++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552

นักวิชาการระบุ 5 ปี เกิดวิกฤตการ "ผลิต-ขาดครู"

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 24 สิงหาคม 2552 08:47 น.
คณบดี คณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ห่วงวิกฤตการผลิตและพัฒนาครู ชี้
หากรัฐยังไม่สนใจพัฒนาอย่างจริงจัง ในระยะ 5 ปี จะเกิดวิกฤตการผลิตครู
และขาดครูของครูอย่างหนัก แนะยกวิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง เผย
สกอ.ส่งหนังสือถึง
ก.พ.หารือปรับเงินเดือนครูให้สูงกว่าข้าราชหารอื่นได้หรือไม่


รศ.ดร.มนตรี แย้มกสิกร

รศ.ดร.มนตรี แย้มกสิกร ประธานที่ประชุมคณบดีคณะครุศาสตร์
ศึกษาศาสตร์ 16 สถาบัน และรองประธานสภาคณบดีครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์
เปิดเผยถึงผลประเมินภายนอกคณะครุศาสตร์
และศึกษาศาสตร์ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)
ที่พบว่า คณะศึกษาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส.)
เพียงคณะเดียวที่ผ่านการประเมินอยู่ในระดับดีมาก ว่า
ต้องยอมรับความจริงว่า สถานการณ์ของคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์
เป็นไปตามที่ปรากฏจากผลประเมิน
ซึ่งส่วนใหญ่จะผ่านการประเมินอยู่ในระดับดี
และถือเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการผลิตและพัฒนาครูอย่างเห็นได้ชัด
สาเหตุหนึ่งเกิดจากรัฐบาลขาดการเหลียวแลเพื่อพัฒนาในด้านดังกล่าว
เนื่องจากนโยบายของรัฐทุ่มไปเพื่อพัฒนาบุคลากรในสาขาขาดแคลน
ทำให้ขาดช่วงในการสนับสนุนจากรัฐบาล
จึงส่งผลให้การพัฒนาของคณะศึกษาศาสตร์ ครุศาสตร์ หยุดนิ่งลง

"สถานการณ์ในขณะนี้คณะศึกษาศาสตร์ ครุศาสตร์หลายแห่งกำลังจะตาย
เพราะไม่มีคนอยากเรียน และหลักสูตรไม่มีการพัฒนา ซึ่งหากในระยะ 5
ปีจากนี้รัฐบาลยังไม่ใส่ใจและหันกลับมาเอาใจใส่ในเรื่องดังกล่าวอย่างจริง
จังจะเกิดวิกฤตอย่างรุนแรงในการผลิตและพัฒนาครู
รวมถึงจะขาดครูที่จะมาสอนครูอย่างหนักด้วย ดังนั้น
หากรัฐบาลต้องการจะพัฒนาการศึกษา ก็จำเป็นต้องเร่งดำเนินการในเรื่องนี้
ซึ่งอาจจะแก้ปัญหาเจาะเฉพาะจุด เช่น
มุ่งพัฒนาครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
หรือจะพัฒนาทั้งระบบก็เป็นเรื่องดี
โดยหลักสำคัญจะต้องเปลี่ยนแปลงการผลิตครูให้มีความรู้ในเนื้อหาสาระที่เข้ม
ข้นทางวิชาการที่จะสอนเด็ก ขณะเดียวกัน
ก็ต้องมีเทคนิคการเรียนการสอนที่ดี และทันต่อการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาก็ต้องควบคู่ไปกับการพิจารณาเพิ่มผลตอบแทนให้กับวิชาชีพครูด้วย
และก็ต้องย้อนกลับไปถามสังคมว่าพร้อมจะยกวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง
เช่นเดียวกับแพทย์ หรือผู้พิพากษาหรือไม่
ซึ่งในขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.)
ได้ทำหนังสือไปยังคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)
เพื่อหารือว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่ที่จะปรับเพิ่มเงินเดือนครูให้มากกว่า
ข้าราชการส่วนอื่น" รศ.ดร.มนตรี กล่าว

รศ. ดร.มนตรี กล่าวต่อว่า สำหรับทางแก้ปัญหาทางหนึ่งคือ
การให้ทุนการศึกษาแก่ผู้ที่จะมาเรียนครู พร้อมจัดหาอัตราการทำงานรองรับ
เพราะเมื่อปี 2547 ได้มีโครงการผลิตครูโดยใช้แนวทางดังกล่าว
ทำให้ได้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาเป็นครู
และส่งผลให้วิชาชีพครูมีแนวโน้มดีขึ้น
แต่น่าเสียดายที่ไม่ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จึงหวังว่า
หากรัฐบาลจริงจังกับเรื่องนี้ก็จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000095935

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น