++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2552

รายงานพิเศษ : ล่าชื่อถวายฎีกา "เกมอำมหิต"ของ "แกนนำเสื้อแดง"!?!

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

อมรรัตน์ ล้อถิรธร....รายงาน

นาทีนี้ ไม่เพียงไม่มีใครห้ามคนเสื้อแดงไม่ให้ถวายฎีกาช่วย
"ทักษิณ"ได้ แต่แกนนำเสื้อแดงยังประกาศจะล่าชื่อประชาชนให้ดูอีกรอบ
เพื่อยืนยันว่า มีคนหนุนการถวายฎีกามากกว่าคนค้าน
แถมยังประกาศนัดรวมพลคนเสื้อแดงที่สำนักราชเลขาธิการ ในพระบรมมหาราชวัง
โดยอ้างว่าไม่ใช่การกดดันสถาบัน ...ไม่เท่านั้น
"อดีตทนายความผู้อื้อฉาวของทักษิณ"ยังออกมาขู่ว่า
คนที่ต่อต้านการถวายฎีกาของกลุ่มเสื้อแดง อาจเข้าข่ายขัดขวางพระราชอำนาจ
พร้อมยกว่า กลุ่มเสื้อแดงมีสิทธิเข้าชื่อถวายฎีกาเช่นเดียวกับที่ข้าราชการตุลาการเคย
เข้าชื่อถวายฎีกาเมื่อครั้งเกิดวิกฤตตุลาการ ปี'35
...กรณีนี้คงต้องไปถามตุลาการที่อยู่ในเหตุการณ์
จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อเสื้อแดงง่ายๆ
รวมทั้งฟังผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ด้วยว่า
ทำไมการล่าชื่อถวายฎีกาของกลุ่มเสื้อแดง จึงเป็นเกมที่ "อำมหิต"

หลังแกนนำ นปช.และ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย อย่างนายจตุพร
พรหมพันธุ์ ประกาศกร้าวแบบไม่เห็นหัวประธานองมนตรีให้คนเสื้อแดงฟังในงานวันคล้ายวัน
เกิด พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ว่า "เราจะถวายฎีกาข้ามหัว พล.อ.เปรมไปเลย"
แถมพูดด้วยความมั่นใจว่า "พ.
ต.ท.ทักษิณจะสามารถเดินทางกลับประเทศไทยในฐานะผู้บริสุทธิ์ได้ภายในปีนี้
เมื่อวันที่กลับมา
จะเป็นวันที่กลุ่มคนเสื้อแดงประกาศชัยชนะอย่างเป็นทางการ
และเป็นวันที่ไทยหลุดพ้นจากระบอบอำมาตยาธิปไตย" หลายฝ่ายฟังแล้ว
คงอดรู้สึกไม่ได้ว่า ตกลงเป้าประสงค์ของแกนนำคนเสื้อแดงนั้น
แค่ต้องการให้ พ.ต.ท.ทักษิณได้รับพระราชทานอภัยโทษ
หรือต้องการให้ต้องเองได้รับชัยชนะเหนือฝ่ายที่ตนมองเป็นศัตรูกันแน่
นี่หรือคือสิ่งที่แกนนำเสื้อแดงอ้างในหนังสือฎีกาว่า "การทูลเกล้าฯ
ถวายฎีกาครั้งนี้ มุ่งหวังให้เกิดความสามัคคี
เป็นการสมานฉันท์คนในชาติให้กลับมาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันดังเดิม"

ทั้งที่ในความเป็นจริง
เพียงแค่แกนนำเสื้อแดงประกาศล่าชื่อเพื่อถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้
พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ได้สร้างความแตกแยกให้คนในชาติไปทุกหย่อมหญ้าแล้ว
เพราะตระหนักดีว่า การถวายฎีกาด้วยวิธีล่าชื่อ
นอกจากจะไม่มีกฎหมายรองรับให้ดำเนินการได้แล้ว
ยังเป็นการดึงสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ลงมาเกี่ยวข้องกับการเมือง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเมืองที่มีลักษณะขัดแย้งทางความคิดและแบ่งฝักแบ่งฝ่าย
จึงเป็นเรื่องไม่บังควรอย่างยิ่ง!

