++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การปฏิรูปการศึกษา - การพัฒนาสังคมและการพัฒนาคน

โดย ศ.ดร.ลิขิต ธีรเวคิน


คำว่า ปฏิรูปการศึกษา เป็นคำที่ได้ยินบ่อยที่สุด โดยเฉพาะประโยคที่ว่า
"ความรู้คู่คุณธรรม"
ขณะเดียวกันก็อาจจะมีการกล่าวถึงผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (student

center) แต่ที่ดูเหมือนว่าที่มีการเน้นมากคือ
การปฏิรูปหลักสูตรการเรียนการสอนและระบบการบริหารการศึกษา

ในภาพรวม
ประเด็นเรื่องการปฏิรูปการศึกษามักมุ่งไปที่การปฏิรูปการบริหารการศึกษา
เช่น การกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นจัดการกันเอง ให้โรงเรียนเป็น

นิติบุคคล การแบ่งให้เป็นเขตการศึกษาต่างๆ ฯลฯ
ในขณะที่ประเด็นสำคัญที่สุดยังไม่มีการตกลงกันในสังคมในขณะนี้ก็คือ
"เราจะพัฒนาสังคมแบบไหน และ

จะพัฒนาคนชนิดใด"

ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์และกระแสของการปกครองแบบประชาธิปไตย
สังคมใดก็ตามที่พูดถึงการปฏิรูปการศึกษาจะตอบคำถามก่อนว่า ระบบสังคม

การเมืองและเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ จะไปในทิศทางใดในอนาคต
จากนั้นจึงสามารถจะพูดถึงหลักสูตรการเรียนการสอน
เพื่อที่จะผลิตสมาชิกของสังคม

ที่มีความสอดคล้องกัน ในกรณีของประเทศไทยนั้นคำถามที่สำคัญที่สุดคือ
จะพัฒนาสังคมไปในรูปใด จะมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ต่อเนื่อง

และยั่งยืนได้อย่างไร และจะเป็นประชาธิปไตยแบบใด
ซึ่งในขณะนี้เป็นการผสมผสานระหว่างระบบรัฐสภาแบบอังกฤษและบางส่วนของระบบ
ประธานาธิบดี

แบบสหรัฐอเมริกา
ในแง่เศรษฐกิจก็มีแนวโน้มที่จะเดินตามทุนนิยมแต่ก็ยังขาดวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีเป็นอย่างมาก

ในแง่สังคมนั้นผสมผสานระหว่างสังคมจารีตนิยมและสังคมสมัยใหม่
เกิดองค์กรและสถาบันทางสังคมมากมายที่เป็นของสมัยใหม่ ขณะเดียวกัน

องค์กรและสถาบันแบบจารีตนิยมก็ยังอยู่ตามปกติ
ที่สำคัญคือค่านิยมแบบจารีตนิยมคือระบบอุปถัมภ์ก็ยังอยู่ในระบบราชการและ
ระบบการเมือง ซึ่งโดยนัย

น่าจะเดินตามแนวทางสมัยใหม่
นอกจากนี้ในขณะที่มีการนำความรู้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
ระบบความคิดอย่างตรรก มีเหตุมีผล มาพัฒนาประเทศ ก็ยังผสม

ผสานกับความเชื่อที่งมงาย ชอบผูกดวงชะตาชีวิต
ประกอบพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ต่างๆ
และบ่อยครั้งการผสมผสานดังกล่าวก็ไม่สามารถจะสอดคล้องได้

อย่างแนบเนียน

เมื่อวิสัยทัศน์เกี่ยวกับลักษณะสังคมไทยในอนาคตยังไม่แจ่มกระจ่าง
จะจัดระบบการศึกษาเพื่อสร้างคนที่จะเป็นสมาชิกในสังคมขึ้นมาได้อย่างไร
กล่าว

