาติ"
ที่เมื่อใดประชาชนส่วนใหญ่ของเขาจะรู้สึกเกิด "ความรักชาติ-หวงแหนชาติ"
และไม่สำคัญเท่ากับ "ความภาคภูมิใจชาติ"

ดังนั้น ทั้งสองโครงการที่เกี่ยวกับการฝึกอบรมเยาวชนอาสาสมัครเอกลักษณ์ของชาติและธงไตรรงค์
ธำรงไทย จึงเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญกับ "เอกลักษณ์ของชาติ"
ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

1 ความคิดเห็น:

  1. ดำรงค์ไว้ ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ นั่นดีแล้ว...เวลาเหลือน้อย ดูแลตนเองและครอบครัวด้วย...

    พญานาคจะช่วยผู้ที่บูชาศรัทธาในพญานาคให้ผ่านพ้นอันตราย จากภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้น' http://ainews1.com/article311.html หลังจากท่านมรณภาพไปแล้ว 3 ปี ...

    ตอบลบ