ขนาดที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย(ทปอ.) เมื่อ วันที่ 31 ก.ค.
ที่มีอธิการบดีมหาวิทยาลัยรัฐ 26 แห่งเข้าร่วม
ยังทนเห็นกลุ่มเสื้อแดงกระทำการที่ไม่ถูกต้องและไม่เหมาะไม่ควรต่อสถาบันไม่
ได้ จึงมีมติคัดค้านการเข้าชื่อถวายฎีกาดังกล่าว
พร้อมรวบรวมรายชื่ออธิการบดีและจัดทำหนังสือส่งถึงราชเลขาธิการ
สำนักพระราชวัง ขอให้ยับยั้งการนำฎีกาที่ไม่ถูกต้องขึ้นถวาย
โดยให้เหตุผลว่า "ฎีกาดังกล่าวมิใช่ฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษตามประมวล
กฎหมายอาญา และขัดต่อพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
,ฎีกาดังกล่าวมิใช่ฎีการ้องทุกข์ขอความเป็นธรรม
แต่เป็นฎีกาที่มุ่งหมายให้พระราชทานอภัยโทษแก่ พ.ต.ท.ทักษิณ
ซึ่งมิใช่ผู้ขอถวายฎีกา ,ฎีกาดังกล่าว
มุ่งประสงค์ให้พระมหากษัตริย์ใช้พระราชอำนาจก้าวล่วงองค์กรผู้ใช้อำนาจ
อธิปไตย โดยขอให้พระราชทานอภัยโทษแก่ พ.ต.ท.ทักษิณ
ซึ่งศาลฎีกามีคำสั่งเด็ดขาดแล้วให้จำคุก
และยังคงมีคดีค้างอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาอีกหลายคดี
นอกจากนี้ฎีกาดังกล่าวยังมีจุดมุ่งหมายทางการเมืองชัดเจน
และการนำเอาข้อขัดแย้งในทางการเมืองที่มีผู้เห็นแตกต่างกันอยู่หลายฝ่าย
ขึ้นกราบบังคมทูลต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เพื่อให้ทรงลงพระราชวินิจฉัย เป็นเรื่องไม่บังควรอย่างยิ่ง
เป็นการดึงสถาบันพระมหากษัตริย์มาสู่ความขัดแย้งเป็นการฝักฝ่ายทางการเมือง
โดยตรง..."

แต่แกนนำเสื้อแดงก็อยู่ในภาวะหน้ามืดเสียแล้ว เพราะขนาดองคมนตรี
พล.อ.พิจิตร กุลละวณิชย์ ออกมาให้สติว่า การล่าชื่อถวายฎีกา
เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะข้ามขั้นตอน เนื่องจาก
พ.ต.ท.ทักษิณยังไม่ได้กลับมารับโทษ
อีกทั้งยังถือเป็นการกดดันพระราชวินิจฉัย แต่แกนนำเสื้อแดงอย่างนายจตุพร
ก็ออกมาสวนกลับองคมนตรี รวมทั้งประธานองคมนตรีที่อยู่เฉยๆ ด้วยว่า
"วันนี้ ไม่ว่าจะเป็น พล.อ.เปรม พล.อ.สุรยุทธ์ พล.อ.พิจิตร หรือใครก็ตาม
ไม่มีทางมาหยุดยั้งคนเสื้อแดงได้"

ไม่เท่านั้น นายจตุพร
ยังประกาศระดมพลคนเสื้อแดงในวันที่จะยื่นฎีกาด้วย
โดยให้มารวมตัวกันเพื่อร่วมถวายฎีกาที่สำนักราชเลขาธิการ
ในพระบรมมหาราชวัง พร้อมยืนยันว่า
การรวมพลดังกล่าวเป็นการแสดงออกอย่างสงบ
และไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อกดดันสถาบันเบื้องสูงแต่อย่างใด
แต่เป็นเพราะที่ผ่านมา กลไกของรัฐลงไปกดดันประชาชนในพื้นที่
ไปบีบบังคับให้ถอนรายชื่อ ดังนั้นยิ่งรัฐบาลกดดันมากเท่าไร
ประชาชนก็จะลุกขึ้นมาแสดงตัวตนมากเท่านั้น