อีกนัยหนึ่ง ในเมื่อเป้าหมายใหญ่ไม่ชัดก็ยากที่จะทำให้แนวทางของการปฏิรูปการศึกษาเกิด
ความแจ่มกระจ่างได้

เมื่อมนุษย์เกิดมาครบถ้วนจากครรภ์มารดา
มนุษย์ผู้นั้นก็จะกลายเป็นชีวภาพที่สมบูรณ์ซึ่งจำเป็นต้องมีการเลี้ยงดูด้วย
อาหารจนเติบโตพอที่จะรับการ

กล่อมเกลาเรียนรู้ เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสังคม
โดยการกล่อมเกลานั้นจะเริ่มตั้งแต่ครอบครัวจนถึงจุดที่มีความสามารถจะสื่อ
สารด้วยภาษาของ

พ่อแม่อันเป็นภาษาที่ใช้ในสังคม พูดคุยเข้าใจความหมายกับผู้อื่น
มีระเบียบวินัยเกี่ยวกับความประพฤติปฏิบัติในระดับหนึ่ง
จากนั้นก็เข้าไปรับการกล่อมเกลา

เรียนรู้ในสถาบันการศึกษาสืบต่อจากพ่อแม่

ในส่วนนี้จะเป็นส่วนที่สำคัญยิ่ง
เพราะถ้าพ่อแม่มีแนวในการอบรมสั่งสอนหรือกล่อมเกลาเรียนรู้ในรูปหนึ่งซึ่ง
อาจจะเป็นแบบดั้งเดิม แต่การกล่อมเกลา

เรียนรู้ในโรงเรียนเป็นอีกรูปหนึ่ง
เนื่องจากหลักสูตรการเรียนการสอนที่จัดขึ้นโดยกระทรวงศึกษาธิการนั้น
อาจจะเดินตามนักการศึกษาที่ศึกษามาจากทฤษฎี

ของประเทศตะวันตก และจัดระบบการศึกษาตามแนวที่ได้ศึกษามา
ก็อาจนำไปสู่การขัดกันของทั้งสองส่วน
อย่างไรก็ตามคำถามที่สำคัญดังที่ได้กล่าวมา

แล้วก็คือ ในภาพรวมเราจะพัฒนาสังคมไปในทิศทางใด
ถ้าตอบคำถามดังกล่าวไม่ได้ก็จะเกิดคำถามว่าแล้วรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งที่จะ
กล่อมเกลาเรียนรู้ให้แก่ผู้มา

เรียนนั้นควรจะมีลักษณะใด

ทางออกของกระทรวงศึกษาและโรงเรียนขณะนี้ก็คือการให้ความรู้ทางวิชาการ
เช่น ความรู้ทางภาษา คำนวณ เลข เลขาคณิต และทางสังคมศาสตร์

ฯลฯ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นการศึกษาที่เกี่ยวกับความรู้ทางเทคนิค
แต่การศึกษาที่จะทำให้ คนให้เป็นคน มีส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งคือ
การสร้างบุคลิกภาพ

ของความเป็นมนุษย์ (character education)
สิ่งซึ่งสถาบันการศึกษาจะทำได้ขณะนี้ก็คือการสอนเรื่องศีลธรรม
แต่ความจริงถ้าจะให้สอดคล้องกับระบอบ

การปกครองแบบประชาธิปไตยและโลกยุคโลกา ภิวัตน์
เนื้อหาการศึกษาและการกล่อมเกลาเรียนรู้จะต้องก้าวไกลกว่าที่กล่าวมาเบื้อง
ต้น ซึ่งในขณะนี้ต้อง

ยอมรับว่ายังไม่มีความกระจ่างเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว

ประเด็นที่ต้องคำนึงถึงเกี่ยวกับระบบการศึกษาที่จะสร้างคน
ผลิตสมาชิกให้กับสังคมที่พึงประสงค์มีดังต่อไปนี้ คือ