ขณะที่นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำ นปช.อีกคน
ก็ออกมาตอบโต้รัฐบาลกรณีที่กระทรวงมหาดไทยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดตั้งโต๊ะ
ให้ประชาชนถอนชื่อและคัดค้านการถวายฎีกาของกลุ่มเสื้อแดง โดยแกนนำ
นปช.จะล่าชื่อประชาชนอีกรอบเพื่อสนับสนุนการถวายฎีกา
โดยจะแยกส่วนจากรายชื่อประชาชน 5 ล้านชื่อที่ร่วมถวายฎีกา
เพื่อวัดจำนวนว่า ระหว่างผู้คัดค้านและสนับสนุนการถวายฎีกา
ฝ่ายไหนจะมากกว่ากัน

ด้านนายพิชิต ชื่นบาน อดีตทนายความผู้อื้อฉาวของ พ.ต.ท.ทักษิณ
ซึ่งเคยถูกศาลฎีกาฯ จำคุก 6 เดือน ฐานละเมิดอำนาจศาลกรณีสินบน 2
ล้านคดีซื้อที่รัชดาฯ นอกจากจะไม่ยอมรับว่า
การกระทำของคนเสื้อแดงไม่บังควรหรือก้าวล่วงพระราชอำนาจแล้ว ยังออก
แถลงการณ์(31 ก.ค.)ในลักษณะกล่าวหาว่า
ใครก็ตามที่ออกมาขัดขวางหรือคัดค้านการถวายฎีกาของกลุ่มเสื้อแดงอาจเป็นการ
ขัดขวางการใช้พระราชอำนาจและปฏิเสธพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ด้วย นอก
จากนี้ นายพิชิต ยังยกตัวอย่างด้วยว่า เมื่อครั้งเกิดวิกฤตตุลาการ
พ.ศ.2534-2535 ที่ข้าราชการตุลาการถูกลงโทษทางวินัย 11 คน
ก็นำไปสู่การยื่นถวายฎีกา โดยผู้ถูกลงโทษทั้ง 11 คน
รวมทั้งฎีกาของผู้พิพากษาศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ และศาลชั้นต้นอีกรวม 193 คน
จนในที่สุด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระมหากรุณาธิคุณลดหย่อนผ่อนโทษ

ไหนๆ เพื่อไม่ให้เป็นการฟังความข้างเดียวจากอดีตทนายความของ
พ.ต.ท.ทักษิณ ลองมาฟังอดีตข้าราชการตุลาการที่อยู่ในเหตุการณ์ครั้งนั้นบ้างว่า
สามารถนำการขออภัยโทษกรณีวิกฤตตุลาการ
มาเทียบเคียงกับการล่าชื่อถวายฎีกาของกลุ่มเสื้อแดงได้หรือไม่?

ดร.วิชา มหาคุณ
กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)
ผู้อยู่ในเหตุการณ์วิกฤตตุลาการเมื่อปี 2535 ยืนยันกับวิทยุ
ASTVผู้จัดการว่า
ไม่สามารถนำกรณีการขออภัยโทษของข้าราชการตุลาการมาเทียบกับการขออภัยโทษที่
กลุ่มเสื้อแดงดำเนินการให้ พ.ต.ท.ทักษิณได้ เพราะกรณีของ
พ.ต.ท.ทักษิณเป็นคดีอาญา
แต่กรณีวิกฤตตุลาการเป็นเรื่องของทางวินัยที่ข้าราชการตุลาการถูกฝ่ายการ
เมืองรังแก อีกทั้งตามระเบียบของข้าราชการตุลาการ
การที่ตุลาการจะเข้าดำรงตำแหน่งหรือพ้นจากตำแหน่ง
ต้องได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