1. เบื้องต้นประเทศต้องมีวิสัยทัศน์ว่าสังคมจะเดินทางไปในทิศทางใด
ในทางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจ และการปรับตัวกับกระแสโลกาภิวัตน์

2. ในแง่ความเป็นมนุษย์
สมาชิกผู้นั้นจะต้องถูกการอบรมกล่อมเกลาจนกลายเป็นสมาชิกที่สมบูรณ์ของสังคม
แต่คำถามที่สำคัญก็คือ บุคคลผู้นั้นควร

มีสิทธิที่จะมีอาตมันปัจเจกภาพ (self-hood) และบุคลิกภาพ (person-hood)
ของตนเอง เพราะนี่คือสิทธิโดยธรรมชาติของการเป็นมนุษย์ การอบรมใน

ครอบครัวและสถาบันการศึกษามีการเปิดช่องว่างให้มีการพัฒนาสิ่งนี้
หรือไม่สำหรับสมาชิกในสังคม

3. ระบบการศึกษานั้นมีส่วนหรือไม่ต่อการสร้างความเป็นพลเมือง
(citizenship) นั่นคือ การสร้างอาตมันทางการเมือง (political self)
ค่านิยมทาง

ประชาธิปไตย หน้าที่ความรับผิดชอบต่อสังคม (civic obligation)
ถ้าหลักสูตรการเรียนการสอนมองข้ามสิ่งเหล่านี้เนื่องจากเห็นว่าไม่สำคัญ
ก็จะขัดกับจุด

ประสงค์หรือรูปแบบสังคมที่ต้องการพัฒนา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ต่อเนื่องและยั่งยืน

4. ศีลธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม
ได้มีการจัดหลักสูตรให้สอดคล้องกับความเป็นจริงมากน้อยเพียงใด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องจริยธรรมใน

ปัจจุบันซึ่งถูกวัตถุนิยม เงินตรานิยมและบริโภคนิยมทำให้ผิดเพี้ยนไปมาก

5. การพัฒนาจิตวิญญาณ (spiritual value) และค่านิยมทางสุนทรีย์
(aesthetic value) มีการให้น้ำหนักมากน้อยเพียงใด
หรือจุดมุ่งเน้นอยู่ที่การอบรม

ความรู้ทางเทคนิคแต่เพียงอย่างเดียว

6. ความรู้ทางเทคนิค (technical knowledge) เพื่อนำไปประกอบอาชีพ
เช่น นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ แพทยศาสตร์

กล่าวโดยทั่วไปในส่วนของข้อ 6
สังคมไทยมีความสามารถในระดับที่น่าเชื่อถือได้ แต่ในส่วนอื่นๆ
นั้นมีคำถามที่สำคัญคือมีการตระหนักและเข้าใจถึง

การสร้างคนให้มีคุณสมบัติ หรือคุณลักษณะดังกล่าวมากน้อยเพียงใด
หรือพูดง่ายๆ คือ อะไรคือปรัชญาการศึกษานอกเหนือจากการที่กล่าวว่า
"ความรู้คู่

คุณธรรม" แต่ ถ้าหากยังไม่สามารถมีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับระบบสังคมที่พึงประสงค์
ก็ไม่มีทางที่จะจินตนาการถึงประเภทของมนุษย์ที่ระบบการศึกษาจะช่วยกล่อม

เกลา ให้ได้มา การพัฒนาระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยจะไร้ผลถ้าระบบการศึกษาไม่สามารถสร้าง
อาตมันปัจเจกภาพและสร้างความเป็นพลเมือง

ขึ้นมาได้ และการพัฒนาสังคมก็จะล้มเหลวถ้าประเด็นเรื่องศีลธรรม จริยธรรม
และความรับผิดชอบบกพร่อง

ใครก็ตามที่จะพูดถึงการปฏิรูปการศึกษาต้องตอบคำถามสำคัญที่กล่าวมาข้างต้นก่อน


http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9520000094414

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น