"เรื่องความผิด ทางอาญาเนี่ย
ต้องเป็นไปตามกฎหมายที่จะต้องมีการรับโทษ แต่ของทางฝ่ายตุลาการ ไม่ใช่
คนละเรื่อง เป็นเรื่องของทางวินัย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม(ขณะนั้น) ตั้งกรรมการสอบว่าวินัยร้ายแรง
ซึ่งทางฝ่ายเรา ซึ่งเป็นฝ่ายตุลาการเห็นว่า
รัฐมนตรีซึ่งเป็นฝ่ายการเมืองเนี่ยจะเข้ามาแทรกแซงอำนาจตุลาการไม่ได้
พอท่านมีคำสั่งแล้ว ทางฝ่ายรัฐมนตรีได้มีชี้มูลบอกว่า ผิดวินัยร้ายแรง
ทางคณะตุลาการจึงได้มีหนังสือคัดค้าน โดยทำหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา
เป็นเรื่องที่เราเห็นว่า
การที่จะให้ออกจากราชการเป็นพระราชอำนาจขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เพราะตามกฎหมายตุลาการ
ตามระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการจะให้ข้าราชการดำรงตำแหน่งใด
หรือพ้นจากตำแหน่งใด ต้องได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ
เราก็เลยมีหนังสือทูลเกล้าฯ ถึงพระองค์ท่าน
ซึ่งพระองค์ท่านก็ทรงพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เพราะอะไร เพราะว่า
มันไม่เหมือนกัน มันไม่เกี่ยวกับความผิดทางอาญา คุณทักษิณเนี่ยติดคุก
ไม่ใช่เรื่องทางวินัย และท่านก็ไม่ได้เกี่ยวข้องด้วยตามกฎหมาย"

ลองไปฟังมุมมองของนักวิชาการกันบ้างว่า
รู้สึกอย่างไรกับการล่าชื่อถวายฎีกาของกลุ่มเสื้อแดง
มีอะไรแอบแฝงหรือไม่?

อ.วิทยากร เชียงกูล คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
ชี้ว่า การเข้าชื่อถวายฎีกาของกลุ่มเสื้อแดงเป็นการเคลื่อนไหวทางการเมือง
เพราะรู้อยู่แล้วว่า ถวายฎีกาไปก็ไม่ผ่าน
เพราะต้องมีกระบวนการตรวจสอบความถูกต้อง แต่ที่ยังยืนยันล่าชื่อถวายฎีกา
เพราะต้องการให้คนมาร่วมลงชื่อมากๆ
เพื่อให้เห็นว่าตัวเองมีพลังในการต่อรอง

"ผม คิดว่ามันเป็นประเด็นการเมือง
ความจริงแล้วผมก็คิดว่าเขาก็รู้ว่ามันคงตก หมายความว่าคงไม่ผ่าน
เพราะมันจะมีคนกลั่นกรองอะไรต่างๆ แต่เขาต้องการเคลื่อนไหวทางการเมือง
เพื่อหาในคนลงชื่อเยอะๆ เพื่อแสดงว่าเขามีพลังในการต่อรอง (ถาม-อ.คิดว่า
ทางรัฐบาลออกมาตั้งรับเรื่องนี้ยังไงบ้าง ถือว่าช้ามั้ย?)
ผมคิดว่าค่อนข้างช้า และผมคิดว่าเขาไม่พยายามสกัดแต่ต้นน่ะ
หรือแม้แต่เรื่องโฟนอินหรืออะไรเข้ามา หรือเว็บไซต์อะไรต่างๆ
ผมว่าน่าจะมีความพยายามมากกว่านี้ ที่จะสกัดมากกว่านี้
มีความพยายามที่จะเร่งรัดหรือไปจี้ประเทศต่างๆ
ให้คุณต้องส่งตัวมากกว่านี้ มันต้องใช้ความพยายามมากกว่านี้
ความพยายามที่จะอธิบายให้คนเข้าใจปัญหา มันต้องอธิบายมากกว่านี้ ผมคิดว่า
งานนี้ รัฐบาลเสียแต้มนะ"

"(ถาม-แกนนำ นปช.บอกว่า ถ้ากำหนดจะยื่นวันไหน
ขอให้คนเสื้อแดงมากันเยอะๆ ที่สำนักราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง
โดยอ้างว่าเป็นการชุมนุมอย่างสงบ ไม่ได้ต้องการกดดันสถาบัน?)
ก็คือการกดดันน่ะ ถ้าเรามองการเมืองคือการกดดัน
แต่เขาอาจจะอ้างว่ามาสันติวิธี แต่สันติวิธีคุณต้องยื่นเงียบๆ
ด้วยความคารวะ คุณไม่ต้องเอาคนมา ถ้าคุณยื่นมาด้วยท่าทีอย่างนี้
มันไม่ใช่ท่าทีคารวะแล้ว มันท่าทีแบบการเมืองแล้ว คุณเอาคนมาเยอะๆ
ก็คือท่าทีแบบการเมือง ถ้าคุณจะขอความเมตตากรุณา คุณต้องใส่สูทผูกไท
แต่งตัวดีดีมา ไม่กี่คน แล้วก็สุภาพเรียบร้อย แต่ถ้าคุณขนคนมาอย่างนี้
คุณจะอ้างว่ายังไงก็ตามแต่ มันก็คือการเมือง"

ด้าน อ.อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ซึ่งเคยเขียนบทวิเคราะห์ปาฐกถาของนายจักรภพ
เพ็ญแข ที่กล่าวที่สโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทยว่า
สะท้อนถึงการไม่ศรัทธาในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข)
เผยกับวิทยุ ASTVผู้จัดการ โดยชี้ว่า การล่าชื่อถวายฎีกาของกลุ่มเสื้อแดง
ถือว่าเป็น "เกมอำมหิต" ของแกนนำเสื้อแดง
ที่ต้องการให้เกิดจลาจลจนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง
และเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มากกว่าการเปลี่ยนรัฐบาล

"นี่ เป็นเกมอำมหิต ผมคิดว่าแกนนำของฝ่ายเสื้อแดงเนี่ย
รู้ทั้งรู้อยู่ว่ากฎหมายไม่อำนวยให้ทำ แต่ก็จงใจที่จะทำ
แล้วชักจูงประชาชนซึ่งไม่รู้อีโหน่อีเหน่เนี่ยเอามาเป็นฐานเสียง
แกนนำเสื้อแดงรู้อยู่แล้วล่ะตามกฎหมายเนี่ยว่าทำไม่ได้
และตัวเองก็ไม่ได้มีหน้าที่ที่จะทำด้วย
มันก็ควรจะต้องเป็นสิทธิของคนในครอบครัวหรือเป็นสิทธิส่วนตัวของคุณทักษิณ
เอง แต่ทำทั้งๆ ที่รู้ แล้วก็รู้ว่ามันผิดกฎหมาย
จึงต้องไปเอามวลชนเข้ามาเป็นฐาน แล้วปลายทางของเกมนี้
ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้ในหลวงเนี่ยพระราชทานอภัยโทษหรือไม่
อภัยโทษ แต่เกมนี้เป็นเกมที่จะนำไปสู่ความขัดแย้ง
เพื่อหวังว่าความขัดแย้งนี้จะนำไปสู่การจลาจลที่ควบคุมไม่ได้
ต้องการที่จะทำให้เกิดจลาจลที่ควบคุมได้
เพราะคนเหล่านี้ผิดหวังที่ในตอนช่วงสงกรานต์ จลาจลที่เกิดขึ้นตรงนั้น
รัฐบาลสามารถควบคุมจลาจลได้ และทำให้ไม่มีผู้เสียชีวิต
คนเหล่านี้ต้องการที่จะเกิดจลาจลและมีคนตาย
และหวังว่ามันจะนำไปสู่การปะทะกันอย่างรุนแรง
แล้วก็หวังว่าการปะทะกันอย่างรุนแรงนั้นจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอะไร
บางอย่าง ซึ่งมากไปกว่าการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลปัจจุบัน
ทีนี้การเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่าง ผมพูดได้แค่นี้แหละ"

"แต่ทีนี้วิธีการยื่น(ฎีกา) ผมได้ยินข่าวมาอีกข่าวหนึ่ง
ข่าวจากทางต่างจังหวัดเลยนะว่า จะใช้มวลชนปิดล้อมวังสวนจิตรฯ ด้วยซ้ำไป
ซึ่งก็คงเป็นสัญลักษณ์ในการปิดล้อมตรงนั้น (ถาม-คุณจตุพรพูดว่า
เดี๋ยวถ้าเรากำหนดได้แล้วว่ายื่นวันไหนเนี่ย
ขอให้คนเสื้อแดงมารวมตัวกันเยอะๆ ที่สำนักราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง)
แปลว่าเอาจริง แสดงว่าข่าวที่ผมได้มาก็จริง (ถาม-แต่เขาบอกว่า
เรามาชุมนุมอย่างสงบนะ ไม่ได้ต้องการกดดันสถาบัน?) อันนี้ล่ะคือกดดันแล้ว
ถ้ากฎหมายบอกว่า ฆ่าคนไม่ได้ คนกลุ่มนี้ก็ยังจะฆ่าคนอยู่
คือกฎหมายบอกทำไม่ได้ คนกลุ่มนี้ก็ยังจะทำน่ะ
ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องให้สังคมตัดสิน"

อ.อนันต์ ยังจับพิรุธถ้อยคำในหนังสือฎีกาของกลุ่มเสื้อแดงด้วยว่า
มีความขัดแย้งในตัวเอง ซึ่งเป็นเรื่องตลกสิ้นดี

"ตลก สิ้นดีเลยใน wording บาง wording ในฎีกานั้นน่ะ บอกว่า
หวังว่า ถ้ามีการพระราชทานอภัยโทษ จะนำไปสู่การสมานฉันท์
การไม่ลงโทษกับคนที่ทำผิดกระบิลของบ้านเมือง ไม่ใช่เรื่องของการสมานฉันท์
คนผิดเนี่ย ตามกฎหมายก็ต้องว่าไปตามผิด
ในขณะนี้คนผิดกำลังจะใช้มวลชนและใช้อำนาจเงินของตัวเองเข้ามาทำให้คนผิดนั้น
เป็นคนถูก ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ถ้าเราปกป้องไม่ได้นะ
เราจะไม่สามารถปกป้องกฎหมายและความยุติธรรมในประเทศนี้ได้เลย
สิ่งที่ฟังดูแล้ว paradox กันมาก มันขัดแย้งกันอย่างมากเลย
คือทางกลุ่มเสื้อแดงกล่าวหาว่า
คดีนี้ไม่ให้ความเป็นธรรมกับตัวผู้กระทำความผิด แต่ปรากฏว่า
เกมนี้ของตัวผู้กระทำความผิด รวมทั้งแกนนำของเสื้อแดงเนี่ย
กลับจะทำลายกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบของสังคมไทย
ขณะนี้ผมคิดว่าเรากำลังควรจะเลิกการปกป้องบุคคลได้แล้ว
เราคงจะต้องปกป้องหลักการ คนเนี่ยอายุไม่ได้ยั่งยืนเป็นร้อยเป็นพันปี
แต่หลักการจำเป็นจะต้องดำรงอยู่ไปตลอด
ความยุติธรรมนั้นจำเป็นจะต้องดำรงอยู่ และถ้าเกิดสมมติว่า
กระทำการครั้งนี้สำเร็จ
มันก็เท่ากับใช้อำนาจอีกอำนาจหนึ่งซึ่งไม่มีระบุไว้ในกฎหมายใดใด
และขัดแย้งกับกฎหมายด้วยมาล้มล้างอำนาจอธิปไตยส่วนที่เป็นอำนาจตุลาการ"

อ.อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล ยังฝากถึงรัฐบาลด้วยว่า
การยื่นถวายฎีกาของกลุ่มเสื้อแดงนั้น นอกจากจะต้องว่าไปตามกฎหมาย คือ
เมื่อฎีกาไม่ถูกต้องตั้งแต่แรก ก็ไม่ต้องส่งฎีกาดังกล่าวขึ้นไปแล้ว
รัฐบาลยังต้องชี้แจงข้อเท็จจริงให้คนเสื้อแดงที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ 5
ล้านที่ร่วมลงชื่อถวายฎีกาให้เข้าใจด้วย
ส่วนคนเหล่านั้นจะผิดหวังหรือเสียใจหรือไม่นั้น
เป็นเรื่องที่ห้ามกันไม่ได้ แต่ สิ่งที่รัฐบาลทำได้ก็คือ
ต้องทำอย่างหนึ่งอย่างใดกับคนที่ให้ข้อมูลข่าวสารผิดๆ แก่ประชาชน
โดยเฉพาะการออกมาให้ข้อมูลว่า
การล่าชื่อถวายฎีกาขออภัยโทษในคดีอาญาเป็นสิทธิที่ทำได้
ซึ่งไม่จริงอย่างสิ้นเชิง!

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9520000088488


ท่าน คงไม่ทราบหรอกว่า
ทำไมคนเสื้อแดงจึงรวมรายชื่อเพื่อถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษแก่อดีตนายก
ทักษิณ ท่านคงคิดว่า พวกเขาต้องการเพียงให้ทักษิณกลับมามีอำนาจ
เพื่อจะได้ผู้นำที่มีความริเริ่มสูง แท้จริงแล้ว นั่นเป็นเป้าหมายรอง !
เป้าหมายหลัก คือ ยุยงให้ประชาชนเกลียดชังในหลวงของเราอย่างแยบยลที่สุด
ยากที่ใครจะรู้ทัน

ข่าวลึกจากคนสนิททักษิณ (ซึ่งกำลังลำบากใจ) ยอมกลับใจ เปิดเผยว่า
1. ประชาชนยังรักทักษิณเป็นสิบล้านคน
ไม่ใช่จิ๊บจ๊อยอย่างที่คนเมืองหลวงประมาณการ
เขาเลื่อมใสทักษิณในการริเริ่มแก้ปัญหาให้คนจน เช่น 30 บาท รักษาทุกโรค,
หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์, กองทุนหมู่บ้าน 1 ล้านบาท เป็นต้น
ถ้าเทียบกับพรรคประชาธิปัตย์แล้ว เทียบกันไม่ได้เลย
ไม่มีความคิดริเริ่มเพื่อคนจนอย่างเป็นรูปธรรม
2. เมื่อถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษแก่ทักษิณ
ผู้รักทักษิณต้องการให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษ เพราะเขารักของเขา
! 3. ขณะนี้มีการปลุกระดม
ทำให้ประชาชนที่รักทักษิณจำนวนมากพูดกันต่อๆไปอย่างกว้างขวางว่า
"จะดูใจในหลวง" แปล ว่า เกิดสงครามจิตวิทยาขึ้นแล้ว
ให้มีการชั่งน้ำหนักกันว่า จะรักเทิดทูนใครดี ซึ่งความคิดเช่นนี้
เป็นการคิดประทุษร้ายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อย่างแยบคายที่สุด
4. หาก ผลออกมาถูกใจเสื้อแดง ทักษิณก็ได้ คือ ได้กลับมามีอำนาจ
หากผลออกมาตรงข้าม ทักษิณก็ได้ ได้ทำลายสถาบันเบื้องสูงที่แยบคายที่สุด
เป็นการได้ผลทางจิตวิทยา สถาบันเบื้องสูงจะถูกดึงลงเทียบกับทักษิณ
ให้ประชาชนเลือกข้างอยู่เงียบๆในใจ
ซึ่งในทางจิตวิทยาการเมืองถือเป็นภัยร้ายแรงต่อสถาบันกษัตริย์
5. ขอท่านทั้งหลาย จงทันเกมทักษิณ ท่านจำได้ไหม? นักการ
เมืองอื่นๆอาจซื้อเสียง ซึ่งเสี่ยงสารพัด แต่ทักษิณซื้อพรรคเสียเลย
ใครฉลาดกว่ากัน เราอ่านทักษิณ อย่าอ่านเท่าที่ได้ยินได้ฟัง คิดให้ลึกๆ
แล้วจะเท่าทันทักษิณ
6. ต้องกราบ ขอโทษบรรดาเสื้อแดงทั้งหลาย หากท่านคิดจะดึงทักษิณขึ้นมา
ให้ประชาชนเลือกข้างระหว่างผู้มีพระคุณสูงสุดต่อชาติเรา กับ ทักษิณ ฯ
เรากับท่านคงอยู่ร่วมโลกกันไม่ได้ หากท่านไม่ทราบกลของทักษิณ และ บริวาร
ที่กำลังรับจ็อบทำงานเพื่อทักษิณ ขอจงโปรดทราบ ทราบแล้ว ท่านจะถอนตัว
หรือ รับใช้เขาอยู่ ก็ตามใจท่านเถิด แต่เราจะถือว่า
ท่านกำลังประทุษร้ายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา และ ของท่านเอง

ที่มา : Fwd Mail [ทินกร เกษมสรร]
ฟห

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น